RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13272835
ทั้งหมด:13584131
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 18/04/2008 10:06 am    Post subject: Reply with quote

ดึงผู้โดยสารเข้าระบบรถไฟฟ้าโจทย์ใหญ่ที่ท้าทายรัฐบาล

โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์ 17 เมษายน 2551 16:58 น.


*ทำไมคนไม่นิยมใช้ขนส่งมวลชนระบบราง ทั้งที่เดินทางสะดวกรวดเร็ว

*ปัญหาจราจาติดขัดจนเป็นอัมพาตแก้ได้จริงหรือ?

*รอพิสูจน์กึ๋น”สันติ พร้อมพัฒน์” กับการดึงผู้โดยสารเข้าระบบรถไฟฟ้า หลังโครงข่ายเสร็จสมบูรณ์

แม้ว่าแผนการลงทุนก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าจะมีความคืบหน้าไปตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งคาดว่าในปีนี้ น่าจะมีการตอกเข็มก่อสร้างรถไฟฟ้าได้อย่าง 1 เส้นทาง คือสายสีม่วง (ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ) แต่ปัญหาใหญ่ที่คาดว่าจะตามมา หลังจากที่โครงการก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการ น่าจะอยู่ที่การดึงคนเข้ามาใช้บริการให้ได้ตามแผนการศึกษาก่อนที่จะมีการลงทุนก่อสร้าง

เห็นได้จากรถไฟฟ้า 2 เส้นทางที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน ทั้งรถไฟฟ้าใต้ดิน และรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่แม้ว่าจะเปิดให้บริการมานาน 9 ปี ยังมีผู้ใช้บริการไม่ได้ตามเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้ในช่วงก่อนหน้านั้น โดยบีทีเอส มีผู้ใช้บริการเพียงวันละ 430,000 คนต่อวัน ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้ว่าจะมีผู้โดยสารวันละ 500,000 คนต่อวันในปีแรกของการเปิดให้บริการ

ขณะที่รถไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งแม้จะเปิดให้บริการภายหลังจากที่ประชาชนให้ความสำคัญกับการเดินทางด้วยระบบรถไฟฟ้าแล้ว แต่ก็ยังมีผู้โดยสารใช้บริการเพียง 190,000-200,000 คนต่อวันต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 220,000 คนต่อวัน เป็นจำนวนที่น้อยมาก หากเทียบกับราคาน้ำมันแพง และการจราจรติดขัดถึงขั้นเป็นอัมพาต

ตัวเลขดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่า แม้ว่าการเดินทางด้วยระบบรางที่ประหยัดเวลา และมีความสะดวกมากกว่าการใช้รถยนต์ส่วนตัว หรือรถโดยสารประจำทาง ก็ยังไม่ได้รับความสนใจจากประชาชน เพราะหน่วยงานที่รับผิดชอบไม่สร้างความดึงดูดใจให้คนหันมาใช้ระบบราง รวมถึงโครงการข่ายยังให้บริการไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ของกทม.และปริมณฑล ทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่รอบนอกไม่สามารถใช้บริการรถไฟฟ้าได้ เพราะความไม่สะดวกในการเดินทาง อีกทั้ง หากต้องการจะใช้บริการจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น จากการต่อรถหลายต่อ รวมถึงที่จอดรถบริเวณสถานีขึ้น-ลงไม่เพียงพอต่อความต้องการ

ฟีดเดอร์ตัวแปรหลักดึงผู้ใช้บริการ

ปัญหาดังกล่าวอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ประชาชนไม่นิยมใช้ระบบราง แต่ปัญหาที่ทำให้ประชาชนไม่สนใจที่จะใช้รถไฟฟ้าหากการก่อสร้างแล้วเสร็จ คือ การไม่มีระบบเชื่อมต่อหรือระบบฟีดเดอร์ที่สมบูรณ์ เพราะถึงแม้ว่าเมื่อการก่อสร้างรถไฟฟ้าครอบคลุมทุกพื้นที่แล้ว แต่ไม่มีจุดเชื่อมต่อที่สมบูรณ์ และนำระบบตั๋วร่วมมาใช้เพื่อลดค่าใช้จ่ายประชาชนคงเลือกที่จะใช้รถยนต์ส่วนตัวเช่นเดิม

“ค่าโดยสารที่มีราคาแพง ทำให้ผู้มีรายได้น้อยไม่สามารถขึ้นรถไฟฟ้าได้ เพราะมีเงินจำกัด อีกทั้งรถไฟฟ้ายังมีแนวโน้มที่จะปรับค่าโดยสารขึ้นตามอายุสัญญาสัมปทานอีกสถานีละ 1-2 บาท ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่นิยมใช้รถส่วนตัวเช่นเดิม ซึ่งปัจจุบันประชาชนใช้รถยนต์ส่วนตัวมากถึง 70%”

ชี้ระบบรางน้อยไม่ครอบคลุม

สำหรับระบบขนส่งมวลชนระบบรางในกรุงเทพฯ ปัจจุบันมีเพียง 2 ระบบ คือ โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพฯหรือรถไฟฟ้าบีทีเอส ของกรุงเทพฯและโครงการรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลหรือรถไฟฟ้าใต้ดิน ของรฟม. มีระยะทางรวมเพียง 44 กม.เท่านั้น ไม่เพียงพอต่อความต้องการ รวมถึงค่าโดยสารแพง โดยปัจจุบันรถไฟฟ้าบีทีเอสเก็บค่าโดยสารอยู่ที่ 15-40 บาท ส่วนรถไฟฟ้าใต้ดิน 15-39 บาท และในต้นปี 2552 จะปรับราคาขึ้นเป็น 16-41 บาท

