RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311330
ทั่วไป:13292000
ทั้งหมด:13603330
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - อนาคตระบบรถไฟฟ้า กทม. คาด ผู้ว่าฯ เลือก Mono Rail
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

อนาคตระบบรถไฟฟ้า กทม. คาด ผู้ว่าฯ เลือก Mono Rail
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 30, 31, 32, 33  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44910
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/08/2023 7:04 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าบางนาต้องเข้า'สุวรรณภูมิ'
Source - เดลินิวส์
Monday, August 14, 2023 06:43

ขร.ชี้ชัดถึงธนาซิตี้เกิดยาก สายสีเงินรวดเดียวจบเวิร์ก

รายงานข่าวแจ้งว่า กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้จัดทำการศึกษา และวิเคราะห์โครงการรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (Light Rail Transit : LRT) สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เสร็จเรียบร้อยแล้ว เตรียมเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป กรณีนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. มีแนวคิดจะมอบโครงการฯให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินการ แทนนั้น ขณะนี้ยังไม่ได้ส่งมอบให้ รฟม.

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า กทม. ตั้งชื่อรถไฟฟ้าสายนี้เป็นสีเงินระยะทาง 19.7 กม. มี 14 สถานี แบ่งเป็น 2 เฟส เฟสที่ 1 จากแยกบางนา-ธนาซิตี้ 12 สถานี ระยะทาง 14.6 กม. และ เฟสที่ 2 ธนาซิตี้-สุวรรณภูมิใต้ 2 สถานี ระยะทาง 5.1 กม. ค่าลงทุนโครงการรวม 1.35 แสนล้านบาท แบ่งเป็นค่างานที่เกี่ยวข้องกับการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1,181 ล้านบาท, ค่างานโยธา และงานระบบรถไฟฟ้า 36,020 ล้านบาท, ค่างานจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้า 6,720 ล้านบาท และค่าดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) 91,767 ล้านบาท สัมปทานโครงการ 30 ปี

รายงานข่าวแจ้งอีกว่า รถไฟฟ้าสายสีเงินถูกจัดอยู่ในแผนโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 หรือ M-MAP 2 ซึ่งจัดทำโดยกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ด้วย ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในกลุ่ม A2 เป็นเส้นทางที่มีความจำเป็น แต่ต้องเตรียมความพร้อมก่อน มีแผนก่อสร้างภายในปี 72 อย่างไรก็ตาม ขร. ได้ระบุเงื่อนไขไว้ใน M-MAP 2 ว่า รถไฟฟ้าสายสีเงินจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีเส้นทางเข้าไปเชื่อมต่อกับอาคารผู้โดยสารทางด้านใต้ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเท่านั้น เพราะหากหยุดอยู่ที่ธนาซิตี้ริมถนนบางนา-ตราด จะไม่เกิดประโยชน์

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า แบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบรางของ ขร. ได้วิเคราะห์และพิสูจน์แล้วว่า หากรถไฟฟ้าสายสีเงินมีสถานีปลายทางที่ธนาซิตี้ จะไม่มีประโยชน์ ปริมาณผู้โดยสารน้อย เพราะไม่มีแหล่งกำเนิดการเดินทาง การจะก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเงินได้นั้น ควรต้องมีสถานีปลายทางเชื่อมต่อกับอาคารผู้โดยสารด้านทิศใต้ เพื่อให้มีปริมาณผู้โดยสารที่เพียงพอ และเกิดประโยชน์ โดยทาง กทม. ต้องหารือกับบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เพื่อออกแบบอาคารผู้โดยสารใหม่ (ซึ่งยังไม่ได้ก่อสร้างเช่นกัน) ให้มีสถานีรถไฟฟ้ารองรับอยู่บริเวณชั้นใต้ดินของอาคารด้วย แต่จนถึงขณะนี้ทราบว่ายังไม่ได้หารือร่วมกัน

รายงานข่าวแจ้ง ด้วยว่า หากเส้นทางการก่อสร้างไม่ไปสิ้นสุดที่อาคารผู้โดยสารด้านใต้ ก็ จะไม่ใช่เส้นทาง บางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ดังนั้นควรก่อสร้างในเฟสที่ 1 ให้ถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไม่ควรมาหยุดอยู่ริมถนนบางนา-ตราดตามผลการศึกษาระบุว่า เฟส 1 มี 12 สถานี 1.สถานีบางนา, 2.สถานีประภามนตรี, 3.สถานีบางนา-ตราด 17, 4.สถานีบางนา-ตราด 25, 5.สถานีวัดศรีเอี่ยม, 6.สถานีเปรมฤทัย, 7.สถานีบางนา-ตราด กม.6, 8.สถานีบางแก้ว, 9.สถานีกาญจนาภิเษก, 10.สถานีวัดสลุด, 11.สถานีกิ่งแก้ว และ 12.สถานีธนาซิตี้ ส่วนเฟส 2 มี 2 สถานีมหาวิทยาลัยเกริก และสถานีสุวรรณภูมิใต้.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 14 ส.ค. 2566

https://www.facebook.com/100047017301335/posts/840161904227712
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 15/08/2023 12:03 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รถไฟฟ้าบางนาต้องเข้า'สุวรรณภูมิ'
Source - เดลินิวส์
Monday, August 14, 2023 06:43

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 14 ส.ค. 2566

https://www.facebook.com/100047017301335/posts/840161904227712


จริงๆ แล้วทางรถไฟฟ้าสายนี้สมควรที่จะมีปลายรางที่ตัวเมืองอันจึงจะคุ้มค้าการลงทุนแต่ติดประเด็นสำคัญคือ บางกระเจ้า ที่มีทางเลือกคือถ้าไม่ขุดอุโมงค์ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา สองหนก่อนลอยฟ้าไปช่องนนทรี ก็ต้องทำทางอ้อมตามคุ้งน้ำที่จะหมดระยะที่สถานีรถใต้ดินที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิต์ จึงจะมีการแย่งชิงสัมปทานกันให้ได้ เพราะ คุ้มค่าแน่นอน มาลงบางนาก็พอได้อยู่ แต่ดูจะไม่ค่อยจูงใจนักลงทุนอย่างที่ควรจะเป็น
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44910
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/08/2023 8:35 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสีเงิน”บางนา-สุวรรณภูมิ” LRTสายแรกของไทยเข้าสนามบิน
เดลินิวส์ 22 สิงหาคม 2566 8:00 น.
มุมคนเมือง, เศรษฐกิจ-ยานยนต์

กทม. ได้จัดทำการศึกษา และวิเคราะห์โครงการรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (Light Rail Transit : LRT) สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ นับเป็นรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบาสายแรกของไทย!!!

ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในกลุ่ม A2 เป็นเส้นทางที่มีความจำเป็น ในแผนโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 หรือ M-MAP 2 ซึ่งจัดทำโดยกรมการขนส่งทางราง(ขร.) สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเทา แต่ต้องเตรียมความพร้อมก่อน โดยมีแผนก่อสร้างภายในปี 2572 สถานะโครงการล่าสุดถึงไหนแล้ว?? “ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์” มีคำตอบ….

กรุงเทพมหานคร(กทม.) ได้จัดทำการศึกษา และวิเคราะห์โครงการรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (Light Rail Transit : LRT) สายบางนา–ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เสร็จเรียบร้อยแล้ว ตั้งชื่อรถไฟฟ้าสายใหม่เป็นสีเงิน เตรียมเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก(คจร.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป นับเป็นรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบาสายแรกของไทย จากปัจจุบันที่มีรถไฟฟ้าบีทีเอสและเอ็มอาร์ทีเป็นรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเหลือง&ชมพูเป็นโมโนเรลสายแรก(ขนาดเบาแต่ใช้รางเดี่ยว)

ส่วนกรณีนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯกทม.มีแนวคิดจะมอบโครงการรถไฟฟ้าสีเงินให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ดำเนินการแทนนั้น ขณะนี้ยังไม่ได้ส่งมอบให้ รฟม.

รถไฟฟ้าสีเงินมีระยะทาง 19.7 กม. 14 สถานี แบ่งเป็น 2 เฟส เฟสแรกจากแยกบางนา–ธนาซิตี้ 12 สถานี 14.6 กม. 1.สถานีบางนา, 2.สถานีประภามนตรี, 3.สถานีบางนา-ตราด 17, 4.สถานีบางนา-ตราด 25, 5.สถานีวัดศรีเอี่ยม, 6.สถานีเปรมฤทัย, 7.สถานีบางนา-ตราด กม.6, 8.สถานีบางแก้ว, 9.สถานีกาญจนาภิเษก, 10.สถานีวัดสลุด, 11.สถานีกิ่งแก้ว และ 12.สถานีธนาซิตี้ เฟส 2 ธนาซิตี้–สุวรรณภูมิใต้ 2 สถานี 5.1 กม. 1.สถานีมหาวิทยาลัยเกริก และ2.สถานีสุวรรณภูมิใต้

ค่าลงทุนโครงการรวม 1.35 แสนล้านบาท แบ่งเป็นค่างานที่เกี่ยวข้องกับการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1,181 ล้านบาท, ค่างานโยธา และงานระบบรถไฟฟ้า 36,020 ล้านบาท, ค่างานจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้า 6,720 ล้านบาท และค่าดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) 91,767 ล้านบาท สัมปทานโครงการ 30 ปี

เบื้องต้นคาดว่าจะเป็นรูปแบบ PPP Net Cost รัฐจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน เอกชนก่อสร้างงานโยธา และงานระบบO&M โดยรัฐให้สิทธิ์แก่เอกชนเป็นผู้รับรายได้และเอกชนจ่ายค่าสัมปทาน หรือส่วนแบ่งของรายได้แก่รัฐ

รายละเอียดโครงการ เป็นรถไฟฟ้ารางคู่ ขนาดราง 1.435เมตร มีระบบควบคุมการเดินรถอัตโนมัติ ความเร็ว 80กม./ชั่วโมง(ชม.) ใช้เวลาเดินทางไป – กลับประมาณ 1ชม., 1ขบวนสูงสุด มี 4ตู้ รองรับผู้โดยสารได้ 1.5-3หมื่นคน/ชม. เดิมวางแผนเริ่มก่อสร้างปี 2568 เมื่อเปิดบริการเฟสแรกในปี 2572 จะมีผู้ใช้บริการ 5.61หมื่นคน–เที่ยว/วัน และปี 2576 จะเพิ่มสูงขึ้นราว 1.13แสนคน–เที่ยว/วัน หากบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) หรือ ทอท. เปิดให้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิด้านทิศใต้ จะใช้บริการเพิ่มขึ้นถึง 1.38แสนคน–เที่ยว/วัน คาดการณ์ตลอดสัมปทานมีรายได้จากผู้โดยสารประมาณ 3.76แสนล้านบาท

สำหรับอัตราค่าโดยสารมีค่าแรกเข้าอยู่ที่ 14.5 บาท และคิดตามระยะทาง 2.4 บาทต่อกม. เก็บค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 42 บาท เพิ่มขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ 2.5% ในปีที่เปิดบริการ(2572) ค่าแรกเข้าอยู่ที่ประมาณ 17.5 บาท และค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 45-48 บาท

อย่างไรก็ตามขร.ได้ระบุเงื่อนไขไว้ใน M-MAP 2 ว่า รถไฟฟ้าสายสีเงินจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีเส้นทางเข้าไปเชื่อมต่อกับอาคารผู้โดยสารทางด้านใต้ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเท่านั้น เพราะหากหยุดอยู่ที่ธนาซิตี้ริมถนนบางนา-ตราด จะไม่เกิดประโยชน์

ขร.ใช้แบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบรางวิเคราะห์ออกมาว่า หากรถไฟฟ้าสายสีเงินมีสถานีปลายทางที่ธนาซิตี้ จะไม่มีประโยชน์ ปริมาณผู้โดยสารน้อย เพราะไม่มีแหล่งกำเนิดการเดินทาง การจะก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเงินได้นั้น ควรต้องมีสถานีปลายทางเชื่อมต่อกับอาคารผู้โดยสารด้านทิศใต้ เพื่อให้มีปริมาณผู้โดยสารที่เพียงพอและเกิดประโยชน์

