RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311306
ทั่วไป:13278909
ทั้งหมด:13590215
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 453, 454, 455 ... 548, 549, 550  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44711
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/07/2022 7:48 am    Post subject: Reply with quote

ปี 69 ได้ใช้ 'ไฮสปีดไทย-จีน' ทุ่ม 3 แสนล้านลุยเฟสสองปีหน้า
กรุงเทพธุรกิจ 10 ก.ค. 2565 เวลา 6:31 น.

ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย – จีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ปัจจุบันเดินหน้างานก่อสร้างส่วนของระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา ไปแล้วรวม 11 สัญญา จากทั้งหมด 14 สัญญา

ซึ่งกรมการขนส่งทางราง และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ยืนยันถึงความจำเป็นในการเร่งรัดโครงข่ายระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา - หนองคาย เพื่อไปเชื่อมต่อกับระบบรางของรถไฟลาว - จีน ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน

พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยถึงเรื่องนี้ว่า ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.มีรถไฟให้บริการเชื่อมต่อการขนส่งระหว่างไทย - สปป.ลาว - จีน ในเส้นทางสถานีหนองคาย - ท่านาแล้ง เพื่อสนับสนุนให้เกิดการขนส่งระหว่างประเทศ โดยตามแผนระหว่างปี 2564-2565 มีการเพิ่มขบวนรถไฟขนส่งสินค้าจากเดิมวันละ 4 ขบวน (ไป-กลับ) เป็น 10 ขบวนไป-กลับ พ่วงขบวนละ 25 แคร่

ขณะที่ช่วงปี 2566-2568 จะปรับเพิ่มขบวนรถขนส่งสินค้าเป็นวันละ 16 ขบวน (ไป-กลับ) พ่วงขบวนละ 25 แคร่ และตั้งแต่ปี 2569 เป็นต้นไปจะเพิ่มขบวนรถเป็น 24 ขบวน (ไป-กลับ) พ่วงขบวนละ 25 แคร่ ซึ่งไม่รวมขบวนรถโดยสารระหว่างประเทศที่เดิมปกติมีให้บริการวันละ 4 ขบวน (ไป-กลับ) เพื่อให้สอดรับต่อความต้องการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ดี การพัฒนาระบบรางระหว่างประเทศแบบไร้รอยต่อนับเป็นนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงคมนาคม และรัฐบาล เพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจจากภาคขนส่งและการเดินทางท่องเที่ยว ซึ่งโครงการไฮสปีดเทรนภายใต้กรอบความร่วมมือไทย - จีนนั้น เป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญที่จะผลักดันเป้าหมายดังกล่าว ดังนั้นจึงกลายเป็นนโยบายเร่งด่วนที่ต้องพัฒนาส่วนต่อขยายให้แล้วเสร็จตามแผน เพื่อเชื่อมต่อกับระบบรางของลาวและจีนโดยเร็ว

Click on the image for full size

โดยขณะนี้ได้รับรายงานจาก ร.ฟ.ท.ว่าโครงการไฮสปีดเทรนไทย - จีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ดำเนินการออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จ อยู่ในขั้นตอนการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ (สผ.) ซึ่งขณะนี้ทางคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) ได้ให้จัดทำข้อมูลเพิ่มเติม และ ร.ฟ.ท.ได้ส่งข้อมูลกลับไปอีกครั้งแล้ว

ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถเสนอโครงการให้คณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท. พิจารณาอนุมัติได้ประมาณเดือน ต.ค.2565 ก่อนเสนอให้กระทรวงคมนาคม และที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาได้ในปลายปี 2565 โดยแนวเส้นทางของโครงการนี้ จะครอบคลุม 4 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดหนองคาย เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะช่วยอำนวยความสะดวกด้านการเดินทางที่มีความรวดเร็ว ปลอดภัย และเป็นโครงการสนับสนุนเชื่อมต่อการค้าการลงทุนระหว่างไทย สปป.ลาว และจีน


ด้านกำพล บุญชม รองวิศวกรใหญ่ด้านโครงการพิเศษ ร.ฟ.ท.ให้ข้อมูลถึงไทม์ไลน์ในโครงการนี้ว่า หากโครงการได้รับการอนุมัติจาก ครม.ตามที่คาดการณ์ไว้ในปีนี้ ก็สามารถเริ่มต้นขั้นตอนประกวดราคาได้ทันที ซึ่งขั้นตอนนี้จะใช้เวลาราว 7 เดือน และคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างประมาณเดือน ส.ค.-ก.ย.2566 ใช้เวลาก่อสร้างและติดตั้งงานระบบอาณัติสัญญาณ รวมประมาณ 4 ปี ดังนั้นโครงการไฮสปีดไทย – จีนจะสามารถเปิดให้บริการทั้งเส้นทาง ช่วงกรุงเทพฯ - หนองคายได้ประมาณปี 2571

สำหรับแนวเส้นทางระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา – หนองคาย ประเมินวงเงินลงทุนเบื้องต้นอยู่ที่ 3 แสนล้านบาท มีระยะทาง 356 กิโลเมตร แบ่งเป็น ทางรถไฟระดับพื้นดิน 185 กิโลเมตร และทางรถไฟยกระดับ 171 กิโลเมตร มีสถานีให้บริการรวม 5 สถานี ได้แก่ สถานีบัวใหญ่ สถานีบ้านไผ่ สถานีขอนแก่น สถานีอุดรธานี และสถานีหนองคาย อีกทั้งโครงการนี้จะมีสถานีขนถ่ายสินค้า 1 แห่ง บริเวณสถานีรถไฟนาทา จังหวัดหนองคาย และมีศูนย์ซ่อมบำรุงที่เชียงรากน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และสถานีนาทา จังหวัดหนองคาย

ส่วนการออกแบบรางมีขนาด 1.435 เมตร โดยรถไฟสามารถใช้ความเร็วได้สูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ดังนั้นผู้โดยสารจะสามารถใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยังหนองคาย ระยะทางรวม 609 กิโลเมตร เพียง 3 ชั่วโมง 15 นาที ถือเป็นโครงการสำคัญที่จะเพิ่มศักยภาพการเดินทางด้วยระบบราง สนับสนุนการขนส่งและการท่องเที่ยว ช่วยลดระยะเวลาจากการเดินทางทางบกอย่างมาก

ในส่วนของความคืบหน้าไฮสปีดไทย - จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา ทั้ง 14 สัญญา มีความคืบหน้าประมาณ 12% ก่อสร้างแล้วเสร็จ 1 สัญญา อยู่ระหว่างก่อสร้าง 10 สัญญา และรอลงนาม 3 สัญญา โดยในสิ้นปี 2565 คาดว่างานก่อสร้างจะมีความคืบหน้าถึง 20% และจะก่อสร้างแล้วเสร็จ รวมทั้งทดสอบเดินรถเสมือนจริงได้ในปี 2569 เป็นเวลา 6 เดือน ก่อนจะเปิดให้บริการประชาชนต้นปี 2570

ขณะที่อีก 3 สัญญารอลงนามนั้น อยู่ในขั้นตอนของการดำเนินงาน ประกอบด้วย สัญญาที่ 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง 30.2 กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาจากศาลปกครองสูงสุด ในกรณีที่เอกชนยื่นฟ้องผลการพิจารณาคุณสมบัติการประมูล

ส่วนสัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.2 กิโลเมตร อยู่ในขั้นตอนการเจรจาแก้ไขร่างสัญญาระหว่างทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และกลุ่มซีพี เพื่อดำเนินการลงทุนพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนในโครงการไฮสปีดไทย - จีน และไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน

และสัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.3 กิโลเมตร ขณะนี้ ร.ฟ.ท.ได้ประสานไปยังกรมบัญชีกลางเพื่อให้ความเห็นของเจรจาข้อเสนอจากเอกชนที่ประมูลและยื่นข้อเสนอเป็นรายที่ 2 เนื่องจากเอกชนรายที่ 1 ไม่ยืนราคาตามที่เสนอไว้

เมื่อเร็วๆนี้ ในการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและเร่งรัดการดำเนินการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการ ครั้งที่ 2/2564 เพื่อติดตามและเร่งรัดการขับเคลื่อนการโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย โดยโครงการได้แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา และระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา – หนองคาย ให้เป็นไปตามเป้าหมายและแผนงาน

รวมถึงเสนอแนะเพื่อการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินโครงการ เพื่อปรับปรุง การดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นก่อนรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย – จีน ต่อไป โดยวัตถุประสงค์ในการประชุมครั้งนี้เพื่อเป็นการเร่งรัดการเชื่อมต่อระบบคมนาคมขนส่งระหว่างสามประเทศ ได้แก่ ราชอาณาจักรไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีน

สำหรับโครงการรถไฟจีน – ลาว เตรียมเปิดดำเนินการในวันชาติของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในวันที่ 2 ธ.ค. 2564 ซึ่งประเทศไทยจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในการเชื่อมโยงทางรถไฟตั้งแต่กรุงเทพมหานคร ถึงนครหลวงเวียงจันทน์ และมีปลายทางที่นครคุนหมิง มณฑลยูนนาน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42772
Location: NECTEC

PostPosted: 11/07/2022 10:37 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ปี 69 ได้ใช้ 'ไฮสปีดไทย-จีน' ทุ่ม 3 แสนล้านลุยเฟสสองปีหน้า
กรุงเทพธุรกิจ วันอาทิตย์ ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลา 6:31 น.


