RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311331
ทั่วไป:13292150
ทั้งหมด:13603481
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - อนาคตระบบรถไฟฟ้า กทม. คาด ผู้ว่าฯ เลือก Mono Rail
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

อนาคตระบบรถไฟฟ้า กทม. คาด ผู้ว่าฯ เลือก Mono Rail
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 31, 32, 33  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44913
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/01/2024 12:35 pm    Post subject: Reply with quote

'ชัชชาติ'เผย'กทม.'ล้มแผนลงทุนรถไฟฟ้า โอนสายสีเทา-สีเงิน1.9แสนล้านคืนรฟม.
Source - กรุงเทพธุรกิจ
Friday, January 19, 2024 04:32

ชี้ผู้ดูแลรายเดียว ประโยชน์บริหารค่าโดยสาร

กรุงเทพธุรกิจ"กทม." ล้มโครงการลงทุนระบบราง ชง "คจร." โอนรถไฟฟ้า สายสีเทา-สายสีเงิน กว่า 1.9 แสนล้านบาทให้ รฟม.ดำเนินการ "ชัชชาติ" เชื่อเครือข่าย รถไฟฟ้ากำกับดูแลเพียงรายเดียวเป็นประโยชน์ในการบริหารราคาค่าโดยสาร

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า แผนพัฒนาโครงข่ายคมนาคมใน กทม. ขณะนี้ประเมินว่า กทม.จะไม่เป็นผู้ลงทุนพัฒนาระบบขนส่งทางราง โครงการรถไฟฟ้าด้วยงบประมาณของ กทม.แล้ว เนื่องจากมีงานอื่นที่ต้องเร่งดำเนินการ อีกมากมาย อาทิ งานด้านทางสาธารณสุข โรงพยาบาลต่างๆ งานสาธารณูปโภค งานด้าน การศึกษา และการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น

อย่างไรก็ดี ผลการศึกษาพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าที่ กทม.ดำเนินการไว้ในก่อนหน้านี้ และอยู่ในแผนผลักดัน จัดใช้งบประมาณ ประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ ระยะทาง 16.3 กิโลเมตร และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเงิน ช่วงบางนา-ท่าอากาศยาน สุวรรณภูมิ ระยะทาง 19.7 กิโลเมตร กทม.จะโอนกลับคืนให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้ดำเนินการ

โดยสถานะในขณะนี้ กทม.ได้เสนอเรื่องการโอนโครงการรถไฟฟ้าสายดังกล่าวไปยังคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ที่มีรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เพื่อพิจารณาแล้ว หาก คจร.เห็นชอบตามที่ กทม.เสนอ โครงการรถไฟฟ้าทั้งสองสายนั้นก็จะอยู่ในอำนาจ หน้าที่ของ รฟม.ที่จะจัดลำดับความสำคัญในการพัฒนาต่อไป

กทม.คงส่วนต่อขยายสายสีเขียว

ส่วน กทม.จะคงเหลือโครงการลงทุนรถไฟฟ้าเพียงสายเดียว คือส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วง บางหว้า-ตลิ่งชัน ระยะทางประมาณ 7.5 กิโลเมตร ที่ปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมศึกษาความเหมาะสมรูปแบบการลงทุนเพื่อให้โครงข่ายระบบขนส่งมวลชนสมบูรณ์ โดย กทม.เสนอขอใช้ งบประมาณประจำปี 2568 เพื่อดำเนินการ ศึกษาโครงการนี้ โดยรูปแบบการลงทุนจะจัดทำลักษณะเอกชนร่วมลงทุนโครงการรัฐ (พีพีพี)

ขณะที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีทอง ช่วงสถานีกรุงธนบุรี-คลองสาน ซึ่ง ก่อนหน้านี้ กทม.มีแผนจะก่อสร้างในระยะที่ 2 ต่อไปอีก 1 สถานี ได้แก่ สถานีประชาธิปก เป็นสถานีที่ 4 และเป็นสถานีสุดท้ายของโครงการที่สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (กาญจนาภิเษก) ปัจจุบันคงต้องรอดูการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ และ กทม.จะพิจารณาการลงทุนหลังจากนั้น

"การโอนโครงการรถไฟฟ้าให้กับ รฟม. เพราะเราเชื่อว่าการทำเครือข่ายรถไฟฟ้าโดยมีผู้กำกับดูแลเพียงรายเดียว จะเป็นสิ่งที่ดีกว่าการมีหลายผู้กำกับ ปัญหาเรื่องระบบตั๋วก็จะน้อยลง สามารถบริหารจัดการได้เบ็ดเสร็จ เชื่อมต่อสะดวก เกิดประโยชน์ต่อประชาชน บริหารจัดการต้นทุนและค่าโดยสารได้ดีกว่ามีผู้กำกับหลายราย"
ระบุให้ผู้เชี่ยวชาญรถไฟฟ้าดูแลดีกว่า

นอกจากนี้ กทม.ไม่ได้มีหน่วยงาน หรือผู้เชี่ยวชาญในการกำกับดูแลรถไฟฟ้า ขณะที่ทาง รฟม.มีผู้เชี่ยวชาญ และดำเนิน โครงการก่อสร้าง และกำกับดูแลรถไฟฟ้า มาแล้วหลายสาย จึงควรให้ รฟม.เป็น ผู้กำกับดูแลทั้งหมด ส่วน กทม.มีหน้าที่ ต้องดำเนินการอีกมาก โดยเฉพาะ การดูแลยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

