RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13272493
ทั้งหมด:13583789
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องของหัวลำโพง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องของหัวลำโพง
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 27, 28, 29 ... 31, 32, 33  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42745
Location: NECTEC

PostPosted: 19/01/2023 5:56 pm    Post subject: Reply with quote

ภาพบรรยากาศสถานี "หัวลำโพง" ในฐานะสถานีรถไฟหลักวันสุดท้าย ก่อนที่จะย้ายรถไฟทางไกลไปไว้ที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ)
❌️ไม่ได้ยกเลิกใช้สถานีหัวลำโพง รถยังเข้า-ออกอยู่❌️
สถานีหัวลำโพงจะกลายเป็นแค่สถานีรอง และยังคงเป็นต้นทางสำหรับรถชานเมือง รถธรรมดา รถนำเที่ยว รถสายตะวันออกทุกขบวนอยู่
โดยในวันที่ 19 มกราคม 2566 จะเป็นวันสุดท้ายที่รถเร็ว รถด่วน รถด่วนพิเศษ ด่วนพิเศษดีเซลราง จะเข้าเทียบ และออกจากสถานีหัวลำโพง ก่อนที่ในช่วง 12:00 น. จะเปลี่ยนต้นทาง-ปลายทางเป็นสถานีกลางกรุงเทพ ถ้าหากใครจะขึ้นรถประเภทนี้หลังเที่ยงวันต้องไปขึ้นที่สถานีกลางเท่านั้น
https://www.facebook.com/toon.trainscrazier.1/posts/1212041116383050

เพิ่มเติมเกี่ยวกับขบวนรถที่เข้าสถานีกลางกรุงเทพ
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=725555118927128&id=100044179398688&mibextid=Nif5oz
ตารางรถไฟสถานีกลางกรุงเทพ
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=547954000695929&id=100064440019733&mibextid=Nif5oz
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42745
Location: NECTEC

PostPosted: 19/01/2023 6:06 pm    Post subject: Reply with quote

เช็กที่นี่! รถไฟขบวนไหนย้ายไปสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ขบวนไหนยังอยู่ "หัวลำโพง"
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2566 เวลา 15:01 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2566 เวลา 15:01 น.

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งว่า ตั้งแต่ 19 มกราคม 2566 การรถไฟฯ ปรับเปลี่ยนต้นทาง-ปลายทาง ขบวนรถไฟทางไกล เหนือ ใต้ อีสาน กลุ่มขบวนรถด่วนพิเศษ รถด่วน รถเร็ว จำนวน 52 ขบวน มาให้บริการ ณ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ประกอบไปด้วย

สายเหนือ จำนวน 14 ขบวน สายตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 18 ขบวน และสายใต้ จำนวน 20 ขบวน มีอะไรบ้างตามรายละเอียดนี้
Click on the image for full size
Click on the image for full size


ส่วนขบวนรถไฟที่ให้บริการที่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) กลุ่มขบวนรถธรรมดา ขบวนรถชานเมือง และขบวนรถนำเที่ยว จำนวน 62 ขบวน แบ่งออกเป็น สายตะวันออก จำนวน 22 ขบวน สายเหนือ จำนวน 16 ขบวน สายตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 6 ขบวน สายใต้ จำนวน 4 ขบวน และขบวนรถนำเที่ยว จำนวน 14 ขบวน จะยังคงให้บริการต้นทาง-ปลายทางตามเดิม เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสารทุกท่านอย่างทั่วถึง
Click on the image for full size
Click on the image for full size
Click on the image for full size
Click on the image for full size

ทั้งนี้ ขอให้ผู้โดยสารเปลี่ยนมาใช้บริการที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
สามารถสำรองที่นั่งล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชัน “D-Ticket” ช่องทางออนไลน์ และตรวจสอบเวลาการเดินรถ ราคาตั๋วโดยสาร ผ่านแอปพลิเคชัน
“SRT Timetable กำหนดเวลาเดินรถ” ดาวน์โหลดได้แล้ว ทั้ง iOS
และ Android ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป



โดยผู้โดยสารสามารถสำรองที่นั่งล่วงหน้า
ผ่านแอปพลิเคชัน “D-Ticket” ช่องทางออนไลน์ และตรวจสอบเวลาการเดินรถ ราคาตั๋วโดยสาร ผ่านแอปพลิเคชัน “SRT Timetable กำหนดเวลาเดินรถ” ดาวน์โหลดได้แล้ว ทั้ง iOS และ Android
ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

