RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13272516
ทั้งหมด:13583812
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ผตก.แจ้งข่าว อัพเดตกำหนดเวลาเดินรถจาก รฟท.
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ผตก.แจ้งข่าว อัพเดตกำหนดเวลาเดินรถจาก รฟท.
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 23, 24, 25, 26, 27, 28  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เส้นทางรถไฟ, ค่าโดยสาร และเรื่องเกี่ยวกับการเดินรถ
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44632
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/12/2021 3:25 pm    Post subject: Reply with quote

https://www.facebook.com/SSK2273/posts/5512054172145238

2 ธันวาคม 2564 15:29

เนื่องด้วยเหตุดินคันทางสไลด์ ที่ กม.202/15-16 ตอนระหว่างคลองขนานจิตร-คลองไผ่ ขอทำการปิดทางเมื่อเวลา 14:20 น./02 ธันวาคม 2564 จนกว่าจะแล้วเสร็จ
ทำให้ขบวนรถโดยสาร กรุงเทพ-อุบลราชธานี-กรุงเทพ ต้องเปลี่ยนใช้เส้นทางสถานีชุมทางแก่งคอย-จัตุรัส-ชุมทางบัวใหญ่-นครราชสีมา และกลับมาเส้นทางเดิมถึงปลายทางอุบลราชธานี
โดยการเปลี่ยนแปลงมีขบวนรถที่ได้รับผลกระทบเปลี่ยนเส้นทางดังนี้
-ออกต้นทางวันที่ 02 ธันวาคม 2564
ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 22 อุบลราชธานี-กรุงเทพ
ขบวนรถด่วนพิเศษอีสานวัตนาที่ 23/24 กรุงเทพ-อุบลราชธานี-กรุงเทพ
ขบวนรถเร็วที่ 139/140 กรุงเทพ-อุบลราชธานี-กรุงเทพ
-ออกต้นทางวันที่ 03 ธันวาคม 2564
ขบวนรถด่วนที่ 71 กรุงเทพ-อุบลราชธานี
ขบวนรถเร็วที่ 135/136 กรุงเทพ – อุบลราชธานี – กรุงเทพ
ท่านผู้โดยสารถือตั๋วเดินทาง ในวันดังกล่าวที่ขื้นต้น สามารถนำตั๋วโดยสารมาขอคืนเงินเต็มราคาได้ที่สถานีศรีสะเกษ
สถานีศรีสะเกษ ในนามการรถไฟแห่งประเทศไทย ต้องขอภัยในความไม่สะดวกมา ณ. โอกาสนี้
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร 045-611525 หรือสายด่วนการรถไฟ 1690 และ Facebook สถานีรถไฟศรีสะเกษ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 03/12/2021 11:20 am    Post subject: Reply with quote

สถานการณ์ดินสไลด์ที่ สทล.202/14-15 ระหว่าง สถานีคลองขนานจิตร-คลองไผ่ ทำให้การเดินรถไฟช่วงปากช่อง-นครราชสีมาต้องเป็นอัมพาตถึง20ชม.ขณะนี้ฝ่ายโยธาได้ซ่อมเสร็จแล้ว จะเปิดทางได้เวลาประมาณ 10.00 น.โดยใช้ความเร็วผ่านที่เกิดเหตุ20กม./ชม.เป็นการชั่วคราว
https://www.facebook.com/teerayoot.khoonkhum/posts/4627046270676431
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 15/12/2021 1:24 pm    Post subject: Reply with quote

เช็กให้ชัวร์ ขบวนไหนเข้าหัวลำโพงบ้าง❓
Ch7HD News
14 ธันวาคม 2564 เวลา19:00 น.

รฟท.ปรับลดขบวนการเดินรถเข้า #สถานีรถไฟหัวลำโพง ตามนโยบายลดบทบาทสถานี #หัวลำโพง โดยปรับลดขบวน #รถไฟชานเมือง จากเดิม 118 ขบวนต่อวัน เหลือเพียง 22 ขบวนต่อวัน โดยเริ่ม วันที่ 23 ธันวาคมนี้ แบ่งเป็น

สายเหนือ,ตะวันออกเฉียงเหนือ 6 ขบวน อันได้แก่:
ชานเมือง 301/302 กรุงเทพ <=> ลพบุรี
ชานเมือง 313/314 กรุงเทพ <=> ชุมทางบ้านภาชี
ชานเมือง 341/342 กรุงเทพ <=> ชุมทางแก่งคอย

สายใต้ 2 ขบวน อันได้แก่
ชานเมือง 355/356 กรุงเทพ <=> สุพรรณบุรี

สายตะวันออก 14 ขบวน อันได้แก่:
ธรรมดา 275/276 กรุงเทพ <=> ด่านพรหมแดนบ้านคลองลึก
ธรรมดา 279/280 กรุงเทพ <=> ด่านพรหมแดนบ้านคลองลึก
ธรรมดา 281/282 กรุงเทพ <=> กบินทร์บุรี
ธรรมดา 283/284 กรุงเทพ <=> พลูตาหลวง
ชานเมือง 371/372 กรุงเทพ <=> ปราจีนบุรี
ชานเมือง 383/384 กรุงเทพ <=> ชุมทางฉะเชิงเทรา
ชานเมือง 391/380 กรุงเทพ <=> ชุมทางฉะเชิงเทรา

ธรรมดา 201/202 ดอนเมือง <=> พิษณุโลก
ธรรมดา 207/208 ดอนเมือง <=> นครสวรรค์
ธรรมดา 209/210 ดอนเมือง <=> บ้านตาคลี
ธรรมดา 211/212 ดอนเมือง <=> สุรินทร์
ธรรมดา 233/234 ดอนเมือง <=> สุรินทร์
ธรรมดา 277/278 มักกะสัน <=> กบินทร์บุรี
ชานเมือง 303/304 ดอนเมือง <=> ลพบุรี
ชานเมือง 339/340 ดอนเมือง <=> ชุมทางแก่งคอย
ชานเมือง 367/386 มักกะสัน <=> ชุมทางฉะเชิงเทรา

https://www.facebook.com/Ch7HDNews/posts/5320176551355431


Last edited by Wisarut on 19/12/2021 10:05 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44632
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/12/2021 8:30 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เช็กให้ชัวร์ ขบวนไหนเข้าหัวลำโพงบ้าง❓
Ch7HD News
14 ธันวาคม 2564 เวลา19:00 น.
https://www.facebook.com/Ch7HDNews/posts/5320176551355431

Click on the image for full size



Click on the image for full size
https://www.facebook.com/photo/?fbid=661773308322245&set=gm.5014506258601446

การรถไฟแห่งประเทศไทย

เนื่องจาก การรถไฟฯ มีกำหนดให้ขบวนรถโดยสารทั้งหมด เดินรถบนทางยกระดับในระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2564 ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องหยุดให้บริการที่สถานีบางเขน สถานีหลักสี่ ป้ายหยุดรถ กม.11 ที่หยุดรถทุ่งสองห้อง และป้ายหยุดรถการเคหะ กม.19 ส่วนสถานีดอนเมือง จะย้ายการให้บริการไปที่สถานีรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ตั้งแต่เวลา 12.00 น. ของวันที่ 23 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป ซึ่งผู้โดยสารที่มีความประสงค์จะเดินทาง สามารถใช้บริการที่สถานีของระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง)

การรถไฟฯ ใคร่ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี่ จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

การรถไฟแห่งประเทศไทย



ตารางรถไฟใหม่ “สถานีกลางบางซื่อ” สายใต้ใช้สถานีบางซื่อ ตรวจสอบก่อนเดินทางปีใหม่
Dec 17, 2021
Max Puttipong


https://www.youtube.com/watch?v=s0qySI6jDHU


ประชาชนถล่มยับรฟท.ไม่วางแผนเหลือ3วันนัดประชุมรถไฟทางไกล
Source - เดลินิวส์
Sunday, December 19, 2021 05:01

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีประชาชนจำนวนมากร้องเรียน "ข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์" ถึงความสับสนในการใช้บริการรถไฟ หลังจากนายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ประกาศเป็นทางการว่า ตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค.64 การเดินขบวนรถไฟจากสถานีชุมทางบางซื่อ ถึงสถานีรังสิต ขบวนรถไฟโดยสารทั้งหมดจะขึ้นไปใช้ทางรถไฟยกระดับเช่นเดียวกับรถไฟฟ้าสายสีแดง และยุติการเดินขบวนรถไฟโดยสารบนทางรถไฟระดับพื้นดิน ทำให้ไม่สามารถให้บริการที่สถานีและที่หยุดรถระดับพื้นดินรวม 5 แห่ง ได้แก่ สถานีบางเขน สถานีหลักสี่ ที่หยุดรถ กม. 11 ที่หยุดรถทุ่งสองห้อง และที่หยุด รถเคหะ กม. 19

ขณะที่ผู้โดยสารบางรายระบุว่าไปจองซื้อตั๋วรถไฟทางไกลตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค. จะไม่รับส่งที่สถานีกรุงเทพ (สถานีหัวลำโพง) แล้ว เพราะรถไฟทางไกลจะสิ้นสุดที่สถานีกลางบางซื่อ และหลายรายระบุว่า เมื่อสอบถามสายด่วนการรถไฟฯ 1690 เพื่อขอความชัดเจนจะได้วางแผนเรื่องการเดินทาง ก็ไม่มีข้อมูลให้ว่าช่วงหลังวันที่ 23 ธ.ค. จะรับส่งที่สถานีหัวลำโพงหรือไม่ และมีขบวนใดบ้างที่ยังเข้าสถานีหัวลำโพง และไม่สามารถให้คำตอบที่ชัดเจนเรื่องการยกเลิกวิ่งรถไฟบนทางพื้นราบเช่นกัน โดยแจ้งกับประชาชนผู้สอบถามว่าต้องรอแผนงานและนโยบายจากผู้บริหารก่อน สร้างความสับสนให้กับประชาชนและวิพากษ์วิจารณ์ว่ารฟท.ทำงานเช้าชามเย็นชาม ไร้แผนการทำงาน แทนที่จะเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้วางแผนการเดินทางล่วงหน้า กลับไม่ดำเนินการ ถือว่าไม่พัฒนาบริการ

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. นายสราวุธ สราญวงศ์ รักษาการประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรฟท. (สร.รฟท.) เข้ายื่นหนังสือด่วนที่สุดต่อ นายจิรุตม์ วิศาลจิตร ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. และนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่า รฟท. ขอให้พิจารณาทบทวนชะลอแผนงานการเปิดให้บริการรถไฟทางไกล (LD) ไปที่สถานีกลางบางซื่อตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค.ออกไปก่อนจนกว่ารฟท.จะมีความพร้อมเพื่อไม่ให้ประชาชนผู้ใช้บริการจำนวนมากได้รับผลกระทบความเดือดร้อนในการใช้บริการที่ไม่สะดวก

ด้านนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า วันที่ 20 ธ.ค. นี้จะ ประชุมคณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการ และการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ โดยจะนำเรื่องการเปิดให้บริการ รถไฟทางไกล ที่สถานีกลางบางซื่อมาพิจารณาด้วย เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนก่อนเปิดบริการในวันที่ 23 ธ.ค.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 20 ธ.ค. 2564 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44632
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/12/2021 12:09 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.ยกเลิกจุดจอด 3 สถานีดีเดย์ 23 ธ.ค.นี้
TNN 19 ธันวาคม 2564, 12:11 น.