รายงานข่าวจาก กทม.เผยว่า ก่อนหน้านี้ กทม.ได้ศึกษาแผนพัฒนาระบบรถไฟฟ้า 2 สาย ประกอบด้วยสายสีเงินและสาย สีเทา โดยจะดำเนินการพัฒนาในรูปแบบโครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) แบ่งเป็น โครงการรถไฟฟ้าสายสีเงิน ช่วงบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ผลการศึกษาพัฒนาในระยะทาง 19.7 กิโลเมตร จำนวน 14 สถานี โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 จากแยกบางนา-ธนาซิตี้ 12 สถานี ระยะทาง 14.6 กิโลเมตร และ ระยะที่ 2 ธนาซิตี้-สุวรรณภูมิใต้ 2 สถานี ระยะทาง 5.1 กิโลเมตร ค่าลงทุนโครงการรวม 1.35 แสนล้านบาท แบ่งเป็นค่างานที่เกี่ยวข้องกับการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1,181 ล้านบาท ค่างานโยธา และงานระบบรถไฟฟ้า 36,020 ล้านบาท ค่างานจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้า 6,720 ล้านบาท และค่าดำเนินงาน และบำรุงรักษา (O&M) 91,767 ล้านบาท สัมปทาน 30 ปี

คาดสายสีเทาผู้โดยสารเฉียดแสนคน

โดยผลการศึกษารูปแบบลงทุนจะ จัดทำลักษณะ PPP Net Cost อายุสัญญาสัมปทาน 30 ปี พร้อมทั้งคาดว่าปริมาณ ผู้โดยสารที่ใช้บริการรถไฟฟ้าสายนี้ในปีแรกที่เปิดใช้จะสูงถึง 82,695 คนเที่ยวต่อวัน และในปี 2578 กรณีบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เปิดให้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิด้านทิศใต้ จะทำให้ ประชาชนเข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้นถึง 165,363 คนเที่ยวต่อวัน

ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา ระยะที่ 1 ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ ก่อนหน้านี้ กทม.ได้ศึกษาแนวเส้นทางมีระยะทาง 16.3 กิโลเมตร 15 สถานี มูลค่าลงทุนอยู่ที่ 6.28 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นค่าตอบแทนและการชดเชย การใช้ที่ดิน 2.05 พันล้านบาท ค่าก่อสร้าง (งานโยธา-งานระบบรถไฟฟ้า-งานจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้า) 2.31 หมื่นล้านบาท ค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อม 100 ล้านบาท ค่าที่ปรึกษาควบคุมงานฯ 841 ล้านบาท ค่าออกแบบ 462 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายสำรอง 1.32 พันล้านบาท และค่าดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) 34,938 ล้านบาท โดยผลการศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้น จะใช้การร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP Net Cost เอกชนเป็นผู้รับความเสี่ยงด้านรายได้ และเป็นผู้จ่ายค่าสัมปทานหรือส่วนแบ่งรายได้ ให้แก่ภาครัฐ ในระยะเวลา 30 ปี พร้อม คาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารในปีแรกที่เปิดใช้ จำนวน 97,000 คนเที่ยวต่อวัน

ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 19 ม.ค. 2567
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 19/01/2024 8:17 pm    Post subject: Reply with quote

“ชัชชาติ”ย้ำโอนแล้วสีเทา-สีเงิน 1.9 แสนล้านให้รฟม.
*รอคจร.พิจารณา-กทม.เหลือดูแล2สายสีเขียว-ทอง
*ไม่มีสกิลรถไฟฟ้าให้รฟม.คุมเจ้าเดียวเหมาะสมกว่า

์Note: สายบางนา-สุวรรณภูมิ มันมีส่วนที่อยู่นอก กทม. ด้วย ควรเป็น รฟม.ดูแลตั้งแต่แรกแล้วล่ะ

ส่วนสายสีเทา ถ้ามันจะต้องแยกเป็นสองส่วน ไม่เชื่อมกันแบบนี้ ส่วนด้านทิศใต้ ควรเปลี่ยนเป็นสีอื่นไปเลยดีกว่าครับ จะสีเบจ สีโอลด์โรส สีน้ำทะเล ฯลฯ ก็ตามใจเลย แต่พูดก็พูดเถอะ ในใจอยากเห็นเอาสายเทาใต้เป็นสีน้ำเงินต่อขยาย และ ในส่วนท่าพระ-ตลาดพลูควรโอนเป็นของสายสีน้ำเงินเพราะมันมีรางที่พร้อมขยายต่อได้

ว่ากันตามจริง ก็ อยากให้รื้ออุโมงค์ตรงแยกนั้น ทำเป็นทางตรงเชื่อมเป็นวงแหวนเลย ส่วนทางจากคลองเตยก็ตรงไปพระราม 4 ไปพระโขนง แต่คงเป็นไปไม่ได้ในชาติภพนี้
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/922792885964613
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44913
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/01/2024 6:33 am    Post subject: Reply with quote

ชง คจร. โอนสายสีเงิน-สีเทา 1.5 แสนล้าน
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Saturday, January 20, 2024 06:18

กทม.เล็งชงคจร. เคาะแผนลงทุนโอนรถไฟฟ้าสาย สีเงินสายสีเทา 1.5 แสนล้านบาท ดึงรฟม.สานต่อโครงสร้างพื้นฐาน ลุ้นสร้างรถไฟฟ้าสายสีทอง เฟส 2 หลังกทม.รอความชัดเจนตอกเสาเข็ม-เปิด ให้บริการสายสีม่วงใต้

ที่ผ่านมากรุงเทพมหานคร (กทม.) มีแผนสร้างรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯหลายเส้นทาง แต่ปัจจุบันพบกทม.ว่ามีแผนโอนให้การรถ ไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดูแลโครงการฯเหล่านี้ เพราะเล็งเห็นว่าโครงการจะตอบโจทย์ประชาชนใช้บริการมากกว่าหากอยู่ในมือ รฟม.

