RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311322
ทั่วไป:13282534
ทั้งหมด:13593856
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - สถานีรถไฟอุดรธานีในวันฟ้าใส ๆ
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

สถานีรถไฟอุดรธานีในวันฟ้าใส ๆ
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
pattharachai
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 6536
Location: ราชอาณาจักรไทย

PostPosted: 14/09/2007 11:46 am    Post subject: Re: สถานีรถไฟอุดรธานีในวันฟ้าใส ๆ Reply with quote

sittipon wrote:

รบกวนซักนิดนึงนะครับ ทำไม่ถึงเรียกสถานีหนองคายว่า สถานีตลาดหนองคายละครับ


ก็เพราะตลาดหนองคาย เดิมเป็นสถานีหนองคาย

ต่อมามีการสร้างสถานีหนองคายขึ้นมาใหม่ ก่อนถึง สถานีหนองคายเดิม ประมาณ 3 กม. สถานีหนองคายเดิม จึงถูกยุบ และเรียกว่า เป็น ที่หยุดรถตลาดหนองคาย แทน
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail Visit poster's website
sittipon
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 16/08/2007
Posts: 32

PostPosted: 17/09/2007 11:29 am    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณท่านผู้รู้ทุกท่านครับ
พี่เต้ย.. ชัดเจน ตรงประเด็นครับพี่
ขอบคุณครับ
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
railway123
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 30/08/2007
Posts: 179

PostPosted: 22/09/2007 2:43 pm    Post subject: Reply with quote

AONZON wrote:
ฝั่งด้านหน้าสถานีอุดรธานีนั้น เดิมมีถังน้ำขนาดใหญ่ มีย่านรถสินค้าและรถจักร และมีโรงซ่อมรถจักรแบบเดียวกับที่ชุมทางแก่งคอย พร้อมกับวงเวียนกลับรถจักรไอน้ำ

สมัยก่อน การเดินรถสายอิสานจะมาสิ้นสุดที่อุดรธานี แม้ว่าจะมีการสร้างรางเลยออกจากอุดรฯไปทาง นาทา และหนองคาย ก็ตาม แต่เมื่ออเมริกันเข้ามาอยู่ที่อุดรฯ เป็นจังหวัดแรกของไทย เมื่อปี ๒๕๐๕ ดังนั้นในปี ๒๕๐๗ จึงมีการเปิดเดินรถสินค้าพิเศษของอเมริกัน ไปถึงหนองคาย เพื่อส่งอาวุธข้ามน้ำโขงไปฝั่งนู๊น และเมื่อรถจักรดีเซลเข้ามาแทนที่ โรงซ่อมบำรุงล้อเลื่อน และรถจักรของอุดรฯ ก็หมดสภาพและเปล่าประโยชน์ ภายหลังรื้อทิ้ง ต้องไปดูภาพเก่าๆ ของเมืองอุดรฯ ในเวบทางทหารของอเมริกันสมัยสงครามเวียดนาม ถึงจะเห็นครับ

ในส่วนสถานีรถไฟหนองคาย ( ปัจจุบันเรียกว่า ตลาดหนองคาย ) เดิมทางรถไฟมีอยู่ทั้งด้านขวา และด้านซ้ายของสถานี สำหรับด้านซ้าย มีไว้จอดขบวนรถสินค้า แล้วมีการขนของลงฝั่งซ้ายขบวนรถไปลงแม่น้ำโขงโดยตรง ส่วนทางรถยนต์ในอดีต คือฝั่งทางรถไฟปัจจุบัน แล้วก็มาตัดข้ามตรงต้นสถานีด้านทิศใต้ ภายหลัง ดูยุ่งยากหรือมีการขยายตัวของชุมชน การรถไฟฯ จึงยุบทางฝั่งซ้ายมารวมฝั่งขวา และทำทางรถยนต์ฝั่งซ้ายแทน