รฟท.ยกเลิกจุดจอด 3 สถานีดีเดย์ 23 ธ.ค.นี้
รฟท.ประกาศหยุดให้บริการที่สถานีบางเขน-หลักสี่-ดอนเมือง ตั้งแต่ 23 ธ.ค.นี้ หลังกำหนดให้ขบวนรถโดยสารทั้งหมดเดินรถบนทางยกระดับรถไฟฟ้าชานเมือง

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทยแจ้งว่า ในวันที่ 23 ธ.ค.นี้ รฟท.กำหนดให้ขบวนรถโดยสารทั้งหมด เดินรถบนทางยกระดับในระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องหยุดให้บริการที่สถานีบางเขน สถานีหลักสี่ ป้ายหยุดรถ กม.11 ที่หยุดรถทุ่งสองห้อง และป้ายหยุดรถการเคหะ กม.19 ส่วนสถานีดอนเมือง จะย้ายการให้บริการไปที่สถานีรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ตั้งแต่เวลา 12.00 น. ของวันที่ 23 ธ.ค. เป็นต้นไป ซึ่งผู้โดยสารที่มีความประสงค์จะเดินทาง สามารถใช้บริการที่สถานีของระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง)

สำหรับการบริการเปิดเดินรถไฟทางไกลเส้นทางสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือ วิ่งบนทางยกระดับสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต จะเริ่มวันที่ 21 ธ.ค.เป็นต้นไป ทำให้ไม่มีขบวนรถโดยสารวิ่งให้บริการรับส่งผู้โดยสารที่สถานีบางเขน หลักสี่ และดอนเมือง ที่ระดับพื้นบนทางประธานสายเหนืออีกต่อไป แต่ยังมีความจำเป็นสำหรับการเดินขบวนรถสินค้าและขบวนรถอื่นๆในช่วงเวลากลางคืนหรือกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

ทั้งนี้รฟท.จะปิดสถานีบางเขน สถานีหลักสี่ และสถานีดอนเมือง ตลอด 24 ชั่วโมง และให้ผู้เกี่ยวข้องถือปฏิบัติในการเดินรถตามคำสั่งทั่วไป เรื่องกำหนดวิธีปฏิบัติเมื่อมีการปิดสถานีชั่วคราวในพื้นที่ควบคุมการเดินรถจากศูนย์กลาง และคำสั่งทั่วไป เรื่องกำหนดวิธีปฏิบัติเมื่อมีเหตุฉุกเฉินเกี่ยวกับการเดินรถในพื้นที่ควบคุมการเดินรถจากศูนย์กลาง โดยเคร่งครัด ตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค.เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง




ปิดตำนานสถานีรถไฟ บางเขน-หลักสี่-ดอนเมือง 23 ธ.ค.ใช้บริการสายสีแดง
เผยแพร่: 19 ธ.ค. 2564 11:53 ปรับปรุง: 19 ธ.ค. 2564 11:53 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

Click on the image for full size
สถานีดอนเมือง ที่จะหยุดให้บริการในวันที่ 23 ธ.ค. 2564 และย้ายไปให้บริการที่สถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงแทน

การรถไฟฯ ประกาศหยุดให้บริการที่สถานีบางเขน หลักสี่ และย้ายสถานีดอนเมืองไปที่สถานีรถไฟสายสีแดง ตั้งแต่ 23 ธ.ค. เป็นต้นไป อีกด้านหนึ่ง ยังไม่มีความชัดเจนเรื่องปรับเปลี่ยนสถานีต้นทาง-ปลายทาง ไปที่สถานีกลางบางซื่อและสถานีอื่นๆ ส่วนสหภาพการรถไฟฯ ยื่นหนังสือเรียกร้องให้ชะลอแผนออกไปก่อน จนกว่าจะมีความพร้อมสมบูรณ์

วันนี้ (19 ธ.ค.) รายงานข่าวแจ้งว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย มีกำหนดให้ขบวนรถโดยสารทั้งหมด เดินรถบนทางยกระดับในระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค. 2564 ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องหยุดให้บริการที่สถานีบางเขน สถานีหลักสี่ ป้ายหยุดรถ กม.11 ที่หยุดรถทุ่งสองห้อง และป้ายหยุดรถการเคหะ กม.19 ส่วนสถานีดอนเมือง จะย้ายการให้บริการไปที่สถานีรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ตั้งแต่เวลา 12.00 น. ของวันที่ 23 ธ.ค. 2564 เป็นต้นไป ซึ่งผู้โดยสารที่มีความประสงค์จะเดินทาง สามารถใช้บริการที่สถานีของระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง)

รายงานข่าวเพิ่มเติมระบุว่า ฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย ออกคำสั่งเมื่อวันที่ 17 ธ.ค. ที่ผ่านมา ให้สถานีบางเขน สถานีหลักสี่ และสถานีดอนเมือง เป็นสถานีปิดในพื้นที่ควบคุมการเดินรถจากศูนย์กลาง (CTC) เนื่องจากการรถไฟฯ มีกำหนดเปิดให้รถโดยสารทางไกล (LD) ในเส้นทางสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือ วิ่งบนทางยกระดับในพื้นที่โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต ตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค. 2564 เป็นต้นไป ทำให้ไม่มีขบวนรถโดยสารวิ่งให้บริการรับส่งผู้โดยสารที่สถานีบางเขน หลักสี่ และดอนเมืองที่ระดับพื้นบนทางประธานสายเหนืออีกต่อไป

แต่ยังมีความจำเป็นสำหรับการเดินขบวนรถสินค้าและขบวนรถอื่นๆ ในช่วงเวลากลางคืนหรือกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน จึงให้ปิดสถานีบางเขน สถานีหลักสี่ และสถานีดอนเมือง ตลอด 24 ชั่วโมง และให้ผู้เกี่ยวข้องถือปฏิบัติในการเดินรถตามคำสั่ง เรื่อง กำหนดวิธีปฏิบัติเมื่อมีการปิดสถานีชั่วคราวในพื้นที่ควบคุมการเดินรถจากศูนย์กลาง (CTC) (แก้ไขปรับปรุงใหม่ ครั้งที่ 2) และคำสั่งทั่วไป เรื่อง กำหนดวิธีปฏิบัติเมื่อมีเหตุฉุกเฉินเกี่ยวกับการเดินรถในพื้นที่ควบคุมการเดินรถจากศูนย์กลาง (CTC) (แก้ไขปรับปรุงใหม่ ครั้งที่ 1) โดยเคร่งครัด ตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค. 2564 เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง

Click on the image for full size

อนึ่ง เป็นที่น่าสังเกตว่า จนถึงขณะนี้ (ณ วันที่ 19 ธ.ค. 2564) ยังไม่มีความชัดเจนอย่างเป็นทางการ จากการรถไฟแห่งประเทศไทย ถึงการย้ายการเดินรถไฟออกจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) แม้จะมีการออกโทรเลขเป็นการภายใน อนุมัติให้เปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาเดินรถ และปรับเปลี่ยนสถานีต้นทาง-ปลายทางขบวนรถโดยสารเส้นทางสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้ เสียใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปิดให้บริการขบวนรถไฟโดยสารทางไกล (LD) ขึ้นให้บริการที่สถานีกลางบางซื่อ โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค. 2564 เป็นต้นไป เนื่องจากมีการคัดค้านการปิดสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) นำโดยสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย

โดยเมื่อวันที่ 17 ธ.ค. ที่ผ่านมา นายสราวุธ สราญวงศ์ รักษาการ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ยื่นหนังสือถึงนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม

เพื่อขอให้พิจารณาสั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ทบทวนชะลอแผนงานการเปิดให้บริการรถไฟทางไกล (LD) ไปที่สถานีกลางบางซื่อออกไปก่อนจนกว่าจะมีความพร้อมสมบูรณ์ เนื่องจากจะทำให้ประชาชนผู้ใช้บริการจำนวนมากที่ยังไม่ทราบข้อมูลที่ชัดเจนทั้งหมด เกิดความสับสนต่อการใช้บริการเดินทาง ซึ่งจะมีผลกระทบทำให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ขององค์กรในการให้บริการกับประชาชน และผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติงาน

การดำเนินการเปลี่ยนแปลงสถานีต้นทาง-ปลายทาง ในการให้บริการรถไฟจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไปที่สถานีกลางบางซื่อ จะมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดของประชาชน ชุมชน สิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง ตามรัฐธรรมนูญต้องมีการดำเนินการให้มีการศึกษาและประเมินผลคุณภาพชีวิตของประชาชนหรือชุมชน และรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย ประชาชน และชุมชนที่เกี่ยวข้องก่อน ซึ่งการกำหนดให้ขบวนรถไฟทางไกลเชิงสังคม รถไฟชานเมือง จำนวน 14 ขบวน มีต้นทาง-ปลายทางที่สถานีดอนเมือง มีผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการในการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต เหมือนเป็นการบีบบังคับให้ประชาชนที่เคยเดินทางต้องไปขึ้นรถไฟฟ้าสายสีแดงที่มีราคาบริการแพงกว่า

นอกจากนี้ ประชาชนผู้ใช้บริการจำนวนมากยังไม่ทราบว่า ขบวนรถไม่สามารถหยุดรับ-ส่งผู้โดยสารในสถานีรายทางของสายสีแดงได้ เนื่องจากระบบไม่ได้รองรับให้รถไฟจอดหยุดรับ-ส่งที่สถานีดังกล่าว ซึ่งแตกต่างกับเส้นทางเดิมที่สามารถหยุดรับ-ส่งผู้โดยสารได้ที่สถานีบางเขน และสถานีหลักสี่ ซึ่งในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่จะถึงนี้จะมีผู้โดยสารมาใช้บริการเป็นจำนวนมากในการเดินทางกลับภูมิลำเนา หากการรถไฟฯ ดำเนินการตามแผนงานดังกล่าวแล้ว จะมีผลกระทบเป็นวงกว้างกับผู้โดยสารเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการไม่ทราบข้อมูลและทำให้ไม่สามารถใช้บริการรถไฟได้



ลุ้นปรับแผนวิ่งรถไฟเชิงสังคม 52 ขบวนเข้า”หัวลำโพง”หลังฟังเสียงประชาชนเดือดร้อนหนัก
เผยแพร่: 19 ธ.ค. 2564 19:16 ปรับปรุง: 19 ธ.ค. 2564 19:16 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

จับตา 20 ธ.ค. คมนาคม-รฟท.ถกแผนปิด”หัวลำโพง”รฟท.จ่อชง วิ่งรถเชิงสังคม 52 ขบวนต่อ ลดผลกระ ด้านสหภาพฯ ชี้ระบบสถานีกลางบางซื่อไม่พร้อม แถมยังมี 14 ขบวนรถเชิงสังคม หยุดแค่ดอนเมือง

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่าหลังจาก การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้เปิดเวทีสาธารณะรับฟังความเห็น หัวข้อ “อนาคตสถานีหัวลำโพง ประวัติศาสตร์คู่การพัฒนา” เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2564 ขณะนี้รฟท.กำลงรวบรวมข้อมูล สรุปความเห็นคิดจากทุกภาคส่วน ซึ่งกระทรวงคมนาคมนั้นพร้อมรับฟังทุกฝ่ายและนำมาประมวลผล ว่าหากดำเนินการแล้วจะเกิด ประโยชน์อะไรกับประชาชนอย่างไรบ้าง