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า ความคืบหน้าแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบรางในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน กทม.มีแนวคิดจะมอบโครงการลงทุนใหม่เพื่อพัฒนาระบบรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้รับผิดชอบการลงทุน ขณะนี้ กทม.อยู่ระหว่างเตรียมเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เพื่อพิจารณาอนุมัติให้ รฟม.รับผิดชอบการลงทุนรวมไปถึงบริหารสัญญาโครงการดังกล่าวทั้งหมด เนื่องจาก กทม.มองว่ารฟม.เป็นผู้เชี่ยวชาญรถไฟฟ้าหลายเส้นทาง อีกทั้งในปัจจุบันกทม.ไม่ได้มีหน่วยงานที่เชี่ยวชาญด้านนี้ เพราะกทม.มีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องอื่นๆ เช่น โรงพยาบาล, การศึกษา ฯลฯ

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของโดย กทม. มีแนวคิดจะมอบให้ รฟม.นำไปดำเนินการลงทุนนั้น อาทิ โครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) สายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ, โครง การรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (LRTLight Rail Transit) สายสีเงิน ช่วงบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ทั้งนี้โครงการรถไฟฟ้าที่ กทม.ดำเนินการศึกษาแล้วเสร็จ พบว่าต้องจัดใช้วงเงินลงทุนมากกว่า 1.5 แสนล้านบาท ประกอบด้วย โครงการโมโนเรลสายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ มีระยะทาง 16.3 กิโลเมตร (กม.) วงเงินลงทุน 2.75 หมื่นล้านบาท ผลการศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้น จะใช้การร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP Net Cost โดยเอกชนเป็นผู้รับความเสี่ยงด้านรายได้และเป็นผู้จ่ายค่าสัมปทานหรือส่วนแบ่งรายได้ให้แก่ภาครัฐในระยะเวลา 30 ปี ซึ่ง กทม.เคยคาดการณ์จะเสนอกระทรวงมหาดไทยและขออนุมัติดำเนินโครงการจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป พร้อมคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสาร จะมีประชาชนเข้ามาใช้บริการในปี 2573 ซึ่งเป็นปีที่เปิดให้บริการ จำนวน 97,000 คนเที่ยวต่อวัน

ส่วนโครงการรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา สายสีเงิน ช่วงบางนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ผลการศึกษามีระยะทาง 19.7 กิโลเมตร ประเมินใช้วงเงินลงทุน 1.3 แสนล้านบาท แบ่งเป็น ค่าก่อสร้างงานโยธาและระบบรถไฟฟ้า วงเงิน 36,020 ล้านบาท ค่างานจัดซื้อ ขบวนรถไฟฟ้า วงเงิน 6,720 ล้านบาท ค่าดำเนินงานและบำรุงรักษา วงเงิน 91,767 ล้านบาท ค่างานเกี่ยวกับการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินวงเงิน 1,186 ล้านบาท

ด้านรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบาสายสีเงิน พบว่าผลการศึกษารูปแบบการลงทุนจะจัดทำลักษณะ PPP Net Cost อายุสัญญาสัมปทาน 30 ปี พร้อมทั้งคาดว่าปริมาณผู้โดยสารที่ใช้บริการรถไฟฟ้าสายนี้ในปี 2572 ที่เปิดใช้บริการจะสูงถึง 82,695 คนเที่ยวต่อวัน และปี 2576 จะเพิ่มสูงขึ้นราว 138,744 คนเที่ยวต่อวัน และในปี 2578 กรณีบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.เปิดให้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิด้านทิศใต้ จะทำให้ประชาชนเข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้นถึง 165,363 คนเที่ยวต่อวัน

นายชัชชาติ กล่าวต่อว่า ขณะที่ความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีทอง ระยะที่ 2 ช่วงสถานีประชาธิปก (G4) วงเงิน 3,000 ล้านบาท ระยะทาง 0.9 กิโลเมตร (กม.) หรือ 900 เมตร ขณะนี้โครงการฯ เหลือการก่อสร้างเพิ่มอีก 1 สถานี ซึ่งกทม.อยู่ระหว่างรอการก่อสร้างโครงการรถ ไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ดำเนินการแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการก่อน หลังจากนั้นจะพิจารณาดำเนินการต่อไป

ที่ผ่านมากทม.ยังไม่มีแผนศึกษารายละเอียดโครงการฯในปี 2567 เนื่องจากปัจจุบันพบว่าการเปิดให้บริการของรถไฟฟ้าสายสีทองระยะที่ 1 ผลตอบรับยังไม่เป็นที่น่าพอใจเพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ปริมาณผู้โดยสารน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก ลดลงอยู่ที่ 846-1,547 เที่ยว-คนต่อวัน ทั้งนี้เดิมกทม.มีแผนจะศึกษารายละเอียดและ ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีทอง ระยะที่ 2 เพิ่มอีก 1 สถานีคือ สถานีประชาธิปก (G4) แต่ปัจจุบันทางกลุ่มสยามพิวรรธน์ เจ้าของศูนย์การค้าไอคอนสยาม ยังไม่ได้สนับสนุนงบลงทุนดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีทอง ระยะที่ 2 คาดว่าน่าจะติดปัญหาในเรื่องปริมาณผู้โดยสารที่ลดลงทำให้ไม่ได้มีการสนับสนุนงบประมาณเพื่อลงทุนโครงการฯ ระยะที่ 2

ขณะเดียวกันที่ผ่านมาทางกลุ่มสยามพิวรรธน์เป็นผู้ลงทุนการก่อสร้างเอง โดยตามแผนจะต้องดำเนินการก่อสร้างทั้งโครงการฯ จำนวน 4 สถานี ประกอบด้วย สถานีกรุงธนบุรี, สถานีเจริญนคร, สถานีคลองสาน และสถานีประชาธิปก (G4) แต่ปัจจุบันมีการก่อสร้างแล้ว จำนวน 3 สถานี ประกอบด้วย สถานีกรุงธนบุรี, สถานีเจริญนคร และสถานีคลองสาน

ทั้งนี้ตามแผน กทม. จะศึกษาโครงการฯ ระยะที่ 2 มีแนวเส้นทางเริ่มวิ่งตามแนวถนนสมเด็จเจ้าพระยา ผ่านสถาบันจิตเวชศาสตร์ฯ โรงเรียนจันทรวิทยา และสิ้นสุดแถววัดอนงคารามวรวิหาร ทั้งนี้สถานีประชาธิปก (G4) ตั้งอยู่ระหว่างซอยสมเด็จเจ้าพระยา 6 กับซอยสมเด็จ เจ้าพระยา 8 ทางขึ้นลงมี 3 จุด ได้แก่ บริเวณซอยสมเด็จเจ้าพระยา 3 กับ 5 บริเวณซอยสมเด็จเจ้าพระยา 6 กับ 4 และบริเวณซอยสมเด็จเจ้าพระยา 6 กับ 4 เยื้องวัดอนงคาราม

