RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13272855
ทั้งหมด:13584151
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 135, 136, 137 ... 155, 156, 157  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 16/05/2022 12:20 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
กฎเหล็กบีทีเอสสกัดโควิดเปิดเทอม
Source - เดลินิวส์
Monday, May 16, 2022 05:26

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 17 พ.ค. 2565 (กรอบบ่าย)


รถไฟฟ้าบีทีเอส-สายสีทอง พร้อมรับเปิดเทอม เข้ม 8 มาตรการติดเครื่องฟอกอากาศช่วยยับยั้งเชื้อโรค
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอาทิตย์ ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 10:44 น.
ปรับปรุง: วันอาทิตย์ ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 10:44 น.


บีทีเอส สายสีทอง และบีอาร์ที เข้ม 8 มาตรการป้องกัน COVID – 19 ต้อนรับเปิดเทอม พร้อม นำร่องติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ ช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสถึง 99.9% ภายในขบวนรถไฟฟ้า

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส กล่าวว่า วันที่ 17 พฤษภาคมนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดให้เป็นวันเปิดภาคเรียน แบบการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ทั้งนี้ บริษัทฯ ในฐานะผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าได้เตรียมความพร้อมเพื่อต้อนรับการเปิดภาคเรียนประจำปี 2565 จัดเข้ม 8 มาตรการ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโรค COVID – 19 ในรถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าสายสีทอง และรถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที อย่างเคร่งครัด ดังนี้

1. ผู้โดยสารทุกท่านต้องสวมหน้ากากอนามัย / หน้ากากผ้าทุกครั้งที่ใช้บริการหากฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตาม บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ดำเนินการตามมาตรการ พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558

2. ตรวจคัดกรองอุณหภูมิก่อนเข้าใช้บริการ อุณหภูมิต้องไม่เกิน 37.5 องศาเซลเซียส และคัดกรองสุขภาพของเจ้าหน้าที่ทุกครั้งก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่

3. จัดจุดบริการแอลกอฮอล์ ทุกทางเข้า-ออกสถานี จัดเจ้าหน้าที่ให้บริการแอลกอฮอล์เคลื่อนที่เพิ่มเติม บนชั้นชานชาลาสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส

4. เพิ่มความถี่ ลดการแออัด โดยจัดขบวนรถไฟฟ้าออกให้บริการเต็มอัตราทั้งสิ้น 98 ขบวน

5. ขอความร่วมมืองดการพูดคุยภายในขบวนรถไฟฟ้า

6. ฉีดพ่น และเช็ดทำความสะอาดจุดสัมผัสร่วมภายในสถานี ขบวนรถไฟฟ้า ตลอดทั้งวัน

7. เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับการฉีดวัคซีน COVID – 19 ตามเกณฑ์ อย่างน้อย 3 เข็ม

8. ขอความร่วมมือผู้โดยสารทุกท่านลงทะเบียน “ไทยชนะ” เมื่อเข้า และออกจากขบวนรถไฟฟ้า ด้วยการพิมพ์หมายเลขรถไฟฟ้า 4 หลัก ลงใน Application ‘BTS SkyTrain’ หรือ Line Official : @btsskytrain

ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้โดยสารที่ใช้บริการอย่างมาก เพื่อต้อนรับการเปิดเทอม และการเปิดประเทศ นอกจากมาตรการ ต่าง ๆ ที่บริษัทฯ ได้ให้ความร่วมมือตามนโยบายจากทางภาครัฐแล้วนั้น บริษัทฯ ได้ร่วมกับ บริษัท ไดกิ้น อินดัสทรีส์ (ประเทศไทย) จำกัด ยกระดับสร้างความมั่นใจในการเดินทาง โดยนำร่องติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ “ไดกิ้นสตรีมเมอร์” ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่อย่างมีประสิทธิภาพสูงถึง 99.9% ภายในขบวนรถไฟฟ้า ส่งมอบอากาศสะอาดท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 เพื่อสร้างความรู้สึกอุ่นใจ ความมั่นใจ และปลอดภัยให้แก่ผู้โดยสารทุกท่าน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 18/05/2022 2:17 pm    Post subject: Reply with quote

ช็อก ! ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ลดกระหน่ำซัมเมอร์เซล
ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ - Dr.Samart Ratchapolsitte
วันพุธ ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 08:43 น.

เป็นที่ประหลาดใจไปตามๆ กัน เมื่อผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. บางคนหาเสียงว่าจะไม่ต่อสัญญาให้บีทีเอส แต่จะลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวลงเหลือต่ำมาก เช่น 20 บาท ตลอดสาย หรือ 20-25 บาท เป็นต้น มีผู้สนใจหลายคนถามผมว่าจะเป็นไปได้หรือ ?
1. ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายไหนแพงที่สุด และสายไหนถูกที่สุด ?
ผมได้เปรียบเทียบค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายต่างๆ พบว่า ค่าโดยสารต่อระยะทาง 1 กิโลเมตร ของสายสีม่วงแพงที่สุด และของสายสีแดงถูกที่สุด ตามด้วยของสายสีเขียวถูกรองลงมา โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.1 สายสีเขียว
หากมีการต่อสัญญาให้ผู้รับสัมปทานคือบีทีเอส ค่าโดยสารจะอยู่ระหว่าง 16-65 บาท ใช้น้อยจ่ายน้อย ใช้มากจ่ายมาก แต่ไม่เกิน 65 บาท ซึ่งจะเดินทางได้ไกลสุดคือระหว่างคูคต-เคหะสมุทรปราการ ระยะทาง 53 กิโลเมตร ดังนั้น ค่าโดยสารต่อกิโลเมตรจะเท่ากับ 1.23 บาท (65/53)
รถไฟฟ้าสายสีเขียวเป็นการลงทุนทั้งหมดโดยบีทีเอส
1.2 สายสีน้ำเงิน
ค่าโดยสาร 17-42 บาท หรือสูงสุดไม่เกิน 42 บาท ซึ่งจะเดินทางได้ไกลสุดคือระหว่างสุทธิสาร-หลักสอง ระยะทาง 26 กิโลเมตร ดังนั้น ค่าโดยสารต่อกิโลเมตรจะเท่ากับ 1.62 บาท (42/26)
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเป็นการลงทุนโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ประมาณ 80% และผู้รับสัมปทานคือบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็ม ประมาณ 20%
1.3 สายสีม่วง
ค่าโดยสาร 17-42 บาท หรือสูงสุดไม่เกิน 42 บาท ซึ่งจะเดินทางได้ไกลสุดคือระหว่างเตาปูน-บางใหญ่ (คลองบางไผ่) ระยะทาง 23 กิโลเมตร ดังนั้น ค่าโดยสารต่อกิโลเมตรจะเท่ากับ 1.83 บาท (42/23)
รถไฟฟ้าสายสีม่วงเป็นการลงทุนทั้งหมดโดย รฟม.
1.4 รถไฟฟ้าสายสีแดง
ค่าโดยสาร 12-42 บาท หรือสูงสุดไม่เกิน 42 บาท ซึ่งจะเดินทางได้ไกลสุดคือระหว่างรังสิต-ตลิ่งชัน ระยะทาง 41 กิโลเมตร ดังนั้น ค่าโดยสารต่อกิโลเมตรจะเท่ากับ 1.02 บาท (42/41)
รถไฟฟ้าสายสีแดงเป็นการลงทุนทั้งหมดโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)
1.5 รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์
ค่าโดยสาร 15-45 บาท หรือสูงสุดไม่เกิน 45 บาท ซึ่งจะเดินทางได้ไกลสุดคือระหว่างพญาไท-สนามบินสุวรรณภูมิ ระยะทาง 28.5 กิโลเมตร ดังนั้น ค่าโดยสารต่อกิโลเมตรจะเท่ากับ 1.58 บาท (45/28.5)
รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์เป็นการลงทุนทั้งหมดโดย รฟท.
2. ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่เสนอโดยผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. บางคน ถูกที่สุด !
ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่เสนอโดยผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. บางคน ซึ่งหาเสียงว่าจะไม่ต่อสัญญาให้บีทีเอส แต่จะลดค่าโดยสารลงเหลือต่ำมาก เช่น 20 บาท ตลอดสาย หรือ 20-25 บาท เป็นต้น ค่าโดยสาร 20 บาท ตลอดสาย หรือสูงสุด 25 บาท ผู้โดยสารสามารถเดินทางได้ไกลสุดคือระหว่างคูคต-เคหะสมุทรปราการ ระยะทาง 53 กิโลเมตร ในกรณีค่าโดยสาร 20 บาท ตลอดสายนั้น หากคิดเป็นค่าโดยสารต่อระยะทาง 1 กิโลเมตร จะได้เท่ากับ 0.38 บาท (20/53) ถือว่าเป็นค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่ถูกที่สุด !
3. สรุป
ผมอยากให้ท่านผู้อ่านพิจารณากันเอาเองว่า ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. บางคนที่จะไม่ต่อสัญญาให้บีทีเอส แต่จะลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวลงเหลือต่ำมากนั้น จะเป็นไปได้หรือไม่ ? อย่างไร?
ผมเขียนบทความนี้ไม่ได้มุ่งหวังที่จะดิสเครดิตผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. คนใดทั้งสิ้น ในทางกลับกัน หากผู้เสนอได้รับเลือกเป็นผู้ว่าฯ กทม. ผมขอเป็นกำลังใจให้ท่านสามารถลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวได้สำเร็จ เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้โดยสารทุกคน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 23/05/2022 4:41 am    Post subject: Reply with quote

ทำไมต้องเลือกยุทธศาสตร์พระราชทาน “ส่งเสริมให้คนดีปกครองบ้านเมือง” และ “ต้องหยุดการทุจริตให้สำเร็จ” จึงจะแก้ปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียวได้
ณ บ้านพระอาทิตย์
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันศุกร์ ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 17:13 น.
ปรับปรุง: วันศุกร์ ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 17:13 น.