ย่านสถานีที่มีโรงเก็บสินค้า เป็นที่ลงสินค้าที่รอการมารับ ส่วนขบวนรถโดยสาร เมื่อส่งผู้โดยสารแล้ว หากไม่ไปจอดในย่านโรงสินค้า ก็จะเอาออกไปจอดที่สถานี นาทา จะสังเกตว่า สถานีนาทามีย่านจอดมากกว่า ตลาดหนองคาย

จริงๆแล้วสาเหตุที่ทางการรถไฟฯได้ย้ายทางรถไฟมาฝั่งทิศตะวันออกที่ที่หยุดรถตลาดหนองคายหรือสถานีหนองคายเดิมนั้น เพราะทางจังหวัดหนองคายประสบปัญหาน้ำท่วม เนื่องจากแม่น้ำโขงเอ่อท้น จึงจำเป็นต้องสร้างพนังกั้นน้ำตลอดแนวแม่น้ำโขง ประมาณปี 2525 การรถไฟฯจึงจำเป็นต้องย้ายทางรถไฟมาฝั่งทิศตะวันออกของสถานี เพื่อให้ทางจังหวัดสร้างถนนพนังกั้นน้ำ ซึ่งต่อมาก็คือถนนพนังกั้นน้ำชลประทานนั้นเอง ทางรถไฟขาดถึง 2 ครั้งใหญ่ๆ ในปี 2509 และ 2514 จุดที่ทางรถไฟขาดก็คือที่ตั้งของสถานีหนองคายปัจจุบันครับ...

รัฐพาณิชย์ กรมรถไฟ
Back to top
View user's profile Send private message
railway123
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 30/08/2007
Posts: 179

PostPosted: 22/09/2007 3:01 pm    Post subject: Reply with quote

AONZON wrote:
อย่างที่กล่าวไว้ตอนต้นครับว่า ฝั่งตรงข้ามสถานีรถไฟอุดร จะเป็นย่านรถจักรและรถสินค้าที่ใหญ่มากๆ จะสังเกตว่าถังน้ำใหญ่ (ปัจจุบันทราบว่า เทศบาลรื้อลงแล้วเพราะฐานมันผุมันจะล้มลงใส่บ้าน) และบ้านพักพนักงาน(ครฟ)จะอยู่ฝั่งตรงข้ามสถานีเลยถังน้ำไปอีก (ดูดีๆครับ) แสดงว่าบริเวณนั้นมีรางรถไฟมากครับ

เดิมที่ผมบอกว่ามีโรงรถจักรอยู่ฝั่งตรงข้าม มันจะมีลักษณะเป็นเอกลักษณ์รถไฟ อาคารแบบเดียวกับที่โรงรถจักรแก่งคอยครับ เป็นฟันปลา อยู่ซ้ายมือของเรา(ยืนหันหน้าออกไปชานชลาที่ ๑) ด้านซ้ายไปหนองคาย ขวาไปกรุงเทพ ที่มีย่ายใหญ่โต เป็นเพราะเดิมรถต่างๆมาสิ้นสุดที่อุดร โดยเฉพาะอาวุธทางทหาร จะต่างจากโคราชตรงที่ทางรถไฟมาสุดที่อุดร และทหารอเมริกันทำการลำเลียงใส่รถไป แต่ที่โคราชจะมีทางรถไฟแยกทางทิศใต้สถานี(ตรงทางข้ามทางรถยนต์) แยกซ้ายไปค่ายมิตรภาพ (ค่ายเฟรนชิป - ปัจจุบันคือ บชร. ๒) เพื่อลำเลียงอาวุธเข้าค่าย