อย่างไรก็ตามหากโครงการรถไฟฟ้าสายสีทองก่อสร้างครบทั้ง 2 ช่วง สามารถเชื่อมต่อรถไฟฟ้าทั้ง 3 สาย ประกอบด้วย 1. รถไฟฟ้าสายสีเขียว หรือรถ ไฟฟ้า BTS สายสีลม บริเวณสถานี BTS กรุงธนบุรี (G1) 2. รถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ เชื่อมต่อกับสถานีประชาธิปก (G4) 3.รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงหัวลำโพง-บางบอนมหาชัยเชื่อมต่อกับสถานีคลองสาน (G3)

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 21 - 24 ม.ค. 2567
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 07/02/2024 12:43 am    Post subject: Reply with quote

BTS ชนะประมูลเดินรถ BRT สาทรถึงราชพฤกษ์-ขึ้นลงทั้ง 2 ฝั่งเริ่ม ก.ค.นี้
วันจันทร์ ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เวลา 09:20 น.


นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าฯ กทม.เปิดเผยว่า สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) ได้รายงานความคืบหน้าการประกวดราคาจ้างโครงการพัฒนาระบบการเดินรถด่วนพิเศษ (BRT) สายสาทร-ราชพฤกษ์ ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) งบประมาณ 478,932,000 บาท สัญญาจ้าง 5 ปี มีเอกชนซื้อซองข้อเสนอจำนวน 2 ราย ได้แก่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (บีทีเอสซี) และบริษัท ไทยสมายล์ บัส จำกัด กำหนดยื่นข้อเสนอวันที่ 2 ก.พ.ที่ผ่านมา ปรากฏว่าบีทีเอสซี เสนอราคาต่ำสุด วงเงิน 465 ล้านบาท บริษัท ไทย สมายล์ วงเงิน 488 ล้านบาท ขั้นตอนต่อไปคณะกรรมการจะดำเนินการตรวจสอบเอกสารถูกต้องตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดหรือไม่ คาดว่าจะใช้เวลาไม่นาน หากไม่มีปัญหาก็จะลงนามสัญญาจ้างทันที เพราะต้องให้เวลาเอกชนจัดหารถใหม่เป็นรถโดยสารปรับอากาศขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (EV) ไม่น้อยกว่า 23 คัน ภายในเวลา 6 เดือน เพื่อให้ทันเปิดให้บริการเดือน ก.ค.67

นายวิศณุกล่าวว่า สำหรับเส้นทางเดินรถบีอาร์ทีจะมีการยืดหยุ่นมากขึ้น จะวิ่งในเส้นทางบีอาร์ทีปัจจุบัน และออกไปรับส่งผู้โดยสารที่ป้ายหยุดรถประจำทางได้ด้วย ซึ่งตัวรถบีอาร์ทีรุ่นใหม่จะมีประตูขึ้นลงได้ทั้งสองฝั่ง สามารถรับส่งผู้โดยสารที่สถานีบีอาร์ที โดยใช้ประตูฝั่งขวาด้านคนขับ หากเข้าจอดที่ป้ายหยุดรถประจำทางสามารถใช้ประตูด้านซ้ายขึ้นลงได้อีกด้วย นอกจากนี้จะมีการยืดเส้นทางถึงต้นถนนสาทร ตัดถนนพระราม 4 เพื่อรับส่งผู้โดยสารจากอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ตั้งอยู่หลายแห่ง อย่างไรก็ตามจะไม่เน้นวิ่งระยะทางยาว แต่จะควบคุมความถี่ไม่ให้รถขาดระยะส่งผลกระทบต่อการให้บริการ.

กรกฎาคมนี้พบกับ BRT โฉมใหม่! ให้บริการโดย BTSC เหมือนเดิม เพิ่มเติมคือเปลี่ยนเป็นรถ EV แถมมีเส้นทาง+จุดจอดเพิ่ม 🔋🚎
----------
วันนี้ กทม. เปิดเผยข้อมูลในสื่อสำนักข่าวต่างๆ ว่าได้มีการสรุปผลการประกวดราคาโครงการพัฒนาระบบการเดินรถด่วนพิเศษ (BRT) เนื่องจากสัมปทานเดิมหมดอายุไปตั้งแต่ปลายปีที่แล้วครับ
โดยผู้ที่เสนอราคาต่ำสุดก็คือบริษัท 💚 BTSC (เจ้าเดิม) ที่ราคา 465 ล้านบาท โดยเอาชนะ 💙 Thai Smile Bus ไปได้แบบห่างๆ ต่างกันประมาณ 23 ล้านบาท
----------
ซึ่งพอเห็นข่าวนี้ ผมก็เลยไปหาข้อมูลเพิ่มเติมมาให้ จากเอกสาร TOR การประมูลครับ ได้ความสรุปดังนี้ฮะ
🔋 สัญญาจ้างระยะเวลา 5 ปี เริ่มเดือนกรกฎาคม 2567
🔋 จะต้องจัดหารถใหม่เป็นรถพลังงานไฟฟ้า (EV) แบบชานต่ำ จำนวนไม่น้อยกว่า 23 คัน ซึ่งจะต้องมีประตู 2 ด้าน สามารถเปิดรับส่งผู้โดยสารฝั่งทางเท้าได้ เป็นรถผลิตใหม่ในประเทศไทย
🔋 ให้บริการสายเดิม (สาทร-ราชพฤกษ์) และสายใหม่ (แยกด่วนสาธุประดิษฐ์-สาทร-MRT ลุมพินี) และอนาคตจะต่อขยายไปตามถนนวิทยุจนถึง BTS เพลินจิต
🔋 ใน TOR กำหนดว่าจะต้องจอดป้ายรถเมล์ "ตลอดแนวเส้นทาง" การให้บริการด้วย แต่ในแผนผังไม่ได้ระบุตำแหน่งป้ายบนถนนพระราม 3 เอาไว้ ไม่แน่ใจว่าจะจอด "ทุกป้าย" เลยจริงๆ หรือเปล่าครับ
🔋 ความถี่การให้บริการชั่วโมงเร่งด่วน 10 นาที/คัย นอกช่วงเร่งด่วนไม่เกิน 15 นาที/คัน
🔋 ต้องเชื่อมต่อ GPS แสดงตำแหน่งกับแอปที่ กทม. กำหนด (เข้าใจว่าคงเป็น ViaBus)
---------
ใน TOR ของโครงการ ไม่ได้รวมถึงการก่อสร้างปรับปรุงสถานีเดิม ซึ่งมีระบุเอาไว้ว่าจะปรับให้ชานชาลาสูงจากระดับถนน 30 เซนติเมตร และจัดสร้างสถานีจุดจอดใหม่ 2 สถานี ด้วย เข้าใจว่าตรงนี้ทาง กทม. น่าจะดำเนินการเองครับ
และเนื่องจากโครงการนี้เป็นโครงการที่ กทม. จ้างเอกชนเดินรถ ไม่ใช่การให้สัมปทาน ดังนั้นเรื่องค่าโดยสาร ทาง กทม. ก็จะเป็นผู้กำหนดราคาเองได้ครับ 😃
https://www.facebook.com/livingpopth/posts/987318439421897
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 07/02/2024 1:40 pm    Post subject: Reply with quote