เพื่อความมั่นใจว่าเมื่อรัฐบาลลงทุนโครงข่ายขนส่งมวลชนทั้ง 9 เส้นทางแล้ว จะมีผู้ใช้บริการตามเป้าหมาย สันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ถึงกับนำข้าราชการ และสื่อมวลชนลงสำรวจพื้นที่เส้นทางเดินรถ 4 เส้นทาง ประกอบด้วย สายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) ส่วนต่อขยายสายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คลองสี่-ลำลูกกา สายสีเขียว (อ่อนนุช - บางปู)สายสีน้ำเงิน และจุดเชื่อมต่อสายสีเขียวช่วงหมอชิต –ลำลูกกา และสีเหลือง รวมถึงแอร์พอร์ต ลิงก์ บริเวณมักกะสัน ซึ่งหากโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 9 เส้นทาง 8 ทิศทาง เสร็จสมบูรณ์จะช่วยลดปริมาณการใช้รถยนต์ลงมากถึง 60 % และจะช่วยให้ประเทศประหยัดค่าเสียโอกาสถึงปีละ 90,000 ล้านบาท ประหยัดต้นทุนเชื้อเพลิงถึงปีละ 68,160 ล้านบาท และลดค่าใช้จ่ายในการขจัดมลพิษถึงปีละ 9,947 ล้านบาท

จากการที่สำรวจเส้นทางรถไฟฟ้าเส้นทางดังกล่าว ทำให้สันติ มั่นใจว่า หากก่อสร้างรถไฟฟ้า 9 เส้นทาง แล้วเสร็จ จะช่วยลดปริมาณการใช้รถยนต์ลงได้ 60 %

ปรับพื้นที่รับระบบฟีดเดอร์

ด้านประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่า รฟม. กล่าวว่า ขณะนี้รฟม.อยู่ระหว่างปรับแบบของสถานีปลายทาง เพื่อจัดเตรียมพื้นที่สำหรับจุดจอดรถ เพื่อรองรับฟีดเดอร์ ซึ่งต้องมีการปรับทั้งพื้นที่จุดจอดรถและรัศมีการตีวงของรถในการเลี้ยวเข้าสู่สถานี ส่งผลให้ต้องลดจำนวนพื้นที่ของอาคารจอดรถลงแทน

ส่วนแนวทางสนับสนุนให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งมวลชนนั้น รฟม.กำลังพิจารณาแนวทางอยู่ อาจจะเปิดทางให้เอกชนร่วมทุนเพื่อเปิดให้บริการเดินรถ ซึ่งจะเน้นเส้นทางระยะสั้นจากสถานีรถไฟฟ้าไปยังหมู่บ้านต่างๆ ในรัศมีประมาณ 3 – 5 กม.และจะประสานกับ ขสมก. เพื่อปรับเส้นทางเดินรถเป็นฟีดเดอร์รองรับรถไฟฟ้าด้วย

ขสมก.เร่งศึกษาเส้นทางรถเมล์

ด้านพิเณศวร์ พัวพัฒนกุล ผู้อำนวยการ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กล่าวว่าการจัดการเส้นทางเดินรถโดยสารประจำทาง เพื่อรองรับเส้นทางรถไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้น ขสมก.อยู่ระหว่างศึกษาเส้นทางที่จะรองรับผู้โดยสารตามเส้นทางรถไฟฟ้า รวมถึงคาดการณ์จำนวนผู้ใช้บริการด้วยว่าจะคุ้มทุนหรือไม่ คาดว่าจะสรุปได้ในปลายเดือนเม.ย.นี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 13/06/2008 11:55 am    Post subject: Reply with quote

เอกซเรย์รถไฟฟ้า'สมัคร' 4เดือนยังไปไม่ถึงไหน?

มติชนออนไลน์ วันที่ 12 มิถุนายน 2551 - เวลา 15:28:57 น.

Click on the image for full size

เอกซเรย์โครงการรถไฟฟ้า'สมัคร'เฟสแรก 5 โครงการ 7 สายทาง มูลค่า 3 แสนล้าน 4เดือนไปถึงไหนแล้ว เผยทุกโครงการเผชิญพิษต้นทุนก่อสร้างที่สูงขึ้นตามราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นกันถ้วนหน้า


โครงการรถไฟฟ้าหนึ่งในโครงการเมกะโปรเจ็กต์ที่รัฐบาล "สมัคร สุนทรเวช" หมายมั่นปั้นมือจะให้เป็นผลงานชิ้นโบแดง และใช้เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

ผ่านมา 4 เดือน ท่ามกลางภาวะน้ำมันแพงและอุณหภูมิการเมืองที่กำลังร้อนแรง โครงการรถไฟฟ้าทั้ง 9 สาย 8 แฉก มูลค่า 7 แสนกว่าล้านบาท เดินหน้าไปถึงไหนแล้ว คนกรุงเทพฯและปริมณฑลคงอยากรู้คำตอบ
สำหรับรถไฟฟ้าเฟสแรก 5 โครงการ 7 สายทาง ระยะทาง 145 กิโลเมตร มูลค่ากว่า 3 แสนล้านบาท (ดูตาราง) แม้คณะรัฐมนตรี (ครม.) จะอนุมัติก่อสร้างและมีบางสายประกวดราคาไปแล้ว แต่ถึงนาทีนี้ดูเหมือนยังติดๆ ขัดๆ ไม่ราบรื่นอย่างที่คิด

ทั้งเรื่องการคัดเลือกคุณสมบัติผู้รับเหมาของรถไฟสายสีแดงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่เปิดประมูลตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ขณะนี้ก็ยังยืดเยื้อเพราะการเมืองเข้ามาแทรกทำให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ใช้เวลาพิจารณาล่าช้าจากแผนงานกว่า 2 เดือน ในขั้นตอนนี้กว่าจะคัดเลือกผู้รับเหมาเหลือ 1 ราย คือ กลุ่มยูนิคฯ และกำลังจะเปิดซองด้านเทคนิคก่อนพิจารณาด้านราคา คาดว่าจะเซ็นสัญญาได้ภายในเดือนมิถุนายนนี้

ที่น่าห่วงคือทุกโครงการกำลังเผชิญกับพิษต้นทุนก่อสร้างที่สูงขึ้นตามราคาน้ำมันที่ผันผวนอย่างต่อเนื่อง ทำให้ค่าก่อสร้างเกินกรอบวงเงินที่ประมาณการไว้มาก กลายเป็นภาระเพิ่มของรัฐบาลจะต้องหาเงินกู้มาเติมเต็มส่วนที่เพิ่มขึ้นมาใหม่ ทั้งเงินกู้ในประเทศและจากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิก) เพราะถ้าไม่ขยายกรอบวงเงินโครงการก็อาจมีความเสี่ยงเพราะไม่มีผู้เสนอราคาก่อสร้างหรือเสนอราคาสูงกว่ากรอบวงเงิน ทำให้ต้องยกเลิกประมูลและเริ่มต้นดำเนินการใหม่