ท่ามกลางกระแสความพยายามให้รณรงค์การเลือกตั้งเชิงยุทธศาสตร์ ให้เลือกพวกตนเอง เพื่อต่อต้านฝ่ายตรงกันข้าม โดยที่ไม่สนใจว่าพวกตัวเองนั้นจะทุจริตและโกงมาแล้วมากเพียงใด

แต่ในความเป็นจริงแล้ว พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ได้เคยทรงมีพระบรมราโชวาทหลายครั้งในการส่งเสริมให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และในขณะเดียวกันได้เคยทรงแช่งคนที่ทุจริต และทรงต้องการให้หยุดการทุจริตให้สำเร็จด้วย

ขออัญเชิญพระบรมราโชวาทในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2512 ความตอนหนึ่งว่า :

“…ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครที่จะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้หมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุข เรียบร้อยจึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้…”

แล้วคนดีจะเป็นอย่างไร มีนิยามอย่างไรนั้น พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทานไว้ในหลายโอกาส เกี่ยวกับ ความซื่อสัตย์ สุจริต และการหยุดการทุจริตนั้น เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตำแหน่ง “ผู้ว่าราชการจังหวัด” นั้น ได้เคยทรงมีพระราชดำรัสแก่คณะผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ ในโอกาสเข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณ เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2546 ความตอนหนึ่งว่า

“ถ้าทุจริตแม้แต่นิดเดียว ก็ขอแช่งให้มีอันเป็นไป พูดอย่างนี้หยาบคาย แต่ว่าขอให้มีอันเป็นไป แต่ถ้าไม่ทุจริต สุจริตและมีความตั้งใจมุ่งมั่น สร้างความเจริญ ขอให้ต่ออายุได้ถึง 100 ปี ส่วนคนไหนที่อายุมากแล้ว ขอให้แข็งแรง ความสุจริตจะทำให้ประเทศไทยรอดพ้นอันตราย…”

นับเป็นครั้งแรกในรัชกาลที่ 9 ที่ทรงแช่งการทุจริตเอาไว้ในการพระราชดำรัสแก่คณะผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ และทรงคาดหวังที่จะให้การหยุดการทุจริตให้สำเร็จให้ได้ โดยทรงมีพระราชดำรัสในวันเดียวกันนี้ความอีกตอนหนึ่งว่า

“…ภายใน 10 ปี ประเทศไทยน่าจะเจริญ ข้อสำคัญคือ ต้องหยุดการทุจริตให้สำเร็จและไม่ทุจริตเสียเอง…”

แต่ประเทศไทยแม้จะผ่านมาเกือบ 19 ปี ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ได้ทรงมีพระราชดำรัสในครั้งนั้น ประเทศไทยก็ยังไม่สามารถหยุดการทุจริตไปได้เลย ไม่ว่าคนที่เข้าสู่อำนาจนั้นจะมาจากการเลือกตั้งหรือมาจากอำนาจของรัฐประหารก็ตาม

โดยกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเมืองหลวง ก็กลับเต็มไปด้วยปัญหาการทุจริต ฉ้อราษฎร์บังหลวงเพิ่มมากขึ้น โดย ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) ได้รายงงานรูปบบของการทุจริตในกรุงเทพมหานครเอาไวัตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2565 ความว่า

“คอร์รัปชัน 4 ประเภท ที่คน กทม. ต้องเผชิญ แต่ไม่รู้จะทำอย่างไรได้..

1. รีดไถประชาชน พ่อค้าแม่ค้า นักธุรกิจ เช่น รีดไถค่าออกใบอนุญาตอนุมัติในการสร้างและต่อเติมบ้าน - อาคาร – ร้านค้า - อาคารพาณิชย์ - หมู่บ้านจัดสรร - คอนโด

2. เรียกรับส่วยสินบนจากผู้ประกอบการแลกกับการทำผิดหรือจ่ายภาษีเข้ารัฐน้อยลง เช่น เรียกเงินใต้โต๊ะจากคนค้าขายแลกกับการจ่ายภาษีป้าย ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต่ำกว่าเป็นจริง

3. โกงเงินหลวงในการจัดซื้อจัดจ้างและการให้สิทธิ์ สัมปทานแก่เอกชน เช่น คดีรถและเรือดับเพลิง กรณีอุโมงค์ไฟลานคนเมือง 39 ล้านบาท กรณีอื้อฉาว เช่น สัมปทานรถไฟฟ้า ค่าดูแลสวนสาธารณะ การจัดอีเว้นท์โดยส่วนกลางหรือสำนักงานเขต

4. ใช้อำนาจในทางมิชอบ เช่น กรณีปล่อยให้มีตลาดนัดเถื่อน เช่น กรณีป้าทุบรถที่เขตสวนหลวง คดีลักลอบทิ้งขยะที่ศูนย์กำจัดขยะหนองแขม กรณีปล่อยให้เอกชนสร้างคอนโดหรูแต่เปิดใช้ไม่ได้ ที่ซอยอโศกและซอยร่วมฤดี”

ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรทุจริตคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) ได้ยกตัวอย่างรูปธรรมที่เกิดขึ้นมาแล้ว เฉพาะช่วงปี พ.ศ. 2558-2564 (สมัย พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง เป็นผู้ว่าฯ กทม. และนายสกลธี ภัททิยกุล เป็นรองผู้ว่าฯ กทม.)เอาไว้หลายกรณี โดยตัวอย่างความตอนหนึ่งว่า

“6. สำนักการโยธาฯ ซื้อยางมะตอยเพื่อซ่อมผิวถนนราวปีละ 170 – 190 ล้านบาท ข้อมูลจากระบบ ACT ai ชี้ว่าคู่สัญญาบางรายน่าจะเป็นเพียงนายหน้า เพราะขาดคุณสมบัติเป็นผู้ผลิตหรือให้บริการด้านนี้ได้ เช่น ไม่มีโรงงาน ไม่มีสายการผลิตหรือแปรรูป โกดัง เครื่องจักรหนัก ฯลฯ

7. การจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ของโรงพยาบาล 11 แห่งและศูนย์บริการสาธารณะสุข 69 แห่ง ของ กทม. มักจัดซื้อเป็นรายการย่อยที่มูลค่ารวมต่อครั้งไม่สูงมาก จึงน่าแปลกใจว่าทำไมไม่ซื้อคราวละหลายรายการเพื่อให้ได้ราคาถูก

8. มีการเช่ารถขนขยะแบบผูกขาดต่อเนื่องนับสิบปี จากเอกชนที่เป็นนักการเมืองใหญ่

9. มีการจัดซื้อเครื่องดนตรีราคาแพงมูลค่ากว่า 500 ล้านบาท แจกจ่ายไปตามโรงเรียนแต่ขาดครูดนตรีเฉพาะทาง หลังจากนั้นก็ขายออกเป็นของใช้แล้วในราคาถูกมาก เช่น เปียโน

10. สองเมกกะโปรเจคอื้อฉาว จากความไม่โปร่งใส ปิดกั้นการตรวจสอบจากภาคประชาชนตาม พ.ร.บ. จัดซื้อฯ คือ โครงการลงทุนโรงกำจัดขยะและผลิตไฟฟ้าที่อ่อนนุช มูลค่า 1,046 ล้านบาท และที่หนองแขม มูลค่า 6,712 ล้านบาท (ยังไม่รวมรายได้จากค่ากระแสไฟฟ้าที่เกิดจากการเผาขยะ) เพราะจงใจถอนตัวจากข้อตกลงคุณธรรม ตาม พ.ร.บ. จัดซื้อฯ ในเดือนตุลาคม 2563”

คำถามมีอยู่ว่าการทุจริตดังที่กล่าวมาข้างต้น เราเคยเห็น พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง หรือ นายสกลธี ภัททิยกุล ซึ่งเป็นผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.นั้น เคยมีความกล้าหาญทำอะไรหรือส่งเสียงคัดค้านในยามที่มีอำนาจอยู่ในกรุงเทพมหานครหรือไม่ อย่างไร?

โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายเขียวเหนือ (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) และส่วนต่อขยายเขียวใต้ (แบริ่ง-สมุทรปราการ) ซึ่งเป็นเส้นทางการเดินรถที่แม้จะคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ แต่ก็ทุกรัฐบาลทราบดีว่าในทางธุรกิจจะไม่คุ้มค่าการก่อสร้าง ไม่คุ้มค่างานการติดตั้งระบบ และไม่คุ้มค่าทางธุรกิจในการเดินรถ

กรุงเทพมหานคร โดย บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด กลับปล่อยให้เอกชน คือ บีทีเอส มีการเดินรถ ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐหรือสภากรุงเทพมหานครให้เสร็จสิ้นเสียก่อนนั้น กระทำกันลงไปได้อย่างไร?

การกระทำดังกล่าวทำให้เกิดการก่อหนี้อันมหาศาลให้กับกรุงเทพมหานคร และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด และถูกใช้เป็นข้ออ้างในการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่จะหมดอายุสัญญาสัมปทานในปี พ.ศ. 2572 ให้ขยายอายุสัญญาสัมปทานไปอีก 30 ปี ถึงปี พ.ศ. 2602 ด้วยค่าโดยสาร 65 บาทตลอดสาย?

