RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311329
ทั่วไป:13291278
ทั้งหมด:13602607
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 149, 150, 151
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42793
Location: NECTEC

PostPosted: 24/04/2024 7:50 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รถไฟฟ้าสายสีแดง รังสิต-มธ.จ่อครม.
Source - เดลินิวส์
วันพุธ ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 04:10 น.

Source: Daily News newspaper, April 25, 2024 (afternoon edition)


“สุริยะ” ชง ครม.จ่อคิวเคาะสายสีแดง "มธ.รังสิต" 6.4 พันล้านบาท พร้อมเร่งเช็กรายละเอียดอีก 2 เส้นทาง "ตลิ่งชัน-ศาลายา, ศิริราช"
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 18:59 น.
ปรับปรุง วันพุธ ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 19:08 น.

“สุริยะ” เผยลงนามเสนอรถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยาย ช่วงรังสิต-มธ.รังสิต ไป ครม.แล้ว หลังทบทวนกรอบรายละเอียดเรียบร้อย เหลืออีก 2 เส้นทางพร้อมผลักดันต่อเนื่อง

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากที่กระทรวงคมนาคมได้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ทบทวนรายละเอียดและกรอบวงเงินค่าก่อสร้างโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงส่วนต่อขยายจำนวน 3 เส้นทางนั้น ล่าสุดได้พิจารณา รถไฟสายสีแดง ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทางรวม 8.84 กม.เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยได้ลงนามเพื่อนำเสนอไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ซึ่งตามขั้นตอนจะมีการสอบถามความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ก่อนบรรจุวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป

ส่วนอีก 2 เส้นทาง ได้แก่ สายสีแดงช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช อยู่ระหว่างการพิจารณา คาดว่าจะสรุปในลำดับต่อไป

รายงานข่าวแจ้งว่า เดิมทีรถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยายทั้ง 3 เส้นทางนั้นก่อนหน้านี้รฟท.สรุปการศึกษาและเตรียมเสนอ ครม.แล้ว แต่มีการดึงเรื่องกลับมาปรับแก้ไขใหม่เพื่อความรอบคอบ โดยสายสีแดง ส่วนต่อขยายทั้ง 3 เส้นทาง มีวงเงินรวม 21,790.25 ล้านบาท ได้แก่ 1. สายสีแดง ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ซึ่งนำเสนอไปยังเลขาฯ ครม.แล้ว มีระยะทางรวม 8.84 กม. จำนวน 4 สถานี ได้แก่ สถานีคลองหนึ่ง สถานีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สถานีเชียงราก และสถานีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต วงเงินโครงการ 6,473.98 ล้านบาท ซึ่งปรับจาก 6,468.69 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 5.29 ล้านบาท เนื่องจากคำนวณปรับราคากลาง (Factor F) มีการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จาก 5% เป็น 7% คาดเปิดประมูลในปี 2567 ระยะเวลาก่อสร้าง 35 เดือน (ปี 2568-2571) เปิดบริการปี 2571

2.สายสีแดงช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทางรวม 14.8 กิโลเมตร (กม.) มี 6 สถานี ได้แก่ สถานีพระราม 6 สถานีบางกรวย-กฟผ. สถานีบ้านฉิมพลี สถานีกาญจนาภิเษก สถานีศาลาธรรมสพน์ และสถานีศาลายา วงเงินโครงการ 10,670.27 ล้านบาท รฟท.ดำเนินการกำหนดราคากลาง (Factor F) ตามประกาศของกรมบัญชีกลาง เมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2566 แล้ว วงเงินยังอยู่ภายใต้กรอบวงเงินเดิม คาดเปิดประมูลในปี 2567 ระยะเวลาก่อสร้าง 35 เดือน (ปี 2568-2571) เปิดบริการปี 2571

3. สายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทางรวม 5.7 กม. มี 3 สถานี ได้แก่ สถานีตลาดน้ำตลิ่งชัน สถานีจรัญสนิทวงศ์ และสถานีธนบุรี-ศิริราช วงเงิน 4,616 ล้านบาท รฟท.ดำเนินการกำหนดราคากลาง (Factor F) ตามประกาศของกรมบัญชีกลางเมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2566 แล้ว วงเงินยังอยู่ภายใต้กรอบวงเงินเดิม คาดเปิดประมูลในปี 2567 ระยะเวลาก่อสร้าง 35 เดือน (ปี 2568-2571) เปิดบริการปี 2571
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44893
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/05/2024 7:31 pm    Post subject: Reply with quote

สถานีบีเว่อร์
3 พ.ค. 67 18:33 น.

รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม ปรับรูปแบบการเดินรถ เนื่องจากรถไฟฟ้าขัดข้องที่สถานีการเคหะ ชานชาลาที่ 2
.
กลางกรุงเทพอภิวัฒน์(RN01) - รังสิต(RN10)
> ฝั่งชานชาลา 1 ให้บริการตามปกติ

รังสิต(RN10) - กลางกรุงเทพอภิวัฒน์(RN01)
> ฝั่งชานชาลา 2 ให้บริการตามปกติ ⛔️ แต่ไม่จอดรับ-ส่ง สถานีการเคหะ

https://www.facebook.com/QPKP20/posts/448506884230083

Dark Red Line: Adjust the driving pattern due to a train malfunction at Kankheha Station, Platform 2.

Krung Thep Aphiwat Central Terminal Station (RN01) - Rangsit (RN10)
Platform 1 side operates as usual.

Rangsit (RN10) - Krung Thep Aphiwat Central Terminal Station (RN01)
Platform 2 side operates as usual ⛔️ but does not stop to pick up and drop off at Kankheha Station.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44893
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/05/2024 8:13 am    Post subject: Reply with quote

ปรับแบบเสร็จ'มิสซิ่งลิงก์'ชงบอร์ด
Source - เดลินิวส์
Monday, May 06, 2024 05:15

สกายวอล์กสถานีราชวิถีเชื่อมรพ. สถานีศิริราชสายสีส้มอยู่ใต้สีแดง

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งว่า กำลังจัดทำข้อมูลโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง(รถไฟฟ้าสายสีแดง) ส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม.วงเงิน 10,670.27 ล้านบาทเพิ่มเติม ตามข้อสั่งการของกระทรวงคมนาคม อาทิ เรื่องการบริหารจราจรระหว่างก่อสร้าง และแผนการลดผลกระทบด้านการจราจร ความปลอดภัยระหว่างก่อสร้าง รวมถึงแผนบูรณาการเดินรถ ทั้งรถไฟฟ้าสายสีแดง และรถไฟทางไกล เมื่อเปิดบริการทุกเส้นทาง ตลอดจนการบริหารพื้นที่ทับซ้อนบริเวณสถานีตลิ่งชัน คาดว่าจะเสนอกระทรวงคมนาคม พิจารณาอีกครั้งภายในเดือน พ.ค.67 เพื่อเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาต่อไป

ควบคู่กับการเพิ่มข้อมูลช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสันหัวหมาก และช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง (Missing Link) ระยะทาง 25.9 กม. ซึ่งปรับแบบสถานีราชวิถีแล้วเสร็จ และนำเสนอคณะอนุกรรมการ Executive Committee (Ex-Com) กลั่นกรองเรื่องที่จะนำเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. เป็นประธานแล้ว แต่ Ex-Com ยังมีข้อสงสัยบางประเด็น โดยเฉพาะ การปรับเพิ่มราคาโครงการทำให้ต้องนำรายละเอียดกลับมานำเสนอเพิ่มเติมอีกครั้ง และคาดว่าจะเสนอบอร์ด รฟท. อนุมัติโครงการได้ในเดือน มิ.ย. 67 ก่อนเสนอกระทรวงคมนาคม และ ครม. พิจารณาอนุมัติต่อไป

สำหรับการปรับสถานีราชวิถีนั้น ได้ย้ายตำแหน่งสถานี ขยับลงไปทางด้านทิศใต้ให้อยู่ใกล้ รพ.รามาธิบดีมากขึ้น โดยเป็นสถานีใต้ดิน และมีทางเดินลอยฟ้า (สกายวอล์ก) จากสถานีเชื่อมเข้า