เดียวนี้ฝั่งตรงข้ามที่อุดร รื้อทิ้งไปเยอะ ด้านซ้ายมือจะเป็นย่านน้ำมัน เดิมทีก็จะเลี้ยวเข้าคลังน้ำมัน ปตท. ตรงหนองบัว(ตรงนั้นมีบึงน้ำชื่อหนองบัว และมีศาลเจ้าปู่ย่าประจำเมือง ครับ) แล้วผมจะเอาภาพเก่าๆที่อเมริกันถ่ายไว้มาให้ชมครับ ภาพและข้อมูลส่วนหนึงก็อยู่ในหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพผู้ว่าการรถไฟคนแรกครับ

เพิ่มเติม
ที่สถานีรถไฟหนองขอนกว้าง (บ้านเกิดผม) ที่นี่มีย่านสินค้าสำคัญเยอะ ปัจจุบันเหลือแค่ปูนซีเมนต์ สถานีรถไฟหนองขอนกว้างห่างจากอุดรมาทางใต้ ๔ กิโลเมตร เมื่อรถไฟมาถึงสถานีหนองขอนกว้าง ปัจจุบันจะพบกับคลังปูนซีเมนต์ TPI อยู่ขวามือ (เดิมตรงนี้เป็นทุ่งนาบ้านผมเองที่ขายให้บริษัทปูนตั้งคลังปูนครับ) ตรงหน้าสถานีตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันก็จะมีรางขนาดนี้หละครับ สี่ห้าราง ไปทางซ้ายของสถานีเล็กน้อย ตลอดแนวหน้าสถานี เหตุที่มีย่านรางหน้าสถานีมากเพราะเดิมนั้น การรถไฟ จะนำโบกี้รถน้ำมันของกองทัพอากาศมาจอดเต็มไปหมดตรงนี้ (โบกี้บางคันเป็นของที่อเมริกันมอบให้การรถไฟ) เพื่อลำเลียงน้ำมัน โดยตลอดแนวหน้าสถานีจะมีท่อลงน้ำมัน ลงในท่อ ซ้ายมือแนวเดียวกับสถานี(ตรงที่มีต้นไม้ใหญ่) ตรงนั้นจะมีโรงจักรไฟฟ้าและอาคารที่ทำการร่วมทหารอากาศไทยอเมริกัน ในการส่งน้ำมันเครื่องบินทางท่อไปยังสนามบิน(ปัจจุบันรื้ออาคารหมดแล้ว คงเหลือท่อบางส่วนในดินยังมีเหลืออยู่) ไปทางเหนือของสถานี ปัจจุบันจะพบว่ามีร่องรอยของรางรถไฟทางคู่ของที่นี่ครับ ทางนี้จะออกจากสถานีอุดรไปทางเหนือกว่า ๒ กิโลเมตร ตรงนั้นจะมีย่านลงน้ำมัน ESSO ปัจจุบันคลังนี้เลิกไปแล้ว รถน้ำมันตรงนี้กินขาชาวบ้านมาหลายคนแล้วครับ

คนที่นี่เขาจนมาก เมื่อโบกี้รถน้ำมันเอาน้ำมันมาส่ง เสร็จแล้ว มันจะมีน้ำมันค้างท่อ (ตู้หนึ่งมีสักแก้ว หรือขันหนึ่ง) เมื่อรถจักรลากโบกี้น้ำมันมาจอดที่ย่านสถานีหนองขอนกว้าง ชาวบ้านจะวิ่งไปจับจองตู้น้ำมัน พร้อมเอาปี๊บไปคล้องตรงหัวจ่ายและจัดการใช้ประแจคายน็อตเดนน้ำมันที่ค้างท่อออกมากัน บางครั้งเลยผลาดท่าตกลงโดนรถไฟทับขาขาดครับ ในขณะเดียวกันก็มีบางคนมาจากต่างถิ่น ไม่ทราบว่าเขาต้องรอเอาน้ำมันที่เหลือของ ESSO มิใช่ของ ทหาร เห็นโบกี้จอดลงน้ำมันก็ไปเดนเลย เลยเจอโดนจับไปก็มี ปัจจุบันตรงสถานีหนองขอนกว้าง คงเหลือเฉพาะปูนซีเมนต์อย่างเดียวครับ