รถไฟ "ไทย-จีน" ลุ้นคำตอบอัยการ-กรมบัญชีกลาง เคลียร์ปมสถานีอยุธยาเร่งเซ็นรับเหมาช่วงรอ EIA
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลา 06:45 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลา 06:45 น.


รฟท.เร่ง 3 สัญญารถไฟ "ไทย-จีน" ติดหล่ม ลุ้นอัยการสูงสุดและกรมบัญชีกลาง ตอบปมสถานีอยุธยา ขอเซ็นจ้างรับเหมาแบบมีเงื่อนไขช่วงรอ EIA ส่วนร้องเรียนช่วง 3-1 ทำคำแถลงขอศาลเร่งพิจารณาช่วงทับซ้อนไฮสปีด 3 สนามบิน คาดเริ่มสร้างต้นปี 66

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะ (เฟส) ที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา (รถไฟไทย-จีน) ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท ว่า รฟท.อยู่ระหว่างเร่งแก้ปัญหางานโยธาที่ยังไม่สามารถก่อสร้างได้จำนวน 3 สัญญา ได้แก่ สัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว และสัญญา 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า, สัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง

ทั้งนี้ มี 2 สัญญาที่ประกวดราคาแล้วแต่ยังไม่สามารถลงนามได้ คือ สัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.30 กม.
วงเงิน 9,913 ล้าบาท เนื่องจากมีประเด็นแบบที่ใช้ในการประมูลช่วงสถานีอยุธยา เป็นแบบตามรายงาน EIA ฉบับปรับปรุง ซึ่งยังไม่ได้รับอนุมัติ ซึ่งการลงนามในสัญญาจ้างจะต้องใช้แบบตามรายงาน EIA ฉบับเดิมที่ได้รับอนุมัติแล้ว

แนวทางแก้ไข คือ รฟท.จะลงนามก่อสร้างสัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว กับผู้รับจ้างแบบมีเงื่อนไข โดยจะยังไม่ก่อสร้างช่วงสถานีอยุธยาจนกว่าแบบของสถานีจะได้รับอนุมัติ EIA ซึ่ง รฟท.ได้ทำหนังสือสอบถามไปยัง 2 หน่วยงาน คือ สำนักงานอัยการสูงสุด และกรมบัญชีกลาง เมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยสอบถามอัยการสูงสุดว่าสามารถทำสัญญาโดยมีเงื่อนไขว่าจะยังไม่ก่อสร้างสถานีอยุธยาจนกว่ารายงาน EIA จะได้รับอนุมัติได้หรือไม่ และสอบถามกรมบัญชีกลางเรื่องระเบียบว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐว่าสามารถดำเนินการได้หรือไม่

สำหรับผู้รับจ้างนั้น รฟท.ได้เจรจากับผู้เสนอราคาลำดับที่ 3 บริษัท บุญชัยพาณิชย์ (1979) จำกัด (ในเครือ บมจ.ซีวิลเอนจิเนียริง) ที่วงเงินอยู่ที่ 10,326 ล้านบาท ซึ่งยังต่ำกว่าราคากลางที่ 11,801 ล้านบาทเรียบร้อยแล้ว

สัญญานี้ เดิมมี บมจ.อิตาเลียนไทยฯ ซึ่งเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดที่ 9,913 ล้านบาท แต่ไม่ยืนราคา ส่วนลำดับที่ 2 ปฏิเสธการเจรจา รฟท.จึงเชิญผู้เสนอราคาลำดับที่ 3 มาเจรจาตามขั้นตอน

แหล่งข่าวกล่าวว่า รฟท.ต้องการให้มีความชัดเจนว่าหลักกฎหมายสามารถทำได้ ซึ่งกรณีได้รับคำตอบจากอัยการสูงสุด และกรมบัญชีกลางว่าสามารถดำเนินการได้ จะเร่งเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.เพื่อขออนุมัติลงนามสัญญาจ้าง คาดว่าจะได้รับคำตอบและเสนอบอร์ด รฟท.ได้ในเดือน ส.ค.นี้ แต่หากทั้ง 2 หน่วยงานชี้ว่าไม่สามารถทำได้ รฟท.จะต้องกลับไปเปิดประกวดราคาสัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ใหม่ ซึ่งจะทำให้งานล่าช้าออกไป

สำหรับสัญญาที่ 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง 30.21 กม. วงเงิน 9,348 ล้านบาท ซึ่งศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งของคณะกรรมการการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน กรมบัญชีกลาง ไว้ก่อนเป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่นนั้น ฝ่ายอนาบาล รฟท.เตรียมทำคำขอแถลงต่อศาลว่า รฟท.มีความจำเป็นเร่งด่วนในการดำเนินการ เพื่อขอความกรุณาจากศาลให้พิจารณากรณีดังกล่าว


ส่วนสัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. ซึ่งเป็นช่วงที่มีโครงสร้างทับซ้อนกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม
3 สนามบิน โดยคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ให้ รฟท.เจรจากับคู่สัญญาสัมปทานรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินให้เป็นผู้ก่อสร้างส่วนของโครงสร้างร่วม โดยออกแบบรองรับมาตรฐานรถไฟไทย-จีน ความเร็ว 250 กม./ชม. ล่าสุดการเจรจาได้ข้อตกลงเบื้องต้นว่าจะเริ่มก่อสร้างช่วงโครงสร้างร่วมได้ต้นปี 2566

สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟไทย-จีน เฟสที่ 1 (กรุงเทพฯ-นครราชสีมา) มีค่างานโยธา 1.17 แสนล้านบาท แบ่งก่อสร้างงานโยธาออกเป็น 14 สัญญา ปัจจุบันภาพรวมการก่อสร้างคืบหน้าประมาณ 12% คาดว่าในปี 2565 งานโยธาจะคืบหน้าประมาณ 20% และจะแล้วเสร็จและเริ่มทดสอบเดินรถเสมือนจริงได้ในปี 69 เป็นเวลา 6 เดือน คาดว่าจะเปิดให้บริการประชาชนภายในปี 70
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44711
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/07/2022 7:46 am    Post subject: Reply with quote

ตอกเสาเข็ม2โครงการอีอีซี
Source - เดลินิวส์
Tuesday, July 12, 2022 04:33

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาค ตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ กพอ. รับทราบความก้าวหน้า 4 โครงการสำคัญซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักในพื้นที่อีอีซี โดย มี 2 โครงการหลักที่คืบหน้าอย่างมีนัย สำคัญและเตรียมก่อสร้างในเดือน ต.ค.นี้ คือ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ในพื้นที่สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ส่งมอบให้เอกชนไปดำเนินการต่อแล้ว

นอกจากนี้ยังมีโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก โดยกองทัพเรือได้ออกแบบทางวิ่งที่ 2 และงานปรับถมดินลานจอดศูนย์ ซ่อมบำรุงอากาศยานแล้วเสร็จ 100% ขณะที่งานปรับถมดินทางวิ่งที่ 2 คืบหน้าเกิน 80% ส่วนเอกชนคู่สัญญาอยู่ระหว่างเตรียมจัดทำประชาพิจารณ์ ในเดือน ส.ค. และการปรับปรุงรายงานเพื่อนำเสนอ ครม. ในเดือน ก.ย. 65 ซึ่งการก่อสร้างโครงการฯ ระยะที่ 1 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 68

ขณะเดียวกันยังรับทราบโครงการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล 2 แห่งจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและเมืองพัทยา ไม่น้อยกว่า 200,000 ลบ.ม.ต่อวัน เพื่อรอง รับการใช้ในพื้นที่อีอีซี อย่างยั่งยืนในอนาคต รวมทั้งรับทราบการยกระดับบริการด้านยีนบำบัด สำหรับโรคธาลัสซีเมีย เพื่อให้การใช้เทคโนโลยียีนบำบัดโรคธาลัสซีเมียมีต้นทุน ที่เหมาะสม

ที่ประชุมยังเห็นชอบร่างแผนแม่บทและแผนการดำเนินงานโครงการศูนย์ธุรกิจอีอีซี และเมืองใหญ่น่าอยู่อัจฉริยะ พื้นที่ โครงการฯ ประมาณ 14,619 ไร่ ตั้งอยู่ในตำบลห้วยใหญ่ จ.ชลบุรี อยู่ในเขต ส.ป.ก. ระยะเวลาพัฒนาโครงการ 10 ปี เงินลงทุนโครงการประมาณ 1.34 ล้านล้านบาท โดยจะเสนอให้ ครม. เห็นชอบต่อไป

อย่างไรก็ตามในที่ประชุมนายกฯและรมว.กลาโหม ได้ย้ำให้ กพอ. ทำงานด้วยความระมัดระวัง รอบคอบ และเป็นไปตามกฎหมายที่มีอยู่ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาให้รอบคอบถึงการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล ให้ภาคอุตสาหกรรมมีน้ำใช้เพียงพออย่างยั่งยืน ในระยะเร่งด่วนให้ สกพอ. กระทรวงมหาด ไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับการปรับปรุงโครงข่ายท่อประปาที่เสื่อมสภาพ และนำเทคโนโลยีที่เกี่ยว ข้องมาช่วยในการดำเนินการจัดการน้ำในพื้นที่ พร้อมให้มีการพิจารณาในเรื่องของราคาค่าน้ำให้เป็นไปอย่างเหมาะสม คำนึงถึงการไม่เพิ่มภาระให้กับประชาชนด้วย.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 13 ก.ค. 2565 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44711
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/07/2022 5:57 am    Post subject: Reply with quote

First phase of China-Thailand high-speed railway bridge completed
Jul 10, 2022
CGTN


https://www.youtube.com/watch?v=BWdLG_Ek150
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42772
Location: NECTEC

PostPosted: 16/07/2022 9:41 pm    Post subject: Reply with quote

คลิกคลิป: ชมสะพานยักษ์ทางรถไฟจีน-ไทย เสร็จสิ้นการวางโครงสร้าง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลา 11:10 น.
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดี ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลา 11:10 น.


โครงการทางรถไฟที่ร่วมมือกันระหว่างจีน-ไทยระยะแรก เส้นทางกรุงเทพ-โคราช มีระยะทาง 252.3 กิโลเมตร มีความเร็วออกแบบอยู่ที่ 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง ออกแบบโดยใช้มาตรฐานเทคโนโลยีทางรถไฟของจีน โดยสะพานยักษ์สูงเนินแห่งแรกในเส้นทางนี้ ได้เสร็จสิ้นการวางโครงสร้างแล้ว

สะพานยักษ์แห่งนี้ ยาว 4.192 กิโลเมตร ทีมนักออกแบบได้ออกแบบตอม่อทรง “เอวบาง” โดยผสมผสานเอกลักษณ์ทางศิลปะท้องถิ่นของไทย นอกจากจะตอบสนองต่อมาตรฐานการออกแบบในหลาย ๆ ด้านแล้ว ขณะเดียวกันยังได้ปรับขนาดและความชันของตอม่อเพื่อให้สอดรับกับรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของไทยด้วย


เมื่อ โครงการทางรถไฟความร่วมมือระหว่างจีน-ไทย ได้เปิดใช้งานตลอดทั้งสายแล้ว ก็จะเชื่อมเข้ากับ ทางรถไฟจีน-ลาว ซึ่งจะกระตุ้นการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและการไปมาหาสู่ของผู้คนในประเทศตามแนวเส้นทาง

ข่าว/คลิปโดยภาคภาษาไทยศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์ส่วนกลางแห่งประเทศจีน
https://www.youtube.com/watch?v=NTXfNbm-9_4



วางโครงสร้างแล้ว!!สะพานยักษ์ ‘สูงเนิน’ โครงการรถไฟไทย - จีน
THE STATES TIMES
วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลา 10:50 น.

โครงการรถไฟความเร็วสูง ที่เป็นความร่วมมือกันระหว่างจีน-ไทย ระยะแรก เส้นทางกรุงเทพ-นครราชสีมา ระยะทาง 252.3 กิโลเมตร มีความเร็วออกแบบอยู่ที่ 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งออกแบบโดยใช้ มาตรฐานเทคโนโลยีทางรถไฟของจีน โดยสะพานยักษ์สูงเนินแห่งแรกในเส้นทางนี้ ได้เสร็จสิ้นการวางโครงสร้างแล้ว
.
สะพานยักษ์แห่งนี้ ยาว 4.192 กิโลเมตร ทีมนักออกแบบได้ออกแบบตอม่อทรง “เอวบาง” โดยผสมผสานเอกลักษณ์ทางศิลปะท้องถิ่นของไทย นอกจากจะตอบสนองต่อมาตรฐานการออกแบบในหลาย ๆ ด้านแล้ว ขณะเดียวกันยังได้ปรับขนาดและความชันของตอม่อเพื่อให้สอดรับกับรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของไทยด้วย
.
เมื่อ โครงการทางรถไฟความร่วมมือระหว่างจีน-ไทย ได้เปิดใช้งานตลอดทั้งสายแล้ว ก็จะเชื่อมเข้ากับทางรถไฟจีน-ลาว ซึ่งจะกระตุ้นการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและการไปมาหาสู่ของผู้คนในประเทศตามแนวเส้นทาง
.
ข่าว/คลิปโดย ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์ส่วนกลางแห่งประเทศจีน (CMG)
https://www.facebook.com/watch/?v=1672566326450923


Last edited by Wisarut on 18/07/2022 9:54 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44711
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/07/2022 3:19 pm    Post subject: Reply with quote

อีสานเกตเวย์เชื่อมรถไฟจีน-ลาว สร้างโอกาสสินค้าเกษตรไทย
ประชาชาติธรุกิจ วันที่ 17 กรกฎาคม 2565 - 07:18 น.

วิกฤตอาหารโลกกำลังรุนแรงไปทั่วโลก หลายประเทศตั้งรับปัญหาการขาดแคลนอาหารและราคาอาหารที่จะเพิ่มสูงขึ้น แต่วิกฤตนี้กลายเป็นโอกาสสำหรับ “ประเทศไทย” ในฐานะครัวของโลก ในงานเสวนา Next Step เกษตรกรไทย : ก้าวต่อไปธุรกิจเกษตรรับมืออย่างไร หลังโควิดสู่โรคประจำถิ่น พูดในหัวข้อ Next Normal : ธุรกิจเกษตรต้องปรับตัวอย่างไร หลังโควิดสู่โรคประจำถิ่น ซึ่งจัดโดย มติชน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวปาฐกถาว่า กระทรวงเกษตรมีเป้าหมายยกระดับประเทศไทยให้เป็น ผู้ส่งออกอาหารติด top 10 ของโลก เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประเทศมหาอำนาจของการผลิตและส่งออกอาหาร โดยที่ผ่านมาธุรกิจการเกษตรในประเทศไทยถือว่ามีศักยภาพตั้งแต่ก่อนจะเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกอาหารอันดับที่ 14 ของโลก ภายหลังเกิดสถานการณ์ของโควิด-19 ไทยขยับมาอยู่ในอันดับที่ 13 ของโลก

“ความต้องการอาหารและขาดแคลนอาหารในระยะสั้นและระยะยาว จากวิกฤตสำคัญ เช่น การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังไม่สามารถสรุปว่าจะจบเมื่อไหร่ สงครามรัสเซีย-ยูเครน การเพิ่มประชากรของโลกส่งผลต่อความต้องการอาหาร และปัญหาของภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบการผลิตสินค้า ผลผลิตการเกษตร ปัญหาเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อการผลิตอาหารตลอดซัพพลายเชนโลก แต่ประเทศไทยซึ่งมีจุดแข็งในด้านการผลิตสินค้าเกษตร และมีความมั่นคงทางด้านอาหารได้ 100%”

