RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13181235
ทั้งหมด:13492470
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องของหัวลำโพง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องของหัวลำโพง
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 14, 15, 16 ... 31, 32, 33  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44331
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/11/2021 3:38 pm    Post subject: Reply with quote

ถ้าปิด"หัวลำโพง" "รถไฟชานเมือง"จะไปทางไหน
กรุงเทพธุรกิจ By จุดประกาย24 พ.ย. 2564 เวลา 14:30 น.

"รถไฟชานเมือง" คือระบบรางอีกเส้นทางหลักที่เปิดบริการคนรอบๆ กรุงเทพฯมานาน แม้จะมีรถไฟฟ้าสายใหม่เกิดขึ้น แต่ยังไม่ครอบคลุมการเดินทาง ถ้าไม่ยกเลิกเส้นทางเข้า"หัวลำโพง"แต่ปรับปรุงให้ดีขึ้นจะดีกว่าไหม...

ขบวนรถชานเมือง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นรถประเภทหนึ่งของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ให้บริการในสายเหนือ,สายตะวันออกเฉียงเหนือ, สายใต้ และสายตะวันออก

รัศมีโดยรอบไม่เกิน 150 กิโลเมตร จอดทุกสถานีและป้ายหยุดรถ ใช้เส้นทางร่วมกับรถไฟทางไกลและรถไฟสินค้า ส่วนใหญ่เป็นทางคู่ ซึ่งมีข้อดีคือ ราคาถูก ตารางเวลาเดินรถแน่นอน ส่วนข้อเสียคือ ทั้งร้อนและรอนาน มีขบวนรถน้อย

เส้นทาง"รถไฟชานเมือง"

อาณาเขตกรุงเทพมหานคร ทิศเหนือติด จ.ปทุมธานี ทิศตะวันตกติด จ.นครปฐม ทิศตะวันออกติด จ.ฉะเชิงเทรา สถานีหลักอยู่ที่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ศูนย์กลางการเดินทางระบบราง เริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5

1) สายเหนือและสายอีสาน วิ่งไปทางทิศเหนือ ผ่านโบ๊เบ๊ ยมราช สามเสน บางซื่อ บางเขน หลักสี่ ดอนเมือง รังสิต อยุธยา

2) สายตะวันออก วิ่งไปทางตะวันออก ผ่านมักกะสัน หัวหมาก ลาดกระบัง หัวตะเข้ ฉะเชิงเทรา

3) สายใต้ วิ่งไปทางตะวันตก ผ่านบางซ่อน บางบำหรุ ตลิ่งชัน ศาลายา นครปฐม

ถ้าปิด"หัวลำโพง" "รถไฟชานเมือง"จะไปทางไหน

รถไฟชานเมือง ที่มาจากทิศเหนือ เริ่มต้นจาก อยุธยา, รังสิต, บางซื่อ (มีรถไฟฟ้า MRT บริการ) สามเสน หัวลำโพง รถไฟชานเมืองที่มาจากทิศตะวันออก เริ่มต้นจาก ฉะเชิงเทรา, หัวตะเข้, ลาดกระบัง, หัวหมาก, อโศก (มีรถไฟฟ้า MRT บริการ) พญาไท,หัวลำโพง

เป็นรถที่ทำเวลาได้ดีพอสมควร ถ้านั่งจากหัวลำโพงไปรังสิต, ศาลายา,หัวตะเข้ ใช้เวลาไม่เกินหนึ่งชั่วโมง และไปอยุธยา, นครปฐม, ฉะเชิงเทรา ไม่เกินหนึ่งชั่วโมงครึ่ง

ทางเลือกใหม่ 'รถไฟชานเมืองสายสีแดง'

โครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ใช้เวลานานถึง14 ปีในการดำเนินการ ตั้งแต่คณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)ดำเนินการเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2550 เปิดทดลองให้ประชาชนใช้ฟรีในวันที่ 2 สิงหาคม 2564

จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 นี้ ค่าโดยสารเริ่มต้น 12-42 บาท ตั้งแต่เวลา 05.30-24.00 น. มีสถานีกลางบางซื่อเป็นปลายทาง และมี 2 เส้นทางคือ

1) บางซื่อ-รังสิต วิ่งผ่าน 10 สถานี ได้แก่ สถานีกลางบางซื่อ, จตุจักร, วัดเสมียนนารี, บางเขน, ทุ่งสองห้อง, หลักสี่, การเคหะ, ดอนเมือง, หลักหก รังสิต จากต้นทางไปถึงปลายทาง ใช้เวลา 25 นาที ระยะทาง 26 กิโลเมตร

2) บางซื่อ-ตลิ่งชัน วิ่งผ่าน 3 สถานี ได้แก่ บางซ่อน, บางบำหรุ, ตลิ่งชัน จากต้นทางไปถึงปลายทา ใช้เวลา 15 นาที ระยะทาง15 กิโลเมตร

มีจุดเชื่อมต่อกับเส้นทางอื่น 3 สถานี

1.สถานีกลางบางซื่อ เชื่อมต่อกับ MRT สายสีน้ำเงิน (หลักสอง-บางซื่อ-ท่าพระ)

2.สถานีหลักสี่ เชื่อมต่อกับโมโนเรลสายสีชมพู (ศูนย์ราชการนนทบุรี-มีนบุรี) อยู่ระหว่างการก่อสร้าง

3.สถานีบางซ่อน เชื่อมต่อกับ MRT สายสีม่วง (เตาปูน-คลองบางไผ่)

หมายเหตุ : เส้นทางรถไฟชานเมืองเดิมที่วิ่งอยู่ สามเสน, รามาธิบดี, ยมราช, พญาไท, อุรุพงษ์, หัวลำโพง เป็นเส้นทางที่รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงวิ่งไปไม่ถึง

ถ้าปิด"หัวลำโพง" "รถไฟชานเมือง"จะไปทางไหนรถไฟชานเมือง

คัดค้านการย้ายหัวลำโพง

ถ้าทำความเข้าใจเส้นทางอย่างละเอียดจะเห็นว่า แม้จะมีรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง แต่การเชื่อมต่อยังไม่ครอบคลุมการใช้บริการของคนรอบนอกกรุงเทพฯ ทำให้เดือดร้อน ต่างจากรถไฟชานเมืองเดิมที่มีจุดเชื่อมต่อทำให้เดินทางสะดวก

เรื่องนี้ ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความคิดเห็น เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 ในเฟซบุ๊ค Dr.Samart Ratchapolsitte ว่า อย่ารังแกหัวลำโพง !

“กระทรวงคมนาคมอ้างว่าต้องการแก้ปัญหารถติดในกรุงเทพฯ ที่เกิดจากทางรถไฟตัดกับถนน 1. การแก้จุดตัดระหว่างทางรถไฟกับถนน...หากรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ไม่เกิดขึ้น ก็สามารถแก้ได้โดยการสร้างอุโมงค์ลอดใต้ทางรถไฟหรือสะพานลอยข้ามทางรถไฟให้รถยนต์วิ่ง

2. หากยกเลิกรถไฟวิ่งเข้าหัวลำโพง...จะมีผู้เดือดร้อนมากมาย ประกอบด้วยผู้โดยสารที่เดินทางจากชานเมืองและผู้โดยสารที่อยู่จังหวัดห่างไกลสามารถเข้าถึงใจกลางกรุงเทพฯที่สถานีสามเสนหรือหัวลำโพงก็ได้ หากต้องลงรถไฟที่สถานีกลางบางซื่อจะเสียเวลาและค่าเดินทางเพิ่มขึ้น สร้างความเดือดร้อนให้เขาอย่างมาก

3. ปิดหัวลำโพงเท่ากับปิดประตู่สู่ระบบราง หลายเมืองทั่วโลกที่นิยมขนผู้โดยสารด้วยระบบรางจะรักษาสถานีรถไฟใจกลางเมืองไว้ ไม่ย้ายออกนอกเมือง เช่น กรุงโตเกียว ที่มีรถไฟหลายประเภทหลายพันเที่ยวต่อวัน

4. ไม่ปิดหัวลำโพงก็พัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ได้ หากการเดินทางเข้าออกหัวลำโพงสะดวกรวดเร็ว เป็น“การพัฒนาพื้นที่กับทางรถไฟแบบบูรณาการ (Integrated Development of Area and Railway หรือ IDAR) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในญี่ปุ่น

5. อย่าให้ “ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย” เหมือนปิดสนามบินดอนเมืองในปี 2549 ที่มีคนจำนวนมากเดือดร้อน

ถ้าปิด"หัวลำโพง" "รถไฟชานเมือง"จะไปทางไหนรถไฟชานเมือง

Save หัวลำโพง

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 รสนา โตสิตระกูล นักรณรงค์ด้านสิทธิผู้บริโภค โพสต์ในเฟซบุ๊คส่วนตัวว่า การพัฒนารถไฟฟ้าให้ทันสมัยในปัจจุบัน ล้วนเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชน

“รถไฟฟ้าที่อยู่ภายใต้บริษัทลูกของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ที่รัฐบาลสร้างในยุคนี้ มีทั้งหมด 10-11 สาย งบประมาณสร้างประมาณ 6 แสนล้านบาท เป็นเงินจากภาษีของประชาชน

ที่น่าแปลกคือไม่สร้างรถไฟฟ้าที่เริ่มจากศูนย์กลางมีคนใช้บริการจำนวนมากเพื่อให้คุ้มทุนเร็ว แต่กลับไปสร้างส่วนที่อยู่ปลายอ้อปลายแขมทำให้การเดินรถขาดทุน

รฟท.เป็นรัฐวิสาหกิจแรกๆ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่5 เป็นการขนส่งมวลชนที่ถูกที่สุด ช่วยเหลือค่าครองชีพของประชาชนจริงๆ โดยภาษีของประชาชน เพื่อประชาชน

แต่กลายเป็นว่ารัฐบาลยกกำไรสูงสุดให้เอกชนผ่านการสัมปทาน ภาระอยู่บนกระดูกสันหลังประชาชน สาธารณูปโภคสาธารณูปการ ทุกอย่างถูกผ่องถ่ายไปให้กลุ่มทุนไม่กี่เจ้า รวมทั้งการให้หยุดเดินรถเข้ามาที่หัวลำโพง โดยอ้างว่า เพื่อหาเงินใช้หนี้ และทำให้รถติด ส่งเสริมสร้างรถไฟฟ้าหลายสายเพื่อยกประโยชน์ให้เอกชนทำกำไร

สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังหยุดการเดินรถไฟไปหัวลำโพงก็คือ

1) ราคาค่าโดยสารของประชาชนเพิ่มขึ้น จากรังสิตมาหัวลำโพงจาก 6บาท ก็ต้องมาต่อรถที่บางซื่อ ค่ารถไฟฟ้าจากบางซื่อมาหัวลำโพง ก็ต้องจ่ายเพิ่มอีก 42 บาท

2) บางซื่อเป็นศูนย์รวมของรถไฟ มีความแออัด จราจรติดขัด ทั้งที่เพิ่งเปิดก็มีปัญหารถติดแล้ว จึงควรกระจายศูนย์มากกว่าการรวมศูนย์ไว้ที่เดียว

3) รัฐบาลควรมีนโยบายชัดเจนเรื่องค่าเดินทางของประชาชน ควรอยู่ที่ 10% ของรายได้ขั้นต่ำ สามารถใช้อุโมงค์ใต้ดินของรถไฟฟ้าสายสีแดงแก้ปัญหาจุดตัดที่ทำให้รถติดได้ เว้นเสียแต่ว่าการปิดหัวลำโพงเป็นเพียงข้ออ้างเอาที่ 120 ไร่ไปให้เอกชนหาประโยชน์ ใช่หรือไม่
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 25/11/2021 9:14 am    Post subject: Reply with quote

อย่าเพิ่งหักดิบย้ายหัวลำโพง
โดย: กิตตินันท์ นาคทอง
เผยแพร่: 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 05:39 น.
ปรับปรุง: 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 05:39 น.