รูปทั้งหมด ปีใหม่จะกลับอุดร เดียวจะค้นคว้ามาให้ดูกันครับ

ถังน้ำที่ว่าถ้าหมายถึงถังน้ำรถจักรแล้วล่ะก็ ยังไม่มีการรื้อนะครับ เมื่อก่อนย่านสถานีอุดรธานีเป็นย่านใหญ่ครับ มีโรงรถจักรแบบเดียวกับที่สถานีชุมทางแก่งคอย ถ้าใครเคยมาที่สถานีอุดรธานีสังเกตดีๆหลังที่ทำการ พตร.อุดรธานี(อาคารสีขาวที่มีถังน้ำมันอยู่ด้านบนอยู่ตรงข้ามกับสถานี) จะมีงวงจ่ายน้ำตั้งอยู่....มีวงเวียนกลับรถจักรซึ่งถูกรื้อและถมดินไปแล้ว มีที่ที่ทำการสารวัตรรถจักรอุดรธานี (รื้อแล้วเอาไปสร้างเป็นที่ทำการสารวัตรแขวงบำรุงทางอุดรธานี) ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับถังน้ำดำหน้าโรงแรมริชแมนชั่น รางเก่าในย่านยังรื้อไม่หมดครับบางส่วนจมดิน คลังน้ำมันสามทหาร หรือ ปตท.อุดรธานีปัจจุบันซึ่งอยู่ใกล้ๆกับศาลเจ้าปู่ย่า เมื่อก่อนมีรางตันยาวเข้าไปในคลัง ประแจเดิมอยู่บริเวณเครื่องตกรางด้านใต้ของสถานีอุดรธานี...

รัฐพาณิชย์ กรมรถไฟ
Back to top
View user's profile Send private message
railway123
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 30/08/2007
Posts: 179

PostPosted: 22/09/2007 3:12 pm    Post subject: Reply with quote

ExtendeD wrote:
แล้วเราก็มาถึงเวลาไขข้อข้องใจกันซะที ว่าประแจตัวที่อยู่ระหว่างประแจแยกเข้ารางที่ 1 กับ ประแจแยกเข้ารางที่ 3 - 4 - 5 เป็นทางแยกไปที่ไหนกันแน่

ผมเดินย้อนกลับมาดูอีกที ก็เห็นว่าที่รางนี้มีเครื่องตกรางติดอยู่ด้วยครับ ดูจากสภาพแล้วไม่ได้ใช้งานมานานแล้วแน่เลย

Click on the image for full size


พอจะเดินต่อไปข้างหน้า ก็มาเจอกับ " ป้ายแดง " เมื่อเจอป้ายแดง เราจะต้องไม่ล้ำป้ายนี้โดยเด็ดขาด เพราะฉะนั้นคงต้องหาทางอื่นเลาะ ๆ ไปแล้วล่ะครับ Laughing

Click on the image for full size

สามารถอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับป้ายสัญญาณต่าง ๆ ได้จาก " การรถไฟแห่งประเทศไทย " หรือ download file signalsign.pdf จากทาง http:// portal.rotfaithai.com ก็ได้ครับ

ทางนี้ไม่ได้ไปไหนไกลหรอกครับ เป็นราง 6 (รางที่ผ่านหน้าที่ทำการพตร.) ถ้าเดินตรงไปอีกนิดเมื่อก่อนจะมีประแจแยกเข้าไปที่โรงรถจักร ปัจจุบันยังพบร่องรอยของรางเก่าอยู่...ที่ปักป้ายแดงก็เพราะว่าทางข้างหน้ามีดินคันทางเลื่อนไหล เนื่องจากเทศบาลฯทำคลองระบายน้ำแล้วกระแสน้ำมันเซาะดินคันทางเว้าแหว่งถึงหัวหมอน ก็เลยจำเป็นต้องออกโทรเลขปิดทาง จนกว่าจะมีการแก้ไข