D - Ticket
IOS - https://apple.co/3QOkWJu
Android - http://bit.ly/3QJmbtf

X

SRT Timetable กำหนดเวลาเดินรถ
IOS - https://apple.co/3JFGymU

Android - https://bit.ly/3iBfyJb
https://www.facebook.com/pr.railway/posts/547958324028830
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42745
Location: NECTEC

PostPosted: 20/01/2023 9:18 pm    Post subject: Reply with quote

เกร็ดสถานีรถไฟกรุงเทพ​ (หัวลำโพง) ที่อาจไม่เคยรู้มาก่อน
ผู้เขียน หนุ่มบางโพ
เผยแพร่ วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ.2566
“หัวลำโพง” ชื่อเรียกติดปากของสถานีกรุงเทพ หัวใจหลักของการคมนาคมทางรางของประเทศไทยมานับร้อยปี สถานีรถไฟแห่งนี้จึงเต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับทั้งด้านสังคม วิถีชีวิตของผู้คน การคมนาคมขนส่ง เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม ศิลปะ สถาปัตยกรรม ฯลฯ

ในที่นี้จะพาไปทำความเข้าใจกับ “เกร็ด” ความรู้จากสถานีกรุงเทพที่อาจไม่เคยรู้มาก่อน

ที่ตั้งสถานีกรุงเทพ
เดิมสถานีกรุงเทพตั้งอยู่ ณ จุดที่มีพิธีเปิดการก่อสร้างบริเวณริมคลองผดุงกรุงเกษม ใกล้กับวัดเทพศิรินทร์ ตรงกับตึกบัญชาการการรถไฟแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน เลยขึ้นไปทางทิศเหนือของสถานีปัจจุบันราว 500 เมตร โดยตัวสถานีจะหันหน้าสู่คลองผดุงกรุงเกษม รับกับแนวเส้นตรงออกมาจากพระนครทางทิศตะวันตก ภายหลังเห็นว่าสถานที่คับแคบ และไม่สะดวกต่อการเชื่อมต่อการคมนาคม จึงย้ายโครงการมายังพื้นที่สถานีกรุงเทพในปัจจุบัน

สถานีกรุงเทพไม่ใช่สถานีหัวลำโพง
การย้ายสถานีกรุงเทพมายังพื้นที่ในปัจจุบันทำให้มีอาณาบริเวณใกล้กับสถานีหัวลำโพง อันเป็นจุดตั้งต้นของทางรถไฟสายปากน้ำ ทางรถไฟสายแรกของสยาม โดยมีทางรถไฟขนานเลียบกับคลองถนนตรง ด้วยเหตุที่สถานีรถไฟทั้ง 2 แห่งตั้งอยู่ใกล้เคียงกันมาก เป็นสาเหตุที่ทำให้คนเรียกสถานีกรุงเทพว่าสถานีหัวลำโพงกันจนติดปาก แต่ในความเป็นจริงแล้วเดิมเป็นคนละสถานีกัน ภายหลังเลิกกิจการรถไฟสายปากน้ำจึงได้มีการรื้อถอนสถานีหัวลำโพงและทางรถไฟสายปากน้ำออกไป และถมคลองถนนตรงกลายเป็นถนนพระรามที่ 4

หัวลำโพงหรือวัวลำพอง
แต่เดิมมีความเชื่อกันว่า บริเวณสถานีหัวลำโพงเคยเป็นทุ่งเลี้ยงวัวมาก่อน จึงเรียกย่านนี้ว่า “ทุ่งวัวลำพอง” ภายหลังจึงเรียกเพี้ยนเป็น “หัวลำโพง” บ้างว่าละแวกนี้มีต้นไม้ชนิดหนึ่งคือ ต้นลำโพง ขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงเรียกย่านนี้ว่า “ทุ่งวัวลำพอง”