ในส่วนของต้นทุนเพิ่มขึ้นที่ชัดเจน คือ รถไฟฟ้าสายสีม่วงเพิ่มขึ้นจาก 31,217 ล้านบาท เป็น 36,055 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 4,838 ล้านบาท สายสีน้ำเงินจาก 48,821 ล้านบาท เป็น 52,956 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4,135 ล้านบาท สายสีแดงบางซื่อ-รังสิตจาก 59,887.6 ล้านบาท เป็น 77,562.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17,675.1 ล้านบาท แค่ 3 สายต้นทุนก็พุ่งขึ้นจากเดิมถึง 26,648.1 ล้านบาทแล้ว ไม่รวมสายอื่นๆ ที่กำลังประเมินค่าก่อสร้างใหม่

ด้านแหล่งเงินกู้แม้รัฐบาลจะสร้างความมั่นใจว่ามีแหล่งเงินกู้แน่นอน แต่ยังมีปัญหา เพราะการเลือกใช้แหล่งเงินกู้มีส่วนผูกพันเป็นเงื่อนไขในการจัดทำทีโออาร์ ถ้าหากใช้แหล่งเงินกู้ในประเทศจะสามารถขายเอกสารประกวดราคาได้ตามแผนงาน แต่ถ้าใช้เงินกู้เจบิกขั้นตอนอาจล่าช้าออกไปอย่างน้อย 8 เดือน เพราะต้องทำตามระเบียบขั้นตอนของเจบิกด้วย

ดังนั้น รถไฟฟ้าส่วนที่เหลือที่ยังไม่มีแหล่งเงินจึงยังเป็นโครงการที่มีความเสี่ยง อาจจะเปิดประกวดราคาไม่ทันกรอบเวลาที่วางไว้ภายในสิ้นปีนี้ ทั้งสายสีน้ำเงิน สีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-พญาไท-หัวหมาก สายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ

ส่วนโครงการรถไฟฟ้าในเฟส 2 ที่รัฐบาลตั้งเป้าจะดำเนินการในปี 2552 เป็นต้นไป ทางกระทรวงคมนาคมกำลังเสนอ ครม.ขออนุมัติงบประมาณกลางปี 2551 ประมาณ 300 ล้านบาท ประกอบด้วยงบฯปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชน 30 ล้านบาท การออกแบบรายละเอียดสายสีเขียวเข้มช่วงสะพานใหม่-ลำลูกกา คลอง 4 จำนวน 130 ล้านบาท การออกแบบรายละเอียดสายสีเขียวอ่อนช่วงเคหะบางปิ้ง-นิคมอุตสาหกรรมบางปู 72 ล้านบาท งบฯศึกษาสายวงแหวนรอบในตามแนวถนนรัชดาภิเษก จากรัชโยธิน-พระรามที่ 7 และท่าพระ-พระรามที่ 3-คลองเตย

ขณะที่การเจรจาซื้อหนี้จากบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)หรือบีทีเอสซี ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าบีทีเอสก็ยังไม่มีความคืบหน้า ล่าสุดกระทรวงการคลังขอตั้งงบประมาณ 50 ล้านบาท ว่าจ้างที่ปรึกษาทางการเงินประเมินมูลค่ากิจการของบีทีเอส และประเมินรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการลงทุนส่วนต่อขยายและเส้นทางใหม่

ด้านนโยบายให้กระทรวงมหาดไทยที่รับจะเจรจากับกรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อขอโอนภาระหน้าที่การดูแลสัมปทานรถไฟฟ้าบีทีเอสมาอยู่ในความรับผิดชอบของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดยรัฐจะจ่ายคืนเงินค่าก่อสร้างทางวิ่งและตัวสถานีช่วงสาทร-บางหว้า และช่วงอ่อนนุช-แบริ่งให้ กทม. ขณะนี้ก็ยังย่ำอยู่กับที่เหมือนกัน

ทั้งหมดล้วนเป็นปัญหาและอุปสรรคที่รัฐบาล "สมัคร" จะต้องฟันฝ่าเพื่อนำพาโครงการให้ถึงฝั่ง แต่หากการเมืองเกิดพลิกผันรัฐบาลอยู่ไม่ครบเทอม คนกรุงก็คงฝันสลายอีกครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 23/06/2008 12:48 pm    Post subject: Reply with quote

ใช้232ล.ทำแผนแม่บทรถไฟฟ้าใหม่
Dailynews - 23 June 2008

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยความคืบหน้าการดำเนินโครงการรถไฟฟ้า ว่า สนข.ได้เสนอของบกลางจำนวน 232 ล้านบาท เพื่อนำมาศึกษาโครงการรถไฟฟ้าตามนโยบายของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี แบ่งเป็น

1. จ้างที่ปรึกษาจัดทำแผนแม่บทระบบรางใหม่จำนวน 30 ล้านบาท
2. จ้างที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม จากสะพานใหม่-ลำลูกกาคลอง 4 จำนวน 130 ล้านบาท
3. จ้างศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน จากบางปิ้ง-บางปู จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 72 ล้านบาท

เมื่อได้งบประมาณ จะเดินหน้าทันที สำหรับความคืบหน้ารถไฟฟ้าในเมืองขณะนี้มีความก้าวหน้าหลายสาย โดย

1. สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน เปิดประกวดราคาไปแล้วอยู่ในขั้นตอนพิจารณาคุณสมบัติด้านเทคนิคผู้รับเหมา
2. ช่วงบางซื่อ-รังสิต ออกแบบรายละเอียดเสร็จแล้วและผ่านการพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม แล้ว
3. คาดว่าจะเปิดประมูลได้ในเดือน ต.ค.นี้ ซึ่งจะใกล้เคียงกับสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ หัวลำโพง-บางแค
4. ส่วนสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ เปิดประมูลแล้ว คาดได้ผู้รับเหมาภายในปีนี้
5.สำหรับสายสีเขียวเข้มช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ และสีเขียวอ่อน ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ออกแบบรายละเอียดเรียบร้อย และได้ส่งแบบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินการต่อแล้ว หลังจากนี้ สนข.จะเริ่มศึกษาพัฒนาระบบรถไฟรางคู่ และรถไฟความเร็วปานกลางวิ่งไปยังจังหวัดหัวเมืองหลักต่อไป.
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 23/06/2008 10:17 pm    Post subject: Reply with quote

ผมเห็นข่าวในบางกอกโพสฉบับวันนี้ บอกว่าผู้รับเหมาเริ่มโอดครวญกันแล้ว เพราะวัสดุก่อสร้างขึ้นราคาแบบรั้งไม่หยุด ฉุดไม่อยู่นี่แหละ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 28/06/2008 8:50 am    Post subject: Reply with quote

สนข.เริ่มยกแรกพัฒนาตั๋วร่วมพิสูจน์ “กึ๋น” ผอ.สร้อยทิพย์

โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์ 27 มิถุนายน 2551 14:09 น.