กิตตินันท์ นาคทอง Facebook.com/kittinanlive

สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือที่เรียกกันติดปากว่า สถานีรถไฟหัวลำโพง กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลง โดยย้ายการเดินรถทุกขบวนไปยังสถานีกลางบางซื่อ ตามนโยบายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม

ประเด็นการย้ายสถานีหัวลำโพงไปสถานีกลางบางซื่อไม่ใช่เรื่องใหม่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) วางแผนกันมานานแล้ว แต่รอให้เปิดใช้สถานีกลางบางซื่ออย่างเป็นทางการก่อน

ตามรายงานข่าวระบุว่า ทีแรกการรถไฟฯ เสนอลดจำนวนรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพง จากนับร้อยขบวนให้เหลือเพียง 22 ขบวนต่อวัน หลังจากนั้นจะทยอยปรับให้ขบวนรถไปใช้สถานีกลางบางซื่อ ถึงปี 2570 จะไม่มีขบวนรถเข้าสถานีหัวลำโพงอีก

ขบวนรถชานเมือง 22 ขบวน ส่วนมากจะมาจากลพบุรี (สายเหนือ) ชุมทางแก่งคอย (สายอีสาน) ชุมทางบ้านภาชี ชุมทางหนองปลาดุก (สายใต้) กับรถไฟสายตะวันออก จากด่านพรมแดนบ้านคลองลึก และบ้านพลูตาหลวง ที่มีวันละ 1 ขบวน

แต่ทีนี้ พอการรถไฟฯ เสนอแผนให้รัฐมนตรีศักดิ์สยาม ปรากฏว่าเจ้าตัวไม่เห็นด้วย เคาะมาเลยว่าขอให้สิ้นปีนี้รถไฟเข้าสถานีหัวลำโพง “ต้องเป็นศูนย์” อนุญาตให้เฉพาะรถไฟที่เข้ามายังโรงซ่อม มาเติมน้ำมัน 4 ทุ่มถึงตี 4 เท่านั้น

เปรียบเทียบ “สนามบินสุวรรณภูมิ” อยู่ไกลถึงสมุทรปราการ ผู้โดยสารยังไปได้ หากบางขบวนต้องจอดรอบนอก ก็ต้องไปหาระบบฟีดเดอร์ เช่น รถเมล์ ขสมก. มารับส่งผู้โดยสารแทน

และเห็นว่าการรถไฟฯ ต้องนำผลกระทบมาชั่งน้ำหนัก หากมีประโยชน์มากกว่า ก็ต้องกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง ไม่เช่นนั้นก็จะตอบคำถามกับสังคมไม่ได้ว่า สร้างบางซื่อใหญ่โตไว้ทำไม?

ล่าสุด รัฐมนตรีศักดิ์สยาม ระบุว่า การหยุดให้บริการที่หัวลำโพงต้องทำให้ชัดเจน การรถไฟฯ ต้องตัดสินใจให้เด็ดขาดภายในปีนี้ (2564) เพราะไม่ต้องการให้ปิดถนนรอรถไฟวิ่งผ่านอีกต่อไป และจะได้เดินหน้าพัฒนาพื้นที่หัวลำโพงได้

“หากยังไม่กล้าทำให้ชัดเจน มัวแต่กังวลคนใช้บริการเยอะ ไม่หยุดเสียที ทุกอย่างก็เดินต่อไม่ได้ ผมกล้ายอมรับถูกวิพากษ์วิจารณ์ เพราะสุดท้ายคนส่วนใหญ่จะได้ประโยชน์มหาศาล ดังนั้นต้องกล้าที่จะทำ”

จากข้อมูลของทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย ระบุว่า จะมีการย้ายให้รถไฟทุกขบวนปรับเส้นทางให้สิ้นสุดจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) เป็นสถานีปลายทางที่สถานีกลางบางซื่อ ตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2564

ส่วนสถานีรถไฟหัวลำโพง จะยังคงอนุรักษ์อาคารเอาไว้ แต่จะพัฒนาพื้นที่ให้เป็นศูนย์คมนาคมกลางเมือง โดยพื้นที่บางส่วนซึ่งปัจจุบันคือโรงซ่อมรถไฟ และพวงราง จะพัฒนาเชิงพาณิชย์เพื่อสร้างรายได้ให้กับการรถไฟฯ

พอได้ข่าวมาอย่างนี้ ก็เรียกเสียงวิจารณ์ในโลกออนไลน์ โดยเฉพาะคนที่ใช้บริการรถไฟเป็นประจำ ต่างออกมาไม่เห็นด้วย โดยชี้ว่าเป็นการผลักภาระให้ประชาชน ต้องจ่ายค่าโดยสารเพิ่มมากขึ้น

สอดรับกับ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์คัดค้านนโยบายหยุดให้บริการรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพง เหตุผลก็คือ ประชาชนที่ใช้บริการไป-กลับจำนวนมากได้รับความเดือดร้อน

ถ้า รมว.คมนาคม เห็นว่าจำเป็นต้องปิดสถานีหัวลำโพงและหยุดให้บริการจริงๆ ควรสอบถามความเห็นประชาชนผู้ใช้บริการก่อนจะดีกว่าหรือไม่ ส่วนเหตุผลที่ว่าแก้ปัญหาจราจรติดขัดตามจุดตัดทางรถไฟนั้นไม่เป็นความจริง

ประการต่อมาก็คือ การนำที่ดินหัวลำโพง 120 ไร่ ที่ใช้สำหรับการเดินรถ มาพัฒนาเชิงพาณิชย์ เพื่อชดเชยการขาดทุน อาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งที่การรถไฟฯ ยังมีที่ดินว่างเปล่าอีกหลายแปลงทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด

อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ การปิดสถานีรถไฟ จะทำลายประวัติศาสตร์กิจการรถไฟสยาม ที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ให้เลือนหายไป กลายเป็นการนำที่ดินหัวลำโพงไปให้นายทุนเช่าเพื่อหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์

นายสราวุธ สราญวงศ์ รักษาการประธานสหภาพการรถไฟฯ กล่าวในการเสวนาออนไลน์ “เมื่อหัวลำโพงไม่มีรถไฟ จะไปต่อยังไงกันดี” ระบุว่า ยังมีที่ดินการรถไฟฯ อีกหลายพื้นที่ ที่มีความพร้อมในการพัฒนาเชิงพาณิชย์

ส่วนการพัฒนาพื้นที่หัวลำโพง เป็นการตั้งตุ๊กตาขึ้นมา ทั้งที่ผังเมืองเป็นผังสีน้ำเงิน (หน่วยงานราชการ) ไม่เปลี่ยนแปลง ตามเงื่อนไขก็คือ ต้องเปลี่ยนผังเมืองจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง (ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม) ก่อน

ทางสหภาพฯ ตั้งข้อสังเกตว่า ถ้าสถานีรถไฟหัวลำโพงยังมีรถไฟเดินรถอยู่ การเปลี่ยนแปลงผังเมืองทำไม่ได้ จึงอาจเป็นการเร่งรีบไม่ให้เดินรถ เพื่อเป็นเงื่อนไขในการเปลี่ยนแปลงผังเมือง

ในปี 2562 สถานีรถไฟหัวลำโพงมีผู้โดยสารใช้บริการรถไฟชานเมือง 6.7 ล้านคนต่อปี ในปี 2563 สถานการณ์โควิด-19 ระบาด จึงลดลงประมาณ 4.7 ล้านคน และในปี 2564 ที่เพิ่งเปิดการเดินรถได้ 3-4 เดือน อยู่ที่ 2.6 ล้านคน

ทางสหภาพฯ ได้สอบถามความเห็นประชาชนถึงเรื่องดังกล่าว พบว่าหากหยุดการเดินรถจริง จะมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น อย่างต่อมาคือการเชื่อมต่อการเดินทางด้วยระบบฟีดเดอร์ ผู้โดยสารนับพันคนจะต้องใช้รถเมล์กี่คัน จึงมองว่า เป็นเรื่องย้อนแย้ง ที่บอกว่ายุบหัวลำโพงเพื่อแก้ไขปัญหาจราจร แต่เป็นการเพิ่มรถเมล์บนท้องถนนอีก

อีกปัญหาหนึ่งที่ทางสหภาพฯ เป็นห่วง คือการบุกรุกที่ดินรถไฟฯ จะเกิดขึ้นตามมา เฉกเช่นทางรถไฟจากสถานีชุมทางหาดใหญ่-สงขลา จึงเห็นว่ายังมีที่ดินอีกหลายแปลงที่พัฒนาได้ โดยไม่จำเป็นต้องลดบทบาทสถานีรถไฟหัวลำโพง

ย้อนกลับไปในอดีต สถานีรถไฟกรุงเทพ เริ่มก่อสร้างในปี 2453 แล้วเสร็จในปี 2459 ลักษณะเป็นรูปโดมสไตล์อิตาเลียน ผสมผสานกับศิลปะยุคเรอเนสซอง คล้ายกับสถานีรถไฟกลางแฟรงค์เฟิร์ต เยอรมนี

อีกทั้งวัสดุในการก่อสร้าง ก็เป็นวัสดุสำเร็จรูปจากเยอรมนี มีกระจกสีที่ช่องระบายอากาศ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง และนาฬิกาบอกเวลาที่มีอายุเก่าแก่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 160 เซนติเมตร ซึ่งเป็นเครื่องบอกเวลามาถึงปัจจุบัน


X


ปัจจุบันสถานีรถไฟกรุงเทพ เป็นต้นทางรถไฟสายเหนือ สายอีสาน สายตะวันออก และสายใต้ โดยมีขบวนรถบริการเชิงสังคม ทั้งรถธรรมดา รถชานเมือง ไปถึงขบวนรถบริการเชิงพาณิชย์ ทั้งรถเร็ว รถด่วน และรถด่วนพิเศษ

นอกจากนี้ ยังเชื่อมต่อการเดินทางกับขนส่งมวลชนระบบอื่น เช่น รถเมล์เข้ามารับ-ส่งผู้โดยสารประมาณ 7 เส้นทาง หรือรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (MRT) สถานีหัวลำโพง มีทางเชื่อมไปยังหน้าสถานีโดยตรง

อันที่จริงสถานีรถไฟหัวลำโพง ตามแผนจะอยู่ในแนวเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงสถานีกลางบางซื่อลงมา ก่อนที่จะเป็นทางรถไฟสายใหม่ ไปยังคลองสาน บางบอน มหาชัย เชื่อมไปยังสถานีปากท่อ

ช่วงตั้งแต่สถานีกลางบางซื่อลงมา จะใช้โครงสร้างร่วมกัน 3 โครงการ ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม บางซื่อ-หัวลำโพง, รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน บางซื่อ-หัวหมาก และรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (รวมแอร์พอร์ตเรลลิงก์)

แนวเส้นทางช่วงดังกล่าวออกแบบมาในลักษณะ คลองแห้ง เพราะติดปัญหาจุดตัดทางรถไฟมากกว่า 10 จุด และเขตพระราชฐาน (พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน) แต่การก่อสร้างไม่ง่าย เพราะติดอุโมงค์ยักษ์ของ กทม. และท่อส่งน้ำมัน