อาคารของ รพ.เพื่อให้ผู้โดยสารเดินทางเชื่อมต่อได้อย่างสะดวกสบาย เบื้องต้นวงเงินค่าก่อสร้างขยับเพิ่มขึ้นหลักร้อยล้านบาท จากเดิมประมาณ 4.41 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ต้องบูรณาการร่วมกับโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) เชื่อมสามสนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ด้วย เนื่องจากมีส่วนซึ่งเป็นพื้นที่ทับซ้อนกัน แต่ไม่ได้เป็นปัญหาเหมือนสัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ของโครงการรถไฟไฮสปีด เฟส 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา แค่เพียงการก่อสร้างผนังอุโมงค์ที่ใช้ร่วมกันเท่านั้น เบื้องต้นโครงการใดเริ่มก่อสร้างก่อนจะให้ก่อสร้างส่วนทับซ้อนด้วย

ส่วนช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. วงเงิน 4,616 ล้านบาท รฟท. เสนอกระทรวงคมนาคมแล้ว แต่กระทรวงพิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ซึ่งเป็นระดับใต้ดิน ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ยังไม่ได้เริ่มก่อสร้าง เส้นทางช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ก็ยังเดินหน้าโครงการต่อไม่ได้ เพราะมีสถานีศิริราช ที่ต้องใช้พื้นที่ร่วมกัน โดยสายสีส้มจะอยู่ชั้นใต้ดิน ส่วนสายสีแดงอยู่บนดิน และด้านบนเป็นอาคารรักษาพยาบาลของ รพ.ศิริราช จึงต้องรอให้สายสีส้มมีความชัดเจน และเริ่มงานก่อสร้างก่อน ปัจจุบันสายสีส้ม มีคดีพิพาทเกี่ยวกับการคัดเลือกโครงการฯ ยังรอคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด หากให้ รฟท. เปิดประมูลช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช และได้ผู้รับจ้างแล้ว แต่ยังไม่สามารถสร้างได้ จะเกิดปัญหาภายหลัง.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 7 พ.ค. 2567 (กรอบบ่าย)


SRT Prepares Information on Red Line Extensions

Progress updates on Taling Chan-Salaya, Bang Sue-Phaya Thai-Makkasan-Hua Mak ("Missing Link"), and Taling Chan-Siriraj sections.

The State Railway of Thailand (SRT) is preparing details for the Red Line suburban railway extension project from Taling Chan to Salaya (14.8 km), with an additional budget of 10,670.27 million baht. This information, including traffic management plans and safety measures, will be submitted to the Ministry of Transport in May 2024 for consideration by the Cabinet.

The SRT Board is expected to approve the design of the Bang Sue-Phaya Thai-Makkasan-Hua Mak ("Missing Link") section (25.9 km), including the Ratchawithi Station, in June 2024. Following SRT Board approval, the project will be submitted to the Ministry of Transport and then the Cabinet.

The Ratchawithi Station design has been adjusted to move the location closer to Ramathibodi Hospital. This underground station will feature a skywalk connecting to the hospital for passenger convenience. Due to this change and integration with the high-speed rail project connecting three airports, the construction cost has increased slightly.

The Taling Chan-Siriraj section (5.7 km, budget 4,616 million baht) awaits the start of construction on the overlapping Orange Line Bang Khun Non-Min Buri (Suwinthawong) section by the Mass Rapid Transit Authority of Thailand (MRTA). The Supreme Administrative Court's decision on a dispute regarding the Orange Line project will determine the timeline for the Red Line extension.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44893
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/05/2024 10:31 am    Post subject: Reply with quote

เดินหน้ารถไฟสีแดง “คมนาคม” ปรับแผนใหม่แก้ปมเวนคืน ชง คจร.หั่นแนวเหลือ 'วงเวียนใหญ่-มหาชัย' ไม่เข้าหัวลำโพง
ผู้จัดการออนไลน์ 8 พ.ค. 2567 08:33 น.

