RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311323
ทั่วไป:13285968
ทั้งหมด:13597291
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนขอนแก่น
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนขอนแก่น
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 13, 14, 15, 16, 17  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 22/02/2022 8:47 pm    Post subject: Reply with quote


ชมคลิป "แทรมน้อย" ต้นแบบระบบรถไฟฟ้ารางเบา ฝีมือคนขอนแก่น | Khon Kaen Tram
https://www.facebook.com/KhonKaenLetsGo/posts/514519756965539
https://www.youtube.com/watch?v=kqODbAtO6EI

#อวดโฉมแทรมน้อยครั้งแรก 🚈 ต้นแบบแทรม ฝีมือคนขอนแก่น มาเบิ่ง มาแงง มาบายกันได้ ระหว่างวันที่ 25 กุมภาพันธ์ - 6 มีนาคม 2565 ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของงานเทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 𝐊𝐡𝐨𝐧 𝐊𝐚𝐞𝐧 𝐔𝐫𝐛𝐚𝐧 𝐓𝐫𝐚𝐧𝐬𝐢𝐭 : ขนส่งสาธารณะเชื่อมเมือง ณ บริเวณป้ายรถเมล์หน้าขอนแก่นวิทยายนครับ
แอดมินนำบรรยากาศการติดตั้งมาให้ชมกันครับ 🥳
สำหรับที่มาของ TRAM นี้ เป็นการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบรถไฟฟ้ารางเบาโดยใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตภายในประเทศไทย : เพื่อต่อยอดไปสู่การผลิตในภาคอุตสาหกรรม โดย ดร.ไพวรรณ เกิดตรวจ และคณะ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
สนับสนุนโดย สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) , หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)
https://www.facebook.com/KhonKaenLetsGo/posts/514462803637901

เช้าวันนี้ [22.02.2022] ได้มีการเคลื่อนย้ายรถต้นแบบแทรมน้อย เพื่อร่วมแสดงโชว์บริเวณหน้าโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน ในงาน 𝐈𝐒𝐀𝐍 𝐂𝐑𝐄𝐀𝐓𝐈𝐕𝐄 𝐅𝐄𝐒𝐓𝐈𝐕𝐀𝐋 𝟐𝟎𝟐𝟐
โดยช่วงเช้านี้ เวลา 08.30-10.30 น. เป็นการเคลื่อนย้ายตู้ที่ 1 และ ช่วงเวลา 13.30-17.00 น. จะเป็นการเคลื่อนย้ายติดตั้งตู้ที่ 2
อาจทำให้การสัญจรผ่านเส้นทางดังกล่าว เกิดการจราจรติดขัดเล็กน้อย ขอให้ชาวเน็ตทุกท่าน วางแผนการเดินทางล่วงหน้าหรือหลีกเลี่ยงเส้นทางในเวลาดังกล่าว ทั้งนี้ต้องขออภัยในความไม่สะดวก
สำหรับชาวเน็ตที่ต้องการชมรถต้นแบบแทรมน้อยสามารถร่วมชมที่งานได้ตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ - 6 มีนาคม 2565 ที่บริเวณ ป้ายรถเมล์หน้าโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน
รายละเอียดส่วนจัดแสดง:
“Khon Kaen Urban Transit : ขนส่งสาธารณะเชื่อมเมือง”
ป้ายรถเมล์หน้าโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน | Khon Kaen Wittayayon School's Bus Stop
นิทรรศการนี้นำเสนอต้นแบบรถไฟฟ้ารางเบาที่กำลังจะมาวิ่งให้บริการจริงในอนาคตมาเป็นสื่อกลางในการเล่าเรื่องระบบการขนส่งสาธารณะของเมืองขอนแก่นที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อาทิ โครงการแทรมน้อยรอบสวนสาธารณะบึงแก่นนคร โครงการ LRT และโครงการ Smart สองแถว ฯ ซึ่งจะสร้างการเปลี่ยนแปลงและโอกาสทางเศรษฐกิจและการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน

https://www.facebook.com/KhonKaenLetsGo/posts/514367640314084


Last edited by Wisarut on 14/03/2022 1:32 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 25/02/2022 5:40 pm    Post subject: Reply with quote

รู้จักรถรางต้นแบบ #ผลิตในไทย และความคืบหน้า #LRT #ขอนแก่น
โดย อ.สุรเดช ผู้บริหาร บมจ. ช.ทวี หนึ่งในผู้ร่วมพัฒนา {Clip Live} Isan Creative Festival

โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
วันจันทร์ ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 21:16 น.

จากที่ในเพจเรา #Live ในเพจไปเมื่อวาน มีแขกพิเศษ คือ อาจารย์สุรเดช ผู้บริหาร บมจ. ช.ทวี หนึ่งในผู้ร่วมพัฒนา รถรางน้อย เมืองขอนแก่น
ซึ่งตอนนี้ มีการพัฒนารถรางขบวนแรก ที่ผลิตด้วยฝีมือคนไทย รวมถึงใช้ส่วนประกอบภายในประเทศมากกว่า 97%!!! จากสนับสนุนจาก บพข และ สกสว ภายใต้การดูแลของกระทรวง อว. ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
รายละเอียดโพสต์เดิมตามลิ้งค์นี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1367810016990807/
ซึ่งตอนนี้ตัวรถรางเป็นรูปเป็นร่างแล้ว เตรียมจะเอามาอวดโฉมในงาน #isancreativefestival2022 ที่จะจัดในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ถึง 6 มีนาคม 2565 รอบเมืองขอนแก่น
โดยตัวรถรางต้นแบบจะตั้งอยู่หน้าโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน
ซึ่งจากในคลิป อ.สุรเดช ได้พูดถึงในหลายโครงการ ได้แก่
- การพัฒนารถรางต้นแบบ ที่มาที่ไป ความก้าวหน้าในปัจจุบัน และแผนในอนาคต
- ความคืบหน้าของโครงการ รถไฟฟ้า LRT ขอนแก่น
- การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในเมืองขอนแก่น
- โอกาส อุปสรรค และอนาคตในการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางในไทย
- รายละเอียดงาน Isan Creative Festival
—————————
คลิปนี้ผมอยากให้เพื่อนๆได้ฟังกันจริงๆครับ มีประโยชน์กับการพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศมากๆ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 27/02/2022 12:12 am    Post subject: Reply with quote

งานเทศกาลสุดต๊าชซซ ที่อยากให้ทุกคนได้แวะมาเบิ่ง
‘Isan Creative Festival’ เทศกาลอีสานสร้างสรรค์ ภายใต้ธีม ‘ติง ลิ่ง ติง – Think Link Things’ ว่าด้วยการวิเคราะห์เชื่อมโยงทุกสรรพสิ่งและความสร้างสรรค์ของชาวอีสาน
#isancreativefestival2022
มีต้นแบบรถไฟฟ้ารางเบา ฝีมือคนขอนแก่น และงานครีเอทีฟของคนอีสานให้ชมมากมาย เริ่มตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ - 6 มีนาคม 2565
เชิญชวนทุกท่านที่สนใจมาเบิ่งกันได้ครับผม
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook: Isan Creative Festival และ https://isancreativefestival.com/
https://www.facebook.com/haris.prasanchum/posts/4841185275967782

ขอนแก่นเปิดตัว “แทรม” รถไฟฟ้ารางเบาสายแรกของอีสาน “ธีระศักดิ์” เผย! กลางปีนี้ทดสอบวิ่งรอบบึงแก่นนคร (มีคลิป)
หน้าข่าวขอนแก่น

วันเสาร์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 12:43



ขอนแก่น จับมือ บพท.เปิดตัว “รถแทรม” ขนส่งระบบรางสายแรกของอีสาน ด้วยฝีมือคนไทย “ธีระศักดิ์” เผย กลางปี 65 เริ่มทดลองวิ่งรอบบึงแก่นนคร แน่


เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 26 ก.พ.2565 ทีบริเวณหน้าโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน ถ.กลางเมือง เขตเทศบาลนครขอนแก่น นายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น หรือ ทน. ร่วมตรวจเยี่ยมการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนระบบรางเบา สายเหนือ – ใต้ ต้นแบบในเมืองภูมิภาคจังหวัดขอนแก่น และโครงการระบบขนส่งสาธารณะในเขตจังหวัดขอนแก่น เส้นทางนำร่องสายสีแดง (สำราญ-ท่าพระ) รวมทั้งการเยี่ยมชมนิทรรศการระบบขนส่งมวลชนแบบรางเบา หรือ “แทรม” รถต้นแบบจากฝีมือคนไทย ซึ่งได้รับการสนับสนุนการวิจัยและดำเนินโครงการ จากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ หรือ บพท. กระทรวงการอุดมศึกษา วิจัย และนวัตกรรม ให้ดำเนินการจัดทำขึ้นเป็นต้นแบบขบวนแรกของประเทศจากฝีมือคนไทย


นายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์ นายก ทน.ขอนแก่น กล่าวว่า การดำเนินโครงการการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนระบบรางเบา ด้วยจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการตาม พรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2561 มาตรา 48 กำหนดให้ผู้ดำเนินการโครงการ หรือผู้ขออนุญาตต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ทางคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก หรือ คจร. เสนอให้ จังหวัดขอนแก่น โดยเทศบาลทั้ง 5 แห่ง ซึ่งได้ร่วมกันจัดตั้งบริษัท KKTS เป็นผู้จัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามผลการทบทวน การศึกษาความเหมาะสมโครงการขอนแก่น Smart City (ระยะที่ 1) ก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนระบบรางเบาสาย เหนือ-ใต้ ต้นแบบในเมืองภูมิภาคจังหวัดขอนแก่นและโครงการระบบขนส่งสาธารณะในเขต จ.ขอนแก่น เส้นทางนำร่องสายสีแดง (สำราญ-ท่าพระ) เตรียมรองรับเส้นทางเมืองขอนแก่น 26 กิโลเมตรในอีก 3 ปี



“ข้อมูลจาก สำนักงาน สภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ สอวช. และ หน่วยบริหารและการจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ หรือ บพข. และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ หรือ บพท. กระทรวงการอุดมศึกษา วิจัย และนวัตกรรม ได้เปิดตัวต้นแบบรถไฟฟ้ารางเบาโดยฝีมือคนไทย ที่วันนี้ได้เสนอผลสำเร็จจากการสนับสนุนทุนวิจัยในโครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบรถไฟฟ้ารางเบาโดยและชิ้นส่วนอะไหล่ที่ผลิตภายในประเทศไทยเพื่อต่อยอดไปสู่การผลิตในภาคอุตสาหกรรมโดยทีมนักวิจัยจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น และ บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) ด้วยต้นแบบ ขบวนรถไฟฟ้ารางเบาพร้อมเปิดตัวขบวนรถวิ่งทดสอบกลางปีนี้”



นายธีระศักดิ์ กล่าวต่ออีกว่า เส้นทางนำร่องต้นแบบที่จะเปิดทำการทดสอบและทดลองวิ่งในกลางปีนี้ รอบบึงแก่นนคร เขตเทศบาลนครขอนแก่น เพื่อเป็นการเตรียมรองรับเส้นทางเมืองขอนแก่น 26 กม. ในอีก 3 ปี โดยมี ดร.ไพวรรณ เกิดตรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยา เขตขอนแก่น เป็นหัวหน้าโครงการในการผลิตต้นแบบโบกี้ (Bogie) สำหรับรถไฟฟ้ารางเบา ชนิดพื้นต่ำ, ตัวถัง (Car Body) สำหรับรถไฟฟ้ารางเบา ชนิดพื้นต่ำ, มอเตอร์ลากจูง (Traction Motor), อินเวอร์เตอร์ขับเคลื่อน (Traction Inverter), ระบบปรับอากาศ (Cooling System) สำหรับรถไฟฟ้ารางเบา, แพนโตกราฟ (Pantograph) สำหรับรถไฟฟ้ารางเบา, ระบบจ่ายไฟฟ้าเสริม (Auxiliary Power Unit), สำหรับรถไฟฟ้าราง เบาอุปกรณ์ยึดเหนี่ยวราง (Fastener) สำหรับรถไฟฟ้ารางเบา, และหมอนคอนกรีตอัดแรง(Sleeper) ผสม ยางพารา สำหรับรถไฟฟ้ารางเบา โดยร่วมกับภาคเอกชนที่ร่วมทำวิจัยได้แก่ บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) บริษัท โทเทิ่ล อินโนโลยี จำกัด และ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เทพประทานพร วัสดุภัณฑ์ โดยหลังจากประกอบ ต้นแบบเสร็จแล้ว จะมีการทดสอบการทำงานและนำมาประกอบรวมกันเป็นขบวนรถไฟฟ้ารางเบาต้นแบบ และทำการทดสอบวิ่งในเส้นทางทดสอบในพื้นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น และเส้นทางวิ่งบริเวณรอบบึงแก่นนคร



“แนวทางการดำเนินงานดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน ระบบรางเบา สายเหนือ-ใต้ ต้นแบบในเมืองภูมิภาคจังหวัดขอนแก่นซึ่งจะแล้วเสร็จในอีก 3 ปี ใช้งบสนับสนุน งานในโครงการวิจัย จาก บพท. รวม 100 ล้านบาท ซึ่งในขณะนี้ได้มีการทดสอบการวิ่งภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ก่อนจะนำมาทดสอบให้บริการในเส้นทางรอบบึงแก่นนคร เพื่อการศึกษา เรียนรู้ เพิ่มเติมของการให้บริการรถไฟฟ้ารางเบา ในด้านการใช้ถนนร่วมกับยานพาหนะอื่นโดยต้นแบบโบกี้ขนส่งมวลชนระบบรางเบา จะได้มีการจัดแสดงที่บริเวณหน้าโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน ระหว่างวันที่ 25 ก.พ.- 6 มี.ค. เพื่อให้ชาวขอนแก่นและผู้ที่สนใจ ได้ชื่นชมฝีมือคนไทยและชมนวัตกรรมที่จะเกิดขึ้นที่ จ.ขอนแก่น เร็วๆนี้”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 02/03/2022 12:12 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:

ขอนแก่นเปิดตัว “แทรม” รถไฟฟ้ารางเบาสายแรกของอีสาน “ธีระศักดิ์” เผย! กลางปีนี้ทดสอบวิ่งรอบบึงแก่นนคร (มีคลิป)
หน้าข่าวขอนแก่น

วันเสาร์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 12:43


เผยโฉมแทรมน้อยฝีมือคนไทย ก่อนก้าวต่อไปรถไฟรางเบาขอนแก่น
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันเสาร์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 17:07 น.
ปรับปรุง: วันเสาร์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 17:07 น.

พบรถรางหรือแทรม (Tram) ต้นแบบ ประกอบโดยฝีมือคนไทย จัดแสดงที่หน้าโรงเรียนขอนแก่นวิทยายนถึง 6 มี.ค.นี้ ก่อนจะนำมาวิ่งทดสอบจริงรับโครงการรถไฟฟ้ารางเบาขอนแก่นที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

วันนี้ (26 ก.พ.) รายงานข่าวแจ้งว่า ที่บริเวณป้ายรถเมล์หน้าโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน ถนนกลางเมือง เขตเทศบาลนครขอนแก่น ได้มีการจัดแสดงรถราง หรือแทรม (Tram) ต้นแบบที่ประกอบโดยฝีมือคนไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการจัดงาน “เทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2565” (Isan Creative Festival 2022) ซึ่งจะจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 25 ก.พ. ถึง 6 มี.ค. 2565

สำหรับรถราง หรือแทรมดังกล่าวได้ประกอบขึ้นจำนวน 2 คัน ได้แก่ส่วนหัวและส่วนท้ายของขบวน ออกแบบและวิจัยโดย ดร.ไพวรรณ เกิดตรวจ อาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น และคณะ ซึ่งภายในจัดแสดงนิทรรศการหัวข้อ "ขนส่งสาธารณะเชื่อมเมือง" เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้สนใจ

