RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311323
ทั่วไป:13285099
ทั้งหมด:13596422
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - สถานีปากน้ำโพ.... อดีตที่รุ่งเรือง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

สถานีปากน้ำโพ.... อดีตที่รุ่งเรือง
Goto page Previous  1, 2, 3, 4  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
rimura
2nd Class Pass (Air)
2nd Class Pass (Air)


Joined: 16/08/2006
Posts: 778
Location: Suan luang Rama IX, Pravet, Bangkok

PostPosted: 03/05/2007 1:53 pm    Post subject: Reply with quote

รู้สึกได้กลิ่นอายแห่งอดีตเมื่อสัก 40-50 ปีที่แล้วเลยครับ , มโนภาพ จินตนาการเอาเลยว่าในสมัยนั้น ที่การเดินทางโดยรถไฟรุ่งเรืองถึงขีดสุดๆเป็นอย่างไร นี่ล่ะครับ เสน่ห์ของการนั่งรถไฟอีกอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะทางสายไหน โดยเฉพาะสายเหนือนี่ ความรู้สึกส่วนตัวผมว่าเหมือนกับการเดินทางตามรอยอดีต ดังเช่น บ้านหลังเก่าๆ สถาปัตยกรรมสถานี หรืออย่างซากสะพานที่เป็นตัวจริงของจริงเมื่อครั้งสมัยสงครามโลก ถือเป็นสิ่งที่ขลังอย่างบอกไม่ถูกครับ เวลาได้ผ่านไปเยือน

ปล.ถ้ายังได้เห็น Davenport 1000 Hp. คันสุดท้าย อยู่ด้วยนี่จะสุดยอดเลยครับ Shocked Rolling Eyes
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
Volume_Reservoir
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 03/07/2006
Posts: 71
Location: CM

PostPosted: 07/06/2007 9:10 pm    Post subject: Reply with quote

Vetrail wrote:
ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลและรูป ผมอยู่จังหวัดนครสวรรค์แท้ๆ (ตาคลี) เพิ่งได้ผ่านปากน้ำโพแค่ 3 ครั้งเอง กับ ข.9 51 และ 52 ..สำหรับ 51 52 ไม่ต้องพูดครับหลับสนิท ส่วนข.9 วันนั้น แดวู2538 ไปทำพิษที่ปากน้ำโพพอดี ซ่อมกันประมาณชั่วโมงได้ รถจึงออก ก็เลยเห็น ข.3 แซงไปต่อหน้าต่อตา ฮือๆ เพิ่งเคยพบเคยเจอนี่แหละ ด่วนพิเศษแซงด่วนพิเศษCrying or Very sad
วันนั้นก็ได้ดูนู่นดูนี่มาพอสมควรครับ ทางกระจก ข้อต่อ แล้วก็ในห้องส้วม ทำไงได้ ประตูรถเขาไม่ได้เปิดให้นี่น่อ ..... Twisted Evil Twisted Evil
ว่าแต่ตอนนี้ 11 12 ยังจอดปากน้ำโพอยู่หรือเปล่าครับ เคยเห็นในตารางมีจอดอยู่ ก็เลยข้องใจว่าทำไมรถเร็ว (เช่น 102 )ไม่จอด แต่ด่วนพิเศษ (เช่น 12 )จอด Shocked Shocked


จอดครับ ขบวน 11/12 มีการเปลี่ยนเวรพนักงานกันที่นี่ครับ Very Happy
Back to top
View user's profile Send private message
CivilSpice
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 18/03/2006
Posts: 11192
Location: หนองวัวหนุ่มสเตชั่น

PostPosted: 07/06/2007 10:21 pm    Post subject: Reply with quote

สถานีปากน้ำโพ ก็มีที่แปลกอยู่อย่างนึง นั่นก็คือ ถ้าเป็นสถานีทั่วไป รางประธานถ้าไม่อยู่ติดชานชาลาที่ 1
ก็จะอยู่ประมาณ ราง 2-3 ....แต่รางประธานของสถานีปากน้ำโพ เล่นย้ายไปอยู่รางนอกสุด ซะงั้น