อย่างไรก็ตาม จากพระราชหัตถเลขาในรัชกาลที่ 5 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม ร.ศ. 129 เรื่องการใช้ศัพท์ไทย ศัพท์ฝรั่ง ทรงกล่าวถึงชื่อของ หัวลำโพง-วัวลำพอง ไว้ว่า “…การเช่นนี้มีจนกระทั่งในกรุงเทพฯ เช่น หัวลำโพง ฝรั่งเรียกไม่ชัด ไทยเราพลอยเรียกตามว่า วัวลำพอง นี่เป็นเรื่องที่ควรจะฟาดเคราะห์จริง ๆ…”







สะท้อนให้เห็นว่า บริเวณแห่งนี้มีชื่อว่า “หัวลำโพง” มาตั้งแต่แรก ไม่ได้เรียกเพี้ยนมาจากคำว่า “วัวลำพอง” แต่อย่างใด ส่วนนาม “หัวลำโพง” มีที่มาจากไหน คงต้องสืบหากันต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44632
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/01/2023 8:15 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดภาพ!.สถานีรถไฟหัวลำโพง หลังย้าย 52ขบวน ไปสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (20 ม.ค.66)
ัvnp story
Jan 21, 2023


https://www.youtube.com/watch?v=pS0V9qarQRM

การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ปรับเปลี่ยนต้นทาง-ปลายทาง ขบวนรถไฟทางไกล สายเหนือ ใต้ อีสาน ในกลุ่มรถด่วนพิเศษ รถด่วน รถเร็ว จำนวน 52ขบวน ไปให้บริการที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ) ประกอบด้วนสายเหนือ 14ขบวน สายตะวันออกเฉียงเหนือ 18ขบวน สายใต้ 20ขบวน

โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา แต่ยังมีขบวนรถไฟที่ยังให้บริการที่หัวลำโพง จำนวน 62ขบวน แบ่งออกเป็น สายตะวันออก 22ขบวน สายเหนือ 16ขบวน สายตะวันออกเฉียงเหนือ 6ขบวน สายใต้ 4ขบวน และขบวนนำเที่ยว 14ขบวน
ขณะที่การรถไฟแห่งประเทศไทย แจ้งว่า เนื่องจากการรถไฟกำหนดให้ขบวนรถโดยสารทั้งหมดเดินรถบนทางยกระดับ ในระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง
ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2566 ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องหยุดให้บริการ ยกเลิกหยุดรถไฟ ได้แก่ ป้ายหยุดรถกม.11 สถานีบางเขน ที่หยุดรถไฟทุ่งสองห้อง สถานีหลักสี่ และที่หยุดรถการเคหะ กม.19 ส่วนสถานีดอนเมืองจะย้ายไปอยู่ที่ สถานีรถไฟชานเมืองสายสีแดง ตั้งแต่เวลา 12:00น.ของวันที่ 19 มกราคม 2566 เป็นต้นไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42745
Location: NECTEC

PostPosted: 24/01/2023 11:40 pm    Post subject: Reply with quote

การรถไฟโต้ประภัสร์ ยันไม่มีแผนพัฒนา “หัวลำโพงแลนด์มาร์ก”
ในประเทศ
วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ.2566 เวลา 18:56 น.


การรถไฟฯ ออกโรงโต้ ประภัสร์ จงสงวน ยันไม่มีแผนพัฒนาหัวลำโพงแลนด์มาร์ก เตรียมแผนเยียวยาประชาชนหลังย้าย “กรุงเทพอภิวัฒน์” ระบุขบวนรถไฟธรรมดา ชานเมือง และนำเที่ยวยังอยู่ที่หัวลำโพง ไม่มีการปิดแต่อย่างใด

วันที่ 19 มกราคม 2566 จากกรณีที่มีการเผยแพร่คลิปวิดีโอคำให้สัมภาษณ์ของนายประภัสร์ จงสงวน อดีตผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับเรื่องการย้ายการให้บริการขบวนรถไฟทางไกล ของการรถไฟฯ มาให้บริการที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์(สถานีกลางบางซื่อ) ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2566 เป็นต้นไปนั้น พบว่ามีข้อมูลหลายประเด็นที่มีความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง



การรถไฟแห่งประเทศไทย จึงขอชี้แจงในประเด็นต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องดังนี้ การรถไฟฯ ยืนยันว่าการปรับเปลี่ยนต้นทาง-ปลายทางจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) มาให้บริการ ณ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ได้มีการพิจารณาไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนและรอบคอบ โดยยึดถือในประโยชน์ของประชาชนผู้ใช้บริการควบคู่กับการพัฒนาระบบการขนส่งทางรางของประเทศในระยะยาวเป็นสำคัญ

