RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311326
ทั่วไป:13289510
ทั้งหมด:13600836
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - อนาคตระบบรถไฟฟ้า กทม. คาด ผู้ว่าฯ เลือก Mono Rail
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

อนาคตระบบรถไฟฟ้า กทม. คาด ผู้ว่าฯ เลือก Mono Rail
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 28, 29, 30, 31, 32, 33  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42789
Location: NECTEC

PostPosted: 10/04/2022 10:58 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
งานจ้างที่ปรึกษาวิเคราะห์โครงการระบบรถไฟรางคู่ขนาดเบาสาย บางนา–ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ l 7 เม.ย. 65
Apr 8, 2022
Daoreuk Channel
https://www.youtube.com/watch?v=IQXjjv3mzYk


นับถอยหลัง 7 ปี 'รถไฟฟ้ารางคู่ Light Rail บางนา-สุวรรณภูมิ' เปิดให้บริการ
หน้าเศรษฐกิจ คมนาคม
วันอาทิตย์ ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 15:14 น

กทม. สรุปผล ความคืบหน้า 'รถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา' หรือ Light Rail (LRT) เส้นทาง บางนา-สุวรรณภูมิ จำนวน 14 สถานี คาดเปิดให้บริการปี 2572

10 เมษายน 2565 - กรุงเทพมหานคร หรือ กทม. โดย นายชาตรี วัฒนเขจร รองปลัดกรุงเทพมหานคร สรุปผลการศึกษา โครงการงานจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาและวิเคราะห์โครงการรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (Light Rail Transit) สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อนำเสนอสรุปผลการศึกษาข้อมูลโครงการด้านวิศวกรรม เศรษฐศาสตร์ การเงิน การลงทุน และด้านสิ่งแวดล้อม



ตลอดจนรูปแบบความเหมาะสมด้านการลงทุนโครงการ พร้อมรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน เพื่อนำไปประกอบการศึกษาและจัดทำโครงการ ให้มีความเหมาะสม ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ


นับถอยหลัง 7 ปี 'รถไฟฟ้ารางคู่ Light Rail บางนา-สุวรรณภูมิ' เปิดให้บริการ

สรุปรายละเอียดสำคัญ 'โครงการระบบรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ' ดังนี้

ระยะทางทั้งหมด 14 สถานี
เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดสมุทรปราการ


การดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ

ระยะที่ 1 จากแยกบางนา-ธนาซิตี้ จำนวน 12 สถานี ได้แก่ สถานีบางนา สถานีประภามนตรี สถานีบางนา-ตราด 17 สถานีบางนา-ตราด 25 สถานีวัดศรีเอี่ยม สถานีเปรมฤทัย สถานีบางนา-ตราด กม.6 สถานีบางแก้ว สถานีกาญจนาภิเษก สถานีวัดสลุด สถานีกิ่งแก้ว และสถานีธนาชิตี้ ระยะทาง 14.6 กิโลเมตร
ระยะที่ 2 จากธนาชิตี้-สุวรรณภูมิใต้ จำนวน 2 สถานี ได้แก่ สถานีมหาวิทยาลัยเกริก และสถานีสุวรรณภูมิใต้ ระยะทาง 5.1 กิโลเมตร
นับถอยหลัง 7 ปี 'รถไฟฟ้ารางคู่ Light Rail บางนา-สุวรรณภูมิ' เปิดให้บริการ


โครงการแบ่งรูปแบบของสถานีไว้ 3 รูปแบบ ดังนี้

ประเภท A สถานียกระดับที่รองรับด้วยเสาเดี่ยว มีจำนวน 10 สถานี ได้แก่ สถานีประภามนตรี สถานีบางนา-ตราด 17 สถานีวัดศรีเอี่ยม สถานีเปรมฤทัย สถานีบางนา-ตราด 6 สถานีบางแก้ว สถานีวัดสลุด สถานีกิ่งแก้ว สถานีมหาวิทยาลัยเกริก สถานีสุวรรณภูมิใต้
ประเภท B สถานียกระดับที่รองรับด้วยเสาคู่ จะก่อสร้างในกรณีที่ไม่สามารถวางตำแหน่งเสาเดี่ยวได้ โครงการจำเป็นต้องออกแบบสถานีให้รองรับด้วยโครงสร้างเสาคู่ มีจำนวน 3 สถานี ได้แก่ สถานีบางนา-ตราด 25 สถานีกาญจนาภิเษก สถานีธนาชิตี้
ประเภท C สถานีระดับดิน จะออกแบบตามข้อจำกัดด้านกายภาพของพื้นที่ โดยชั้นจำหน่ายตั๋วอยู่ระดับดิน สามารถเดินเชื่อมกับสถานีบางนาของโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอสได้ด้วยสะพานลอยยกระดับ (Skywalk) มีจำนวน 1 สถานี ได้แก่ สถานีบางนา
นับถอยหลัง 7 ปี 'รถไฟฟ้ารางคู่ Light Rail บางนา-สุวรรณภูมิ' เปิดให้บริการ

รูปแบบของการพัฒนาโครงการ Light Rail Transit

เป็นรถไฟฟ้ารางเบา ขนาดราง 1.435 เมตร
มีระบบควบคุมการเดินรถอัตโนมัติ
ความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ใช้เวลาเดินทางไป-กลับ 1 ชั่วโมง
สามารถรองรับผู้โดยสารประมาณ 15,000 - 30,000 คน/ชั่วโมง
อัตราค่าโดยสาร กำหนดให้ค่าโดยสารในปีเปิดให้บริการ (ปี 2572) มีอัตราแรกเข้า 14.4 บาท และเพิ่มขึ้นตามระยะทาง คือ 2.6 บาท ต่อกิโลเมตร โดยมีเพดานค่าโดยสารสูงสุด 45.6 บาท
คาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารจะมีประชาชนเข้ามาใช้บริการในปี 2572 ประมาณ 82,695 คน-เที่ยว/วัน และปี 2576 จะเพิ่มสูงขึ้นราว 138,744 คน-เที่ยว/วัน และในปี 2578
กรณี AOT เปิดให้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิด้านทิศใต้ จะมีประชาชนเข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้นถึง 165,363 คน-เที่ยว/วัน
ขั้นตอนการก่อสร้างและทดสอบระบบใช้เวลาประมาณ 4 ปี ระหว่าง ปี 2568-2571
คาดโครงการจะสามารถเปิดให้บริการในระยะที่ 1 ได้ในปี 2572


ทั้งนี้ โครงการได้ดำเนินการวิเคราะห์และศึกษารูปแบบการร่วมลงทุนและเอกชนที่เหมาะสมในการดำเนินงานโครงการ เพื่อเปิดโอกาสให้เอกชนเข้าร่วมดำเนินงาน โดยแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้



1. PPP Net Cost ในช่วงลงทุนก่อสร้าง รัฐจะเป็นผู้จัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อให้เอกชนก่อสร้างงานโยธาของโครงการทั้งหมด โดยเอกชนเป็นผู้ซื้อรถไฟและก่อสร้างงานระบบ ส่วนช่วงดำเนินการและบำรุงรักษาเอกชนเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินงานและบำรุงรักษาโครงการ และการลงทุนอื่นๆ ที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับโครงการ โดยรัฐให้สิทธิ์แก่เอกชนเป็นผู้รับรายได้และเอกชนจ่ายค่าสัมปทานหรือส่วนแบ่งของรายได้แก่รัฐ

2. PPP Gross Cost ในช่วงลงทุนก่อสร้าง รัฐจะเป็นผู้จัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อให้เอกชนก่อสร้างงานโยธาของโครงการทั้งหมด โดยเอกชนเป็นผู้ซื้อรถไฟและก่อสร้างงานระบบ ส่วนช่วงดำเนินการและบำรุงรักษา เอกชนเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินงานและบำรุงรักษาโครงการ และการลงทุนอื่นที่จำเป็น ส่วนรัฐเป็นผู้รับรายได้ผ่านเอกชนและเป็นผู้กำหนดจ่ายผลประโยชน์แก่เอกชนในรูปแบบค่าจ้าง ตามระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน

3. PPP Modified Gross Cost ในช่วงลงทุนก่อสร้าง รัฐจะเป็นผู้จัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อให้เอกชนก่อสร้างงานโยธาของโครงการทั้งหมด เอกชนเป็นผู้ซื้อรถไฟและก่อสร้างงานระบบ ส่วนช่วงดำเนินงานและบำรุงรักษา เอกชนเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินงานและบำรุงรักษาโครงการ และการลงทุนอื่นที่จำเป็น รัฐเป็นผู้รับรายได้ผ่านเอกชนและกำหนดจ่ายผลประโยชน์แก่เอกชนในรูปแบบค่าจ้าง ตามระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาณร่วมลงทุนและได้รับผลตอบแทนพิเศษเพื่อเติมภายใต้กลไกการแบ่งผลประโยชน์เพิ่มเติมที่ได้ตกลงกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42789
Location: NECTEC

PostPosted: 11/04/2022 7:15 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Mongwin wrote:
งานจ้างที่ปรึกษาวิเคราะห์โครงการระบบรถไฟรางคู่ขนาดเบาสาย บางนา–ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ l 7 เม.ย. 65
Apr 8, 2022
Daoreuk Channel
https://www.youtube.com/watch?v=IQXjjv3mzYk


นับถอยหลัง 7 ปี 'รถไฟฟ้ารางคู่ Light Rail บางนา-สุวรรณภูมิ' เปิดให้บริการ
หน้าเศรษฐกิจ คมนาคม
วันอาทิตย์ ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 15:14 น



กทม.ดันไลท์เรลสุวรรณภูมิ รัฐเวนคืนเอกชนสร้าง สัมปทาน 30 ปี เล็งเปิดใช้ ปี 2572
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
ข่าว ทั่วไทย กทม.
วันเสาร์ ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 10:05 น.

เมื่อวันที่ 8 เม.ย.65 ที่โรงแรมเดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ นายชาตรี วัฒนเขจร รองปลัด กทม. เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมสัมมนาสรุปผลการศึกษาโครงการงานจ้างที่ปรึกษา เพื่อศึกษาและวิเคราะห์โครงการรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (Light Rail Transit) สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทั้งนี้ โครงการเป็นระบบรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีทั้งหมด 14 สถานี แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 จากแยกบางนา-ธนาซิตี้ 14.6 กม.มี 12 สถานี ระยะที่ 2 จากธนาซิตี้-สุวรรณภูมิใต้ 5.1 กม.มี 2 สถานี รูปแบบของรถไฟฟ้าเป็นรถไฟฟ้ารางเบา ขนาดราง 1.435 เมตร เดินรถอัตโนมัติ ความเร็วสูงสุด 80 กม./ชม. ใช้เวลาเดินทางไป/กลับ 1 ชม. อัตราค่าโดยสาร ในปีเปิดให้บริการ 2572 มีอัตราค่าแรกเข้า 14.4 บาท และเพิ่มขึ้นตามระยะทาง 2.6 บาทต่อ กม. โดยมีเพดานค่าโดยสารสูงสุด 45.6 บาท

ส่วนรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมเสนอ แบบ PPP Net Cost อายุสัญญาสัมปทาน 30 ปี โดยรัฐเป็นผู้เวนคืนที่ดิน ส่วนเอกชนลงทุนก่อสร้างงานโยธา จัดซื้อรถ ติดตั้งระบบ และบริหารจัดการเดินรถ โดยจ่ายค่าสัมปทาน หรือส่วนแบ่งของรายได้แก่รัฐ วงเงินลงทุน 36,936 ล้านบาท แยกเป็นค่าเวนคืน 1,180 ล้านบาท ค่างานโยธา 32,886 ล้านบาท ทั้งนี้ ที่ปรึกษาจะสรุปผลการศึกษาและรูปแบบการลงทุนส่งให้ กทม.ภายในเดือน เมย.นี้ เพื่อเสนอกระทรวงมหาดไทย หากได้รับความเห็นชอบ กทม. จะเสนอคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (บอร์ด PPP) พิจารณาเห็นชอบ เพื่อเสนอ ครม.อนุมัติโครงการต้นปี 2566 เริ่มก่อสร้างปลายปี 2567 ใช้เวลา 4 ปี เปิดให้บริการในระยะที่ 1 ปี 2572.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42789
Location: NECTEC

PostPosted: 14/04/2022 3:21 pm    Post subject: Reply with quote

“สายสีเงิน”ชื่อแจ้งเกิดรถไฟฟ้าน้องใหม่ บางนา-สนามบินสุวรรณภูมิ1.3แสนล้าน
คอลัมน์ มุมคนเมือง
โดย ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่ง
วันอังคาร ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 08:00 น.