ช่วงที่ผมไปเชียงใหม่กับป๋านัท ... รางประธานถูกจัดไว้สำหรับจอดรถ ต.ญ. เพื่อเป็นที่พักอาศัยชั่วคราว
ของผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วม ทำให้ขบวนรถไฟที่แล่นผ่านสถานีปากน้ำโพ ต้องมาวิ่งในรางหลีก แทน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
pattharachai
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 6536
Location: ราชอาณาจักรไทย

PostPosted: 07/06/2007 10:40 pm    Post subject: Reply with quote

เวลานั่งรถไฟผ่านสถานีปากน้ำโพ ถ้าไม่สังเกตดีๆๆๆ แทบจะไม่เห็นอาคารสถานีเลยนะ
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail Visit poster's website
pak_nampho
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 25/06/2007
Posts: 2371
Location: คนสี่แควพลัดถิ่น ทำมาหากิน ที่เกาะภูเก็ต

PostPosted: 27/06/2007 2:37 pm    Post subject: Reply with quote

คุณใหม่ ครับ
ถ้าผมขออนุญาต อธิบายเสริมประกอบภาพของคุณใหม่ เกี่ยวกับความยิ่งใหญ่สถานีปากน้ำโพบ้านผมให้เพื่อนสมาชิกคนรักรถไฟทราบได้ไหมครับ ซึ่งผมอยากรำลึกความยิ่งใหญ่ของบ้านผมในฐานะ ลูก พ.ข.ร สมัยแขวงปากน้ำโพทำขบวนด้วยรถจักรไอน้ำ ย่านสถานีมีรถจักรไอน้ำจอดประจำแขวง 7 ถึง 8 หัว รวม ทั้ง C56 หมายเลข 713 และ 715 ชึ่ง รถ C 715 มีความหลัง ที่บริเวณสะพานรถไฟ(คนปากน้ำโพเรียกสะพานโค้ง) ใต้สถานี ครับ
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Bradycardia
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 1565
Location: พระธาตุเด่น พระรอดขลัง ลำไยดัง กระเทียมดี ประเพณีงาม จามเทวี ศรีหริภุญชัย(แต่ตอนนี้อยู่พน.ครับ)

PostPosted: 27/06/2007 2:42 pm    Post subject: Reply with quote

pak_nampho wrote:
คุณใหม่ ครับ
ถ้าผมขออนุญาต อธิบายเสริมประกอบภาพของคุณใหม่ เกี่ยวกับความยิ่งใหญ่สถานีปากน้ำโพบ้านผมให้เพื่อนสมาชิกคนรักรถไฟทราบได้ไหมครับ ซึ่งผมอยากรำลึกความยิ่งใหญ่ของบ้านผมในฐานะ ลูก พ.ข.ร สมัยแขวงปากน้ำโพทำขบวนด้วยรถจักรไอน้ำ ย่านสถานีมีรถจักรไอน้ำจอดประจำแขวง 7 ถึง 8 หัว รวม ทั้ง C56 หมายเลข 713 และ 715 ชึ่ง รถ C 715 มีความหลัง ที่บริเวณสะพานรถไฟ(คนปากน้ำโพเรียกสะพานโค้ง) ใต้สถานี ครับ


อิอิอิ....ไม่ใช่คุณใหม่ แต่จะมาบอกว่า เล่าเรื่องเกี่ยวกับความยิ่งใหญ่ของสถานีปากน้ำโพให้อ่านหน่อยครับ ผมสนใจมากๆๆ Embarassed Embarassed Embarassed
_________________
I'm a Third Officer.
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Yahoo Messenger MSN Messenger
pak_nampho
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 25/06/2007
Posts: 2371
Location: คนสี่แควพลัดถิ่น ทำมาหากิน ที่เกาะภูเก็ต

PostPosted: 28/06/2007 6:23 pm    Post subject: Reply with quote

สถานีปากน้ำโพเมื่อ 40 ปีก่อน สมัยผมยังเด็กมีสภาพดังนี้และ ผมขอใช้คำพูดง่าย ๆ ที่ใช้เรียกเกี่ยวกับรถไฟ ของคนในท้องถิ่น เพื่อให้สมาชิกฟังแล้วเหมือนกับเคยวิ่งเล่น และเกาะขบวนโดยสารรถเข้า - ออกสถานี เหมือนผม