ทั้งนี้ การปรับขบวนรถให้บริการ ได้ดำเนินการเฉพาะขบวนรถไฟทางไกล สายเหนือ ใต้ ตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มขบวนรถด่วนพิเศษ รถด่วน รถเร็ว จำนวน 52 ขบวนเท่านั้น ประกอบด้วย สายเหนือ จำนวน 14 ขบวน สายตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 18 ขบวน และสายใต้ จำนวน 20 ขบวน ส่วนขบวนรถรถไฟกลุ่มขบวนรถธรรมดา ขบวนรถชานเมือง และขบวนรถนำเที่ยว จำนวน 62 ขบวน ยังคงให้บริการที่สถานีต้นทางและสถานีปลายทางที่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ประกอบด้วย สายตะวันออก จำนวน 22 ขบวน สายเหนือ จำนวน 16 ขบวน สายตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 6 ขบวน สายใต้ จำนวน 4 ขบวน และขบวนรถนำเที่ยว จำนวน 14 ขบวน







สถานีหัวลำโพงยังคงเปิดให้บริการแก่พี่น้องประชาชนเป็นปกติ ไม่ได้มีการปิดสถานีหัวลำโพงตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด เพราะในแต่ละวันยังมีขบวนรถไฟให้บริการแก่ผู้โดยสารที่สถานีหัวลำโพงมากถึง 62 ขบวนมากกว่าที่ให้บริการที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ซึ่งมีเพียง 52 ขบวน

การรถไฟฯ ไม่ได้มีแผนนำพื้นที่สถานีหัวลำโพงไปเปิดให้ภาคเอกชนเข้ามาพัฒนาเป็นอย่างอื่นตามที่มีการกล่าวอ้างด้วย โดยการรถไฟฯ ต้องการให้สถานีหัวลำโพงเป็นสถานีรถไฟที่สำคัญของประเทศทำหน้าที่ให้บริการประชาชน และเป็นแลนด์มาร์คสำคัญที่จะบอกเล่าเรื่องราวการขนส่งทางรางของไทยจากอดีตสู่ปัจจุบันต่อเนื่องไปยังอนาคตต่อไป


สำหรับเหตุผลในการปรับเปลี่ยนสถานีต้นทาง-ปลายทางของขบวนรถไฟทางไกล มาให้บริการ ณ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์นั้น เป็นการดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการก่อสร้างสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ที่จะให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งระบบรางของประเทศ โดยเป็นแผนที่มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องหลายสิบปีแล้วตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีการอนุมัติโครงการเมื่อปี 2553 และเริ่มก่อสร้างเมื่อปี 2556 ที่สำคัญอยู่ในช่วงที่นายประภัสร์ เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟฯ ด้วย ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นจากการตัดสินใจของการรถไฟฯ ในยุคนี้แต่อย่างใด

ในสมัยที่นายประภัสร์ จงสงวน เป็นผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เมื่อปี 2555 ก็ได้มีการสนับสนุนการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อหรือสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และยังเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการแก้แบบสถานีกลางบางซื่อ แต่เพราะเหตุใดในตอนนี้นายประภัสร์จึงกลับมาคัดค้านไม่ให้เปิดให้บริการรถไฟทางไกลที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ซึ่งเป็นแผนที่วางไว้เดิมตั้งแต่เริ่มการก่อสร้าง

ยันมีแผนเยียวยาหลังเปิดย้ายสถานี
การรถไฟฯ ขอยืนยันว่า ก่อนที่จะกำหนดให้มีการย้ายมาให้บริการที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ในวันที่ 19 มกราคม 2566 ทางการรถไฟฯ ได้ประชุมหารือเตรียมความพร้อมในทุกๆ ด้าน ตลอดจนบูรณาการกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของกระทรวงคมนาคม เพื่อกำหนดมาตรการอำนวยความสะดวก โดยเฉพาะในช่วงเปลี่ยนถ่ายการเดินทาง เพื่อให้ประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ไม่เป็นภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมแก่ผู้โดยสารอย่างที่ถูกกล่าวอ้างแต่อย่างใด โดยมีมาตรการอำนวยความสะดวกดูแลผู้โดยสาร ดังนี้