เดินทางมาถึงวันจบการศึกษาแล้ว เมื่อ นายชาตรี  วัฒนเขจร  รองปลัดกรุงเทพมหานคร(กทม.) เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาสรุปผลการศึกษาโครงการงานจ้างที่ปรึกษา เพื่อศึกษาและวิเคราะห์โครงการรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (Light Rail Transit : LRT) สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ  ช่วงท้ายสัปดาห์เมื่อวันที่ 8 เม.ย. ที่ผ่านมา   ที่โรงแรมเดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพฯ

โดยเสนอสรุปผลการศึกษาข้อมูลโครงการด้านวิศวกรรม เศรษฐศาสตร์การเงินการลงทุน และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนรูปแบบความเหมาะสมด้านการลงทุนโครงการ พร้อมรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนาจำนวนมาก ทั้งแบบอินไซต์ และออนไซต์ เพื่อนำไปประกอบการจัดทำโครงการให้มีความเหมาะสม ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ 


นายสาธิต มาลัยธรรม ที่ปรึกษาโครงการฯ กล่าวว่า จากการทบทวนผลการศึกษาเดิมเมื่อปี 56 พบว่า แนวเส้นทาง รูปแบบรถไฟฟ้า และความเร็วที่ใช้บริการ 80 กิโลเมตร(กม.)ต่อชั่วโมง(ชม.) มีความเหมาะสม หลังจากนี้จะรวบรวมข้อมูลต่างๆ ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ก่อนส่งรายงานสรุปผลการศึกษาฯ และรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) เสนอกระทรวงมหาดไทย(มท.) พิจารณา

เบื้องต้นคาดว่าจะเป็นรูปแบบ PPP Net Cost รัฐจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน เอกชนก่อสร้างงานโยธา และงานระบบ พร้อมทั้งดำเนินการและบำรุงรักษา(O&M) โดยรัฐให้สิทธิ์แก่เอกชนเป็นผู้รับรายได้ และเอกชนจ่ายค่าสัมปทาน หรือส่วนแบ่งของรายได้แก่รัฐ หากเห็นชอบจะเสนอสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) และเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาอนุมัติโครงการฯ ได้ประมาณต้นปี 66

นายสาธิต กล่าวต่อว่า หาก ครม. เห็นชอบจะเข้าสู่ขั้นตอนการจัดทำเอกสารร่วมลงทุน และเปิดคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในปี 67 โดยจะได้ผู้ลงทุน ลงนามสัญญา และเริ่มก่อสร้างประมาณปี 68 ใช้เวลาก่อสร้าง และทดสอบระบบ ประมาณ 4 ปี (ปี 68 –71) เปิดให้บริการในระยะ(เฟส)ที่ 1 ได้ในปี 72

กทม. ได้กำหนดให้รถไฟฟ้า LRT สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีชื่อเรียกว่า รถไฟฟ้าสายสีเงิน โครงการนี้มีระยะทาง 19.7 กิโลเมตร(กม.) มี 14 สถานี แบ่งดำเนินงานเป็น 2 เฟส ได้แก่ เฟสที่ 1 จากแยกบางนา-ธนาซิตี้ 12 สถานี ระยะทาง 14.6 กม. และเฟสที่ 2 ธนาซิตี้-สุวรรณภูมิใต้ 2 สถานี ระยะทาง 5.1 กม.


“ผลการศึกษาโครงการฯ มีความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ เนื่องจากดัชนีชี้วัดทางเศรษฐศาสตร์มีค่าสูงกว่าเกณฑ์ในทุกกรณี โดยมีอัตราผลตอบแทนของโครงการด้านเศรษฐศาสตร์ (EIRR) อยู่ที่ 15.45% สำหรับค่าลงทุนโครงการรวม 1.35 แสนล้านบาท แบ่งเป็น ค่างานที่เกี่ยวข้องกับการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1,181 ล้านบาท, ค่างานโยธาและงานระบบรถไฟฟ้า 36,020 ล้านบาท, ค่างานจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้า 6,720 ล้านบาท และค่าดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) 91,767 ล้านบาท โดยสัมปทานโครงการอยู่ที่ 30 ปี”  วรวัสส์ วัสสานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์การร่วมทุนภาครัฐ และเอกชน ระบุ

นายวรวัสส์  บอกด้วยว่า  รถไฟฟ้ารางเบา มีขนาดราง 1.435 เมตร มีระบบควบคุมการเดินรถอัตโนมัติ ความเร็วสูงสุด 80 กม.ต่อชม. ใช้เวลาเดินทางไป – กลับ 1 ชั่วโมง รองรับผู้โดยสาร 15,000 – 30,000 คน/ชม. คาดว่าปีเปิดให้บริการปี 72 จะมีผู้โดยสาร 82,695 คน-เที่ยว/วัน และปี 76 จะเพิ่มสูงขึ้นราว 138,744 คน-เที่ยว/วัน


ในปี 78 กรณีบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) หรือ ทอท. เปิดบริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิด้านทิศใต้ จะมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นถึง 165,363 คน-เที่ยว/วัน ส่วนอัตราค่าโดยสาร กำหนดในปีเปิดบริการปี 72 มีอัตราค่าแรกเข้า 14.4 บาท และเพิ่มขึ้นตามระยะทาง 2.6 บาทต่อ กม. มีเพดานค่าโดยสารสูงสุด 45.6 บาท

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า  ช่วงการเปิดให้ผู้ข้าร่วมสัมมนาได้แสดงความคิดเห็น หลายคนเสนอให้ต่อขยายจากจุดเริ่มต้นบางนา มายังถนนสรรพาวุธ เพื่อเชื่อมต่อกับท่าเรือวัดบางนานอก และสอดคล้องกับนโยบายเชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะ “ล้อ ราง เรือ” ของ กทม.  ทางที่ปรึกษาได้รับข้อเสนอส่งต่อกทม. แต่เบื้องต้นคงไม่สามารถต่อขยายได้ทันทีในครั้งนี้ เนื่องจากการต่อขยายต้องมีการศึกษา ไม่ใช่แค่ด้านการเงินการลงทุนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงต้องศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตลอดจนความคุ้มค่าด้วย.


รถไฟฟ้าน้องใหม่ แจ้งเกิดในชื่อ “สายสีเงิน”  เป็นรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบาสายแรกของไทย จากปัจจุบันที่มีรถไฟฟ้าบีทีเอสและเอ็มอาร์ทีเป็นรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเหลือง&ชมพูเป็นโมโนเรลสายแรก(ขนาดเบาแต่ใช้รางเดี่ยว)  

จะมาเติมเต็มความสะดวกในการเดินทางให้ประชาชน โดยเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ ที่สถานีบางนาและรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงพัฒนาการ – สำโรง ที่สถานีศรีเอี่ยม รวมทั้งเชื่อมเข้าสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่สถานีสุวรรณภูมิใต้ด้วย

————————————

... สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/articles/949648/


LRT บางนา-สนามบินสุวรรณภูมิ รถไฟฟ้า “สายสีเงิน” งบบานหมื่นล้าน
ในประเทศ
วันพฤหัสบดี ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 10:30 น.


LRT บางนา-สนามบินสุวรรณภูมิ รถไฟฟ้า “สายสีเงิน” โซนกรุงเทพฯตะวันออก งบบานหมื่นล้าน-ลงทุนขยับเป็น 3.6 หมื่นล้าน

เปิดพับลิกเฮียริ่งครั้งที่ 2 ก่อนสงกรานต์เรียบร้อยแล้ว สำหรับเมกะโปรเจ็กต์ระบบรางเมืองกรุง

โดย “ชาตรี วัฒนเขจร” รองปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาสรุปผลการศึกษาโครงการงานจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาและวิเคราะห์ “โครงการรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (LRT-Light Rail Transit) สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ”

ในที่ประชุมมีการตอบคำถามถึงชื่อเส้นทาง ได้รับคำตอบเบื้องต้นว่า จะใช้สัญลักษณ์ “รถไฟฟ้าสายสีเงิน” เพื่อให้ล้อไปกับรถไฟฟ้าสายสีทอง ไอคอนสยาม ซึ่งเป็นสัมปทานของกรุงเทพมหานคร

เฟส 1 บางนา-ธนาซิตี้
ทีมที่ปรึกษาโครงการนำเสนอผลสรุปการศึกษาข้อมูลโครงการ โดยมีรายละเอียดดังนี้ โครงการระบบรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีทั้งหมด 14 สถานี เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างพื้นที่กรุงเทพฯ กับจังหวัดสมุทรปราการ

โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 จากแยกบางนา-ธนาซิตี้ จำนวน 12 สถานี ได้แก่ 1.สถานีบางนา 2.สถานีประภามนตรี 3.สถานีบางนา-ตราด 17 4.สถานีบางนา-ตราด 25 5.สถานีวัดศรีเอี่ยม 6.สถานีเปรมฤทัย 7.สถานีบางนา-ตราด กม.6

8.สถานีบางแก้ว 9.สถานีกาญจนาภิเษก 10.สถานีวัดสลุด 11.สถานีกิ่งแก้ว และ 12.สถานีธนาซิตี้ ระยะทาง 14.6 กิโลเมตร

ระยะที่ 2 จากธนาซิตี้-สุวรรณภูมิใต้ จำนวน 2 สถานี ได้แก่ สถานีมหาวิทยาลัยเกริก และสถานีสุวรรณภูมิใต้ ระยะทาง 5.1 กิโลเมตร

สถานีประเภท A-B-C
โดยโครงการ LRT บางนา-สุวรรณภูมิ แบ่งรูปแบบของสถานีไว้ 3 รูปแบบ เริ่มจาก “ประเภท A” สถานียกระดับที่รองรับด้วยเสาเดี่ยว

มีจำนวน 10 สถานี ได้แก่
1.สถานีประภามนตรี
2.สถานีบางนา-ตราด 17
3.สถานีวัดศรีเอี่ยม
4.สถานีเปรมฤทัย
5.สถานีบางนา-ตราด 6
6.สถานีบางแก้ว
7.สถานีวัดสลุด
8.สถานีกิ่งแก้ว
9.สถานีมหาวิทยาลัยเกริก
10.สถานีสุวรรณภูมิใต้

“ประเภท B” สถานียกระดับที่รองรับด้วยเสาคู่ จะก่อสร้างในกรณีที่ไม่สามารถวางตำแหน่งเสาเดี่ยวได้ โครงการจำเป็นต้องออกแบบสถานีให้รองรับด้วยโครงสร้างเสาคู่