อย่างไรก็ตาม สำหรับรถรางต้นแบบดังกล่าวยังคงต้องนำกลับไปปรับปรุงเพิ่มเติม คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน มิ.ย. 2565 ก่อนจะวิ่งทดสอบภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น และใช้ในโครงการรถรางรอบบึงแก่นนคร ระยะทาง 4 กิโลเมตร ร่วมกับเทศบาลนครขอนแก่น ก่อนที่จะนำมาใช้กับโครงการรถไฟฟ้ารางเบา LRT ขอนแก่น

ภาพ : สวท.ขอนแก่น
ภาพ : สวท.ขอนแก่น

สำหรับโครงการรถไฟฟ้ารางเบา LRT ขอนแก่น สายแรก ช่วงบ้านสำราญ-บ้านท่าพระ ระยะทาง 26 กิโลเมตร ใช้เกาะกลางถนนและไหล่ถนนมิตรภาพ บางช่วงเข้ามหาวิทยาลัยขอนแก่น จากประตูมอดินแดงถึงสามแยกวงเวียน มข. มี 20 สถานี แบ่งเป็นสถานีระดับดิน 12 สถานี สถานียกระดับ 8 สถานี ศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง ที่ศูนย์วิจัยข้าวขอนแก่น

โดยรูปแบบการลงทุนจะใช้เงินจาก บริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง จำกัด ซึ่งเป็นการรวมตัวของกลุ่มบริษัทในจังหวัดขอนแก่นประมาณ 20 บริษัท เมื่อได้รับสัญญาอนุญาตจากภาครัฐ จึงจะระดมทุนจากชาวจังหวัดขอนแก่นและผู้สนใจ ในลักษณะการระดมทุนสาธารณะ (Crowdfunding) จากนั้นจะเข้าจดทะเบียนเป็นกองทุนโครงสร้างพื้นฐานกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

โครงการนี้คาดว่าจะใช้งบลงทุนกว่า 2.3 หมื่นล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี อุปสรรคสำคัญคือ สถานการณ์โควิด-19 ทำให้แผนงานที่จะก่อสร้างถูกเลื่อนมานานกว่า 2 ปี อีกทั้งยังต้องจัดหาเงินกู้ระยะยาวจากสถาบันการเงิน และประสานส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมทางหลวง กรมการข้าว (เจ้าของที่ดินศูนย์วิจัยข้าวขอนแก่น) ส่งมอบที่ดินเพื่อเป็นพื้นที่ก่อสร้างต่อไป
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=282196704056399&id=101837228759015
https://www.facebook.com/ProgramManagementUnitforCompetitiveness/posts/482811620139318
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 02/03/2022 9:46 pm    Post subject: Reply with quote

เป็นตาฮัก!"แทรมน้อย"เมืองหมอแคนฝีมือคนไทย...สไตล์ตะมุตะมิ!
วันศุกร์ ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 12:08 น.

ที่เห็นเป็นตาฮักออกแนวตะมุตะมินี้คือ “ต้นแบบ”รถไฟฟ้ารางเบา หรือ แทรม ผลิตผลความสำเร็จจากมันสมองคนไทยด้วยการสนับสนุนทุนวิจัยในโครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบรถไฟฟ้ารางเบาโดยและชิ้นส่วนอะไหล่ที่ผลิตภายในประเทศไทยเพื่อต่อยอดไปสู่การผลิตในภาคอุตสาหกรรม โดยทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น และ บริษัท ช.ทวี จำกัด (มหาชน)
โดยรถต้นแบบคันนี้ถูกเผยโฉมต่อหน้าสาธารณะเป็นครั้งแรกวันนี้ที่หน้ารร.ขอนแก่นวิทยาภายในนิทรรศการ“Khon Kaen Urban Transit: ขนส่งสาธารณะเชื่อมเมือง”ภายใต้งานเทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2565 Isan Creative Festival 2022 เปิดให้เข้าเยี่ยมชมฟรี ระหว่างวันที่ 25 ก.พ.- 6 มี.ค. 2565 เวลา 13.00-22.00 น.
เรียกได้ว่าฝันคนเมืองหมอแคนใกล้จะเป็นจริงแล้วหลังโครงการนี้ถูกจุดพลุความหวัง-ตั้งไข่มานานหลายปีท่ามกลางปัญหาและอุปสรรคตัดกับความคาดหวังของผู้คนว่าจะสามารถเดินหน้าสู่ฝันที่เป็นจริงหรือไม่?ขณะที่โครงการลักษณะเดียวกันนี้ตามหัวเมืองใหญ่ของไทยยังเดินหน้าไปไม่ถึงไหน
และนี่ก็น่าจะเป็นการฉายภาพและทิศทางเชิงบวกต่อการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนระบบรางเบาที่เป็นรูปธรรมมากขึ้นอีกเปลาะหนึ่ง!
เพราะไทม์ไลน์จากนี้หลังจากประกอบต้นแบบแล้วเสร็จแล้วจะมีการทดสอบการทำงาน-นำมาประกอบรวมกันเป็นขบวนรถไฟฟ้ารางเบาต้นแบบ และทำการทดสอบวิ่งในเส้นทางทดสอบในพื้นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น และเส้นทางรอบบึงแก่นนคร จังหวัดขอนแก่น คาดกันว่าประมาณกลางปีนี้
ซึ่งรถต้นแบบนี้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนระบบรางเบา สายเหนือ-ใต้ ต้นแบบในเมืองภูมิภาคจังหวัดขอนแก่นรวมระยะทาง 26 กม.ซึ่งคาดกันจะแล้วเสร็จในอีก 3 ปีข้างหน้า ถึงวันนั้นก็ดีใจนำหลายๆกับคนเมืองหมอแคนจะได้นั่ง-ใช้บริการรถไฟรางบางที่ออกแบบมาได้เป็นตาฮักตะมุตะมินี้
...ปูสาด(เสื่อ)รอโลดเด้อพี่น้อง!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 05/03/2022 11:44 pm    Post subject: Reply with quote

เยี่ยมชมรถรางต้นแบบ เมืองขอนแก่น ผลิตและประกอบด้วยฝีมือคนไทย
วันเสาร์ ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2565เวลา 19:28 น.

จุดเริ่มต้นการการพัฒนาระบบรางในประเทศ ชมได้ในงาน Isan Creative Festival ถึง 6 มีนาคม นี้!!!
หลังจากเยี่ยมชมความคืบหน้าโครงการรถไฟทางคู่ จากปากช่อง เราก็เดินทางมาต่อที่ขอนแก่น มาเยี่ยม #รถรางน้อย #ขอนแก่น ซึ่งเป็นรถรางที่ผลิตภายในประเทศไทย
ภายใต้การสนับสนุนของ หน่วยงานด้านการวิจัย ได้แก่ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ภายใต้สังกัดของ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)
โดยมีทางมหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น เป็นแม่งาน เจ้าของโครงการวิจัยและพัฒนา ต้นแบบรถราง และ ช.ทวี เป็นฝ่ายเอกชน
ขยายผลจากการรับรถรางเก่าจากญี่ปุ่นมาศึกษาและวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้กับหน่วยงานภายในประเทศ