ทั้งๆ ที่รายงานงบประมาณปี งบการเงินการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวในปี 2562 ของ บีทีเอส ได้รายงานเอาไว้ในปี พ.ศ. 2562 ว่า

“จำนวนเที่ยวโดยสารทั้งสิ้นประมาณ 241 ล้านเที่ยว บีทีเอส โดยมีรายจ่ายที่อาจเกี่ยวข้องกับบริการ 3,777 ล้านบาท หรือต้นทุนเฉลี่ยต่อเที่ยวโดยสารเพียง 15.70 บาทต่อเที่ยว”

โดยเฉพาะต้องไม่ลืมว่าตลอดปี 2562 นั้น บีทีเอส ได้เดินรถส่วนต่อขยายเหนือและใต้แล้ว ก็ยังมีค่าใช้จ่ายในการเดินรถเพียงแค่ 15.70 บาทเท่านั้น

ตลกร้ายคือผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หลายคนเกี่ยวข้องกับซูเปอร์ดีลของรถไฟฟ้าสายสีเขียวในขณะนี้

แม้แต่พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคที่เคยส่ง ม.ร.ว.สุขุพันธุ์ บริพัตร เลือกตั้งจนเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ก็กลับนิ่งเงียบ กรณีที่ ม.ร.ว.สุขุพันธุ์ บริพัตร ลงนามในสัญญาติดตั้งระบบการเดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายเขียวเหนือและใต้มูลค่า 19,358 ล้านบาท และทำสัญญาจ้าง บีทีเอส เดินรถส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเชียวเขียวเหนือและใต้มูลค่ามากถึง 161,698 ล้านบาท ถึงปี พ.ศ. 2585 โดยสัญญาดังกล่าวได้ลงนามไปทั้งๆ ที่ไม่ได้มีการขออนุมัติจากสภากรุงเทพมหานครหรือรัฐบาลแต่ประการใด แปลว่าเดินรถเมื่อไหร่ ก็จะเกิดหนี้สินทันทีเท่านั้น

สัญญาที่ได้ลงนามโดย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ยังได้ทำให้เกิดสัญญาเขย่งเวลาทำให้ บีทีเอส ได้เปรียบเหนือคู่แข่งรายอื่น ใช่หรือไม่ เพราะสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียวเส้นทางหลักจะหมดอายุสัญญาสัมปทานปี 2572 ไม่ใช่ปี 2585 ก็ยังไม่พบว่าพรรคคประชาธิปัตย์จะแสดงท่าทีและความรับผิดชอบกรณีดังกล่าวแต่ประการใด

แต่พรรคประชาธิปัตย์ กลับส่ง ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เคยได้รับอำนาจจากคำสั่ง คสช.ที่ 3/2562 เป็น กรรมการ หรือประธานการเจรจากับ บีทีเอส และได้ผลการเจรจาให้ให้ต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าไปอีก 40 ปีจริงหรือไม่ และในเวลาต่อมากลับมีการโฆษณาหาเสียงให้กับ ดร.สุชัชวีร์ บนจอภาพของ บีทีเอสในแทบทุกสถานี เป็นผลประโยชน์ต่างตอบแทนหรือไม่ ปัจจุบันก็ยังไม่มีคำตอบนี้จาก ดร.สุชัชวีร์ แต่ประการใดจนถึงปัจจุบัน

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ปล่อยให้ บีทีเอส เดินรถสร้างปัญหาการขาดทุนและหนี้สินให้กับกรุงเทพมหานครทั้งๆ ที่ยังไม่ได้รับอนุมัติงบประมาณจากรัฐบาลหรือสภากรุงเทพมหานคร โดยที่กระทำไปนั้นก็เพื่อสนองตอบรัฐบาลที่จะพยายามให้ต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวด้วยค่าโดยสาร 65 บาทตลอดสายไปอีก 30 ปี ใช่หรือไม่ ก็ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนแต่ประการใด

เมื่อคณะรัฐมนตรียังไม่เห็นชอบในการต่ออายุสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงได้ออกประกาศราคารถไฟฟ้าสายสีเขียวสูงสุด 104 บาท แต่ต่อมาด้วยกระแสต่อต้านจึงได้ “เลื่อน” ประกาศดังกล่าวนั้น หมายความว่าถ้าคณะรัฐมนตรีไม่ยอมให้ บีทีเอส ต่อสัญญาสัมปทาน ประชาชนจะต้องเดือดร้อนด้วยค่าโดยสารสูงสุดถึง 104 บาทใช่หรือไม่?

เช่นเดียวกับนายสกลธี ภัททิยกุล ในช่วงที่มีอำนาจเป็น รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ก็ยังไม่เคยเห็นหนังสือหรือหลักฐานการแสดงกล้าหาญ แสดงความเห็นคัดค้านการกระทำของ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง แต่ประการใด แล้วเมื่อมีอำนาจจริงๆ ไปมากกว่านี้จะไปคัดค้านธงนำของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ได้อย่างไร? และจะหยุดการทุจริต ฉ้อราษฎร์บังหลวงได้อย่างไร?

เช่นเดียวกับ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ในสมัยที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ได้ดำเนินการให้ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) การก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ แบริ่ง-สมุทรปราการ และขอกู้เงินเพิ่มเพื่อก่อสร้างขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ จาก “หมอชิต-สะพานใหม่” ไปถึง “คูคต” เป็น “หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต” โดยไม่ได้นำเสนอการพิจารณาความรับผิดชอบในการเดินรถที่จะต้องขาดทุนว่ารัฐบาลจะต้องรับผิดชอบงบประมาณอย่างไร จนทำให้เกิดปัญหามาจนถึงวันนี้

X

ตลกร้ายยิ่งกว่าคือ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีสายพรรคภูมิใจไทย แม้ไม่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในกรุงเทพมหานครเลยแม้แต่คนเดียว แต่กลับออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านอย่างหนักและต่อเนื่อง จนคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังไม่สามารถต่ออายุสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ด้วยค่าโดยสารสูงสุดถึง 65 บาทตลอดสายไปอีก 30 ปีได้สำเร็จ

และการที่คณะรัฐมนตรียังไม่สามารถอนุมัติได้ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง กลับออกประกาศกรุงเทพมหานครให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวสูงสุดที่ 104 บาท

ภายใต้บริทบทการคัดค้านของกระทรวงคมนาคม นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม รักษาการอธิบดีกรมการขนส่งทางราง(ขร.) ได้แถลงข่าวเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 เปิดประเด็นการศึกษาดังความตอนหนึ่งปรากฏว่า

“ประเด็นการต่ออายุสัมปทานกับเอกชน และการบริหารงานเองของ กทม.เมื่อพิจารณาจากรายงานการศึกษาของ กทม.ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว บทที่ 5 ข้อที่ 5.2 เรื่องการวิเคราะห์ด้านการเงินของโครงการ พบว่า

กรณีที่รัฐดำเนินการเองระหว่างปี 2562 – 2602 จะมีกระแสเงินสดรวม 1,577,141 ล้านบาท มีรายจ่าย 1,109,312 ล้านบาท มีส่วนต่างรายรับรายจ่ายรวม 467,822 ล้านบาท

ขณะที่การให้สัมปทานกับเอกชน รายได้ที่ กทม.จะได้รับรวม 230,450 ล้านบาท รายจ่ายของ กทม.อยู่ที่ 197,760 ล้านบาท คิดเป็นส่วนต่างรายรับกับรายจ่าย 32,690 ล้านบาท

จะเห็นได้ว่าหากรัฐดำเนินการเองโดยไม่ให้สัมปทานจะมีกระแสเงินสดจนถึงปี 2602 มากกว่าการให้สัมปทานมากถึง 435,132 ล้านบาท”

ซึ่งหมายความว่าถ้ารัฐทำเองเม็ดเงินระหว่าง 435,132 ล้านบาท นั้นมากกว่าให้บีทีเอสต่อสัมปทานไปอีก 30 ปี รัฐจะได้เพียง 32,690 ล้านบาท จะไม่รู้กันเชียวหรอกหรือว่าส่วนต่างมันมากขนาดไหน?



ซึ่งต่อให้มีการอ้างหนี้สินถึง 1 แสนล้านบาท ก็คงจะไม่คุ้มค่าถ้าจะมีการขยายสัญญาสัมปทานไปอีก 30 ปีใช่หรือไม่ เพราะรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายอีกกว่า 435,132 ล้านบาทนั้น ชัดเจนในตัวเองอยู่แล้วว่า จะสามารถคืนหนี้ได้ทั้งหมดอยู่แล้วถ้าไม่ต่อสัญญาสัมปทาน ดังที่พยายามจะเสนอเข้าคณะรัฐมนตรีอยู่ในขณะนี้

สิ่งที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นก็คือ การแอบอ้างเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่กลับสนับสนุนให้เทคะแนนให้คนที่โกงบ้านกินเมืองไปเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต่อไป เพราะการกระทำเช่นนั้นนอกจากจะเป็นการกระทำที่ตรงกันข้ามกับกระแสพระราชดำรัสแล้ว ยังจะเป็นการทำร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์อีกด้วย

ดังนั้นใครคนอื่นจะมาอ้างโพล (ซึ่งเป็นเพียงการสำรวจช่วงเวลาขณะหนึ่ง ของประชากรกลุ่มหนึ่ง ที่ไม่ใช่วันหย่อนบัตร) เพื่อหลอกให้ประชาชนเลือกคนทุจริตไปปกครองบ้านเมืองนั้น ย่อมเป็นการฝ่าฝืนกระแสพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทอย่างแน่นอน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระแสพระราชดำรัสผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ ในโอกาสเข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณ เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๔๖ ความตอนหนึ่งที่สำคัญว่า “ต้องหยุดการทุจริตให้สำเร็จ” ภายในท 10 ปีประเทศไทยน่าจะเจริญ

ยุทธศาสตร์ที่คนกรุงเทพที่ถูกต้องคือ พร้อมใจกัน “ส่งเสริมให้คนดีปกครองบ้านเมือง” และ “ต้องหยุดการทุจริตให้สำเร็จ”เท่านั้นที่จะพากรุงเทพมหานครให้เจริญก้าวหน้าและปลอดภัย ไม่เลวร้ายและโกงบ้านกินเมืองเหมือนช่วงเวลาที่ผ่านมา เราจึงจะแก้ปัญหารรถไฟฟ้าได้

ด้วยความปรารถนาดี
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 24/05/2022 9:19 pm    Post subject: Reply with quote

ศักดิ์สยาม เผยปมรถไฟสายสีเขียว ต้องยึดกฎหมาย ระวังจะเป็นค่าโง่
การเมือง
ข่าวสด
วันอังคาร ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 17:44 น.

ศักดิ์สยาม ภูมิใจไทย เตือน “ชัชชาติ” ระวังเสียค่าโง่ สัมปทานสายสีเขียว
ข่าวการเมือง
วันอังคาร ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 15:37 น.

“ศักดิ์สยาม” แจงยึดข้อ กม.สายสีเขียว หลังได้ผู้ว่าฯ กทม.ใหม่ อย่าพูดอะไรล่วงหน้า รายละเอียดเยอะ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 17:26 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 17:26 น.

