RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179761
ทั้งหมด:13490993
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - โครงการทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

โครงการทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย
Goto page Previous  1, 2, 3, 4 ... 76, 77, 78  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 29/07/2008 6:26 pm    Post subject: Reply with quote

รัฐ/เอกชนลุ้นรถไฟเด่นชัย-ชร./คสศ.-10 หอฯเหนือนัดถกต่อศุกร์นี้

ผู้จัดการออนไลน์ 25 กรกฏาคม 2008 เวลา 00:28:27


รัฐ/เอกชนเมืองพ่อขุนฯ เร่งหาช่องดัน “เส้นทางรถไฟในฝันเด่นชัย-เชียงราย” ที่มีแนวคิดกันมาตั้งแต่ปี 2503 เสนอยกระดับเป็นหนึ่งใน “ยุทธศาสตร์จังหวัด” รองรับสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ พร้อมเสนอโปรเจกต์เฟส 2 เชื่อมทางรถไฟถึงท่าเรือเชียงแสน 2 และแม่สายต่อในอนาคต คสศ.-หอฯ 10 จังหวัดเหนือ นัดประชุมตามความคืบหน้า Logistic ไทย พม่า ลาว จีน พร้อมวางแผนพัฒนาผู้ประกอบการไทย-จัดผังท่องเที่ยวรับ “Visit GMS Year 2009-2010” ศุกร์นี้ (25 ก.ค.)

รายงานข่าวจากจังหวัดเชียงราย แจ้งว่า นายวรชัย อุตตมชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ร่วมกับนายถาวร เหรียญตระกูลชัย ขนส่งจังหวัดเชียงราย,นายภิญโญ จันทรมหา ผู้แทนผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย,นายพัฒนา สิทธิสมบัติ ประธานหอการค้า จ.เชียงราย และประธานคณะกรรมการเพื่อโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ (คสศ.) หอการค้า 10 จังหวัดภาคเหนือ,นายเจริญชัย แย้มแขไข ประธานสภาอุตสาหกรรม จ.เชียงราย,นายอนุรัตน์ อินทร รองนายกเทศมนตรีเทศบาลนครเชียงราย,ผู้แทน ม.แม่ฟ้าหลวง,ผู้แทน ม.ราชภัฏเชียงราย ในฐานะคณะอนุกรรมการพัฒนาเส้นทางรถไฟ เด่นชัย-เชียงราย ได้ประชุมร่วมกัน ณ ห้องประชุม 2 ศาลากลางจังหวัดเชียงราย เมื่อเร็วๆนี้

ในที่ประชุม ได้หยิบยกมติที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบขนส่งทางราง และระบบขนส่งมวลชน ครั้งที่ 2/2551 เมื่อ 1 พ.ค.2551 ขึ้นมาหารือ เพื่อหาแนวทางผลักดันให้เกิดการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมต่อไป ซึ่งมติดังกล่าวได้เห็นชอบแนวทางการพัฒนาโครงการรถไฟขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร (Standard Gauge) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งในภูมิภาค และเชื่อมโยงเส้นทางการค้ากับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาค โดยมอบหมายให้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และกระทรวงคมนาคม พิจารณาแนวทาง การเปิดโอกาสให้เอกชนเข้าร่วมพัฒนาระบบรถไฟขนาดรางมาตรฐานในเขตทางของ รฟท. 4 เส้นทาง

ประกอบด้วย 1.สายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-กาญจนบุรี เพื่อเตรียมเชื่อมกับชายฝั่งทะเลตะวันตก(หนองคาย-ขอนแก่น-นครราชสีมา-มาบกะเบา-บ้านภาชี-สุพรรณบุรี-กาญจนบุรี-ชายแดนสหภาพพม่า เพื่อเชื่อมโยงท่าเรือทวาย [งานนี้ พี่ท่านจะเล่น ทำทางสายสุพรรณบุรี - บ้านภาชีแทน สายสุพรณบุรี - บ้านป่าหวาย แน่ๆ]

2.สายเหนือ (เชียงของ-เชียงราย-เด่นชัย-บ้านภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา) โดยการเชื่อมโยงกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ควรพิจารณาเชื่อมโยงจากมณฑลหยุนหนัน (ยูนนาน) และเส้นทางจากเวียดนาม-มณฑลกว่างสี

3.สายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ชุมทางจิระ-อุบลราชธานี) เพื่อเตรียมเชื่อมต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

4.สายภาคตะวันออก (แก่งคอย-แหลมฉบัง) เพื่อเข้าสู่พื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก

การประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 พ.ค.2551 ได้มีมติรับทราบและอนุมัติตามมติคณะกรรมการพัฒนาระบบขนส่งทางรางและระบบขนส่งมวลชนครั้งที่ 2/2551 รวมระยะทาง 2,344 กิโลเมตร(กม.) ประมาณการค่าก่อสร้างรวม 4 สาย ไว้ประมาณ 300,000 ล้านบาท จึงต้องว่าจ้างที่ปรึกษามาจัดทำรายงานและวิเคราะห์ผลการศึกษาอย่างละเอียด เนื่องจากเป็นนโยบายเร่งด่วนและสำคัญของรัฐบาล ในการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถการขนส่งทางราง ซึ่ง รฟท.ได้ตั้งงบประมาณเพื่อการศึกษานี้ไว้ และสามารถศึกษาได้ในงบประมาณปี 2552 จึงเห็นควรเสนอแปรญัตติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2552 เพิ่มเติม ต่อสำนักงบประมาณ เพื่อศึกษาดังกล่าวในวงเงิน 300,000,000 บาท





ในส่วนของจังหวัดเชียงราย เคยมีการศึกษาเส้นทางที่จะเชื่อมรถไฟจาก อ.เด่นชัย จ.แพร่ -จ.พะเยา-จ.เชียงราย ตั้งแต่ปี 2503 แต่เนื่องจากในอดีตรัฐบาลหลายชุดไม่ได้หยิบยกขึ้นมาพิจารณา เนื่องจากคิดว่าไม่คุ้มทุน กระทั่งปี 2539-2541 การรถไฟฯ ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาสำรวจออกแบบรายละเอียดด้านวิศวกรรม และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมว่าเส้นทางนี้มีระยะราว 246 กม.