เนื่องจากคลองแห้งช่วงดังกล่าว ใช้โครงสร้างร่วมกัน 3 โครงการ มีความเป็นไปได้ว่าจะให้กลุ่ม ซี.พี. ก่อสร้างคลองแห้งช่วงบางซื่อ-พญาไทไปก่อน แล้วถ้ารถไฟฟ้าสายสีแดงเริ่มเมื่อไหร่ค่อยมาเชื่อมต่อ อาจจะจ่ายชดเชยให้อีกที

ความเห็นส่วนตัว การย้ายต้นทางจากสถานีรถไฟหัวลำโพง มายังสถานีกลางบางซื่อ เป็นเรื่องที่ทำได้ หากมีรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-หัวลำโพงเปิดให้บริการเรียบร้อยแล้ว ไม่ใช่ย้ายกันตอนที่ยังไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน

ส่วนปัญหาค่าโดยสารแพงเกินไป รัฐยังสามารถช่วยเหลือประชาชน ออกค่าโดยสารอัตราพิเศษได้ และคิดว่าค่าโดยสารช่วงบางซื่อ-หัวลำโพงแบบทางตรง ไม่น่าจะสูงกว่ารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่อ้อมไปทางรัชดาภิเษก คลองเตย

ถ้าจะย้ายสถานีกันแบบนี้ ต้องประชาสัมพันธ์ล่วงหน้าอย่างทั่วถึง ติดประกาศตัวหนังสือโตๆ ทุกสถานีทั่วประเทศ ล่วงหน้าอย่างน้อย 6 เดือน 1 ปี ให้ประชาชนปรับพฤติกรรม ไม่ใช่มา “หักดิบ” โดยอ้างว่ารอไม่ได้

คนที่ได้รับผลกระทบไม่ใช่รัฐมนตรี แต่เป็นประชาชนนับล้านคนทั่วประเทศ ที่ใช้บริการรถไฟตัวจริง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 26/11/2021 12:31 am    Post subject: Reply with quote

มอง "หัวลำโพง" ผ่านคนใช้รถไฟเดินทางในชีวิตประจำวัน ทั้ง ทำงาน หาเงิน เรียนหนังสือ ค้าขาย และท่องเที่ยว ด้วยต้นทุนราคาถูก เดินทางสะดวก
.
แต่ภาพแบบนี้จะมีให้เราเห็นได้อีกนานสักเท่าไร คนเหล่านี้จะหายไปพร้อมกับเสียงระฆังครั้งสุดท้ายที่หัวลำโพง หรือไม่
.
The Active ชวนนั่งรถไฟไปด้วยกันที่ "สถานีรถไฟกรุงเทพ"
.
.
เรื่อง : อัญชัญ อันชัยศรี
ภาพ : วราพร อัมภารัตน์
.
📌 ชมภาพถ่ายบนเว็บไซต์ https://theactive.net/view/hua-lamphong-station/
https://www.facebook.com/theactive.net/posts/4781118381919484
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 26/11/2021 6:51 am    Post subject: Reply with quote

เตือนอย่าพูดความจริงไม่หมด ย้ายหัวลำโพงล้างขาดทุนสะสม 14 ปี รัฐค้างจ่ายการรถไฟฯ 2 แสนล้าน
MGR Infographics
เผยแพร่: 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 05:39 น.

อดีตประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟฯ เตือนรัฐอย่าพูดความจริงไม่หมด ยกเลิกหัวลำโพงย้ายไปบางซื่อ นำที่ดินมาแปลงล้างผลการขาดทุนสะสม ชี้ปัจจุบันเก็บค่าโดยสารเพียง 24 สตางค์ต่อกิโลเมตร ไม่เคยปรับราคา 36 ปี แต่ยอมกัดก้อนเกลือเพื่อลดรายจ่ายประชาชน เพียงแต่รัฐต้องชดเชยเต็มจำนวน ชี้ผ่านมา 14 ปีค้างจ่ายแล้ว 2.4 แสนล้าน
.
วันนี้ (23 พ.ย.) เฟซบุ๊ก Sawit Kaewvarn ของนายสาวิทย์ แก้วหวาน อดีตประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย โพสต์ข้อความกรณีที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม มีนโยบายที่จะย้ายการเดินรถไฟจากสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไปยังสถานีกลางบางซื่อ และนำที่ดินหัวลำโพง 120 ไร่มาพัฒนาในเชิงพาณิชย์เพื่อล้างผลการขาดทุนสะสม ระบุว่า “อย่าพูดว่าการรถไฟฯ ขาดทุน โดยไม่พูดให้หมดว่าที่ขาดทุนนั้น ขาดทุนและเป็นหนี้เพราะอะไร นโยบายของรัฐบาลทุกยุคสมัยให้การรถไฟฯ ให้บริการโดยสารแก่ประชาชนในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนที่แท้จริง ความจริงคือต้นทุนดำเนินการต่อผู้โดยสาร 1 คน เดินทาง 1 กิโลเมตร การรถไฟฯ จะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 2 บาทต่อกิโลเมตร แต่รัฐบาลให้การรถไฟฯ เก็บราคาค่าโดยสารเพียง 24 สตางค์ต่อกิโลเมตร จะไม่ให้ขาดทุนได้อย่างไร? และการรถไฟฯ ไม่ปรับราคาค่าโดยสารมาตั้งแต่ปี 2528 เป็นเวลากว่า 36 ปี
.
พ.ร.บ.การรถไฟฯ พ.ศ. 2494 มาตรา 43 ระบุไว้ว่า “รายได้ที่การรถไฟแห่งประเทศไทยได้รับจากการดำเนินงานให้ตกเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทยสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ รายได้ที่ได้รับในปีหนึ่งๆ เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายสำหรับดำเนินงาน ค่าภาระต่างๆ ที่เหมาะสม เช่น ค่าบำรุงรักษา ค่าเสื่อมราคา และเงินสมทบกองทุนสำหรับจ่ายสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานในการรถไฟแห่งประเทศไทยและครอบครัว เงินสำรองธรรมดาซึ่งตั้งไว้เผื่อขาด เงินสำรองขยายงาน และเงินลงทุนตามที่ได้รับความเห็นชอบตามความในมาตรา 42 แล้ว เหลือเท่าใดให้นำส่งเป็นรายได้ของรัฐ แต่ถ้ารายได้มีจำนวนไม่พอสำหรับรายจ่ายดังกล่าวนอกจากเงินสำรองที่ระบุไว้ในวรรคก่อนและการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่สามารถหาเงินจากทางอื่น รัฐพึงจ่ายให้แก่การรถไฟแห่งประเทศไทยเท่าจำนวนที่ขาด”
.
แต่รัฐจ่ายไม่เต็มจำนวน จ่ายล่าช้า จนถึงปัจจุบันงบการเงินของการรถไฟฯ ที่ระบุว่า “เงินค้างรับตามกฎหมาย” ชี้ให้เห็นว่ารัฐค้างจ่ายการรถไฟฯ ตั้งแต่ปี 2550 จนถึงเดือนมิถุนายน 2564 อยู่ที่ 249,347,968,511.08 บาท (สองแสนสี่หมื่นเก้าพันสามร้อยสี่สิบเจ็ดล้านเก้าแสนหกหมื่นแปดพันห้าร้อยสิบเอ็ดบาทแปดสตางค์) ในแต่ละปีการรถไฟฯ ต้องกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องและต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้กว่าปีละ 3,000 ล้านบาท ดังนั้น เวลาพูดถึงการรถไฟแห่งประเทศไทยขาดทุนและเป็นหนี้นั้น ขอความกรุณาพูดให้ครบถ้วน การจงใจพูดไม่ครบถ้วนเท่ากับเป็นการให้ร้ายการรถไฟฯ พนักงานการรถไฟฯ คนรถไฟ หรือหากไม่รู้ข้อมูล ไม่เข้าใจในประเด็น ควรสอบถามข้อมูลให้ชัด มิฉะนั้นจะเข้าข่ายจงใจ เจตนาบิดเบือนสังคม
.
และอยากเรียนพี่น้องประชาชนให้ทราบและเข้าใจว่า อย่าเรียกร้องให้การรถไฟฯ มีกำไรจากค่าโดยสาร เพราะถ้าเก็บตามราคาต้นทุนประชาชนก็ต้องจ่ายค่าโดยสารที่แพงขึ้น ซึ่งสหภาพแรงงานรถไฟฯ มีจุดยืนมาโดยตลอดว่าไม่เห็นด้วยในการเพิ่มภาระให้ประชาชน แต่รัฐต้องชดเชยผลการขาดทุนให้เต็มตามจำนวน และตรงเวลา และขอให้พี่น้องประชาชนอย่าเรียกร้องให้รัฐขูดรีดประชาชน หากรัฐขาดทุนนั่นหมายถึงประชาชนมีกำไร ได้ลดรายจ่ายเพื่อนำรายได้ไปหล่อเลี้ยงจุนเจือครอบครัว ไม่ใช่เฉพาะแต่การรถไฟฯ แต่ทุกรัฐวิสาหกิจควรเป็นนโยบายของรัฐ ให้รัฐวิสาหกิจเป็นเครื่องมือช่วยเหลือประชาชน ทั้งในเรื่องพลังงาน ขนส่ง โทรคมนาคม เกษตรกรรม พาณิชยกรรม บริการ และอื่นๆ ไม่ใช่เอาเงินภาษีประชาชนไปลงทุน แต่สุดท้ายการบริหารจัดการประเคนให้เอกชนมาขูดรีดประชาชนของตนเองด้วย นโยบาย PPP (การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน) และแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เพราะแปรรูป ให้สัมปทานไปแล้ว คนเดือดร้อนคือพี่น้องประชาชนส่วนใหญ่นั่นเองที่ยังต้องดิ้นรนทำงานสร้างฐานชีวิต ฐานครอบครัว”
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44331
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/11/2021 7:10 am    Post subject: Reply with quote

บทความพิเศษ : ‘วัวลำพอง’ หรือ ‘หัวลำโพง’
แนวหน้า วันศุกร์ ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564, 06.00 น.

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงพระยาไพศาลศิลปศาสตร์ (ต่อมาคือ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี) เจ้ากรมตรวจการศึกษา กระทรวงธรรมการ ลงวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2454...

ทรงแสดงถึงความห่วงใยในการเรียกชื่อสถานที่ต่างๆ มีความสำคัญตอนหนึ่งว่า...

“...ชื่อเมืองที่เคยมีในภาษาไทยให้ใช้ภาษาไทย อย่าให้จดหมายเหตุแลพงศาวดารแตกสูญเสียได้จะดี ถ้าขืนเอาอย่างฝรั่งตะพืดตะพือไป จะหลงไม่รู้หัวนอนปลายตีน เมืองเก่าๆ ที่เรียกชื่อไว้ในหนังสือ จะกลายเป็นเมืองในเรื่องพระอภัยมณีไปหมดทำให้นักเรียนโง่ไปแน่แล้ว การเช่นนี้มีจนกระทั่งในกรุงเทพฯ เช่น หัวลำโพง ฝรั่งเรียกไม่ชัด ไทยเราพลอยเรียกตามว่า วัวลำพอง นี่เป็นเรื่องควรฟาดเคราะห์จริงๆ...”