รูปที่ 1 : คือห้องขายตั๋ว,ห้องนายสถานี,ห้องอาณัติสัญญานด้วยสายลวดหรือห้องสัปประแจรถเข้ารางหลีก หรือ ราง 1 ราง 2 ราง 3 เป็นต้น และขบวนรถจะเข้าสถานีได้ หรือต้องรอสัญญานหลีกนอกสถานี ที่เสาหางปลาบริเวณสะพานรถไฟด้านใต้สถานี หรือชาวบ้านเรียกว่า "สะพานโค้ง" ห้องที่ปิดประตูทืบสีนำน้ำตาลคือ ห้องชั่ง เพราะมีตราชั่งน้ำหนักสินค้าที่ฝากไปกับรถไฟ ซึ่งขบวนที่รับฝากสินค้า เรียกว่า ขบวนรถรวม หรือคนรถไฟ เรียกว่า รถหวานเย็น เพราะถึงก็ชั่งไม่ถึงก็ชั่ง (รถรวมประกอบด้วยรถ ต.ญ. และ บ.ช.ส 2 ตู้ )

และข้างอาคารสถานีมองไม่เห็นในภาพ เป็นตลาดขายอาหารผัก, ปลา, หมู คนปากน้ำโพเรียกว่า"ตลาดเช้า" เพราะขายถึง 9 โมงเช้าเลิก ส่วนอาคารสีขาวด้านหลังเห็นช่องหน้าต่าง ปี 2550 คือ รันนิ่งรูม หรือ ห้องพัก พ.ข.ร. และช่างเครื่อง แขวงบางซื่อ หรือแขวงอุตรดิตถ์ ที่ลงพักเพื่อรอทำขบวนกลับ แต่ อาคารนี้เมื่อปี 2510 คือร้านขายอาหาร,เหล้า สำหรับผู้โดยสารที่รอรถไฟทั้งเที่ยวขึ้น และเที่ยวล่อง คนปากน้ำโพเรียก ร้านบาร์ เพราะปิด เกือบตี 1 ทุกวัน โดยกลางคืนผู้โดยสารส่วนมาก จะเป็นพ่อค้า (สมัยนี้คือเซลล์แมน) จะมารอขบวน รถธรรมดาเที่ยวล่อง คือ รถ 4 ทุ่ม ถึง ปากน้ำโพ (ขบวนพิษ'โลก - กรุงเทพ ) และ รถ 5 ทุ่ม (รถศิลาอาสน์ - กรุงเทพ ) เพื่อมาลงลพบุรี ลงภาชี เพื่อ ต่อรถไปอิสาน หรือลงอยุธยา เพื่อติดต่อค้าขายสินค้าในเช้าวันรุ่งขึ้นส่วนรถธรรมดาเที่ยว ขึ้นก็เป็น รถ 5 ทุ่ม (กรุงเทพ - พิษ'โลก) รถเที่ยงคืน (กรุงเทพ - ศิลาอาสน์) รุ่งขึ้นพ่อค้าเมื่อถึงปลายทางก็ทำการติดต่อค้าขายได้ทันที

ส่วนตอนเช้า 7 โมง ตรงเป็นขบวนรถขึ้น นครสวรรค์ - ลำปาง พ่อผมก็ทำขบวนนี้แต่ลงที่ศิลาอาสน์ ทำขบวนโดย แปซิฟิค และ มิกาโด รุ่นเดียวที่วิ่งขบวนประวัติศาสน์ กรุงเทพ - อยุธยา ขณะนี้นั่นเอง ผู้โดยสารส่วนใหญ่ก็เป็นพ่อค้ามานอนค้างในตัวเมือง และเตรียมตัวไปค้าขายที่ ทับกฤษ, ชุมแสง, บางมูลนาก, ตะพานหิน เป็นต้น