ผู้ใช้บริการรถโดยสายทางไกล กลุ่มขบวนรถด่วนพิเศษ รถด่วน และรถเร็ว ที่ซื้อตั๋วโดยสาร ลงสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ แต่ประสงค์จะลงสถานีหลักสี่ สถานีบางเขน สามารถใช้ตั๋วโดยสารเดิมขึ้นรถไฟฟ้าสายสีแดงที่สถานีดอนเมืองได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเป็นเวลา 1 ปี
ผู้ใช้บริการรถโดยสารเชิงสังคม สามารถใช้ตั๋วโดยสารรถไฟทางไกล ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดงได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเป็นเวลา 1 ปีเช่นกัน โดยต้องเป็นผู้โดยสารที่ซื้อตั๋วประเภทตั๋วเดือน ในสถานีหลักสี่ สถานีบางเขน ที่หยุดรถกม.19 ที่หยุดทุ่งสองห้อง และที่หยุดรถกม.11 ที่รถไฟไม่จอดให้บริการ
การรถไฟฯ ยังประสานกับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.) เพื่อจัดรถโดยสารประจำทาง รับ-ส่งผู้โดยสารตามสถานีรถไฟรายทาง ตั้งแต่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-สถานีหัวลำโพง เหมือนนั่งรถไฟปกติโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมด้วย
ดังนั้นการกล่าวอ้างว่าการรถไฟฯ ไม่มีการเตรียมการจนทำให้ประชาชนเดือดร้อน เพิ่มภาระค่าใช้จ่ายแก่ผู้โดยสาร จึงไม่เป็นความจริง เพราะการรถไฟฯ ได้พิจารณาไตร่ตรองอย่างดีแล้ว โดยคำนึงถึงผลกระทบ และให้ความสำคัญเรื่องการอำนวยความสะดวกดูแลพี่น้องประชาชน รวมถึงความปลอดภัยในการเดินทาง ซึ่งการย้ายขบวนรถบางส่วนมาใช้สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ นอกจากจะช่วยบรรเทาปัญหาจราจรแล้ว ยังช่วยเพิ่มความปลอดภัย ลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุบริเวณจุดตัดเสมอระดับทางรถไฟ-รถยนต์อีกด้วย ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ในหลายมิติ

ยันเปิด”กรุงเทพอภิวัฒน์”เป็นศูนย์ฉีดวัคซีนคุ้มค่า
ส่วนกรณีที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า การเปิดใช้งานสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ จะทำให้เกิดความไม่คุ้มค่า และมีปัญหาขาดทุนตามมา โดยยกตัวอย่างเพียงแค่ใช้สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์เป็นสถานที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 ต้องเสียค่าใช้จ่าย ทั้งค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า และค่าบำรุงรักษาประมาณ 300 ล้านบาท

การรถไฟฯ ขอชี้แจงว่า กิจการรถไฟฯ ถูกก่อตั้งขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยมีหน้าที่ที่เพื่อดูแลพี่น้องประชาชน ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่การขนส่งผู้โดยสาร หรือการขนส่งสินค้าเท่านั้น แต่สิ่งใดที่ทำแล้วประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด การรถไฟฯ ก็พร้อมที่จะดูแลช่วยเหลือ โดยไม่ได้คิดถึงผลกำไรขาดทุนเพียงอย่างเดียว ซึ่งการสนับสนุนพื้นที่ภายในสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เป็นศูนย์ฉีดวัคซีน ถือเป็นประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งของการรถไฟฯ ที่ได้มีส่วนช่วยเหลือสังคม และสนับสนุนภารกิจอันยิ่งใหญ่ เพื่อให้คนไทยทุกคนก้าวผ่านวิกฤติในครั้งนี้ไปได้ด้วยกัน

โดยตลอดเวลาการเปิดการเปิดสถานีกลางฯ เป็นศูนย์ฉีดวัคซีนโควิด-19 ระยะเวลา 447 วัน สามารถช่วยเหลือให้ประชาชนเข้าถึงบริการวัคซีนได้อย่างเท่าเทียมมากกว่า 3.5 ล้านคน สามารถฉีดวัคซีนรวมทั้งสิ้น 6.5 ล้านโดส จึงไม่ใช่เรื่องที่ควรมองถึงแค่ความคุ้มค่าของเม็ดเงินเพียงอย่างเดียว แต่ควรไตร่ตรองถึงประโยชน์ประชาชนและประเทศชาติที่ได้รับมากกว่า