เดินหน้ารถไฟสายสีแดงเข้ม "คมนาคม" เตรียมชง คจร.เคาะตัดช่วง "หัวลำโพง-วงเวียนใหญ่" ที่มีปัญหาเวนคืนชุมชนออก ปักแนวสร้างจาก “วงเวียนใหญ่ -มหาชัย” เผยมีสีม่วงใต้และสีเขียวเชื่อมโยงเดินทางได้ รฟท.ตั้งงบ 140 ล้านบาทเตรียมทบทวนการศึกษาใหม่

รายงานข่าวจากกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้มช่วงหัวลำโพง-วงเวียนใหญ่-มหาชัย ว่า เส้นทางดังกล่าวอยู่ในแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (M-Map) ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2553-2572) จำนวน 12 เส้นทาง แต่ปัจจุบันยังไม่มีความคืบหน้า เนื่องจากติดปัญหาพื้นที่มีชุมชนหนาแน่น และจากสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง การใช้ประโยชน์ที่ดินปรับเปลี่ยน ส่งผลให้โครงการมีมูลค่าสูงเนื่องจากต้องการเวนคืนที่ดินและอสังหาริมทรัพย์จำนวนมาก รวมถึงสะพานสำหรับข้ามแม่น้ำเจ้าพระยายังไม่ผ่านการพิจารณาการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)

ดังนั้น เพื่อให้โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงสามารถดำเนินการได้ตามแผนแม่บท และเป็นโครงข่ายหลักลงด้านใต้ของ กทม.และปริมณฑลตามแผนให้สมบูรณ์จึงจะมีการปรับเปลี่ยนรถไฟสายสีแดงจากเดิม เส้นทางจากหัวลำโพง-วงเวียนใหญ่-มหาชัย เป็นวงเวียนใหญ่-มหาชัย โดยตัดช่วงหัวลำโพง-วงเวียนใหญ่ ที่ติดปัญหาออก และเตรียมเสนอที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) พิจารณาต่อไป

เบื้องต้นเส้นทางสายสีแดง ช่วงวงเวียนใหญ่-มหาชัย จะแบ่งการพัฒนาเป็น 2 ระยะ ส่วนกรณีเส้นทางสายสีแดงจากมหาชัย สิ้นสุดที่วงเวียนใหญ่นั้น ได้เตรียมแผนการเดินทางเชื่อมโยงกับโครงข่ายรถไฟฟ้าสายอื่นให้มีความสะดวกมากที่สุด ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ สามารถเชื่อมต่อที่สถานีวงเวียนใหญ่ และเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียว (สายสีลม) ที่สถานีวงเวียนใหญ่ รวมไปถึงสามารถใช้สายสีม่วงใต้ต่อไปยังรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินได้ที่สถานีท่าพระได้อีกด้วย

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ตามแผนแม่บทกำหนด เป็นระบบรถไฟฟ้าชานเมือง (Commuter Train, CT) ที่มีประสิทธิภาพในการขนส่งผู้โดยสาร เป็นเส้นทางที่เชื่อมโยงระหว่างพื้นที่กรุงเทพมหานครกับพื้นที่ชานเมืองและหัวเมืองหลักรอบนอก ออกแบบให้ระบบสามารถเดินรถร่วมกับระบบรถไฟทางไกล (Long Distance Train, LD) และรถไฟขนส่งสินค้า (Freight Train, FT) ที่ให้บริการอยู่เดิมของการรถไฟแห่งประเทศ ไทย (รฟท.) สำหรับโครงข่ายรถไฟฟ้าสายสีแดงแนวเหนือ-ใต้ เชื่อมต่อพื้นที่ชานเมืองด้านทิศเหนือ (พื้นที่ดอนเมือง รังสิต และปทุมธานี) และพื้นที่ชานเมืองด้านทิศใต้ (พื้นที่บางบอน และมหาชัย) เข้าสู่ใจกลางเมือง

จากผลการศึกษาเมื่อปี 2549 โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงหัวลำโพง-มหาชัย ระยะทางรวม 36.56 กิโลเมตร โครงสร้างยกระดับ มูลค่าประมาณ 53,064 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ
1. ช่วงหัวลำโพง-วงเวียนใหญ่ ระยะทาง 3.40 กิโลเมตร มูลค่าประมาณ 4,934 ล้านบาท
2. ช่วงวงเวียนใหญ่-มหาชัย ระยะทาง 33.16 กิโลเมตร มูลค่าประมาณ 48,129 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาและออกแบบรายละเอียดระบบรถไฟฟ้าชานเมืองร่วมกับรถไฟทางไกลเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล (มหาชัย-ปากท่อ) เมื่อปี พ.ศ. 2550 แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ 1.ช่วงมหาชัย-บ้านแหลม ระยะทาง 0.85 กิโลเมตร 2. ช่วงบ้านแหลม-แม่กลอง ระยะทาง 33.73 กิโลเมตร และ 3. ช่วงแม่กลอง-ปากท่อ ระยะทาง 30.50 กิโลเมตรโดยมีมูลค่าโครงการทั้ง 3 ช่วง รวมประมาณ 38,182 ล้านบาท