ซึ่งขณะนี้กระทรวงเกษตรฯดำเนินการตามยุทธศาสตร์ 5 ด้าน ที่จะยกระดับภาคเกษตรไปสู่การเป็นท็อป 10 อาหารโลก โดยมุ่งใช้ตลาดนำการผลิต นำเทคโนโลยีเกษตร 4.0 มาช่วย การขับเคลื่อนมาตรการ 3S ในภาคเกษตร เพื่อสร้างเกษตรปลอดภัย เกษตรมั่นคง และเกษตรยั่งยืน ทำงานเชิงบูรณาการทุกภาคส่วน และมุ่งพัฒนากสิกรรมยั่งยืน เพื่อเป้าหมายดูแลประชาชนภายในประเทศและประชากรทั่วโลก

เร่งเชื่อมรถไฟจีน-ลาว
ขณะที่ นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวในหัวข้อ Next Scenario : อีสานเกตเวย์ “รถไฟจีน-ลาว” โอกาสและความท้าทายที่เกษตรกรเผชิญหลังยุคโควิด-19 ว่า ตั้งแต่ที่มีการเปิดให้บริการรถไฟจีน-ลาวได้ประมาณ 7 เดือน จะเห็นว่าสินค้าที่นำเข้าจะมีปริมาณมากกว่าที่สินค้าไทยส่งออกไป ส่วนสินค้าที่ไทยส่งออกส่วนใหญ่เป็นทุเรียน ยังไม่มีสินค้าอื่น ดังนั้น เห็นว่าไทยควรเร่งส่งออกสินค้าอื่นของไทยโดยใช้เส้นทางรถไฟจีน-ลาวให้มากขึ้น

“หลังเปิดรถไฟจีน-ลาวจะเห็นว่าไทยนำเข้าแอปเปิล องุ่น มะนาว ผัก ผลไม้จากจีน โดยใช้เส้นทางรถไฟจีน-ลาว หากมองในสินค้าที่ไทยไม่ได้ผลิตเองยังพอรับได้ แต่มีกลุ่มสินค้าที่ไทยสามารถผลิตเองได้ยังต้องนำเข้า เช่น หอม กระเทียม ผัก ส้ม หากไทยยังไม่ยกระดับและผลิต เชื่อว่าจะทะลักเข้าไทย 100% ได้ในอนาคต”

สำหรับแนวทางในการสร้างโอกาสการส่งออกสินค้าไทยไปจีนผ่านเส้นทางรถไฟจีน-ลาวนั้น ไทยควรเร่งเชื่อมต่อรถไฟจีน-ลาว โดยเฉพาะจังหวัดสำคัญ เช่น หนองคาย น่าน อุตรดิตถ์ เชียงราย และเลย เพื่อเชื่อมโยงด้านการขนส่ง ที่สำคัญควรเร่งสร้างสะพานแห่งที่ 2 ให้เสร็จภายใน 1 ปี จากที่ปัจจุบันเรื่องนี้ยังมีความล่าช้ามาก

หากดำเนินการจะช่วยลดต้นทุนการขนส่งถึง 30% และหากสามารถเชื่อมโยงถึงส่วนกลางได้จะทำให้การขนส่งลดต้นทุนไปถึง 60% ในการขนส่งสินค้าผ่านเส้นทางดังกล่าวเพื่อส่งไปยังจีน และควรกำหนดให้มีหน่วยงานกลางเป็นศูนย์กลางในการให้บริการและดูแลจัดการด้านขนส่งด้วย

ท่องเที่ยวเชิงเกษตร
นางสาวรัฐรินทร์ สว่างสาลีรัฐ จ.สระแก้ว สมาร์ทฟาร์มเมอร์ทำเกษตรผสมผสาน-ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ผลผลิตและการแปรรูป ภายใต้แบรนด์ไร่ดีต่อใจ กล่าวระหว่างเสวนาหัวข้อ Next Trends : เกษตรติดเทรนด์ ปิดจุดอ่อน เสริมจุดแข็ง พร้อมรับทุกการเปลี่ยนแปลง กล่าวว่า ปัจจุบันกลุ่มเรามีเครือข่ายประมาณ 600 ไร่

ผลผลิตที่เพาะปลูกสำคัญ เช่น มะม่วง มะยงชิด กระท้อน จากอดีตที่ทำการเกษตรแบบต่างคนต่างทำ ทำให้เกิดปัญหาเมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามา ไม่สามารถตอบสนองลูกค้าได้ แต่ปัจจุบันการรวมกลุ่มเกษตรกรช่วยให้เกิดความเข้มแข็ง สามารถเพิ่มผลผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการตลาด แปรรูป และขยายช่องทางการขายมากขึ้น แม้ว่าปัญหาโควิด-19 ที่เข้ามากระทบ

นายถวิลย์ อินต๊ะขัน ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายปฏิบัติการธุรกิจ Integration บริษัท เจียไต๋ จำกัด กล่าวว่า ทางเจียไต๋ซึ่งดำเนินธุรกิจมายาวนาน ได้มีส่วนช่วยเกษตรกรในการรับซื้อ และส่งเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเกษตรกร ช่วยวางแผนในการผลิตและเพาะปลูก การบริหารจัดการสินค้า และแนะนำการเพาะปลูกสินค้าที่เป็นที่ต้องการของตลาด พร้อมทั้งส่งเสริมการสร้างมาตรฐานซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของเกษตรกรรม เพราะจะทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นและแข่งขันได้ พร้อมทั้งส่งเสริมการผลิตและยกระดับให้เป็นสินค้าจีไอ ที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มได้ หากจะแข่งขันในด้านต้นทุนและราคาคงจะสู้กับต่างประเทศไม่ได้

นายปวิตพล ไพบูลย์ ผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษากองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า ที่ผ่านมาหน่วยงานของภาครัฐได้เข้าไปอบรม สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเกษตรกร โดยเฉพาะการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าและแนะนำช่องทางการขายทั้งในรูปแบบปกติ ออนไลน์ เพื่อสอดคล้องกับสถานการณ์และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป อีกทั้งยังส่งเสริมในการสร้างมาตรฐานสินค้าและคุณภาพ เพื่อผลักดันการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยในอนาคต
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42772
Location: NECTEC

PostPosted: 18/07/2022 12:06 am    Post subject: Reply with quote

ต.ค.ได้ฤกษ์ตอกเสาเข็ม ไฮสปีดอีอีซี เปิดให้บริการปี 69
หน้าเศรษฐกิจMega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันศุกร์ ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลา 13:51 น.

กพอ.เดินหน้าเร่งแก้สัญญาร่วมทุนซีพี สร้างไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน เล็งตอกเสาเข็มช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภาและบางซื่อ-ดอนเมือง เริ่มต.ค.นี้ ยันบึงเสือดำเอกชนยอมรับเงื่อนไข จ่อชง บอร์ดอนุกพอ.ไฟเขียว ปลายเดือนก.ค.นี้ พร้อมเปิดให้บริการปี 69

รายงานข่าวจากคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคมที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน รับทราบความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง- สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) เบื้องต้นจะดำเนินการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการฯ ระหว่างรฟท. และบริษัทเอเชีย เอราวัน จำกัด หรือซีพี ผู้รับสัมปทานโครงการฯ ภายในเดือนตุลาคมนี้ โดยจะส่งมอบพื้นที่ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา เนื่องจากช่วงดังกล่าวพบว่าการรื้อย้ายงานสาธารณูปโภคแล้วเสร็จ โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้พื้นที่ครบทั้ง 100% หลังจากนั้นจะเร่งรัดออกหนังสือส่งมอบที่ดินให้กับเอกชนที่ชนะการประมูลในโครงการ (NTP) เพื่อก่อสร้าง ภายในเดือนตุลาคมเช่นเดียวกัน ซึ่งเอกชนสามารถเข้าพื้นที่เตรียมก่อสร้าง เช่น งานสร้างถนน งานก่อสร้างโรงหล่อชิ้นงานโครงสร้าง ดำเนินการแล้วเสร็จ และเริ่มก่อสร้างต่อเนื่อง คาดว่าช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา จะเปิดบริการปี 2569





“ในกรณีบึงเสือดำที่อยู่ในพื้นที่มักกะสันนั้นเป็นพื้นที่ที่มีมานาน ซึ่งเอกชนยอมรับและรับทราบแล้ว หากเอกชนต้องการใช้พื้นที่บริเวณดังกล่าวสามารถก่อสร้างระบบระบายนํ้าทดแทนได้”



ทั้งนี้เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคมที่ผ่านมา ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้มีการเจรจากับเอกชนถึงปัญหาบริเวณพื้นที่ทับซ้อนร่วมกับไฮสปีดไทย-จีน) ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง แล้วเสร็จ เบื้องต้นได้โดยมอบ หมายให้เอกชนคู่สัญญาเป็นผู้ดำเนินการ คาดว่าจะนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) โดยมี นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน พิจารณาเห็นชอบภายในปลายเดือนกรกฎาคม 2565