รัฐพาณิชย์ กรมรถไฟ
Back to top
View user's profile Send private message
railway123
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 30/08/2007
Posts: 179

PostPosted: 22/09/2007 3:21 pm    Post subject: Reply with quote

มองถัดไปทางซ้ายเห็นรถตู้ใหญ่ ( ตญ. ) จอดอยู่ 2 คัน คงถูกแปรสภาพไปเป็นที่พักของเจ้าหน้าที่แล้วล่ะมั้ง ใกล้ ๆ กันยังเห็นงวงช้างมาซ่อนตัวอยู่ใต้ร่มไม้ด้วยครับ Shocked

Click on the image for full size[/quote]
รถ ต.ญ.เก่าที่ว่านี้ จะใช้เป็นที่ทำการนายตรวจสายครับ แต่ยังไม่มีผู้ใดเข้ามาใช้ประโยชน์เลยครับ..

รัฐพาณิชย์ กรมรถไฟ
Back to top
View user's profile Send private message
tong_sanam
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 15/05/2007
Posts: 1550
Location: พิกัดที่ 385.593

PostPosted: 22/09/2007 6:37 pm    Post subject: Reply with quote

ผมขออนุญาติยกเอางวงช้างมาตั้งไว้ที่ ชท.ฉะเชิงเทรานะครับ
ต้องขอก่อน จะได้มั้ยครับ? Embarassed
_________________
Click on the image for full size

"ที่นี่สถานีชุมทางสนามชัยเขต
ท่านที่จะเดินทางไป จันทบุรี ตราด
โปรดข้ามไปรอการโดยสารในชานชาลาที่ 2"
Back to top
View user's profile Send private message MSN Messenger
suraphat
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 12/02/2007
Posts: 1117
Location: ดินแดง ห้วยขวาง

PostPosted: 23/09/2007 1:11 am    Post subject: รถช่วงอุดรไปหนองคาย Reply with quote

AONZON wrote:
และด้วยระยะทางจากอุดรฯ ไป นาทา ยาว ๔๙ กม. ส่วนหนองคายทางรถยนต์ก็ ๖๐ กม. ( ใช้เวลาประมาณ ๔๕ นาที- ๑ ชั่วโมง ) เมื่อมีการยกเลิกสถานีต่างๆ ตลอดสายอุดรฯ ถึง นาทา จึงไม่มีรางหลีก ขบวนรถเร็วกรุงเทพ - หนองคาย ซึ่งปกติจะเข้าอุดรฯ ราวๆ ๔ โมงเย็นกว่าๆ หากเสียเวลามาเข้าราว ๑ ทุ่มหละก็ ( เคยมีไม่บ่อยครั้ง แต่ผมเจอทุกครั้งที่ไปรอขึ้นรถกลับกรุงเทพ ) รถเร็วคันนั้นต้องจอดรอที่อุดรฯ อย่างน้อยก็ชั่วโมง เพื่อหลีกให้รถด่วนจาก หนองคาย เข้าสถานีอุดรธานีก่อน รอจนไม่มีผู้โดยสารเหลือ ต้องวิ่งรถเปล่า เพราะผู้โดยสารนั่งรถโดยสารไปถึงหนองคายแล้ว

ยิ่งถ้าเป็นช่วงเช้า ขบวนรถด่วน หากเสียเวลามาแค่ขบวนเดียวจะต้องจอดรอที่อุดรฯ จนกว่ารถดีเซลรางปรับอากาศขบวนเช้าจาก หนองคาย จะวิ่งเข้าสถานีก่อน และเมื่อรถด่วนออกจากสถานีอุดรฯ ไปหนองคาย รถเร็วที่หนองคาย ก็ต้องรออีกอย่างน้อย ๑ ชั่วโมงเพื่อให้รถด่วนเข้าหนองคาย หรือ นาทา รถเร็วถึงจะสวนออกมาได้ เลยเสียเวลาตามไปด้วย