รมว.คมนาคม เผย แนวทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว หลังได้ผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่ ชี้ต้องยึดข้อกฎหมาย และอย่าไปพูดอะไรล่วงหน้า รายละเอียดเยอะ

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงนโยบายของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ศักดิ์สยาม เตือนชัชชาติ ทุกอย่างมีสัญญา ระวังจะเสียค่าโง่ ปมสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว
ศักดิ์สยาม เผยปมรถไฟสายสีเขียว ต้องยึดหลักกฎหมาย ตามมติครม. ย้ำรอชัชชาติรับตำแหน่งก่อน ต้องดูสัญญาให้ว่าทำได้หรือไม่ ไม่งั้นจะเป็นค่าโง่ได้


วันที่ 24 พ.ค.2565 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ให้สัมภาษณ์ถึงแนวทางการทำงานร่วมกับนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่ผู้ว่าฯ กทม. ประเด็นรถไฟฟ้าสายสีเขียว ว่า ให้ปฏิบัติถูกต้องตามระเบียบข้อกฎหมาย เรายืนยันหลักการนี้ ส่วนเรื่องการรื้อสัญญานั้น ตนไม่ทราบ เรื่องนี้กทม.ต้องไปดู กระทรวงคมนาคมบอกไปแล้วว่าใจความคืออะไร ให้ปฏิบัติถูกต้องตามมติครม.


ทั้งนี้ขอให้ดูการปฏิบัติงานท่านชัชชาติก่อน อย่าไปพูดอะไรล่วงหน้าเลย เพราะมีรายละเอียดเยอะ หลังนักข่าวถามเรื่องการอยากให้รถไฟสายสีเขียวจะโอนไปเป็นของรัฐบาลได้หรือไม่ โดยทุกอย่างอยู่ที่ผลการศึกษาหลักการ


ทำอะไรแล้วประชาชนได้ประโยชน์สูงสุดนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่ทุกอย่างต้องอยู่ภายใต้กฎหมายและสัญญา การที่อยู่ๆ จะไปลดอะไรต่างๆ นั้น ต้องไปดูด้วยว่าสัญญาสามารถทำได้หรือไม่ ระวังจะเป็นค่าโง่ อย่างไรก็ตามคงต้องขอให้นายชัชชาติ รับตำแหน่งอย่างเป็นทางการก่อน อย่าเพิ่งถามอะไรล่วงหน้า


Last edited by Wisarut on 26/05/2022 12:13 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 24/05/2022 11:57 pm    Post subject: Reply with quote

"ชัชชาติ" ไม่เห็นด้วยต่อสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียว 40 ปี
วันอังคาร ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 18:03 น.


"ชัชชาติ" ว่าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ลงพื้นที่สำรวจโครงการก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดแยกรัชดา-ราชพฤกษ์ และยังชี้แจงการคัดค้านสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวแบบผูกขาด เชื่อไม่เป็นธรรม

วันนี้ (24 พ.ค.2565) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพ พร้อมด้วยว่าที่ ส.ก.เพื่อไทย และ ว่าที่ ส.ก.พรรคประชาธิปัตย์ เดินทางมาตรวจสอบโครงการก่อสร้างอุโมงค์ทางรอดแยกรัชดา - ราชพฤกษ์ เขตธนบุรี ซึ่งเป็น 1 ใน 14 โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของกรุงเทพมหานครที่ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ ตามสัญญาต้องเสร็จตั้งแต่ปี 2564 แต่กลับล่าช้าออกไปอย่างไม่มีกำหนดกว่า 600 วัน เพราะมีการย้ายท่อประปาและสายไฟฟ้าลงดิน มีการขยายสัญญาเพราะโควิด -19 แต่ก่อนก่อสร้างกลับไม่คืบหน้าจึงเตรียมตรวจสอบว่าเอื้อประโยชน์กับใครหรือไม่ เหตุใดไม่คืนพื้นผิวจราจร




นายชัชชาติ ยังกล่าวว่า หนึ่งในนโยบายเพื่อนชัชชาติจะไม่ต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว 40 ปี กับ BTS โดยระบุว่า อยากให้มีการแข่งขันราคาถึงจะมีความเป็นธรรม อยากให้ทำตามระบบ บังคับใช้ พ.ร.บ.ร่วมทุน มีการตั้งคณะกรรมการ มาตรวจสอบ จึงต้องคิดให้รอบคอบหลังจากนี้จะทำหนังสือชี้แจงเข้าไปยังรัฐบาล เพราะหากมี มติ ครม.ออกไปแล้วจะไม่สามารถแก้ไขอะไรได้

“แม้ใน ครม.ยังเห็นแย้งกันเลย เพราะฉะนั้นจึงไม่ผิดที่จะขอดูรายละเอียดก่อน ซึ่งมันเป็นเรื่องของเหตุผลไม่ใช่อารมณ์ความรู้สึก ซึ่งเรื่องนี้มี 3 หลักคือ เรื่องหนี้ สัญญาเดินรถ และการต่อสัญญาไปอีกหลายสิบปี โดยไม่ผ่าน พ.ร.บ.ร่วมทุน”
ส่วนการเปิดตัวทีมบริหารกรุงเทพมหานครพร้อมกับรองผู้ว่าฯ ทั้ง 4 คน นายชัชชาติ ยืนยันว่า พร้อมทำงานทันทีหาก กกต.รับรองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ

ขณะที่ ทางฝั่งของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ส่งสัญญาณชัดเจนพร้อมจะพูดคุยกับ นายชัชชาติ ถึงปัญหาการต่อสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว พร้อมย้ำว่าปัญหานี้ต้องเร่งแก้ไขไม่ให้กระทบประชาชน ยึดหลักความถูกต้องของกฎหมาย และยืนยันไม่ได้เป็นศัตรูกับใคร


ตอบชัด! ค่าโดยสาร BTS ในวาระ ผู้ว่าฯ กทม. ชื่อ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์
https://www.facebook.com/watch/?v=4872324952879374
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 25/05/2022 4:34 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
"ชัชชาติ" ไม่เห็นด้วยต่อสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียว 40 ปี
วันอังคาร ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 18:03 น.


ตอบชัด! ค่าโดยสาร BTS ในวาระ ผู้ว่าฯ กทม. ชื่อ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์
https://www.facebook.com/watch/?v=4872324952879374



ประยุทธ์ เปิดทาง ชัชชาติ ถกมหาดไทย-BTS ปมสัมปทานสายสีเขียว
การเมือง
วันอังคาร ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 15:14 น.

นายกฯ ชี้ เปลี่ยนผู้ว่าฯ กทม.ไม่กระทบปมรถไฟฟ้าสายสีเขียว ฝากแก้ปัญหาให้เดินหน้าได้ แต่ต้องทำให้ถูกต้อง ทุกฝ่ายต้องคุยกัน ยิ่งช้าประชาชนเสียประโยชน์

วันที่ 24 พฤษภาคม 2565 ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงความคืบหน้าเรื่องการต่อสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวว่า ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา คงต้องคุยกันต่อ ผมถามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ซึ่งอยู่ในขั้นตอนของคณะกรรมการพิจารณากัน อีกทั้ง วันนี้เปลี่ยนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่ ซึ่งเป็นภาระที่ต่อเนื่อง


“ฝากช่วยแก้ไขให้มันเดินได้ก็แล้วกัน ทำให้ถูกต้อง แค่นั้นเอง ผมไม่ได้ว่ามันผิดหรือถูก หลายอย่างอยู่ในอำนาจในกรอบของคณะกรรมการทั้งนั้น นายกฯ ให้นโยบายไปว่าเห็นสมควรให้ทำไอ้นู่น ไอ้นี่ ครม.ก็อนุมัติไป แต่ทุกคนต้องทำตามกฎหมายที่มีอยู่ ต้องรับผิดชอบเข้าใจไหม” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า การเปลี่ยนผู้ว่าฯ กทม.จะมีผลต่อการพิจารณาโครงการหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่มีมั้ง จะมีได้อย่างไร ก็ถ้าคุยกันมันก็จบ เป็นระบบที่ต้องทำงานด้วยกันอยู่แล้ว


เมื่อถามว่า เหมือนกับนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ไม่เห็นด้วยถ้าจะมีการต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ควรจะมาพิจารณากันใหม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ก็เป็นเรื่องของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดู มีทั้งกระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม รฟม. ผู้ได้รับสัมปทาน (BTS) ต้องคุยกัน แต่ข้อสำคัญคือยิ่งช้ายิ่งเสียประโยชน์ ประชาชนก็เดือดร้อน เราอยากให้ทุกอย่างสำเร็จด้วยการร่วมกันทุกฝ่ายไม่ว่าใครก็ตาม ตนไม่ได้เป็นศัตรูกับใครอยู่แล้ว



“แต่ผมทำงานด้วยหลักการ ด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินที่ผมต้องระวังอย่างที่สุด” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว


เมื่อถามว่า จะจบเร็ว ๆ นี้ใช่ไหม พล.อ.ประยุทธ์ ย้อนถามว่า แล้วเขาคุยกันหรือยัง ต้องมีกระบวนการแต่งตั้งผู้ว่าฯ กทม.ก่อน ถึงจะคุยกันได้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 25/05/2022 10:27 pm    Post subject: Reply with quote

รื้อสัญญา BTS สายสีเขียว ประยุทธ์ เปิดทาง ชัชชาติ เจรจา 4 ฝ่าย
ในประเทศ
วันพุธ ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 07:00 น.