ซึ่งการเปิดเวทีสาธารณะเป็นเรื่องที่ดี เพราะทำให้รู้ว่า มีการเข้าใจคลาดเคลื่อนอย่างไร ซึ่งยืนยันว่ากระทรวงคมนาคมไม่มีแนวคิดทุบสถานี หัวลำโพง และเรื่องการพัฒนาสถานีหัวลำโพงไม่ใช่แนวคิดผม เป็นเรื่องที่เกิดมาก่อนแล้ว มีการศึกษา ตั้งแต่มีการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ ผมเพียงแค่นำเสนอวิธีการแก้ปัญหาการบริหารงานของ รฟท. ว่าจะทำอย่างไรไม่ให้ประสบภาวะขาดทุนเท่านั้น เพราะหลายประเทศทำสำเร็จแล้ว เช่า ญี่ปุ่น ซึ่งหากข้อมูล ยังไม่ตกผลึก ก็ยังจะไม่ดำเนินการ

ส่วนเรื่องการเดินรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพง ในวันที่ 23 ธันวาคม 2564 ขณะนี้ ขืนยันว่า จะมีการเดินรถเข้าไป สถานีหัวลำโพง จำนวน 22 ขบวน ตามแผนของ รฟท. ซึ่งได้ให้ โจทย์ รฟท. ไปพิจารณาและวิเคราะห์ว่า จะมีแนวทางอย่างไรที่ทำให้การเดินรถทั้ง 22 ขบวนลดผลกระทบกับการจราจรทางบก ได้อีกหรือไม่อย่างไร หากมีก็ให้เสนอมา แต่หากไม่มีและวิ่ง 22 ขบวน ถือเป็นแนวทางที่ดีที่สุดแล้ว ก็ดำเนินการตามแผนนี้

ส่วนกรณีสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ขอให้ รฟท. พิจารณาทบทวนชะลอแผนงานการเปิดให้บริการรถไฟทางไกล(LD)ไปที่สถานีกลางบางซื่อ และคงการเดินรถชานเมืองทั้งหมด เข้าสถานีหัวลำโพงต่อไปก่อน เนื่องจาก ยังไม่มีความพร้อม เพื่อไม่ให้ประชาชนผู้ใช้บริการได้รับผลกระทบนั้น

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า ทุกเรื่องทุกแนวคิดต้องมีเหตุผลและหลักการสนับสนุน จะใช้ความรู้สึกส่วนตัวมาสนับสนุน หรือตัดสินใจไม่ได้ ผมไม่เคยทำงานแบบนั้น คงต้องนำข้อมูลมาพิจารณาร่วมกัน ซึ่งการปรับแผนเดินรถต่างๆ ขณะนี้รฟท.กำลังเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ

อย่างไรก็ตาม ช่วงบ่าย วันที่ 20 ธ.ค.64 จะมีการประชุมคณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการ และการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ โดยจะนำเรื่องการเปิดให้บริการรถไฟทางไกล ที่สถานีกลางบางซื่อมาพิจารณาด้วย

@รฟท.จ่อเสนอวิ่งรถเชิงสังคม 52 ขบวนเข้าหัวลำโพงไปถึงปีใหม่ ลดผลกระทบ

รายงานข่าว แจ้งว่า จากการที่รฟท.ได้เปิดเวทีรับฟังข้อมูล ข้อคิดเห็นของประชาชน และผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงมีข้อเรียกร้องจากสหภาพฯรฟท.ให้ชะลอกรณีการย้ายรถไฟทางไกลและรถไฟชานเมืองจากสถานีหัวลำโพงไปให้บริการที่สถานีกลางบางซื่อ ออกไปจากที่กำหนดเริ่มในวันที่ 23 ธ.ค.นี้ ดังนั้น รฟท.จะสรุปรายละเอียดข้อคิดเห็น เสนอกระทรวงคมนาคม เพื่อขอเดินรถบริการเชิงสังคม ที่มีทั้งหมด ประมาณ 52 ขบวน /วัน เข้าสถานีหัวลำโพงต่อไปก่อน เพื่อลดผลกระทบกับผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565 ที่คาดว่าจะมีประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนา โดยรถไฟจำนวนมาก

หลังจากนั้น ควรเปิดรับฟังความเห็นประชาชนอีกครั้งเพื่อพิจารณาปรับรายละเอียดและแนวทางใดที่เกิดประโยชน์สุงที่สุด

@ไม่ให้รถเชิงสังคมเข้าสถานีกลางบางซื่อ 14 ขบวนต้องไปขึ้นที่”ดอนเมือง”

รายงานข่าวแจ้งว่า ตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค.2564 เป็นต้นไป ตามแผนเบื้องต้น รถไฟทางไกลสายเหนือ สายอีสาน จะหยุดบริการ ที่สถานีกลางบางซื่อ ไม่เข้าสถานีหัวลำโพงแล้ว จำนวน 42 ขบวน /วัน (ไป 21 ขบวน กลับ 21 ขบวน) เช่น กรุงเทพ -เชียงใหม่ ,กรุงเทพ-เด่นชัย ,กรุงเทพ-ศิลาอาสน์ ,กรุงเทพ-หนองคาย , กรุงเทพ-อุบลราชธานี เป็นต้น

ส่วนสายใต้ จะหยุดที่สถานีบางซื่อ (สถานีเก่า) ไม่เข้าสถานีกลางบางซื่อ จำนวน 26 ขบวน/วัน (ไป 13 ขบวน กลับ 13 ขบวน) ได้แก่ กรุงเทพ-หาดใหญ่,กรุงเทพ-สุราษฏร์ธานี,กรุงเทพ-นครศรีธรรมราช กรุงเทพ-ตรัง , กรุงเทพ-สุไหงโกลก
สำหรับขบวนรถธรรมดา อีก 14 ขบวน (ไป7 ขบวน กลับ 7 ขบวน) จะหยุดบริการที่สถานีดอนเมือง ไม่วิ่งเข้าสถานีกลางบางซื่อ ได้แก่ กรุงเทพ-นครสวรรค์ ,กรุงเทพ-บ้านภาชี, กรุงเทพ-ลพบุรี ,กรุงเทพ-แก่งคอย,กรุงเทพ-พิษณุโลก,กรุงเทพ-ตะพานหิน ,กรุงเทพ-สุรินทร์

โดยสถานีดอนเมือง จะเป็นสถานีต้นทาง/ปลายทาง ดงนั้น ผู้โดยสารที่ต้องการจะเข้าบางซื่อ จะต้องลงที่สถานีดอนเมืองและเปลี่ยนมาใช้รถไฟฟ้าสายสีแดง โดยรฟท.ระบุว่า สามารถใช้ตั๋วโดยสารเดิมในการใช้บริการสายสีแดงได้

สาเหตุที่รถไฟธรรมดา 14 ขบวนดังกล่าว ไม่สามารถเข้าสถานีกลางบางซื่อได้ เนื่องจากเป็นรถไฟดีเซล และเป็นบริการรถเชิงสังคม ซึ่งผู้อำนวยการฝ่ายการโดยสาร รฟท. ระบุว่า รถดีเซลไม่ให้เข้าสถานีบางซื่อ จะให้เข้าเฉพาะขบวนรถเชิงพาณิชย์ เพื่อลดจำนวนรถและผู้โดยสารเนื่องจากการ Operate สถานีกลางบางซื่อ ยังไม่พร้อม

ขณะที่การทำขบวนรถธรรมดา ดังกล่าว หากให้บริการที่สถานีกลางบางซื่อ. จะต้องลากขบวนออกจากเดปโป้บางซื่อขึ้นไปบนทางยกระดับ จนถึงวัดเสมียรนารี จากนั้นต้องถอยขบวนรถกลับมาที่สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งเสียเวลา อีกทั้งหัวรถจักรมีไม่เพียงพอที่จะลากไปตั้งขบวน จึงตัดปัญหาหยุดสถานีสุดท้ายที่ ดอนเมือง เพื่อให้รถลากออกจาเดปโป้ไปทำขบวนที่สถานีดอนเมือง ไม่ต้องย้อนกลับมาที่สถานีกลางบางซื่อ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 20/12/2021 12:54 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฯประกาศหยุดเดินรถบางสถานี ก่อนเปิดวิ่งสายสีแดง มีผล 23 ธ.ค.นี้
ในประเทศ
19 ธันวาคม 2564 เวลา 12:09 น.


การรถไฟฯ ประกาศหยุดให้บริการบางสถานีบางเขน-หลักสี่-ดอนเมือง รวมถึงป้ายหยุดรถ กม.11 ที่หยุดรถทุ่งสองห้อง และป้ายหยุดรถการเคหะ กม.19ตั้งแต่ 23 ธ.ค.64 เตรียมเดินรถบนทางยกระดับในระบบรถไฟสายสีแดง

วันที่ 19 ธันวาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวันที่ 17 ธ.ค.ที่ผ่านมา การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ออกประกาศ ระบุว่า “เนื่องจาก การรถไฟฯ มีกำหนดให้ขบวนรถโดยสารทั้งหมด เดินรถบนทางยกระดับในระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2564


ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องหยุดให้บริการที่สถานีบางเขน สถานีหลักสี่ ป้ายหยุดรถ กม.11 ที่หยุดรถทุ่งสองห้อง และป้ายหยุดรถการเคหะ กม.19 ส่วนสถานีดอนเมือง จะย้ายการให้บริการไปที่สถานีรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ตั้งแต่เวลา 12.00 น. ของวันที่ 23 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป ซึ่งผู้โดยสารที่มีความประสงค์จะเดินทาง สามารถใช้บริการที่สถานีของระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง)

ขณะที่คำสั่งฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ ระบุว่า

ด้วยการรถไฟฯมีกำหนดเปิดให้รถไฟโดยสารทางไกล ในเส้นทางสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือ วิ่งบนทางยกระดับในพื้นที่โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป ทำให้ไม่มีขบวนรถโดยสารวิ่งให้บริการรับส่งผู้โดยสารที่สถานีบางเขน หลักสี่ และดอนเมือง ที่ระดับพื้นบนทางประธานสายเหนืออีกต่อไป แต่ยังมีความจำเป็นสำหรับการเดินขบวนรถสินค้าและขบวนรถอื่นๆในช่วงเวลากลางคืนหรือกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน


ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามคำสั่งทั่วไป ให้ปิดสถานีบางเขน สถานีหลักสี่ และสถานีดอนเมือง ตลอด 24 ชั่วโมง และให้ผู้เกี่ยวข้องถือปฏิบัติในการเดินรถตามคำสั่งทั่วไป เรื่องกำหนดวิธีปฏิบัติเมื่อมีการปิดสถานีชั่วคราวในพื้นที่ควบคุมการเดินรถจากศูนย์กลาง และคำสั่งทั่วไป เรื่องกำหนดวิธีปฏิบัติเมื่อมีเหตุฉุกเฉินเกี่ยวกับการเดินรถในพื้นที่ควบคุมการเดินรถจากศูนย์กลาง โดยเคร่งครัด

ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2564 เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง


ผู้โดยสารรถไฟ อลเวง 23ธ.ค. ปิดตำนาน3สถานี “บางเขน-หลักสี่-ดอนเมือง”
หน้าเศรษฐกิจเศรษฐกิจ​ทั่วไป​
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
19 ธันวาคม 2564 เวลา 17:38 น.