สำหรับช่วงปัญหาบริเวณการก่อสร้างโครงการฯทับซ้อนร่วมกับโครงการรถไฟ ความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย (ไฮสปีดไทย-จีน) ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ได้ข้อสรุปแล้ว โดยเอกชนจะต้องออกแบบรายละเอียดตามมาตรฐานของจีน เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาทางเอกชนได้มีการออกแบบรายละเอียดตามมาตรฐานของยุโรป เมื่อจะดำเนินการก่อสร้างกลับพบว่าเกิดการทับซ้อนกับไฮสปีดไทย-จีน ซึ่งไทยและจีนมีข้อตกลงว่าต้องใช้การออกแบบตามมาตรฐานของจีน ทำให้โครงสร้างการก่อสร้างมีขนาดใหญ่กว่ามาตรฐานยุโรป เพราะมุ่งเน้นความแข็งแรง ส่งผลให้มีค่าก่อสร้าง ค่าออกแบบและค่าควบคุมงานก่อสร้างเพิ่มขึ้นจากสัญญาร่วมทุน จำนวน 9,207 ล้านบาท



รายงานข่าวจากกพอ.กล่าวต่อว่า ส่วนความคืบหน้าช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ขณะนี้มีการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคและดำเนินการเคลียร์พื้นที่ผู้บุกรุกแล้วเสร็จ หลังจากแก้สัญญาแล้วจะเริ่มดำเนินการให้เอกชนเข้าพื้นที่เพื่อดำเนินการก่อสร้างภายในเดือนตุลาคมนี้แต่ในสัญญาเดิมระบุว่าเอกชนจะไม่ก่อสร้างช่วงดังกล่าวก่อน เพราะต้องการก่อสร้างช่วงพญาไท-บางซื่อ เพื่อสามารถเดินรถได้ต่อเนื่อง ปัจจุบันช่วงพญาไท-บางซื่อ อยู่ระหว่างการรื้อย้ายท่อนํ้ามัน เนื่องจากเพิ่งผ่านความเห็นชอบของรายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) คาดว่าจะรื้อย้ายแล้วเสร็จภายในกลางปี 2566 ตามสัญญาจะส่งมอบพื้นที่ภายในเดือนตุลาคม 2566 ส่วนปัญหาผู้บุกรุกพื้นที่ช่วงพญาไท-บางซื่อ ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) อยู่ระหว่างการเคลียร์ปัญหาผู้บุกรุกพื้นที่อีกราว 80 หลัง จากเดิมทั้งหมดราว 200 หลัง คาดว่าจะย้ายผู้บุกรุกแล้วเสร็จภายในปี 2565


“ทางเอกชนต้องการพื้นที่การก่อสร้างโครงการฯที่มีความต่อเนื่อง ซึ่งภาครัฐต้อง การให้เอกชนก่อสร้างพื้นที่บริเวณบางซื่อ-ดอนเมืองก่อน เพื่อไม่ให้กระทบการก่อสร้างไฮสปีดไทย-จีน ที่จะส่งผลต่อการเปิดให้บริการล่าช้า โดยเอกชนต้องยอมรับความเสี่ยงในการก่อสร้างช่วงดังกล่าวก่อน ทำให้ต้องเว้นการก่อสร้างช่วงพญาไท-บางซื่อออกไป เพราะรอรื้อย้ายท่อนํ้ามันให้แล้วเสร็จ”
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44711
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/07/2022 7:24 am    Post subject: Reply with quote

รื้อแล้ว ชุมชนบุญร่มไทร สร้างรถไฟความเร็วสูง3สนามบิน ยมราช-พญาไท ย้ายผู้บุกรุกไปมักกะสัน/ 18 ก.ค. 65
Jul 19, 2022
nanny official

กรณีผู้บุกรุกพื้นที่การรถไฟแห่งประเทศไทย "ชุมชนบุญร่มไทร" โดยมีการเจรจาและได้ข้อสรุปแล้ว โดย รฟท. ร่วมกับ การเคหะแห่งชาติ จะสร้างที่พักแห่งใหม่ที่ริมบึงมักกะสัน ให้ผู้บุกรุกเข้าอาศัยแบบถูกกฎหมาย และชุมชนก็ทีความยินยอม 100 % แล้ว สำหรับการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน คาดว่าจะสามารถส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนผู้รับสัมปทานได้ภายในเดือนกรกฎาคมนี้ ปล.แต่ยังมีประชาชนบางส่วนในพื้นที่ยังใช้ชีวิตปกติ ยังไม่ย้ายนะคะ ก็ได้แต่หวังว่าทุกอย่างจะราบรื่นนะค้าาา เพื่อส่วนรวมย้ายเถอะค่ะ


https://www.youtube.com/watch?v=sX5NNSWUthc
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42772
Location: NECTEC

PostPosted: 19/07/2022 11:33 am    Post subject: Reply with quote

กรมการขนส่งทางราง ชี้แจงความคืบหน้าการดำเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย – จีน และการเชื่อมต่อรถไฟ ลาว – จีน
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
วันจันทร์ ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลา 16:13 น.

รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบรางซึ่งเป็นการขนส่งแห่งอนาคต เนื่องจากในปัจจุบันการขนส่งทางรถไฟเป็นทางเลือกที่คุ้มค่า สามารถลดต้นทุนทั้งด้านเวลา และค่าใช้จ่ายด้านโลจิติกส์ รวมถึงเป็นรูปแบบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนที่จะช่วยสร้างศักยภาพและโอกาสใหม่่ทางการคำ การลงทุน ที่จะนำมาสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจในท้ายที่สุด รัฐบาลจึงได้อนุมัติให้กระทรวงคมนาคม โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย – จีน ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา มาตั้งแต่ปี 2560 โดยในการดำเนินโครงการดังกล่าวประเทศไทยจะเป็นผู้ลงทุนโครงการ 100% โดยฝ่ายไทยจะเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง
งานโยธา โดยฝ่ายจีนจะดำเนินการออกแบบ ควบคุมงาน และติดตั้งระบบไฟฟ้าและเครื่องกล
โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย – จีน เป็นการลงทุนขนาดใหญ่และใช้ระบบเทคโนโลยีชั้นสูงที่ประเทศไทยไม่เคยมีมาก่อน ในการดำเนินโครงการที่ผ่านมาจึงมีปัญหาและอุปสรรคหลายประการ เช่น ปัญหาการเวนคืนที่ดิน และปัญหาการลงนามสัญญา 2.3 (งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร)
นับตั้งแต่รัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศในปี 2562 โดยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้กำหนดนโยบายให้เร่งรัดผลักดันการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง เนื่องจากเล็งเห็นถึงความสำคัญของโครงการเชื่อมโยงโครงข่ายทางรถไฟเพื่อรองรับการเดินทางและขนส่งระหว่างประเทศ และถือเป็นหัวใจหลักของการพัฒนาในระดับอนุภูมิภาคและภูมิภาคที่ยั่งยืน และช่วยเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพระบบโลจิสติกส์ไทยให้ก้าวหน้าที่จะช่วยขับเคลื่อนสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน อาทิ การผลักดันการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงจนสามารถเร่งรัดการดำเนินการสัญญางานโยธาของโครงการจนสามารถลงนามและก่อสร้างได้กว่า 10 สัญญา พร้อมทั้งได้ผลักดันการลงนามสัญญา 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร ได้แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2563 หลังจากทั้งสองฝ่ายร่วมหารือกันมาตั้งแต่ปี 2560 รวมทั้งการผลักดันการจัดทำ พ.ร.ฎ. เวนคืน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินโครงการ และสามารถเปิดให้บริการได้ตามแผนของกระทรวงคมนาคม
โดยเมื่อเปรียบเทียบโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย – จีน และโครงการรถไฟลาว – จีน จะพบว่ารถไฟลาว – จีน เป็นการลงทุนร่วมกันระหว่างฝ่ายลาวกับจีน โดยฝ่ายลาวลงทุนร้อยละ 30 ฝ่ายจีนลงทุนร้อยละ 70 โดยเป็นการออกแบบพร้อมก่อสร้าง (Design Build) ใช้รางขนาด 1.435 เมตร เป็นทางเดี่ยว โดยใช้รถไฟ EMU รุ่น CR 200 ด้วยความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ในขณะที่รถไฟไทย – จีน เป็นรถไฟความเร็วสูงที่มีการใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างที่แตกต่างจากรถไฟลาว – จีน โดยก่อสร้างเป็นทางคู่ตลอดเส้นทาง โดยใช้รถรุ่น CR300 สามารถรองรับความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ฝ่ายไทยเป็นผู้ลงทุนโครงการทั้งหมด 179,412.21 ล้านบาท ระยะทาง 253 กิโลเมตร ซึ่งหากพิจารณาในรายละเอียดต้นทุนโครงการต่อกิโลเมตรจะพบว่า เท่ากับ 707 ล้านบาทต่อกิโลเมตร ซึ่งเป็นการคำนวณต้นทุนจากทางคู่ (สองทางวิ่ง) ดังนั้น หากคำนวณจากทางเดี่ยวไป-กลับ (506 กิโลเมตร) ของไทยจะมีต้นทุนกิโลเมตรละ 358 ล้านบาท ซึ่งถูกกว่า รถไฟลาวจีน ที่เป็นทางเดี่ยวที่มีต้นทุนกิโลเมตรละ 480 ล้านบาท
การที่ฝ่ายไทยลงทุนเองจะช่วยให้ประเทศไทยสามารถกำหนดยุทธศาสตร์ เช่น
- มีอิสระในการกำหนดแผนในการเดินรถ (Operation)
- ไม่เสียสิทธิ์การใช้พื้นที่ข้างทาง
- สามารถกำหนดให้พนักงานขับรถไฟ และพนักงานในศูนย์ซ่อมบำรุงทั้งหมดเป็นชาวไทยได้ตั้งแต่วันแรกที่เปิดให้บริการเดินรถ
ซึ่งถือเป็นการสร้างงานสร้างอาชีพให้แก่ประเทศ ทั้งนี้ ในการดำเนินโครงการของฝ่ายไทยต้องดำเนินการตามขั้นตอนและกฎหมาย ตั้งแต่ ขั้นตอน การเสนอโครงการ การเสนอรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม การเสนอโครงการต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการ การเวนคืนที่ดิน และการก่อสร้าง ที่ต้องดำเนินการตามกฎหมายไม่น้อยกว่า 15 ฉบับ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการดำเนินโครงการเป็นไปอย่างโปร่งใส และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและประเทศ ซึ่งการดำเนินการก่อสร้างโดยใช้ระเบียบกฎหมายของประเทศไทยถือเป็นส่วนสำคัญที่สามารถกำหนดให้ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ผลิตภายในประเทศมากกว่า ร้อยละ 95 ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นเศรษฐกิจหมุนเวียนภายในประเทศ และการถ่ายทอดเทคโนโลยี
ดังนั้น เมื่อเทียบกับการให้สัมปทานประเทศจีนรับเหมาก่อสร้างแบบเบ็ดเสร็จที่อาจจะก่อสร้างได้เร็วกว่า แต่รัฐบาลไทยมุ่งมั่นที่จะดำเนินโครงการที่ส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ และการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านระบบรางในระยะยาวที่ยั่งยืนมากกว่า ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของรัฐบาลในการพัฒนาตาม ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ที่จะสนับสนุนการขยายตัวของเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจโดยรอบเส้นทางที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทาง ที่จะส่งเสริมให้เกิดการจ้างงาน การท่องเที่ยวนำมาสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจในท้ายที่สุด
นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมได้ตระหนักถึงความสำคัญของโครงการเชื่อมโยงโครงข่ายทางรถไฟ ระหว่างไทย ลาว และจีน เนื่องจากในปัจจุบันการขนส่งทางรถไฟเป็นทางเลือกใหม่ที่คุ้มค่า สามารถลดต้นทุน ทั้งด้านเวลาและค่าใช้จ่ายในการส่งออกสินค้าผ่านรถไฟจากไทยไปจีนยิ่งขึ้น จึงได้จัดตั้งทีมประเทศไทย (Team Thailand) ตามที่นายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งคณะกรรมการบูรณาการการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน โดยมีรองนายกฯ อนุทิน เป็นประธานกรรมการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ในองค์ประกอบ เพื่อหารือการเชื่อมโยงรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศไทย โดยได้เห็นชอบแผนการเชื่อมต่อ เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้าง คาดว่าเปิดให้บริการในปี 2569 โครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย คาดว่าเสนอคณะรัฐมนตรีในปี 2565 และจะเปิดให้บริการในปี 2571 โครงการรถไฟทางคู่ช่วงขอนแก่น-หนองคายปัจจุบันอยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในปี 2565 คาดว่าเปิดให้บริการในปี 2569 รวมถึงการก่อสร้างสะพานแห่งใหม่ การพัฒนาสถานีหนองคายในระยะเร่งด่วน และระยะยาวในการพัฒนาพื้นที่ย่านนาทา รวมถึงส่งทีมประเทศไทยลงพื้นที่สำรวจโครงการเชื่อมต่อทางรถไฟ ช่วงหนองคาย – เวียงจันทน์ ตามที่กระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ) ทำหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทย เข้าร่วมประชุมหารือกับรัฐมนตรีโยธาธิการและขนส่ง หัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายลาว เพื่อหาแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคตะวันตกของประเทศจีน มายัง สปป.ลาว และประเทศไทย ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศและลดต้นทุนการขนส่งสินค้าตลอดเส้นทางเมื่อเกิดการเชื่อมต่อโครงข่ายระหว่างสามประเทศ รวมทั้งมีเป้าหมายหลักในการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เสริมสร้างความแข็งแกร่งของห่วงโซ่อุปทาน เพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เข้มแข็งและยั่งยืน ส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและความเชื่อมโยงทางคมนาคม ตลอดจนส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างประชาชนทั้งสามประเทศต่อไ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42772
Location: NECTEC

PostPosted: 20/07/2022 3:31 pm    Post subject: Reply with quote

ทำไมรถไฟความเร็วสูงไทย ถึงความเร็วแค่ 250 กม/ชม!!!
ในหัวข้อ Construction
ให้รายละเอียดเกี่ยวกับมูลค่าก่อสร้างเฉลี่ย ของแต่ละความเร็ว (เป็นมาตรฐานรถไฟทางคู่) ตามนี้
- 350 กม/ชม ค่าก่อสร้าง 139 ล้านหยวน/กิโลเมตร (ประมาณ 700 ล้านบาท/กิโลเมตร)
- 250 กม/ชม ค่าก่อสร้าง 114 ล้านหยวน/กิโลเมตร (ประมาณ 570 ล้านบาท/กิโลเมตร)
- 200 กม/ชม ค่าก่อสร้าง 104 ล้านหยวน/กิโลเมตร (ประมาณ 520 ล้านบาท/กิโลเมตร)
ซึ่งอย่างที่เห็น ค่าเฉลี่ยของความเร็ว 350 และ 250 มีค่าก่อสร้างแตกต่างกันถึง 20% !!!! ยังไม่รวมค่าซ่อมบำรุง และค่าเดินรถต่างๆซึ่งแพงกว่ากันอีกมาก