มีจำนวน 3 สถานี ได้แก่
1.สถานีบางนา-ตราด 25
2.สถานีกาญจนาภิเษก
3.สถานีธนาซิตี้

“ประเภท C” สถานีระดับดิน จะออกแบบตามข้อจำกัดด้านกายภาพของพื้นที่ โดยชั้นจำหน่ายตั๋วอยู่ระดับดิน สามารถเดินเชื่อมกับสถานีบางนาของโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอสได้ด้วยสะพานลอยยกระดับ (Skywalk) มีจำนวน 1 สถานีที่สถานีบางนา

ค่าโดยสาร 14.4-45.6 บาท
สำหรับรูปแบบของการพัฒนาโครงการ ออกแบบเป็นรถไฟฟ้ารางเบา ขนาดราง 1.435 เมตร มีระบบควบคุมการเดินรถอัตโนมัติ ความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางไป-กลับ 1 ชั่วโมง สามารถรองรับผู้โดยสารประมาณ 15,000-30,000 คน/ชั่วโมง

ส่วนอัตราค่าโดยสาร กำหนดให้ค่าโดยสารในปีเปิดให้บริการซึ่งตามแผนกำหนดเปิดใช้ในปี 2572 มีอัตราค่าแรกเข้า 14.4 บาท และเพิ่มขึ้นตามระยะทาง 2.6 บาท/กิโลเมตร มีเพดานค่าโดยสารสูงสุด 45.6 บาท

จากการคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารจะมีประชาชนเข้ามาใช้บริการในปี 2572 ที่เปิดให้บริการ 82,695 คน-เที่ยว/วัน และประเมินว่าภายในปี 2576 จะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 138,744 คน-เที่ยว/วัน


ทั้งนี้ ปี 2578 กรณี “AOT-บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)” เปิดให้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิด้านทิศใต้ คาดว่ามีผู้โดยสารเข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้นเป็น 165,363 คน-เที่ยว/วัน

PPP ร่วมลงทุน 3 รูปแบบ
สำหรับรูปแบบการลงทุน โครงการ LRT บางนา-สุวรรณภูมิ ได้ดำเนินการวิเคราะห์และศึกษารูปแบบการร่วมลงทุนและเอกชนที่เหมาะสมในการดำเนินงานโครงการ เพื่อเปิดโอกาสให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP-Public Private Partnership

โดยแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้ 1.PPP Net Cost ในช่วงลงทุนก่อสร้าง รัฐเป็นผู้จัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อให้เอกชนก่อสร้างงานโยธาของโครงการทั้งหมด โดยเอกชนเป็นผู้ซื้อรถไฟฟ้าและก่อสร้างงานระบบ

ส่วนช่วงดำเนินการและบำรุงรักษา เอกชนเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินงานและบำรุงรักษาโครงการ และการลงทุนอื่น ๆ ที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับโครงการ โดยรัฐให้สิทธิแก่เอกชนเป็นผู้รับรายได้และเอกชนจ่ายค่าสัมปทานหรือส่วนแบ่งของรายได้แก่รัฐ

2.PPP Gross Cost ในช่วงลงทุนก่อสร้าง รัฐเป็นผู้จัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อให้เอกชนก่อสร้างงานโยธาของโครงการทั้งหมด โดยเอกชนเป็นผู้ซื้อรถไฟฟ้าและก่อสร้างงานระบบ ส่วนช่วงดำเนินการและบำรุงรักษา

โดยเอกชนเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินงานและบำรุงรักษาโครงการ และการลงทุนอื่นที่จำเป็น ส่วนรัฐเป็นผู้รับรายได้ผ่านเอกชนและเป็นผู้กำหนดจ่ายผลประโยชน์แก่เอกชนในรูปแบบค่าจ้าง ตามระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน



3.PPP Modified Gross Cost ในช่วงลงทุนก่อสร้าง รัฐเป็นผู้จัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อให้เอกชนก่อสร้างงานโยธาของโครงการทั้งหมด เอกชนเป็นผู้ซื้อรถไฟฟ้าและก่อสร้างงานระบบ ส่วนช่วงดำเนินงานและบำรุงรักษา

โดยเอกชนเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินงานและบำรุงรักษาโครงการ และการลงทุนอื่นที่จำเป็น รัฐเป็นผู้รับรายได้ผ่านเอกชนและกำหนดจ่ายผลประโยชน์แก่เอกชนในรูปแบบค่าจ้าง ตามระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุนและได้รับผลตอบแทนพิเศษเพิ่มเติมภายใต้กลไกการแบ่งผลประโยชน์เพิ่มเติมที่ได้ตกลงกัน

สร้างปี’68-เปิดใช้ปี’72
ขั้นตอนหลังจากนี้ กรุงเทพมหานคร (กทม.) จะดำเนินการจัดส่งรายงานสรุปผลการศึกษาและรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมของโครงการนำเสนอกระทรวงมหาดไทยพิจารณาให้ความเห็นชอบ จากนั้นเตรียมนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติโครงการต่อไป คาดว่าจะใช้เวลา 1 ปี

ส่วนขั้นตอนการจัดทำเอกสารร่วมลงทุนและคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน คาดว่าใช้เวลา 1.5 ปี จากนั้นขั้นตอนการก่อสร้างและทดสอบระบบใช้เวลา 4 ปี ระหว่างปี 2568-2571 ตามแผนคาดว่าโครงการจะสามารถเปิดให้บริการในระยะที่ 1 ได้ในปี 2572

ปรับเงินลงทุนเพิ่ม 1 หมื่นล้าน
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า โครงการรถไฟฟ้า LRT บางนา-สุวรรณภูมิ มีการบรรจุแผนร่วมลงทุนในประเภท “PPP Initiative” ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุน (feasibility) กับคณะกรรมการการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน หรือบอร์ด PPP สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)

โดยโครงการร่วมลงทุน PPP Initiative เป็นช่วงเริ่มต้นของการวางแผนลงทุน จึงสามารถปรับเข้า-ปรับออก มีความยืดหยุ่นในการวางแผน จากนั้นเมื่อมีความเป็นไปมากขึ้นจะขยับอันดับเข้าสู่ PPP Normal-ระดับโครงการร่วมลงทุนปกติ และ PPP High Priority โครงการจำเป็นเร่งด่วนต่อไป

ประเด็นอยู่ที่โครงการ LRT บางนา-สุวรรณภูมิ มีการปรับเพิ่มวงเงินลงทุนสูงขึ้น 1 หมื่นกว่าล้านบาท โดยการบรรจุแผนร่วมลงทุนรอบเดือนสิงหาคม 2564 คำนวณวงเงินลงทุนเบื้องต้น 26,792 ล้านบาท

ล่าสุด แผนที่บรรจุในโครงการ PPP Initiative รอบเดือนมีนาคม 2565 วงเงินลงทุนเบื้องต้นเพิ่มเป็น 36,937 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 10,145 ล้านบาท

คาดว่าวงเงินลงทุนโครงการนี้ยังไม่นิ่ง เพราะขั้นตอนเพิ่งทำแผนบนกระดาษ ตามแผนระบุเปิดประมูลและลงมือก่อสร้างในปี 2568

เนื้องานและรายละเอียดแผนจึงมีโอกาสปรับเข้า-ปรับออก รวมทั้งวงเงินลงทุนมีโอกาสปรับขึ้น-ปรับลงได้อีกหลายยก


Last edited by Wisarut on 28/08/2022 10:28 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42789
Location: NECTEC

PostPosted: 18/04/2022 5:39 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
LRT บางนา-สนามบินสุวรรณภูมิ รถไฟฟ้า “สายสีเงิน” งบบานหมื่นล้าน
ในประเทศ
วันพฤหัสบดี ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 10:30 น.


เอกชนรุมจีบ แทรมสายสีเงินบางนา-สุวรรณภูมิ 1.3 แสนล้าน
หน้าเศรษฐกิจ
Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันศุกร์ ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2565 เวล 4:00 น.

กทม.เร่งสรุปผลศึกษาแทรมสายสีเงิน ช่วงบางนา-สุวรรณภูมิ ระยะทาง 19.7 กม.วงเงิน 1.3 แสนล้านบาท ดึงเอกชนร่วมทุน PPP Net Cost สัมปทาน 30 ปี แก้ปัญหาจราจรถนนบางนา-ตราด ลุยประมูลปี 67 ก่อสร้างปี 68 คาดเปิด บริการปี 72

การขยายเส้นทางรถไฟฟ้า นอก จากช่วยร่นระยะเวลาเดินทางแล้วยังช่วยสร้างความเจริญเข้าสู่พื้นที่สะท้อนได้จากย่านบางนาไปจนถึงบริเวณพื้นที่โดยรอบของสนามบินสุวรรณภูมิ มีบริษัทพัฒนา ที่ดินขนาดใหญ่ปักหมุดขึ้นโครงการมิกซ์ยูส ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงานและที่อยู่อาศัยกันอย่างคึกคัก







นายชาตรี วัฒนเขจร รองปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า สำหรับการศึกษาโครงการงานจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาและวิเคราะห์โครงการรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (Light Rail Transit) สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ นั้น ที่ผ่านมา กทม.เล็งเห็นว่าการเดินทางของประชาชนในปัจจุบันบริเวณถนนบางนามีการจราจรติดขัดและหนาแน่น ถึงแม้จะมีระบบรางเป็นระบบหลักแต่ยังไม่เพียงพอต่อการรองรับประชาชนเดินทาง ทำให้กทม.มีแผนที่จะพัฒนาระบบรางที่เป็นระบบรองเพื่อเสริมเส้นทางระบบหลัก หากดำเนินโครงการแล้วเสร็จจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า 2 สาย ประกอบด้วย รถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ บริเวณสถานีบางนา และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงพัฒนาการ-สำโรง บริเวณสถานีวัดศรีเอี่ยมและเชื่อมสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิใต้





รายงานข่าวจากที่ปรึกษาเพื่อศึกษาและวิเคราะห์โครงการฯ กล่าวว่า ส่วนความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (Light Rail Transit) สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (สายสีเงิน) ระยะทาง 19.7 กิโลเมตร (กม.) วงเงินลงทุน 1.3 แสนล้านบาท แบ่งเป็นค่าก่อสร้างงานโยธาและระบบรถไฟฟ้า วงเงิน 36,020 ล้านบาท ค่างานจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้า วงเงิน 6,720 ล้านบาท ค่าดำเนินงานและบำรุงรักษา วงเงิน 91,767 ล้านบาท ค่างานเกี่ยวกับการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน วงเงิน 1,186 ล้านบาท





ล่าสุดอยู่ระหว่างการแก้ไขจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และจัดทำรายงานการศึกษาการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (PPP) แล้วเสร็จภายในเดือนเมษายนนี้ หลังจากนั้นกทม.จะดำเนินการจัดส่งรายงานสรุปผลการศึกษาและรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมของโครงการนี้ เพื่อนำเสนอกระทรวงมหาดไทยพิจารณาและนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่ออนุมัติโครงการ ภายในปี 2566 และจัดทำเอกสารร่วมลงทุนและคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน ภายในปี 2567 คาดได้ผู้ชนะการประมูลปี 2568 เริ่มก่อสร้างและทดสอบระบบใช้ ภายในปี 2568-2571 ใช้เวลา 4 ปี คาดว่าจะเปิดให้บริการในระยะที่ 1 ภายในปี 2572



“จากการพิจารณาโครงการฯเห็นว่าการใช้รูปแบบการร่วมลงทุนที่เหมาะสมที่สุดคือรูปแบบ PPP Net Cost อายุสัญญาสัมปทาน 30 ปี เพราะจากการพิจารณาด้านผลตอบแทนทางการเงินที่สูงและการพิจารณาถ่ายโอนความเสี่ยงน้อย รวมทั้งการเปิดรับฟังความคิดเห็นภาคเอกชนมีความสนใจเป็นจำนวนมาก เนื่องจากได้รับผลตอบแทนสูงกว่ารูป แบบ PPP Gross Cost”





ขณะเดียวกันจากผลการศึกษาความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการฯ ทั้ง 2 ระยะ มีอัตราผลตอบ แทนของโครงการ (EIRR) อยู่ที่ 16.39% มูลค่าปัจจุบันโครงการฯ (NPV) จำนวน 15,036 ล้านบาท อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (B/C Ratio) อยู่ที่ 1.55



สำหรับโครงการระบบรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา สายบางนา-ท่าอากาศ ยานสุวรรณภูมิ มีทั้งหมด 14 สถานี เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างพื้นที่กรุงเทพฯ และจังหวัดสมุทรปราการ โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ ประกอบด้วย
ระยะที่ 1 จากแยกบางนา-ธนาซิตี้จำนวน 12 สถานี ประกอบด้วย สถานีบางนา, สถานีประภามนตรี สถานีบางนา-ตราด 17, สถานีบางนา-ตราด 25, สถานีวัดศรีเอี่ยม, สถานีเปรมฤทัย, สถานีบางนา-ตราด 6, สถานีบางแก้ว, สถานีกาญจนาภิเษก, สถานีวัดสลุด, สถานีกิ่งแก้ว, และสถานีธนาซิตี้ ระยะทาง 14.6 กิโลเมตร (กม.) และ
ระยะที่ 2 จากธนาซิตี้-สุวรรณภูมิใต้ จำนวน 2 สถานี ประกอบด้วย สถานีมหาวิทยาลัยเกริก และสถานีสุวรรณภูมิใต้ ระยะ ทาง 5.1 กิโลเมตร (กม.)


