RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179851
ทั้งหมด:13491083
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - กำหนดหลักการตั้งชื่อสถานีและกำหนดรหัสสถานีรถไฟฟ้า
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

กำหนดหลักการตั้งชื่อสถานีและกำหนดรหัสสถานีรถไฟฟ้า

 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/09/2021 8:54 am    Post subject: กำหนดหลักการตั้งชื่อสถานีและกำหนดรหัสสถานีรถไฟฟ้า Reply with quote

เมื่อชื่อนั้นสำคัญฉะนี้!!ตั้งหลัก'ชื่อ-รหัส'สถานีรถไฟฟ้า
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2564

นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า ในการเป็นประธานประชุมคณะกรรมการกำกับและบริหารจัดการระบบขนส่งทางราง ครั้งที่ 2 / 2564 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ได้พิจารณาเห็นชอบการกำหนดชื่อสถานีรถไฟฟ้าบางแห่งที่เป็นประเด็นหารือโดยมีมติเห็นชอบการกำหนดชื่อสถานีภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ดังนี้

1. สถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู วัดชลประทาน กำหนด ให้เป็น ชื่อกรมชลประทาน (Royal Irrigation Department) เนื่องจากที่ตั้งอยู่หน้ากรมชลประทาน

2. สถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู สินแพทย์ เป็น รามอินทรา กม.9 (Ram Inthra Kor Mor 9) เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อเรียกย่านดังกล่าว

3. สถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วง ผ่านฟ้า เป็นสถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย (Democracy Monument) เช่นเดียวกับ สถานีรถ ไฟฟ้าสายสีส้ม อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย (Democracy Monument) โดยมีรหัสสถานีที่แตกต่างกัน เพื่อให้สอดคล้องกับแลนด์มาร์ค (Landmark) และเป็นสถานีที่อยู่ใกล้กันในระยะเดินถึง

4. สถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วง วงเวียนใหญ่เหนือ เป็นสถานีวงเวียนใหญ่ (Wongwian Yai) เพื่อให้สอดคล้องกับแลนด์มาร์ค

5. สถานี รถไฟฟ้าสายสีเหลือง พัฒนาการ เป็น หัวหมาก (Hua Mak) เนื่องจากที่ตั้งอยู่บนถนนศรีนครินทร์ อยู่ใกล้สถานีรถไฟหัวหมาก และสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์หัวหมากในระยะประมาณ 200-300 เมตร ซึ่งเป็นระยะเดินถึงและเป็นย่านที่ประชาชนคุ้นชินแล้ว ควรใช้ชื่อเดียวกันเพื่อลดความสับสนของผู้ใช้บริการ โดยมีรหัสสถานีที่แตกต่างกัน

นายกิตติพันธ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ได้พิจารณาแนวทางการกำหนดรหัสสีของเส้นทางรถไฟฟ้าให้เป็นมาตรฐานกลางเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นเอกภาพ โดยมีมติดังนี้ เห็นสมควรให้กำหนดรหัสสีที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้ทุกหน่วยงานใช้เป็นมาตรฐานจัดทำป้ายสัญลักษณ์ แผนที่ ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบสอดคล้องกัน โดยให้ใช้รหัสสีตามที่หน่วยงานรับผิดชอบกำหนดไว้เดิม เช่น สายสีเขียว ทอง เทาให้ยึดตามรหัสสีของ กรุงเทพมหานคร (กทม.) /บีทีเอส สายสีน้ำเงิน ม่วง ส้ม เหลือง ชมพู ยึดตามรหัสสีของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน แห่งประเทศไทย (รฟม.) สายสีแดง ให้ยึดตามรหัสสีของการรถไฟฟ้าแห่งประเทศไทย (รฟท.) กรณีรหัสสีของเส้นทางระบบรางในอนาคตให้หลีกเลี่ยงการใช้สีที่ใกล้เคียงกับสีที่มีอยู่เดิม ซึ่งจะสร้างความสับสนแก่ผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะผู้พิการทางสายตาจะเห็นเลือนราง หากหลีกเลี่ยงการใช้สีซ้ำหรือใกล้เคียงกันไม่ได้ ควรกำหนดชื่อเส้นทางประกอบกับรหัสสี เพื่อสื่อสารให้ผู้ใช้บริการเข้าใจได้ โดยเห็นสมควรให้หน่วยงานผู้ให้บริการขนส่งทางรางเสนอ ขร. พิจารณา เพื่อเสนอกระทรวงคมนาคม ให้ความเห็นชอบก่อนการดำเนินการจริง