—————————
รายละเอียดความแตกต่างของการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูง ในแต่ละความเร็ว ระหว่างหว่างมาตรฐาน
- 350 กม/ชม(อินโดนีเซีย)
- 250 กม/ชม (ไทย)
- 160-200 กม/ชม (ลาว)
*** ของลาวไม่แน่ใจว่าเข้าเกณฑ์ได้มั้ยเพราะจากข้อมูลวิ่งแค่ 160 และเป็นทางเดี่ยว!!!
—————————
แบ่งเป็นไปตามหัวข้อดังนี้ครับ
Alignment
- ระยะห่างระหว่างทางรถไฟ (จากจุดกึ่งกลางรถไฟ)
350 กม/ชม ระยะห่าง 5 เมตร
250 กม/ชม ระยะห่าง 4.6 เมตร
160-200 กม/ชม ระยะห่าง 4.2 เมตร
- รัศมีโค้ง
350 กม/ชม Slabtrack 7,000 เมตร
250 กม/ชม Slabtrack 3,200 เมตร Ballasted 3500 เมตร
160-200 กม/ชม Slabtrack 2,200 เมตร
*** ซึ่งเป็นปัจจัยหลักของค่าใช้จ่ายในการออกแบบ
รูปแบบทางรถไฟ (Track)
350 กม/ชม Slabtrack เท่านั้น
250 กม/ชม Slabtrack หรือ Ballasted
160-200 กม/ชม ส่วนมากเป็น Ballasted
ความกว้างฐานคันทางรถไฟ (Subgrade width)
350 กม/ชม Slabtrack 13.6 เมตร
250 กม/ชม Slabtrack 13.2 เมตร Ballasted 13.4 เมตร
160-200 กม/ชม Slabtrack 11.5 เมตร Ballasted 10.3 เมตร
ความหนาฐานคันทางรถไฟ (Subgrade thickness)
350 ,250 และ 200 กม/ชม ใช้ Slabtrack หนา 2.7 เมตร เท่ากันหมด
250 และ 200 กม/ชม ใช้ Ballasted หนา 3 เมตร เท่ากัน
ขนาดพื้นที่ผิวอุโมงค์ (Effective Area)
350 กม/ชม พื้นที่ผิว Double Track 100 ตารางเมตร Single Track 70 ตารางเมตร
250 กม/ชม พื้นที่ผิว Double Track 90 ตารางเมตร Single Track 58 ตารางเมตร
160-200 กม/ชม พื้นที่ผิว Double Track 72 ตารางเมตร Single Track 35 ตารางเมตร
อาณัติสัญญาณ
- มาตรฐานอาณัติสัญญาณ
350 กม/ชม CTCS L3
250 กม/ชม CTCS L3 หรือ CTCS L2
160-200 กม/ชม CTCS L2
- ระบบเชื่อมต่อข้อมูล ไร้สาย GSM-R
350 กม/ชม Single network interlaced coverage
250 กม/ชม CTCS L3 Single network interlaced coverage หรือ CTCS L2 Common Single network interlaced coverage
160-200 กม/ชม CTCS L2 Single network interlaced coverage
ระบบจ่ายไฟฟ้า (Power Supply)
350 ,250 กม/ชม จ่ายไฟผ่านระบบ Auto Transformer
200 กม/ชม ผ่านระบบจ่ายไฟตรงผ่านระบบ Current Return Wire
ระบบสายส่งไฟฟ้า (OCS)
- เสาหลัก (Subgrade Mast)
350 กม/ชม เสา H-Beam เดี่ยว
250 และ 200กม/ชม เป็นเสาคอนกรีตกลมเดี่ยว
- คานเกาะสาย OCS
350 กม/ชม คานอลูมิเนียมอัลลอย
250 และ 200กม/ชม คานเหล็ก
ซึ่งอย่างที่เห็นในรายละเอียดเปรียบเทียบของแต่ละส่วน เห็นได้ชัดเจนเลยว่า ความเร็ว 350 กม/ชม Spec และ ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างที่สูงกว่า 250 กม/ชม ที่เราใช้มากๆ
————————
แต่ความเร็วที่แตกต่างกัน ในการเดินทางมันต่างกันขนาดไหน???
- โครงการรถไฟความเร็วสูงของอินโดนีเซีย สาย Jakata-Bandung
ใช้ความรถไฟความเร็วสูงรุ่น CR400AF
มีระยะทาง 142 กิโลเมตร ใช้ความเร็วสูงสุด 350 กิโลเมตร/ชั่วโมง ใช้เวลาประมาณ 44 นาที
*** ความเร็วเฉลี่ย 193 กิโลเมตร/ชั่วโมง
*** ค่าโดยสารชั้น 2 (ชั้นทั่วไป) สูงสุดประมาณ 1000 บาท
*** เฉลี่ยกิโลเมตรละ 7 บาท