พระราชหัตถเลขาฉบับนี้แสดงให้เห็นชัดว่า “หัวลำโพง” เป็นชื่อดั้งเดิม แต่ฝรั่งเรียกเพี้ยนเป็น “วัวลำพอง” คนจีนที่รับจ้างลากรถอยู่แถบนั้นเรียกเพี้ยนเป็น “ฮั่วน่ำโพ้ง”

“ทุ่งหัวลำโพง” มีผู้คนเคลื่อนย้ายเข้ามาสร้างชุมชนอาศัยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 มีการขุดคลองและถมเป็นถนนสายแรก ขึ้นในปีพ.ศ.2400 โดยขุดคลองแยกจาก คลองผดุงกรุงเกษม ผ่าทุ่ง“หัวลำโพง” เป็นเส้นตรงไปบรรจบคลองพระโขนง แล้วนำดินขึ้นมาถมเป็นถนนคู่ขนานไป ชาวบ้านเรียกกันว่า “คลองหัวลำโพง” และ ถนน “หัวลำโพง”

ในสมัยรัชกาลที่ 6 ถนนหัวลำโพง ได้รับพระราชทานชื่อใหม่เป็น “ถนนพระราม 4” เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนสายประวัติศาสตร์นี้

เพราะย่านหัวลำโพงนี้ เป็นที่อยู่ชุมชนและ“ชุมทาง” ที่คึกคัก จึงถูกกำหนดให้เป็น สถานีต้นทางของเส้นทางรถไฟสายแรกของสยามประเทศสายปากน้ำ (จากกรุงเทพฯไปสมุทรปราการ) ในปี 2429 โดยรัฐบาลได้ให้สัมปทาน 50 ปี แก่บริษัทของชาวเดนมาร์ก เส้นทางสายประวัติศาสตร์นี้ยาว 21 กิโลเมตร ถือเป็น “สายเอกชน” สายแรกของประเทศ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทำพิธีเริ่มการก่อสร้างเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2434 และได้เสด็จพระราชดำเนินไปทำ พิธีเปิดเดินรถปฐมฤกษ์ ในวันที่ 13 เมษายน 2436

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสแสดงถึง “น้ำพระทัย” ของพระองค์ท่านที่จะนำความก้าวหน้าในอารยธรรมมาสู่ประเทศ...

“เรามีความยินดีที่ได้รับหน้าที่อันเป็นที่พึงใจ คือจะได้เป็นผู้เปิดรถไฟสายนี้ ซึ่งเป็นที่ชอบใจและปรารถนามาช้านานแล้วนั้น ได้สำเร็จสมดังประสงค์ลงในครั้งนี้ เพราะเหตุว่าเป็นรถไฟสายแรกที่จะได้เปิดในบ้านเมืองเรา

แล้วยังจะมีสายอื่นๆ ต่อๆ ไปอีกเป็นจำนวนมากในเร็วๆนี้

เราหวังใจว่าจะเป็นการเจริญแก่ราชการและการค้าขายในบ้านเมืองเรายิ่งนัก...”

ทรงตั้งพระทัยที่จะให้ “ราษฎร” ของพระองค์ มีการคมนาคมที่สะดวกสบายสมชื่อคมนาคม

ทรงมีพระทัยเปิดกว้างที่จะรับวิทยาการเทคนิคจากต่างชาติ เพื่อปรับปรุงประเทศไทย

หลังรถไฟสายปากน้ำ เปิดเดินรถไฟได้ 1 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง “ทำได้” ตามพระราชดำรัสที่ให้ไว้ “แล้วยังจะมีสายอื่นๆ ต่อๆ ไปอีกเป็นจำนวนมาก ในเร็วๆ นี้”

วันที่ 9 มีนาคม พุทธศักราช 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารมาทรงประกอบพระราชพิธี กระทำพระฤกษ์เรื่องการสร้างทางรถไฟหลวงสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา

เป็นรถไฟหลวงสายแรกของประเทศ

เมื่อได้มีการวางรางไปถึงเมืองอยุธยา ได้เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จฯพระบรมราชินีนาถ ไปทรงประกอบพิธีเปิดเดินรถจากกรุงเทพฯถึงสถานีพระนครศรีอยุธยา ในวันที่ 26 มีนาคม 2439 ซึ่งในเวลาต่อมาถือเป็นวันเริ่มสถาปนากิจการรถไฟของสยาม

“พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร” พระราชโอรสองค์หนึ่งของในหลวงรัชกาลที่ 5 เป็น“เจ้านาย” ที่ทรงทุ่มเทสร้างความเจริญให้กับการรถไฟฯ จนได้รับการขนานพระนามว่า “พระบิดาแห่งกิจการรถไฟสมัยใหม่” รูปปั้นอนุสาวรีย์ของนายพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน(พระอิสริยยศในเวลาต่อมา) อยู่หน้าอาคารที่ทำการการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งถือเป็นกลุ่มอาคารประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร

วันนี้ “วัวลำพอง” หรือ “หัวลำโพง” คงไม่หมดความหมายกับบ้านเมืองสยามแห่งนี้ไปง่ายๆ

ถ้าเราช่วยกันไม่ปล่อยให้ “ผู้มีอำนาจ” ที่ “ไม่รู้หัวนอนปลายตีน” ตัดสิน “อนาคต” ที่บรรพบุรุษเราช่วยกันสร้าง

กฤษณ์ ศิรประภาศิริ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 26/11/2021 9:42 am    Post subject: Reply with quote

เปรียบเทียบ หัวลำโพง-สถานีกลางบางซื่อ อีก 10 ปีรองรับผู้โดยสารเพิ่ม 10 เท่า

สกู๊ปไทยรัฐ Infographic
ไทยรัฐออนไลน์

วันพุธ ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 16:48 น.

หัวลำโพง หรือสถานีกรุงเทพ กำลังจะหมดหน้าที่ในการเป็นศูนย์กลางการเดินทางเพื่อพาผู้คนไปยังจุดหมายปลายทางทั่วประเทศ หลังจากทำหน้าที่นี้มานานประมาณ 105 ปี โดยจะมีสถานีกลางบางซื่อมาทำหน้าที่แทนในเร็วๆ นี้



สถานีกลางบางซื่อ ที่จะมาแทนที่สถานีหัวลำโพง มีทั้งขนาดของพื้นที่โดยรวม ตลอดจนถึงพื้นที่ใช้สอยที่กว้างขวางกว่า เพราะจุดที่ตั้งที่มีข้อจำกัดของสถานีหัวลำโพงที่อยู่ใจกลางเมือง หัวถนนพระราม 4 ที่ไม่สามารถขยายพื้นที่การใช้สอยออกไปได้อีก ส่วนสถานีกลางบางซื่ออยู่ห่างออกไป แม้จะไม่ไกลจากใจกลางเมืองมากนัก แต่ก็เป็นพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่มีเนื้อที่กว้างขวาง โดยสถานีหัวลำโพงมีเนื้อที่รวมประมาณ 120 ไร่ ส่วนสถานีกลางบางซื่อมีเนื้อที่ 2,475 ไร่

การมีพื้นที่มากกว่าของสถานีกลางบางซื่อ ทำให้สามารถรองรับขบวนรถไฟได้หลากหลาย เป็นชุมทางทั้งรถไฟระยะไกล ระยะสั้น และรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ได้มากขึ้น โดยปัจจุบันสถานีรถไฟหัวลำโพงรองรับผู้โดยสารประมาณ 60,000 คน-เที่ยวต่อวัน และสูงสุดในช่วงเทศกาลวันหยุดยาวเคยรองรับได้ประมาณ 100,000 คน-เที่ยวต่อวัน (ผู้โดยสาร 1 คน อาจเดินทางหลายเที่ยวต่อวัน) ส่วนสถานีกลางบางซื่อ เตรียมไว้ให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 136,000 คน-เที่ยวต่อวันในปี 2565 และมีแผนการขยายพื้นที่รองรับผู้โดยสารมากขึ้น โดยปี 2575 มีเป้าหมายรองรับได้ 624,000 คน-เที่ยวต่อวัน

อีกจุดหนึ่งที่สำคัญคือห้องน้ำ ห้องสุขาไว้บริการผู้โดยสาร ที่สถานีกลางบางซื่อมีให้บริการมากกว่าสถานีหัวลำโพง 10 เท่าเลยทีเดียว

สำหรับระยะเวลาก่อสร้างสถานีหัวลำโพงใช้เวลาก่อสร้าง 7 ปี ส่วนสถานีกลางบางซื่อใช้เวลาก่อสร้าง 9 ปี โดยสถานีหัวลำโพงเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2459 ส่วนสถานีกลางบางซื่อกระทรวงคมนาคมกำลังรอกำหนดวันเปิดสถานีกลางบางซื่อ เพื่อให้บริการอย่างเต็มรูปแบบอีกครั้ง โดยคาดว่าจะไม่เกินสิ้นปี 2564 นี้.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 26/11/2021 11:15 am    Post subject: Reply with quote

จุดเปลี่ยน ‘วัวลำพอง-หัวลำโพง’สู่หนไหน?
หน้าคอลัมน์ การเมือง กวนน้ำให้ใส
สารส้ม
วันศุกร์ ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564, 02.00 น.

กระทรวงคมนาคมยืนยันว่า ข่าวว่าจะทุบสถานีหัวลำโพงนั้น ข่าวปลอม ข้อมูลเท็จ

กระทรวงคมนาคมมีนโยบายให้รถไฟทุกขบวน โดยเฉพาะรถไฟทางไกล ปรับสถานีปลายทางจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) เป็นสถานีกลางบางซื่อ เพื่อจะช่วยแก้ปัญหาการจราจรติดขัดบนถนน

1. คุณค่าทางประวัติศาสตร์ของหัวลำโพง

แฟนเพจ “เรื่องเล่า ภาพเก่า ในอดีต” ได้เล่าเรื่อง “สถานีรถไฟกรุงเทพ(หัวลำโพง)” ไว้อย่างน่าสนใจว่า

“...ย่านหัวลำโพง เป็นพื้นที่หนึ่งที่มีเรื่องราวความเป็นมาที่ยาวนานแห่งหนึ่งของนครกรุงเทพฯ อันเป็นเมืองหลวงของไทยซึ่งในอดีตพื้นที่ของย่านหัวลำโพงไม่ได้เฉพาะเจาะจงเพียงพื้นที่ภายในสถานีรถไฟกรุงเทพฯ หรือสถานีรถไฟหัวลำโพงเท่านั้น (สถานีรถไฟกรุงเทพฯ กับสถานีหัวลำโพงคนละที่กันนะครับ)



หากแต่ย่านหัวลำโพงที่ผมบอกนี้มีพื้นที่ ที่ใหญ่มาก ถ้านับจากตัวสถานีรถไฟกรุงเทพฯ หรือที่เรียกกันแบบเข้าใจเองกันว่า “หัวลำโพง” ในปัจจุบันนั้น ก็กินบริเวณรอบด้านไปอีกพอสมควร มีชุมชนดั้งเดิมอยู่อาศัย มีวัดหัวลำโพงที่สันนิษฐานกันว่าสร้างตั้งแต่ช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ตามหนังสือประวัติศาสตร์หลายฉบับ ระบุว่า ย่านหัวลำโพง เคยเป็นทุ่งเลี้ยงวัว และมีต้นไม้ชนิดหนึ่งคือ ต้นลำโพง ขึ้นจำนวนมาก จึงเรียกย่านนี้กันว่า ทุ่งวัวลำพอง เช่นเดียวกับชื่อวัดหัวลำโพง ที่เรียกกันว่า วัดวัวลำพอง แล้วก็เรียกกันผิดเพี้ยนจนมาเป็น “หัวลำโพง”