นายกิตติพันธ์ กล่าวด้วยว่า ในการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1 ได้ร่วมกันพิจารณาข้อมูลการให้บริการรถไฟฟ้าแต่ละโครงการที่แตกต่างกันเพื่อกำหนดหลักการตั้งชื่อสถานีและกำหนดรหัสสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสาธารณะ ดังนี้

1.ง่าย ชื่อสถานีรถไฟฟ้าจะต้องเป็นชื่อที่ง่าย และจดจำได้ง่าย

2.สั้น กระชับ ได้ใจความโดยชื่อภาษาไทยควรมีความยาว ไม่เกิน 5 พยางค์และชื่อภาษาอังกฤษควรใช้ตัวอักษรไม่เกิน 15 ตัวอักษร

3.มีความยั่งยืน ใช้ได้อย่างตลอดระยะเวลาที่สถานียังคงเปิดให้บริการอยู่

4.สามารถระบุตำแหน่งได้ชัดเจนต้องเอื้อให้ผู้เดินทางระบุตำแหน่ง หรือบริเวณที่ตั้งของสถานีได้อย่างชัดเจน และควรมีความเกี่ยวข้องกับพื้นที่ตั้งสถานี

5.เฉพาะเจาะจง ชื่อต้องไม่ซ้ำกัน หรือสร้างความสับสนแก่ผู้ใช้บริการ และ

6.มีความเชื่อมโยงกัน ต้องสร้างความ เชื่อมโยงไปใช้ในการวางแผนการเดินทางได้ โดยเฉพาะชื่อสถานีที่เป็นสถานีเชื่อมต่อ ควรใช้ชื่อเดียวกันทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยระบุความแตกต่างของเส้นทางโดยรหัสสถานี ซึ่งการกำหนดสถานีในประเทศไทย จะยึดหลักการเดียวกับหลักการของสากล โดยจะมีทั้งชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

รวมทั้งคำประกาศภายในขบวนรถเพื่อแจ้งจุดเชื่อมต่อสถานี รูปแบบป้ายสัญลักษณ์ รหัสสีกำหนดเส้นทางรถไฟฟ้า ให้มีความเป็นมาตรฐานกลาง ลดความสับสนแก่ผู้ใช้บริการ เพื่อให้หน่วยงานที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าต่าง ๆ สามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้องเหมาะสมโดยไม่ล่าช้า เป็นกรอบดำเนินการกรณีงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าเส้นทางอื่นในอนาคตต่อไป.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/09/2021 4:00 pm    Post subject: Reply with quote

^^^
Wisarut wrote:
กรมการขนส่งทางรางจัดการประชุมคณะกรรมการกำกับและบริหารจัดการระบบขนส่งทางราง ครั้งที่ 2 /2564
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม

https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/4395940530452858


Click on the image for full size

1 สถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู (PK05) วัดชลประทาน (Wat Cholaprathan) กำหนดให้เป็น กรมชลประทาน (Royal Irrigation Department) เนื่องจากที่ตั้งอยู่หน้ากรมชลประทาน
2 สถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู (PK06) แยกปากเกร็ด (Pakkret Junction) เปลี่ยนชื่อเป็น Yaek pakkret
3 สถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู (PK08) แจ้งวัฒนะ - ปากเกร็ด 28 (Chaeng Watthana 28) เปลี่ยนชื่อเป็น Chaeng Watthana - Pakkret 28
4 สถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู (PK19) รามอินทรา 31 เป็น รามอินทรา กม.4 (Ram Inthra Kor Mor 4) เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อเรียกย่านในบริเวณดังกล่าว
5 สถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู (PK22) รามอินทรา 40 เป็น รามอินทรา กม.6 (Ram Inthra Kor Mor 6) เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อเรียกย่านในบริเวณดังกล่าว
6 สถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู (PK24) รามอินทรา 83 / Singphaed (Ram Indra 83 / Sin Phaed) เป็น รามอินทรา กม.9 (Ram Inthra Kor Mor 9) เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อเรียกย่านในบริเวณดังกล่าว
7 สถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู (PK25) วงแหวนตะวันออก (East Outer ring) เป็น วงแหวนรามอินทรา (Outer Ring Road - Ram Indra) เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อเรียกย่านในบริเวณดังกล่าว และป้องกันความสับสน
8 สถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วง (PP22)/ส้ม (OR04) จาก ผ่านฟ้า (Phan Fa) กำหนดชื่อเป็นสถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย (Democracy Monument) เนื่องจากให้สอดคล้องกับ Landmark ในบริเวณดังกล่าวและเป็นสถานีที่อยู่ใกล้กันในระยะเดินถึง
9 สถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วง (PP25) วงเวียนใหญ่เหนือ (Wongwian Yai North) กำหนดชื่อเป็นสถานีวงเวียนใหญ่ (Wongwian Yai) เพื่อให้สอดคล้องกับ Landmark ในบริเวณดังกล่าว
10 สถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วง (PP30) แยกประชาอุทิศ (Pracha Uthit Junction) กำหนดชื่อเป็นแยกประชาอุทิศ (Yaek Pracha Uthit)