สนข.เดินเครื่องพัฒนาระบบตั๋วร่วม จับมือคลัง ADB ศึกษา-กำหนดนโยบายการดำเนินการตั๋วร่วม คาด ก.พ.52 สรุปผลการศึกษา เผยอุปสรรคใหญ่ จัดสรรรายได้ให้เป็นธรรม

ขณะที่ภาครัฐพยายามเร่งก่อสร้างรถไฟฟ้า 9 สาย เพื่อรองรับการขยายตัวของเมือง และการเดินทางให้สะดวกรวดเร็วขึ้น ฟากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ก็พยายามที่เร่งศึกษาระบบตั๋วร่วม เพื่อให้สามารถใช้งานได้สมบูรณ์ เมื่อโครงข่ายรถไฟฟ้าก่อสร้างแล้วเสร็จ และสามารถเชื่อมการเดินทางด้วยกันเป็นโครงข่ายที่สมบูรณ์ ทั้งรถไฟฟ้า รถโดยสารประจำทาง และเรือ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชน รวมทั้งสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งมวลชน

โดย สนข.ได้ลงนามความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคระหว่างกระทรวงการคลังและธนาคารพัฒนาแห่งเอเซีย (ADB) ซึ่งได้เริ่มดำเนินการไปแล้วตั้งแต่วันที่ 16 มิ.ย.ที่ผ่านมาถึงวันที่ 18 ก.พ.2552 มีระยะเวลา 9 เดือน โดยชัยสวัสดิ์ กิตติพรไพบูลย์ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า โครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงการคลัง กับ ADB เพื่อศึกษาและกำหนดนโยบายการดำเนินการตั๋วร่วม จัดทำเอกสารการประกวดราคาสำหรับผู้ที่จะมาดำเนินงานระบบตั๋วร่วม แผนปฏิบัติการ งบประมาณ โดยว่าจ้างกลุ่มบริษัท ซีอีซีไอ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จากประเทศไต้หวันศึกษา ใช้เวลาศึกษา 9 เดือน ทั้งนี้ ADB ได้สนับสนุนงบประมาณ 18 ล้านบาท สำหรับการดำเนินงานระบบตั๋วร่วมในส่วนของภาครัฐ

ด้านแผนการดำเนินงานตั๋วร่วมนั้น ระยะแรกภายในปี 2551-2552 จะเริ่มจากบีทีเอสและบีเอ็มซีแอล ระยะที่ 2 ปี 2552-2553 จะขยายระบบเพิ่มใช้กับโครงการแอร์พอร์ต เรล ลิ้งค์ และโครงการระบบรถเมล์ด่วนพิเศษสายแรก (บีอาร์ที) ระยะที่ 3 ปี 2553-2555 จะขยายระบบกับรถไฟฟ้าที่เปิดใหม่ เช่น สายสีม่วง รถบีอาร์ทีสายใหม่ เรือโดยสาร รถประจำทางและระยะสุดท้าย ปี 2555 เป็นต้นไป จะขยายระบบใช้กับระบบทางด่วนและผู้ประกอบการนอกภาคขนส่ง รวมถึงโครงการรถไฟฟ้าสายอื่นๆ ที่จะเปิดให้บริการ

ด้านสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการ สนข. กล่าวว่า การศึกษาของที่ปรึกษาจะต้องศึกษาข้อมูลระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯ ทั้งหมด เพื่อประเมินว่าจะใช้ระบบใดที่เป็นระบบกลางของบัตร การพิจารณามาตรฐานของบัตรที่จะนำมาใช้ รวมถึงเครื่องรูดบัตรจะต้องเป็นอย่างไร แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำตั๋วร่วมคือ การจัดตั้งบริษัทจัดแบ่งรายได้ หรือ Clearing House ว่าจะเป็นในรูปแบบใด จะให้ภาครัฐเป็นผู้ดำเนินการรับผิดชอบ หรือจะให้สัมปทานเอกชนมาดำเนินการจัดการ ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะต้องเป็นผู้จัดสรรรายได้ที่เกิดจากการใช้บัตรไปยังผู้ให้บริการอย่างถูกต้องและเหมาะสม หรือจะให้เอกชนดำเนินการซึ่งคงต้องหารือในรายละเอียดอีกครั้ง แต่ทั้งนี้ในต่างประเทศส่วนใหญ่จะให้ภาครัฐบริหาร เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นผู้ดูแลเรื่องดังกล่าว

นอกจากADBจะสนับสนุนเรื่องการศึกษาระบบตั๋วร่วมแล้วนี้ ADB ยังสนใจที่จะให้เงินกู้แก่รัฐบาลไทยเพื่อใช้ในการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ที่รัฐบาลจะดำเนินทั้งในปัจจุบันและอนาคต เช่น โครงการรถไฟทางคู่ ซึ่งจะเชื่อมต่อจากคุนหมิงของประเทศจีนและบ้านห้วยทราย ประเทศลาว เชื่อมต่อมายัง อ.เด่นชัย จ.แพร่ ต่อมายัง จ.เชียงราย และตรงมาบ้านภาชีหลังจากนั้นจะมีทางแยกไปยังด้านตะวันออก คือ ท่าเรือแหลมฉบัง และมาบตาพุด ส่วนด้านตะวันตกจะไปถึงสุพรรณบุรี กาญจนบุรี ทวาย ประเทศพม่า ด้านใต้จะไปถึงหัวหิน รวมถึงโครงการไฟฟ้าทั้ง 9 สาย ที่กำลังจะเกิดขึ้น หากรัฐบาลไทยสนใจทาง ADB ก็พร้อมจะพิจารณาอนุมัติเงินกู้โดยไม่จำกัดเงินกู้ และดอกเบี้ยต่ำสุด 1% และสูงสุดไม่เกิน 4% รวมถึงยังเป็นเงินกู้แบบผ่อนปรนอีกด้วย