หลังจากที่เมืองเริ่มเจริญเติบโต และได้รับอิทธิพลจากชนชาติตะวันตกเข้ามามากขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๔๕๓ (สมัยรัชกาลที่ ๕) เริ่มมีการก่อสร้างสถานีรถไฟกรุงเทพ หรือสถานีรถไฟหัวลำโพง(ที่เข้าใจกัน) ซึ่งเป็นสถานีรถไฟหลักของประเทศไทย และเป็นสถานีที่เก่าแก่ที่สุดขึ้น

สถานีกรุงเทพ หรือที่เรียกกันว่าหัวลำโพง เป็นสถานีรถไฟที่อยู่คู่กับประเทศไทยมานานเป็น ร้อยกว่าปี นับแต่มีการสร้างและเริ่มเปิดใช้งานตั้งแต่วันที่๒๕ เดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. ๒๔๕๙



โดยในช่วงแรกเริ่ม ไม่เพียงแต่ขนส่งมวลชนเท่านั้น แต่ยังเป็นศูนย์กลางของการส่งสินค้าที่สำคัญ มีสินค้าจากทุกภูมิภาคของประเทศไทยส่งมายังสถานีหัวลำโพง ก่อนจะกระจายไปขายยังพื้นที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ

จนในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ทางภาครัฐจึงตัดสินใจย้ายส่วนของการขนส่งสินค้าไปยังพื้นที่อื่น และปรับปรุงให้สถานีหัวลำโพงให้บริการเฉพาะขนส่งมวลชนเพียงอย่างเดียว

ตลอดระยะเวลาห้าสิบกว่าปี ที่สถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หรือที่หลายท่านเรียกว่าหัวลำโพง) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้า นอกจากจะทำให้ชุมชนดั้งเดิมขยายตัวแล้ว ยังสร้างแหล่งการค้าขายแห่งใหม่ๆ และทำให้เกิดชุมชนย่อยใกล้เคียงกับสถานีรถไฟแห่งนี้อีกจำนวนมากด้วย

โดยชุมชนใหม่ๆ ที่อยู่บริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็นคนไทยเชื้อสายจีนที่เติบโตจากการทำการค้าจากสินค้าที่ขนส่งมาทางสถานีหัวลำโพง และกลุ่มคนที่ขยายตัวมาจากทางฝั่งเยาวราช

แม้ว่าหลังจากปี พ.ศ. ๒๕๐๓ สถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หัวลำโพงที่เรียกกัน)จะไม่ได้เป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าแล้ว แต่ยังมีส่วนของการขนส่งมวลชนที่ถือว่าสำคัญไม่แพ้กัน รวมถึงชุมชนที่เข้ามาตั้งรกรากในพื้นที่ใกล้เคียง ต่างก็มีแนวทางในการทำการค้า สร้างจุดเด่นในพื้นที่ของตัวเอง



โดยที่ดินรอบสถานีรถไฟแห่งนี้และพื้นที่ใกล้เคียง ส่วนใหญ่เป็นที่ดินของหน่วยงานภาครัฐ เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์และ ที่ดินของสำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลักษณะการอยู่อาศัยจึงเป็นไปในแบบสิทธิการเช่า

มีเพียงพื้นที่บางส่วนที่เป็นของประชาชนทั่วไปที่สามารถซื้อขายได้แบบมีกรรมสิทธิ์ได้ ที่อยู่อาศัยที่เป็นตึกแถวส่วนใหญ่จึงเป็นที่อยู่อาศัยในรูปแบบสิทธิการเช่ากลายเป็นเมืองที่เติบโตตามกาลเวลา พื้นที่ใกล้เคียงของย่านหัวลำโพงก็เติบโตไปมากเช่นกัน

ย้ำเตือนความทรงจำ

“สถานีรถไฟกรุงเทพฯ” หรือที่เรียกกันว่า “สถานีหัวลำโพง” เป็นสถานีรถไฟที่เก่าแก่คู่บ้านเมืองเรามาช้านาน.. เริ่มก่อสร้างในปลายสมัย ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ คือในปี พ.ศ. ๒๔๕๓ การก่อสร้างแล้วเสร็จ และเปิดใช้บริการอย่างเป็นทางการโดยมีพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินกระทำพิธีกดปุ่มสัญญาณไฟฟ้าเป็นสัญญาณให้ขบวนรถไฟขบวนแรกเข้าสู่อาคารสถานี เมื่อวันที่ ๒๕ เดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. ๒๔๕๙

และนี่เป็นเรื่องราวที่นำมาเล่าให้ได้อ่านกัน ...

ภาพจากโปสต์การ์ด หรือไปรษณียบัตรเก่าๆ เป็นภาพสถานีรถไฟกรุงเทพฯ หรือที่เรียกจนคุ้นชินกันว่า “สถานีรถไฟหัวลำโพง” ซึ่งสถานีหัวลำโพง จริงๆ นั้นมีอยู่จริงๆ และอยู่ไม่ไกลจากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ แห่งนี้แต่ได้ถูกยกเลิกและรื้อทิ้งไปนานแล้วนั่นเอง (สถานีรถไฟกรุงเทพฯ จึงไม่ใช่สถานีรถไฟหัวลำโพงอย่างที่หลายคนเข้าใจและเรียกต่อๆกันมา)...”

2. ในเมื่อยืนยันว่าจะไม่ทุบหัวลำโพง แต่จะเก็บไว้ทำอะไร?

กระทรวงคมนาคม โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย มีแนวทางจะพัฒนาพื้นที่สถานีหัวลำโพง โดยบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของการรถไฟแห่งประเทศไทย ระบุว่า หลังจาก ร.ฟ.ท. ย้ายการเดินรถไฟไปที่สถานีกลางบางซื่อทั้งหมดแล้ว จะเริ่มพัฒนาพื้นที่บริเวณสถานีหัวลำโพง เน้นการเป็นพื้นที่สาธารณะให้กับคนเมือง และเพิ่มศักยภาพเชิงพาณิชย์ โดยการพัฒนายังคงความเป็นอัตลักษณ์เดิมให้สอดคล้องกับความสมัยใหม่และปรับเข้ากับรูปแบบการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน ดังนั้น จะยังคงอนุรักษ์อาคารหัวลำโพงและจุดสำคัญทางประวัติศาสตร์ในบริเวณนี้อย่างครบถ้วน



ถึงตรงนี้ น่าจะตัดเรื่องทุบสถานีหัวลำโพงทิ้งไปได้เลย เหลือแต่เพียงว่ายังให้มีรถไฟวิ่งเข้ามาหัวลำโพงอยู่หรือไม่ แค่ไหน หรือจะใช้ประโยชน์อย่างไรให้คุ้มค่าประโยชน์ใช้สอย และคงอัตลักษณ์เดิมไว้ได้อย่างดีที่สุด

3. น่าคิดว่า ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ ให้มุมของข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนา ดังนี้

“...ไม่ปิดหัวลำโพงก็พัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ได้

อีกเหตุผลหนึ่งที่ต้องการปิดหัวลำโพงก็คือต้องการพัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงแรม อาคารสำนักงาน และคอนโดมิเนียม เป็นต้น เพื่อนำรายได้เข้าการรถไฟฯ

แต่กระทรวงคมนาคมจะต้องไม่ลืมว่าหากการเดินทางเข้า-ออกหัวลำโพงสะดวกรวดเร็ว จะทำให้การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ได้ผลตอบแทนมากขึ้น เนื่องจากจะมีผู้มาใช้บริการจำนวนมาก เพราะการเดินทางเข้าออกหัวลำโพงสะดวกรวดเร็ว อันเป็นผลมาจาก “การพัฒนาพื้นที่กับทางรถไฟแบบบูรณาการ (Integrated Development of Area and Railway หรือ IDAR) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในญี่ปุ่น ดังนั้น จะต้องเปิดให้บริการสถานีหัวลำโพงต่อไป

อย่าให้ “ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย” ผมขอเสนอให้กระทรวงคมนาคมทบทวนการปิดสถานีหัวลำโพงให้รอบคอบ ให้ย้อนคิดไปถึงการปิดสนามบินดอนเมืองในปี 2549 ทันทีที่เปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิ ทำให้ผู้โดยสารที่อยู่ใกล้สนามบินดอนเมืองจำนวนมากเดือดร้อน ต้องเดินทางไกลไปขึ้นเครื่องที่สนามบินสุวรรณภูมิ ด้วยเหตุนี้ จึงต้องเปิดใช้สนามบินดอนเมืองอีกครั้ง...

..บทเรียนจากการปิด-เปิดสนามบินดอนเมืองหลายครั้ง ถือเป็นบทเรียนที่กระทรวงคมนาคมจะต้องพิจารณาให้รอบคอบ เพื่อไม่ให้ “ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย” ที่จะต้องปิด-เปิดสถานีหัวลำโพงหลายครั้งเช่นเดียวกัน

อย่ารังแกหัวลำโพงที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมมายาวนานถึง 105 ปี เลย !”

สารส้ม
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44331
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/11/2021 6:38 am    Post subject: Reply with quote

เอาปากกามาวง...ปิด “หัวลำโพง” ใครได้ ใครเสีย
เผยแพร่: 27 พ.ย. 2564 05:36 ปรับปรุง: 27 พ.ย. 2564 05:36 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

ผู้จัดการสุดสัปดาห์ - กลายเป็นเรื่องดรามากันจนได้เมื่อใกล้วันอำลาปิดสถานีรถไฟหัวลำโพงซึ่งเปิดใช้มาร่วม 105 ปี ตามธงที่การรถไฟฯ กำหนดไว้ 23 ธันวาฯ นี้ เพื่อนำพื้นที่มาพัฒนาเป็นย่านการค้าหารายได้ล้างการขาดทุนของการรถไฟฯ ที่มีอยู่นับแสนล้าน พร้อมปั้นสถานีกลางบางซื่อเป็นศูนย์กลางระบบรางเพียงหนึ่งเดียว

ความเร่งรีบปิดสถานีหัวลำโพง นอกจากจะทำให้ประชาชนที่ใช้บริการรถไฟเดือดร้อนจนเกิดกระแสคัดค้าน ยังเจอย้อนเกล็ดรถไฟขาดทุนเพื่อประชาชนกำไรไม่ต้องควักค่าโดยสารแพง เตือนประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยเหมือนคราวปิดสนามบินดอนเมือง สุดท้ายต้องกลับมาพัฒนาดอนเมืองเป็นสนามบินคู่สุวรรณภูมิลดความแออัด เปิดมุมมองใหม่หากปิดสถานีหัวลำโพงเท่ากับปิดการเชื่อมต่อระบบราง จะมีผลเสียมากกว่าผลดีต่อการนำพื้นที่มาพัฒนาหารายได้

สถานีหัวลำโพงที่ออกแบบเป็นรูปโดมโค้งสไตล์อิตาเลียนผสมผสานกับศิลปะยุคเรอเนซองส์ มีลักษณะคล้ายกับรถไฟเมืองแฟรงก์เฟิร์ต เยอรมัน ถือเป็นมรดกตกทอดจากสมัยเสด็จพ่อ ร.5 ที่เปิดให้บริการมานาน รองรับผู้โดยสารประมาณ 60,000 คน-เที่ยวต่อวัน และสูงสุดในช่วงเทศกาลวันหยุดยาวเคยรองรับได้ประมาณ 100,000 คน-เที่ยวต่อวัน ด้วยขบวนรถไฟวันละประมาณ 200 ขบวน หลังจากวันที่ 24 ธันวาคม 2564 นี้ก็จะกลายเป็นเพียงตำนาน