รายละเอียดรถรางน้อยเมืองขอนแก่น
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1143839489387862/?d=n
ซึ่งเราเคยสัมภาษณ์อาจารย์ สุรเดช ผู้บริหารบริษัท ช. ทวี จำกัด (มหาชน) เรื่องการพัฒนารถรางต้นแบบ และการพัฒนาระบบรางภายในประเทศ ตามลิ้งค์นี้ครับ
https://fb.watch/bz3YCVA-nG/
—————————
เรามาทำความรู้จักตัวรถรางต้นแบบกันอีกที
โดยภายในตัวรถต้นแบบเป็นรถรางไฟฟ้า ขนาด 2 ตู้ แบบพื้นต่ำ (Low Floor) พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆภายในตัวรถ ตามมาตรฐานรถรางสมัยใหม่
ซึ่งในโครงการมีการใช้ส่วนประกอบที่ผลิตในประเทศ ได้แก่ โบกี้, โครงสร้างตู้โดยสาร, ระบบปรับอากาศ, งานตกแต่งภายใน interior เป็นต้น ทำให้เห็นถึงศักยภาพของผู้ประกอบการในประเทศ ซึ่งยืนยันว่าทำได้แน่นอนถ้า รัฐบาล และหน่วยงานให้โอกาส!!!
—————————
รายละเอียดงานวิจัย
ขื่อโครงการ:
การวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบรถไฟฟ้ารางเบาโดยใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตภายในประเทศ : เพื่อต่อยอดไปสู่การผลิตในภาคอุตสาหกรรม
ระยะเวลา 2 ปี (พ.ศ.2563-2564)
ทุนวิจัย: 100 ล้านบาท
ชื่อผู้สนับสนุนทุนวิจัย:
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)
ภายใต้สังกัด:
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)
หน่วยงานผู้รับทุน:
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
ร่วมกับ บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน)
หัวหน้าโครงการ: อ.ดร.ไพวรรณ เกิดตรวจ
—————————
ซึ่งตอนนี้ ตัวรถต้นแบบ ได้ถูกจัดแสดงในงาน Isan Creative Festival ตั้งแต่ 24 กุมภาพันธ์ ถึง 6 มีนาคม 65 นี้!!!
ใครพอมีเวลา อยากรู้จักและศึกษาการพัฒนาระบบรางภายในประเทศแวะมาเยี่ยมชมรถรางน้อย เมืองขอนแก่นกันได้นะครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 09/03/2022 1:26 am    Post subject: Reply with quote

เมื่อคืน อาจารย์สุรเดช Das Acs Jing Kkw ผู้บริหาร ช.ทวี พาเยี่ยมชมรถรางน้อย เมืองขอนแก่น และเล่าความเป็นมาของ ขอนแก่น Smart City ให้ฟัง ได้ความรู้มากๆครับ
ต้องขอบคุณอาจารย์ที่ให้เกียรติมาพาเยี่ยมชมด้วยครับ
ปล.วันนี้ Isan Creative Festival จัดงานเป็นวันสุดท้ายแล้วนะครับ ใครยังไม่ได้มา ต้องรีบมานะครับ
https://www.facebook.com/susuril/posts/10227621089010355
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 15/03/2022 4:15 am    Post subject: Reply with quote

ทุนจีนยื้อ LRT ขอนแก่นติดหล่ม ปลุกชีพ รถราง วิ่งรอบบึงแก่นนครปี’66
เศรษฐกิจภูมิภาค
วันที่ 14 มีนาคม 2565 - 13:02 น.


ทุนจีนยื้อลงทุนรถไฟฟ้า LRT ขอนแก่นติดหล่ม นำร่องผนึก มทร.ขอนแก่น ทำ “โครงการรถราง” tram ทดลองวิ่งในมหาวิทยาลัย ระยะทาง 400 เมตรกลางปีนี้ ก่อนเอาจริงวางรางวิ่ง “รอบบึงแก่นนคร” ระยะทาง 4 กม. ปลายปี 2566 ด้าน บพข.เล็งถอดโมเดล “รถราง” ขอนแก่น วางฐานสู่ 22 เมืองทั่วไทย “สระบุรี-เชียงใหม่-ระยอง” พัฒนาระบบขนส่งมวลชนภายในจังหวัด

นายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้โครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้ารางเบา (LRT) นำร่องสายสีแดง (สำราญ-ท่าพระ) ของ 5 เทศบาลผลการศึกษาทั้งหมดเสร็จแล้ว พร้อมทบทวนผลการศึกษาใหม่โดยเพิ่มเส้นทางในมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) เพื่อรองรับประชากรเพิ่มขึ้น และเมื่อไม่นานมานี้ได้ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.)

โดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เพื่อขอทราบผลศึกษารายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และขออนุมัติให้จังหวัดขอนแก่นเป็นผู้ดำเนินโครงการเอง เพื่อให้สอดรับผลการศึกษาที่ทบทวนใหม่ ซึ่ง คจร.มีมติเห็นชอบแล้ว แต่ปัจจุบันยังติดปัญหาอยู่ 2 เรื่อง คือ

1.เรื่องทุน หลังจากลงนามความร่วมมือกับประเทศจีน ตัวแทนจากสถาบันการเงินจากประเทศจีนติดต่อมาขอรายละเอียดเพิ่มเติมอยู่หลายเรื่อง เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าโครงการนี้สามารถลงทุนได้ โดยจังหวัดขอนแก่นได้ส่งมอบรายละเอียดให้เรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างประเมิน

2.เรื่องที่ดิน ประเด็นหลักอยู่ที่การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้า (TOD) ต้องให้ผู้มีอำนาจลงนามยินยอมให้ใช้ที่ดิน โดยมีการเจรจากันหลายรอบแล้วและมีเรื่องติดขัดหลายประการ กำลังร่วมกันแก้ไขอยู่ คาดว่าปี 2565 จะเห็นความชัดเจน ซึ่งยังยืนยันเป้าหมายดำเนินการเองภายในจังหวัดรวมถึงการผลิตรถเอง เพื่อให้เงินสะพัดในจังหวัด ให้ประชาชนมีอาชีพ มีงานทำ

“ระหว่างที่โครงการ LRT ติดขัดปัญหา ได้ทำโครงการรถราง (tram) หรือเรียกกันว่า “แทรมน้อย” มานำร่องวิ่งก่อน โดยที่ผ่านมาได้มีการนำเข้ารถรางมือสองจากญี่ปุ่นมาให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น (มทร.ขอนแก่น) ศึกษาจนมีการเรียนการสอน เพื่อรองรับโครงการ ทั้งดำเนินโครงการร่วมกับหลายเครือข่ายจนผลิตรถต้นแบบออกมาได้สำเร็จ คาดว่ากลางปี 2565 จะทดลองวิ่งใน มทร.ขอนแก่นก่อน เพื่อศึกษาเรียนรู้และทดสอบระบบ ไม่ใช่เพื่อการลงทุน

หลังจากนั้นจะนำโครงการแทรมน้อยมาวิ่งเส้นทางบึงแก่นนคร จะมีการศึกษาเพิ่มเติมต้องแสดงให้เห็นว่ามันเกิดความคุ้มค่าในแง่ของการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบบึงแก่นนคร ไม่ใช่ความคุ้มค่าจากเงินที่นำมาลงทุนแต่เป็นความคุ้มค่าเชิงเศรษฐกิจ”

นายธีระศักดิ์กล่าวต่อไปว่า แทรมน้อยรอบบึงแก่นนครจะมาพร้อมการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว ส่งเสริมเศรษฐกิจ และกระตุ้นเศรษฐกิจ ประชาชนจะได้เรียนรู้และเห็นระบบรถรางร่วมกับการใช้ถนนด้วย ถ้าไม่มีอะไรติดขัดในปี 2566 จะเริ่มเปิดเวทีใหญ่รับฟังเสียงของประชาชนก่อน หากเสียงตอบรับดีจะขับเคลื่อนโครงการต่อไป

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาการทำเวทีสาธารณะจัดขึ้นหลายครั้งแล้ว แต่ยังไม่เคยเปิดเวทีขนาดใหญ่ แต่ผลตอบรับจากการจัดแสดงนิทรรศการรถราง หรือแทรมน้อย บริเวณป้ายรถเมล์หน้าโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการจัดงาน “เทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2565” จัดขึ้นเมื่อวันที่ 25 ก.พ.ถึง 6 มี.ค. 2565 ถือว่าดีมาก ประชาชนมีความเข้าใจและยอมรับมากขึ้นเมื่อได้เห็นตัวอย่างรถต้นแบบ

“หากรถต้นแบบแทรมน้อยประสบความสำเร็จ แนวทางของการนำรถต้นแบบเข้าสู่การผลิตในโครงการ LRT ขนาดใหญ่ก็จะเป็นจริง เราพยายามให้เกิดความชัดเจนของโครงการ LRT ในปีนี้ให้ได้ ซึ่งขณะนี้เห็นความชัดเจนแล้ว เมื่อโครงการใหญ่เกิดขึ้นจะสร้างอาชีพให้เด็กมีงานทำ นอกจากนี้ยังมีรถไฟทางคู่ขึ้นอีกหลายสาย เมื่อขอนแก่นสามารถผลิตบุคลากรรองรับก็เดินหน้าไปได้ ตอนนี้หลายจังหวัดอยากทำแบบเดียวกัน แต่ผลักดันขอนแก่นให้ทำให้ได้ก่อน เพราะทุกเรื่องมีปัญหาต้องแก้ไขหมด”