ผู้โดยสารอลเวง ปิดตำนาน 3สถานีรถไฟดัง รฟท.ประกาศหยุดเดินรถ สถนี บางเขน-หลักสี่ ย้านสถานีดอนเมืองไปที่สถานีรถไฟสายสีแดง ดีเดย์ 23ธ.ค. 64 เป็นต้นไป สร้างความสับสนอลหม่านให้กับประชาชนผู้ใช้บริการที่เคยขึ้นรถไฟในย่านนั้น สร.รฟท.ยื่นหนังสือ ถึง ศักดิ์สยาม ทบทวนคำสั่ง



กรณีที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ประกาศหยุดให้บริการรับส่งผู้โดยสารรถไฟที่สถานีบางเขน หลักสี่ และย้ายสถานีดอนเมืองไปที่สถานีรถไฟสายสีแดง ตั้งแต่ วันที่ 23 ธันวาคม นี้เป็นต้นไป พร้อมลดบทบาทสถานีกรุงเทพ(หัวลำโพง ) ให้เหลือขบวนรถเข้าถึงสถานีเพียง22 ขบวน ขณะความชัดเจนถึงเส้นทางรับส่งต้นทางปลายทางยังไม่มีอาจทำให้ประชาชนสับสน

โดยรฟท.แจ้งว่า มีกำหนดให้ขบวนรถโดยสารทั้งหมดเดินรถบนทางยกระดับในระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค. 2564 ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องหยุดให้บริการที่สถานีบางเขน สถานีหลักสี่ ป้ายหยุดรถ กม.11 ที่หยุดรถทุ่งสองห้อง และป้ายหยุดรถการเคหะ กม.19 ส่วนสถานีดอนเมืองจะย้ายการให้บริการไปที่สถานีรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ตั้งแต่เวลา 12.00 น. ของวันที่ 23 ธ.ค. 2564 เป็นต้นไป ซึ่งผู้โดยสารที่มีความประสงค์จะเดินทางสามารถใช้บริการที่สถานีของระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง)

นอกจากนี้ ฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ รฟท.ได้ออกคำสั่งเมื่อวันที่ 17 ธันวาคมที่ผ่านมา ให้สถานีบางเขน สถานีหลักสี่ และสถานีดอนเมือง เป็นสถานีปิดในพื้นที่ควบคุมการเดินรถจากศูนย์กลาง (CTC) เนื่องจากการรถไฟฯ มีกำหนดเปิดให้รถโดยสารทางไกล (LD) ในเส้นทางสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือ

วิ่งบนทางยกระดับในพื้นที่โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต ตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค. 2564 เป็นต้นไป ทำให้ไม่มีขบวนรถโดยสารวิ่งให้บริการรับส่งผู้โดยสารที่สถานีบางเขน หลักสี่ และดอนเมืองที่ระดับพื้นบนทางประธานสายเหนืออีกต่อไป

แต่ยังมีความจำเป็นสำหรับการเดินขบวนรถสินค้าและขบวนรถอื่นๆ ในช่วงเวลากลางคืนหรือกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน จึงให้ปิดสถานีบางเขน สถานีหลักสี่ และสถานีดอนเมืองตลอด 24 ชั่วโมง และให้ผู้เกี่ยวข้องถือปฏิบัติในการเดินรถตามคำสั่ง เรื่อง กำหนดวิธีปฏิบัติเมื่อมีการปิดสถานีชั่วคราว

ในพื้นที่ควบคุมการเดินรถจากศูนย์กลาง (CTC) (แก้ไขปรับปรุงใหม่ ครั้งที่ 2) และคำสั่งทั่วไป เรื่อง กำหนดวิธีปฏิบัติเมื่อมีเหตุฉุกเฉินเกี่ยวกับการเดินรถในพื้นที่ควบคุมการเดินรถจากศูนย์กลาง (CTC) (แก้ไขปรับปรุงใหม่ ครั้งที่ 1) โดยเคร่งครัด ตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม เวลา 18.00 น.เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง

ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่าจนถึงขณะนี้ ยังไม่มีความชัดเจนอย่างเป็นทางการจากรฟท. ถึงการย้ายการเดินรถไฟออกจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) แม้จะมีการออกโทรเลขเป็นการภายในอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาเดินรถ และปรับเปลี่ยนสถานีต้นทาง-ปลายทางขบวนรถโดยสารเส้นทางสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้ เสียใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปิดให้บริการขบวนรถไฟโดยสารทางไกล (LD) ขึ้นให้บริการที่สถานีกลางบางซื่อ โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค. 2564 เป็นต้นไปเนื่องจากมีการคัดค้านการปิดสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)เป็นวงกว้าง

ล่าสุด นายสราวุธ สราญวงศ์ รักษาการประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรฟท.ยื่นหนังสือต่อนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมขอให้ทบทวนข้อสั่งการให้รฟท.ชะลอแผนงานการเปิดให้บริการรถไฟทางไกล (LD) ไปที่สถานีกลางบางซื่อออกไปก่อน

จนกว่าจะมีความพร้อมสมบูรณ์ เนื่องจากจะทำให้ประชาชนผู้ใช้บริการจำนวนมากที่ยังไม่ทราบข้อมูลที่ชัดเจนทั้งหมดเกิดความสับสนต่อการใช้บริการเดินทาง ซึ่งจะมีผลกระทบทำให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ขององค์กรในการให้บริการแก่ประชาชน และผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติงาน

การดำเนินการเปลี่ยนแปลงสถานีต้นทาง-ปลายทาง ในการให้บริการรถไฟจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไปที่สถานีกลางบางซื่อ จะมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดของประชาชน ชุมชน สิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง ตามรัฐธรรมนูญต้องมีการดำเนินการให้มีการศึกษาและประเมินผลคุณภาพชีวิตของประชาชนหรือชุมชน

รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย ประชาชน และชุมชนที่เกี่ยวข้องก่อน ซึ่งการกำหนดให้ขบวนรถไฟทางไกลเชิงสังคม รถไฟชานเมือง จำนวน 14 ขบวน มีต้นทาง-ปลายทางที่สถานีดอนเมือง มีผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการในการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต เหมือนเป็นการบีบบังคับให้ประชาชนที่เคยเดินทางต้องไปขึ้นรถไฟฟ้าสายสีแดงที่มีราคาบริการแพงกว่า

นอกจากนี้ ประชาชนผู้ใช้บริการจำนวนมากยังไม่ทราบว่าขบวนรถไม่สามารถหยุดรับ-ส่งผู้โดยสารในสถานีรายทางของสายสีแดงได้ เนื่องจากระบบไม่ได้รองรับให้รถไฟจอดหยุดรับ-ส่งที่สถานีดังกล่าว ซึ่งแตกต่างกับเส้นทางเดิมที่สามารถหยุดรับ-ส่งผู้โดยสารได้ที่สถานีบางเขน และสถานีหลักสี่ ซึ่งในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่จะถึงนี้จะมีผู้โดยสารมาใช้บริการเป็นจำนวนมากในการเดินทางกลับภูมิลำเนา หากการรถไฟฯ ดำเนินการตามแผนงานดังกล่าวแล้ว จะมีผลกระทบเป็นวงกว้างต่อผู้โดยสารเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการไม่ทราบข้อมูลและทำให้ไม่สามารถใช้บริการรถไฟได้


Mongwin wrote:
รฟท.ยกเลิกจุดจอด 3 สถานีดีเดย์ 23 ธ.ค.นี้
TNN 19 ธันวาคม 2564, 12:11 น.

ปิดตำนานสถานีรถไฟ บางเขน-หลักสี่-ดอนเมือง 23 ธ.ค.ใช้บริการสายสีแดง
เผยแพร่: 19 ธ.ค. 2564 11:53 ปรับปรุง: 19 ธ.ค. 2564 11:53 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

สรุปแผนเดินรถไฟทางไกล-สถานีหัวลำโพง 20 ธ.ค.
https://www.youtube.com/watch?v=LIWsfLy-fas

ลุ้นปรับแผนวิ่งรถไฟเชิงสังคม 52 ขบวนเข้า”หัวลำโพง”หลังฟังเสียงประชาชนเดือดร้อนหนัก
เผยแพร่: 19 ธ.ค. 2564 19:16 ปรับปรุง: 19 ธ.ค. 2564 19:16 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 20/12/2021 5:37 pm    Post subject: Reply with quote

🚂 ด่วน! ‘ศักดิ์สยาม’ ย้ำ ‘รถไฟทุกขบวน’ ยังวิ่งเข้าสู่ ‘หัวลำโพง’ สั่ง รฟท.เช็คลิสต์ผลกระทบ ปชช. เดดไลน์ภายใน 30 วัน
เผยแพร่: 20 ธันวาคม 2564

“ศักดิ์สยาม” สั่ง รฟท. เดินรถทุกขบวนเข้า “สถานีหัวลำโพง” ตามเดิม!
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
20 ธันวาคม 2564 เวลา 17:26 น.


"ศักดิ์สยาม" ยืนยันไม่ปิด "หัวลำโพง" รถไฟทุกขบวนวิ่งเข้าให้บริการปกติ
เศรษฐกิจ-นโยบาย
ไทยรัฐออนไลน์
20 ธันวาคม 2564 เวลา 20:10 น.

รมว.คมนาคม ยืนยันไม่ปิด "หัวลำโพง" รถไฟทั้งสายสั้นและสายยาว สามารถวิ่งเข้ามายังสถานีรถไฟหัวลำโพงกว่า 118 ขบวนต่อวันเหมือนเดิม

“ศักดิ์สยาม” สั่ง รฟท. เดินรถทุกขบวนเข้าสถานีหัวลำโพงตามเดิม รอผลเช็กลิสต์ ตรวจสอบผลกระทบกับประชาชนให้ชัดเจนก่อน ขีดเส้นจบภายใน 30 วัน เปิดตัวเลขผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดง แค่ พ.ย. เดือนเดียว ทะลุ 2.65 แสนคน เพิ่มขึ้น 31.96%


นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ ผ่านการประชุมทางไกล  (Video Conference) ว่า ที่ประชุมได้รับทราบผลการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น “อนาคตสถานีหัวลำโพง ประวัติศาสตร์คู่การพัฒนา” โดยได้สั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จัดทำเช็กลิสต์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญ และสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้องร่วมให้คำแนะนำ เพื่อตรวจสอบผลกระทบกับประชาชน ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน การเชื่อมต่อของประชาชน และการขนส่งสินค้า การอำนวยความสะดวกด้านการจราจรและความปลอดภัยในการเดินรถ โดยให้ดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 30 วัน

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า ทั้งนี้การดำเนินการทุกขั้นตอนต้องเป็นไปตามผลการศึกษา ข้อกฎหมาย มติ ครม. ที่เกี่ยวข้องก่อนจะดำเนินการจัดทำแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องต่อไป โดยในระหว่างการดำเนินการดังกล่าวให้ รฟท. ยังคงรูปแบบการเดินรถไฟทุกขบวนเข้าสู่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ทั้งขบวนรถเชิงพาณิชย์ และเชิงสังคมตามเดิม รวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน และผู้ใช้บริการทราบต่อไป นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้ติดตามความคืบหน้าผลการดำเนินงานการให้บริการหลังเปิดบริการรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) อย่างเป็นทางการแบบเก็บค่าโดยสาร ตั้งแต่เมื่อวันที่ 2 ส.ค.64 โดยพบว่า ปัจจุบันรถไฟฟ้าสายสีแดง มีผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 10,267 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นต่อเนื่องนับตั้งแต่เปิดให้บริการในเดือน ส.ค.64


นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า ทั้งนี้เดือน พ.ย.ที่ผ่านมา มีผู้โดยสารรวม 265,038 คน เพิ่มขึ้น 31.96% จากเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ รฟท. ได้ดำเนินการเชิงรุก เพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกเข้ามาลักลอบตัดสายอาณัติสัญญาณในระบบรถไฟฟ้า เช่น การเฝ้าระวังจากระบบเตือนที่ศูนย์ควบคุม จัดให้มีการลาดตระเวนของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เป็นต้น และในพื้นที่สถานีกลางบางซื่อได้เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการใช้บริการของประชาชนที่เพิ่มขั้นอย่างต่อเนื่อง และรองรับการให้บริการรถไฟทางไกลของ รฟท. ในอนาคต.
https://www.youtube.com/watch?v=R11khDgAC1M
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3072405412980956


Last edited by Wisarut on 21/12/2021 2:56 am; edited 3 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44632
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/12/2021 7:26 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:

รถไฟทุกขบวนเข้าหัวลำโพง”ศักดิ์สยาม”สั่งเองถอยเอง
*รอเช็กลิสต์ตรวจสอบผลกระทบประชาชนทุกมิติ
*23ธ.ค.รถไฟทางไกลยังไม่ต้องเข้าสถานีบางซื่อ
*เปิดตัวเลขผู้โดยสารสายสีแดงพุ่งทะลุ2.65แสน

https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3072405412980956

เสียงค้านได้ผล! "ศักดิ์สยาม" เบรกย้ายรถไฟไปบางซื่อ ยื้ออีก 30 วันให้ศึกษาผลกระทบอีกรอบ
เผยแพร่: 20 ธ.ค. 2564 17:53 ปรับปรุง: 20 ธ.ค. 2564 17:53 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

“ศักดิ์สยาม” ยอมเบรกย้ายรถไฟไป "บางซื่อ" คงเดินรถเข้าหัวลำโพงตามปกติทุกขบวน สั่ง รฟท.เช็กลิสต์ผลกระทบทุกด้านใน 30 วัน ทั้งประชาชน การขนส่ง และจราจร ด้านผู้ว่าฯ รฟท.เตรียมแถลงพรุ่งนี้ (21 ธ.ค.) ขณะที่สายสีแดงผู้โดยสารเฉลี่ยกว่า 1 หมื่นคน/วัน สั่งเร่งทำฟีดเดอร์เข้าสถานีรังสิตเพิ่มความสะดวก

วันที่ 20 ธ.ค. 2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานประชุมคณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ ครั้งที่ 8/2564 เพื่อติดตามความคืบหน้าผลการดำเนินงานการให้บริการหลังการเปิดบริการรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) อย่างเป็นทางการ และการดำเนินการในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผ่านการประชุมทางไกล (Video Conference) โดยมีนายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม นางจันทิรา บุรุษพัฒน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ในฐานะประธานกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) นายพิเชษฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนสำนักงบประมาณ หัวหน้าหน่วยงานและผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า ที่ประชุมยังได้รับทราบผลการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น “อนาคตสถานีหัวลำโพง ประวัติศาสตร์คู่การพัฒนา” จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 ณ ตึกปฏิบัติการวิทยุโทรทัศน์ บมจ.อสมท โดยมีรองปลัดกระทรวงคมนาคม รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง ผู้ช่วยผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย และบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด ร่วมชี้แจง โดยได้นำเสนอเหตุผลความจำเป็นในการพัฒนาสถานีกลางบางซื่อ และการเปลี่ยนผ่านการเป็นสถานีหลักในการเชื่อมต่อระบบรางของประเทศจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไปยังสถานีกลางบางซื่อ และการพัฒนาสถานีหัวลำโพงในอนาคต ซึ่ง รฟท.จะได้นำข้อเสนอจากภาคประชาชนจากการรับฟังความคิดเห็นเพื่อไปปรับปรุงการดำเนินการให้มีความเหมาะสมต่อไป

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า ได้มีข้อสั่งการให้ รฟท.ดำเนินการจัดทำเช็กลิสต์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญ และสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้องร่วมให้คำแนะนำ เพื่อตรวจสอบผลกระทบต่อประชาชน ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน การเชื่อมต่อของประชาชนและการขนส่งสินค้า การอำนวยความสะดวกด้านการจราจรและความปลอดภัยในการเดินรถ โดยให้ดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 30 วัน โดยการดำเนินการทุกขั้นตอนจะต้องเป็นไปตามผลการศึกษา ข้อกฎหมาย มติ ครม.ที่เกี่ยวข้อง ก่อนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการจัดทำแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องต่อไป

โดยในระหว่างการดำเนินการดังกล่าว ให้ รฟท.ยังคงรูปแบบการเดินรถไฟทุกขบวนเข้าสู่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ทั้งขบวนรถเชิงพาณิชย์และเชิงสังคมตามเดิม รวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและผู้ใช้บริการทราบต่อไป

รายงานข่าวจาก รฟท.เปิดเผยว่า ข้อสรุปในการประชุมครั้งนี้ ทำให้ในวันที่ 23 ธันวาคม 2564 นี้ รฟท.ยังคงเดินรถไฟทุกขบวนในปัจจุบันเข้าสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ตามปกติ โดยมีรถไฟทางไกล รถไฟเชิงสังคมจำนวน 118 ขบวน ทั้งนี้เนื่องจากใกล้ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565 ซึ่งจะมีผู้ใช้บริการจำนวนมาก ได้รับผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนการเดินรถจากหัวลำโพงไปสถานีกลางบางซื่อ โดยจะมีเวลาในการศึกษาข้อมูลรอบด้านให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน จากนั้นมาพิจารณาปรับปรุงต่อไป

@สายสีแดงผู้โดยสารเฉลี่ยกว่า 1 หมื่นคน/วัน สั่งเร่งทำฟีดเดอร์เชื่อมสถานีรังสิต

นายศักดิ์สยามกล่าวถึงโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ซึ่งเริ่มเก็บค่าโดยสารตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 พบว่า ปัจจุบันมียอดผู้โดยสารโดยเฉลี่ยวันละ 10,267 คน ซึ่งมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเดือนพฤศจิกายนมีผู้โดยสารรวม 265,038 คน เพิ่มขึ้น 31.96% จากเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ รฟท.ได้ดำเนินการเชิงรุกเพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกเข้ามาลักลอบตัดสายอาณัติสัญญาณในระบบรถไฟฟ้า เช่น การเฝ้าระวังจากระบบเตือนที่ศูนย์ควบคุม จัดให้มีการลาดตระเวนของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เป็นต้น และในพื้นที่สถานีกลางบางซื่อได้เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการใช้บริการของประชาชนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและรองรับการให้บริการรถไฟทางไกลของ รฟท.ในอนาคต

ส่วนการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเพื่อการเชื่อมต่อการเดินทางสถานีรังสิต หรือระบบ Feeder นั้น กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ได้ประชุมคณะทำงานเพื่อจัดให้มีระบบขนส่งสาธารณะเพื่อเชื่อมต่อรถไฟสายสีแดงที่สถานีรังสิต เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 โดยที่ประชุมรับทราบวัตถุประสงค์โครงการและกำหนดแนวทางการดำเนินโครงการเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูล แนวทางการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น และมีการลงพื้นที่สำรวจด้านกายภาพของเส้นทางเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564

สำหรับค่าโดยสาร เมื่อเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ใน 3 ปีแรก (2565-2568) จะมีค่าแรกเข้า 12 บาท และอัตราค่าโดยสารตามระยะทาง 1.5 บาทต่อกิโลเมตร กำหนดอัตราค่าโดยสารสูงสุดในการเดินทางหนึ่งเที่ยวไม่เกิน 42 บาท เมื่อถึงปีที่เอกชนดำเนินการให้เสนอใช้อัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมต่อไป ทั้งนี้ รฟท.ได้ประชาสัมพันธ์ตารางอัตราค่าโดยสาร (Fare Table) ให้ประชาชนทราบล่วงหน้าแล้ว โดยสามารถชำระค่าโดยสารได้ทั้งเหรียญโดยสาร (Token) และบัตรโดยสารทั้งบัตรเติมเงินสำหรับการเดินทางแบบเที่ยวเดียว และบัตรโดยสารแบบรายเดือน

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 21/12/2021 7:14 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
Wisarut wrote:

รถไฟทุกขบวนเข้าหัวลำโพง”ศักดิ์สยาม”สั่งเองถอยเอง
*รอเช็กลิสต์ตรวจสอบผลกระทบประชาชนทุกมิติ
*23ธ.ค.รถไฟทางไกลยังไม่ต้องเข้าสถานีบางซื่อ
*เปิดตัวเลขผู้โดยสารสายสีแดงพุ่งทะลุ2.65แสน

https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3072405412980956


https://mgronline.com/business/detail/9640000125662
เสียงค้านได้ผล! "ศักดิ์สยาม" เบรกย้ายรถไฟไปบางซื่อ ยื้ออีก 30 วันให้ศึกษาผลกระทบอีกรอบ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 17:53 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 17:53 น.



ถอยทัพ “คมนาคม” เบรกรถไฟทางไกล 22 ขบวน เข้าสถานีหัวลำโพง
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันจันทร์ ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 17:44 น.
“คมนาคม” ถอยแผนปรับขบวนรถไฟทางไกล 22 ขบวน เข้าสถานีหัวลำโพง สั่งรฟท.ศึกษาแผนเดินทาง-ขนส่งสินค้า ภายใน 30 วัน หลังประชาชนค้านหนักกระทบการเดินทาง

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการเป็นประธานประชุมคณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ ครั้งที่ 8/2564 เพื่อติดตามความคืบหน้าผลการดำเนินงานการให้บริการหลังการเปิดบริการรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) อย่างเป็นทางการ และการดำเนินการในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผ่านการประชุมทางไกล ว่า กรณีที่กระทรวงคมนาคมมีนโยบายการปรับรถไฟขบวนทางไกลเข้าสถานีรถไฟหัวลำโพง เหลือ 22 ขบวน ในวันที่ 23 ธ.ค.นั้น เบื้องต้นที่ประชุมได้มีข้อสั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินการจัดทำเช็คลิสต์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญ และสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้องร่วมให้คำแนะนำ เพื่อตรวจสอบผลกระทบกับประชาชน ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน การเชื่อมต่อของประชาชนและการขนส่งสินค้า การอำนวยความสะดวกด้านการจราจรและความปลอดภัยในการเดินรถ โดยให้ดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 30 วัน






“การดำเนินการทุกขั้นตอนจะต้องเป็นไปตามผลการศึกษา ข้อกฎหมาย มติ ครม. ที่เกี่ยวข้อง ก่อนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการจัดทำแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องต่อไป โดยในระหว่างการดำเนินการดังกล่าวให้ รฟท. ยังคงรูปแบบการเดินรถไฟทุกขบวนเข้าสู่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ทั้งขบวนรถเชิงพาณิชย์และเชิงสังคมตามเดิม รวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและผู้ใช้บริการทราบต่อไป”