แต่ต้องย้ำว่า มิได้มีการ “ทุบ” อาคารแห่งนี้ทิ้งเหมือนที่มีการปั่นกระแสกัน

ความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้แม้ว่าจะมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า โดยสร้างสถานีกลางบางซื่อให้เป็นศูนย์กลางระบบรางของประเทศขึ้นมาแทน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี แต่พอถึงวันที่ต้องอำลาหัวลำโพงจริง ก็มีสุ้มเสียงทั้งเห็นด้วยเห็นต่าง ทั้งเสนอทางเลือกใหม่ นี่ยังไม่นับว่ายังมีปัญหาความไม่พร้อมของระบบเชื่อมต่อการเดินทาง รวมทั้งค่าโดยสารที่ต้องควักจ่ายเพิ่มขึ้นในภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซ้ำเติมชีวิตคนไทยที่เคยได้พึ่งพาอาศัยการเดินทางด้วยรถไฟไทยในราคาย่อมเยา

ตามไทม์ไลน์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) วางไว้ว่าเมื่อเปิดบริการสถานีกลางบางซื่อเต็มรูปแบบซึ่งเดิมกะว่าจะเปิดในปลายเดือนพฤศจิกายนแต่ตอนนี้ดูท่าเจอโรคเลื่อนออกไปแต่ไม่น่าเกินสิ้นปี 2564 แล้วจะปิดให้บริการที่สถานีหัวลำโพง โดยวันที่ 23 ธันวาคม 2564 รฟท. จะหยุดให้บริการเดินรถไฟเข้าสถานีกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) โดยจะให้บริการสถานีสุดท้ายที่สถานีกลางบางซื่อ

กำหนดการข้างต้น ส่งผลให้ขบวนรถไฟชานเมือง, รถไฟทางไกล 155 ขบวน ปรับลดการเดินรถเข้าสถานีหัวลำโพงเหลือ 22 ขบวนต่อวัน โดยขบวนรถไฟสายเหนือ, สายอีสาน 74 ขบวน (รถไฟสายเหนือต้นทางเชียงใหม่, สายอีสานต้นทางหนองคาย,อุบลราชธานี) จะวิ่งเข้าสถานีกลางบางซื่อ 42 ขบวนต่อวัน

ส่วนรถไฟชานเมืองสายเหนือ,สายอีสาน 14 ขบวนต่อวัน ให้ผู้โดยสารเปลี่ยนมาใช้สถานีรังสิต, สถานีดอนเมืองเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟสายสีแดงเพื่อเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อ, ขบวนรถไฟชานเมืองสายเหนือ 2 ขบวนต่อวัน วิ่งบนโครงสร้างสายสีแดงเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อ รถไฟชานเมืองสายเหนือ, สายอีสาน 6 ขบวนต่อวัน วิ่งบนโครงสร้างสายสีแดงรังสิต-วัดเสมียนนารี ใช้ทางรถไฟเดิมวิ่งเข้าสถานีบางซื่อเดิมและเข้าสู่สถานีหัวลำโพง

สำหรับรถไฟสายใต้ มีสถานีตลิ่งชันเป็นสถานีเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสาร 62 ขบวน (ขบวนรถเร็ว, รถด่วน, รถด่วนพิเศษ) 24 ขบวนต่อวัน ใช้เส้นทางเดิมวิ่งเข้าสถานีบางซื่อเดิม รถไฟชานเมืองจากสุพรรณบุรีและนครปฐม 2 ขบวนต่อวัน วิ่งเข้าสถานีหัวลำโพง

ส่วนรถไฟชานเมือง เข้าสถานีธนบุรี ใช้สถานีตลิ่งชันของสายสีแดงเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสาร 2 ขบวนต่อวัน และมีขบวนรถวิ่ง Loop เส้นทางสถานีธนบุรี-ศาลายา-มหิดล-นครปฐม 24 ขบวนต่อวัน รถไฟสายตะวันออก ยกเลิก 7 ขบวนที่เดินรถจากสถานีบางซื่อเข้าพื้นที่ชั้นใน ปรับตารางเดินรถ 19 ขบวน รถไฟธรรมดาชานเมือง 14 ขบวนต่อวันเข้าสถานีหัวลำโพง รถไฟธรรมดาชานเมือง 5 ขบวนต่อวัน ปรับวิ่งถึงสถานีมักกะสัน เป็นจุดเชื่อมต่อกับแอร์พอร์ตเรลลิงก์ และขบวนรถขนส่งสินค้าทั้งหมดจะปรับไปใช้สถานีเชียงรากน้อยแทน

หลังจาก รฟท. ประกาศชัดถึงการหยุดเดินรถเข้าสถานีหัวลำโพง ทำให้เกิดกระแสต่อต้านจากสังคม ไม่เพียงแต่เสียงคัดค้านจากผู้โดยสารที่ได้รับผลกระทบ แต่ยังมีสุ้มเสียงที่ไม่เห็นด้วยกับการเร่งเครื่องรีบประเคนที่ดินทำเลทองใจกลางเมืองให้กับกลุ่มทุนพัฒนาที่ดินก่อนกำหนด ซึ่งบริษัทลูกของ รฟท. เตรียมพร้อมเปิดให้มีการประมูลในสเตปต่อไปหลังปิดหัวลำโพงแล้ว

กระแสต้านของสังคมที่ดังขึ้น ทำให้ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยืนยันซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า การย้ายศูนย์กลางระบบรางไปบางซื่อนั้นเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ และการนำที่ดินสถานีหัวลำโพง 120 ไร่ ไปพัฒนาหารายได้ก็เพื่อล้างการขาดทุนของการรถไฟฯ ที่มีอยู่หลายแสนล้าน

“ตอนนี้อย่าเพิ่งดรามา จากที่มี 118 ขบวน เหลือ 22 ขบวน เข้าหัวลำโพง ก็ดีในระดับหนึ่ง แต่ก็ให้ รฟท.ไปดูอีกว่าจะปรับได้อีกหรือไม่ หรือจะปรับเวลาไม่ให้กระทบช่วงเร่งด่วนเพราะเราต้องแก้ปัญหาจราจร และในที่สุดการบริหารที่สถานีหัวลำโพงจะต้องเปลี่ยนไปเพราะเรามีสถานีกลางบางซื่อเป็นศูนย์กลางระบบราง” นายศักดิ์สยาม กล่าวในท่วงทำนองรับฟังเสียงสังคมหวังเบรกกระแสต้าน ภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ ครั้งที่ 7/2564 วันที่ 22 พฤศจิกายนที่ผ่านมา

นั่นหมายความว่า รฟท. ต้องรับนโยบายกลับไปทบทวนข้อมูลแผนการเดินรถให้รอบด้าน ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งการบริหารจราจร การให้บริการประชาชน ปรับรูปแบบและจำนวนรถไฟให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน รวมถึงความเป็นไปได้ในการปรับให้ขบวนรถไฟวิ่งนอกชั่วโมงเร่งด่วน อีกทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดเวทีสาธารณะเพื่อรับฟังความเห็นของทุกภาคส่วน เพื่อหาข้อยุติและแก้ปัญหาทุกมิติ และให้ข้อมูลการพัฒนาหัวลำโพงให้เห็นภาพรวมทุกประเด็น ทั้งการอนุรักษ์อาคารและการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ รวมถึงการบริหารสถานีกลางบางซื่อ

“.... ยังไม่ชัดเจนว่าวันที่ 23 ธันวาคมนี้ จะหยุดเดินรถทุกขบวนเข้าหัวลำโพงหรือไม่ ซึ่งเดิม รฟท.เสนอแผนที่จะลดขบวนเข้าหัวลำโพง โดยยังเหลือ 22 ขบวนไว้เนื่องจากเป็นขบวนที่มีผู้ใช้บริการมาก....” นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าว และให้ความเชื่อมั่นว่าช่วงเปลี่ยนผ่านนี้จะมีระบบฟีดเดอร์เชื่อมเส้นทางหัวลำโพง-บางซื่อ ตามมาตรการเชื่อมต่อการเดินทางให้ประชาชน
.
.
.
.

ส่วนการพัฒนาพื้นที่หัวลำโพงนั้น นายศักดิ์สยาม อธิบายว่า โครงการรถไฟสายสีแดง และสถานีกลางบางซื่อ ใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ปัจจุบัน รฟท. ยังมีภาระหนี้สินและขาดทุนต่อเนื่อง ล่าสุดมีจำนวน 1.6 แสนล้านบาท หากคิดเป็นจำนวนหนี้ที่ไม่ได้ลงบัญชีจะมีถึง 6 แสนล้านบาท จึงเป็นโจทย์ที่ รฟท.ต้องเร่งแก้ปัญหา ซึ่ง รฟท.ได้จัดตั้ง บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด (SRTA) เป็นบริษัทลูก เพื่อดำเนินการบริหารสินทรัพย์ของ รฟท.เพื่อหารายได้เพิ่มและแก้ปัญหาขาดทุน

การนำที่ดินของ รฟท. เพื่อหารายได้เพิ่ม มีหลายแปลงที่มีศักยภาพไม่เฉพาะสถานีหัวลำโพง แต่ยังมีสถานีธนบุรี ซึ่งจะพัฒนาร่วมกับโรงพยาบาลศิริราช, บริเวณอาร์ซีเอ บริเวณสถานีแม่น้ำ โดย SRTA คาดว่าในปีแรกจะสามารถสร้างรายได้จากการพัฒนาทรัพย์สินให้กับ รฟท. ประมาณ 5,000 ล้านบาท และปีที่ 5 เพิ่มเป็น 10,000 ล้านบาท และรวม 30 ปี รฟท.ได้มากถึง 8 แสนล้านบาท

“..... ผมกล้าตัดสินใจ ผมทำงานก็โดนวิพากษ์วิจารณ์ ก็ไม่เป็นไร การพัฒนาหัวลำโพงเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่จะต้องประมูลแบบนานาชาติ และคงไม่ได้เกิดในสมัยผม แต่วันนี้ผมต้องเริ่มนับหนึ่งไว้ก่อน หากผมไม่เริ่มนับ ก็ต้องรอคนอื่นซึ่งก็ไม่รู้จะเริ่มเมื่อไหร่ และนั่นหมายถึงหนี้สินสะสมของรถไฟไม่รู้จะเพิ่มไปเป็นเท่าไร....” นายศักดิ์สยาม กล่าว
.
.
.
.
ตามแผนการพัฒนาที่ดินบริเวณหัวลำโพงซึ่งมีราคาประเมินประมาณ 48,000 ล้านบาทนั้น นางสาวไตรทิพย์ ศิวะกฤษณ์กุล กรรมการบริษัทและรักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสอาร์ที เเอสเสท จำกัด กล่าวว่า จะจัดแบ่งพื้นที่ออกเป็น 5 โซน กล่าวคือ โซน A 16 ไร่ เป็นอาคารสถานีหัวลำโพงและพื้นที่สาธารณะ, โซน B 13 ไร่ มีแผนปรับปรุงอาคารให้เป็นไปตามแนวทางอนุรักษ์, โซน C 22 ไร่ พื้นที่โรงซ่อมรถราง กำหนดเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ ร้านค้า ร้านอาหาร พื้นที่กิจกรรม เน้นพื้นที่สีเขียว มีต้นแบบจากเวนิส อิตาลี