ส่วนความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชน ผู้อำนวยการ สนข.กล่าวว่า ในส่วนของสายสีแดง(ช่วงบางซื่อ-รังสิต)ผ่านรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้ว และคาดว่าจะประกวดราคาได้ในเดือนต.ค.นี้ ส่วนสายสีน้ำเงิน( หัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ) ทางคณะรัฐมนตรี(ครม.)รับหลักการและอนุมัติก่อสร้างแล้ว ปัจจุบันการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อยู่ระหว่างการทำกรอบวงเงินใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพราคาวัสดุที่ปรับตัวสูงขึ้นหลังจากนั้นจะเสนอเข้าไปที่ครม.อีกครั้ง สายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่) อยู่ระหว่างการหาแหล่งเงินทุน ซึ่งหากได้แหล่งเงินกู้ทางรฟม.จะเสนอเรื่องไปยังครม.เพื่อรับทราบต่อไป ส่วนสายสีชมพู สายสีเหลือง และสายสีน้ำตาล นั้นอยู่ระหว่างการพิจารณาร่างความเหมาะสม ซึ่งคาดว่าน่าจะมีการประชุมรับฟังความเห็นจากประชาชนครั้งที่ 3 ในเดือน ก.ค.นี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 01/07/2008 1:07 pm    Post subject: Reply with quote

รถเมล์เข้าเชียงใหม่หาย 40%-ทุนขนส่งจี้รื้อระบบรางหนีวิกฤต

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 30 มิถุนายน 2551 11:23 น.



กลุ่มรถโดยสาร เป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่ต้องปรับตัวขนานใหญ่จาก ปัญหาน้ำมันแพง ซึ่งรวมทั้ง เมล์เขียวของบริษัท ชัยพัฒนาขนส่ง จำกัด ผู้ให้บริการรถโดยสารยักษ์ใหญ่ของภาคเหนือด้วย


ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ – กลุ่มทุนรถโดยสารภาคเหนือหมดทางดิ้นหนีน้ำมันแพง จำต้องจอดรถทิ้งไว้รอวันปิดกิจการกันระนาว ชี้เฉพาะรถระหว่างจังหวัดที่วิ่งเข้าเชียงใหม่ จอดทิ้งกันแล้ว 30-40% - ปิดกิจการไปแล้ว 3-4 ราย ยักษ์เมล์เขียวชี้ระยะยาวยังไร้ทางแก้ที่ชัดเจน ระบุแผนใช้ NGV ยังง่อนแง่น / ปตท.ไม่แน่นอน ด้านสมาพันธ์ขนส่งฯจี้รัฐรื้อแผนรถไฟ เจียดงบทำรางเชื่อม 3 หัวเมือง ลดคนใช้ถนน 40% - ประหยัดต้นทุนLogistic

นายสมชาย ทองคำคูน กรรมการผู้จัดการบริษัทชัยพัฒนาขนส่ง จำกัด ผู้ให้บริการรถโดยสารยักษ์ใหญ่ของภาคเหนือ (เมล์เขียว-Green Bus) อุปนายกภาคเหนือ ผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทางแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า จนถึงขณะนี้ยังบอกกันไม่ได้เหมือนกันว่า กลุ่มทุนขนส่งจะทำกันอย่างไรถึงจะอยู่รอด ขณะที่ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติในระดับใด

เบื้องต้นต้องประคองตัวให้ได้ ประหยัดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมความเร็วของรถให้อยู่ในระดับที่ประหยัดน้ำมันที่สุด – ลดเวลาติดเครื่องรอผู้โดยสารในสถานี – ยืดระยะเวลาระหว่างเที่ยววิ่งให้ยาวขึ้น ฯลฯ แล้วนำเม็ดเงินที่ได้จากการประหยัดค่าใช้จ่ายในสัดส่วน 25% มาตั้งเป็นรางวัลจูงใจให้พนักงานแทน

นายสมชาย บอกอีกว่า ในส่วนของบริษัทมีรถอยู่ 100 กว่าคัน รถร่วมอีก 400 กว่าคัน นอกจากจะใช้วิธีข้างต้นแล้ว ก็ให้รถบางคันทดลองใช้น้ำมัน B5 ที่ ปตท.ทำออกมา เบื้องต้นลดต้นทุนได้ประมาณ 70 สตางค์ – 1 บาท แต่ก็กำลังดูประสิทธิภาพของเครื่องยนต์อยู่ว่า ได้รับผลกระทบอย่างไรหรือไม่ พร้อมกับเริ่มทยอยเปลี่ยนรถใหม่เข้ามาให้บริการ โดยสั่งซื้อจากสาธารณรัฐประชาชนจีน เพราะการใช้รถใหม่ สามารถลดต้นทุนทั้งค่าน้ำมันเชื้อเพลิง – ค่าซ่อมบำรุง ได้ประมาณ 10-15%

ส่วนแนวทางการเปลี่ยนเครื่องยนต์ เพื่อหันไปใช้ NGV ณ วันนี้ นอกจากจะต้องใช้ต้นทุนสูงถึง 1 ล้านบาท/คัน ถ้า 100 คัน ก็ตก 100 ล้านบาทแล้ว ปัญหาสำคัญก็คือ ปตท.ยังไม่สามารถให้ความมั่นใจได้ว่า จะสามารถส่งก๊าซได้ทันต่อความต้องการหรือไม่ เพราะเท่าที่มีอยู่ในขณะนี้ก็ไม่พอต่อความต้องการผู้บริโภคอยู่แล้ว ซึ่งรถโดยสารไม่สามารถที่จะรอเติมก๊าซได้นานแน่นอน ดังนั้น แนวทางนี้จะต้องรอจนกว่า ปตท.จะให้ความมั่นใจได้ว่า สามารถส่งก๊าซเพียงพอ และทันต่อความต้องการได้เท่านั้น