กทม. ต้องหารือกับทอท. เพื่อออกแบบอาคารผู้โดยสารใหม่(ซึ่งยังไม่ได้ก่อสร้างเช่นกัน) ให้มีสถานีรถไฟฟ้ารองรับอยู่บริเวณชั้นใต้ดินของอาคารด้วย (จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้หารือร่วมกัน) นอกจากนี้หากเส้นทางการก่อสร้างไม่สิ้นสุดที่อาคารผู้โดยสารด้านใต้จะไม่ใช่เส้นทาง บางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิตามที่กทม.ตั้งชื่อโครงการ ดังนั้นควรก่อสร้างในเฟสที่ 1 ให้ถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไม่ควรมาหยุดอยู่ริมถนนบางนา-ตราด

รถไฟฟ้า LRT จะช่วยเพิ่มความสะดวกการเดินทางให้ประชาชนโดยเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียวช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ ที่สถานีบางนาและรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงพัฒนาการ – สำโรง ที่สถานีศรีเอี่ยม รวมทั้งเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่สถานีสุวรรณภูมิใต้

แม้รถไฟฟ้าสีเงินจะจบการศึกษาแล้ว แต่ยังขาดความพร้อมหลายด้าน ต้องขยับแผนก่อสร้างจากปี 2568 เป็น 2572 ที่สำคัญยังต้องรอนโยบายรัฐบาลใหม่ด้วยว่าจะให้หยุดหรือชะลอการเติบโตของรถไฟฟ้าหลากสีหรือไม่.

…ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์…
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 23/08/2023 11:43 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสีเงิน”บางนา-สุวรรณภูมิ” LRTสายแรกของไทยเข้าสนามบิน
มุมคนเมือง, เศรษฐกิจ-ยานยนต์
…ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์…
22 สิงหาคม 2566 เวลา 08:00 น.

กทม. ได้จัดทำการศึกษา และวิเคราะห์โครงการรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (Light Rail Transit : LRT) สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ นับเป็นรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบาสายแรกของไทย!!!

ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในกลุ่ม A2 เป็นเส้นทางที่มีความจำเป็น ในแผนโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 หรือ M-MAP 2 ซึ่งจัดทำโดยกรมการขนส่งทางราง(ขร.) สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเทา แต่ต้องเตรียมความพร้อมก่อน โดยมีแผนก่อสร้างภายในปี 2572 สถานะโครงการล่าสุดถึงไหนแล้ว?? “ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์” มีคำตอบ….

กรุงเทพมหานคร(กทม.) ได้จัดทำการศึกษา และวิเคราะห์โครงการรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (Light Rail Transit : LRT) สายบางนา–ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เสร็จเรียบร้อยแล้ว ตั้งชื่อรถไฟฟ้าสายใหม่เป็นสีเงิน เตรียมเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก(คจร.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป นับเป็นรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบาสายแรกของไทย จากปัจจุบันที่มีรถไฟฟ้าบีทีเอสและเอ็มอาร์ทีเป็นรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเหลือง&ชมพูเป็นโมโนเรลสายแรก(ขนาดเบาแต่ใช้รางเดี่ยว)



ส่วนกรณีนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯกทม.มีแนวคิดจะมอบโครงการรถไฟฟ้าสีเงินให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ดำเนินการแทนนั้น ขณะนี้ยังไม่ได้ส่งมอบให้ รฟม.

รถไฟฟ้าสีเงินมีระยะทาง 19.7 กม. 14 สถานี แบ่งเป็น 2 เฟส เฟสแรกจากแยกบางนา–ธนาซิตี้ 12 สถานี 14.6 กม.
1.สถานีบางนา, 2.สถานีประภามนตรี, 3.สถานีบางนา-ตราด 17, 4.สถานีบางนา-ตราด 25, 5.สถานีวัดศรีเอี่ยม, 6.สถานีเปรมฤทัย, 7.สถานีบางนา-ตราด กม.6, 8.สถานีบางแก้ว, 9.สถานีกาญจนาภิเษก, 10.สถานีวัดสลุด, 11.สถานีกิ่งแก้ว และ 12.สถานีธนาซิตี้ เฟส 2 ธนาซิตี้–สุวรรณภูมิใต้ 2 สถานี 5.1 กม. 1.สถานีมหาวิทยาลัยเกริก และ2.สถานีสุวรรณภูมิใต้

ค่าลงทุนโครงการรวม 1.35 แสนล้านบาท แบ่งเป็นค่างานที่เกี่ยวข้องกับการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1,181 ล้านบาท, ค่างานโยธา และงานระบบรถไฟฟ้า 36,020 ล้านบาท, ค่างานจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้า 6,720 ล้านบาท และค่าดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) 91,767 ล้านบาท สัมปทานโครงการ 30 ปี

เบื้องต้นคาดว่าจะเป็นรูปแบบ PPP Net Cost รัฐจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน เอกชนก่อสร้างงานโยธา และงานระบบO&M โดยรัฐให้สิทธิ์แก่เอกชนเป็นผู้รับรายได้และเอกชนจ่ายค่าสัมปทาน หรือส่วนแบ่งของรายได้แก่รัฐ

รายละเอียดโครงการ เป็นรถไฟฟ้ารางคู่ ขนาดราง 1.435เมตร มีระบบควบคุมการเดินรถอัตโนมัติ ความเร็ว 80กม./ชั่วโมง(ชม.) ใช้เวลาเดินทางไป – กลับประมาณ 1ชม., 1ขบวนสูงสุด มี 4ตู้ รองรับผู้โดยสารได้ 1.5-3หมื่นคน/ชม. เดิมวางแผนเริ่มก่อสร้างปี 2568 เมื่อเปิดบริการเฟสแรกในปี 2572 จะมีผู้ใช้บริการ 5.61หมื่นคน–เที่ยว/วัน และปี 2576 จะเพิ่มสูงขึ้นราว 1.13แสนคน–เที่ยว/วัน หากบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) หรือ ทอท. เปิดให้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิด้านทิศใต้ จะใช้บริการเพิ่มขึ้นถึง 1.38แสนคน–เที่ยว/วัน คาดการณ์ตลอดสัมปทานมีรายได้จากผู้โดยสารประมาณ 3.76แสนล้านบาท