รุก “รถราง” สู่ 22 เมือง
นายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปัจจุบันจังหวัดขอนแก่นมีโครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ 2 โครงการ 1.โครงการรถไฟฟ้ารางเบา (LRT) เป็นโครงการขนาดใหญ่ มูลค่า 2 หมื่นกว่าล้านบาท 2.โครงการรถราง (tram) หรือเรียกว่า “แทรมน้อย” เป็นโครงการขนาดเล็กใช้เงินลงทุน 400-500 ล้านบาท

โครงการแทรมน้อยได้งบประมาณจากสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น หรือ มทร.ขอนแก่น และบริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) ทำวิจัยและสร้างรถต้นแบบแทรมที่วิ่งได้ด้วยงบประมาณ 100 ล้านบาท

เบื้องต้นจะทดลองวิ่งในพื้นที่ มทร.ขอนแก่น ระยะทาง 400 เมตร ตัวรถประกอบด้วย 3 โบกี้ บรรจุผู้โดยสารได้ประมาณ 200 คน ขณะนี้สร้างไปแล้ว 2 โบกี้ คาดว่าจะสร้างและวิ่งได้ในช่วงกลางปี 2565




“ตอนนี้ยังไม่มีงบประมาณสนับสนุนให้เกิดโครงการรอบบึงแก่นนครต่ออีกประมาณ 300 ล้านบาท เราจะของบประมาณหลังจากทดลองวิ่งใน มทร.ขอนแก่น คิดว่าโครงการจะมีการตอบรับที่ดีจากประชาชน โดยภาพรวมน่าจะส่งเสริมเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของจังหวัดขอนแก่น ตลอดจนนักศึกษามหาวิทยาลัยหรือผู้ที่สนใจสามารถมาศึกษาดูงานได้”

มีปัจจัยที่เลือกทำโครงการแทรมน้อยรอบบึงแก่นนคร คือ 1.การทำโครงการ smart education หรือห้องเรียนระบบรางของจริงให้นักเรียนนักศึกษามาเรียนรู้ทั้งระบบการบริหารจัดการและการเดินรถตลอดระยะทาง 4 กิโลเมตร รอบบึงแก่นนคร พร้อมมีรางทุกชนิดที่มีในโลกวางไว้ให้ดูด้วย 2.จะมีโรงซ่อมบำรุงระบบราง (depot) เป็นการทำ TOD ที่สามารถบ่งชี้ถึงทิศทางของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้ด้วย

3.สามารถสร้างการเชื่อมต่อการขนส่งหลายรูปแบบ (multimodal transport) ระหว่างรถรางกับรถเมล์ 4.บึงแก่นนครจะเป็นจุดเชื่อมระบบรางเข้าสู่ตัวเมืองอีกประมาณ 400 เมตร ตามแนวเส้นทางถนนศรีนวล

ต้องพัฒนาให้รถรางวิ่งอยู่บนถนนร่วมกับรถยนต์ให้ได้ เรียกว่า ถนนสมบูรณ์แบบ (complete street) นอกจากนี้จะทำให้มูลค่าพื้นที่รวมถึงเศรษฐกิจโดยรอบสูงขึ้นด้วย ผู้ที่เข้ามาศึกษาดูงานจะเข้าใจได้ว่ารถรางสร้างมูลค่าให้กับเมืองได้อย่างไร และสามารถรู้เรื่องขอนแก่นโมเดลต่อไปในอนาคตได้

และตอนนี้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ได้ถอดโมเดลจากขอนแก่นนำไปเริ่มทดลองใช้ในจังหวัดอื่นด้วย อาทิ สระบุรี เชียงใหม่ ระยอง เป็นต้น รวม 22 เมืองในไทยที่จะพัฒนาตัวเองต่อไป



“เราพยายามผลักดันแทรมน้อยให้เกิดขึ้น ซึ่งรถแทรมต้นแบบได้รับบริจาคมาจากเมืองฮิโรชิมาญี่ปุ่น เมื่อเรามาพัฒนาเองไส้ในคล้ายญี่ปุุ่น แต่รูปลักษณ์ภายนอกได้แรงบันดาลใจจากแทรมรุ่นใหม่โลฟอร์จากยุโรป ทั้งนี้อยากให้ภาครัฐสนับสนุนงบประมาณจะช่วยพัฒนาโครงการนี้ได้มหาศาล ถ้าภาครัฐไม่สนับสนุนอาจต้องรอไปถึงปี 2567”
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44804
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/03/2022 6:26 pm    Post subject: Reply with quote

ต้นแบบรถไฟฟ้าระบบราง ขบวนแรกของไทบ คาดเปิดใช้งาน มิ.ย.นี้
กรุงเทพธุรกิจ 20 มี.ค. 2565 เวลา 11:51 น.

ความก้าวหน้ารถไฟฟ้าระบบรางของไทย คาด ตัวต้นแบบรถไฟฟ้ารางเบา ผลงาน มทร.อีสานร่วมกับ ช.ทวี เตรียมต่อยอดผลิตสำหรับขบวนรถไฟฟ้ากลางเมืองขอนแก่น เปิดใช้งาน มิ.ย.นี้

เนื่องจากรัฐบาลได้กําหนดเป็นแผนระยะยาวที่จะพัฒนาระบบขนส่งทางรางของประเทศ โดยกําหนดการลงทุนมากกว่า 1.3 ล้านล้านบาทในระยะ 4 ปี และในระยะยาว 20 ปี กําหนดแผนจะลงทุนพัฒนาระบบขนส่งทางรางเป็นมูลค่ากว่า 2 ล้านล้านบาท

ตามขีดความสามารถของอุตสาหกรรมไทยในขณะนี้ เงินลงทุนดังกล่าวจะถูกใช้เพื่อสร้างงานให้แก่คนไทยประมาณ 50 % ส่วนที่เหลือจะถูกใช้ออกไปนอกประเทศในรูปของการจัดซื้อชิ้นส่วน อุปกรณ์ และนวัตกรรมด้านทรัพย์สินทางปัญญาต่างๆ ประเทศไทยควรจะได้รับประโยชน์จากเงินลงทุนมากขึ้น

โดยนําไปก่อให้เกิดการผลิตอุปกรณ์และชิ้นส่วนรถไฟ ซึ่งนอกจากจะเพิ่มพูนการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมแล้ว ยังทําให้วิศวกร ช่างเทคนิค และแรงงานผลิตในภาคอุตสาหกรรม มีงานทํามากขึ้น

รวมถึงทําให้เกิดผลพลอยได้ในรูปของนวัตกรรมด้านทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งจะช่วย ก่อให้เกิดการบูรณาการด้านเทคโนโลยี อันเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนและความมีเกียรติภูมิของประเทศอีกด้วย

ดังนั้น เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว กระทรวงคมนาคม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม รวมถึงสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยการสนับสนุนจากคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน

เพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) ได้ประชุมหารือและดําเนินการเพื่อกําหนดมาตรการที่จะเพิ่มบทบาทของภาคอุตสาหกรรมไทยในการพัฒนาระบบขนส่งทางราง และการจัดตั้งสถาบันพัฒนาระบบขนส่งทาง และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องของประเทศไทย เพื่อสนับสนุนด้านความรู้ เทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางแก่ภาคอุตสาหกรรม

ทั้ง สำหรับการพัฒนาระบบรางรถไฟฟ้าของไทยนั้น จากเส้นทางรถไฟปัจจุบัน (รถไฟระบบเดิม) มีระยะทางรวม 4,346 กิโลเมตร หลังจากภาครัฐมีแนวคิดดำเนินการก่อสร้างทางคู่ เพื่อแก้ปัญหาการสับหลีกขบวนรถ