โซน D 49 ไร่ พื้นที่ชานชาลา,เส้นทางทางรถไฟ,ย่านสับเปลี่ยนการเดินรถ มีแผนพัฒนาเป็นรูปแบบมิกซ์ยูส โรงแรม อาคารสำนักงาน ที่อยู่อาศัยคอนโดมิเนียม ห้างสรรพสินค้า โดยยึดต้นแบบ โตเกียว มิดทาวน์ และ โซน E 20 ไร่ อาคารสำนักงาน รฟท. ตึกคลังพัสดุเดิม มีแผนพัฒนาเป็นมิกซ์ยูส โรงแรม อาคารสำนักงาน ศูนย์กิจกรรม โดยยึดต้นแบบโครงการ Suzhou Creek เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน

หัวลำโพง มีพื้นที่ทั้งหมด 132 ไร่ เมื่อตัดพื้นที่อนุรักษ์ ที่ต้องขึ้นทะเบียนโบราณสถานออกแล้วจะเหลือ 120 ไร่ ตามผังเมืองพื้นที่อยู่ในเขตสีน้ำเงินเป็นสถานที่ราชการ สาธารณูปโภค ไม่สามารถพัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ได้ บริษัท เอสอาร์ที เเอสเสท จำกัด จึงขอปรับสีผังเมืองให้เป็นสีแดงเพื่อนำไปให้เอกชนเช่าใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ คาดว่าไม่เกินต้นปีหน้าผังเมืองสีน้ำเงินจะกลายเป็นผังเมืองสีแดง ซึ่งตอนนี้สังคมกำลังจับตามองว่ากลุ่มทุนไหนจะเข้าร่วมประมูลและกำชัยในการพัฒนาที่ดินทำเลทองแห่งนี้
.
.
.
.
แต่ก่อนจะถึงวันนั้น ประเด็นเรื่องนำที่ดินรถไฟไปพัฒนาเพื่อล้างขาดทุนที่นายศักดิ์สยาม ยกขึ้นมาเอ่ยอ้าง จุดกระแสโต้กลับกลายเป็นเรื่องที่พูดความจริงแค่ครึ่งเดียวหรือไม่ ตามที่ นายสาวิทย์ แก้วหวาน อดีตประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย สะท้อนความเห็นผ่าน เฟซบุ๊ก Sawit Kaewvarn ว่า อย่าพูดว่าการรถไฟฯขาดทุน โดยไม่พูดให้หมดว่าที่ขาดทุนและเป็นหนี้เพราะอะไร

นายสาวิทย์ ย้อนทวนเบื้องหลังให้สังคมรับรู้ความจริงว่า นโยบายของรัฐบาลทุกยุคสมัยให้การรถไฟฯ ให้บริการโดยสารแก่ประชาชนในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนที่แท้จริง ความจริงคือต้นทุนดำเนินการต่อผู้โดยสาร 1 คน เดินทาง 1 กิโลเมตร การรถไฟฯ จะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 2 บาทต่อกิโลเมตร แต่รัฐบาลให้การรถไฟฯ เก็บราคาค่าโดยสารเพียง 24 สตางค์ต่อกิโลเมตร จะไม่ให้ขาดทุนได้อย่างไร? และการรถไฟฯ ไม่ปรับราคาค่าโดยสารมาตั้งแต่ปี 2528 เป็นเวลากว่า 36 ปี

พร้อมกับยก พ.ร.บ.การรถไฟฯ พ.ศ. 2494 มาตรา 43 ที่ว่า “.... แต่ถ้ารายได้มีจำนวนไม่พอสำหรับรายจ่ายดังกล่าวนอกจากเงินสำรองที่ระบุไว้ในวรรคก่อนและการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่สามารถหาเงินจากทางอื่น รัฐพึงจ่ายให้แก่การรถไฟแห่งประเทศไทยเท่าจำนวนที่ขาด”

นั่นหมายความว่า รัฐบาลต้องจ่ายชดเชยส่วนต่างระหว่างต้นทุนดำเนินการจริงกับค่าโดยสารที่จัดเก็บ แต่รัฐจ่ายไม่เต็มจำนวน จ่ายล่าช้า จนถึงปัจจุบันงบการเงินของการรถไฟฯ ที่ระบุว่า “เงินค้างรับตามกฎหมาย” ชี้ให้เห็นว่ารัฐค้างจ่ายการรถไฟฯ ตั้งแต่ปี 2550 จนถึงเดือนมิถุนายน 2564 อยู่ที่ 249,347,968,511.08 บาท (สองแสนสี่หมื่นเก้าพันสามร้อยสี่สิบเจ็ดล้านเก้าแสนหกหมื่นแปดพันห้าร้อยสิบเอ็ดบาทแปดสตางค์) ในแต่ละปีการรถไฟฯ ต้องกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องและต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้กว่าปีละ 3,000 ล้านบาท ดังนั้น เวลาพูดถึงการรถไฟแห่งประเทศไทยขาดทุนและเป็นหนี้นั้น ต้องพูดให้ครบถ้วน

อดีตประธานสหภาพแรงงาน รฟท. ยังขอให้ประชาชนอย่าเรียกร้องให้ รฟท. มีกำไรจากค่าโดยสาร เพราะถ้าเก็บตามราคาต้นทุนจริง ประชาชนต้องจ่ายแพงขึ้น ซึ่งสหภาพฯ ไม่เห็นด้วยในการเพิ่มภาระให้ประชาชน แต่รัฐ ต้องชดเชยผลการขาดทุนให้เต็มตามจำนวนและตรงเวลา หากรัฐขาดทุนนั่นหมายถึงประชาชนมีกำไร ไม่เพียงแต่ รฟท. เท่านั้น ทุกรัฐวิสาหกิจควรเป็นเครื่องมือช่วยเหลือประชาชนทั้งพลังงาน ขนส่ง โทรคมนาคม ฯลฯ ไม่ใช่เอาเงินภาษีของประชาชนไปลงทุน แต่สุดท้ายการบริหารจัดการประเคนให้เอกชนมาขูดรีดประชาชนด้วยนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน หรือ PPP
.
.
.
.

ขณะเดียวกัน นางสาวรสนา โตสิตระกูล อดีต ส.ว.กรุงเทพมหานคร เรียกร้องให้สังคมช่วยกันรักษาสถานีหัวลำโพงให้มีชีวิตต่อไปเพื่อรับใช้ประชาราษฎร์ ด้วยค่าโดยสารที่ย่อมเยา เช่น ชานเมืองรังสิตถึงลำโพง แค่ 6 บาท จากสถานีมักกะสัง,บางซื่อ มาหัวลำโพง แค่สองบาทถูกกว่ารถเมล์ ถ้าปิดหัวลำโพงต้องมาต่อรถไฟฟ้าจากบางซื่อไปหัวลำโพงต้องจ่ายเพิ่มไม่น้อยกว่า 42 บาท ใช่หรือไม่

การพัฒนารถไฟฟ้าให้ทันสมัยในปัจจุบันล้วนแต่เพิ่มภาระให้ประชาชน รถไฟฟ้าที่อยู่ใต้บริษัทลูกของ รฟท. ที่รัฐบาลสร้างในยุคนี้มีทั้งหมด 10-11 สาย ใช้งบประมาณ 6 แสนล้านจากภาษีประชาชน โดยสายที่ประเมินว่าการเดินรถขาดทุนรัฐบาลเอาเงินภาษีมาสร้าง แต่สายที่ประเมินว่ามีกำไร เช่น สายสีส้มตะวันตก กลับยกสัมปทานให้เอกชน

นางสาวรสนา ตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อหยุดการเดินรถไฟไปหัวลำโพง สิ่งที่จะเกิดขึ้นทันทีคือ ประชาชนต้องจ่ายค่าโดยสารเพิ่มขึ้นแน่นอน รัฐบาลควรมีนโยบายชัดเจนเรื่องค่าเดินทางของประชาชนซึ่งมาตรฐานควรอยู่ที่ 10% ของรายได้ขั้นต่ำ อีกทั้งบางซื่อเป็นจุดรวมรถไฟ รถไฟฟ้าจำนวนมาก ย่อมแออัดการจราจรติดขัด ควรกระจายศูนย์มากกว่ารวมศูนย์ที่บางซื่อแห่งเดียว ควรปรับปรุงสถานีหัวลำโพงเป็นสถานีศูนย์กลางต่อไปอีกแห่ง เพราะลงทุนมานานและใช้การได้อยู่เช่นเดียวกับการมีสองสนามบินทั้งดอนเมืองและสุวรรณภูมิ ดีกว่าทิ้งไปและเหลือเพียงซากพิพิธภัณฑ์ที่ไร้ชีวิต
.
.
.

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ย้ำเช่นกันว่าการปิดหัวลำโพงจะทำให้ผู้โดยสารชานเมืองได้รับความเดือดร้อนและต้องแบกรับค่าโดยสารที่แพงขึ้น ส่วนแนวทางแก้ปัญหาจราจรจุดตัดทางรถไฟกับถนนสามารถแก้ได้โดยการสร้างอุโมงค์ลอดใต้ทางรถไฟหรือสะพานลอยข้ามทางรถไฟให้รถยนต์วิ่ง ซึ่งไม่จำเป็นต้องปิดสถานีหัวลำโพงแต่อย่างใด

ประเด็นที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือ การปิดหัวลำโพงเท่ากับปิดประตูสู่ระบบราง เนื่องจากทำเลที่ตั้งหัวลำโพงอยู่ในย่านธุรกิจกลางเมือง มีรถไฟฟ้าหลายสาย หากหัวลำโพงถูกปิดจะทำให้การเดินทางด้วยระบบรางไม่ราบรื่น หลายเมืองทั่วโลกที่นิยมขนผู้โดยสารด้วยระบบรางจะรักษาสถานีรถไฟใจกลางเมืองไว้ เช่น กรุงโตเกียว ที่ยังคงมีรถไฟหลากหลายประเภทวิ่งเข้าออกสถานีรถไฟโตเกียวอย่างคับคั่งหลายพันเที่ยวต่อวัน

เหตุผลหนึ่งที่ต้องการปิดหัวลำโพงคือ ต้องการพัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงแรม อาคารสำนักงาน และคอนโดมิเนียม เป็นต้น เพื่อนำรายได้เข้าการรถไฟฯ แต่กระทรวงคมนาคม ต้องไม่ลืมว่าหากการเดินทางเข้าออกหัวลำโพงสะดวกรวดเร็ว จะทำให้การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ได้ผลตอบแทนมากขึ้น เนื่องจากจะมีผู้มาใช้บริการจำนวนมาก อันเป็นผลมาจาก “การพัฒนาพื้นที่กับทางรถไฟแบบบูรณาการ (Integrated Development of Area and Railway หรือ IDAR) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในญี่ปุ่น ดังนั้น จะต้องเปิดให้บริการสถานีหัวลำโพงต่อไป
.
.
.
.
กระทรวงคมนาคม ควรทบทวนการปิดสถานีหัวลำโพงให้รอบคอบ ให้ย้อนคิดไปถึงการปิดสนามบินดอนเมืองในปี 2549 ทันทีที่เปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิ ทำให้ผู้โดยสารที่อยู่ใกล้สนามบินดอนเมืองจำนวนมากเดือดร้อน ต้องเดินทางไกลไปขึ้นเครื่องที่สนามบินสุวรรณภูมิ ด้วยเหตุนี้ จึงต้องเปิดใช้สนามบินดอนเมืองอีกครั้งในปี 2550 แต่ในปี 2552 สนามบินดอนเมืองก็ถูกปิดลงอีก โดยอ้างว่าการใช้ 2 สนามบินที่อยู่ใกล้กัน อาจทำให้เครื่องบินชนกันได้

อย่างไรก็ตาม การใช้สนามบินสุวรรณภูมิเพียงสนามบินเดียวทำให้มีจำนวนการขึ้นลงของเครื่องบินหนาแน่น เป็นผลให้ความจุของรันเวย์ใกล้ถึงจุดอิ่มตัว จะต้องเร่งสร้างรันเวย์เพิ่ม ดังนั้น ในปี 2555 จึงต้องเปิดใช้สนามบินดอนเมืองอีกครั้ง เพื่อชะลอการลงทุนในสนามบินสุวรรณภูมิ และอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสาร

บทเรียนจากการปิด-เปิดสนามบินดอนเมืองหลายครั้ง ถือเป็นบทเรียนที่กระทรวงคมนาคมจะต้องพิจารณาให้รอบคอบ เพื่อไม่ให้ “ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย” ที่จะต้องปิด-เปิดสถานีหัวลำโพงหลายครั้งเช่นเดียวกัน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44331
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/11/2021 10:19 am    Post subject: Reply with quote

พลิกบทบาท “หัวลำโพง” ประวัติศาสตร์คู่การพัฒนา
กรุงเทพธุรกิจ 27 พ.ย. 2564 เวลา 9:30 น.