สำหรับอัตราค่าโดยสารมีค่าแรกเข้าอยู่ที่ 14.5 บาท และคิดตามระยะทาง 2.4 บาทต่อกม. เก็บค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 42 บาท เพิ่มขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ 2.5% ในปีที่เปิดบริการ(2572) ค่าแรกเข้าอยู่ที่ประมาณ 17.5 บาท และค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 45-48 บาท

อย่างไรก็ตามขร.ได้ระบุเงื่อนไขไว้ใน M-MAP 2 ว่า รถไฟฟ้าสายสีเงินจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีเส้นทางเข้าไปเชื่อมต่อกับอาคารผู้โดยสารทางด้านใต้ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเท่านั้น เพราะหากหยุดอยู่ที่ธนาซิตี้ริมถนนบางนา-ตราด จะไม่เกิดประโยชน์


ขร.ใช้แบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบรางวิเคราะห์ออกมาว่า หากรถไฟฟ้าสายสีเงินมีสถานีปลายทางที่ธนาซิตี้ จะไม่มีประโยชน์ ปริมาณผู้โดยสารน้อย เพราะไม่มีแหล่งกำเนิดการเดินทาง การจะก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเงินได้นั้น ควรต้องมีสถานีปลายทางเชื่อมต่อกับอาคารผู้โดยสารด้านทิศใต้ เพื่อให้มีปริมาณผู้โดยสารที่เพียงพอและเกิดประโยชน์

กทม. ต้องหารือกับทอท. เพื่อออกแบบอาคารผู้โดยสารใหม่(ซึ่งยังไม่ได้ก่อสร้างเช่นกัน) ให้มีสถานีรถไฟฟ้ารองรับอยู่บริเวณชั้นใต้ดินของอาคารด้วย (จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้หารือร่วมกัน) นอกจากนี้หากเส้นทางการก่อสร้างไม่สิ้นสุดที่อาคารผู้โดยสารด้านใต้จะไม่ใช่เส้นทาง บางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิตามที่กทม.ตั้งชื่อโครงการ ดังนั้นควรก่อสร้างในเฟสที่ 1 ให้ถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไม่ควรมาหยุดอยู่ริมถนนบางนา-ตราด

รถไฟฟ้า LRT จะช่วยเพิ่มความสะดวกการเดินทางให้ประชาชนโดยเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียวช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ ที่สถานีบางนาและรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงพัฒนาการ – สำโรง ที่สถานีศรีเอี่ยม รวมทั้งเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่สถานีสุวรรณภูมิใต้


แม้รถไฟฟ้าสีเงินจะจบการศึกษาแล้ว แต่ยังขาดความพร้อมหลายด้าน ต้องขยับแผนก่อสร้างจากปี 2568 เป็น 2572 ที่สำคัญยังต้องรอนโยบายรัฐบาลใหม่ด้วยว่าจะให้หยุดหรือชะลอการเติบโตของรถไฟฟ้าหลากสีหรือไม่.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44910
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/09/2023 7:01 am    Post subject: Reply with quote

กทม.ชงรัฐบาลลงทุนรถไฟฟ้า สายใหม่'สีเงิน-เทา'7.7หมื่นล้าน
Source - ประชาชาติธุรกิจ
Saturday, September 02, 2023 06:30

กทม.ส่งการบ้านรัฐบาลเศรษฐา รอความชัดเจนค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาท เตรียมแผนผุดรถไฟฟ้าใหม่ 3 สาย 9.2 หมื่นล้าน โยก "สายสีเทา" ช่วงวัชรพล-พระราม 9-ท่าพระ 2.9 หมื่นล้าน กับ "สายสีเงิน" ช่วงบางนา-สุวรรณภูมิ 4.8 หมื่นล้าน เจรจาให้รัฐบาลลงทุนเพราะจุดตัดเยอะทำให้มีปัญหาค่าแรกเข้า วงเงินลงทุนรวม 7.7 หมื่นล้าน จี้เร่งตัดสินใจ สายสีเขียวปมต่อสัญญา 30 ปี-แก้หนี้ค่าจ้างเดินรถบีทีเอส เล็งเก็บค่าโดยสาร 15 บาท ส่วนต่อขยายสีเขียวเส้นทางคูคต-บางปู ภายในปลายปี 2566 นี้

รศ.วิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กำกับดูแล ภารกิจด้านโครงสร้างพื้นฐานของ กทม. เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หลังจาก มีรัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ทาง กทม.เตรียมนำเสนอแผนลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายใหม่ เพื่อให้รัฐบาลพิจารณาการลงทุน โดยเป็นการศึกษาความเป็นไปได้จำนวน 3 โครงการ ประกอบด้วย รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย บางหว้า- ตลิ่งชัน, รถไฟฟ้าสายสีเทา และรถไฟฟ้าสายสีเงิน มูลค่ารวม 92,314 ล้านบาท

รถไฟฟ้าใหม่ กทม. 9.2 หมื่นล้าน

ทั้งนี้ รายละเอียดมูลค่าลงทุน 92,314 ล้านบาท แบ่งเป็น 1.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย บางหว้า-ตลิ่งชัน มูลค่าลงทุน 14,804 ล้านบาท 2.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา วัชรพล-พระราม 9-ท่าพระ วงเงินลงทุน 29,130 ล้านบาท และ 3.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเงิน บางนา-สนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ วงเงินลงทุน 48,380 ล้านบาท

รศ.วิศณุกล่าวว่า การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนใหม่ทั้ง 3 เส้นทางเป็นแผนงานเดิมของ กทม. ปัจจุบัน นโยบายการลงทุนภายใต้ทีมชัชชาติมีจุดเน้นให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง ผ่านนโยบาย 9 ด้าน 9 ดี (ปลอดภัยดี โปร่งใสดี เศรษฐกิจดี เดินทางดี สิ่งแวดล้อมดี สุขภาพดี สังคมดี เรียนดี บริหารจัดการดี)

ประกอบกับพิจารณาโดยคำนึงขอบเขตอำนาจของ กทม. ในกรณีรถไฟฟ้าสร้างเสร็จในอนาคต การใช้บริการของผู้โดยสารจะต้องไร้รอยต่อ โดยเฉพาะในด้านการกำหนดอัตรา ค่าโดยสารที่จะต้องไม่เป็นภาระการเดินทางของคนกรุงมากเกินไป