ความก้าวหน้าอุตสาหกรรมระบบรางในไทย
โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างทางคู่เพิ่มเติมในหลายเส้นทาง รวมถึงเส้นทางรถไฟสายใหม่ๆ ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ที่ตั้งเป้าปี 2580 ประเทศไทยจะมีโครงข่ายเส้นทางรถไฟ 6,463 กิโลเมตร

ส่วนการพัฒนารถไฟฟ้าของประเทศไทยมีพัฒนาการเกือบ 20 ปีใน 4 เส้นทาง ระยะทางรวม 156 กิโลเมตร โดยแผนการเกิดโครงการรถไฟฟ้า ว่ากันว่า มีรถไฟฟ้า 14 สาย ใน ปี 2572 ระยะทางรวม 550 กิโลเมตร จำนวน 367 สถานี ครอบคลุมพื้นที่ 4,762 ตารางกิโลเมตร

อย่างไรก็ตามโครงการรถไฟความเร็วสูง ถือเป็นเทคโนโลยีใหม่สำหรับไทยที่จะขนส่งได้อย่างรวดเร็ว โดยตามแผนมี 4 เส้นทาง รวมระยะทาง 2,466 กิโลเมตร ปัจจุบัน ได้เริ่มโครงการใน 2 เส้นทาง คือกรุงเทพ –นครราชสีมา และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา

ทั้งนี้ ความก้าวหน้าในการพัฒนาระบบรางในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มาจากการที่ประเทศต้องการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ ขณะเดียวกันภาคธุรกิจอื่นๆก็จะเติบโตตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจด้านท่องเที่ยว อันก่อให้เกิดการจ้างงาน เกิดธุรกิจอื่นๆตามมาในท้องถิ่น

เมื่อเร็วๆ นี้ สื่อสารนโยบาย สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ได้ดำเนินรายการ Future Talk by NXPO ตอนที่ 9 “ปั้น Future Mobility ฝีมือคนไทยสู่เชิงพาณิชย์” โดยนำเสนอความก้าวหน้าระบบรางของไทย

รศ.ดร.สิรี ชัยเสรี ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ( บพข.) กล่าวว่า ตอนนี้มีหลายหน่วยงาน หลายกระทรวงกำลังขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางของไทย ให้เป็นไปตามแผนในการพัฒนาของประเทศ

ไทยหลุดพ้นกับดับรายได้ปานกลาง มหาวิทยาลัย-เอกชนทำงานร่วมกัน
รศ.ดร.สิรี กล่าวต่อว่าที่ผ่านมามีหลายมหาวิทยาลัยได้มีการจัดทำเรื่องดังกล่าว โดยทำงานร่วมกับเอกชน แต่ทั้งนี้หากเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว ต้องยอมรับว่ามหาวิทยาลัยไทยทำงานร่วมกับภาคเอกชนยังน้อยอยู่

ทุกประเทศที่หลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลาง จะหลุดได้เมื่อมีความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน หรือมหาวิทยาลัยพัฒนาควบคู่กับภาคเอกชน เพราะหากภาคเอกชนไม่มีการทำงานวิจัย พัฒนานวัตกรรม ก็ไม่สามารถจะช่วยให้ประเทศก้าวไปข้างหน้าได้
    “การให้มหาวิทยาลัยกับภาคเอกชนทำงานร่วมกัน มีความจำเป็นอย่างมาก แต่ในส่วนของประเทศไทย อาจจะยากลำบาก เนื่องจากมีช่องว่างในการบริหารจัดการไม่มีการเชื่อมการทำงานระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคเอกชน และการทำเหมือนเดิมอาจจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งตอนนี้ถือว่าเราอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ เพราะเราต้องมีเทคโนโลยีเป็นของตนเอง และฝั่งอาจารย์ ภาคเอกชน ต้องมาลองทำงานร่วมกัน ผลิตนวัตกรรมร่วมกัน” รศ.ดร.สิรี กล่าว
หลายอย่างที่ บพข.ทำ จะไปออกดอกออกผลที่กระทรวงอื่นๆ บพข.เป็นเพียงต้นน้ำ และทำหน้าที่สนับสนุนกระทรวงอื่นๆ อาทิ สนับสนุนการพัฒนาในเรื่องระบบราง พยายามประสานกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้ทุกฝ่ายร่วมมือกัน ประเทศจะได้ก้าวหน้า

เตรียมเปิดตัวรถไฟฟ้ารางเบา ฝีมือคนไทยขบวนแรก มิ.ย.นี้
ดร.ไพวรรณ เกิดตรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น และหัวหน้าโครงการวิจัย โครงการระบบรถไฟฟ้ารางเบา กล่าวว่าในกลุ่มมหาวิทยาลัยได้มีการพัฒนาและสนับสนุนเรื่องอุตสาหกรรมระบบรางอย่างมาก โดยเฉพาะคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งวิศวกรรมแต่ละสาขาจะมีความเชี่ยวชาญในแต่ละส่วน เช่น วิศวกรรมระบบราง เขาก็จะเชี่ยวชาญเรื่องของระบบรางทั้งหมด ขณะที่วิศวกรรมไฟฟ้า จะเชี่ยวชาญระบบไฟฟ้า อันนำไปสู่การขับเคลื่อน ซึ่งสิ่งที่ภาคการศึกษาต้องปรับ คือการส่งงานวิจัยที่เกิดองค์ความรู้จากรั้วมหาวิทยาลัยไปสู่ภาคเอกชนด้วยวิธีไหนได้บ้าง

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมีความตื่นตัวในการทำงานร่วมกับภาคเอกชน และพยายามทำงานให้รวดเร็วเท่าทันความต้องการของภาคเอกชน แต่ทั้งนี้ การทำงานกับภาคเอกชน แม้จะใช้โจทย์จริง แต่ต้องมีการบูรณาการหลายๆ คณะ และมหาวิทยาลัยต้องมีการสนับสนุนในการจัดซื้อจัดจ้างอุปกรณ์ หรืองานที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย
    “ฝากผลงานโครงการวิจัยไฟฟ้ารางเบา ออกแบบและผลิตโดยคนไทยขบวนนี้ คาดว่าจะเดินรถในเดือนมิ.ย. นี้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าขบวนรถที่ผลิตโดยคนไทยสามารถวิ่งได้ จะทำให้เห็นถึงศักยภาพผู้ผลิตชิ้นส่วน สามารถผลิตเทคโนโลยีด้านระบบราง”ดร.ไพวรรณ กล่าว

เอกชนแนะทุกกระทรวงอย่าแย้งผลงาน ควรทำงานร่วมกัน
สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ช ทวีจำกัด ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบราง เนื่องด้วยทาง มทร.อีสาน เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนได้เข้ามาเรียนรู้ และได้ทำงานร่วมกัน หลังจากนั้นก็ได้ดำเนินการเรื่องนี้มาโดยตลอด ซึ่งเรื่องของระบบราง อุตสาหกรรมระบบราง ไม่ใช่เรื่องใหม่ วิศวกรรมต่างๆ ในประเทศไทย ทุกคนสามารถทำเรื่องนี้ได้ หรือบางคนมีการทำอยู่แล้ว
    "อุตสาหกรรมระบบราง ไม่ใช่ศาสตร์ใหม่ แต่ที่ผ่านมาประเทศไทยไม่ได้มีการสนับสนุนเรื่องนี้อย่างจริงจัง และไม่มีเวทีให้รถไฟฟ้าได้วิ่ง ซึ่งในส่วนของภาคเอกชนกับมหาวิทยาลัยสามารถขับเคลื่อนได้ แต่เมื่อภาครัฐ กระทรวงต่างๆ เข้ามาร่วม ส่วนใหญ่กระทรวงจะนำไปเป็นหลักในการทำงานของตัวเอง แต่การเป็นหลักในที่นี้ กลับไม่ได้เชื่อมโยงกับกระทรวงอื่นๆ จะเป็นลักษณะต่างกระทรวงต่างแย้งผลงานต่อกัน" สุรเดช กล่าว
อย่าง งานวันนี้เป็นกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นไปได้หรือไม่ ที่จะดึงกระทรวงคมนาคม กระทรวงอุตสาหกรรม หรือสภาพัฒน์ฯ กระทรวงที่เกี่ยวข้องเข้ามา เพื่อทำงานร่วมกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ

ขอให้เชื่อมั่น คนไทยสร้างรถไฟฟ้าระบบรางได้
สุรเดช กล่าวต่อไปว่า ถ้าจะดูภาพรวมในเรื่องระบบราง ซึ่งผู้ที่มองภาพรวมและมีอำนาจอาจต้องยอมรับว่า พวกเขาอาจจะไม่เข้าใจในเรื่องระบบราง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทุกแห่ง อาจต้องทำความเข้าใจกับผู้มีอำนาจว่าโครงการนี้ดีอย่างไร และอยากให้เชื่อมั่นว่าคนไทยทำได้ เพราะส่วนใหญ่คนไทยก็จะไม่เชื่อมั่นผลงานคนไทยด้วยกัน อย่าง รถเข็นที่ใช้ในเครื่องบิน หรือการต่อเรือ ก็มองว่าคนไทยทำไม่ได้ จนคนไทยต้องผลิตและไปขายให้ต่างประเทศก่อน คนไทยถึงจะมาสั่งซื้อ หรือมองว่าคนไทยทำได้
    "คนไทยสามารถสร้างนวัตกรรม ผลิตชิ้นส่วน หรือสร้างอะไรได้หลายอย่าง อดีต คนไทยเคยสร้างเครื่องบินเอง สร้างรถไฟเอง แต่ตอนนี้กลับมองว่าเป็นเรื่องใหม่ ดังนั้น อยากให้รัฐบาลมองโอกาสและให้เวทีสำหรับคนที่ทำได้ และทำเป็น ขอให้มั่นใจงานวิจัยไทย สินค้าไทย” สุรเดช กล่าว
ทั้งนี้ โครงการวิจัยพัฒนาต้นแบบระบบรถไฟฟ้ารางเบาดังกล่าว เป็นโครงการที่ บพข. จัดสรรทุนวิจัยให้กับทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ร่วมกับบริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) และภาคีเครือข่าย

ถือเป็นการพัฒนาด้านระบบขนส่งทางรางที่ผลิตได้ในประเทศไทย ทดแทนการนำเข้าขบวนรถไฟ และอะไหล่จากต่างประเทศ และเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการในประเทศสามารถวิจัย พัฒนา และออกแบบการผลิตขบวนรถไฟฟ้า และชิ้นส่วนอะไหล่ต่างๆ ที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูงได้เองภายในประเทศ และเพื่อรองรับความต้องการด้านการขนส่งทางรางในอนาคต

ผู้ประกอบการในประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ รวมทั้งมีเครื่องมือเครื่องจักรที่ได้มาตรฐานอยู่แล้ว การสนับสนุนทุนวิจัยนี้เป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับผู้ประกอบการ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศในอุตสาหกรรมระบบคมนาคมของไทย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 23/03/2022 6:40 am    Post subject: Reply with quote

ชี้ รถไฟฟ้าระบบราง คนไทยมีศักยภาพทำได้ แต่จะไปต่ออย่างยั่งยืน รัฐต้องทำงานร่วมกับเอกชน เตรียมผุด ขอนแก่นโมเดล เป็น Smart Education ริมบึงแก่นนคร ยกรูปแบบระบบรางจากทั่วโลกมาวางใช้งานจริง ให้ประชาชนได้เรียนรู้เทคโนโลยี สมาร์ท โมบิลิตี้
วันที่เผยแพร่ 22 มีนาคม 2022

ชี้คนไทยทำรถไฟฟ้าระบบรางได้ เตรียมผุดขอนแก่นโมเดลเป็น Smart Education ริมบึงแก่นนคร
เขียนโดย isranews
เขียนวันอังคาร ที่ 22 มีนาคม 2565 เวลา 11:06 น.

ชี้ รถไฟฟ้าระบบราง คนไทยมีศักยภาพทำได้ แต่จะไปต่ออย่างยั่งยืน รัฐต้องทำงานร่วมกับเอกชน เตรียมผุด ขอนแก่นโมเดล เป็น Smart Education ริมบึงแก่นนคร ยกรูปแบบระบบรางจากทั่วโลกมาวางใช้งานจริง ให้ประชาชนได้เรียนรู้เทคโนโลยี สมาร์ท โมบิลิตี้

ช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) จัดรายการพูดคุยผ่านช่องทางออนไลน์ ในรายการ Future Talk by NXPO ครั้งที่ 9 ในประเด็น “ปั้น Future Mobility ฝีมือคนไทยสู่เชิงพาณิชย์” พร้อมพูดคุยถึงความสำเร็จในการสร้าง “ต้นแบบรถไฟฟ้ารางเบาโดยคนไทย” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐ สถาบันการอุดมศึกษา และภาคเอกชน ที่สามารถต่อยอดไปสู่การผลิตขบวนรถไฟฟ้ากลางเมืองขอนแก่นได้ โดยรายการในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร. สิรี ชัยเสรี ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ดร. ไพวรรณ เกิดตรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร. อีสาน) วิทยาเขตขอนแก่น และหัวหน้าโครงการวิจัย โครงการระบบรถไฟฟ้ารางเบา และนายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) มาร่วมพูดคุย ดำเนินรายการโดย ดร. กาญจนา วานิชกร รองผู้อำนวยการ สอวช.

ดร. สิรี เปิดเผยถึงการให้ทุนด้านยานยนต์แห่งอนาคตของ บพข. ที่มองว่า อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีพื้นฐานและมีศักยภาพ แต่ในขณะเดียวก็มองเห็นโอกาสที่จะถูกแทรกแซงได้ในอนาคต หากไม่ริเริ่มลงทุนในด้านนี้ อาจทำให้อุตสาหกรรมนี้ไม่เกิดความยั่งยืน อีกทั้งแนวโน้มการเติบโตของยานยนต์ไฟฟ้าที่เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ บพข. จึงตัดสินใจเริ่มเปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัยในกลุ่มนี้ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาในด้านที่ประเทศไทยมีศักยภาพและสามารถสร้างตลาดของตนเองได้ ซึ่งรวมถึงโครงการที่เกี่ยวกับระบบราง รถไฟรางเบา รถไฟโดยสาร ชิ้นส่วนของรถไฟ เป็นต้น

“โครงการต้นแบบรถไฟฟ้ารางเบาโดยคนไทย เป็นหนึ่งในโครงการที่ บพข. ให้การสนับสนุนทุน ในฐานะที่เป็นหน่วยบริหารและจัดการทุนฯ สิ่งที่อยากเห็นคือภาคเอกชนสามารถผลิตสินค้าต่างๆ เองได้ ใช้เทคโนโลยีที่อาจจะนำเข้ามา หรือพัฒนาเองในประเทศ แต่สุดท้ายแล้วประเทศไทยต้องทำเองได้ ซึ่งโครงการนี้ คณะอนุกรรมการ ที่ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิหลายด้าน ทั้งจากภาคเอกชน นักวิชาการ ภาครัฐ พิจารณาแล้วเห็นว่า คณาจารย์ที่เข้าร่วมล้วนมีความสามารถ อีกทั้งภาคเอกชนยังมีความตั้งใจจริง มีความร่วมมือจากประเทศญี่ปุ่นที่เข้ามาสนับสนุน และมีแนวทางการสร้างบุคลากรเพื่อมารองรับโครงการนี้ ทำให้เห็นว่าถ้าให้ทุนไปแล้วจะมีความยั่งยืน และเมื่อสิ้นสุดการให้ทุน ภาคเอกชนสามารถดำเนินการต่อไปได้” ดร. สิรี กล่าว