เปรียบเทียบกับโครงการของไทย
- โครงการรถไฟความเร็วสาย กรุงเทพ-โคราช
ใช้ความรถไฟความเร็วสูงรุ่น CR300AF
มีระยะทาง 250 กิโลเมตร ใช้ความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง ใช้เวลาประมาณ 90 นาที
*** ความเร็วเฉลี่ย 166 กิโลเมตร/ชั่วโมง
*** ค่าโดยสารชั้น 2 (ชั้นทั่วไป) สูงสุดประมาณ 536 บาท
*** เฉลี่ยกิโลเมตรละ 2.1 บาท!!!!
ลองเปรียบเทียบดูแล้วจะเข้าใจครับ ว่าทำไมเราถึงเลือกใช้ความเร็วสูงสุดแค่ 250 กม/ชม !!!!
***ซึ่งถ้าเราจะเพิ่มความเร็วเป็น 350 กม/ชม เราจะลดเวลาการเดินทางลงได้แค่ 12.5 นาที!!! แต่เราต้องเพิ่มค่าโดยสารอีกอย่างน้อย 3 เท่าตัว มันจะคุ้มมั้ย!!!!
———————
แล้วถ้าเทียบกับจีน ซึ่งมีทั้งโครงข่ายความเร็ว 350 และ 250 กม/ชม จีนได้ตั้งราคาค่าโดยสารไว้คือ
ความเร็ว 350 กม/ชม
- ชั้น 1 ราคาเฉลี่ย 0.75 หยวน/กิโลเมตร (ประมาณ 3.75 บาท/กิโลเมตร)
- ชั้น 2 ราคาเฉลี่ย 0.46 หยวน/กิโลเมตร (ประมาณ 2.3 บาท/กิโลเมตร)
ความเร็ว 250 กม/ชม
- ชั้น 1 ราคาเฉลี่ย 0.35 หยวน/กิโลเมตร (ประมาณ 1.75 บาท/กิโลเมตร)
- ชั้น 2 ราคาเฉลี่ย 0.29 หยวน/กิโลเมตร (ประมาณ 1.45 บาท/กิโลเมตร)
ดังนั้นขนาดพี่จีนเอง ราคาของความเร็ว 350 ยังแพงกว่า 250 ถึงเท่าตัว!!!
———————
แล้วถ้าเปรียบเทียบโครงข่ายของประเทศใหญ่ๆ เค้าล่ะโครงข่ายรถไฟความเร็วสูงมีความเร็วเท่าไหร่บ้าง มากน้อยขนาดไหน
- จีน
ใช้ความเร็ว 350 เพียงแค่ในเส้นทางหลักระหว่างเมืองใหญ่ ซึ่งมีความหนาแน่นของผู้โดยสารมาก!!! เช่น ปักกิ่ง-เชี่ยงไฮ้ , ปักกิ่ง-เสินเจิ้น(ฮ่องกง) ,เชี่ยงไฮ้-คุนหมิง และเส้นหลักตามระหว่างมหานคร
ใช้ความเร็ว 250 ในเส้นทางที่เหลือ ตามเส้นทางระหว่างเชื่อมต่อเมืองย่อย ตามภูมิภาคที่มีความหนาแน่นของผู้โดยสารต่ำกว่า เช่น เส้นทางเลียบชายฝั่ง เชี่ยงไฮ้-เสินเจิ้น , กวางโจว-คุนหมิง, ซีอาน-อุรุมชี และเส้นย่อยอื่นๆ
ซึ่งอย่างที่เห็นว่าแม้กระทั่งพี่จีนซึ่งเป็นผู้นำของรถไฟความเร็วสูงยังเลือกใช้ความเร็วที่แตกต่างกันตามความจำเป็นและความหนาแน่นของผู้โดยสารเลยครับ!!!
- เยอรมัน
ความเร็วมากกว่า 300 กม/ชม มีแค่ 3 เส้นทางหลักๆ คือ Leipzig-Erfurt-Nuremburge, Nuremburge-Ingolstadt และ Frankfurt-Colone
ที่เหลือก็จะเป็นเส้นทางความเร็ว 250-200 กิโลเมตร/ชั่วโมงในเส้นทางอื่กๆ เป็นโครงข่ายรองรับ ซึ่งจริงๆเป็นความเร็วหลักของระบบ ICE (รถไฟความเร็วสูงเยอรมัน) เป็นหลัก
ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ ICE4 ซึ่งเป็นรถไฟรุ่นล่าสุดของเยอรมัน ใช้ความเร็วสูงสุดแค่ 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งไม่เร็วมาแต่เน้นความสะดวกสบายในการโดยสารเป็นหลัก
———————
ดังนั้น ผมมองว่าเป็นเรื่องที่เหมาะสมแล้วที่ไทยเราเลือกรถไฟความเร็วสูงแค่ความเร็ว 250 กม/ชม เท่านั้น!!!
———————
ใครสนใจรายละเอียดโครงการรถไฟความเร็วสูงสายโคราช ดูได้ตามลิ้งค์นี้ครับ
ภายในโครงการแบ่งทางวิ่งเป็น 3 รูปแบบคือ
- ทางวิ่งระดับดิน มีระยะทางรวม 54.09 กิโลเมตร
- ทางวิ่งยกระดับ มีระยะทางรวม 188.68 กิโลเมตร
- อุโมงค์ มีระยะทางรวม 8 กิโลเมตร
รวมระยะทางในโครงการทั้งหมด 250.77 กิโลเมตรใช้เวลาเดินทาง 90 นาที
โดยในโครงการมีสถานีทั้งหมด 6 สถานี ได้แก่
- สถานีกลางบางซื่อ
- สถานีดอนเมือง
- สถานีอยุธยา
รายละเอียดสถานี
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/629629310808885/?d=n
- สถานีสระบุรี
รายละเอียดสถานี
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/630481400723676/?d=n
- สถานีปากช่อง
รายละเอียดสถานี
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/634748183630331/?d=n
- สถานีนครราชสีมา (โคราช)
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/629142004190949/?d=n
มีศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟ และบำรุงทาง ทั้งหมด 3 แห่งคือ
- ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า และศูนย์ควบคุม เชียงรากน้อย
- ศูนย์ซ่อมบำรุงทาง สระบุรี และ โคสะอาด
รายละเอียดสัญญางานระบบ และขบวนรถไฟฟ้า Fuxing Hao CR300 ที่ไทยใช้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1057547391350406/?d=n
ตัวอย่างการใช้งาน CR300AF จากจีน
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1132019530569858/?d=n
สัญญางานโยธาทั้ง 10 สัญญา ที่เซ็นไปแล้ว จากทั้งหมด 14 สัญญา
*** ก่อสร้างเสร็จแล้ว 1 สัญญา คือ ช่วงกลางดง-ปางอโศก โดยกรมทางหลวง ซึ่งเป็น Site ทดลองปรับวัสดุภายในประเทศ
*** เริ่มก่อสร้างไปมากแล้ว 1 สัญญา คือ สัญญา 2-1 สีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กิโลเมตร
แบ่งเป็นงาน
- ทางวิ่งระดับดิน 6.7 กิโลเมตร
- ทางวิ่งยกระดับ 4.2 กิโลเมตร
- อาคารศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยโคกสะอาด
มูลค่าการก่อสร้างรวม 3,114 ล้านบาท
ก่อสร้างโดย บริษัท ซีวิล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
ซึ่งจากรายงานล่าสุด ความคืบหน้าของโครงการช่วงนี้ เสร็จไปแล้ว 58% ณ วันที่ 23 เมษายน 64
*** สัญญาใหม่ที่พึ่งเซ็นสัญญาไป 8 สัญญา
- สัญญาที่ 3-2 งานโยธาสำหรับงานอุโมงค์ (มวกเหล็กและลำตะคอง)
ดำเนินการโดย บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน)
ซึ่งมีจุดเด่นคืองานก่อสร้างอุโมงค์ยาวรวม 8 กิโลเมตร และการก่อสร้างทางรถไฟระยะทางรวม 12.23 กิโลเมตร
- สัญญาที่ 3-3 งานโยธาสำหรับช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง
ดำเนินการโดย บริษัท ไทยเอ็นยิเนียร์และอุตสาหกรรม จำกัด
ซึ่งมีงานก่อสร้างสถานีปากช่อง และการก่อสร้างทางรถไฟระยะทางรวม 26.10 กิโลเมตร
- สัญญาที่ 3-4 งานโยธาสำหรับช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวด
ดำเนินการโดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
ซึ่งมีจุดเด่นคือ มีงานก่อสร้างทางรถไฟระยะทางยาวที่สุดในโครงการ ถึง 37.45 กิโลเมตร
- สัญญาที่ 3-5 งานโยธาสำหรับช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา
ดำเนินการโดย บริษัท กิจการร่วมค้า เอสพีทีเค จำกัด (ซึ่งประกอบด้วย บริษัท นภาก่อสร้าง จำกัด บริษัท ทิมเซคาร์ตาร์ เอสดีเอ็น บีเอชดีจำกัด และบริษัท
บิน่า พูรี่ เอสดีเอ็น บีเอชดี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทจากประเทศมาเลเซีย)
ซึ่งเป็นงานก่อสร้างสถานีนครราชสีมา และการก่อสร้างทางรถไฟระยะทางรวม 12.38 กิโลเมตร
- สัญญาที่ 4-7 งานโยธาสำหรับช่วงสระบุรี-แก่งคอย
ดำเนินการโดย บริษัท ซีวิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน)
ซึ่งมีจุดเด่นคืองานก่อสร้างสถานีสระบุรี และการก่อสร้างทางรถไฟระยะทางรวม 12.99 กิโลเมตร
อย่างที่เห็นรายชื่อบริษัทผู้รับเหมาที่ได้งานโยธาทั้งหมด ซึ่งเป็นงานจัดซื้อจัดจ้างผ่านระเบียบของไทยเราทั้งหมด ทำให้เอกชนในประเทศได้มีโอกาสรับงาน ไม่เหมือนกับโครงการที่จีนไปลงทุนก่อสร้างในประเทศอื่นๆ
ซึ่งในส่วนนี้เป็นส่วนที่น่าสนใจทั้งการก่อสร้างตัวสถานี ทั้ง 3 สถานี เป็นพื้นที่ผ่านเขา โดยจะมีการทำอุโมงค์ และสะพานยาว เพื่อลดความชัน และรัศมีโค้งของทางรถไฟ
เราได้เซ็นสัญญา เพิ่มอีก 3 สัญญา จากทั้งหมด 14 สัญญา คือ
- สัญญาที่ 4-3 งานโยธาสำหรับช่วงนวนคร-บ้านโพ วงเงินก่อสร้าง 11,525,350,500 บาท
เป็น งานโยธาสำหรับช่วงนวนคร-บ้านโพ ประกอบด้วย
- งานโครงสร้างทางรถไฟเป็นทางยกระดับ 23 กม.
- งานก่อสร้างทางวิ่งเข้าศูนย์ซ่อมบำรุง
งานอาคารและสิ่งปลูกสร้างรองรับงานระบบรถไฟฟ้า งานระบบระบายน้ำ งานรื้อย้ายรางและระบบสาธารณูปโภคต่างๆ
- สัญญาที่ 4-4 งานโยธาสำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย วงเงินก่อสร้าง 6,573,000,000 บาท
เป็นงานโยธาสำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย ประกอบด้วย ทางรถไฟระดับพื้นในศูนย์ซ่อมบำรุง งานอาคารภายในศูนย์ซ่อมบำรุงรวมถนนต่อเชื่อม ได้แก่
- อาคารระบบซ่อมบำรุงขบวนรถไฟ 19 อาคาร
- อาคารควบคุมระบบการจัดการเดินรถและฝึกอบรม 4 อาคาร
- อาคารสำหรับระบบซ่อมบำรุงทาง 8 อาคาร
งานก่อสร้างถนนงานระบบระบายน้ำและงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคต่างๆ
- สัญญาที่ 4-6 งานโยธาสำหรับช่วงพระแก้ว-สระบุรี วงเงินก่อสร้าง 9,428,999,969.37 บาท
เป็นงานโยธาสำหรับช่วงพระแก้ว-สระบุรี ประกอบด้วย งานโครงสร้างทางรถไฟ ระยะทางรวม 31.60 กม. แบ่งเป็น
- คันทางระดับดิน 7.02 กม.
- ทางยกระดับ 24.58 กม.
งานอาคารและสิ่งปลูกสร้างรองรับงานระบบรถไฟฟ้า 7 แห่ง รวมทั้งงานรื้อย้ายสถานีเดิม งานปรับปรุงย้ายถนนเดิม งานก่อสร้าง สะพานข้ามทางรถไฟ งานระบบระบายน้ำ และงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคต่างๆ
รายละเอียดเซ็นสัญญา 5 สัญญา
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1080880232350455/?d=n
รายละเอียดเซ็นสัญญา 3 สัญญา
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1161172834321194/?d=n
รายละเอียด Site ทดลอง กลางดง-ปางอโศก 3.5 กิโลเมตร เพื่อทำการศึกษาวิธีการก่อสร้างคันทางรถไฟความเร็วสูง และปรับวัสดุก่อสร้าง ให้เข้ากับวัตถุดิบภายในประเทศ รายละเอียดตามนี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/710350119403470?sfns=mo
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/710985569339925?sfns=mo
และคลิปความคืบหน้า ตามลิ้งค์นี้ครับ
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/710488176056331?sfns=mo
ซึ่งสรุปคือ ตอนนี้เหลือรอเซ็นสัญญาอีก 3 สัญญา ถ้าเร่งให้เซ็นได้ภายในปีนี้ คาดว่าจะได้ใช้ปี 2569!!!!
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/1180992439005900
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 453, 454, 455 ... 548, 549, 550  Next
Page 454 of 550

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©