ดังนั้น รถไฟฟ้าใหม่ทั้ง 3 สาย เบื้องต้น กทม.จึงมีนโยบายลงทุนก่อสร้างเอง 1 สาย คือ สายสีเขียวส่วนต่อขยาย บางหว้า-ตลิ่งชัน เพราะมีระยะทางสั้น ๆ 7 กิโลเมตร จำนวน 4 สถานี วงเงินลงทุน 1.4 หมื่นล้านบาทบวกลบ เหตุผลเพราะอยู่ในพื้นที่ทางปกครองของ กทม.โดยตรง

"สายสีเขียวน่าทำเอง เพราะไปเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงอยู่แล้ว สภาพปัจจุบันมีความเจริญของเมืองเริ่มขยับขยายออกไป มีประชาชนอาศัยอยู่มากขึ้นกว่าเดิม ตอนนี้กำลังขออนุมัติ EIA"
โยก "สีเทา-เงิน" ให้ รฟม.สร้าง

อีก 2 สาย คือ สายสีเทากับสายสีเงิน เตรียมเสนอโครงการให้รัฐบาล โดยกระทรวงคมนาคมเป็นผู้รับไปดำเนินการ มูลค่าลงทุนรวม 77,510 ล้านบาท ล่าสุดจะมีการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เร็ว ๆ นี้

เหตุผลหลักเพราะเป็นโครงการที่ใช้วงเงินลงทุนสูง แต่เหตุผลสำคัญกว่านั้นคือเป็นโครงการที่มีจุดตัดกับรถไฟฟ้าหลากสี ทำให้มีประเด็นเรื่องการจัดเก็บ "ค่าแรกเข้า" ในการเดินทางด้วย รถไฟฟ้าตั้งแต่ 2 ทอดขึ้นไป เช่น นั่งรถไฟฟ้าสายสีเขียวแล้วไปต่อรถไฟฟ้าสาย สีชมพู การเปลี่ยนสายเปลี่ยนสีรถไฟฟ้าจะทำให้ต้องเริ่มต้นจ่ายค่าโดยสารใหม่ หรือที่เรียกว่าค่าแรกเข้า 15 บาททันที

แต่ถ้าหากโครงการลงทุนโดยกระทรวงคมนาคม หรือการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของคมนาคม ถือว่าเป็นเจ้าของโครงการรายเดียวกัน ทำให้สามารถยกเว้นค่าแรกเข้าได้ง่ายกว่า ตามแนวทางนี้จึงถือว่าวิน-วิน-วิน โดย กทม.ปลดภาระการลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ขนาดใหญ่ เพื่อจะได้ทุ่มเทกับนโยบายดูแลเส้นเลือดฝอยของเมือง, รฟม.เป็นเจ้าของโครงการและมีศักยภาพในการลงทุน สุดท้าย ประชาชนมีค่าโดยสารที่ถูกลง

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเทา หากรัฐบาลรับไปพิจารณาก็จะสามารถดำเนินการได้ทันที เพราะ กทม.ได้รับอนุมัติรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เรียบร้อยแล้ว สามารถเดินหน้าเปิดประมูลและเปิดไซต์ก่อสร้างได้เลย ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเงินอยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้โครงการ (feasibility) ซึ่งมีความคืบหน้าค่อนข้างมากแล้วเช่นกัน

นอกจากนี้ โจทย์การเมืองยังรวมถึงนโยบายหาเสียงค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาท ตลอดสาย ซึ่ง กทม.กำกับดูแลสายสีเขียวเพียงสายเดียว คงไม่สามารถเป็นผู้กำหนดนโยบายได้เอง ต้องรอฟังนโยบายจากรัฐบาลว่าจะต้องให้ความร่วมมือหรือปฏิบัติอย่างไร

"นโยบายเดินทางดี โจทย์คือดูแลคนเดินทางเป็นที่ตั้ง ไม่ใช่ให้รถเดินทาง การให้คนเดินทางสะดวก ค่าใช้จ่ายไม่แพงเกินไป ถ้า กทม.ทำเองทั้ง 2 สายนี้จะมีจุดตัดเยอะมาก โดยเฉพาะสายสีเทาที่วิ่งผ่านเมือง เราก็กังวลเรื่องการเชื่อมทางเชื่อมต่อ ถ้า กทม.เป็นเจ้าของสายสีเทา การเดินทางเปลี่ยนสายที่จุดตัด ไม่ว่าจะเป็นสายสีเหลือง สีชมพู สีส้ม สีน้ำเงิน ค่าแรกเข้าต้องโดนดับเบิลไหม เพราะฉะนั้น ถ้าเลือกให้ประชาชนเป็นที่ตั้ง ก็มีความชัดเจนระดับหนึ่งว่าประชาชนได้ประโยชน์อย่างไร ระหว่าง กทม.ทำเอง หรือให้ รฟม.ทำ"
ขอให้เร่งตัดสินใจสายสีเขียว

ด้านรถไฟฟ้าสายสีเขียว รองผู้ว่าราชการ กทม.กล่าวว่า รถไฟฟ้าสาย สีเขียวเป็นเรื่องที่ซับซ้อน แต่มองว่ายังมีทางออก ซึ่งการบริหารจัดการต้องแยก 2 เรื่อง คือ 1.การเป็นแมสทรานสิตหรือระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ รัฐบาลจึงต้องซัพพอร์ตในเรื่องค่าก่อสร้าง เพื่อให้โครงการเดินหน้าต่อไปได้ 2.นโยบายระดับรัฐบาลเกี่ยวกับค่าเดินทางในภาพรวม จะสามารถลดค่าใช้จ่ายประชาชนได้อย่างไร โดยเฉพาะการเปลี่ยนถ่ายจากรถไฟฟ้าสีที่ 1 เข้าสีที่ 2 แล้วไปเจอ ค่าโดยสารที่เป็นค่าแรกเข้าดับเบิล

"อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าจะเริ่มต้นที่ 15 บาท เช่น ตลอดสายอาจอยู่ที่ 15-45 บาท หรือ 17-47 บาท กรณีนั่งรถไฟฟ้า สีที่ 1 แล้วต้องการต่อสีที่ 2 อีกเพียง 1-2 สถานี แต่ต้องเจอเรียกเก็บเริ่มต้น 15 บาท ทำให้เป็นค่าโดยสารที่ดับเบิลขึ้นมา ทำให้ค่าโดยสารแพงเกินกำลังผู้โดยสาร เพราะฉะนั้น ประเด็นค่าแรกเข้าจึงเป็นบทบาทรัฐบาลว่าจะทำอย่างไรให้วิน-วิน"
โดยก่อนหน้านี้ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ทำหนังสือแสดงความเห็นถึงรัฐบาลที่แล้ว 3 เรื่องหลัก ประกอบด้วย 1.สัญญาสัมปทานสายสีเขียวไข่แดง ช่วงหมอชิตอ่อนนุช ที่มีกำหนดครบอายุ 30 ปีแรกในปี 2572 แต่มีการทำสัญญาค้างไว้ให้ต่ออายุสัมปทานอีก 30 ปี (2572-2602) ซึ่งการต่ออายุสัมปทานยังไม่มีผลตามกฎหมายโดยสมบูรณ์

ข้อเสนอทีมชัชชาติ คือ ในการต่อสัญญาสัมปทานถึงปี 2602 ควรพิจารณา ให้รอบคอบ และเสนอให้เข้ากระบวนการพิจารณาภายใต้ พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ปี 2562 หรือ พ.ร.บ. ร่วมทุน ความหมายคือควรเปิด ประมูลใหม่เป็นการทั่วไป เพื่อให้มี การแข่งขันอย่างสมบูรณ์ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะทำให้ กทม.และคนกรุงเทพฯได้ประโยชน์สูงสุด

2.ขอให้รัฐบาลช่วยสนับสนุน ค่าโครงสร้างพื้นฐาน หรือค่าก่อสร้าง ในส่วน ที่ รฟม.เป็นผู้ออกเงินลงทุนส่วนต่อขยาย ที่อยู่นอกเขตอำนาจ กทม. ในเส้นทางไป คูคต จ.ปทุมธานี กับเส้นทางไปบางปู จ.สมุทรปราการ ซึ่ง กทม.ยังไม่มีการเรียก เก็บค่าโดยสารส่วนต่อขยาย เหตุผลเพราะยังไม่ได้รับโอนงานส่วนต่อ ขยายจาก รฟม. ทำให้เป็นข้อกังวลเรื่องความถูกต้องของการจ้างเดินรถ

และ 3.ขอให้รัฐบาลเร่งรัดการพิจารณา เพราะเป็นเรื่องที่ค้างดำเนินการมานาน ทำให้มีมูลหนี้ค้างจ่ายมูลค่าสูง จากการมีสัญญาจ้างเดินรถระหว่าง บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด วิสาหกิจที่ กทม.ถือหุ้น 100% กับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี

"สถานะการแก้ไขปัญหาสายสีเขียว กทม.จะเดินหน้าอะไร อย่างไร ก็ทำได้ลำบาก จะเริ่มเจรจาใหม่ก็ไม่ได้ ทำอะไรก็ติดขัด ซึ่งมีรัฐบาลใหม่เข้ามาก็ต้องทำหนังสือนำเสนอ 3 ข้อนี้ให้พิจารณา ต่อไป" รศ.วิศณุกล่าว
เล็งเก็บค่าโดยสาร "คูคต-บางปู"

ขณะเดียวกัน ส่วนต่อขยายสายสีเขียวซึ่งเปิดบริการในปี 2563-2564 ทาง กทม.มีแผนเตรียมจัดเก็บค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย ในสองเส้นทางคือ เส้นทาง หมอชิต-คูคต กับเส้นทางอ่อนนุช-บางปู เพื่อบรรเทาภาระรายจ่ายที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนจะต้องให้ สภากรุงเทพมหานคร (สภา กทม.) ให้ความเห็นชอบ โดยที่ผ่านมา กทม.ได้ยื่นเรื่องเข้าสู่วาระประชุมสภา กทม.แล้ว แต่ทางสภา กทม.ยังไม่รับบรรจุเป็นวาระประชุม โดยบอกว่าเป็นอำนาจฝ่ายบริหาร ซึ่งจะได้มีการประสานการทำงานร่วมกับสภา กทม.อย่างใกล้ชิดต่อไป

"การเก็บค่าโดยสารราคาเดียว 15 บาท ของส่วนต่อขยายคูคตกับบางปู คาดว่าถ้าเข้า สภา กทม.แล้วได้รับการอนุมัติ ขั้นตอนจากนั้นจะต้องประกาศล่วงหน้า 1 เดือน ก่อนจัดเก็บจริง ตามไทม์ไลน์ที่ต้อง ใช้เวลาประสานข้อมูลต่าง ๆ น่าจะเริ่ม ได้ภายในปลายปีนี้" รศ.วิศณุกล่าว

ที่มา: นสพ.ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 4 - 6 ก.ย. 2566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 04/09/2023 10:50 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
กทม.ชงรัฐบาลลงทุนรถไฟฟ้า สายใหม่'สีเงิน-เทา'7.7หมื่นล้าน
Source - ประชาชาติธุรกิจ
วันเสาร์ที่ 2 กันยายน 2566 เวลา 06:30 น.
ที่มา: นสพ.ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 4 - 6 ก.ย. 2566

ลิงก์มาแล้วครับ
กทม.ชงรัฐบาลลงทุนรถไฟฟ้า ผุดสายใหม่ “สีเงิน-เทา” 7.7 หมื่นล้าน
ในประเทศ
วันเสาร์ที่ 2 กันยายน 2566 เวลา 18.15 น.

กทม.ส่งการบ้านรัฐบาลเศรษฐา รอความชัดเจนค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาท เตรียมแผนผุดรถไฟฟ้าใหม่ 3 สาย 9.2 หมื่นล้าน โยก “สายสีเทา” ช่วงวัชรพล-พระราม 9-ท่าพระ 2.9 หมื่นล้าน กับ “สายสีเงิน” ช่วงบางนา-สุวรรณภูมิ 4.8 หมื่นล้าน เจรจาให้รัฐบาลลงทุนเพราะจุดตัดเยอะทำให้มีปัญหาค่าแรกเข้า วงเงินลงทุนรวม 7.7 หมื่นล้าน จี้เร่งตัดสินใจสายสีเขียวปมต่อสัญญา 30 ปี-แก้หนี้ค่าจ้างเดินรถบีทีเอส เล็งเก็บค่าโดยสาร 15 บาท ส่วนต่อขยายสีเขียวเส้นทางคูคต-บางปู ภายในปลายปี 2566 นี้
https://www.prachachat.net/general/news-1384202
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44910
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/09/2023 6:54 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รถไฟฟ้าสีเงิน”บางนา-สุวรรณภูมิ” LRTสายแรกของไทยเข้าสนามบิน
มุมคนเมือง, เศรษฐกิจ-ยานยนต์
…ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์…
22 สิงหาคม 2566 เวลา 08:00 น.