ดร. สิรี ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า การจะทำให้ประเทศไทยหลุดจากประเทศกับดักรายได้ปานกลางได้ ต้องเกิดจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน มหาวิทยาลัยและภาคเอกชนต้องมีการพัฒนาควบคู่กันไป จากเดิมที่มหาวิทยาลัยทำแต่งานวิจัย แต่ไม่ได้มีการพัฒนานำไปใช้หรือทำให้กลายเป็นเทคโนโลยีสำคัญ ต้องเข้าไปปิดช่องโหว่ ทำให้เกิดการพัฒนาขึ้นด้วย บพข. จึงมองในเรื่องของการให้ทุนที่เป็นเงินสนับสนุนของรัฐที่จะเข้าไปช่วยลดความเสี่ยงของภาคเอกชน ในการร่วมลงทุนพัฒนางานวิจัยและเทคโนโลยีให้นำไปใช้ได้จริง การทำงานร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย ภาครัฐ และภาคเอกชนจึงเป็นส่วนสำคัญ ถ้าทุกฝ่ายพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง ก็มีโอกาสประสบความสำเร็จ และประเทศไทยก็มีแนวโน้มที่จะสามารถหลุดจากกับดักประเทศรายได้ปานกลางได้

ในมุมของสถาบันอุดมศึกษา ดร.ไพวรรณ กล่าวว่า โครงการวิจัยต้นแบบรถไฟฟ้ารางเบา เริ่มจากที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน มียุทธศาสตร์ในการผลิตกำลังคนด้านระบบราง เพื่อป้อนให้กับอุตสาหกรรมระบบรางของประเทศ ซึ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ดำเนินการพัฒนาบุคลากรมาตั้งแต่ปี 2557 - 2558 ด้วยการส่งคณาจารย์ในสาขาที่เปิดสอนด้านวิศวกรรมระบบราง ได้แก่ วิศวกรรมเครื่องกลระบบราง วิศวกรรมไฟฟ้าระบบราง และวิศวกรรมโยธาระบบรางไปฝึกอบรมหลักสูตรด้านระบบราง ทั้งในและต่างประเทศ แล้วนำองค์ความรู้มาสอนนักศึกษาในมหาวิทยาลัย หลังการฝึกอบรม สิ่งที่ตามมาคืองานวิจัยที่เกิดขึ้นและทำมาอย่างต่อเนื่อง และจากความร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่น หลังฝึกอบรมภายใต้ยุทธศาสตร์เมืองอัจฉริยะ (Smart City) ได้สัมผัสชิ้นส่วนของตัวรถ ได้ซ่อมบำรุง ได้องค์ความรู้เกี่ยวกับชิ้นส่วนรถไฟฟ้ารางเบามา ก็ได้นำมาใช้ในโครงการนี้ ซึ่งทำร่วมกับ บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) ที่มีศักยภาพในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และรถไฟ จึงกลายเป็นองค์ประกอบที่ลงตัวในการทำโครงการวิจัยครั้งนี้

นายสุรเดช กล่าวในฐานะภาคเอกชน ว่า ตนเริ่มต้นจากการเข้าร่วมหลักสูตรอบรมเรื่องวิศวกรรมขนส่งทางราง เกิดการสร้างเครือข่ายกลุ่มคนที่ให้ความสำคัญในด้านนี้ เชื่อมโยงกับการผลักดันการสร้างเมืองอัจฉริยะในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีเรื่องการเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) จึงมีแนวทางในการทำรถรางขึ้นด้วย และมีการผลักดันมาอย่างต่อเนื่อง จนได้มาทำงานกับ มทร. อีสาน เป็นลักษณะความร่วมมือกันทำงาน ส่งคณาจารย์ไปเรียน จนได้ขอสนับสนุนทุนโครงการวิจัยจาก บพข. โดยตั้งเป้าว่าโครงการนี้จะก่อให้เกิดผลกระทบที่สำคัญขึ้นในประเทศ ในการทำรถไฟเองได้ในไทย จากความสามารถของอาจารย์ในไทย

นายสุรเดช ยังได้กล่าวถึงประเด็นที่หลายคนตั้งคำถามว่า การทำ Smart Mobility จะดีกว่าการใช้รถยนต์แบบเดิมอย่างไร จะช่วยเมือง หรือช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างไร โดยให้ความเห็นว่า จะต้องเข้าไปเสริมองค์ความรู้ให้คนทั่วไปรู้ว่ารถรางที่ทำขึ้น สามารถทดแทนรถยนต์ได้เกือบ 180 คัน ทำให้เข้าใจว่าขนส่งมวลชนนี้จะช่วยสร้างให้เกิดเมืองเศรษฐกิจได้ และมีราคาไม่แพงอย่างที่คิด ที่สำคัญคือประเทศไทยสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้เอง ต้องนำเอาองค์ความรู้ที่ได้มาสร้างระบบในไทย อาจริเริ่มจากการสร้างต้นแบบในจังหวัดขอนแก่น สร้างเป็นพื้นที่ Smart Education รอบบึงแก่นนคร เพื่อเป็นแหล่งศึกษาเกี่ยวกับระบบราง ให้เกิดการเรียนรู้ เห็นตัวอย่างระบบรางที่มีความหลากหลายอย่างครบวงจร มีการต่อขยายเชื่อมโยงไปยังขนส่งสาธารณะอื่น เช่น ลงรถบัสมาสามารถก้าวขาขึ้นรถไฟระบบรางได้เลย การเชื่อมโยงระบบรางไปถึงถนน ที่ทำให้เกิดมูลค่ากับพื้นที่ตึกแถวริมถนนให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น การดำเนินงานข้างต้นไม่ใช่แค่เรื่องของศาสตร์ระบบรางเพียงอย่างเดียว แต่จะรวมทุกศาสตร์เข้ามาบูรณาการร่วมกันทั้งวิศวกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และศาสตร์อื่นๆ อีกมากมาย จะทำให้เราเห็นอีกแนวทางในการพัฒนาเมือง ซึ่งการจะทำตามเป้าหมายนี้ให้สำเร็จได้ ทุกฝ่ายต้องร่วมกันผลักดันและบูรณาการการทำงานร่วมกันของภาครัฐในแต่ละกระทรวงที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนไทยว่าคนไทยเองก็ทำได้ สร้างให้เกิดความมั่นใจในสินค้าไทยและนักวิจัยไทย

ด้านการปรับตัวของมหาวิทยาลัย ดร. ไพวรรณ กล่าวว่า ในมุมมองของภาควิชาการ จะคุ้นชินกับการทำวิจัย และจบด้วยการนำผลงานไปตีพิมพ์ แต่โครงการวิจัยนี้ได้เริ่มตั้งแต่การวิจัยชิ้นส่วนต่างๆ มีการฝึกอบรมที่ทำให้ได้เห็นชิ้นส่วน และโครงสร้างรถจริง เป็นสิ่งที่สถาบันการศึกษาต้องปรับตัวจากการมองเพียงในมุม University-Based ให้หันมามองในส่วน Product-Based มากขึ้น และภาคการศึกษาจะต้องมองความเชื่อมโยงในการนำงานวิจัยที่ตีพิมพ์ออกมา เมื่อเกิดองค์ความรู้ในมหาวิทยาลัยแล้ว จะต้องต่อยอดไปถึงภาคเอกชนให้ได้ด้วย

ในส่วนบทบาทของ สอวช. นั้น ดร. กาญจนา กล่าวว่า สอวช. กำลังขับเคลื่อนการปลดล็อก และเพิ่มการอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลงานวิจัยด้วยเช่นกัน อาทิ ปลดล็อกการจัดซื้อจัดจ้างที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย แนวทางนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ส่งเสริมให้เกิดพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 รวมถึงการปลดล็อกให้อาจารย์ได้ไปทำงานกับภาคเอกชน และปลดล็อกเรื่องการขอเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการ โดยใช้ผลงานงานวิจัยนวัตกรรมที่ทำร่วมกับภาคเอกชนหรือชุมชนด้วย

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่สนใจชมตัวอย่างต้นแบบรถไฟฟ้ารางเบาที่ผลิตโดยคนไทย สามารถเข้าชม ได้ที่งานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ 2022 ณ ห้องประชุม Challenger Impact บูทเลขที่ A22/2 ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม – 3 เมษายน 2565
https://www.facebook.com/NXPOTHAILAND/posts/2020693594778797
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 13, 14, 15, 16, 17  Next
Page 14 of 17

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©