“ตอนนี้ในส่วนของบริษัทอาจจะยังพอยื้อได้ เพื่อรอแนวทางแก้ไขในระยะยาวที่มั่นใจได้ แต่ในส่วนของรถร่วม ที่เข้ามาวิ่งกับเรา หลายรายต้องจอดรถทิ้งไว้รอวันปิดกิจการ และมีประมาณ 3-4 รายแล้ว ที่แจ้งขอเลิกกิจการ เพราะทนขาดทุนไม่ไหว”

นายสมชาย ยังบอกอีกว่า และจากการพูดคุยกับนายสถานีขนส่งเชียงใหม่ ทราบว่า ปัญหาการขาดทุนของผู้ประกอบการรถโดยสารในภาคเหนือเริ่มขยายวงมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยดูได้จากปริมาณรถโดยสารที่วิ่งเข้า-ออก สถานีเชียงใหม่ ขณะนี้พบว่า มีรถโดยสารหายไปแล้วมากถึง 40% เพราะผู้ประกอบการต้องจอดรถทิ้งไว้ ซึ่งแน่นอนว่าบางส่วนคงปิดกิจการไปแล้ว

ด้านนายยู เจียรยืนยงพงษ์ ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารสมาคมขนส่งทางบก เปิดเผยว่า การขนส่งเมืองไทยยังจำเป็นต้องใช้รถอยู่ แต่ภายใต้วิกฤตน้ำมันแพงที่ไม่มีทีท่าว่าจะยุติเมื่อใด หรือเท่าไหร่ ประเทศไทยจำเป็นต้องหันมาพัฒนาระบบรางมาสนับสนุน เพื่อลดต้นทุนลอจิสติกส์ให้ได้

แม้ว่าเมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะรัฐมนตรี จะมีมติให้พัฒนาการขนส่งระบบรางทั่วประเทศ 3 แสนล้านบาท โดยส่วนตัวเห็นว่า เป็นไปไม่ได้ภายใต้โครงสร้างของการรถไฟฯที่เป็นอยู่ขณะนี้

นายยู กล่าวอีกว่า ที่จริงแล้วรัฐบาลไม่จำเป็นต้องใช้งบสูงถึง 3 แสนล้านบาท เพื่อพัฒนาการขนส่งระบบรางครอบคลุมทั่วประเทศ แต่น่าจะปรับแผนหันมาพัฒนาระบบรางเชื่อมเพียงหัวเมือง 3 เส้นทางหลัก คือ

1. กรุงเทพฯ – นครสวรรค์ (245 กม. ถ้าแค่หนองปลิง หรือ 250 กม. ถ้าข้ามคลองบรเพ็ดไปโรงรถจักรปากน้ำโพ)
2. กรุงเทพฯ-นครราชสีมา (264 กม. ถ้าแค่แถวตลาดหัวรถไฟ หรือ 266 กม. ถ้าไปถึงถนนจิระ)
3. กรุงเทพฯ – เพชรบุรี (166 กม.) แต่จะให้เด็ดดวงจริงๆ ต้องกรุงเทพ - หัวหิน (229 กม.)

ซึ่งแต่ละเส้นทางมีระยะเพียง 150 กิโลเมตร(กม.) โดยให้รถไฟในช่วงนี้วิ่งได้ด้วยความเร็ว 160-200 กม./ชม. ซึ่งเมื่อสินค้าที่ขนส่งมาทางรถจากภูมิภาคต่าง ๆ เข้ามาถึงทั้ง 3 จังหวัดก็เปลี่ยนมาใช้รถไฟได้ จะช่วยลดปริมาณการใช้รถ-ใช้ถนนเข้ากรุงเทพฯ ได้ไม่น้อยกว่า 40%

//-----------------------------------------------------------------
Back to top
View user's profile Send private message
BanPong1
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 07/12/2006
Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี

PostPosted: 01/07/2008 5:51 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:

ด้านนายยู เจียรยืนยงพงษ์ ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารสมาคมขนส่งทางบก เปิดเผยว่า การขนส่งเมืองไทยยังจำเป็นต้องใช้รถอยู่ แต่ภายใต้วิกฤตน้ำมันแพงที่ไม่มีทีท่าว่าจะยุติเมื่อใด หรือเท่าไหร่ ประเทศไทยจำเป็นต้องหันมาพัฒนาระบบรางมาสนับสนุน เพื่อลดต้นทุนลอจิสติกส์ให้ได้

แม้ว่าเมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะรัฐมนตรี จะมีมติให้พัฒนาการขนส่งระบบรางทั่วประเทศ 3 แสนล้านบาท โดยส่วนตัวเห็นว่า เป็นไปไม่ได้ภายใต้โครงสร้างของการรถไฟฯที่เป็นอยู่ขณะนี้

นายยู กล่าวอีกว่า ที่จริงแล้วรัฐบาลไม่จำเป็นต้องใช้งบสูงถึง 3 แสนล้านบาท เพื่อพัฒนาการขนส่งระบบรางครอบคลุมทั่วประเทศ แต่น่าจะปรับแผนหันมาพัฒนาระบบรางเชื่อมเพียงหัวเมือง 3 เส้นทางหลัก คือ

1. กรุงเทพฯ – นครสวรรค์ (245 กม. ถ้าแค่หนองปลิง หรือ 250 กม. ถ้าข้ามคลองบรเพ็ดไปโรงรถจักรปากน้ำโพ)
2. กรุงเทพฯ-นครราชสีมา (264 กม. ถ้าแค่แถวตลาดหัวรถไฟ หรือ 266 กม. ถ้าไปถึงถนนจิระ)
3. กรุงเทพฯ – เพชรบุรี (166 กม.) แต่จะให้เด็ดดวงจริงๆ ต้องกรุงเทพ - หัวหิน (229 กม.)