ส่วนรูปแบบของโครงการดังกล่าว แบ่งรูปแบบของสถานีไว้ 3 รูปแบบ ดังนี้ ประเภท A สถานียกระดับที่รองรับด้วยเสาเดี่ยว มีจำนวน 10 สถานีได้แก่ สถานีประภามนตรี สถานีบางนา- ตราด 17 สถานีวัดศรีเอี่ยม สถานีเปรมฤทัย สถานีบางนา-ตราด 6 สถานีบางแก้ว สถานีวัดสลุด สถานีกิ่งแก้ว สถานีมหาวิทยาลัยเกริก สถานีสุวรรณภูมิใต้


ประเภท B สถานียกระดับที่รองรับด้วยเสาคู่ จะก่อสร้างในกรณีที่ไม่สามารถวางตำแหน่งเสาเดี่ยวได้ โครงการจำเป็นต้องออกแบบสถานีให้รองรับด้วยโครงสร้างเสาคู่ มีจำนวน 3 สถานี ได้แก่ สถานีบางนา-ตราด 25 สถานีกาญจนาภิเษก สถานีธนาซิตี้

ประเภท C สถานีระดับดิน จะออกแบบตามข้อจำกัดด้านกายภาพ ของพื้นที่ โดยชั้นจำหน่ายตั๋วอยู่ระดับดิน สามารถเดินเชื่อมกับสถานีบางนาของโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอสได้ด้วยสะพานลอยยกระดับ (Skywalk) มีจำนวน 1 สถานี ได้แก่ สถานีบางนา


ทั้งนี้การพัฒนาโครงการรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (Light Rail Transit) สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นรถไฟฟ้ารางเบา ขนาดราง 1.435 เมตร มีระบบควบคุมการเดินรถอัตโนมัติ ความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางไป-กลับ 1 ชั่วโมง สามารถรองรับผู้โดยสารประมาณ 15,000 - 30,000 คนต่อชั่วโมง มีโรงจอดและศูนย์ซ่อมบำรุง(Depot) บริเวณใกล้สถานีธนาธรซิตี้ จำนวน 1 แห่ง พื้นที่ 29 ไร่ ส่วนอัตราค่าโดยสาร กำหนดให้ค่าโดยสารในปีเปิดให้บริการ (ปี 2572) มีอัตราค่าแรกเข้า 14.4 บาท และเพิ่มขึ้นตามระยะทาง อยู่ที่ 2.6 บาทต่อกิโลเมตร โดยมีเพดานค่าโดยสารสูงสุด 45.6 บาท


อย่างไรก็ตาม ด้านปริมาณผู้โดยสารได้คาดการณ์ว่า จะมีประชาชนเข้ามาใช้บริการในปี 2572 ที่เปิดใช้บริการประมาณ 82,695 คนต่อเที่ยว ต่อวัน และปี 2576 จะเพิ่มสูงขึ้นราว 138,744 คนต่อเที่ยวต่อวัน และในปี 2578 กรณีบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT เปิดให้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิด้านทิศใต้ จะทำให้ประชาชนเข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้นถึง 165,363 คนต่อเที่ยวต่อวัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42789
Location: NECTEC

PostPosted: 15/05/2022 4:11 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Mongwin wrote:
สผ.ไฟเขียว EHIA รันเวย์ที่ 2 สนามบินอู่ตะเภา คาดเร่ง TOR เปิดประมูลก่อสร้างใน มี.ค.นี้
เผยแพร่: 17 ก.พ. 2565 18:18 ปรับปรุง: 17 ก.พ. 2565 18:18 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

กก.วล.ไฟเขียว EHIA รันเวย์ที่ 2 สนามบินอู่ตะเภา เดินหน้าเสนอ ครม.เห็นชอบ เผยออกแบบรันเวย์เสร็จแล้ว คาดร่าง TOR เสร็จ เตรียมเปิดประมูลได้ใน มี.ค.นี้ เดินหน้าก่อสร้างเมืองการบิน

พล.อ.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ เปิดเผยว่า วันที่ 17 ก.พ. 2565 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ครั้งที่ 1/65 ผ่านระบบ VTC ณ มูลนิธิป่ารอยต่อฯ โดยได้ให้ความเห็นชอบ 4 โครงการ ประกอบด้วย
    โครงการรถไฟฟ้ารางเดียวสายสีเทา ระยะที่ 1 วัชรพล-ทองหล่อ,
    โครงการระบบโครงข่ายไฟฟ้า 230 กิโลวัตต์ ตาก 2-แม่สอด,
    โครงการที่พักอาศัยผู้สูงอายุ รามา-ธนารักษ์ จังหวัดสมุทรปราการ และ
    โครงการก่อสร้างทางวิ่งและทางขับที่ 2 สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา




บอร์ดสิ่งแวดล้อม อนุมัติรถไฟฟ้ารางเดี่ยว สายสีเทา ระยะที่ 1 วัชรพล-ทองหล่อ
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
ข่าวทั่วไทย
วันศุกร์ ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 10:27 น.
https://www.facebook.com/onep.gov.th/posts/255167910126963


คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ มีมติเห็นชอบโครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยวสายสีเทา ระยะที่ ๑ วัชรพล-ทองหล่อ ของสำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร
คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
30 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 16:04 น.
·

• รายละเอียดโครงการ
โครงการฯ เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) และมีโครงสร้างยกระดับตลอดเส้นทาง มีจุดเริ่มต้นบริเวณแยกต่างระดับรามอินทราที่สถานีวัชรพล ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู จากนั้นยกข้ามทางพิเศษฉลองรัช (ทางด่วนเอกมัย - รามอินทรา) มุ่งหน้าตามแนวเขตทางถนนประดิษฐ์มนูธรรมผ่านจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง บริเวณถนนลาดพร้าว และข้ามถนนพระราม ๙ ซึ่งจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม และยกข้ามรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link) แล้วเลี้ยวขวาที่แยกเอกมัยเหนือมาทางทิศตะวันตกเข้าสู่แนวเกาะกลางถนนเพชรบุรี และเลี้ยวซ้ายเข้าซอยทองหล่อ สิ้นสุดโครงการบริเวณปากซอยสุขุมวิท ๕๕ (ทองหล่อ) วิ่งตรงไปบรรจบกับแนวรถไฟฟ้าสายสีเขียว (BTS) บริเวณสถานีทองหล่อ สิ้นสุดแนวเส้นระยะที่ ๑ รวมระยะทางทั้งสิ้น ๑๖.๒๕ กิโลเมตร ประกอบด้วยสถานีรถไฟฟ้า จำนวน ๑๕ สถานี และศูนย์ซ่อมบำรุง ๑ แห่ง

- สถานีในโครงการ ทั้งหมด ๑๕ สถานี
๑. วัชรพล - interchange กะ สายสีชมพู หน้า ตลาดเลียบด่วนรามอินทรา เฟสใหม่
๒. นวลจันทร์ ระหว่างคลองบางขวดกะ ถนนนวลจันทร์
๓. เกษตรนวมินทร์ - แถว The Walk community Mall - interchange กับสายสีน้ำตาล
๔. คลองลำเจียก - ใกล้ The Pud English Garden
๕. โยธินพัฒนา - แถวๆ The Image Medical Aesthetic Centre
๖. ลาดพร้าว 87 - ใกล้ เอสซีจี โฮม เอ็กซพีเรียนซ์ สาขาเลียบทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา (CDC) และ เซนทรัลอิสต์วิลล์
๗. สังคมสงเคราะห์ - ใกล้ โฮมโปร สาขาเอกมัย-รามอินทรา
๘. ฉลองรัช - interchange กะ สายสีเหลือง ตรงสถานี ลาดพร้าว 71 ใกล้ปากซอยลาดพร้าว 73
๙. ศรีวรา - ใกล้ถนนอินทราภรณ์ ทางเข้าไป โรงเรียนบดินทร์เดชา
๑๐. ประชาอุทิศ - แถว เจริญทองยิม เหม่งจ๋าย (โรงเรียนสอนมวยไทย)
๑๑. พระราม 9 - interchange กะ สายสีส้ม สถานีวัดพระราม 9
๑๒. เพชรบุรี-ทองหล่อ - จริงๆ เชือมกะสถานีคลองตันได้ เพราะ อยู่หน้าสถานีรถไฟคลองตันถ้ามีการสร้างสถานีสายสีแดงที่คลองตัน
๑๓. แจ่มจันทร์ - ใกล้ ซอยเอกมัย 21 หน้า โรงพยาบาลคามิลเลียน กรุงเทพ
๑๔. ทองหล่อ 10 - ใกล้ซอยเอกมัย 5 ใกล้ทางไป ดองกิ มอลล์ ทองหล่อ
๑๕. ทองหล่อ - interchange กะ สายสีเขียว - ปากซอยสุขุมวิท 55


Last edited by Wisarut on 25/05/2022 9:48 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42789
Location: NECTEC

PostPosted: 25/05/2022 9:05 pm    Post subject: Reply with quote

บิ๊กอสังหาฯอ้อน ”ชัชชาติ” ผุดรถไฟฟ้าสายสีเทา ”วัชรพล-ทองหล่อ” เชื่อมเมือง การเดินทาง
เศรษฐกิจ
วันพุธ ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 08:23 น.