รอบีอาร์ทีโฉมใหม่ใช้รถเมล์ไฟฟ้าติด GPS ขยายไปถึง MRT ลุมพินี
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เวลา 14:07 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เวลา 15:11 น.


ในเดือนกรกฎาคม 2567 เตรียมพบกับรถโดยสารด่วนพิเศษ บีอาร์ที โฉมใหม่ ใช้รถเมล์ไฟฟ้า ติด GPS พร้อมขยายเส้นทางจากสถานีสาทร ถึงสถานีรถไฟฟ้าลุมพินี จอดรับ-ส่งป้ายรถเมล์ หลังกลุ่มบีทีเอสชนะประมูล

วันนี้ (6 ก.พ.) รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 2 ก.พ. กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ประกวดราคาจ้างโครงการพัฒนาระบบการเดินรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT) ด้วยวิธีประกวดราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) วงเงินงบประมาณ 478,932,000 บาท พบว่าในวันดังกล่าวมีผู้เสนอราคา 2 ราย ได้แก่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด หรือ บีทีเอสซี ในกลุ่มบริษัทบีทีเอส และ บริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด ปรากฏว่า บีทีเอสซี เสนอราคาต่ำสุด วงเงิน 465 ล้านบาท ขณะที่บริษัท ไทย สมายล์ เสนอราคาวงเงิน 488 ล้านบาท

โดยนับจากนี้จะตรวจสอบเอกสารและลงนามในสัญญา จากนั้นบีทีเอสซีจะต้องจัดหารถใหม่เป็นรถโดยสารปรับอากาศขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (อีวี) แบบมีประตู 2 ด้าน เพื่อให้สามารถเปิดรับส่งผู้โดยสารฝั่งทางเท้าได้ จำนวนไม่น้อยกว่า 23 คัน ภายในเวลา 6 เดือน เพื่อให้ทันเปิดให้บริการในเดือนกรกฎาคม 2567 โดยสัญญามีอายุ 5 ปี ระหว่างปี 2567-2572 สำหรับค่าโดยสาร กทม.จะเป็นผู้กำหนด เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นไปในลักษณะจ้างเอกชนเดินรถ

สำหรับเส้นทางเดินรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT) มีระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร เริ่มต้นเส้นทางจากสถานีช่องนนทรี บริเวณแยกสาทร-นราธิวาส ไปตามถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ถึงแยกนราธิวาส-พระราม 3 เลี้ยวขวาไปตามถนนพระรามที่ 3 ข้ามสะพานพระรามที่ 3 ลงมาถนนรัชดาภิเษก-บุคคโล สิ้นสุดเส้นทางที่สถานีราชพฤกษ์ บริเวณถนนราชพฤกษ์ตัดกับถนนรัชดาภิเษก โดยมีสถานีโดยสารทั้งหมด 14 สถานี แบ่งเป็น 12 สถานีเดิม และก่อสร้าง 2 ป้ายรถโดยสารใหม่ ได้แก่ สถานีแยกจันทน์-นราธิวาสราชนครินทร์ และ สถานีแยกนราธิวาสราชนครินทร์-รัชดาภิเษก

ส่วนเส้นทางที่ 2 ตั้งแต่แยกทางด่วนสาธุประดิษฐ์ ถึงแยกนราธิวาสราชนครินทร์-รัชดาภิเษก ถึงสถานีสาทร เลี้ยวขวาไปตามถนนสาทร ถึงรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สถานีลุมพินี และเพิ่มเส้นทางไปสถานีพระราม 3 ในชั่วโมงเร่งด่วน รวมทั้งเส้นทางส่วนต่อขยายในอนาคต จากรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สถานีลุมพินี ไปตามถนนวิทยุ ถึงรถไฟฟ้าสายสีเขียว (สุขุมวิท) สถานีเพลินจิต โดยช่วงสถานีสาทร ถึงสถานีราชพฤกษ์ จะรับ-ส่งผู้โดยสารที่สถานี โดยใช้ประตูรถทางด้านขวา ส่วนช่วงถนนสาทรเป็นต้นไปจะหยุดรับ-ส่งผู้โดยสารที่หยุดรถประจำทางตลอดแนวเส้นทาง โดยใช้ประตูรถทางด้านซ้าย