รถไฟฟ้าสายสีเงิน บางนา-สุวรรณภูมิ LRT สายแรกของไทยเข้าสนามบิน | TECH LIFE
TECH LIFE
Aug 31, 2023

อัปเดตระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ล่าสุดกับรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (Light Rail Transit : LRT) สายบางนา - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
นับเป็น LRT สายแรกของไทย ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม A2 เส้นทางที่มีความจำเป็น ในแผนโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 หรือ M-MAP 2 ซึ่งจัดทำโดยกรมการขนส่งทางราง สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเทา แต่ต้องเตรียมความพร้อมก่อน โดยมีแผนก่อสร้างภายในปี 2572


https://www.youtube.com/watch?v=3OhbEgcLcsw
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 06/09/2023 11:12 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีทอง รถไฟฟ้าล้อยางไร้คนขับ (APM) สายแรกของไทย วิ่งจากสถานีกรุงธนบุรี - คลองสาน ยาว 1.72 กม. ซึ่งเปิดเมื่อปี 2564 และ 28 กันยายนนี้ เตรียมพบกับ APM สายที่ 2 ของไทย วิ่งเชื่อมอาคารโดยสารหลัก - อาคาร SAT-1 ที่เป็นอาคารโดยสารใหม่ ภายในสนามบินสุวรรณภูมิ ยาว 1 กม. ซึ่งจะเปิดตลอด 24 ชม.
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=268465196062505&id=100086970807579
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44910
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/11/2023 11:31 am    Post subject: Reply with quote

กทม.เตรียมถกคมนาคม โอนลงทุนรถไฟฟ้ากว่า 1.5 แสนล้าน
กรุงเทพธุรกิจ 23 พ.ย. 2566 เวลา 10:05 น.
    กทม.เตรียมเสนอ คจร.โอนสารพัดโครงการรถไฟฟ้าให้ รฟม.เดินหน้าลงทุน รวมเม็ดเงินกว่า 1.5 แสนล้านบาท ชี้ภาครัฐมีความพร้อมผลักดันโครงการเชื่อมโครงข่ายสะดวก ขณะที่ กทม.หันลงทุนบริการด้านอื่น
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยถึงแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบรางในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยระบุว่า ปัจจุบัน กทม.มีแนวคิดจะมอบโครงการลงทุนใหม่เพื่อพัฒนาระบบรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้รับผิดชอบการลงทุน เนื่องจาก กทม.เล็งเห็นว่าชณะนี้มีปัจจัยด้านอื่นที่ต้องเร่งนำงบประมาณไปดำเนินการเพื่อประชาชน อาทิ ด้านการศึกษา และคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน

ขณะที่การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบรถไฟฟ้า นับเป็นเรื่องที่รัฐบาลให้ความสำคัญ ส่วนนี้จึงเชื่อว่าภาครัฐจะมีงบประมาณเร่งดำเนินการอยู่แล้ว การมอบให้ รฟม.กลับไปผลักดันต่อจึงถือเป็นเรื่องที่ดีกว่า เพราะ รฟม.จะสามารถวางแผนการพัฒนาโครงขายระบบรางให้เป็นระบบเชื่อมกันอย่างไร้รอยต่อ เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในการใช้บริการ เนื่องจากรถไฟฟ้าที่ กทม.ศึกษาอยู่นั้น ก็มีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าหลายสายที่อยู่ภายใต้การดูแลของ รฟม. และเปิดให้บริการแล้วในปัจจุบัน อาทิ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง รถไฟฟ้าสายสีชมพู รวมไปถึงรถไฟฟ้าสายสีส้ม

“กทม.เรามีเรื่องอื่นเยอะที่ต้องทำ การมอบให้ รฟม.ไปดำเนินการด้ายรถไฟฟ้าก็เป็นเรื่องที่ทำได้ดีกว่า สร้างระบบรถไฟที่เชื่อมต่อกันได้ แต่เรื่องนี้จะเกิดขึ้นก็คงต้องหารือในระดับนโยบายระหว่างกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงคมนาคม ก่อนจะเสนอแนวคิดไปยังนายกรัฐมนตรี ในคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.)”


นายชัชชาติ กล่าวด้วยว่า โครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของ กทม. และมีแนวคิดจะมอบให้ รฟม.นำไปดำเนินการลงทุนนั้น อาทิ โครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) สายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ, โครงการรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (LRT-Light Rail Transit) สายสีเงิน ช่วงบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รวมไปถึงโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียว ช่วงบางหว้า - ตลิ่งชัน โดย กทม.จะเสนอ คจร. เพื่อพิจารณาอนุมัติให้ รฟม.รับผิดชอบการลงทุนรวมไปถึงบริหารสัญญาโครงการดังกล่าวทั้งหมด

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าที่ กทม.ดำเนินการศึกษาแล้วเสร็จ พบว่าต้องจัดใช้วงเงินลงทุนมากกว่า 1.5 แสนล้านบาท ประกอบด้วย โครงการโมโนเรลสายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ มีระยะทาง 16.3 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 2.75 หมื่นล้านบาท ผลการศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้น จะใช้การร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP Net Cost

โดยเอกชนเป็นผู้รับความเสี่ยงด้านรายได้ และเป็นผู้จ่ายค่าสัมปทานหรือส่วนแบ่งรายได้ให้แก่ภาครัฐ ในระยะเวลา 30 ปีซึ่ง กทม.เคยคาดการณ์จะเสนอกระทรวงมหาดไทย และขออนุมัติดำเนินโครงการจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ภายในปี 2566พร้อมคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสาร จะมีประชาชนเข้ามาใช้บริการในปี 2573 ซึ่งเป็นปีที่เปิดให้บริการ จำนวน 97,000 คนเที่ยวต่อวัน

และโครงการรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา สายสีเงิน ช่วงบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ผลการศึกษามีระยะทาง 19.7 กิโลเมตร ประเมินใช้วงเงินลงทุน 1.3 แสนล้านบาท แบ่งเป็น ค่าก่อสร้างงานโยธาและระบบรถไฟฟ้า วงเงิน 36,020 ล้านบาท ค่างานจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้า วงเงิน 6,720 ล้านบาท ค่าดำเนินงานและบำรุงรักษา วงเงิน 91,767 ล้านบาท ค่างานเกี่ยวกับการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน วงเงิน 1,186 ล้านบาท ซึ่งเดิม กทม.คาดการณ์ว่าจสนอกระทรวงมหาดไทยพิจารณาและนำเสนอต่อ ครม.อนุมัติโครงการภายในปี 2566 เช่นเดียวกัน

โดยผลการศึกษารูปแบบลงทุนจะจัดทำลักษณะ PPP Net Cost อายุสัญญาสัมปทาน 30 ปี พร้อมทั้งคาดว่าปริมาณผู้โดยสารที่ใช้บริการรถไฟฟ้าสายนี้ในปี 2572 ที่เปิดใช้บริการจะสูงถึง 82,695 คนเที่ยวต่อวัน และปี 2576 จะเพิ่มสูงขึ้นราว 138,744 คนเที่ยวต่อวัน และในปี 2578 กรณีบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เปิดให้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิด้านทิศใต้ จะทำให้ประชาชนเข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้นถึง 165,363 คนเที่ยวต่อวัน

นอกจากนี้ ยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างศึกษา คือ โครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียว ช่วงบางหว้า - ตลิ่งชัน โดยก่อนหน้านี้ กทม.ทำการศึกษาความคุ้มค่าทางการลงทุน พบว่าโครงการจะมีประชาชนมาใช้บริการประมาณ 35,000 คนเที่ยวต่อวัน ซึ่งเป็นปริมาณที่ไม่สูงนัก จึงต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาดำเนินการ

ทั้งนี้ ยอมรับว่าโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงบางหว้า - ตลิ่งชัน จะสร้างความสะดวกแก่ประชาชน เพราะแนวเส้นทางมีจุดเริ่มต้นบริเวณจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าบีทีเอสส่วนต่อขยายสายสีลม ตากสิน-เพชรเกษม ที่สถานีบางหว้า จากนั้นไปตามแนวเกาะกลางถนนราชพฤกษ์ มาสิ้นสุดบริเวณทางลาดลงของสะพานข้ามรถไฟชานเมืองสายสีแดง (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้มที่สถานีตลิ่งชัน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44910
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/01/2024 3:57 pm    Post subject: Reply with quote

วิดีทัศน์ประกอบการประชุมรับฟังความคิดเห็นการปรับปรุงผังเมืองรวมกทม.ครั้งที่ 4 l วันที่ 6 ม.ค. 2567
Daoreuk Channel
Jan 9, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=DFNBtk9CpOI

วิดีทัศน์ประกอบการประชุมรับฟังความคิดเห็นการปรับปรุงผังเมืองรวม กทม. ครั้งที่4
การประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็น การปรึกษาหารือกับประชาชนเกี่ยวกับการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4)
วันเสาร์ที่ 6 มกราคม 2567 เวลา 9.00-12.00 น.
ณ อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร
จัดโดย สำนักการวางผังเเละพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร

****************************************************************
เมืองที่ดี ต้องมีการวางผังเมืองที่ดี มีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์คนทุกกลุ่ม สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ และทันตามยุคสมัย
การจัดทำผังเมืองรวมจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผนเพื่อพัฒนาและบริหารจัดการเมืองในอนาคต เป็นตัวกำหนดทิศทางการเติบโตของเมืองให้เป็นศูนย์กลางในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญของประเทศ และสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของทุกคนให้ดีขึ้น
โดยที่ผ่านมากรุงเทพมหานคร ได้มีการปรับปรุง ผังเมืองรวมมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป และในครั้งนี้เป็นการปรับปรุงผังเมืองรวมครั้งที่ 4 โดยสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2562 โดยได้มีการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน เพื่อจัดทำร่างผังเมืองรวม และนำมาหารือกับประชาชนอีกครั้ง ทั้งนี้ ก็ได้มีการจัดการประชุมรายกลุ่มเขตเพื่อรับฟังความคิดเห็นในการปรับปรุงร่างผังเมืองรวม กรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 23 และ 24 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นออกเป็น 6 กลุ่มเขต เพื่อนำความคิดเห็นของประชาชนมาปรับปรุง แก้ไขในการจัดทำร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
ร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครปรับปรุงครั้งที่ 4 ได้พยายามจัดทำให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของสังคมและประชาชนในทุกมิติ ประกอบด้วย 6 แผนผังและมาตรการทางผังเมือง ดังนี้
1.แผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน
2. แผนผังแสดงโครงการ การคมนาคมและการขนส่ง
3. แผนผังแสดงที่โล่ง
4. แผนผังแสดงโครงการกิจการสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และบริการสาธารณะ
5. แผนผังแสดงแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6. แผนผังแสดงผังน้ำ
เพื่อให้ผังเมืองรวมเป็นเครื่องมือที่จะทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองแห่งอนาคตได้จริง และเพื่อเป็นมาตรการกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการผลักดันผังเมืองรวม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ จึงมีนโยบาย มาตรการ และวิธีดำเนินการเพิ่มเติม ดังนี้
1.มาตรการเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน หรือ FAR Bonus
2.มาตรการเฉลี่ยอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมสำหรับโครงการพัฒนาที่ดินขนาดใหญ่
PUD
3.มาตรการปรับอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมระหว่างแปลงที่ดิน TDR
********************************************************************
บริษัท ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด เป็นผู้ดำเนินการจัดงาน รวมทั้งผลิตสื่อนิทรรศการและวีดิทัศน์
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 30, 31, 32, 33  Next
Page 31 of 33

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©