แต่เนื่องจากการศึกษาเดิมของทั้ง 2 โครงการไม่สอดคล้องกัน คือสายสีแดง ช่วงหัวลำโพง-วงเวียนใหญ่-มหาชัย ใช้ทาง Standard Gauge (ความกว้าง 1.435 เมตร) ส่วนรถไฟช่วงมหาชัย-ปากท่อ ใช้ทาง Meter Gauge (ความกว้าง 1 เมตร) ทำให้ไม่สามารถให้บริการเดินรถแบบ Through Service ได้ อีกทั้งปัจจุบัน รถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต,บางซื่อ-ตลิ่งชัน และส่วนต่อขยายอีก 4 เส้นทาง ใช้ทางขนาด Meter Gauge จึงสมควรปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกัน

@รฟท.ตั้งงบ 140 ล้านบาทเตรียมทบทวนการศึกษาใหม่

รฟท.ได้เสนองบประมาณปี พ.ศ. 2567 เป็นจำนวนเงิน 140 ล้านบาท เพื่อทบทวนผลการศึกษาความเหมาะสมโครงการ ออกแบบรายละเอียด และจัดทำเอกสารประกวดราคาดังนี้
1. ศึกษาความเหมาะสมให้ครอบคลุม แนวเส้นทาง ความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐศาสตร์ และสิ่งแวดล้อมของโครงการช่วงหัวลำโพง-มหาชัย วงเงินงบประมาณ 20 ล้านบาท
2. ศึกษาออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงาน EIA ของโครงการช่วงวงเวียนใหญ่-มหาชัย วงเงินงบประมาณ 120 ล้านบาท


Moving forward with the dark red line train, "Transportation" is preparing to propose to the CRTC to cut a section: "Hua Lamphong - Wong Wian Yai," which faces community expropriation issues. The plan involves marking the construction line from "Wongwian Yai - Mahachai," revealing that there are southern purples and greens that can facilitate travel. The SRT has allocated a budget of 140 million baht to prepare for a reconsideration of the study.

A news report from the Department of Rail Transport (RTA) revealed the progress of the Dark Red Line suburban train system project from Hua Lamphong to Wong Wian Yai and Mahachai. It stated that the route is part of the master plan for developing the rail mass transit system in Bangkok and surrounding areas (M-Map) over a 20-year period (2010-2029), which includes 12 routes. However, currently, there is no progress due to issues such as dense communities and changing economic conditions leading to land use changes. As a result, the project's value is high due to the need for expropriation of a large amount of land and real estate. Additionally, the environmental impact assessment (EIA) for the bridge crossing the Chao Phraya River has not yet been considered.

To ensure that the Red Line suburban railway project aligns with the master plan and serves as the main network in southern Bangkok and surrounding areas, there will be a change to the original Red Line train route. The proposal involves cutting the Hua Lamphong - Wong Wian Yai section, which is problematic, and presenting it to the Land Traffic System Organization Committee (CCC) for further consideration.

The preliminary red line route for the Wongwian Yai - Mahachai section will be developed in two phases. The first phase will end the Red Line route at the big roundabout in Mahachai. Plans have been prepared to connect it with other mass transit networks for maximum convenience, including connecting to the Southern Purple Line at Wongwian Yai station and to the Green Line (Silom Line) at Wongwian Yai Station. It will also allow for connection to the MRT Blue Line at Tha Phra Station via the Southern Purple Line.

The Red Line electric train project, according to the master plan, aims to create an efficient suburban electric train system (Commuter Train, CT) connecting Bangkok with suburban areas and main outer cities. The system is designed to operate in conjunction with existing Long Distance Trains (LD) and freight trains (Freight Train, FT) operated by the State Railway of Thailand (SRT). The red line will connect northern suburbs (Don Mueang, Rangsit, and Pathum Thani areas) with southern suburban areas (Bang Bon and Mahachai areas) to the city center.