Click on the image for full size

คมนาคมหนุน SRTA พัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์การรถไฟฯ ดันรายได้ 30 ปี 8 แสนล้านบาท กลบหนี้สินสะสม 6 แสนล้านบาท ลั่นถึงเวลาสถานีหัวลำโพงต้องปรับเปลี่ยน ประวัติศาสตร์อยู่คู่กับการพัฒนาประเทศ

23 ธ.ค.2564 กระทรวงคมนาคมมีนโยบายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ทยอยหยุดเดินรถไฟเข้าสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) เพื่อเพิ่มศักยภาพใช้งานสถานีกลางบางซื่อ หลังลงทุนไปกว่า 3 หมื่นล้านบาท ปั้นให้เป็นศูนย์กลาง (ฮับ) การคมนาคมของประเทศไทย ทำให้บทบาทของสถานีกรุงเทพ หรือ “หัวลำโพง” อาคารลักษณะโดมสไตล์อิตาเลียนผสมกับศิลปะแบบเรอเนสซองซ์ที่มีอายุมากกว่า100 ปีกำลังจะยุติบทบาทเดิมเพื่อก้าวสู่บทบาทใหม่ที่ประวัติศาสตร์กับการพัฒนาประเทศต้องอยู่ร่วมกัน

ขณะเดียวกัน “หัวลำโพง” ก็ต้องรับบทสู่เป้าหมายการสร้างรายได้ให้ ร.ฟ.ท.ปีแรก5 พันล้านบาท ภายใน 5 ปี รายได้ 1 หมื่นล้านบาท และภายใน 30 ปี จะสร้างรายได้ 8 แสนล้านบาท กลบหนี้สินผูกพันที่ ร.ฟ.ท.มีอยู่กว่า 6 แสนล้านบาท



ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า นโยบายหยุดการเดินรถเข้าสถานีหัวลำโพง เพื่อมาใช้สถานีกลางบางซื่อ และนำพื้นที่สถานีหัวลำโพงไปพัฒนาเป็นโครงการอื่น ถือเป็นนโยบายที่มีมานานแล้ว โดยปัจจุบัน ร.ฟ.ท.มีบริษัทลูกที่ชื่อ บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด หรือ บริษัท รถไฟพัฒนาสินทรัพย์ จำกัด เข้ามาวางแผนพัฒนาที่ดินทุกแปลง โดยเฉพาะแปลงใหญ่ เพื่อสร้างรายได้ให้กับ ร.ฟ.ท. อาทิ สถานีกรุงธนบุรี สถานีกลางบางซื่อ สถานี RCA สถานีแม่น้ำ และสถานีหัวลำโพง

“เอสอาร์ทีมีแผนจะพัฒนาทุกแปลงที่มีศักยภาพอยู่แล้ว โดยจะพัฒนาอย่างมืออาชีพ เพราะการรถไฟฯ มีภาระบริหารขาดทุนสะสมอย่างต่อเนื่อง ขาดทุนทางบัญชีอยู่ที่ 1.6 แสนล้านบาท แต่หากดูตัวเลขขาดทุนที่เกิดขึ้นจริงพบว่ามีสูงถึง 6 แสนล้านบาท เรื่องนี้จึงเป็นโจทย์ที่ต้องแก้ไข”

Click on the image for full size

นอกจากนี้ รัฐบาลเล็งเห็นถึงปัญหาการจราจรติดขัดในเมือง จึงพัฒนาสถานีกลางบางซื่อมา และสามารถรองรับระบบขนส่งทางรางถึง 4 ระบบ ทั้งรถไฟชานเมืองสายสีแดง รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน รถไฟทางไกล และรถไฟความเร็วสูง


อีกทั้งเมื่อการพัฒนาสถานีกลางบางซื่อแล้วเสร็จ ก็มีความจำเป็นต้องผลักดันให้เกิดการใช้งานอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเป้าหมายของรัฐบาลและกระทรวงคมนาคมในการลดปัญหาการจราจรติดขัดในเมือง อีกทั้งสถานีกลางบางซื่อ รัฐบาลใช้งบพัฒนาไปกว่า 3 หมื่นล้านบาท ดังนั้นเมื่อสร้างขึ้นมาแล้ว ก็ต้องผลักดันให้เกิดการใช้งานอย่างคุ้มค่า เป็นฮับของการเดินทางอย่างที่วางเป้าหมายไว้

“กระทรวงฯ ได้รับฟังทุกปัญหา และมองว่าสิ่งเหล่านี้ต้องมีการแก้ไข เรื่องเหล่านี้ต้องนำมาเปรียบเทียบดูถึงผลดีและผลเสีย เพราะทั้งหมดถือเป็นการพัฒนาประเทศ เราต้องหาที่อยู่ร่วมกันระหว่างประวัติศาสตร์กับการพัฒนาประเทศ”

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมมีแนวทางแก้ไขปัญหาการหยุดเดินรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพง ด้วยบริการระบบขนส่งรอง (ฟีดเดอร์) ซึ่งจะต้องประสานงานร่วมกับทุกหน่วยงานระบบขนส่งที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จัดบริการรถโดยสารประชาชนฟรีในเส้นทาง สถานีกลางบางซื่อ – หัวลำโพง และหัวลำโพง – สถานีกลางบางซื่อ รวมทั้งจะหารือร่วมกับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (BEM) ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เพื่อหาทางเลือกในการเดินทางให้แก่ประชาชน

สำหรับแผนหยุดเดินรถเข้าสถานีหัวลำโพง ร.ฟ.ท.มีกำหนดวันที่ 23 ธ.ค.2564 จะลดความถี่ให้บริการเข้าสถานีหัวลำโพง จาก 118 ขบวนต่อวัน เหลือ 22 ขบวนต่อวัน โดยกระทรวงคมนาคมมีนโยบาบให้เปรียบเทียบผลกระทบการจราจร การปรับเที่ยววิ่งในเวลาที่เหมาะสม และการบริหาราสถานีหัวลำโพงต่อจำนวน 22 ขบวนรถ จะมีภาระต้นทุนที่คุ้มค่าหรือไม่ หากจะยังเปิดให้บริการ

“ผมกล้าตัดสินใจอยู่แล้ว ไม่ว่าจะมีเสียงวิพากย์วิจารณ์อย่างไร เพราะต้องการให้การรถไฟฯ ดำเนินการต่อไปได้ เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีกำไร สามารถดูแลพี่น้องประชาชน อย่าเพิ่งไปดราม่ากัน”

ท้ายที่สุดการตัดสินใจหยุดเดินรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพง และนำพื้นที่ 120 ไร่ไปพัฒนาเชิงพาณิชย์ ตามแผนที่เอสอาร์ทีกำลังศึกษาอยู่นั้น ก่อสร้างเป็นโครงการแบบผสมผสาน ยังคงความเป็นอัตลักษณ์เดิมให้สอดคล้องกับความสมัยใหม่ อนุรักษ์อาคารหัวลำโพงและจุดสำคัญทางประวัติศาสตร์ ผสมผสานกับร้านค้าสินค้า และแบรนด์เนมระดับโลก เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่เชิงวัฒนธรรมร่วมสมัย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44331
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/11/2021 1:45 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.ยันไม่รื้อหัวลำโพง พร้อมเปิดเวทีสาธารณะรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน
เผยแพร่: 27 พ.ย. 2564 12:00 ปรับปรุง: 27 พ.ย. 2564 12:00 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานและการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) หลังจากที่มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์และความกังวลถึงเรื่องดังกล่าวว่า ยืนยันจะไม่มีการทุบหรือรื้อทิ้งสิ่งปลูกสร้างสถานีรถไฟหัวลำโพง หรือปิดให้บริการแต่อย่างใด โดยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้สั่งการให้การรถไฟฯ ดำเนินการเปิดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนตามนโยบายของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีแล้ว

สำหรับแผนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์สถานีรถไฟหัวลำโพงในอนาคตนั้น การรถไฟฯ ได้มีการตั้งบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด เพื่อบริหารที่ดินของการการรถไฟฯ ทุกแปลง โดยจากการประเมินรายได้จากการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณหัวลำโพงในอนาคต ระยะเวลา 30 ปี พบว่า จะมีรายได้เข้ามารวม 800,000 ล้านบาท โดยในปีแรกจะอยู่ที่ 5,000 ล้านบาท และปีที่ 5 จะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่งจะเพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาภาระหนี้ของรถไฟที่ขาดทุนสะสมต่อเนื่องที่ประมาณ 150,000 ล้านบาท – 160,000 ล้านบาท

ส่วนปัญหาเรื่องการเดินรถไฟเข้ามาในเขตกรุงเทพชั้นใน รัฐบาลได้เล็งเห็นปัญหานี้มานานแล้วจึงได้พัฒนาโครงการสถานีกลางบางซื่อขึ้นเพื่อให้เป็นศูนย์กลางของระบบคมนาคม โดยเฉพาะระบบราง ซึ่งประกอบไปด้วย รถไฟฟ้าสายสีแดง, รถไฟทางไกล รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน และรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน รวมถึงรถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยายในอนาคต เพื่อช่วยในการแก้ไขปัญหาการจราจรแออัดในพื้นที่กรุงเทพมหานครโดยเฉพาะจุดตัดเสมอระดับทางรถไฟ-รถยนต์ และเมื่อการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อแล้วเสร็จจึงเห็นควรให้มีการปรับการเดินรถเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรอย่างเป็นรูปธรรม

อย่างไรก็ตาม ทางรัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม และ การรถไฟฯ เปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาและหาข้อสรุป เพื่อให้สามารถตอบโจทย์การดำเนินงานในทุกมิติได้อย่างแท้จริง และไม่ให้เกิดผลกระทบต่อพี่น้องประชาชน นอกจากนี้ทางกระทรวงคมนาคมยังได้มีการจัดทำระบบขนส่งมวลชนรอง หรือ ฟีดเดอร์ เช่น รถเมล์ ขสมก. รวมถึงประสานงานกับภาคเอกชนที่มีสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินในการอำนวยความสะดวกและยังเป็นการเพิ่มทางเลือกในการเดินทางให้แก่พี่น้องประชาชนอีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 14, 15, 16 ... 31, 32, 33  Next
Page 15 of 33

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©