ผู้ว่า กทม.คนใหม่ “ชัชชาติ” ประเดิมรื้อรถไฟฟ้าสายสีเขียว เร่งแก้ปัญหาตั๋วแพง-โฟกัสฟีดเดอร์ ขอโอนโปรเจ็กต์ให้คมนาคม บิ๊ก BTS ยินดีเจรจา “บิ๊กตู่” เปิดทาง 4 ฝ่ายยุติเกม ปมขยายสัมปทาน 30 ปี “ศักดิ์สยาม” เตือนระวังเสียค่าโง่ นักวิเคราะห์ชี้เลิกสัมปทานไม่ง่าย นักธุรกิจขานรับนโยบายพลิกโฉมกรุงเทพฯสู่ “New Chapter เมืองน่าอยู่” ค่ายมือถือหนุนดึงสายไฟลงดิน สร้างภาพลักษณ์เมืองหลวง

พลันที่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ คว้าชัยชนะในศึกเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) คนที่ 17 ด้วยคะแนน 1,382,620 คะแนน แบบแลนด์สไลด์ ทำให้วงการธุรกิจจับตานโยบายเมกะโปรเจ็กต์ โดยเฉพาะการแก้ปมสัญญาร่วมลงทุนกับ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่จะขยายสัมปทานออกไปอีก 30 ปี นอกเหนือจากภารกิจแก้ปัญหาทั่วไปและเชิงโครงสร้าง



นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่ เปิดเผย ว่า ความตั้งใจใน 100 วันแรกจะทำตามนโยบายที่กล่าวไปแล้ว สิ่งที่ทำได้เลยคือสิ่งที่ไม่ใช้งบประมาณ แต่ใช้เทคโนโลยีเพื่อความโปร่งใสในการดำเนินการ เป็นต้น ซึ่งนโยบายทั้ง 200 ข้อ ต้องเดินหน้าทันที ถ้าเป็นนโยบายระยะยาวก็ทำไปตามตัวชี้วัด

“เราต้องมีแพลตฟอร์มให้ประชาชนแจ้งเหตุว่า ปัญหา 50 เขตคืออะไร อยู่ที่ไหน ทั้งน้ำท่วม การระบายน้ำ ขยะ ทางเท้า รถติด ต้องนำมาขึ้นจอใน 100 วันแรก รวมถึงให้ประชาชนประเมิน ผอ.เขต ทำ open data เรามีข้าราชการ ลูกจ้าง 8 หมื่นคน มี 16 สำนัก 50 เขต ต้องมีรายงานตลอด 100 วันเห็นอะไร 200 วัน 1 ปี 2 ปี 3 ปี 4 ปี สุดท้ายได้อะไร”

ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเขียวมีคำถามว่า ทำไมต้องต่อสัญญาสัมปทานไปอีก 30- 40 ปี โดยไม่ได้ผ่าน พ.ร.บ.ร่วมทุน ที่ผ่านมาเข้าใจว่า ใช้ ม.44 เราเชื่อในระบบ แต่อยากให้มีการแข่งขันและมีราคาค่าโดยสารที่เป็นธรรม ไม่ได้มีอคติใครผิดใครถูก ไม่ได้ใช้อารมณ์ ใช้เหตุผลเป็นหลัก ที่ผ่านมาเราไม่มีข้อมูล เราดูจากข้างนอก ต้องลงไปดูรายละเอียด

ทั้งเรื่องโอนค่าก่อสร้าง 80,000 ล้านบาท สัญญาจ้างเดินรถ เรื่องหนี้ เรื่องต่อสัมปทาน และค่าโดยสาร

โอนสายสีเขียว-โฟกัสฟีดเดอร์
ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า ก่อนหน้าเลือกตั้งได้สัมภาษณ์นายชัชชาติถึงนโยบายระบบขนส่งมวลชนใน กทม. สรุปว่าต้องการการเปลี่ยนแปลงโดยโอนสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว (BTS) ให้กับกระทรวงคมนาคม เป็นผู้ดูแลบริหารจัดการ โดยมีเงื่อนไขว่าจะทำอย่างไรก็ได้ ขอให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าต่ำกว่า 30 บาทต่อการเดินทาง 8 สถานี

เหตุผลเพราะบีทีเอสเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ในฐานะที่เคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เห็นภาพใหญ่ของปัญหาเมกะโปรเจ็กต์บ้างแล้ว จึงคิดว่าเหมาะสม เหมือนการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ที่เคยสังกัดกระทรวงมหาดไทย ก็มาสังกัดกระทรวงคมนาคมแทน

ขณะที่ กทม.มีปัญหาเชิงโครงสร้างซึ่งซับซ้อนพอสมควร และปัญหาพื้นฐานรอบตัวที่เปรียบเหมือนเส้นเลือดฝอย ภารกิจ 4 ปีจึงต้องเร่งแก้ปัญหาเส้นเลือดฝอยในทุกด้าน

โดยเฉพาะปัญหาการเดินทางต้องเร่งจัดทำระบบฟีดเดอร์ หรือระบบเชื่อมต่อ
ขนส่งขนาดใหญ่ ทั้งรถเมล์ วินมอเตอร์ไซค์ และเรือโดยสาร

“แก่น 200 นโยบายคือแนวทางแก้เส้นเลือดฝอยที่อ่อนแอ ไม่งั้นกรุงเทพฯไม่มีทางแข็งแรงได้”

BTS ยินดีเจรจา
แหล่งข่าวจาก บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า บริษัทยินดีเจรจากับ กทม. หลังได้ผู้ว่าฯคนใหม่ เพราะสายสีเขียวเป็นปัญหาที่สะสมมานาน ยอมรับว่ามีความซับซ้อนและรายละเอียดมาก

ทั้งเกี่ยวข้องถึง 6 หน่วยงาน คือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม กทม. บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) บีทีเอสซี และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)

“เรื่องค้างเติ่งอยู่ที่ ครม. สุดท้ายคงต้องให้นายกรัฐมนตรีตัดสินใจ เพราะเป็นเรื่องนโยบายระดับชาติ ทั้งหมดเป็นสัญญาผูกพันและสัญญาจ้างเดินรถ ซึ่งเป็นภาระหนี้สะสมกว่า 3 หมื่นล้านบาท”

ขณะที่นายเกรียงพล พัฒนรัฐ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทเคที ซึ่ง กทม.ถือหุ้น 99.98% และเป็นคู่สัญญากับบีทีเอสซี กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ไม่มีความเห็นเรื่องการรื้อสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียว เป็นนโยบายของ กทม.

ศักดิ์สยามเตือนระวังเสียค่าโง่
วันที่ 24 พฤษภาคม 2565 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้ความเห็นว่า เรื่องสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ต้องไปถาม พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ที่ผ่านมาได้พูดไปทั้งหมดแล้ว ส่วนเรื่องการต่อหรือไม่ต่อสัมปทาน และการกำหนดอัตราค่าโดยสารนั้น ขอให้ปฏิบัติถูกต้องตามระเบียบ กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) และมีหลักธรรมาภิบาล

“การจะต่อหรือไม่ต่อสัมปทาน เป็นเรื่องที่ผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่ ต้องไปทำตามระเบียบกฎหมาย ผมพูดหมดแล้ว และทำหนังสือส่งไปถึง กทม. 9 ฉบับแล้ว”

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า กรณีที่นายชัชชาติหาเสียงไว้ว่า ไม่เห็นด้วยกับการต่อสัมปทาน และควรจะโอนรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้รัฐบาลนั้น ขอรอดูนายชัชชาติก่อน อย่าให้พูดอะไรล่วงหน้า เพราะรายละเอียดมีมาก

“อยู่ที่ผลศึกษา ทำอะไรแล้วประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด นั่นแหละถูกต้อง และต้องอยู่ภายใต้ระเบียบข้อกฎหมายและมติ ครม. รวมถึงสัญญาด้วย การจะบอกว่า อยู่ ๆ จะไปลดอะไรต่าง ๆ นานาในสัญญาสามารถดำเนินการได้หรือไม่ ระวังจะเป็นค่าโง่”

นายกฯเปิดเกมถกใหญ่
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ว่า เรื่องสายสีเขียวคงต้องคุยกันต่อ ถามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว อยู่ในขั้นตอนของคณะกรรมการพิจารณา อีกทั้งวันนี้เปลี่ยนผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่ ซึ่งเป็นภาระที่ต่อเนื่อง


“ฝากช่วยแก้ไขให้เดินหน้าได้ก็แล้วกัน ทำให้ถูกต้อง แค่นั้นเอง ผมไม่ได้ว่าผิดหรือถูก หลายอย่างอยู่ในอำนาจในกรอบคณะกรรมการทั้งนั้น นายกฯให้นโยบายไปว่าเห็นสมควรให้ทำไอ้นู่น ไอ้นี่ ครม.ก็อนุมัติไป แต่ทุกคนต้องทำตามกฎหมายที่มีอยู่ ต้องรับผิดชอบ เข้าใจไหม” พล.อ.ประยุทธ์กล่าวและว่า

การพิจารณาโครงการ คุยกันมันก็จบ เป็นระบบที่ต้องทำงานด้วยกันอยู่แล้ว กรณีที่นายชัชชาติไม่เห็นด้วย ถ้าจะต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวเป็นเรื่องของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดู มีทั้งกระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม รฟม. ผู้ได้รับสัมปทานต้องคุยกัน แต่ข้อสำคัญคือ ยิ่งช้ายิ่งเสียประโยชน์ ประชาชนก็เดือดร้อน เราอยากให้ทุกอย่างสำเร็จด้วยการร่วมกันทุกฝ่าย ไม่ว่าใครก็ตาม ตนไม่ได้เป็นศัตรูกับใครอยู่แล้ว

“ผมทำงานด้วยหลักการ ด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินที่ผมต้องระวังที่สุด ต้องมีกระบวนการแต่งตั้งผู้ว่าฯ กทม.ก่อน หน่วยงานต่าง ๆ ถึงจะคุยกันได้”

เลิกสัมปทานไม่ง่าย
นายมงคล พ่วงเภตรา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุนหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบีเอสที จำกัด (มหาชน) (KTBST) กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การจะยกเลิกสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวไม่ได้ง่าย เพราะมีหนี้สินระหว่าง กทม.กับ BTS กว่า 38,000 ล้านบาท ตอนนี้อาจยังไม่ใช่ข้อสรุปว่าจะยกเลิกสัมปทาน แต่นักลงทุนกลัวกันไปก่อน จึงสะเทือนราคาหุ้น BTS และ BTSGIF

แนวทางจึงมี 2 วิธี คือ 1.เจรจาต่อสัญญาให้ BTS แลกกับหนี้ แต่ค่าบริการจะสูงขึ้น และ 2.ยกเลิกสัมปทาน รัฐบริหารเอง โดยว่าจ้าง BTS บริหาร ซึ่งค่าบริการจะถูกลง เพราะคุมโดยรัฐ แต่รัฐจะหาเงินจากไหนมาชำระหนี้ก้อนนี้

รายงานข่าวระบุว่า สัญญาที่เกี่ยวข้องกับสายสีเขียวมี 9 สัญญา ซึ่งสัญญาทั้งหมดไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะ ทั้งเกี่ยวเนื่องกับ พ.ร.บ.การร่วมลงทุน และ พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างผ่าน KT

อสังหาฯเชื่อมือผู้ว่าฯใหม่
นายเศรษฐา ทวีสิน ประธานอำนวยการ และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.แสนสิริ กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ดีใจที่มีผู้ว่าฯ กทม.ที่มาถูกต้องตามครรลองคลองธรรมของระบอบประชาธิปไตย และดีใจที่ได้เป็นคุณชัชชาติ เพราะเป็นคนที่มุ่งมั่นจะเป็นผู้ว่าฯ กทม.มานาน ได้ศึกษา คลุกคลีกับชุมชน และเข้าใจปัญหาจริง ๆ