โดยจะให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00-22.00 น. ความถี่ในการให้บริการไม่เกินกว่า 15 นาทีต่อคัน โดยช่วงเวลาเร่งด่วนไม่เกินกว่า 10 นาทีต่อคัน ช่วงนอกเวลาเร่งด่วนไม่เกินกว่า 15 นาทีต่อคัน โดยต้องเชื่อมต่อระบบ GPS แสดงตำแหน่งผ่านแอปพลิเคชันที่กรุงเทพมหานครกำหนด ทั้งนี้ เส้นทางที่ 2 ซึ่งออกนอกเส้นทางเดินรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT) ในบางช่วง จะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อรับส่งผู้โดยสารจากอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ตั้งอยู่หลายแห่ง รวมทั้งออกไปรับส่งผู้โดยสารที่ป้ายหยุดรถประจำทางได้ด้วย ซึ่งตัวรถรุ่นใหม่มีประตูขึ้นลงได้ทั้งสองฝั่ง

สำหรับโครงการรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT) เริ่มต้นขึ้นสมัยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ก่อสร้างเมื่อปี 2550 ใช้เงินลงทุนประมาณ 2,000 ล้านบาท ก่อนทดลองให้บริการเดินรถในปี 2553 และเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในปี 2554 มีระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร มีทางวิ่งเฉพาะรถโดยสารด่วนพิเศษ BRT กว้าง 3.2-3.5 เมตร ยกเว้นบริเวณสะพานข้ามแยก กำหนดให้ช่องทางขวาสุดเป็นช่องเดินรถมวลชน มีสถานีให้บริการรวม 12 สถานี มีระบบเชื่อมโยงกับระบบควบคุมสัญญาณไฟจราจรอัตโนมัติ เพื่อให้การเดินรถมีความคล่องตัว มีรถโดยสารแบบเครื่องยนต์ยูโรทรี พลังงานก๊าซเอ็นจีวี 23 คัน

อย่างไรก็ตาม หลังเปิดให้บริการพบว่าโครงการประสบปัญหาขาดทุนอย่างต่อเนื่อง ปีละกว่า 200 ล้านบาท อีกทั้งระบบไม่สามารถทำเวลาได้ เนื่องจากมีรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของประชาชนลักลอบใช้เส้นทางเพื่อหนีรถติด เพิ่มปัญหาการจราจรบนถนนทั้งถนนนราธิวาสราชนครินทร์ และถนนพระรามที่ 3 ทำให้ กทม. จะยกเลิกโครงการในวันที่ 1 เม.ย. 2560 แต่กระแสสังคมคัดค้านจึงเลื่อนแผนออกไปก่อน กระทั่งให้บริการมาอย่างต่อเนื่อง โดยสมัย พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง เป็นผู้ว่าฯ กทม. คิดค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย และสมัยนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นผู้ว่าฯ กทม. ได้จัดประกวดราคาดังกล่าว

Wisarut wrote:
BTS ชนะประมูลเดินรถ BRT สาทรถึงราชพฤกษ์-ขึ้นลงทั้ง 2 ฝั่งเริ่ม ก.ค.นี้
วันจันทร์ ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เวลา 09:20 น.


กรกฎาคมนี้พบกับ BRT โฉมใหม่! ให้บริการโดย BTSC เหมือนเดิม เพิ่มเติมคือเปลี่ยนเป็นรถ EV แถมมีเส้นทาง+จุดจอดเพิ่ม 🔋🚎

https://www.facebook.com/livingpopth/posts/987318439421897


อัพเดตรถโดยสาร 𝐁𝐑𝐓 🚌
1.) 𝐁𝐓𝐒 ประมูลได้วงเงิน 465 ล้านบาท (ต่ำกว่า TSB 23 ล้านบาท) ก่อนหน้านี้ BTSC รับจบเดินรถ 13 เดือน สิ้นสุดสัญญา กันยายน 2567 แต่ยังใช้รถเดิมอยู่
2.) ภายใต้สัญญาใหม่ BTS จัดหารถเมล์ไฟฟ้า EV ยาว 10-12 เมตร ไม่น้อยกว่า 24 ที่นั่ง + พื้นที่ Wheel Chair ชานต่ำ แบตเตอรี่ 150 kWh ขึ้นไป จำนวนไม่น้อยกว่า 23 คัน ให้บริการตั้งแต่เวลา 6.00-22.00 น.
รวมค่าดำเนินงานทั้งหมด ปรับปรุงสถานี งานระบบ จ้างแม่บ้าน รปภ. คนขับ ช่างซ่อมบำรุง ฯลฯ และค่าไฟฟ้า (เบิกจ่ายวงเงิน 45 ล้านบาท ตามการใช้งานจริง)
3.) เส้นทางวิ่งเดิม + สามารถขยายไปถึง BTS เพลินจิต (สาทร - วิทยุ) ส่วนต่อขยายเนื่ย จอดรับ-ส่งป้ายปกติได้เลย (ตัวรถมีทางขึ้นลง 2 ฝั่ง)
จากนี้มีการลงนามสัญญา เตรียมรถ + คน เปิดบริการช่วง Q3/2567 ระยะดำเนินการ 60 เดือน นับจากหนังสือแจ้งเริ่มเดินรถ
(ภาพจาก Bangkokbusclub)
https://www.facebook.com/urbanlifeth/posts/931576368770378
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44913
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/02/2024 8:24 pm    Post subject: Reply with quote

กทม. เตรียมโอนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเงิน-สีเทา-สีฟ้า คืนรัฐ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน
Source - ผู้จัดการออนไลน์
Monday, February 12, 2024 15:59

(12 ก.พ.67) เวลา 11.00 น. : นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการบริหารโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 1/2567 โดยมี นายศุภกฤต บุญขันธ์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสำนักการจราจรและขนส่ง สำนักการโยธา คณะกรรมการบริหารโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร และผู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม ณ ห้องสุทัศน์ ศาลาว่าการกทม.(เสาชิงช้า)

ที่ประชุมพิจารณาขอความเห็นชอบโอนภารกิจโครงการรถไฟฟ้าลงทุนใหม่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานครกลับคืนให้แก่กระทรวงคมนาคม ประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้าสายสีเงิน สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา ระยะที่ 1 ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ และโครงการรถไฟฟ้าสายสีฟ้า ช่วงดินแดง-สาทร