บิ๊กอสังหาฯอ้อน ”ชัชชาติ” ผุดรถไฟฟ้าสายสีเทา ”วัชรพล-ทองหล่อ” เชื่อมเมือง การเดินทาง
บิ๊กอสังหาฯอ้อนผู้ว่าฯกทม.คนใหม่ แจ้งเกิดรถไฟฟ้าสายสีเทาช่วง ”วัชรพล-ทองหล่อ” เชื่อมต่อการเดินทางแนวเหนือ-ใต้ ดีเดย์ปี’67 กทม.ดึงเอกชนร่วมลงทุน 2.7 หมื่นล้าน เปิดหวูดปี’73 “โนเบิล” ลุยปักหมุดทำเลราชพฤกษ์ ผุดทาวน์เฮาส์ 3.5 ชั้น ติดห้างโลตัส นอร์ธ ราคา 7-10 ล้าน

นายธงชัย บุศราพันธ์ รองประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้วงการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีความตื่นตัวหลังนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) คนใหม่ ในส่วนของโนเบิลอยากให้ผู้ว่าฯคนใหม่กระตุ้นการลงทุนรถไฟฟ้าใหม่ เพื่อพัฒนาเมืองและเชื่อมต่อการเดินทางให้ครอบคลุมมากขึ้น โดยเฉพาะเร่งการลงทุนรถไฟฟ้ารางเดี่ยวสายสีเทาเฟสแรกช่วงวัชรพล-ทองหล่อ เชื่อมการเดินทางพื้นที่กรุงเทพฯในแนวเหนือ-ใต้ เป็นทางเลือกเพิ่มจากปัจจุบันมีสายสีเขียวและสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต ขณะที่พื้นที่ในแนวตะวันออก-ตะวันตกมีสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรงและสายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรีต่อเชื่อมการเดินทางอยู่แล้ว

“ค่าโดยสารรถไฟฟ้าในปัจจุบันถือว่าของไทยค่ยังถูกกว่าต่างประเทศ แต่คนยังมองว่าแพง เพราะเกี่ยวกับค่าครองชีพและค่าเดินทางที่สูงขึ้น เช่น บางคนต้องค่ามอเตอร์ไซค์รับจ้าง ค่ารถสองแถวเพื่อมาต่อรถไฟฟ้า ดังนั้นควรเพิ่มรถไฟฟ้าสายใหม่ๆ เป็นทางเลือกให้ประชาชนเพิ่ม ในราคาที่จ่ายได้” นายธงชัยกล่าว และว่า

สำหรับแผนไตรมาส 2 มีเปิดตัว 5 โครงการ มูลค่ารวม 12,300 ล้านบาท ในย่านพระราม 9 คูคต-ลำลูกกา บริเวณเลียบทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา และถนนราชพฤกษ์ เป็นต้น ซึ่งทยอดเปิดขายโครงการแล้ว พบว่ายอดจองเกิน 50% เช่น โครงการคอนโดมิเนียม นิว ครอส คูคต สเตชัน เฟสแรก เปิดขายเมื่อวันที่ 21-22 พฤษภาคมที่ผ่านมา



นายศิระ อุดล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานพัฒนาธุรกิจ 2 บมจ.โนเบิล กล่าวว่า วันที่ 3-5 มิถุนายนนี้ จะเปิดขายโครงการโคฟ นอร์ธ ราชพฤกษ์ เฟสแรก 14 ยูนิต เป็นทาวน์เฮาส์ 3.5 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอย 160-200 ตารางเมตร ราคาเริ่มต้น 7-12 ล้านบาท บนเนื้อที่ 9 ไร่เศษ ติดถนนใหญ่และโลตัส นอร์ธ ราชพฤกษ์ ที่เตรียมพัฒนาทั้งหมด 190 ยูนิต มูลค่าโครงการ 700 ล้านบาท ซึ่งเป็นครั้งแรกที่โนเบิลเข้าไปลงทุนโซนราชพฤกษ์

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเทาเฟสแรกช่วงวัชรพล-ทองหล่อ มีระยะทาง 16.3 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 27,899 ล้านบาท โดย กทม.จะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน ปี 2567-2568 สร้างเสร็จเปิดบริการปี 2573 แนวเส้นทางจะเชื่อมต่อ 5 รถไฟฟ้า มี 15 สถานี เริ่มต้นจากแยกต่างระดับรามอินทราเชื่อมสายสีชมพู เลาะแนวถนนประดิษฐ์มนูธรรม (เลียบทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา) ข้ามถนนเกษตรนวมินทร์เชื่อมสายสีน้ำตาล เชื่อมสายสีเหลืองที่ถนนลาดพร้าว ผ่านถนนพระราม 9 เชื่อมสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) เมื่อข้ามแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เลี้ยวเข้าถนนเพชรบุรี และซอยสุขุมวิท 55 (ทองหล่อ) สิ้นสุดสถานีทองหล่อต่อเชื่อมสายสีเขียว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44867
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/05/2022 11:31 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
บิ๊กอสังหาฯอ้อน ”ชัชชาติ” ผุดรถไฟฟ้าสายสีเทา ”วัชรพล-ทองหล่อ” เชื่อมเมือง การเดินทาง
เศรษฐกิจ
วันพุธ ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 08:23 น.

กทม.เร่งสรุปโมโนเรลสายสีเทา เตรียมเสนอ "ชัชชาติ" เคาะลงทุน
กรุงเทพธุรกิจ 27 พ.ค. 2565 เวลา 11:13 น.

กทม. เร่งสรุปผลโมโนเรลสายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ เคาะงบลงทุน 2.7 หมื่นล้านบาท เตรียมเสนอ “ชัชชาติ” ดันโครงการเข้า ครม.ปีหน้า ปักธงเปิดประมูล 2567

นายชาตรี วัฒนเขจร รองปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาสรุปผลการศึกษา(สัมมนาปัจฉิมนิเทศโครงการ) โครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) สายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ โดยระบุว่า การสัมมนาครั้งนี้เพื่อนำเสนอผลการศึกษาข้อมูลโครงการด้านวิศวกรรม เศรษฐศาสตร์การเงินการลงทุน และด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนรูปแบบความเหมาะสมด้านการลงทุนโครงการ ที่มีความเหมาะสม ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ดี หลังการสัมมนาครั้งนี้ กทม.จะดำเนินการจัดทำรายงานสรุปผลการศึกษาและรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมของโครงการ เพื่อนำเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาและให้ความเห็นชอบ จากนั้นนำเสนอต่อกระทรวงมหาดไทย เพื่อขออนุมัติดำเนินโครงการจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ภายในปี 2566 ส่วนขั้นตอนการจัดทำเอกสารร่วมลงทุนและคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน คาดว่าจะใช้จะเริ่มได้ภายในปี 2567 - 2568 จากนั้นขั้นตอนการก่อสร้างและทดสอบระบบใช้เวลาประมาณ 4 ปี ระหว่าง ปี 2569-2572 เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2573

สำหรับกรณีที่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีแนวคิดจะนำโครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการศึกษาของ กทม.มอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ไปดำเนินการพัฒนาและบริหารจัดการ ซึ่งส่วนหนึ่งมีโครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยวสายสีเทาด้วยนั้น กทม.ยืนยันว่าขณะนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีเทายังอยู่ในขั้นตอนศึกษาความเหมาะสม และจะเสนอให้ผู้ว่าราชการฯ เป็นผู้พิจารณา โดย กทม.จะทำหน้าที่ศึกษารายละเอียดให้แล้วเสร็จ ส่วนที่เหลือก็เป็นไปตามนโยบาย

ทั้งนี้รายละเอียดผลการศึกษา โครงการมีแนวเส้นทางโครงการเริ่มต้นจากบริเวณทางเชื่อมระหว่างถนนรามอินทรากับถนนประดิษฐ์มนูธรรม ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพูที่สถานีวัชรพล จากนั้นแนวเส้นทางจะมุ่งหน้าลงมาทางทิศใต้ตามถนนประดิษฐ์มนูธรรมฝั่งทิศทางขาออก โดยวางโครงสร้างบนทางเท้าและทางจักรยานข้ามถนนประเสริฐมนูกิจ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลที่สถานีคลองลำเจียก

ประกอบกับแนวเส้นทางยังคงมุ่งหน้าลงทางทิศใต้ ข้ามถนนลาดพร้าว เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองที่สถานีฉลองรัชผ่านถนนประชาอุทิศ และข้ามทางพิเศษศรีรัชที่แยกพระราม 9- ประดิษฐ์มนูธรรม เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้มที่สถานีพระราม 9 จากนั้นแนวเส้นทางจะเลี้ยวที่แยกเอกมัยเหนือมาทางทิศตะวันตกเข้าสู่แนวเกาะกลางของถนนเพชรบุรีตัดใหม่ และเลี้ยวลงมาทางทิศใต้เข้าสู่ถนนทองหล่อ จนกระทั่งมาสิ้นสุดเส้นทางที่บริเวณปากซอยสุขุมวิท 55 เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่สถานีทองหล่อ รวมระยะทางทั้งหมด 16.3 กิโลเมตร

โดยโครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีเทา จะประกอบด้วยสถานีจำนวน 15 สถานี ศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง อยู่ที่บริเวณสถานีวัชรพลและมีการออกแบบสถานีรถไฟฟ้า แบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้

1.ชานชาลากลาง บนโครงสร้างโครงข้อแข็ง เป็นสถานีที่ชานชาลาอยู่ตรงกลาง ขนาบด้วยรางรถไฟทั้ง 2 ข้าง ใช้กับสถานีต้นทางและปลายทาง จำนวน 2 สถานี

2.ชานชาลาข้าง รองรับด้วยเสาเดี่ยว เป็นสถานีที่ชานชาลาแยกเป็น 2 ข้าง ตรงกลางเป็นรางรถไฟ 2 รางที่อยู่ติดกัน ใช้กับสถานีที่อยู่ตามแนวถนนประดิษฐ์มนูธรรม จำนวน 10 สถานี

3.ชานชาลาข้าง บนโครงสร้างโครงข้อแข็ง เป็นสถานีที่ชานชาลาแยกเป็น 2 ข้าง แต่มีขนาดแคบกว่า 2 รูปแบบข้างต้น เพื่อให้สามารถตั้งบนถนนในซอยทองหล่อได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งปลูกสร้างโดยรอบ จำนวน 3 สถานี

ขณะที่รูปแบบของการพัฒนาโครงการ มีรูปแบบการพัฒนาเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว มีระบบควบคุมการเดินรถอัตโนมัติ ความเร็วเฉลี่ยในการเดินรถ 35 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางไป – กลับ 62 นาที สามารถรองรับผู้โดยสารประมาณ 8,000 - 20,000 คนต่อชั่วโมง โดยจากการคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสาร จะมีประชาชนเข้ามาใช้บริการในปี 2573 ซึ่งเป็นปีที่เปิดให้บริการ จำนวน 97,000 คน-เที่ยวต่อวัน

นอกจากนี้โครงการได้ดำเนินการวิเคราะห์และศึกษารูปแบบการร่วมลงทุนและเอกชนที่เหมาะสมในการดำเนินงานโครงการ เพื่อเปิดโอกาสให้เอกชนเข้าร่วมดำเนินงาน โดยแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้

1.PPP Net Cost เอกชนเป็นผู้รับความเสี่ยงด้านรายได้ และเป็นผู้จ่ายค่าสัมปทานหรือส่วนแบ่งรายได้ให้แก่ภาครัฐ

2.PPP Gross Cost ภาครัฐเป็นผู้รับความเสี่ยงด้านรายได้ และเป็นผู้จ่ายค่าตอบแทนจากการให้บริการแก่เอกชน

3.PPP Modified Gross Cost ภาครัฐเป็นผู้รับความเสี่ยงด้านรายได้และเป็นผู้จ่ายค่าตอบแทน จ่ายค่าตอบแทนพิเศษ หากเอกชนดำเนินการดีกว่าเกณฑ์ที่กำหนดจากการให้บริการแก่เอกชน

สำหรับผลการศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้น จะใช้การร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP Net Cost โดยเอกชนเป็นผู้รับความเสี่ยงด้านรายได้ และเป็นผู้จ่ายค่าสัมปทานหรือส่วนแบ่งรายได้ให้แก่ภาครัฐ ในระยะเวลา 30 ปี และเพื่อจูงใจภาคเอกชนร่วมลงทุน ทีมที่ปรึกษานำเสนอความเป็นไปได้ที่จะมีการกำหนดมาตรการส่งเสริมให้เอกชน เช่น ภาครัฐช่วยลงทุนงานโยธา

ทั้งนี้ ผลการศึกษาความเหมาะสมของค่าลงทุนและค่าใช้จ่ายของโครงการ พบว่ามูลค่าการลงทุนในช่วงก่อสร้างจะรวมอยู่ที่ 27,884 ล้านบาท แบ่งเป็น คค่าตอบแทนและชดเชยการใช้ที่ดิน 2,052 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง 23,101 ล้านบาท ค่างานระบบรถไฟฟ้า 5,277 ล้านบาท ค่างานจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้า 3,300 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อม 100 ล้านบาท ค่าที่ปรึกษาควบคุมงานการก่อสร้าง 841 ล้านบาท ค่าออกแบบ 462 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายสำรอง (Provisional Sum) รวมภาษี 1,328 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42789
Location: NECTEC

PostPosted: 27/05/2022 11:51 am    Post subject: Reply with quote

ประชุมรับฟังความคิดเห็น รถไฟฟ้าสายสีเทา วัชรพล-ทองหล่อ วันนี้ 27 พฤษภาคม 65 ผ่านทาง Zoom พร้อมเปิดหาเอกชนร่วมลงทุน (PPP)
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
วันศุกร์ ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 07:45 น.