นายศักดิ์สยามฯ กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมได้เริ่มเก็บค่าโดยสารรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 โดยปัจจุบันรถไฟสายสีแดงมียอดผู้โดยสารโดยเฉลี่ยวันละ 10,267 คน ซึ่งมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนับตั้งแต่เปิดให้บริการในเดือนสิงหาคม 2564 โดยเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมามีผู้โดยสารรวม 265,038 คน ซึ้งเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.96 จากเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ รฟท. ได้ดำเนินการเชิงรุกเพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกเข้ามาลักลอบตัดสายอาณัติสัญญาณในระบบรถไฟฟ้า เช่น การเฝ้าระวังจากระบบเตือนที่ศูนย์ควบคุม จัดให้มีการลาดตระเวนของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เป็นต้น และในพื้นที่สถานีกลางบางซื่อได้เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการใช้บริการของประชาชนที่เพิ่มขั้นอย่างต่อเนื่องและรองรับการให้บริการรถไฟทางไกลของ รฟท. ในอนาคต

ทั้งนี้ที่ประชุมยังได้รับทราบผลการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น “อนาคตสถานีหัวลำโพง ประวัติศาสตร์คู่การพัฒนา” จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 โดยได้นำเสนอเหตุผลความจำเป็นในการพัฒนาสถานีกลางบางซื่อ และการเปลี่ยนผ่านการเป็นสถานีหลักในการเชื่อมต่อระบบรางของประเทศจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง)ไปยังสถานีกลางบางซื่อ และการพัฒนาสถานีหัวลำโพงในอนาคต ซึ่ง รฟท. จะได้นำข้อเสนอจากภาคประชาชนจากการรับฟังความคิดเห็นเพื่อไปปรับปรุงการดำเนินการให้มีความเหมาะสมในการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเพื่อการเชื่อมต่อการเดินทางสถานีรังสิต หรือระบบฟีดเดอร์ (Feeder) ต่อไป

'ศักดิ์สยาม'สั่งรถไฟฯทำเช็คลิสต์ผลกระทบประชาชนขีดเส้นตรวจสอบให้เสร็จภายใน 30 วัน
วันจันทร์ ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 17.53 น.



วันที่ 20 ธ.ค.64 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการเป็นประธานประชุมคณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง(สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ ครั้งที่ 8/2564 เพื่อติดตามความคืบหน้าผลการดำเนินงานการให้บริการหลังการเปิดบริการอย่างเป็นทางการ และการดำเนินการในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผ่านการประชุมทางไกล (Video Conference) ว่าได้มีข้อสั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินการจัดทำเช็คลิสต์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญและสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้องร่วมให้คำแนะนำ เพื่อตรวจสอบผลกระทบกับประชาชน ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมต่อของประชาชนและการขนส่งสินค้า การอำนวยความสะดวกด้านการจราจรและความปลอดภัยในการเดินรถ โดยให้ดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 30 วัน

โดยการดำเนินการทุกขั้นตอนจะต้องเป็นไปตามผลการศึกษา ข้อกฎหมาย มติ ครม.ที่เกี่ยวข้อง ก่อนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการจัดทำแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องต่อไป โดยในระหว่างการดำเนินการดังกล่าวให้การรถไฟฯยังคงรูปแบบการเดินรถไฟทุกขบวนเข้าสู่สถานีลำโพง ทั้งขบวนรถเชิงพาณิชย์และเชิงสังคมตามเดิม รวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและผู้ใช้บริการทราบต่อไป




ทั้งนี้ จากที่รถไฟชานเมืองสายสีแดงได้เริ่มเก็บค่าโดยสารตั้งแต่วันที่ 29 พ.ย.ที่ผ่านมา ปัจจุบันรถมียอดผู้โดยสารโดยเฉลี่ยวันละ 10,267 คน ซึ่งมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เปิดให้บริการในเดือน ส.ค. 2564 โดยเมื่อเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา มีผู้โดยสารรวม 265,038 คน ซึ้งเพิ่มขึ้น 31.96% จากเดือนก่อนหน้า โดยการรถไฟฯได้ดำเนินการเชิงรุกเพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกเข้ามาลักลอบตัดสายอาณัติสัญญาณในระบบรถไฟฟ้า เช่น การเฝ้าระวังจากระบบเตือนที่ศูนย์ควบคุมจัดให้มีการลาดตระเวนของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เป็นต้น และในพื้นที่สถานีกลางบางซื่อได้เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการใช้บริการของประชาชนที่เพิ่มขั้นอย่างต่อเนื่องและรองรับการให้บริการรถไฟทางไกลของการรถไฟฯในอนาคต



นอกจากนี้ในที่ประชุมยังได้รับทราบผลการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น “อนาคตสถานีหัวลำโพง ประวัติศาสตร์คู่การพัฒนา” จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2564 ณ ตึกปฏิบัติการวิทยุโทรทัศน์ บมจ.อสมท. ที่ได้มีการนำเสนอเหตุผลความจำเป็นในการพัฒนาสถานีกลางบางซื่อ และการเปลี่ยนผ่านการเป็นสถานีหลักในการเชื่อมต่อระบบรางของประเทศจากสถานีหัวลำโพงไปยังสถานีกลางบางซื่อ และการพัฒนาสถานีหัวลำโพงในอนาคต ซึ่งการรถไฟฯจะได้นำข้อเสนอจากภาคประชาชนจากการรับฟังความคิดเห็นเพื่อไปปรับปรุงการดำเนินการให้มีความเหมาะสมต่อไป และในการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเพื่อการเชื่อมต่อการเดินทางสถานีรังสิต หรือระบบ Feeder กรมการขนส่งทางบกได้ประชุมคณะทำงานเพื่อจัดให้มีระบบขนส่งสาธารณะเพื่อเชื่อมต่อรถไฟสายสีแดงที่สถานีรังสิต เมื่อวันที่ 15 พ.ย.ที่ผ่านมา โดยที่ประชุมรับทราบวัตถุประสงค์โครงการและกำหนดแนวทางการดำเนินโครงการเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูล แนวทางการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น และมีการลงพื้นที่สำรวจด้านกายภาพของเส้นทางเมื่อวันที่ 18 พ.ย.ที่ผ่านมา



สำหรับค่าโดยสารเมื่อเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ใน 3 ปีแรก (2565-2568) จะมีค่าแรกเข้า 12 บาท และอัตราค่าโดยสารตามระยะทาง 1.5 บาทต่อกิโลเมตร กำหนดอัตราค่าโดยสารสูงสุดในการเดินทางหนึ่งเที่ยว ไม่เกิน 42 บาท เมื่อถึงปีที่เอกชนดำเนินการให้เสนอใช้อัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมต่อไป อย่างไรก็ตามทางการรถไฟฯได้ประชาสัมพันธ์ตารางอัตราค่าโดยสาร (Fare Table) ให้ประชาชนทราบล่วงหน้าแล้ว โดยสามารถชำระค่าโดยสารได้ทั้งเหรียญโดยสาร (Token) และบัตรโดยสารทั้งบัตรเติมเงินสำหรับการเดินทางแบบเที่ยวเดียว รวมถึงบัตรโดยสารแบบรายเดือน
ก่อนปิด'หัวลำโพง' วันนี้ชลอเดินรถ ปชช.บ่นอุบเพิ่มภาระไปบางซื่อ
วันอังคาร ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 19.11 น.

21 ธันวาคม 2564 บรรยากาศสถานีรถไฟหัวลำโพง หลังการรถไฟชะลอย้ายการเดินรถไปที่สถานีกลางบางซื่อ ให้รถไฟทุกขบวนมีต้นทาง-ปลายทางที่สถานีหัวลำโพงเหมือนเดิม ซึ่งมีกำหนดปิดให้บริการในวันที่ 23 ธันวาคม แต่มีการคัดค้านจากประชาชน เพราะเป็นการเพิ่มภาระการเดินทาง จึงชลอการย้ายไปก่อนเพื่อศึกษาผลกระทบรอบด้าน ตามปกติ


รถไฟแจงชัดทุกขบวนยังเข้าหัวลำโพงตามปกติ เร่งสำรวจความเห็นทำแผนเยียวยา ขยับย้ายไปบางซื่อปี 65
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 15:33 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 15:33 น.

“ผู้ว่าฯ รฟท.” แจงชัดรถทุกขบวนเข้าหัวลำโพงตามเดิมปีใหม่ 65 ไม่กระทบ เร่งเช็กลิสต์ สำรวจความเห็น ทำ Action Plan เป้าเหลือ 22 ขบวนเชิงสังคมเข้าหัวลำโพง ชี้ผลศึกษาเปิดสถานีกลางบางซื่อต้องลดบทบาทหัวลำโพงไม่ทุบ ใครให้ข้อมูลเท็จจ่อดำเนินคดีตาม กม.

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 23 ธ.ค. 2564 นี้ รฟท.ยังคงให้บริการเดินรถไฟตามเส้นทางเดิม และเข้าสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) เหมือนเดิม ยังไม่มีการปรับเปลี่ยนไปใช้สถานีกลางบางซื่อแต่อย่างใด โดยปัจจุบันมีการเดินรถไฟเชิงพาณิชย์ 40 ขบวน รถไฟท่องเที่ยว 6 ขบวน (ซึ่งลดลงจากช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ที่มีการเดินรถไฟเชิงพาณิชย์ 84 ขบวน) มีรถไฟเชิงสังคม 40 ขบวน (ซึ่งลดลงจากช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ที่มี 52 ขบวน) โดยเส้นทางเดินรถและการจอดรับส่งผู้โดยสารยังเป็นไปตามเดิมทุกอย่าง ซึ่งการชะลอการให้บริการที่สถานีกลางบางซื่อออกไป เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้เดินทางตามเดิมในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565 และได้มีเวลาปรับตัวกับบริการใหม่ และเพื่อให้มีการประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับประชาชนได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น

ส่วนการปรับเปลี่ยนการไปใช้สถานีกลางบางซื่อเป็นต้นทาง/ปลายทางนั้น รฟท.จะต้องทำการบ้านต่อ คือจัดทำเช็กลิสต์เพื่อกำหนดแนวทางในการเปลี่ยนถ่ายการเดินรถไปสถานีกลางบางซื่อ สำหรับรถไฟทางไกลขึ้นไปใช้บนโครงสร้างทางยกระดับสายสีแดง ซึ่งจะกระทบการให้บริการเดิม ที่จะไม่หยุดรับส่งสถานีบางเขน สถานีหลักสี่ แนวทางที่เหมาะสมและสมดุล และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน และให้สามารถใช้สถานีกลางบางซื่อและสถานีหัวลำโพงควบคู่กันไปอย่างเหมาะสม เพราะสถานีบางซื่อมีค่าใช้จ่ายเดือนละ 40 ล้านบาท ส่วนหัวลำโพงมี ประมาณ 10 ล้านบาท การมีสถานีใหญ่ 2 แห่งเป็นภาระค่าใช้จ่ายของ รฟท.อีกด้วย