ทั้งนี้ ที่ประชุมพิจารณาแล้วเห็นว่าการโอนโครงการจะทำให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน สามารถบูรณาการร่วมกับรถไฟฟ้าสายอื่นที่อยู่ในความรับผิดชอบของ รฟม. รวมทั้งแนวเส้นทางของสายสีเทาและสายสีเงิน มีแนวเส้นทางอยู่ในพื้นที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานของกระทรวงคมนาคม (คค.)และพาดผ่านเส้นทางรถไฟฟ้าที่ คค. กำกับ อีกทั้ง คค. มีรถไฟฟ้าที่อยู่ในความรับผิดชอบหลายเส้นทางจึงสามารถบริหารจัดการกำกับดูแลเรื่องของการบูรณาการเรื่องระบบตั๋วร่วมค่าแรกเข้า และการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลที่ให้รถไฟฟ้า (20 บาทตลอดสาย) รวมทั้งภาครัฐมีศักยภาพในการลงทุนมากกว่า รวมถึงการชดเชยรายได้ตามนโยบายการกำหนดอัตราค่าโดยสาร และสามารถหาแหล่งเงินทุนเพื่อนำไปใช้ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและระบบการเดินรถได้ โดยฝ่ายเลขานุการ จะนำเรียนผู้บริหารกรุงเทพมหานครพิจารณาเห็นชอบการโอนภารกิจโครงการรถไฟฟ้าฯ เพื่อพิจารณาต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44913
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/02/2024 4:40 pm    Post subject: Reply with quote

กทม. ยกเลิกโครงการสร้างรถไฟฟ้า 3 สาย "สีเทา-เงิน-ฟ้า" | จับตาสถานการณ์ | 13 ก.พ. 67
Thai PBS
Feb 13, 2024

กรุงเทพมหานคร ประกาศยกเลิกโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 เส้นทาง คือ สายสีเทา สีเงิน และสีฟ้า เนื่องจากงบประมาณไม่เพียงพอและต้องการส่งคืนให้รัฐบาลไปทำเอง เพื่อเชื่อมต่อระบบตั๋วร่วมอนาคตกับรถไฟฟ้าสายสีอื่น ๆ ที่มีในปัจจุบัน


https://www.youtube.com/watch?v=YftokZlfGfw
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 14/02/2024 10:55 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รอบีอาร์ทีโฉมใหม่ใช้รถเมล์ไฟฟ้าติด GPS ขยายไปถึง MRT ลุมพินี
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เวลา 14:07 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เวลา 15:11 น.
https://www.facebook.com/urbanlifeth/posts/931576368770378


BTS รับจ้างเดินรถ BRT สั่งซื้อรถรุ่นใหม่ และขยายเส้นทาง เริ่ม ก.ค.นี้ ( ก.พ.67)

วีเอ็นพี มีเรื่องเล่า
วันพุธ ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567



ความคืบหน้าการประกวดราคาจ้างโครงการพัฒนาระบบการเดินรถด่วนพิเศษ (BRT) สายสาทร-ราชพฤกษ์ ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) งบประมาณ 478,932,000 บาท สัญญาจ้าง 5 ปี
มีเอกชนซื้อซองข้อเสนอจำนวน 2 ราย ได้แก่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (บีทีเอสซี)
และบริษัท ไทยสมายล์ บัส จำกัด กำหนดยื่นข้อเสนอวันที่ 2 ก.พ.ที่ผ่านมา
ปรากฏว่าบีทีเอสซี เสนอราคาต่ำสุด วงเงิน 465 ล้านบาท บริษัท ไทย สมายล์ วงเงิน 488 ล้านบาท
ขั้นตอนต่อไปคณะกรรมการจะดำเนินการตรวจสอบเอกสารถูกต้อง คาดว่าจะใช้เวลาไม่นาน หากไม่มีปัญหาก็จะลงนามสัญญาจ้างทันที เพราะต้องให้เวลาเอกชนจัดหารถใหม่ เป็นรถโดยสารปรับอากาศขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (EV) ไม่น้อยกว่า 23 คัน ภายในเวลา 6 เดือน เพื่อให้ทันเปิดให้บริการเดือน ก.ค.2567
สำหรับเส้นทางเดินรถบีอาร์ทีจะมีการยืดหยุ่นมากขึ้น จะวิ่งในเส้นทางบีอาร์ทีปัจจุบัน
และออกไปรับส่งผู้โดยสารที่ป้ายหยุดรถประจำทางได้ด้วย ปกติรถ brt จะมีประตูในฝั่งด้านขวาของตัวรถเท่านั้น เนื่องจากอาคารจุดรับส่งอยู่บริเวณเกาะกลาง มี 2 ด้าน ฝั่งรถมุ่งหน้าไปสาทร และฝั่งไปถนนราชพฤกษ์ หากเข้าจอดที่ป้ายหยุดรถประจำทางต้องเปิดด้านซ้ายได้ด้วย จึงมีการสั่งซื้อตัวรถบีอาร์ทีรุ่นใหม่ ที่จะมีประตูขึ้นลงได้ทั้งสองฝั่ง สามารถรับผู้โดยสารที่สถานี brt เดิม และใช้ประตูด้านซ้ายขึ้นลงรับผู้โดยสาร ที่ป้ายรถเมล์ทั่วไปได้อีกด้วย นอกจากนี้จะมีการยืดเส้นทางถึงต้นถนนสาทร ตัดถนนพระราม 4 เพื่อรับส่งผู้โดยสารจากอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ ตั้งอยู่หลายแห่ง อย่างไรก็ตามจะไม่เน้นวิ่งระยะทางยาว แต่จะควบคุมความถี่ไม่ให้รถขาดระยะส่งผลกระทบต่อการให้บริการ.#BTSรับจ้างเดินรถBRT #brt
https://www.youtube.com/watch?v=mpUjOoFHcUU
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 14/02/2024 3:08 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
กทม. เตรียมโอนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเงิน-สีเทา-สีฟ้า คืนรัฐ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน
Source - ผู้จัดการออนไลน์
วันจันทร์ ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เวลา 15:59 น.