11 สถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (YL11) พัฒนาการ กำหนดชื่อเป็น หัวหมาก (Hua Mak) เนื่องจากที่ตั้งอยู่บนถนนศรีนครินทร์ อยู่ใกล้สถานีรถไฟหัวหมาก และสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์หัวหมากในระยะประมาณ 200-300 เมตร ซึ่งเป็นระยะเดินถึงและเป็นย่านที่ประชาชนคุ้นชินแล้ว ควรที่จะใช้ชื่อเดียวกันเพื่อลดความสับสนของผู้ใช้บริการ โดยมีรหัสสถานีที่แตกต่างกัน
12 สถานีรถไฟฟ้าสีส้ม (OR16) จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็น ม. รามคำแหง แต่ยังใช้ Ram Khamhaeng University เหมือนเดิม
13 สถานีรถไฟฟ้าสีส้ม (OR17) จากรัชมังคลา (Rajamangala) เป็น กกท. (SAT)
14 สถานีรถไฟฟ้าสีส้ม (OR18) จากหัวหมาก (Hua Mark) เป็น รามคำแหง 34 (Ram Khamhaeng 34)
15 สถานีรถไฟฟ้าสีส้ม (OR19) / เหลือง (YL11) จากแยกลำสาลี (Lam Salee Junction) เป็น แยกลำสาลี (ํYaek Lam Salee)
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/1000654920711452


กรมรางเคาะชื่อสถานีรถไฟฟ้า 4 เส้นทาง ตั้งตามทำเล Landmark และความคุ้นชิน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 09:21 น.
ปรับปรุง: วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 09:21 น.

เมื่อชื่อ (รถไฟฟ้า) สำคัญฉะนี้ ต้องมีหลักตั้ง ”ชื่อ-รหัส” สถานี
มุมคนเมือง
14 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 8:00 น.


การตั้งชื่อสถานีรถไฟฟ้า รหัสสีกำหนดเส้นทางรถไฟฟ้า ต้องกำหนดให้ชัดเจน ให้เป็นมาตราฐานกลาง เพื่อลดความสับสนแก่ผู้ใช้บริการ เเละเพื่อให้หน่วยงานที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าต่างๆ สามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้องเหมาะสม กรมรางเคาะชื่อสถานีรถไฟฟ้า 4 เส้นทาง สีส้ม สีม่วง สีชมพู สีเหลือง รวม 18 สถานี ที่เคยมีประเด็นความเห็นแตกต่าง ยึดหลักความเหมาะสมกับที่ตั้ง Landmark และความเห็นประชาชนในพื้นที่

กรมการขนส่งทางราง (ขร.)  ประกาศเปลี่ยนชื่อสถานีรถไฟฟ้า 4 สถานี  โดยอ้างมติที่ประชุมคณะกรรมการกำกับและบริหารจัดการระบบขนส่งทางราง ครั้งที่ 2 / 2564  เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา  ซึ่งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมได้พิจารณาเห็นชอบการกำหนดชื่อสถานีรถไฟฟ้าบางแห่งที่เป็นประเด็นโดยมีมติเห็นชอบกำหนดชื่อสถานีภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  ดังนี้ 


สีเปลี่ยนสถานีวัดชลประทาน เป็นกรมชลประทาน สีเหลือง เปลี่ยนสถานีพัฒนาการเป็นหัวหมาก สีม่วงเปลี่ยนสถานีผ่านฟ้าฯ เป็นอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สีส้มเปลี่ยนสถานีราชมังคลาเป็น กทท. ยันยึดหลักความเหมาะสมกับที่ตั้งและความเห็นประชาชนในพื้นที่

นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการกำกับและบริหารจัดการระบบขนส่งทางราง ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2564 ซึ่งได้มีการพิจารณาการกำหนดชื่อสถานีรถไฟฟ้า 4 เส้นทาง รวม 18 สถานี คือ รถไฟฟ้าสายสีส้ม จำนวน 6 สถานี สายสีม่วง จำนวน 3 สถานี สายสีชมพู จำนวน 7 สถานี และสายสีเหลือง จำนวน 2 สถานีที่ชื่อสถานีเป็นประเด็นในเรื่องความเห็น โดยได้ข้อยุติที่เหมาะสมแล้ว โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมทางหลวง (ทล.) กรมทางหลวงชนบท (ทช.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รฟท. บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ภาคีเครือข่ายขนส่งมวลชนทุกคนต้องขึ้นได้ รถไฟฟ้า BTS บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM กรุงเทพมหานคร (กทม.) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เข้าร่วมหารือ

ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้มีมติเห็นชอบการกำหนดชื่อสถานีภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เช่น รถไฟฟ้าสายสีชมพู สถานีวัดชลประทานเดิม เปลี่ยนเป็นสถานีกรมชลประทาน (Royal Irrigation Department) เนื่องจากที่ตั้งอยู่หน้ากรมชลประทาน, บริเวณสินแพทย์กำหนดให้เป็น รามอินทรา กม.9 (Ram Inthra Kor Mor 9) เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อเรียกย่านในบริเวณดังกล่าว เป็นต้น

รถไฟฟ้าสายสีม่วง สถานีผ่านฟ้าฯ เดิม กำหนดชื่อเป็นสถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย (Democracy Monument) เช่นเดียวกับสถานีรถไฟฟ้าสายสีส้ม อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย (Democracy Monument) โดยมีรหัสสถานีที่แตกต่างกัน เนื่องจากให้สอดคล้องกับ Landmark ในบริเวณดังกล่าวและเป็นสถานีที่อยู่ใกล้กันในระยะเดินถึง

รถไฟฟ้าสายสีม่วง สถานีวงเวียนใหญ่เหนือเดิม กำหนดชื่อเป็นสถานีวงเวียนใหญ่ (Wongwian Yai) เพื่อให้สอดคล้องกับ Landmark ในบริเวณดังกล่าว

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง สถานีพัฒนาการเดิม กำหนดชื่อเป็น สถานีหัวหมาก (Hua Mak) เนื่องจากที่ตั้งอยู่บนถนนศรีนครินทร์ อยู่ใกล้สถานีรถไฟหัวหมาก และสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์หัวหมากในระยะประมาณ 200-300 เมตร ซึ่งเป็นระยะเดินถึงและเป็นย่านที่ประชาชนคุ้นชินแล้ว ควรที่จะใช้ชื่อเดียวกันเพื่อลดความสับสนของผู้ใช้บริการ โดยมีรหัสสถานีที่แตกต่างกัน เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังพิจารณาแนวทางการกำหนดรหัสสีของเส้นทางรถไฟฟ้าให้เป็นมาตรฐานกลางเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ประโยชน์ จัดทำป้ายสัญลักษณ์ แผนที่ ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบสอดคล้องกันอย่างมีเอกภาพ

อย่างไรก็ตาม กรณีรหัสสีของเส้นทางระบบรางในอนาคต ให้หลีกเลี่ยงการใช้สีที่ใกล้เคียงกับสีที่มีอยู่เดิม ซึ่งจะสร้างความสับสนแก่ผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะผู้พิการประเภทตาเห็นเลือนราง หากหลีกเลี่ยงการใช้สีซ้ำหรือใกล้เคียงกันไม่ได้ ควรที่จะกำหนดชื่อเส้นทางประกอบกับรหัสสี เพื่อสื่อสารให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าใจได้ โดยให้หน่วยงานผู้ให้บริการขนส่งทางรางเสนอกรมรางพิจารณา เพื่อเสนอกระทรวงคมนาคมให้ความเห็นชอบก่อนการดำเนินการจริง

นอกจากนี้ได้กำหนดรหัสสีของเส้นทางรถไฟฟ้าให้เป็นมาตรฐานกลางเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นเอกภาพ ใช้เป็นมาตรฐานจัดทำป้ายสัญลักษณ์ แผนที่ ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบสอดคล้องกัน  โดยให้ใช้รหัสสีตามที่หน่วยงานรับผิดชอบกำหนดไว้เดิม เช่น สายสีเขียว ทอง เทาให้ยึดตามรหัสสีของ กรุงเทพมหานครนคร(ทม.) /บีทีเอส สายสีน้ำเงิน ม่วง ส้ม เหลือง ชมพู ยึดตามรหัสสีของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ( รฟม.)  สายสีแดง ให้ยึดตามรหัสสีของการรถไฟแห่งประเทศไทย ( รฟท.)   