ซึ่งแต่ละเส้นทางมีระยะเพียง 150 กิโลเมตร(กม.) โดยให้รถไฟในช่วงนี้วิ่งได้ด้วยความเร็ว 160-200 กม./ชม. ซึ่งเมื่อสินค้าที่ขนส่งมาทางรถจากภูมิภาคต่าง ๆ เข้ามาถึงทั้ง 3 จังหวัดก็เปลี่ยนมาใช้รถไฟได้ จะช่วยลดปริมาณการใช้รถ-ใช้ถนนเข้ากรุงเทพฯ ได้ไม่น้อยกว่า 40%

//-----------------------------------------------------------------


ถ้าภาคขนส่งทางบกเอกชน (จริงๆในที่นี้คือระบบรถยนต์) มีความเห็นอย่างนี้
และเข้าใจเรื่อง Multi mode transportation อย่างครบองค์รวม
ก็น่าจะส่งเสียงให้ดังกว่านี้ครับ และอยากเห็นเป็นรูปธรรมด้วยครับ
ขอปรบมือให้ และเชียร์ครับ
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 03/07/2008 11:51 am    Post subject: Reply with quote

BanPong1 wrote:
ถ้าภาคขนส่งทางบกเอกชน (จริงๆในที่นี้คือระบบรถยนต์) มีความเห็นอย่างนี้
และเข้าใจเรื่อง Multi mode transportation อย่างครบองค์รวม
ก็น่าจะส่งเสียงให้ดังกว่านี้ครับ และอยากเห็นเป็นรูปธรรมด้วยครับ
ขอปรบมือให้ และเชียร์ครับ


ประเด็นเรื่องนี้ มีสองสามแนวครับพี่ บ้านโป่ง1

แนวแรก ใช้การบริหารรถเที่ยวเปล่า
จากกลุ่มเส้นทางเป้าหมาย เช่น อิสานเหนือ จาก ขอนแก่น โคราช อยุธยา ปทุมธานี ท่าเรือกรุงเทพ ไอซีดี และท่าเรือแหลมฉบัง เส้นทางนี้ จะรวมไปถึงการส่งเข้าไปที่สปล สองเส้นทาง ที่หนองคาย และมุกดาหาร
(เส้นนี้มีผู้ให้บริการหลายคน บ่นๆ กันตามประสาว่า เสียเวลาการขนถ่ายระหว่างรถข้ามแดน+ค่าใช้จ่ายที่ไม่ควรจะเสีย อย่างนึง กฎระเบียบระหว่างประเทศ ที่ต้องรอเวลาทำการของราชการ ทั้งสองประเทศจนกว่า กรณีนี้จะบรรเทาลงบรรดาข้อตกลง ทั้งหลายผ่านเป็นกฎหมาย สู่ภาคปฎิบัติ คงราว ๆ อีกสองสามปี เป็นอย่างเร็ว อะครับ)

โต้โผ คือหอการค้าของแก่น กับ กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับผู้ประกอบการขนส่งและ บ.ไปรษณีย์ไทย

ปัญหา คือ 1.การจัดการในสินค้าเกษตร สินค้าอุตสาหกรรม และพลังงาน กับรถที่ใช้แต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม ไม่ค่อยลงตัว ประเด็นนึง
2. กลุ่มสินค้าเกษตร จะใช้บริการเป็นฤดูกาล แต่สินค้าอุตสาหกรรมจะมีตลอดเวลา
3.ส่วนของใหม่คือ สินค้าเกษตรที่เป็นพลังงานทดแทน กับการใช้รถบรรทุกที่มีถังประจำและของที่บรรจุไม่สามารถนำไปใช้ร่วมกับอย่างอื่น ๆได้

เรื่องนี้มีรายละเอียดอีกเยอะแยะครับ ขอกล่าวโดยรวม ๆ ไว้ก่อน
---------------------------------------------------------
กลุ่มที่สอง คือ อย่างที่คุณยูแกกล่าวคือ เอาระรบบ Multimodal Transport แต่ข้ออุปสรรค อยู่ที่ระบบรางที่ไม่ตอบรับได้เต็มที่ จากปัญหา ความจุของทาง รถจักร ล้อเล่น เอ็ยล้อเลื่อนที่ไม่เพียงพอ ที่ต้องพิจารณา คือการให้จุดร่วมระหว่างระบบถนนกับรางเชื่อมด้วยกันและการลงทุนสร้าง ศูนย์กระจายสินค้า ใครจะเป็นเจ้าภาพ เพราะหลาย ๆอย่างสร้างไปแล้ว กล่าวโดยรวม ๆ ว่า การจัดการตั้งแต่ ใครจะเป็นเจ้าภาพ และการบริหารงบประมาณ และการใช้งาน ที่ศึกษาและลงมือทำไปแล้ว ที่ไม่คืบหน้า ควรจะเอามาพิจารณา ปัจจัยต่าง ๆด้วยครับ
-----------------------------------------------------------------
ส่วนกลุ่มที่สาม คือ การสร้างรถที่ใช้งานร่วม ในระบบถนนและระบบราง ประเด็นนี้ถ้ามอง ๆ ข้อจำกัด จากที่กรมการขนส่งทางบก และการรถไฟต้องพิจารณาทั้งความยาว นำ้หนักลงเพลา และโครงสร้างการบรรทุกของระบบราง ที่เหมาะสมอยู่ที่ไหน และกฎระเบียบรถดังกล่าว เดี๋ยวไปติดปัญหาข้อกฎหมาย ตามกฎหมายอื่นๆ หรือไม่ เพราะปัญหา การใช้ตู้ ไฮคิว ในปัจจุบัน ยังปลดล็อกปัญหานี้ ไม่จบครับ
-----------------------------------------------------------

เฮ้อ พิมพ์ซะเมื่อยมือ ขอเวลาไปนวด.... สักแป็บ อ่าครับ
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 08/07/2008 10:24 am    Post subject: Reply with quote

ลูกกรอกอัดงบสร้างรถไฟฟ้าเพิ่ม 7.7 แสนล.อ้างต้นทุนวัสดุก่อสร้างพุ่ง
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 8 กรกฎาคม 2551 08:31 น.