A study conducted in 2006 on the Red Line suburban railway system project's Hua Lamphong - Mahachai section, covering a total distance of 36.56 kilometers, revealed that it would require an elevated structure and cost approximately 53,064 million baht. The project is divided into two sections: the Hua Lamphong - Wong Wian Yai section, covering a distance of 3.40 kilometers and costing approximately 4,934 million baht, and the Wongwian Yai-Mahachai section, covering a distance of 33.16 kilometers and costing approximately 48,129 million baht.

Additionally, a detailed study and design were conducted in 2007 for the suburban electric train system, along with long-distance trains, to connect to the mass transit system in Bangkok and surrounding areas (Mahachai - Pak Tho). This project was divided into three sections: Mahachai - Ban Laem (0.85 kilometers), Ban Laem-Mae Klong (33.73 kilometers), and Mae Klong-Pak Tho (30.50 kilometers), with the total project value for all three sections approximately 38,182 million baht.

However, due to inconsistencies in the original studies of the two projects, the Red Line section from Hua Lamphong - Wong Wian Yai - Mahachai uses the Standard Gauge route (width 1.435 meters), while the railway section Mahachai - Pak Tho uses the Meter Gauge route (width 1 meter), resulting in the inability to provide through service. Currently, the Red Line train sections Bang Sue-Rangsit, Bang Sue-Taling Chan, and the other four extension routes use meter gauge routes, necessitating adjustments.

The SRT has proposed a budget of 140 million baht for 2024 to review the results of the project feasibility study, conduct detailed design studies, and prepare bidding documents. This includes studying the feasibility of the Hua Lamphong-Mahachai section of the project, with a budget limit of 20 million baht, and studying the detailed design and preparing the EIA report for the Wongwian Yai - Mahachai section project, with a budget limit of 120 million baht.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42793
Location: NECTEC

PostPosted: 08/05/2024 1:20 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เดินหน้ารถไฟสีแดง “คมนาคม” ปรับแผนใหม่แก้ปมเวนคืน ชง คจร.หั่นแนวเหลือ 'วงเวียนใหญ่-มหาชัย' ไม่เข้าหัวลำโพง
ผู้จัดการออนไลน์ 8 พ.ค. 2567 08:33 น. .


ฺBig Outrage: How can we connect Mahachai railway with the rest of the mainline?
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44893
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/05/2024 1:55 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Mongwin wrote:
เดินหน้ารถไฟสีแดง “คมนาคม” ปรับแผนใหม่แก้ปมเวนคืน ชง คจร.หั่นแนวเหลือ 'วงเวียนใหญ่-มหาชัย' ไม่เข้าหัวลำโพง
ผู้จัดการออนไลน์ 8 พ.ค. 2567 08:33 น. .

ฺBig Outrage: How can we connect Mahachai railway with the rest of the mainline?
สร้างทางรถไฟหัวลำโพงไปวงเวียนใหญ่คงเกิดยาก Sad เชื่อมทางรถไฟสายมหาชัย แม่กลอง ปากท่อ น่าจะเกิดได้ง่ายกว่า ผู้โดยสารจากทางภาคใต้จะไปแม่กลอง มหาชัย ก็สะดวก คนฝั่งกรุงเทพจะไปมหาชัย แม่กลอง ก็ใช้วิธีขึ้นรถไฟสายสีม่วงใต้ ก็แล้วกันครับ
เชื่อมทางรถไฟกับสถานีปากท่อแล้ว การนำรถไฟไปซ่อมใหญ่ก็สะดวกขึ้น หรือขนส่งสินค้าก็ได้ แบบเดียวกับสายสุพรรณบุรี

Building a railway from Hua Lamphong to Wong Wian Yai would be difficult. Connecting the Mahachai, Mae Klong, and Pak Tho railway lines should be easier.

Passengers from the south will easily go to Mae Klong and Mahachai, while people from Bangkok will travel to Mahachai, Mae Klong can use the Southern Purple Line train. That's it.

The railway is connected to Pak Tho Station, making it more convenient for major carriage repairs or transporting goods, similar to the Suphanburi line.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 149, 150, 151
Page 151 of 151

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©