กรณีรหัสสีของเส้นทางระบบรางในอนาคต ให้หลีกเลี่ยงการใช้สีที่ใกล้เคียงกับสีที่มีอยู่เดิม ซึ่งจะสร้างความสับสนแก่ผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะผู้พิการทางสายตาจะเห็นเลือนราง หากหลีกเลี่ยงการใช้สีซ้ำหรือใกล้เคียงกันไม่ได้ ควรกำหนดชื่อเส้นทางประกอบกับรหัสสี เพื่อสื่อสารให้ผู้ใช้บริการเข้าใจโดยเห็นสมควรให้หน่วยงานผู้ให้บริการขนส่งทางรางเสนอ ขร. พิจารณา เพื่อเสนอกระทรวงคมนาคม ให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการจริง.

นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.)  อธิบายเพิ่มเติมว่า  เนื่องจากการประชุมคณะกรรมการฯครั้งที่ 1 ได้ร่วมกันพิจารณาข้อมูลการให้บริการรถไฟฟ้าแต่ละโครงการที่แตกต่างกันเพื่อกำหนดหลักการตั้งชื่อสถานีและกำหนดรหัสสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสาธารณะ ดังนี้

  1.ง่าย ชื่อสถานีรถไฟฟ้าจะต้องเป็นชื่อที่ง่าย และจดจำได้ง่าย
2. สั้น กระชับ  ได้ใจความโดยชื่อภาษาไทยควรมีความยาว ไม่เกิน 5 พยางค์และชื่อภาษาอังกฤษควรใช้ตัวอักษรไม่เกิน 15 ตัวอักษร
3.มีความยั่งยืน ใช้ได้อย่างตลอดระยะเวลาที่สถานียังคงเปิดให้บริการอยู่

4.สามารถระบุตำแหน่งได้ชัดเจน ต้องเอื้อให้ผู้เดินทางระบุตำแหน่ง หรือบริเวณที่ตั้งของสถานีได้อย่างชัดเจน และควรมีความเกี่ยวข้องกับพื้นที่ตั้งสถานี  
5.เฉพาะเจาะจง ชื่อต้องไม่ซ้ำกัน หรือสร้างความสับสนแก่ผู้ใช้บริการ และ
6.มีความเชื่อมโยงกัน ต้องสร้างความเชื่อมโยงไปใช้ในการวางแผนการเดินทางได้

โดยเฉพาะชื่อสถานีที่เป็นสถานีเชื่อมต่อ ควรใช้ชื่อเดียวกันทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยระบุความแตกต่างของเส้นทางโดยรหัสสถานี ซึ่งการกำหนดสถานีในประเทศไทยจะยึดหลักการเดียวกับหลักการของสากลมีทั้งชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ


รวมทั้งคำประกาศภายในขบวนรถเพื่อแจ้งจุดเชื่อมต่อสถานี รูปแบบป้ายสัญลักษณ์ รหัสสีกำหนดเส้นทางรถไฟฟ้า ให้มีความเป็นมาตรฐานกลาง ลดความสับสนแก่ผู้ใช้บริการ เพื่อให้หน่วยงานที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าต่างๆ สามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและเป็นกรอบดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าเส้นทางอื่นในอนาคตด้วย

ปัจจุบันในกรุงเทพฯและปริมณฑลเปิดบริการรถไฟฟ้าแล้ว 5 สี  11 เส้นทาง ระยะทางรวม 211.94กม. 141 สถานี อยู่ระหว่างก่อสร้างและกำลังจะสร้างอีก 343 กม. กว่า 300 สถานี   จะทยอยเสร็จและเปิดบริการตั้งแต่ปี 65-70 กรุงเทพฯจะกลายเป็นมหานครระบบรางติดท็อปไฟว์ของโลก ….การตั้งชื่อสถานีรถไฟฟ้าให้เป็นมาตรฐานสากล ไม่สับสน  จึงสำคัญฉะนี้..
https://mgronline.com/business/detail/9640000090572
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Page 1 of 1

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©