แล้วอย่างที่คุณจ่าว่าไว้นั่นแหละครับ แต่กระผมสงสัยว่า ทำไมเขาถึงได้ยุบสถานีรายทางเหล่านี้ไปละครับ โดยเหลือแต่เพียงสถานีนาทาเพียงที่เดียวระหว่างทางไปหนองคายนี้ละครับ เช่นสถานีหนองบัวเงิน หนองสองห้อง ทั้งๆที่ก็ควรมีไว้เพื่อไว้ใช้หลีกรถกันยังไงละครับ เนื่องจากในเส้นทางช่วงอุดรไปหนองคายก็มีรถวิ่งผ่านมากถึง 10 ขบวนทั้งไปและกลับ(ตามตารางเวลาที่สถานีอุดร) ซึ่งในจำนวนนี้ ก็มีรถท้องถิ่นวิ่งผ่านอยู่ด้วยหนึ่งขบวนด้วยละครับ Rolling Eyes
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
AONZON
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 06/12/2006
Posts: 221
Location: กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ

PostPosted: 25/09/2007 1:35 pm    Post subject: Reply with quote

ระหว่างสถานีอุดร - หนองคาย เหตุที่ยกเลิกไป ก็เพราะไม่มีผู้โดยสารขึ้นลงแล้วมังครับ เลยเลิกใช้ เขานิยมเดินทางโดยรถยนต์มากกว่าสะดวก
ปัจจุบันมีรถวิ่งไป 4 ขบวน กลับ 4 ขบวน เองครับ และเวลาก็ไม่ซ้อนกันเลยไม่จำเป็นต้องมีรางหลีก ที่ผ่านมาเขาเคยรอหลีกที่อุดรครับ (ปล.ขบวนที่สุดและเริ่มต้นที่อุดรธานี มีต่างหากอีก 4 ขบวน)

เที่ยวขึ้น.....ขบวน......จากอุดรธานี...........ถึงหนองคาย...................415............11.42......................12.26
.........................77..............04.11......................05.05
.........................133............06.34......................07.35
..........................69.............07.53......................09.10
เที่ยวล่อง....ขบวน......จากหนองคาย...........ถึงอุดรธานี...................76.............06.00......................06.45
.........................418............13.03......................13.49
.........................70..............18.20......................19.20
.........................134.............19.15......................20.10

จะว่าไปปิดไปหลายสถานีก็ประหยัดค่าใช้จ่ายการรถไฟได้เดือนละหลายแสนครับ (เฉพาะเงินเดือนพนักงานรวมกันทุกสถานี) การยุบที่ว่า ยุบ(รื้อ)ทั้งสถานีก็หลายสถานีครับ บางสถานียังคงไว้เพื่อหากเปิดเดินรถไฟ อุดรธานี - นครเวียงจันทน์ เมื่อไหร่คงจะเปิด แต่เส้นทางช่วงอุดรธานี - หนองคาย สิ่งที่ไม่น่ายุบเลิกหรือควรจะต้องดูแลเป็นพิเศษคือทางข้ามทางรถไฟ เพราะไม่มีป้ายกั้นไฟสัญญาณ เป็นทางข้ามลูกทุ่งมากๆๆๆๆ ครับ บ่อยครั้งที่ขบวนชานเมือง ที่ย่องมาเงียบๆ จะชนกับปิคอัพที่ขับมาเพลินๆครับ
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail Visit poster's website MSN Messenger
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 25/09/2007 1:44 pm    Post subject: Reply with quote

ครับ บางสถานีควรคงไว้เพื่อจัดหลีกขบวนรถ ไม่ใช่นึกเพียงว่าลดรายจ่ายแต่อย่างเดียว
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  Next
Page 6 of 9

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©