เชื่อว่าปัญหาหลัก ๆ ไม่มีใครไม่รู้ และไม่มีปัญหาไหนเร่งด่วนไปกว่ากัน ทั้งขยะ น้ำท่วม ความสะอาด อาชญากรรม และรถติด



อีกเรื่องที่อาจพูดถึงน้อยไปคือ Green Sustainability ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่จะให้กรุงเทพฯ Eco Friendly ขึ้น และเป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญ

“ส่วนตัวไม่มีอะไรจะแนะนำ คิดว่าคุณชัชชาติรู้หมดแล้ว ถือเป็นงานที่หนักและท้าทาย ก็ขอเอาใจช่วย”

สำหรับประเด็นเรื่องรถไฟฟ้า นายเศรษฐากล่าวว่า ไม่มีคอมเมนต์ แต่อยากให้คนกรุงมีรถไฟฟ้าใช้ เพราะสะดวกและแก้มลพิษ แต่เรื่องราคาค่าโดยสารก็สำคัญก็ฝากไว้ เพราะเป็นปัญหาละเอียดอ่อน ทั้งกระทรวงคมนาคม กทม. และเอกชน ขอให้เจรจากันได้ เพราะเป็นเรื่องค่าครองชีพของประชาชน

นายไตรเตชะ ตั้งมติธรรม กรรมการผู้จัดการ บมจ.ศุภาลัย กล่าวว่า คุณชัชชาติทราบปัญหาเมืองกรุงเทพฯดีอยู่แล้ว เพราะเคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ทั้งเคยเป็นผู้บริหารในบริษัทอสังหาริมทรัพย์จึงเป็นข้อดี ทำให้รู้ปัญหาพื้นฐาน และเป็นคนที่มีองค์ความรู้ในตัวเยอะ เท่าที่สัมผัสถือเป็นคนเปิดกว้าง

“กรุงเทพฯเป็นหนึ่งในเมืองที่สำคัญของโลก ตอนนี้เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปเยอะ อาจต้องขับเคลื่อนข้าราชการให้ทันโลก ในด้านประชากรตอนนี้เป็นยุค Aging Society คนรุ่นใหม่ในกรุงเทพฯน่าจะมีส่วนผลักดันให้เติบโตไปคู่กันได้”

ขอโปรเจ็กต์-ช่วยรากหญ้า
นายเวทิต โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ บมจ.สหพัฒนพิบูล กล่าวว่า กรุงเทพฯเป็นเมืองใหญ่ มีหลายเรื่องต้องเร่งแก้ ทั้งน้ำท่วม รถติด ฯลฯ อยากให้ผู้ว่าฯคนใหม่มองภาพระยะยาว แม้จะมีเวลาแค่ 4 ปี แต่กรุงเทพฯต้องลงทุนใหญ่เพื่อรับมืออนาคต ต้องสตาร์ตตั้งแต่วันนี้ ไม่ใช่แค่แก้ปัญหาตามกระแส

“ตอนนี้คนเพิ่งกลับมาใช้ชีวิตปกติ จึงต้องบาลานซ์ให้ดีระหว่างความสะดวกสบายและความถูกต้อง ให้กรุงเทพฯเป็นเมืองที่น่าอยู่ โดยจัดระเบียบจัดสรรพื้นที่ให้พ่อค้าแม่ค้าได้ค้าขาย เพราะธุรกิจจะดีตามไปด้วย”

4 ปีเปลี่ยน กทม.ได้
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ส่วนตัวอยากได้ผู้ว่าฯคนดี มีวิสัยทัศน์ มุ่งพัฒนา ใช้งบประมาณให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ไม่คอร์รัปชั่น เพื่อให้คนกรุง 5 ล้านคน และคนที่ต้องเดินทางติดต่องานกว่า 10 ล้านคน ได้ประโยชน์มากที่สุด ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ

“การขนส่งมวลชนเป็นสิ่งสำคัญ เพราะราคาน้ำมันปรับสูงขึ้น หากผู้ว่าฯแก้ไขปัญหาจราจรได้ก็จะช่วยประหยัดเวลา และประหยัดการใช้พลังงาน อยากเห็นการขับเคลื่อนรถไฟฟ้าสายสีเขียว และค่าโดยสารที่ประชาชนจับต้องได้ เพื่อเป็นทางเลือกในการบรรเทาความเดือดร้อน”

ส่วนด้านเศรษฐกิจต้องการให้เข้ามาจัดระเบียบการค้าขายหาบเร่แผงลอยให้มีพื้นที่ที่เหมาะสม และดูแลร้านค้าที่จ่ายภาษีถูกต้องให้ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ และว่า ใน 4 ปีนี้หากทำงานได้มีประสิทธิภาพ ใช้งบประมาณไม่รั่วไหล เชื่อว่ากรุงเทพฯจะเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือแน่นอน

หนุนสายสื่อสารลงดิน
นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สนับสนุนนโยบายการนำสายสื่อสารลงดิน เพื่อทำให้กรุงเทพฯเป็นเมืองน่าอยู่ และให้มีหน่วยงานหลักรับผิดชอบ

แหล่งข่าวจาก บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ให้ความเห็นว่า การนำสายสื่อสารลงท่อร้อยสายใต้ดินถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำอันดับต้น ๆ เพราะสร้างภาพลักษณ์และภูมิทัศน์เมือง จะได้แก้ปัญหาและสร้างรายได้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 26/05/2022 12:16 am    Post subject: Reply with quote

อย่ากดดันมาก! "ไพศาล" มั่นใจ "ชัชชาติ" จัดการปมรถไฟฟ้าสายสีเขียวยึดตามกฎหมาย อย่ากดดันมาก
การเมือง
วันพุธ ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 08.21 น.


วันพุธที่ 25 พฤษภาคม 2565 นายไพศาล พืชมงคลนักกฎหมายอิสระ โพสต์ Facebook ระบุว่า ยิ่งกดดัน-จี้ ชัชชาติให้เร่งจัดการเรื่องรถไฟฟ้าสายสีเขียว ก็เท่ากับเอาหัวไปให้เขาตี!!!!

1. รถไฟฟ้าสายสีเขียวคาราคาซังเป็ปัญหามานานแล้ว ไม่แก้ไขหรือแก้ไม่ได้ ก็เพราะมีการทุจริต และไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย แต่กินไม่เข้าคายก็ไม่ออก จึงคาราคาซังมาจนถึงวันนี้ จะไปกดดันชัชชาติเขาเพื่อสิ่งใด เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ชัชชาติเขาจะต้องทำเป็นเรื่องแรกๆอยู่แล้ว

2. เมื่อสัมปทานสิ้นสุดลง ทรัพย์สินทั้งหมดเกี่ยวกับรถไฟฟ้าสายนี้ตกเป็นของกรุงเทพฯ ซึ่ง กทม.อาจทำเองหรือให้สัมปทานใหม่ก็ได้ คาดว่าจะมีการให้สัมปทานใหม่ แต่ไม่ใช่เรื่องที่ใครจะยกให้ใครได้ตามอำเภอใจเหมือนที่คิดจะทำกันมาแต่ก่อน!!! เพราะต้องปฏิบัติตามกฎหมายร่วมทุน ซึ่งเชื่อว่าชัชชาติจะปฏิบัติตามกฎหมาย และจะไม่ยอม ปฏิบัติตามคำสั่งหรือความกดดันของใครเหมือนที่ผ่านมา ดังนั้น จึงหวังได้ว่าชัชชาติจะจัดการเรื่องนี้ไปตามบทกฎหมาย และอาจนำไปสู่การเช็คบิลผู้กระทำความผิดและก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานครหลายหมื่นล้านบาท!!!!

คาดว่าจะมีตั้งคณะตรวจข้อเท็จจริงเรื่องนี้ ซึ่งใช้เวลาไม่กี่วัน จากนั้นก็เดินหน้าไปตามอำนาจหน้าที่และกฎหมาย ประชาชนกำลังจับจ้องมองดูเรื่องนี้กันอยู่

"ชัชชาติ" ย้ำรถไฟฟ้าสายสีเขียว ต่ออายุสัมปทานต้องผ่าน พ.ร.บ.ร่วมทุน

ขณะที่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวถึงการต่ออายุสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระบุรอหารือกับนายชัชชาติว่า ต้องดูรายละเอียด 3 เรื่อง คือ เรื่องหนี้สิน, สัญญาเดินรถ และเรื่องการต่อสัญญา 40 ปี โดยไม่ผ่าน พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ

"คงต้องถามกลับไปถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องว่า ทำไมถึงต้องต่อสัญญาสัมปทานถึง 40 ปี โดยไม่ผ่าน พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ เพราะผมมองว่า พ.ร.บ.ร่วมทุน เป็นเรื่องดีที่มีคนนอกหน่วยงานมาดูแล ไม่ใช่แค่คณะกรรมการชุดเล็ก ๆ ที่ตั้งขึ้นมา และมีการแข่งขันราคากัน ซึ่งหากมีการแข่งขันราคา ก็จะได้เห็นราคาที่เป็นธรรมขึ้น ทั้งนี้ไม่ได้มีอคติว่าผิดหรือถูก แต่เชื่อมั่นในระบบที่มี พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ"

นายชัชชาติกล่าวอีกว่า กรณีหนี้สินค่าก่อสร้างที่รัฐบาลโอนมาให้ กทม. กว่า 6 หมื่นล้านบาท ต้องดูว่าผ่านขั้นตอนที่ถูกต้องหรือไม่ สภา กทม. รับรองมีมติหรือยัง ซึ่งหากมีมติรับถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ก็ต้องว่าไปตามหลักการ

รวมทั้งพิจารณาถึงสัญญาจ้างการเดินรถที่ผ่านมา ถูกกฎหมาย มี พ.ร.บ.ร่วมทุนหรือไม่ เพราะเป็นสัญญาจ้างระยะยาว

ว่าที่ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวด้วยว่า คงไม่ได้พูดคุยกับรัฐบาลโดยตรง แต่จะส่งเป็นหนังสือชี้แจงความเห็นเข้าไปเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งตนมองว่า กทม. เป็นแค่องค์ประกอบหนึ่งในการตัดสินใจของรัฐบาลเท่านั้น และมองว่าควรต้องคิดให้รอบคอบก่อน