อ้อ !!!!เกือบลืม เมือปี 2510 ที่ปากน้ำโพ โดยร้านอาหารที่ว่านี้จะทำอาหารที่ขึ้นชื่อของสถานี้ปากน้ำโพ คือ ปลาทอดมัน ขายคู่ข้าวเปล่า ใส่กระทงใบตอง แถมช้อนอลูมินียม 1 คันทานแล้วทิ้งเลย จะมีคนเดินขายข้างรถเมือรถจอด โดยทอดมัน ที่มีชื่อติดปากคนเดินทางด้วยรถไฟ คือ ป. ปลาทอดมัน หรือ ทอดมันนาย ป. สมาชิกหลายท่านลองถาม ปู่ - ย่า,ตา - ยาย หรือคุณพ่อ-คุณแม่ ที่เคยขึ้นรถไฟผ่านปากน้ำโพ ยังจำ ทอดมันนายป. แสนอร่อยได้ไหม ????

รูปที่ 2 : คือรางตอนเพื่อนำหัวรถจักรไอน้ำเข้าจอดในรางตอนของแขวงเพื่อให้นายตรวจกลทำการตรวจเช็คและอัดจาระบี หลังทำขบวนการวิ่ง
รูปที่ 3 : ป้ายสถานีคือบริเวณชานชลาสถานี เมื่อก่อนจะมีหลังคาชานชลาสถานีสร้างด้วยเหล็กรางรถไฟเป็นรูปตัว Y แต่โดนพายุพัดพังลง
ประมาณ พ.ศ. 2519 อาจผิดพลาด ในตัวชานชลาจะมีร้านค้าหนังสือพิมพ์ลุกอม ของใช้เดินทาง เหมือนกับท่ารถยนต์ บ.ข.ส 4 - 5 ร้าน
รูปที่ 4 : คือรางจอดหัวรถจักรไอน้ำของแขวง และทีว่างระหว่างราง 2 กับ ราง 3 ตรง ที่ตั้งแท็งสูงสีขาวเมื่อก่อนคือที่เก็บฟืนสำหรับรถจักรไอน้ำ ลักษณะเหมือนชั้นเก็บของ ยาวประมาณ 15 เมตร ยกพืนสูงเท่ารถลำเลียงรถจักรเพื่อสะดวกสกหรับคนงานโยนฟืนขึ้นรถลำเลียง ส่วนขวามือ เมื่อก่อนไม่มีรั้วและถนน จะเป็น รางอีก 2 รางวางไปสุดประมาณ 200 เมตรจะเป็นแป้นกระแทก เป็นรางพักรถจักร และที่สำหรับทิ้งซุงที่บรรทุกมาโดยรถไฟ จากลำปางและแพร่ ลงแม่น้ำน่าน เพื่อนำเข้าโรงเลื่อยด้านหลังสถานี

ข้ามไปรูปที่ 7 : ป้ายสถานีเพิ่งสร้างเมื่อก่อนจะเป็นสต็อคเก็บฟืนเป็นแถวยาวหลายสต็อค และหลังป้ายป็นรางย่านสถานีและมีสต็อคฟืนเช่นกัน
รูปที่ 8 : รางที่พูดถึงในรูปที่ 7 ถูกยกเลิกละถอดรางไปแล้ว ร้านค้าสร้างทับราง และสต็อคฟืน
รูปที่ 9 : ท้ายขบวนรถที่จอดในย่านรางหลีก จะเป็นสต้อคฟืนและ งวงท่อน้ำสำหรับรถที่ทำขบวนตัดหัวรถจักรเข้ารับน้ำและฟืนก่อนทำขบวนต่อ
รูปที่ 10 : สะพานที่เห็นคือสะพานโค้ง จะมีเสาอาณัติสัญญาน ( หางปลาอนุญาติเข้าสถานี ) หรือ รอให้ทางขบวนอื่นรอหลีกในย่าน
รูปที่ 11 - 14 : ทางสร้างเข้าท่าเรือขนส่งทางน้ำของกรมเจ้าท่า
รูปที่ 15 : ต่อเนื่องจากบรรยายรูป ที่ 4 บ้านพักรถไฟ ติดกันจะเป็นโรงสูบน้ำจากแม่น้ำน่าน เข้าเก็บในแท็งสูงหลังที่ทำการสารวัตรรถจักร
รูปที่ 16 : บ้านพักสารวัตรรถจักรปากน้ำโพ
รูปที่ 17 : เป็นรถช่วยอันตรายของแขวงตั้งแต่สมัยรถจักรไอน้ำ