ดังนั้นการย้ายรถไฟทางไกลมาให้บริการที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ จะทำให้ประชาชนได้รับการบริการที่สะดวกสบายมากขึ้น เนื่องจากเป็นจุดศูนย์กลางใหม่ของกรุงเทพ มีรถไฟฟ้า และรถโดยสารประจำทางเชื่อมต่อหลายสาย เป็นสถานีรถไฟที่ออกแบบเพื่อมวลชน(Universal Design) สะดวกสบาย ปลอดภัย ครอบคลุมทุกคนเท่าเทียมกัน

เช่น ชานชาลาสูง (110 ซม.) สะดวกต่อการขึ้นลงขบวนรถ เนื่องจากพื้นชานชาลาอยู่ระดับเดียวกับพื้นรถ มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ มากมาย อาทิ กล้องวงจรปิด บันไดเลื่อน เครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ ศูนย์อาหาร หุ่นยนต์ต้อนรับอัจฉริยะ SRT BOT ที่จอดรถสำหรับคนพิการ ลิฟท์ วีลแชร์นำทางอัจฉริยะ ห้องสุขาที่ทันสมัย และเพียงพอ รวมถึงมีระบบปรับอากาศของชั้นจำหน่ายตั๋วโดยสาร และจุดพักรอ เป็นต้น

ที่สำคัญการย้ายขบวนรถส่วนหนึ่งมาที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ไม่ได้เป็นการเพิ่มภาระให้ผู้โดยสาร โดยย้ายจากตัวเมืองไปสู่นอกเมืองตามที่ถูกกล่าวอ้าง เพราะสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ตั้งอยู่ในเขตบางซื่อ ซึ่งถือเป็นพื้นที่ตัวเมืองกรุงเทพฯชั้นใน ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน และในอนาคตยังมีแผนพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีกลางฯ ให้เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ และเศรษฐกิจที่สำคัญของภูมิภาคอีกด้วย

ท้ายนี้ การรถไฟฯ ขอยืนยันว่า ทุกการดำเนินงานของการรถไฟฯ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ได้ยึดมั่นประโยชน์ส่วนรวมและประเทศชาติเป็นสำคัญ จึงขออย่านำการรถไฟฯ เข้าไปเป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อหวังประโยชน์ในทางอื่น เพราะเราคนรถไฟเป็นองค์กรของประชาชน ที่มีปณิธานแน่วแน่ในการให้บริการแก่พี่น้องประชาชนคนไทยทุกคนอย่างเท่าเทียม
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44632
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/01/2023 6:17 pm    Post subject: Reply with quote

ท้ายขบวนของความเปลี่ยนแปลง : มองหลากชีวิตในวันที่รถไฟทางไกลย้ายจาก ‘หัวลำโพง’ สู่ ‘กรุงเทพอภิวัฒน์’
SOCIAL ISSUES
27 ม.ค. 66
creator
ศุภาวรรณ คงสุวรรณ์

Summary

19 มกราคม 2566 คือวันที่การรถไฟแห่งประเทศไทยทำการโยกย้ายขบวนรถไฟทางไกลเชิงพาณิชย์ รถด่วนพิเศษ และรถด่วนสายเหนือ อีสาน และใต้ จากสถานี ‘หัวลำโพง’ ไปให้บริการยังสถานีกลางแห่งใหม่คือ ‘สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์’ โดยสถานีหัวลำโพงจะเหลือรถไฟชานเมือง ขบวนรถธรรมดา และขบวนรถนำเที่ยว ให้บริการ

ไทยรัฐพลัสพาสำรวจน้ำเสียงและความรู้สึกของผู้ที่ใช้บริการรถไฟ ณ สถานีหัวลำโพงมาเป็นเวลาหลายปี ก่อนจะพาตีตั๋วรถไฟ เดินทางไปสำรวจสถานีกลางแห่งใหม่ที่จะกลายเป็นอนาคต และศูนย์กลางของรถไฟในกรุงเทพมหานครต่อจากนี้

https://plus.thairath.co.th/topic/speak/102717
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44632
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/01/2023 8:03 am    Post subject: Reply with quote