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องการเดินรถเชิงพาณิชย์ การเดินรถเชิงสังคม รูปแบบและวิธีการเชื่อมต่อ การใช้ตั๋วโดยสารสำหรับรถทางไกลต่อกับสายสีแดง โดยจะสำรวจความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทุกมิติ ไม่ใช่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง รวมไปถึงอาจต้องฟังเสียงคนบนถนนที่ต้องรถติดเพื่อรอรถไฟ ชุมชนรอบเส้นทาง รอบสถานีหัวลำโพง รวบรวมข้อมูลให้ครบถ้วนใน 30 วัน จากนั้นจะทำเป็น Action Plan กำหนดรถเข้าหัวลำโพง, การใช้สถานีกลางบางซื่อให้เต็มประสิทธิภาพ, การต่อเชื่อมบริการกับสายสีแดง, การจัดระบบขนส่งสาธารณะเชื่อมต่อทดแทนต่อไป

สำหรับแผนการปรับเปลี่ยนเส้นทางเดินรถที่คาดว่าจะดำเนินการได้ในปี 2565 หลังจากดำเนินการสำรวจความเห็นและทำ Action Plan นั้น รถเชิงพาณิชย์ รถไฟทางไกล จะเปลี่ยนต้นทางเป็นสถานีกลางบางซื่อ 28 ขบวน (สายเหนือ 12 ขบวน สายตะวันออกเฉียงเหนือ 16 ขบวน ส่วนสายใต้ 12 ขบวน จะเปลี่ยนต้นทางเป็นชุมทางบางซื่อ (เดิม) รถไฟเชิงสังคม 28 ขบวน จะเปลี่ยนต้นทางเป็นสถานีกลางบางซื่อ และมีรถไฟเชิงสังคม 22 ขบวน ที่ยังคงเข้าสถานีหัวลำโพง (สายเหนือ 4 ขบวน สายอีสาน 2 ขบวน สายใต้ 2 ขบวน สายตะวันออก 14 ขบวน)

นายนิรุฒกล่าวว่า ตามกฎหมาย การปรับเปลี่ยนการเดินรถแจ้งล่วงหน้า 7 วัน แต่เรื่องนี้ถือว่าใหญ่ ต้องใช้เวลาประชาสัมพันธ์มากกว่า เพื่อให้ประชาชนรับรู้การบริการของ รฟท.ที่ปรับเปลี่ยนให้มากที่สุด ซึ่งข้อมูลข่าวสารที่ผ่านมาอาจจะมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ซึ่งรฟท.อาจจะสื่อสารกับประชาชนน้อยเกินไป จะปรับยุทธศาสตร์ในการสื่อสาร พร้อมกับฟังความเห็นประชาชนไปด้วย ซึ่งวันนี้ ถือว่ายังไม่ได้ข้อสรุปเพราะสมมติฐานที่วางไว้อาจจะยังมีผลกระทบต่อประชาชนอยู่ก็ต้องพิจารณากันให้รอบด้านอีก

นายนิรุตกล่าวว่า เรื่องการใช้ประโยชน์สถานีกลางบางซื่อ และสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะมีผลการศึกษาและมีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในหลักการเมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2549 ต่อมา ครม.วันที่ 22 พ.ค. 2550 ครม.อนุมัติโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ซึ่งกระทรวงคมนาคมและสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ซึ่งรถไฟสายสีแดงเป็นรถไฟชานเมือง มีรางขนาด 1 เมตร เพื่อให้รถไฟปัจจุบันสามารถใช้โครงสร้างร่วมกันได้ และเพื่อลดปัญหาจุดตัดกับถนน ส่วนการปรับเปลี่ยนแผนการเดินรถเมื่อมีสถานีกลางบางซื่อที่เป็นศูนย์กลางระบบรางทั้งรถไฟชานเมือง รถไฟทางไกล และรถไฟฟ้า MRT วันนี้สถานการณ์ปัจจุบันที่อาจเปลี่ยนแปลงไป จำเป็นต้องพิจารณาให้เหมาะสม

นายฐากูร อินทรชม ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ รฟท. กล่าวว่า ต้นทุนกรณีที่มี 2 สถานีใหญ่ คือทั้งหัวลำโพงและสถานีกลางบางซื่อ ก็เป็นเหตุผลหนึ่งในการพิจารณาแผนการเดินรถ นอกจากนี้ สถานีหัวลำโพงออกมากว่า 100 ปีแล้วไม่รองรับเรื่องแออัด ห้องน้ำมีไม่พอบริการ ส่วนสถานีกลางบางซื่อออกแบบมีฟังก์ชันรองรับพร้อม ซึ่งในการพิจารณาจะมีอีกหลายส่วน โดยให้มีผลกระทบต่อประชาชน แต่ไม่ว่าจะออกมาแบบไหนก็ต้องมีผลกระทบบ้าง แต่ต้องหาโซลูชันที่ดีและเหมาะสมที่สุด ที่สำคัญ รฟท.ไม่มีแนวคิดหยุดบริการหัวลำโพง ซึ่งเป็น 1 ใน 445 สถานีทั่วประเทศ โดยจะให้มีบริการรถเชิงสังคมเพื่อเชื่อมบางซื่อ

นายอนันต์ โพธิ์นิ่มแดง ผู้ช่วยผู้ว่าการ รฟท.ด้านปฏิบัติการ กล่าวว่า จากการพิจารณาพบว่ายังมีผู้ใช้บริการ เข้าสถานีหัวลำโพง ขบวนรถเชิงสังคมประมาณ 10,000 คน/วัน จึงเห็นว่าควรยังคงรถ 22 ขบวนเข้าสถานีหัวลำโพง ส่วนที่เหลือให้ใช้สถานีเปลี่ยนถ่ายที่รังสิต ตลิ่งชัน และมักกะสิน (ที่หยุดรถอโศก) จะเริ่มในปี 2565

@ขู่ใครพูดข้อมูลเท็จให้ร้าย รฟท.จ่อดำเนินการทางกฎหมาย

นายนิรุฒกล่าวถึงการพัฒนาสถานีหัวลำโพงว่า ยืนยันไม่มีการทุบหรือรื้อ เพราะเป็นสถานีประวัติศาสตร์ทรงคุณค่า แต่จะหาแนวทางพัฒนาอย่างไรให้ยังคงเป็นสถานีรถไฟมีชีวิต ไม่สามารถปล่อยทิ้งร้างได้ ต้องอนุรักษ์และพัฒนาแต่ถูกมองว่าด้อยค่าสถานี แต่ตนมองว่าการไม่ทำอะไรเลยเป็นการด้อยค่ามากกว่า โดยหลังจากมีสถานีกลางบางซื่อ บทบาทหัวลำโพงจะไม่เหมือนเดิม ซึ่งจากที่ได้มอบหมายให้สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ศึกษาเมื่อปี 9 พ.ค. 2554-5 ธ.ค. 2554 ก็มีแบบเป็นตึกสูงเช่นกัน แต่ยังถือเป็นความเห็น ต่อมาทางสถาบันอาศรมศิลป์ ได้ช่วยศึกษาก็เป็นอีกความเห็น วันนี้ รฟท.มอบหมายบริษัทลูก คือ เอสอาร์ทีแอสเสท จำกัด (SRAT) ศึกษา ก็เป็นอีกความเห็นหนึ่ง ซึ่งยังไม่มีการตกลงว่าจะใช้แบบนี้

“เรื่องที่มีการระบุว่าจะเอาที่ไปให้เจ้าสัว เป็นจินตนาการใครไม่ทราบ แต่ถือเป็นความเท็จที่เอามาบอกประชาชน ทำให้รฟท.เสียหายเสื่อมเสียชื่อเสียง ประชาชนและประเทศก็เสียหาย อยากเรียกร้องว่าอย่าทำร้ายรถไฟไปมากกว่านี้เลย เราเดินตามสิ่งที่ควรเป็น เดินตามกติกาปกติ อย่าจินตนาการ ผู้บริหารรถไฟ ผู้บริหารรัฐบาลมีวัตถุประสงค์แบบนี้ อย่าพูดแบบดักคอกัน ซึ่ง รฟท.จะดูบริบทว่าการที่มีการพูดกันแบบนั้นเป็นความเท็จอย่างไร และเข้าข่ายประเด็นทางกกฎหมายอย่างไร จะพิจารณาก่อน แต่ยืนยันว่าจะไม่ให้ใครมาทำร้าย รฟท. เพราะวันนี้ หัวลำโพงยังไม่มีการตัดสินใจใดๆ ต้องฟังความเห็นก่อนว่าอยากเห็นหัวลำโพงเป็นอย่างไร และต้องให้การเดินรถเข้าหัวลำโพงมีความชัดเจนก่อน ส่วนการดำเนินการใดๆ จะต้องศึกษา ต้องทำ EIA ก่อน”

แถลงให้สิ้นสงสัย! ”รถไฟ118ขบวนยังเข้าหัวลำโพง"
*ที่ขายตั๋วให้ลง"บางซื่อ"เยียวยาไปหัวลำโพงฟรี
*เร่งเช็กลิสต์เสร็จม.ค.คลอดแอคชั่นแพลนเดินรถ
*แบกค่าใช้จ่าย"บางซื่อ-สายสีแดง"40ล้าน/เดือน
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3073005832920914
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 22/12/2021 11:16 am    Post subject: Reply with quote

[urlชhttps://www.prachachat.net/property/news-826211]เปิดโผรถไฟ 86 ขบวนเข้า “หัวลำโพง” ถึงปี 65[/url]
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 21 ธันวาคม 2564 - 16:42 น.

‘รฟท.’ ยันเปิดให้บริการรถไฟเชิงพาณิชย์-สังคม ตามปกติ พร้อมเร่งทำแอ๊กชั่นแพลน ก่อนกำหนดแผนเดินรถไฟใหม่ ม.ค.65
วันที่ 21 ธันวาคม 2564 - 13:49 น.

เปิดโผ “รถไฟ” 86 ขบวนเข้า “หัวลำโพง” ถึงปี 65 เร่งทำเช็กลิสต์ 4 ด้าน จบให้ลงใน 1 เดือน

วันที่ 21 ธันวาคม 2564 นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทสไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า หลังจากที่มีการประชุมคณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ ครั้งที่ 8/2564 มีมติคงการเดินรถไฟทุกขบวนในปัจจุบันเข้าสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ตามปกติไปก่อน จำนวนทั้งหมด 86 ขบวน (เชิงพาณิชย์ 46 ขบวน/เชิงสังคม 40 ขบวน)

สำหรับขบวนรถไฟเชิงพาณิชย์จะเริ่มเปิดเดินรถที่สถานีรถไฟกรุงเทพตามเดิม 46 ขบวน แบ่งเป็น สายเหนือ 12 ขบวน, สายอีสาน 16 ขบวน, สายใต้ 16 ขบวน และสายตะวันออก 2 ขบวน ดังนี้



สายเหนือ 12 ขบวน ได้แก่
-ขบวนรถไฟที่ 7/8 สถานีรถไฟกรุงเทพ – เชียงใหม่ – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ) => ย้ายไปสถานีกลางบางซื่อได้
-ขบวนรถไฟที่ 9/10 สถานีรถไฟกรุงเทพ – เชียงใหม่ – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ) => ย้ายไปสถานีกลางบางซื่อได้
-ขบวนรถไฟที่ 13/14 สถานีรถไฟกรุงเทพ – เชียงใหม่ – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ) => ย้ายไปสถานีกลางบางซื่อได้
-ขบวนรถไฟที่ 109/102 สถานีรถไฟกรุงเทพ – เชียงใหม่ – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ) => ย้ายไปสถานีกลางบางซื่อได้
-ขบวนรถไฟที่ 107/112 สถานีรถไฟกรุงเทพ – เด่นชัย – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ) => ย้ายไปสถานีกลางบางซื่อได้
-ขบวนรถไฟที่ 111/108 สถานีรถไฟกรุงเทพ – เด่นชัย – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ) => ย้ายไปสถานีกลางบางซื่อได้
[ขบวนรถไฟที่ 105/106 สถานีรถไฟกรุงเทพ – ศิลาอาศน์ – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ) ยังไม่มีเดิน]