รูปที่ 19 : เป็นโรงเก็บหัวรถจักรไอน้ำ สังเกตุได้จากปล่องท่อควันที่สูง ผมมีรุปหมู่ของพนักงานรถจักร ตั้งแต่สารวัตรรถจักร , ช1, ช2, พ.ข.ร, ช่างไฟ เป็นภาพขาวดำของพ่อผม แต่ใหญ่มากถ่ายพร้อมหัวรถจักรบอลวินด์ 4 หัวในโรงรถ ส่วนบริเวณลานซีเมนต์ และมีร่องข้างรางคือ บริเวณล้างหม้อน้ำรถจักร คนรถไฟจะเรียกว่า "รถไฟล้างหม้อ" คือเมื่อรถจักรครบวาระ คนการต้องตักขี้เถ้าในเตาทิ้ง และเปิดหัวรถจักรด้านหน้าเอาน้ำฉีดล้างเขม่าฟืนที่อุดตัน และตกค้าง ทำความสะอาดหัวรถจักรอัดจารบี ขัดทองเหลืองอุปกรณ์ในห้อง พ.ข.ร.(หน้าเตารถจักร) และรูปหลังคาห้อง พ.ข.ร ของ รถจักร McArture หมายเลข 354 ที่เห็นของของเหลือที่เมื่อหมดยุครถจักรไอน้ำ การรถไฟได้ขายให้ผู้ประมูล มาตัดหัวรถจักรเป็นเศษเหล็ก เอาเฉพาะหม้อน้ำไปขายให้กับโรงสีข้าวหรือโรงเลื่อยต่อไป

รูปที่ 20 : เป็นวงเวียนแต่สมัยผมเด็กคือที่จัดงานลอยกระทงของคนรถไฟปากน้ำโพ และนำกระทงไปลอยน้ำในวงเวียนด้วยการปล่อยน้ำลงไป
รูปที่ 23 : คือรางเก็บล้อสำหรับเปลี่ยนรถจักรไอน้ำ หรือรถ ต.ญ. จะเห็นว่ายังมีล้ออะไหล่อยู่
รูปที่ 24 : บริเวณที่รถ ต.ญ. จอดอยู่ เมื่อก่อนคือ โรงเปลี่ยนล้อรถจักร ลักษณะ ขุดบ่อผนังคอนกรีตสีเหลี่ยมลงไปในดินลึกประมาณ 5 เมตร แล้ววางราง เหมือนรางบนวงเวียน แต่ความยาวรางเท่าปากบ่อและใต้รางในบ่อเป็นแม่แรง ทำงานระบบแป็นทดด้วยเฟืองยกขึ้นลงของล้อ เสียดายที่คุณใหม่ไม่ได้ถ่ายรูปมาให้เพื่อนสมาชิกได้ดู แล้วตรงสุดรางที่จอดรถต.ญ. เข้าไปหลังจากยกเลิกรถจักรไอน้ำแล้ว เมือก่อน มีรถ C 56 หมายเลข 714 จอดเป็นอนุสรณ์ให้ผู้โดยสารที่ผ่านปากน้ำโพได้เห็นด้วย แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้วเพื่อนสมาชิกครับ ผมขอเล่านอกรื่องให้ฟัง ของ ชีวิต พ.ข.ร.