เก็บหมด! เร็วมากหลังย้ายไปสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ #train #รถไฟ
Rose pakwanตลาดสด
Jan 27, 2023

หลังจากรถไฟทางไกล ย้ายไปวิ่งบนสถานีกลางบางซื่อทุกอย่างที่หัวลำโพงเปลี่ยนไปเร็วมาก บรรยากาศที่เงียบสนิท มีรถไฟวิ่งน้อย อุปกรณ์ ทุกอย่างถูกเก็บ พับกลับเรียบร้อย คงเหลือแต่ความทรงจำจากนี้ต่อไป


https://www.youtube.com/watch?v=oDLIR_OU0kI
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44632
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/01/2023 7:54 pm    Post subject: Reply with quote

หัวลำโพง RHYTHM | ก(ล)างเมือง
Thai PBS
่Jan 31, 2023


https://www.youtube.com/watch?v=TvbghjO3AQI

สถานีหัวลำโพง หรือสถานีกรุงเทพฯ เริ่มก่อสร้างตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อให้เป็นสถานีรถไฟศูนย์กลางสำหรับเชื่อมต่อเมืองหลวงกับพื้นที่ภาคอื่น ๆ เป็นส่วนสำคัญในการนำพาผู้คนและขนส่งทรัพยากร รวมทั้งเพื่อขยายอำนาจรัฐจากส่วนกลางไปยังแต่ละภาคทั่วประเทศ เพราะการพัฒนาประเทศมีการรวมศูนย์กลางความเจริญทุกสิ่งอยู่ที่เมืองหลวง ทำให้ผู้คนจากต่างจังหวัด เลือกเดินทางเข้ามาแสวงหาโอกาสการมีชีวิตที่ดีกว่า รถไฟจึงกลายเป็นพาหนะทางเลือกราคาถูกและเข้าถึงง่าย สำหรับเดินทางเข้ามายังตัวเมือง จนเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2564 มีการเปิดใช้สถานีกลางบางซื่ออย่างเป็นทางการ เพื่อเป็นศูนย์กลางระบบรางแทนสถานีหัวลำโพง และการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ประกาศว่าจะปิดสถานีหัวลำโพงในปลายเดือนธันวาคมปี 2564 เพื่อแก้ปัญหาการจราจรและพัฒนาพื้นที่นี้เพื่อการอนุรักษ์และเชิงพาณิชย์ แต่เกิดกระแสคัดค้านจากประชาชนทั่วไปจนทางการรถไฟต้องชะลอแผนการปิดสถานีรถไฟหัวลำโพงออกไปก่อน

ติดตามบันทึกภาพชีวิตผู้คนรวมถึงบรรยากาศของสถานีรถไฟหัวลำโพง พร้อมฟังเสียงบอกเล่าความทรงจำของผู้คนที่มีวิถีชีวิตผูกพันธ์กับสถานีรถไฟแห่งนี้ ในสารคดีก(ล)างเมือง ตอน หัวลำโพง RHYTHM วันอังคารที่ 31 มกราคม 2566 เวลา 13.30 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44632
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/01/2023 11:50 pm    Post subject: Reply with quote

แม้แต่ถนนหน้าหัวลำโพงยังเงียบ หลังรถไฟทางไกลย้าย #train #รถไฟ #หัวลำโพง
Rose pakwanตลาดสด
Jan 31, 2023


https://www.youtube.com/watch?v=2tL_T__yNgs
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44632
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/02/2023 7:12 am    Post subject: Reply with quote

เห็นแล้วใจหายเหมือนกันน๊ะ!!บรรยากาศภายในสถานีรถไฟหัวลำโพงหลังจากรถไฟ52ขบวนย้ายไปสถานีใหม่ #หัวลำโพง
Q LIKE
Feb 6, 2023

บรรยากาศภายในสถานีรถไฟหัวลำโพง หลังจากที่รถไฟจำนวน52ขบวนได้ย้ายไปให้บริการจากหัวลำโพงสู่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์


https://www.youtube.com/watch?v=7wy6NVkpRNw
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 27, 28, 29 ... 31, 32, 33  Next
Page 28 of 33

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©