สายอีสาน 16 ขบวน ได้แก่
-ขบวนรถไฟที่ 21/22 สถานีรถไฟกรุงเทพ – อุบลราชธานี – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ) => ย้ายไปสถานีกลางบางซื่อได้
-ขบวนรถไฟทีี่ 23/24 สถานีรถไฟกรุงเทพ – อุบลราชธานี – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ) => ย้ายไปสถานีกลางบางซื่อได้
-ขบวนรถไฟทีี่ 72/72 สถานีรถไฟกรุงเทพ – อุบลราชธานี – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ) => ย้ายไปสถานีกลางบางซื่อได้
-ขบวนรถไฟทีี่ 25/26 สถานีรถไฟกรุงเทพ – หนองคาย – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ) => ย้ายไปสถานีกลางบางซื่อได้
-ขบวนรถไฟทีี่ 75/76 สถานีรถไฟกรุงเทพ – หนองคาย – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ) => ย้ายไปสถานีกลางบางซื่อได้
-ขบวนรถไฟทีี่ 133/134 สถานีรถไฟกรุงเทพ – หนองคาย – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ) => ย้ายไปสถานีกลางบางซื่อได้
-ขบวนรถไฟทีี่ 135/136 สถานีรถไฟกรุงเทพ – อุบลราชธานี – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ) => ย้ายไปสถานีกลางบางซื่อได้
-ขบวนรถไฟทีี่ 139/140 สถานีรถไฟกรุงเทพ – อุบลราชธานี – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ) => ย้ายไปสถานีกลางบางซื่อได้


สายใต้ 16 ขบวน ได้แก่
-ขบวนรถไฟที่ 31/32 สถานีรถไฟกรุงเทพ – หาดใหญ่ – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ) => ย้ายไปสถานีชุมทางบางซื่อได้ แต่ให้ขึ้นมาที่สถานีกลางบางซื่อ ก็ต่อเมื่อ รถจักรใหม่เข้าประจำการแล้ว
-ขบวนรถไฟที่ 43/40 สถานีรถไฟกรุงเทพ – สุราษ๋ฎร์ธานี – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ) => ย้ายไปสถานีชุมทางบางซื่อได้ แต่ก็น่าที่จะให้ขึ้นมาที่สถานีกลางบางซื่อ ถ้าแก้ไขระบบได้
-ขบวนรถไฟที่ 83/84 สถานีรถไฟกรุงเทพ – ตรัง – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ) => ย้ายไปสถานีชุมทางบางซื่อได้ แต่ให้ขึ้นมาที่สถานีกลางบางซื่อ ก็ต่อเมื่อ รถจักรใหม่เข้าประจำการแล้ว
-ขบวนรถไฟที่85/86 สถานีรถไฟกรุงเทพ – นครศรีธรรมราช – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ) => ย้ายไปสถานีชุมทางบางซื่อได้ แต่ให้ขึ้นมาที่สถานีกลางบางซื่อ ก็ต่อเมื่อ รถจักรใหม่เข้าประจำการแล้ว
-ขบวนรถไฟที่ 171/172 สถานีรถไฟกรุงเทพ – สุไหงโก-ลก – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ)
-ขบวนรถไฟที่ 39/44 สถานีรถไฟกรุงเทพ – สุราษฎร์ธานี -สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ) => ย้ายไปสถานีชุมทางบางซื่อได้ แต่ก็น่าที่จะให้ขึ้นมาที่สถานีกลางบางซื่อ ถ้าแก้ไขระบบได้
-ขบวนรถไฟที่ 909/910 สถานีรถไฟกรุงเทพ – น้ำตก – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ)
ขบวนรถไฟที่ 911/912 สถานีรถไฟกรุงเทพ – สวนสนปะดิพัทธ์ – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ)

และ 4. สายตะวันออก 2 ขบวน ได้แก่
ขบวนรถไฟที่ 997/998 กรุงเทพฯ – บ้านพลูตาหลวง – กรุงเทพฯ

ส่วนขบวนรถไฟเชิงสังคม ให้บริการ 40 ขบวนประกอบด้วย

สายเหนือ 14 ขบวน ได้แก่
-ขบวนรถไฟที่ 201/202 กรุงเทพ – พิษณุโลก – กรุงเทพฯ
-ขบวนรถไฟที่ 207/205 กรุงเทพฯ – นครสวรรค์ – กรุงเทพฯ
-ขบวนรถไฟที่ 209/210 กรุงเทพฯ – ตาคลี – กรุงเทพ
-ขบวนรถไฟที่ 211/212 กรุงเทพฯ – ตะพานหิน – กรุงเทพฯ
-ขบวนรถไฟที่ 301/302 กรุงเทพฯ – ลพบุรี – กรุงเทพฯ
-ขบวนรถไฟที่ 313/314 กรุงเทพฯ – ชุมทางบ้าภาชี – กรุงเทพฯ
-ขบวนรถไฟที่ 327/315กรุงเทพฯ – ลพบุรี – กรุงเทพฯ

สายอีสาน 4 ขบวน ไดแก่ 1.
ขบวนรถไฟที่ 339/340 กรุงเทพฯ – แก่งคอย – กรุงเทพฯ และ
2. ขบวนรถไฟที่341/342 กรุงเทพฯ – แก่งคอย – กรุงเทพฯ

สายใต้ 4 ขบวน ได้แก่
1. ขบวนรถไฟที่ 261/262 กรุงเทพฯ – หัวหิน – กรุงเทพฯ และ
2.ขบวนรถไฟที่ 355/356 กรุงเทพฯ – สุพรรณบุรี – กรุงเทพฯ


และสายตะวันออก 18 ขบวน ได้แก่
-ขบวนรถไฟที่ 275/276 กรุงเทพฯ – อรัญประเทศ – กรุงเทพฯ
-ขบวนรถไฟที่ 277/278 กรุงเทพฯ – กบินทร์บุรี – กรุงเทพฯ
-ขบวนรถไฟที่ 279/280 กรุงเทพฯ – อรัญประเทศ – กรุงเทพฯ
-ขบวนรถไฟที่ 281/282 กรุงเทพฯ – กบินทร์บุรี – กรุงเทพฯ
-ขบวนรถไฟที่ 283/284 กรุงเทพฯ – บ้านพลูตาหลวง – กรุงเทพฯ
-ขบวนรถไฟที่ 367/390 กรุงเทพฯ – ฉะเชิงเทรา – กรุงเทพฯ
-ขบวนรถไฟที่ 371/372 กรุงเทพฯ – ปราจีนบุรี – กรุงเทพฯ
-ขบวนรถไฟ 383/384 กรุงเทพฯ – ฉะเชิงเทรา – กรุงเทพฯ
-ขบวนรถไฟที่ 391/388 กรุงเทพฯ – ฉะเชิงเทรา – กรุงเทพฯ

ส่วนผู้ที่ซื้อตั๋วรถไฟล่วงหน้าไปก่อนหน้านี้ ในเส้นทางบางซื่อ – บางเขน – หลักสี่ – ดอนเมือง สามารถใช้ตั๋วโดยสารดังกล่าวโดยสารต่อไปยังสถานีหัวลำโพงได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ขณะที่ผู้โดยสารที่ซื้อตั๋วล่วงหน้าแล้วกำหนดสถานีปลายทางสถานีชุมทางบางซื่อและสถานีกลางบางซื่อ สามารถลงที่สถานีสามเสนและสถานีหัวลำโพงได้ ส่วนตั๋วที่กำหนดปลายทางเป้นสถานีดอนเมืองก็ให้ถือไปลงที่สถานีบางเขนและหลักสี่ได้โดยอนุโลม

อย่างไรก็ตาม การเดินรถตามปกติดังข้างต้น จะดำเนินการจนกว่าแผนการปรับเส้นทางเดินรถใหม่ในปี 2565 แล้ัวเสร็จ ซึ่งในที่ประชุมคณะกรรมการชุดดังกล่าว นายศักดิ์สยามได้สั่งการให้นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นผู้ควบคุมการจัดทำเช็กลิสต์ร่วมกับ ร.ฟ.ท. กรมการขนส่งทางราง (ขร.) และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เพื่อสำรวจความคิดเห็นให้รอบด้าน จะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน เบื้องต้น การทำเช็กลิสต์กำหนดไว้กว้างๆ 4 ประเด็น ได้แก่

1. การปรับเปลี่ยนให้รถไฟทางไกลขึ้นไปใช้ทางของรถไฟชานเมืองสายสีแดง มีปุัญหาอุปสรรคอย่างไร และประชาชนที่ยังต้องใช้สถานีระดับดิน เช่น หลักสี่ ทุ่งสองห้อง และบางเขน หากยกเลิกการใช้สถานีเหล่านี้ จะมีวิธีเยียวยาบรรเทาอย่างไร

2.การปรับรถไฟเชิงพาณิชย์ไปใช้สถานีกลางบางซื่อทั้งหมด เพื่อให้สถานีกลางบางซื่อเป็นจุดเชื่อมต่อระบบรางในอนาคต ซึ่งจะมีรถไฟชานเมืองสายสีแดงส่วนต่อขยายและรถไฟความเร็วสูงอีก 2 เส้นคือรถไฟความเร็วสูงไทยจีน กรุงเทพ – นครรสีมา และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) แต่จะคิดถึงปัจจัยและเงื่อนไขต่างๆประกอบกันไป

3.รถไฟเชิงสังคม 40 ขบวนที่ยังวิ่งเข้าหัวลำโพง จะบริหารอย่างไรให้กระทบกับการขนส่งมวลชนระบบอื่นน้อยที่สุด เช่น จุดตัดของทางรถไฟ, ปัญหาจราจรในชั่วโมงเร่งด่วน เป็นต้น จะปรับเวลาหรือจะลดขบวนรถไฟลงหรือจะต้องมีระบบโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆเข้ามาเสริมหรือไม่ ก็เป้นเรื่องที่ต้องเช้กลิสตืเช่นกัน

และ 4. การทำประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ในประเด็นต่างๆ เพราะในอนาคตประเด็นต่างๆจะซับซ้อนมากขึ้น จะต้องพยายามสื่อสารให้เข้าใจมากขึ้น ซึ่งร.ฟ.ท.สื่อสารกับประชาชนน้อยไป ทำให้เกิดข้อมูลที่ไม่ถูกต้องไหลเวียน และ ร.ฟ.ท.จะต้องไปฟังความเห็นประชาชนเพิ่มเติมทุกภาคส่วนจริงๆ ทั้งคนที่รถติดจากการรอขบวนรถไฟ, ชุมชนรอบๆรถไฟ อาจจะต้องฟังจริงๆ

หลังจากนั้นจะกำหนด Action Plan เพื่อกำหนดขบวนรถไฟเข้าหัวลำโพงจะต้องมีเท่าไหร่และการใช้งานสถานีกลางบางซื่ออย่างเต็มประสิทธิภาพจะทำอย่างไร หรือรวมถึงการช้รถไฟชานเมืองสายสีแดงด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เส้นทางรถไฟ, ค่าโดยสาร และเรื่องเกี่ยวกับการเดินรถ All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 23, 24, 25, 26, 27, 28  Next
Page 24 of 28

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©