สมัยก่อนหัวรถจักรถจักรไอน้ำ ทำขบวนประกอบด้วย 1.พ.ข.ร. 2. ช่างไฟ 1(ห้ามล้อ) 3. ช่างไฟ 2 (โยนฟืนใส่เตา) พ่อผมชุดเครื่องแบบต้องใส่แบบเก่า และปะชุนไม่สามารถใส่ชุดใหม่ได้ เพราะจะโดนสะเก็ดไฟฟืนปลิวออกจากเตา มาโดนเสื้อเครื่องแบบ ทะลุไหม้เป็นจุด ๆ (คนรถไฟเรียกสะเก็ดลูกไฟ ) แต่รถจักรไอน้ำ พ.ข.ร. สามารถนึ่งข้าว ทานบนรถได้เลยโดยใช้เหล็กยาวสำหรับเขี่ยฟืน ในเตาเกี่ยวหม้ออลูมิเนียมหูเดียว ใส่เตาฟืนหนึ่งแล้วทานข้าวบนรถจักรได้เลย แล้วพ่อผมเคยเล่าให้ฟังว่ารถโดยสาร จอดสถานีใหญ่ ๆ จะ จอดเกินกำหนดในเวลาตารางการเดินรถ เช่น สถานีปากน้ำโพจอด 1 นาที เมื่อครบ 1 นาที่ พ.ร.ร จะธงเขียว ทวนกับนายสถานี แต่ พ.ข.ร. จะแกล้งไม่มองท้ายขบวน โดยจอดนาน 3 นาที่เพื่อให้พ่อค้า ขายอาหารข้างรถขายได้นานขึ้น โดย เจ้าของร้านที่สถานี จะให้เด็กไปรอส่งอาหารพวกข้าวห่อ และโอเลี้ยง 3 ชุดให้ พ.ข.ร ... ส่วน พ.ร.ร. จะไม่ได้ แต่ พ.ร.ร. ก็จะได้กินกับรถเสบียงในขบวน และ พ.ข.ร. ก็จะทำเวลาทดแทน ระหว่างขบวนรถลอยตัวระหว่างสถานี

ขอจบความรุ่งเรืองของสถานีปากน้ำโพและแขวงรถพ่วงปากน้ำโพ เพียงเท่านี้ และต้องขอขอบคุณ..คุณใหม่ ด้วยครับ ที่ทำให้ได้ผมบรรยายให้เพื่อนสมาชิกได้ทราบ
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
mai_cnx_th
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 07/07/2006
Posts: 239
Location: นครสวรรค์ - เชียงใหม่

PostPosted: 28/06/2007 8:35 pm    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณมากครับ ที่นำข้อมูลมาลงเพิ่ม ( ข้อมูล ดูยิ่งใหญ่มากจริงๆ 555 อ่านซะตาลาย )
ว่าแต่ พี่อายุเท่าไรหรอครับ น่าจะทันช่วง สน.ปากน้ำโพมั้งเนี่ย.........
ยินดีครับ ที่ได้เจอคนบ้านเดียวกัน
8)
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail Visit poster's website MSN Messenger
beer45
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 18/06/2007
Posts: 4249
Location: ประเทศสยาม

PostPosted: 28/07/2007 9:50 am    Post subject: Reply with quote

สวัสดีครับ ผมเบียร์ 45 ครับผมคนหนึ่งครับที่หลงมนต์เสน่ห์ของปากน้ำโพ เพิ่งมารับหน้าที่ พขร ได้เกือบสองปี แล้วคิดว่า ปากน้ำโพมีความคลาสสิกในตัวมันเองครับ
Back to top
View user's profile Send private message
pak_nampho
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 25/06/2007
Posts: 2371
Location: คนสี่แควพลัดถิ่น ทำมาหากิน ที่เกาะภูเก็ต

PostPosted: 28/07/2007 1:55 pm    Post subject: Reply with quote

Quote:
"mai_cnx_th"]ขอบคุณมากครับ ที่นำข้อมูลมาลงเพิ่ม ( ข้อมูล ดูยิ่งใหญ่มากจริงๆ 555 อ่านซะตาลาย )
ว่าแต่ พี่อายุเท่าไรหรอครับ น่าจะทันช่วง สน.ปากน้ำโพมั้งเนี่ย.........
ยินดีครับ ที่ได้เจอคนบ้านเดียวกัน[/b] 8

ยินดีครับ คุณ mai_ cnx_th ผม บุตร ค.ร.ฟ. ครับ
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4  Next
Page 3 of 4

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©