รมว.คมนาคม เตรียมประเมินกรอบวงเงินสร้างรถไฟฟ้าใหม่ โดยจะเพิ่มจาก 5 แสนล้าน เป็น 7.7 แสนล้าน ระบุ ต้นทุนยังไม่นิ่ง ราคาวัสดุพุ่งไม่หยุด

วันนี้ (7 ก.ค.) มีรายงานข่าวแจ้งว่า กระทรวงคมนาคม แสดงความเป็นห่วงกรอบวงเงินโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทุกเส้นทาง ยังไม่นิ่ง จากผลกระทบต้นทุนพุ่งไม่หยุด เตรียมทบทวนกรอบวงเงินโครงการรถไฟฟ้าทุกเส้นทางจาก 7.7 แสนล้านบาท ซึ่งมีแนวโน้มปรับเพิ่มสูงขึ้น หลังจากเห็นกรอบวงเงินโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต ที่ปรับขึ้นมาเป็น 7.7 หมื่นล้านบาท จากเดิมที่คาดไว้ที่ 5.9 หมื่นล้านบาท และยังอาจพุ่งต่อไปอีก

นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.คมนาคม กล่าวว่า จะมีการประเมินกรอบวงเงินรวมโครงการรถไฟฟ้าที่ 7.7 แสนล้านบาท อีกครั้ง ว่า จะต้องปรับเพิ่มหรือไม่ แต่คาดว่าในปีนี้คงจะยังอยู่ภายใต้กรอบ 2 แสนล้านบาท แต่ในปี 2552 คงจะเห็นชัดเจนว่ากรอบวงเงินทั้งหมดจะปรับไปอย่างไร เพราะต้องใช้เงินลงทุนสูงถึง 5 แสนล้านบาท และมีปัจจัยราคาเหล็กที่อาจปรับลดลง หลังจากความต้องการในจีนลดลง

“กรอบวงเงินที่เพิ่มขึ้นเราต้องชี้แจงต่อสาธารณชนได้ว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร ส่วนโครงการอื่นๆ เช่น สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค ซึ่งมีแนวโน้มว่ากรอบวงเงินจะต้องเพิ่มขึ้น ก็จะให้ปรับปรุงกรอบวงเงินให้ตรงกับความเป็นจริง แต่จะชี้แจงรายละเอียดให้โปร่งใส และยืนยันว่าจะไม่มีการปรับลดเนื้องาน หรือระยะทางของโครงการรถไฟฟ้า เพราะถือว่าโครงข่ายเดิมดีอยู่แล้ว” นายสันติ กล่าวภายหลังการหารือร่วมกับผู้แทนจากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น(เจบิก)

ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต ที่ปรับเพิ่มวงเงินก่อสร้างเป็น 7.7 หมื่นล้านบาทนั้น เป็นเพราะมีการปรับเพิ่มเนื้องานด้วยการเพิ่มขนาดของสถานีรถไฟฟ้าบางซื่อ และผลกระทบจากราคาวัสดุก่อสร้างที่สูงขึ้น ซึ่งได้มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จัดทำรายละเอียดแจกแจง

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าที่จะใช้เงินกู้จากเจบิก คือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ กรอบวงเงิน 3.6 หมื่นล้านบาท โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต กรอบวงเงิน 7.7 หมื่นล้านบาท โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน กรอบวงเงินประมาณ 5 หมื่นล้านบาท

ขณะที่โครงการที่เหลือจะใช้เงินกู้ในประเทศ เช่น โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน ช่วง แบริ่ง-สมุทรปราการ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 10/07/2008 9:57 am    Post subject: Reply with quote

กมธ.เร่งคมนาคมเดินหน้าเมกะโปรเจ็กต์

ไทยโพสต์ 10 กรกฎาคม 2551 กองบรรณาธิการ

กรรมาธิการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎรจี้คมนาคมสร้างรถไฟทางคู่ รถไฟฟ้า 9 สายทาง "สันติ" หวั่นปัญหาการเมืองลาท นักลงทุนต่างชาติญี่ปุ่นไม่กล้าเข้า ยันเดินหน้าเมกะโปรเจ็กต์ต่อ


ด้านกรมทางหลวงชนบทดันถนนปลอดฝุ่น 7,000 กิโลเมตร วงเงิน 3.4 หมื่นล้านบาท

นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.คมนาคม กล่าวภายหลังคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร ตรวจเยี่ยมเพื่อวางกรอบแนวทางการพัฒนาและภารกิจสำคัญของกระทรวงคมนาคม ว่า คณะกรรมาธิการฯ ได้ให้ความสนใจเรื่องการก่อสร้างรถไฟรางคู่ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และขนาดของรางรถไฟที่จะมีการขยายจาก 1 เมตร เป็น 1.45 เมตร พร้อมเร่งรัดให้มีการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าทั้ง 9 สายทาง รวมถึงการนำระบบรถรับส่งประชาชนจากที่อยู่อาศัยไปยังสถานีรถไฟฟ้า (Feeder) ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจประชาชนจอดรถไว้ที่บ้านและใช้บริการดังกล่าว ซึ่งจะช่วยประหยัดเงินได้ประมาณ 10,000 บาท ต่อรถ 1 คันต่อเดือน

นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมมีแนวคิดจะดึงนักลงทุนจากต่างชาติเข้ามาลงทุนก่อตั้งโรงงานประกอบรถไฟฟ้าในไทย ซึ่งเร็วๆ นี้จะหารือร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมทั้งเชิญชวนผู้สนใจเข้ามาลงทุนในไทย ซึ่งจะทำให้ระบบตัวรถไฟฟ้าถูกกว่าการนำเข้า

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีนักลงทุนจากญี่ปุ่นหลายรายให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในระบบสาธารณูปโภคของไทย แต่ยอมรับว่าหากสถานการณ์ทางการเมืองของไทยยังอ่อนไหวอยู่ อาจเป็นตัวแปรสำคัญต่อการตัดสินใจชะลอการลงทุนได้ แต่อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าโครงการเมกะโปรเจ็กต์อย่างการก่อสร้างรถไฟฟ้ายังคงเดินหน้าต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมาธิการฯ ให้ความสนใจเกี่ยวกับโครงการลาดยางถนนของกรมทางหลวงชนบท (ทช.) มีระยะทางประมาณ 7,000 กิโลเมตร ใช้งบประมาณก่อสร้าง 33,942 ล้านบาท พร้อมทั้งให้กระทรวงคมนาคมเร่งดำเนินโครงการอย่างเร่งด่วน โดย ทช.กำลังพิจารณาหาแหล่งเงินกู้ในประเทศ คาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้

สำหรับผู้รับเหมาที่จะเข้ามารับงานน่าจะมีไม่ต่ำกว่า 500 ราย โดยลักษณะงานก่อสร้างจะเป็นแบบถนน 2 เลน คาดว่าภายในเดือน ก.ค.นี้ จะเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อรับทราบต่อไป ซึ่งภายหลังกระทรวงและ ครม.เห็นชอบ สามารถดำเนินโครงการได้ทันที คาดว่าจะแล้วเสร็จในกลางปี 2553.
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 278, 279, 280  Next
Page 5 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©