วันนี้เอาอีกข่าวของรถไฟฟ้าสายใหม่อีกสายหนึ่งที่อยู่ภายใต้การดูแลของ กทม. คือสายสีเทา ซึ่งในช่วงแรก คือช่วง วัชรพล-ทองหล่อ ที่หลายๆคนบ่นว่าเลียบด่วน รามอินทรา-อาจณรงค์ ไม่มีขนส่งมวลชนเลย
ก็เลยมีสายสีเทาเป็นสายเพื่อรองรับการเดินทางในพื้นที่นี้โดยเฉพาะ
วันนี้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 3 เวลา 8:30-12:00 น. ผ่านทาง Zoom ใครสนใจสามารถเข้าร่วมรับฟังรายละเอียดได้ตามนี้ครับ
Topic: การประชุมสัมมนาสรุปผล Monorail สายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ
Time: May 27, 2022 08:30 AM Bangkok
Join Zoom Meeting
https://zoom.us/j/97195093421...
Meeting ID: 971 9509 3421
Passcode: 668145
ขอบคุณข้อมูลจาก บริษัท ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด
สุดท้ายโครงการนี้จะออกมาอย่างไรก็ต้องสรุปที่ผู้ว่าท่านใหม่ ว่า กทม. จะทำเอง หรือโอนคืนให้ รฟม ทำครับ

—————————
รายละเอียดโครงการ
เดิมรถไฟฟ้าสายสีเทา เป็นเส้นทางที่แบ่งโครงการเป็น 2 ช่วงคือ
- วัชรพล - ทองหล่อ
- พระโขนง - ท่าพระ
ซึ่งจะมีการแบ่งก่อสร้างเป็นเฟสๆ ซึ่งเฟส 1 คือ ช่วงวัชรพล - ทองหล่อ ที่ผมจะรายละเอียดมาเล่าให้วันนี้….
- แนวเส้นทาง ระยะทางรวม 16.3 กิโลเมตร
จุดเริ่มต้นโครงการ ที่สถานีวัชรพล ซึ่งจะตั้งอยู่บริเวณ สามเหลี่ยมทางยกระดับ มุ่งหน้าไปทางด่วนรามอินทรา - อาจณรงค์ ใกล้กับตลาดเลียบด่วน
ซึ่งจุดนี้จะเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู สถานีวัชรพล เช่นกัน
จากนั้นรถไฟฟ้าจะข้ามทางด่วนมาก่อสร้างอยู่ฝั่งขาออกของถนนประดิษฐ์มนูญธรรม ยาวไปจนตัดกับถนนเกษตร-นวมินทร์ จะมีสถานีคลองลำเจียก ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ของ รฟม. สถานีต่างระดับฉลองรัช
มุ่งหน้าต่อไปบนถนนประดิษฐ์มนูญธรรม ไปจนถึงถนนลาดพร้าว จะเป็นสถานีฉลองรัช ซึ่งจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง สถานีลาดพร้าว 71
จากนั้นก็มุ่งหน้าต่อมาบนถนนประดิษฐ์มนูญธรรม ไปจนตัดกับถนนพระราม 9 เป็นสถานีพระราม 9 ซึ่งจะตัดกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม สถานีวัดพระราม 9
แล้วก็มุ่งหน้าต่อ จนไปตัดกับถนนเพชรบุรี แล้วเลี้ยวขวา และเลี้ยวซ้ายบนถนนสุขุมวิท 55 (ทองหล่อ) จากนั้นก็มุ่งหน้าตรงมาจนสิ้นสุดโครงการที่ สถานีทองหล่อ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว (BTS) สถานีทองหล่อ
- รูปแบบสถานี
สถานีแบ่งเป็น 4 รูปแบบ คือ
1. สถานีชานชาลาข้าง (Side Platform) เสากลาง มี 3 ชั้น ช่วงวิ่งบนคู่ขนานถนนประดิษฐ์มนูญธรรม 10 สถานี
2. สถานีชานชาลาข้าง (Side Platform) เสาคร่อมถนน มี 4 ชั้น ช่วงคร่อมถนนเพชรบุรี
3. สถานีชานชาลาข้าง (Side Platform) เสาคร่อมถนน มี 3 ชั้น ช่วงคร่อมถนนสุขุมวิท 55 (ทองหล่อ)
4. ชานชาลากลาง (Central Platform) เสาคร่อม มี 3 ชั้น ที่สถานีต้นทางและปลายทาง
- สถานีในโครงการ ทั้งหมด 15 สถานี
1. วัชรพล
2. นวลจันทร์
3. เกษตรนวมินทร์
4. คลองลำเจียก
5. โยธินพัฒนา
6. ลาดพร้าว 87
7. สังคมสงเคราะห์
8. ฉลองรัช
9. ศรีวรา
10. ประชาอุทิศ
11. พระราม 9
12. เพชรบุรี-ทองหล่อ
13. แจ่มจันทร์
14. ทองหล่อ 10
15. ทองหล่อ
—————————
รูปแบบรถไฟฟ้าที่ใช้ในโครงการ
ในรายละเอียดเบื้องต้นออกแบบให้เป็น Monorail เพื่อความคล่องตัว และลดปัญหาระหว่างก่อสร้าง
แต่ในรายละเอียดยังไม่ได้เลือกขนาดของรูปแบบ Monorail ชัดเจน เนื่องจากต้องดูปริมาณผู้โดยสารที่จะใช้บริการในอนาคตก่อน
ซึ่งตอนนี้ยังเป็นขนาด 8,000 - 30,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง (คาดว่าน่าจะเป็น Heavy Monorail แบบ สายสีชมพู และเหลือง)
ทางวิ่งก็จะออกมาในรูปแบบทางวิ่งคอนกรีต (Guide way beam) เหมือนกับรถไฟฟ้า Monorail สายสีชมพู และเหลือง ที่กำลังสร้างอยู่ ซึ่งใช้เวลาสร้างเร็วมากกกก (ไม่รวมเวลาเข้าพื้นที่ไม่ได้นะ)
ออกแบบความเร็วให้บริการสูงสุด 80 กิโลเมตร ซึ่งความเร็วในการให้บริการเฉลี่ย 35 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ซึ่งจากความเร็วเฉลี่ย จะใช้เวลาในการให้บริการ ไป-กลับ ครบ 1 รอบ 61 นาที หรือ เดินทางจากต้นทาง-ปลายทาง แค่ 30 นาที!!!
ลองคิดดูว่า จากรามอินทรา-ทองหล่อ แค่ 30 นาที!!! ปัจจุบัน ชั่วโมงจะพ้นพระราม 9 รึยัง….
—————————
ประเด็นข้อกังวลในเส้นทาง
- จุดตัดกับทางด่วนขั้นที่ 3 (N3) ซึ่งจะตัดกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลด้วยเช่นกัน
ในโครงการให้ข้อมูลว่าทำการขออนุญาต การทางพิเศษในการใช้พื้นที่ก่อสร้างที่จะทับซ้อนกับต่างระดับฉลองรัชแล้ว
*** แต่จากภาพผมไม่โอเคกับการทำสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลและเทา แยกกันห่างกันเป็นร้อยเมตรเลย มันควรจะอยู่ข้างกัน หรือซ้อทับกันไปเลย!!!
- เสารถไฟฟ้าต้องไม่กีดขวางทางเท้า ต้องมีทางเท้าอย่างน้อย 1.5 เมตร!!!
- การจัดจราจรระหว่างก่อสร้าง บนถนน เพชรบุรี และทองหล่อ จะมีใช้เลนกลางในการก่อสร้างถ้าจำเป็น
—————————
ส่วนที่สำคัญที่สุด แล้วจะคุ้มค่ามั้ย??? เอาเงินจากไหนมาลงทุน???
ในโครงการชี้เป้าไปเลยว่าเป็นโครงการร่วมทุน (PPP) แน่นอน แต่ยังไม่สรุปว่าจะเป็นการร่วมทุนแบบไหน เช่น
- PPP Net Cost (แบบ BTS/สายสีน้ำเงิน)
- PPP Gross Cost (แบบสายสีม่วง)
- PPP Modified Gross Cost
มีเรื่องประเด็นความเป็นเจ้าของ ระหว่าง BTO (แบบสายสีน้ำเงิน) หรือ BOT (แบบ BTS)
ซึ่งสุดท้ายเราก็ต้องมาดูว่าแบบไหนรัฐบาลและประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด ในจุดที่เอกชนยอมรับได้ในการลงทุน
—————————
ใครสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมดูได้จากในเว็บไซด์โครงการ
https://www.greyline-ppp.com
คลิปประชุม ประชาสัมพันธ์โครงการครั้งที่ 1
https://youtu.be/XHs0MogNzgs
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/1436559490115859

วันนี้สัมมนาสรุปผลศึกษารถไฟฟ้าสายใหม่ ”สีเทา”
*กทม.ประเดิมก่อนเฟส 1 วัชรพล-ทองหล่อ
*ลุย PPP2.7หมื่นล้านชงครม.อนุมัติปีหน้า
*สร้างปี69-72เปิดบริการปี73เก็บ16บาท+
*คาดผู้โดยสารปีแรกไว้เฉียดแสนคนต่อวัน
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/561172895459949

Note: ฝากถล่มเพจนี้หน่อยครับ รำคาญกับความเห็นผิดเช่นนี้เต็มทีครับ เพราะเห็นว่าผู้เขียนออกจะโง่เขลาเดาสวดเต็มที คนแถวย่านนั้นเขายินดีจะขึ้นรถเมล์หรือครับ?
https://www.facebook.com/ogolfo/posts/10223663917483785
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42789
Location: NECTEC

PostPosted: 27/05/2022 2:14 pm    Post subject: Reply with quote

กทม.เดินหน้าสายสีเทา 27,884 ล้านบาทสัมปทาน30ปี
*หากผู้ว่าฯ ชัชชาติส่งต่อรฟม.ก็สร้างได้ทันที
*”ศึกษา-รีวิว”ไว้พร้อมลุย PPP เสิร์ฟให้เลย
*ย้ำความคุ้มค่าเชื่อมต่อรถไฟฟ้า 5สาย 5 สี
*ปลุกปล้ำมากว่า10ปีสายนี้อย่าเสียเวลาอีก - EIRR ตั้ง 20.03% สร้างเหอะ
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/561293742114531

กทม. เร่งสรุปผลโมโนเรลสายสีเทา ‘ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ’ จ่อชงผู้ว่าฯ ไฟเขียว ก่อนเสนอ ครม.ปี 66 คาดเปิดให้บริการปี 73
วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม 2565