เพราะถ้าผ่าน ครม. แล้วคงแก้ไขยาก และ ครม. เองยังมีความเห็นแย้งกัน ดังนั้นคงไม่ผิดที่จะขอดูให้ละเอียดก่อน ยืนยันว่าเป็นเรื่องเหตุผล ไม่ใช่เรื่องของอารมณ์ และส่วนตัวยืนยันในหลักการว่า หากไม่ผ่าน พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ เท่ากับไม่ตรงตามหลักการของตนเอง ซึ่งที่ผ่านมาอาจจะผ่าน มาตรา 44 มา

ส่วนในอนาคตจะมีการใช้บัตรใบเดียวในการเชื่อมต่อการเดินทางหรือไม่ นายชัชชาติกล่าวว่า บัตรใบเดียวเข้าทุกระบบได้ก็มีความเป็นไปได้ แต่ที่กังวลคือโครงสร้างราคาที่เป็นธรรมที่มีความซ้ำซ้อน เพราะบัตรใบเดียวอาจจะจ่ายแพง เนื่องจากมีค่าแรกเข้า

ตนมองว่า กทม. กับ BTS ควรต้องหารือกันเองก่อน ว่าถ้ามีส่วนต่อขยายเข้ามาพื้นที่สัมปทาน BTS เป็นไปได้หรือไม่ที่จะไม่มีค่าแรกเข้า และหากมีโอกาสหารือกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ก็ควรหารือถึงราคาค่าแรกเข้าด้วย

บิ๊กอสังหาฯอ้อน "ชัชชาติ" ผุดรถไฟฟ้าสายสีเทา

นายธงชัย บุศราพันธ์ รองประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้วงการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีความตื่นตัวหลังนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) คนใหม่ ในส่วนของโนเบิลอยากให้ผู้ว่าฯคนใหม่กระตุ้นการลงทุนรถไฟฟ้าใหม่ เพื่อพัฒนาเมืองและเชื่อมต่อการเดินทางให้ครอบคลุมมากขึ้น โดยเฉพาะเร่งการลงทุนรถไฟฟ้ารางเดี่ยวสายสีเทาเฟสแรกช่วงวัชรพล-ทองหล่อ เชื่อมการเดินทางพื้นที่กรุงเทพฯในแนวเหนือ-ใต้ เป็นทางเลือกเพิ่มจากปัจจุบันมีสายสีเขียวและสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต ขณะที่พื้นที่ในแนวตะวันออก-ตะวันตกมีสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรงและสายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรีต่อเชื่อมการเดินทางอยู่แล้ว

"ค่าโดยสารรถไฟฟ้าในปัจจุบันถือว่าของไทยค่ยังถูกกว่าต่างประเทศ แต่คนยังมองว่าแพง เพราะเกี่ยวกับค่าครองชีพและค่าเดินทางที่สูงขึ้น เช่น บางคนต้องค่ามอเตอร์ไซด์รับจ้าง ค่ารถสองแถวเพื่อมาต่อรถไฟฟ้า ดังนั้นควรเพิ่มรถไฟฟ้าสายใหม่ๆ เป็นทางเลือกให้ประชาชนเพิ่ม ในราคาที่จ่ายได้"นายธงชัยกล่าวและว่า

สำหรับแผนไตรมาสที่2 มีเปิดตัว 5 โครงการ มูลค่ารวม 12,300 ล้านบาท ในย่านพระราม9 คูคต-ลำลูกกา บริเวณเลียบทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา และถนนราชพฤกษ์ เป็นต้น ซึ่งทยอดเปิดขายโครงการแล้ว พบว่ายอดจองเกิน 50% เช่น โครงการคอนโดมิเนียม นิว ครอส คูคต สเตชัน เฟสแรก เปิดขายเมื่อวันที่ 21-22 พฤษภาคมที่ผ่านมา

นายศิระ อุดล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานพัฒนาธุรกิจ 2 บมจ.โนเบิล กล่าวว่า วันที่ 3-5 มิถุนายนนี้ จะเปิดขายโครงการโคฟ นอร์ธ ราชพฤกษ์ เฟสแรก 14 ยูนิต เป็นทาวน์เฮ้าส์ 3.5 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอย 160- 200 ตารางเมตร ราคาเริ่มต้น 7-12 ล้านบาท บนเนื้อที่ 9 ไร่เศษ ติดถนนใหญ่และโลตัส นอร์ธ ราชพฤกษ์ ที่เตรียมพัฒนาทั้งหมด 190 ยูนิต มูลค่าโครงการ 700 ล้านบาท ซึ่งเป็นครั้งแรกที่โนเบิลเข้าไปลงทุนโซนราชพฤกษ์

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเทาเฟสแรกช่วงวัชรพล-ทองหล่อ มีระยะทาง 16.3 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 27,899 ล้านบาท โดยกทม.จะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน ปี 2567-2568 สร้างเสร็จเปิดบริการปี 2573 แนวเส้นทางจะเชื่อมต่อ 5 รถไฟฟ้า มี 15 สถานี เริ่มต้นจากแยกต่างระดับรามอินทราเชื่อมสายสีชมพู เลาะแนวถนนประดิษฐ์มนูธรรม(เลียบทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา) ข้ามถนนเกษตรนวมินทร์เชื่อมสายสีน้ำตาล เชื่อมสายสีเหลืองที่ถนนลาดพร้าว ผ่านถนนพระราม 9 เชื่อมสายสีส้ม(ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) เมื่อข้ามแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เลี้ยวเข้าถนนเพชรบุรี และซอยสุขุมวิท 55 (ทองหล่อ) สิ้นสุดสถานีทองหล่อต่อเชื่อมสายสีเขียว

“ไพศาล”เชื่อยิ่งกดดัน“ชัชชาติ”เร่งจัดการรถไฟฟ้าสายสีเขียว เท่ากับเอาหัวไปให้เขาตี
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 14:38 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 14:38 น.

นายไพศาล พืชมงคล อดีตกรรมการผู้ช่วย รองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์เฟซบุ๊ก paisal puechmongkol ระบุว่า ยิ่งกดดัน-จี้ ชัชชาติให้เร่งจัดการเรื่องรถไฟฟ้าสายสีเขียว ก็เท่ากับเอาหัวไปให้เขาตี



1.รถไฟฟ้าสายสีเขียวคาราคาซังเป็นปัญหามานานแล้ว ไม่แก้ไขหรือแก้ไม่ได้ ก็เพราะมีการทุจริต และไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย แต่กินไม่เข้าคายก็ไม่ออก จึงคาราคาซังมาจนถึงวันนี้ จะไปกดดันชัชชาติเขาเพื่อสิ่งใด เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ชัชชาติเขาจะต้องทำเป็นเรื่องแรกๆ อยู่แล้ว

2.เมื่อสัมปทานสิ้นสุดลง ทรัพย์สินทั้งหมดเกี่ยวกับรถไฟฟ้าสายนี้ตกเป็นของกรุงเทพฯ ซึ่ง กทม.อาจทำเองหรือให้สัมปทานใหม่ก็ได้ คาดว่าจะมีการให้สัมปทานใหม่ แต่ไม่ใช่เรื่องที่ใครจะยกให้ใครได้ตามอำเภอใจเหมือนที่คิดจะทำกันมาแต่ก่อน เพราะต้องปฏิบัติตามกฎหมายร่วมทุน ซึ่งเชื่อว่าชัชชาติจะปฏิบัติตามกฎหมาย และจะไม่ยอม ปฏิบัติตามคำสั่ง หรือความกดดันของใครเหมือนที่ผ่านมา

ดังนั้น จึงหวังได้ว่าชัชชาติจะจัดการเรื่องนี้ไปตามบทกฎหมาย และอาจนำไปสู่การเช็คบิลผู้กระทำความผิด และก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานครหลายหมื่นล้านบาท คาดว่าจะมีตั้งคณะตรวจข้อเท็จจริงเรื่องนี้ ซึ่งใช้เวลาไม่กี่วัน จากนั้นก็เดินหน้าไปตามอำนาจหน้าที่และกฎหมาย
ประชาชนกำลังจับจ้องมองดูเรื่องนี้กันอยู่
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44635
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/05/2022 9:10 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รื้อสัญญา BTS สายสีเขียว ประยุทธ์ เปิดทาง ชัชชาติ เจรจา 4 ฝ่าย
ในประเทศ
วันพุธ ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 07:00 น.

โอนรถไฟฟ้าสายสีเขียวคืนรฟม. ชัชชาติ วางธงค่าโดยสาร 30 บาท BTS พร้อมเจรจา
หน้าแรก เศรษฐกิจ คมนาคม
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |26 พ.ค. 2565 เวลา 7:09 น.

“ชัชชาติ”เร่งสางปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียว เดินหน้านโยบายใหม่โอนโครงการให้รฟม. กำหนดค่าตั๋วไม่เกิน 30 บาท“เกษรา” เร่งสแกนสัญญา ศักดิ์สยามแบ่งรับแบ่งสู้เรื่องโอนสายสีเขียวมาคมนาคมขอดูกทม.ก่อน บิ๊กบีทีเอสลั่นเป็นเรื่องของทางการ หากเปลี่ยนนโยบายพร้อมพิจารณา

ชัยชนะของ นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ ทำสถิติใหม่ 1,386,215 คะแนน มาพร้อมความคาดหวังสูงลิบ ให้ผู้ว่าฯกทม.คนใหม่ ต้องนำนโยบายที่หาเสียงมาปฏิบัติอย่างเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาหมักหมมในชีวิตประจำวันของคนกรุงเทพฯ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

รวมถึงปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียวของกทม. ที่ค้างคาหาทางออกไม่ได้มานาน ขณะหนี้ระดับแสนล้านบาทมีภาระดอกเบี้ยพอกพูนรายวัน นายชัชชาติเดินหน้าเสนอทางออกตามนโยบายใหม่ที่หาเสียงไว้แล้ว โดยนายกรัฐมนตรีหนุน 4 ฝ่ายพูดคุยหาทางออกให้เดินไปได้อย่างถูกต้อง

Click on the image for full size

โอน“รถไฟฟ้าสายสีเขียว”ให้รฟม.

นางเกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทเสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (SENA) ในฐานะทีมนโยบายเศรษฐกิจของนายชัชชาติ เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า นโยบายเร่งด่วนที่ผู้ว่ากทม.คนใหม่ต้องดำเนินการเป็นลำดับต้น ๆ คือจะหยิบสัญญารถไฟฟ้า สายสีเขียวมาพิจารณาดูว่ามีอะไรยืดหยุ่นหรือดำเนินการได้บ้าง โดยเฉพาะอัตราค่าโดยสาร ซึ่งที่ผานมาสัญญาสัมปทานและการจ้างเดินรถยังลึกลับเข้าไม่ถึง

ปมปัญหาใหญ่คือหนี้กทม.ที่มีต่อเอกชน มากถึงเกือบ 4 หมื่นล้านบาท และเป็นคดีฟ้องร้องอยู่ในศาลปกครอง ที่ต้องหาทางออก ขณะเดียวกัน กทม. พิจาณาบทบาทตนเอง ว่ามีขีดความสามารถมากน้อยแค่ไหนในการบริหารจัดการเดินรถไฟฟ้า

ทั้งนี้ ระหว่างหาเสียงนายชัชชาติระบุว่า จะไม่ขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้เอกชน แต่จะใช้วิธีเจรจากับเอกชนต่อปัญหาหนี้ค่าจ้างเดินรถ และมีนโยบายโอนสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว(BTS) ที่เหมือนเส้นเลือดใหญ่ ให้กระทรวงคมนาคมรับไปดูแลบริหารจัดการ โดยต้องทำให้ค่าโดยสารไม่เกิน 30 บาท

ศักดิ์สยามแบ่งรับแบ่งสู้

ด้านนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงคมนาคม ระบุ กรณี กทม. จะโอนสายสีเขียวมาให้ กระทรวงคมนาคม ว่า เรื่องนี้ ขอดูทางกทม.ก่อน เพราะยังมีรายละเอียดอีกมาก ส่วนการรื้อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวนั้นตนไม่ทราบ แต่ทั้งนี้ขอให้ยึดระเบียบข้อกฎหมาย เพื่อประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด ส่วนกรณีผู้ว่าฯกทม.คนใหม่ หาเสียงว่า จะไม่ต่อสัมปทานสายสีเขียว ถือเป็นเรื่องที่สอดรับการทำงานของประทรวงคมนาคมหรือไม่นั้น อยู่ที่ผลการศึกษา

คค.-รฟม.พร้อมรับโอน

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า คาดว่าการโอนสัมปทานจะสามารถดำเนินการได้ ซึ่งจะต้องเปลี่ยนแปลงคู่สัญญาระหว่างบีทีเอสซี กับกทม. มาเป็นกับรฟม.และกระทรวงคมนาคม แต่ต้องดูข้อกฎหมายด้วย ว่าสามารถดำเนินการได้หรือไม่ “ทางกระทรวงคมนาคมเคยทำหนังสือหารือ เกี่ยวกับการโอนทรัพย์สินของโครงการฯร่วมกับกทม. เมื่อช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา แต่ทางกทม.ตอบกลับว่าอยู่ระหว่างรอนโยบายผู้ว่าฯกทม.
คนใหม่"

ส่วนเงื่อนไขผู้ว่าฯกทม.คนใหม่ให้คิดค่าโดยสารไม่เกิน 30 บาทนั้น จากที่ทราบในรายละเอียดสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าฯ ไม่ได้มีการระบุไว้ หากจะลดอัตราค่าโดยสารต่ำลงไม่เกิน 30 บาท ต้องขึ้นอยู่กับเอกชนเป็นผู้พิจารณาด้วย ที่ผ่านมาบีทีเอสเคยมีการออกค่าตั๋วโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวไม่เกิน 30 บาทต่อเที่ยว แต่เพิ่งยกเลิกการใช้บัตรโดยสารประเภทนี้ไปเมื่อปีก่อน

บีทีเอสตั้งโต๊ะพร้อมคุย

ขณะที่ นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC กล่าวถึงนโยบายใหม่กทม.เรื่องนี้ ว่า หลังจากรับตำแหน่งแล้ว คงต้องรอให้เข้ามาบริหารงานก่อน ขึ้นอยู่กับนโยบายที่จะดำเนินการ ทราบมาว่านโยบายเรื่องสายสีเขียว จะมีการโอนคืนให้กับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)

เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับกทม.เป็นผู้พิจารณา ต้องเข้าใจว่าการต่อสัญญาสัมปทานฯ ทางบริษัทไม่ได้เป็นผู้ร้องขอ แต่เป็นฝ่ายรัฐบาลและกทม.เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งบริษัทเป็นเอกชนมีหน้าที่ดำเนินการตามนโยบาย หากนโยบายเป็นอย่างไร บริษัทก็ยินดีที่จะพิจารณา

“ส่วนการฟ้องร้องทวงหนี้ค่าซื้อระบบการเดินรถ (ไฟฟ้าและเครื่องกล) เพิ่มเติมกับกทม.และบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด ต่อศาลปกครอง จะฟ้องร้องเมื่อไรยังไม่ทราบ เพราะขณะนี้บริษัทอยู่ในขั้นตอนการรวบรวมเอกสาร เนื่องจากมีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ รวมถึงการตรวจรับงานด้วย”

“ทำทุกเรื่องทำทันที”

ส่วนความคาดหวังต่อการลงมือทำงานของผู้ว่าฯกทม.คนใหม่ นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า คนกรุงเทพฯลงคะแนนให้ชนะถล่มทลาย เพราะเชื่อมั่นและคาดหวัง อยากเห็นกรุงเทพฯเปลี่ยนแปลงทุกด้าน อยากให้ผู้ว่าฯกทม.คนใหม่ทำงานเลย ทำเร็วที่สุด เพราะปัญหาเร่งด่วนทุกด้าน นโยบาย 8 ด้าน 200 กว่ารายการ ที่ได้จากการลงพื้นที่ต้องนำมาทำทันที ให้กลับมาเป็นเวนิสตะวันออก เพื่อสร้างให้เป็นมหานครที่น่าอยู่สำหรับคนกรุงเทพฯ และนักท่องเที่ยวทั่วโลกที่จะมาเยือน มาชื่นชมกับเมืองที่สวยงาม ไม่ใช่อะเมซิ่งกับสายเคเบิ้ลเสาไฟฟ้า

เช่นกัน นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เรื่องจำเป็นเร่งด่วนของผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่ คือ ปัญหารายได้และค่าครองชีพกลุ่มผู้มีรายได้น้อย โดยสิ่งที่ กทม.สามารถทำได้คือการจัดสรรพื้นที่ที่เหมาะสม และเป็นธรรมในการค้าขาย สร้างโอกาสในการหารายได้เพิ่มขึ้น

รวมทั้งการรณรงค์ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น อยากให้ กทม.ร่วมกันทำต่อ เพราะจะเป็นเกราะป้องกันสุขภาพของประชาชน และเป็นการสร้างความเชื่อมั่น รองรับการเดินทางเข้ามาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ นอกจากนี้คือการดูแลสวัสดิภาพและความปลอดภัย การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ซึ่งจะนำมาสู่ภาพลักษณ์ที่ดีในระยะยาวต่อไป

ด้านนางมาริสา สุโกศล หนุนภักดี นายกสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) เปิดเผยว่า อยากให้ผู้ว่าฯให้ความสำคัญการจัดระเบียบและพัฒนาพื้นที่ โดยต่อยอดจากสิ่งที่กรุงเทพฯโด่งดังได้รับการยอมรับอยู่แล้ว อาทิ บริการสุดประทับใจของโรงแรม ร้านอาหาร สตรีทฟู้ดส์ จนถึงวัฒนธรรมท้องถิ่นและไลฟ์สไตล์น่าสนใจ แต่ขาดการนำมานำเสนอเป็นโชว์เคส สร้างโอกาสการขายแก่ภาคธุรกิจและชุมชน อาจดึงเอกชนมาร่วมพัฒนาเมือง เพื่อนำเสนอเป็นแพ็กเกจ หรือแคมเปญร่วมกัน สร้างการท่องเที่ยวกรุงเทพฯยั่งยืน

เช่นกันภาคธุรกิจอสังหาริม ทรัพย์นั้น นายธงชัย บุศราพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บมจ. โนเบิลดีเวลลอปเมนท์ (NOBLE) ระบุว่า คนคาดหวังกับผู้ว่าฯกทม.คนใหม่ จะเห็นกทม.ก้าวไปอย่างราบรื่น คล่องตัว จะทำให้ธุรกิจดีไปพร้อมกันด้วย เพราะภาคอสังหาฯ เกี่ยวพันกับกทม.หลายขั้นตอน อาทิ การขออนุญาตปลูกสร้าง การกำกับดูแลการก่อสร้าง และกทม. ควรสานต่อการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมอย่างต่อเนื่อง

วันนี้บางเส้นยังไม่คืบหน้า เช่น สายสีเทา (วัชรพล-ทองหล่อ) เป็นอีกเส้นที่มีความสำคัญ ช่วยขนถ่ายคนโซนตะวันออกตัดตรงเข้าเมือง กระจายความหนาแน่นคนจากสายสีชมพู สีเหลือง หากเดินหน้าจะช่วยลดข้อจำกัดการเดินทางและเปิดศักยภาพใหม่เชิงพื้นที่ได้

ข่าวหน้า 1 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 42 ฉบับที่ 3,786 วันที่ 26-28 พฤษภาคม พ.ศ.2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 26/05/2022 9:14 pm    Post subject: Reply with quote

^^^
📣 ประเดิมงานแรก . . ผู้ว่า กทม. คนใหม่ #ชัชชาติ #รื้อสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียว #BTS 🚈 เพื่อเร่งแก้ปัญหาตั๋วแพง โอนสัมปทานโครงการให้กับกระทรวงคมนาคมเป็นผู้ดูแลบริหารจัดการ โดยมีเงื่อนไขทำอย่างไรก็ได้ ขอให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าต่ำกว่า 30 บาทต่อการเดินทาง 8 สถานี 🤩 ผลงานของผู้ว่าคนใหม่จะออกมาในทิศทางไหน ตั้งตารอเลย
https://www.facebook.com/salehere/posts/5684496274971771
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 135, 136, 137 ... 155, 156, 157  Next
Page 136 of 157

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©