กทม.โอนคืนรถไฟฟ้า 3 สาย เทา,น้ำตาล,เงิน ให้กระทรวงคมนาคมจัดการ
ข่าว ทั่วไทย กทม.
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
วันอังคาร ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เวลา 09:30 น.


เมื่อวันที่ 12 ก.พ.67 ที่ศาลาว่าการ กทม. (เสาชิงช้า) นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าฯ กทม. เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการบริหารโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร โดยมีนายศุภกฤต บุญขันธ์ รองปลัด กทม. ผู้บริหารสำนักการจราจรและขนส่ง สำนักการโยธา คณะกรรมการบริหารโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร และผู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม ที่ประชุมพิจารณาขอความเห็นชอบโอนภารกิจโครงการรถไฟฟ้าลงทุนใหม่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพ มหานครกลับคืนให้แก่กระทรวงคมนาคม ประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้าสายสีเงิน สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา ระยะที่ 1 ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ และโครงการรถไฟฟ้าสายสีฟ้า ช่วงดินแดง-สาทร

ทั้งนี้ ที่ประชุมพิจารณาแล้วเห็นว่าการโอนโครงการจะทำให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน สามารถบูรณาการ ร่วมกับรถไฟฟ้าสายอื่นที่อยู่ในความรับผิดชอบของ รฟม. รวมทั้งแนวเส้นทางของสายสีเทาและสายสีเงิน มีแนวเส้นทางอยู่ในพื้นที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานของกระทรวงคมนาคม (คค.) และพาดผ่านเส้นทางรถไฟฟ้าที่ คค. กำกับ อีกทั้ง คค. มีรถไฟฟ้าที่อยู่ในความรับผิดชอบหลายเส้นทางจึงสามารถบริหารจัดการกำกับดูแลเรื่องของการบูรณาการเรื่องระบบตั๋วร่วมค่าแรกเข้า และการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลที่ให้รถไฟฟ้า (20 บาทตลอดสาย) รวมทั้งภาครัฐมีศักยภาพในการลงทุนมากกว่า รวมถึงการชดเชยรายได้ตามนโยบายการกำหนดอัตราค่าโดยสาร และสามารถหาแหล่งเงินทุนเพื่อนำไปใช้ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและระบบการเดินรถได้ โดยฝ่ายเลขานุการ จะนำเรียนผู้บริหารกรุงเทพมหานครพิจารณาเห็นชอบการโอนภารกิจโครงการรถไฟฟ้า เพื่อพิจารณาต่อไป.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44913
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/02/2024 8:24 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
กทม.โอนคืนรถไฟฟ้า 3 สาย เทา,น้ำตาล,เงิน ให้กระทรวงคมนาคมจัดการ
ข่าว ทั่วไทย กทม.
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
วันอังคาร ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เวลา 09:30 น.

ชง'คจร.'โอนรถไฟฟ้า3สายคืนรัฐ เล็งส่วนต่อขยายบางหว้า-ตลิ่งชันเพิ่ม
Source - เดลินิวส์
Wednesday, February 28, 2024 07:29

ที่ศาลาว่าการ กทม. เขตพระนคร ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมคณะผู้บริหารกทม. ครั้งที่ 5 สำนักการจราจรและขนส่ง(สจส.) มีการรายงานเรื่องการโอนภารกิจโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 3 สาย กลับคืนให้แก่กระทรวงคมนาคม ประกอบด้วย

1.สายสีเงิน (บางนา-สุวรรณภูมิ) ซึ่งแนวเส้นทางอยู่ในพื้นที่ของกรมทาง หลวง และส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่จ.สมุทร ปราการ

2.สายสีเทา (วัชรพล-ทองหล่อ) แนวเส้นทางอยู่ในพื้นที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย

และ 3.สายสีฟ้า (ดินแดง-สาทร) ให้แก่กระทรวงคมนาคม

เนื่องจากการโอนโครงการรถไฟฟ้าดังกล่าวจะทำให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพทั้งในแง่แหล่งเงินทุน การเชื่อมต่อโครงข่าย การกำกับดูแลโครงการ และยังช่วยให้เกิดประโยชน์กับประชาชนมากขึ้น เพราะสามารถบูรณาการร่วมกับรถไฟฟ้าสายอื่นที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงคมนาคมได้

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเทา จะผ่านรถไฟฟ้าหลายสาย อาทิ สายสีชมพู สายสีน้ำตาล สายสีเหลือง สายสีส้ม และสายสีเขียว ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงคมนาคม ขณะที่ของ กทม.มีเพียงสายเดียวคือสายสีเขียว อีกทั้งต้องใช้เงินลงทุนเกือบ 30,000 ล้านบาท

ดังนั้น กทม.จึงมีแนวคิดว่าหากให้รัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการจะเกิดประโยชน์ต่อประชาชนมากกว่า โดยจากนี้จะนำเรื่องเข้า คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก(คจร.) ก่อนนำเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) อีกครั้ง

ด้านนายวิศณุ ทรัพย์สมพล รอง ผู้ว่าฯกทม. ระบุ ในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีทองนั้น เอกชนเป็นผู้ก่อสร้างและส่งมอบให้ กทม.เป็นผู้ดูแล จึงยังไม่มีการพิจารณาว่าจะคืนหรือไม่ ส่วนการขยายสถานีเพิ่มต่อไปอีก 1 สถานี เพื่อเชื่อมกับสายสีม่วงนั้นยังอยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด เนื่องจากเกี่ยวข้องกับสัญญาของเอกชนที่สนับสนุนส่วนต่างของค่าโดยสารอยู่ด้วย ขณะนี้จึงยังเป็นขั้นตอนพูดคุยรัฐบาล

ขณะที่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯกทม. ยืนยัน กทม. ไม่ได้ยุติโครงการ แต่ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนดีกว่า ส่วน กทม. จะเน้นที่ส่วนต่อขยายสาย สีเขียว บางหว้า-ตลิ่งชัน ขณะอยู่ระหว่างให้บริษัทที่ปรึกษาทำการศึกษาโครงการ.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 29 ก.พ. 2567 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 31, 32, 33  Next
Page 32 of 33

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©