กทม. เร่งสรุปผลโมโนเรลสายสีเทา “ช่วงวัชรพล–ทองหล่อ” ระยะทาง 16.3 กม. จ่อชงผู้ว่า กทม. เคาะไฟเขียว ก่อนเสนอ มท.-ครม. ภายในปี 66 คาดคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนภายในปี 68 ก่อสร้าง & ทดสอบระบบ 4 ปี เปิดให้บริการในปี 73 เติมเต็มโครงข่ายการเดินทางระบบราง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (27 พ.ค.65) เวลา 09.00 น. ณ ห้องเมย์แฟร์ บอลรูม เมย์แฟร์ A ชั้น 11 โรงแรมเดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ นายชาตรี วัฒนเขจร รองปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาสรุปผลการศึกษา(สัมมนาปัจฉิมนิเทศโครงการ) โครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) สายสีเทา ช่วงวัชรพล–ทองหล่อ เพื่อนำเสนอผลการศึกษาข้อมูลโครงการด้านวิศวกรรม เศรษฐศาสตร์การเงินการลงทุน และด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนรูปแบบความเหมาะสมด้านการลงทุนโครงการ ที่มีความเหมาะสม ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ โดยมีหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการสัมมนา

สำหรับรายละเอียดผลการศึกษานั้น กล่าวคือ โครงการมีแนวเส้นทางโครงการเริ่มต้นจากบริเวณทางเชื่อมระหว่างถนนรามอินทรากับถนนประดิษฐ์มนูธรรม ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพูที่สถานีวัชรพล จากนั้นแนวเส้นทางจะมุ่งหน้าลงมาทางทิศใต้ตามถนนประดิษฐ์มนูธรรมฝั่งทิศทางขาออก โดยวางโครงสร้างบนทางเท้าและทางจักรยานข้ามถนนประเสริฐมนูกิจ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลที่สถานีคลองลำเจียก แนวเส้นทางยังคงมุ่งหน้าลงทางทิศใต้ ข้ามถนนลาดพร้าว

ทั้งนี้ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองที่สถานีฉลองรัชผ่านถนนประชาอุทิศ และข้ามทางพิเศษศรีรัชที่แยกพระราม 9- ประดิษฐ์มนูธรรม เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้มที่สถานีพระราม 9 จากนั้นแนวเส้นทางจะเลี้ยวที่แยกเอกมัยเหนือมาทางทิศตะวันตกเข้าสู่แนวเกาะกลางของถนนเพชรบุรีตัดใหม่ และเลี้ยวลงมาทางทิศใต้เข้าสู่ถนนทองหล่อ จนกระทั่งมาสิ้นสุดเส้นทางที่บริเวณ
ปากซอยสุขุมวิท 55 เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่สถานีทองหล่อ รวมระยะทางทั้งหมด 16.3 กิโลเมตร (กม.)

โดยมีสถานีจำนวน 15 สถานี ศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง อยู่ที่บริเวณสถานีวัชรพลและมีการออกแบบสถานีรถไฟฟ้า แบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้

ชานชาลากลาง บนโครงสร้างโครงข้อแข็ง เป็นสถานีที่ชานชาลาอยู่ตรงกลาง ขนาบด้วยรางรถไฟทั้ง 2 ข้าง ใช้กับสถานีต้นทางและปลายทาง จำนวน 2 สถานี
ชานชาลาข้าง รองรับด้วยเสาเดี่ยว เป็นสถานีที่ชานชาลาแยกเป็น 2 ข้าง ตรงกลางเป็นรางรถไฟ 2 รางที่อยู่ติดกันใช้กับสถานีที่อยู่ตามแนวถนนประดิษฐ์มนูธรรม จำนวน 10 สถานี
ชานชาลาข้าง บนโครงสร้างโครงข้อแข็ง เป็นสถานีที่ชานชาลาแยกเป็น 2 ข้าง แต่มีขนาดแคบกว่า 2 รูปแบบข้างต้น เพื่อให้สามารถตั้งบนถนนในซอยทองหล่อได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งปลูกสร้างโดยรอบ จำนวน 3 สถานี
สำหรับรูปแบบของการพัฒนาโครงการ มีรูปแบบการพัฒนาเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail)มีระบบควบคุมการเดินรถอัตโนมัติ ความเร็วเฉลี่ยในการเดินรถ 35 กิโลเมตร/ชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางไป–กลับ 62 นาที สามารถรองรับผู้โดยสารประมาณ 8,000-20,000 คน/ชั่วโมง โดยจากการคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสาร จะมีประชาชนเข้ามาใช้บริการในปี 2573 ซึ่งเป็นปีที่เปิดให้บริการ จำนวน 97,000 คน–เที่ยวต่อวัน



ทั้งนี้ โครงการได้ดำเนินการวิเคราะห์และศึกษารูปแบบการร่วมลงทุนและเอกชนที่เหมาะสมในการดำเนินงานโครงการ เพื่อเปิดโอกาสให้เอกชนเข้าร่วมดำเนินงาน โดยแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้

PPP Net Cost เอกชนเป็นผู้รับความเสี่ยงด้านรายได้ และเป็นผู้จ่ายค่าสัมปทานหรือส่วนแบ่งรายได้ให้แก่ภาครัฐ
PPP Gross Cost ภาครัฐเป็นผู้รับความเสี่ยงด้านรายได้ และเป็นผู้จ่ายค่าตอบแทนจากการให้บริการแก่เอกชน
PPP Modified Gross Cost ภาครัฐเป็นผู้รับความเสี่ยงด้านรายได้และเป็นผู้จ่ายค่าตอบแทน จ่ายค่าตอบแทนพิเศษ หากเอกชนดำเนินการดีกว่าเกณฑ์ที่กำหนดจากการให้บริการแก่เอกชน
อย่างไรก็ตาม ภายหลังการสัมมนาครั้งนี้ กรุงเทพมหานคร (กทม.) จะดำเนินการจัดทำรายงานสรุปผลการศึกษาและรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมของโครงการนี้ เพื่อนำเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาและให้ความเห็นชอบจากนั้นนำเสนอต่อกระทรวงมหาดไทย เพื่อขออนุมัติดำเนินโครงการจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ภายในปี 2566 ส่วนขั้นตอนการจัดทำเอกสารร่วมลงทุนและคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน คาดว่าจะใช้จะเริ่มได้ภายในปี 2567-2568จากนั้นขั้นตอนการก่อสร้างและทดสอบระบบใช้เวลาประมาณ 4 ปี ระหว่าง ปี 2569-2572 เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2573


ลุ้นผู้ว่าฯกทม.คนใหม่ ไฟเขียว สร้างโมโนเรลสายสีเทา 2.7 หมื่นล้าน
หน้าเศรษฐกิจ Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม 2565 เวลา 11:56 น.

กทม.เดินหน้าสรุปผลศึกษารถไฟฟ้าสายสีเทา เฟส 1 วงเงิน 2.7 หมื่นล้านบาท เล็งชงผู้ว่าฯกทม.คนใหม่-มหาดไทย เคาะสร้างรถไฟฟ้า ลุยเปิดประมูลปี 66 ดึงเอกชนร่วมทุน PPP เล็งตอกเสาเข็มปี 69 เปิดให้บริการปี 73 เปิดค่าโดยสารเริ่มต้น 14 บาท

นายชาตรี วัฒนเขจร รองปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยในฐานะประธานพิธีเปิดการสัมมนาสรุปผลการศึกษา (สัมมนาปัจฉิมนิเทศโครงการ) โครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) สายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ ระยะที่ 1 ระยะทางรวม 16.3 กม.วงเงิน 27,884 ล้านบาท แบ่งเป็นค่างานก่อสร้างงานโยธา 14,524 ล้านบาท ค่างานระบบรถไฟฟ้า 5,277 ล้านบาท ค่างานจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้า 3,300 ล้านบาท ค่าตอบแทนและชดเชยที่ดิน 2,052 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายอื่นๆ 2,732 ล้านบาท ว่า กทม.ได้รับทราบปัญหาปัจจุบันปัญหาการเดินทางของประชาชนการเดินทางยาวนานในแต่ละวัน ไม่สามารถกำหนดระยะเวลาการเดินทางได้ เนื่องจากการจราจรติดขัดบนท้องถนนขาดความสะดวกสบายและความปลอดภัยในการเดินทาง ซึ่งเป็นปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่กรุงเทพฯ แม้ว่าจะมีระบบขนส่งมวลชนระบบรางระบบหลักที่พัฒนาตามแผนแม่บทรองรับประชาชน แต่ยังไม่สามารถรองรับความต้องการได้เพียงพอ โดยเฉพาะระบบขนส่งระบบหลักที่ทำให้ระบบขนส่งรองไม่สามารถเข้าถึงได้ ทำให้กทม.ส่งเสริมให้มีการพัฒนาระบบขนส่งระบบรองเพื่อส่งเสริมระบบขนส่งทางรางระบบหลัก

นายประพาส เหลืองศิรินภา ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง กล่าวว่า จากการศึกษาข้อมูลโครงการฯ ที่ผ่านมาพบว่า ตลอดแนวเส้นทางโครงการฯมีการใช้ประโยชน์จากที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมที่มีความหนาแน่นจึงส่งผลให้การจราจรบนถนนมีความติดขัดในชั่วโมงเร่งด่วน เบื้องต้นกทม.ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาทบทวนการออกแบบรายละเอียดโครงการฯเพิ่มเติม เพื่อให้สอดคล้องกับพ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน ปี 2562 เพื่อประกอบการเสนอการขออนุมัติโครงการฯ

แหล่งข่าวจากบริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ กล่าวว่า หลังจากการสัมมนาแล้วเสร็จ กทม.จะดำเนินการจัดทำรายงานสรุปผลการศึกษาและรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมของโครงการนี้ภายในปี 2565 เพื่อนำเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาและให้ความเห็นชอบ จากนั้นนำเสนอต่อกระทรวงมหาดไทย เพื่อขออนุมัติดำเนินโครงการจากคณะรัฐมนตรีได้ภายในปี 2566 ส่วนขั้นตอนการจัดทำเอกสารร่วมลงทุนและคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน คาดว่าจะใช้จะเริ่มได้ภายในปี 2567 - 2568 จากนั้นขั้นตอนการก่อสร้างและทดสอบระบบใช้เวลาประมาณ 4 ปี ระหว่าง ปี 2569-2572 สามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2573


ทั้งนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา รวมระยะทาง 40 กม. แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ ระยะทาง 16.3 กม.
ระยะที่ 2 ช่วงพระราม 3-ท่าพระ ระยะทาง 11.5 กม. และ
ระยะที่ 3 ช่วงพระโขนง-พระราม 3 ระยะทาง 12.2 กม.

จากการศึกษาโครงการฯพบว่ารูปแบบการร่วมลงทุนและเอกชนที่เหมาะสมในการดำเนินงานโครงการ คือรูปแบบ PPP Net Cost โดยเอกชนเป็นผู้รับความเสี่ยงด้านรายได้ และเป็นผู้จ่ายค่าสัมปทานหรือส่วนแบ่งรายได้ มีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากมีความคุ้มค่าทางด้านการเงินสูงอยู่ที่ 12,286 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ผู้ร่วมลงทุนมีแรงจูงใจในการดึงผู้โดยสารมาใช้บริการ นอกจากนี้ยังพบว่าผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของโครงการฯ มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) อยู่ที่ 9,364 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนภายในทางเศรษฐศาสตร์ (EIRR) อยู่ที่ 20.03% อัตราผลประโยชน์ต่อค่าใช้จ่าย (B/C Ratio) อยู่ที่ 1.69

“กรณีที่ผู้ว่ากทม.มีแผนจะโอนรถไฟฟ้าให้กับรฟม.เป็นผู้ดูแลนั้น มองว่าโครงการนี้อยู่ในความรับผิดชอบของกทม.ตามแผน M-Map โดยมีการจ้างที่ปรึกษาดำเนินโครงการฯตั้งแต่ปี 2558 ซึ่งเป็นโครงการฯที่มีการเตรียมความพร้อมอยู่แล้ว ส่วนรูปแบบจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับนโยบายผู้ว่ากทม.หากสนใจโครงการฯก็สามารถนำโครงการไปใช้ได้ทันที รวมทั้งการศึกษาของโครงการฯจะไม่กระทบต่อรายได้ หากมีการโอนให้รฟม.เพราะเรามีการศึกษาโดยอ้างอิงตามมาตรฐานผลการศึกษาเดียวกันกับรฟม.อยู่แล้ว”

นอกจากนี้แนวเส้นทางโครงการเริ่มต้นจากบริเวณทางเชื่อมระหว่างถนนรามอินทรากับถนนประดิษฐ์มนูธรรม ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพูที่สถานีวัชรพล จากนั้นแนวเส้นทางจะมุ่งหน้าลงมาทางทิศใต้ตามถนนประดิษฐ์มนูธรรมฝั่งทิศทางขาออก โดยวางโครงสร้างบนทางเท้าและทางจักรยานข้ามถนนประเสริฐมนูกิจ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลที่สถานีคลองลำเจียก แนวเส้นทางยังคงมุ่งหน้าลงทางทิศใต้ ข้ามถนนลาดพร้าว เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองที่สถานีฉลองรัช ผ่านถนนประชาอุทิศ และข้ามทางพิเศษศรีรัชที่แยกพระราม 9- ประดิษฐ์มนูธรรม เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้มที่สถานีพระราม 9 จากนั้นแนวเส้นทางจะเลี้ยวที่แยกเอกมัยเหนือมาทางทิศตะวันตกเข้าสู่แนวเกาะกลางของถนนเพชรบุรีตัดใหม่ และเลี้ยวลงมาทางทิศใต้เข้าสู่ถนนทองหล่อ จนกระทั่งมาสิ้นสุดเส้นทางที่บริเวณปากซอยสุขุมวิท 55 เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่สถานีทองหล่อ

ส่วนศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง บริเวณสถานีวัชรพล พื้นที่ 17 ไร่ สามารถจอดขบวนรถได้ 16 ขบวน จำนวน 8 ราง ซึ่งมีการออกแบบสถานีรถไฟฟ้า แบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้ 1.ชานชาลากลาง บนโครงสร้างโครงข้อแข็ง เป็นสถานีที่ชานชาลาอยู่ตรงกลาง ขนาบด้วยรางรถไฟทั้ง 2 ข้าง ใช้กับสถานีต้นทางและปลายทาง จำนวน 2 สถานี 2.ชานชาลาข้าง รองรับด้วยเสาเดี่ยว เป็นสถานีที่ชานชาลาแยกเป็น 2 ข้าง ตรงกลางเป็นรางรถไฟ 2 รางที่อยู่ติดกัน ใช้กับสถานีที่อยู่ตามแนวถนนประดิษฐ์มนูธรรม จำนวน 10 สถานี 3.ชานชาลาข้าง บนโครงสร้างโครงข้อแข็ง เป็นสถานีที่ชานชาลาแยกเป็น 2 ข้าง แต่มีขนาดแคบกว่า 2 รูปแบบข้างต้น เพื่อให้สามารถตั้งบนถนนในซอยทองหล่อได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งปลูกสร้างโดยรอบ จำนวน 3 สถานี

สำหรับรูปแบบของการพัฒนาโครงการ มีรูปแบบการพัฒนาเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) มีระบบควบคุมการเดินรถอัตโนมัติ ความเร็วเฉลี่ยในการเดินรถ 35 กิโลเมตร/ชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางไป – กลับ 62 นาที สามารถรองรับผู้โดยสารประมาณ 8,000 - 20,000 คน/ชั่วโมง โดยจากการคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสาร จะมีประชาชนเข้ามาใช้บริการในปี 2573 ซึ่งเป็นปีที่เปิดให้บริการ จำนวน 97,000 คน-เที่ยวต่อวัน โดยมีอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 14 บาท คิดตามระยะทาง 2.50 บาทต่อกม.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44867
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/07/2022 6:32 pm    Post subject: Reply with quote

กทม.รื้อแผนขนส่งสาธารณะ คืน'สายสีเงิน-เทา'ให้รัฐบาล
Source - กรุงเทพธุรกิจ
Friday, July 01, 2022 04:23

เล็งขอเดินรถเมล์ เชื่อมเส้นทาง ขสมก.

กรุงเทพธุรกิจ "ชัชชาติ" แจง กมธ.คมนาคม ปมรถไฟฟ้าสีเขียวชงสภา กทม.ตัดสินใจ เนื่องจากหนี้จำนวนมาก นัดถกประธานบอร์ดกรุงเทพธนาคม 2 ก.ค.นี้ ปมราคา เล็งโอน "สายสีเทา-สายสีเงิน" ให้รัฐบาลลงทุน เหตุ กทม.ไม่มีผู้เชี่ยวชาญ เตรียมเพิ่มรถเมล์ เสริม ขสมก.

วานนี้ (30 มิ.ย.) ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) คมนาคม สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายโสภณ ซารัมย์ ส.ส.บุรีรัมย์ พรรคภูมิใจไทย (ภท.) เป็นประธาน กมธ.เชิญนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ชี้แจง ระบบขนส่งและการจัดการคมนาคม

นายชัชชาติ ชี้แจงว่า กทม.มีหลายหน่วยงานที่ต้องดูแลเรื่องคมนาคม และการจราจรทางถนน โดย กทม.รับผิดชอบ เพียงแค่ฟุตบาทเป็นหลัก ส่วนไฟจราจรเป็น หน้าที่ของตำรวจจราจร ส่วนถนนเส้นหลัก เป็นหน้าที่ของกรมทางหลวงดูแล ส่วนคลอง กรมเจ้าท่าดูแล ส่วนรถไฟฟ้า กทม.ดูแลแค่สายเดียว คือ สายสีเขียวเพราะเป็นสายหลัก ส่วนสายอื่น 7-8 สาย และแอร์พอร์ตลิงก์ กทม.ไม่ได้ดูแล ซึ่งนโยบายของ กทม.คือ เป็นผู้ประสานงาน เช่น การจราจรทางถนน และได้ไปหารือกับตำรวจ เพราะปัจจุบันตำรวจเป็นผู้ควบคุมไฟจราจร แต่ใช้ระบบแมนนวล ต่างคนต่างดู แต่ทรัพยากรเรามี จำกัดจึงต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย

นายชัชชาติ กล่าวว่า กทม.กำลังพิจารณาเดินรถเมล์บางจุดเสริมกับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เพราะขณะนี้ใบอนุญาตอยู่ที่กรมขนส่งทางบก ดังนั้น กทม.ขออนุญาตเดินรถในบางเส้นทางได้ ซึ่งเวลานี้ บางเส้นทาง ขสมก.ขาดระยะ รถของ กทม.จะเข้าไปเสริม ซึ่งอาจจะเลือกเส้นทางที่มีความสอดคล้องกับรถไฟฟ้า รวมทั้งเสริมรถให้กับคนพิการที่มีการร้องเรียนว่ารถไม่พอด้วย

อย่างไรก็ตาม ปัญหาหนักอกที่สุด คือ รถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยเฉพาะที่ กทม.อยู่ในแผนคือสายสีเทา จากเลียบด่วนรามอินทราไปพระราม 3 และสายสีเงิน บางนา-สุวรรณภูมิ ซึ่งแนวคิดของตน ที่ยังไม่ได้นำเข้าหารือในสภา กทม. เราคิดว่าในโครงการขนาดใหญ่ขนาดนี้ จะให้รัฐบาลเป็นผู้ลงทุน เพราะกทม. ไม่มีผู้เชี่ยวชาญ

ส่วนเรื่องตั๋วร่วมเป็นตั๋วเดียว แต่ราคาเดียวกัน โดยมีผู้รับผิดชอบคนเดียว ซึ่งจะเป็นผู้เคาะราคา โดยจะเจรจาให้รัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบร่วมกัน

ส่วนสายสีเขียวที่ยังมีปัญหาค้างอยู่ คงมีปัญหาต่อเนื่องเยอะ เพราะสัญญาที่ทำผูกพันเยอะ เพราะสัมปทานจะหมดสัญญาปี 2572 และหลังจากนั้นจะมีการประมูลใหม่จะใช้ระบบอย่างไร จะเอาไปรวมแล้วคิดระบบตั๋วร่วมกัน แต่บังเอิญว่า ปี 2572-2585 เขาเซ็นสัญญาล่วงหน้าไปแล้วในการจ้างเอกชนเดินรถ ซึ่งเป็นสัญญาผูกพันกับเอกชน ซึ่งต้องดูเงื่อนไขว่า เราจะทำอะไร ตามที่ควรจะเป็น ไม่ได้ และเรามีภาระเรื่องหนี้ที่รัฐบาลลงทุนไปแล้วโอนให้ กทม. รวมกับหนี้ที่ไปจ้างเดินรถแล้วยังไม่ได้จ่ายเขาอีก 1 แสนล้านบาท สุดท้ายต้องมาดูว่าจะจ่ายหนี้อย่างไร ซึ่งเรื่อง เหล่านี้เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมาแล้ว เราก็ต้องดูแลต่อไป

"หลายเรื่องที่เกิดขึ้นมาก่อนอย่างรถไฟฟ้าสายสีเขียว เราตัดสินใจเองไม่ได้ เพราะเกิดภาระหนี้จำนวนมาก เราจึงต้องเอาเข้าสู่สภา กทม. เพื่อให้ช่วยตัดสินใจ" นายชัชชาติ กล่าว
นายชัชชาติ ยังกล่าวถึงข้อเสนอขอให้ เก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าในเพดานไม่เกิน 59 บาทนั้น รถไฟฟ้าแบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนขยายที่ 1 เราเก็บค่าโดยสาร 15 บาท ส่วนไข่แดงเก็บค่าโดยสาร 44 บาท แต่ส่วนขยายที่ 2 ไม่เคยเก็บเลย แต่ไม่ได้ฟรีเนื่องจาก กทม.จ้างเอกชนเดินรถ ซึ่งสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) จึงเสนอให้ขยายเพดานเป็น ไม่เกิน 59 บาท ในทั้ง 3 ส่วน

ขณะที่สภาองค์กรของผู้บริโภค ออกมาระบุมีประชาชนเพียง 3% ที่ใช้บริการรถไฟฟ้า หากเอาภาษีประชาชนไปใช้จ่ายส่วนนี้อาจไม่ค่อยแฟร์นั้น ยืนยันว่าแนวคิดการเก็บค่าโดยสารเพดานไม่เกิน 59 บาท เป็นการแก้ปัญหาระยะสั้นของส่วนขยายที่ 2 เท่านั้น ดังนั้นข้อเสนอของสภาองค์กรของ ผู้บริโภค ที่ให้เก็บค่าโดยสารเพดานไม่เกิน 44 บาท เป็นไปได้ยาก เพราะแค่ส่วนไข่แดงเก็บ 44 บาท ก็ขาดทุนแล้ว

นายชัชชาติ ระบุว่า ปัญหาค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว สัปดาห์หน้าน่าจะมีความคืบหน้า โดยจะพบนายธงทอง จันทรางศุ ประธานบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) วันที่ 2 ก.ค.นี้

ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 1 ก.ค. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 28, 29, 30, 31, 32, 33  Next
Page 29 of 33

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©