ที่ประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาเส้นทางรถไฟ เด่นชัย-เชียงราย เห็นควรว่า รัฐบาลควรเร่งสร้างทางรถไฟสายนี้ เนื่องจากทราบว่า นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้ไปหารือกับจีนแล้ว ปรากฏ ว่า รัฐบาล - เอกชนจีนสนใจที่จะมีการทำเส้นทางรถไฟจากจีนตอนใต้ ผ่าน สปป.ลาว ด้วยรางมาตรฐานเข้ามาเชื่อม เนื่องจากการขนส่งทางรางในอนาคตจะประหยัดเชื้อเพลิงกว่าใช้รถยนต์ โดยน่าจะเป็นรถไฟที่แล่นเร็ว

สำหรับ จังหวัดเชียงราย เห็นว่า เส้นทางรถไฟที่ผ่านจาก อ.เด่นชัย จ.แพร่ มา อ.เมืองเชียงราย แล้วน่าจะสร้างต่อในเฟส 2 เพื่อไปที่ อ.เชียงของ ชายแดนไทย-ลาว เพื่อรับกับถนน R3a และเส้นทางรถไฟจากจีนหากจะมีขึ้น และในที่ประชุมอยากให้นำเสนอว่าหากเป็นไปได้ควรทำทางแยกจาก บริเวณก่อนถึง อ.เชียงของ ไปจ่อที่ชายแดน อ.เชียงแสน เพื่อรับกับท่าเรือเชียงแสน 2 ที่กำลังจะก่อสร้างด้วย

อย่างไรก็ตาม หากอนาคตประเทศสหภาพพม่า มีความพร้อม ก็อาจจะมีการนำเสนอเส้นทางรถไฟจาก อ.เมือง ไป อ.แม่สาย อีกเส้นทาง ซึ่งเส้นทางรถไฟสายนี้เน้นการขนส่งสินค้า และได้ประโยชน์ทางอ้อมด้านการท่องเที่ยวอีกทางหนึ่ง

นายพัฒนา สิทธิสมบัติ ประธานหอการค้า จ.เชียงราย และประธานคณะกรรมการเพื่อโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ (คสศ.) หอการค้า 10 จังหวัดภาคเหนือ กล่าวว่า ชาวเชียงรายต้องการให้มีรถไฟแล่นมาถึงจังหวัดเชียงราย มานานแล้ว และเป็นที่ทราบกันดีว่ามีการเรียกร้องกันมาตลอด หากรัฐบาลมีแนวทางว่าจะสร้างทางรถไฟ เนื่องจาก ต้นทุนค่าน้ำมันดีเซลที่แพงขึ้น และประเทศจีนให้การสนับสนุน ก็เป็นนิมิตรหมายที่ดีว่าเส้นทางรถไฟสายนี้จะเกิดขึ้นได้

ทั้งนี้ ต้องการให้จังหวัดเชียงราย กำหนดให้รถไฟ เป็นยุทธศาสตร์จังหวัด เพื่อให้การผลักดันมีน้ำหนัก และต่อเนื่อง โดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และในกลุ่มคณะกรรมการเพื่อโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ (คสศ.) หอการค้า 10 จังหวัดภาคเหนือ และกลุ่มจังหวัดล้านนาตะวันออก ก็จะได้เข้ามาร่วมมือกันผลักดันอย่างเป็นรูปธรรม เพราะทุกฝ่ายจะได้ประโยชน์ และจะติดตามอย่างใกล้ชิดตั้งแต่นี้ไปว่า รัฐบาลพิจารณาในการอนุติงบประมาณมาเพื่อศึกษาอย่างไรต่อไปด้วย

นายพัฒนา กล่าวอีกว่า และในวันที่ 25 ก.ค.51 นี้ คสศ.-หอการค้า 10 จังหวัดภาคเหนือ ก็มีกำหนดที่จะหารือกันที่จังหวัดพะเยา เพื่อติดตามความคืบหน้าการพัฒนาโครงข่ายคมนาคม และ logistics ภาคเหนือ ความคืบหน้าการพัฒนาด่านการค้าชายแดนในเขตภาคเหนือ ความคืบหน้าการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดเชียงราย และจังหวัดตาก

นอกจากนี้ยังจะมีการหารือถึงแนวทางกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเหนือ เพื่อรองรับโครงข่ายคมนาคมจากประเทศภาคีสมาชิกสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ และรองรับยุทธศาสตร์ใหม่ Economic Corridor Forum

ศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของ 10 จังหวัดภาคเหนือ และการจัดทำแผนการตลาดเพื่อสนับสนุน Visit GMS Year 2009 – 2010 เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
ChiangRai
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 01/04/2008
Posts: 96
Location: เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผนดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง

PostPosted: 31/07/2008 2:46 pm    Post subject: Reply with quote

ผมขอขอบคุณทุกท่านมากนะครับ
ที่ช่วยหาข่าว,หรือความคืบหน้า่มาให้อ่านกันนะครับ
_________________
Click on the image for full size
*-*Welcome To ChiangRai Railway Station*-*
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 26/09/2008 10:24 am    Post subject: Reply with quote

หอฯเหนือถกแผนรับมือคุนหมิง-กรุงเทพฯหวั่นไทยเป็นทางผ่าน

โดย ผู้จัดการรายวัน 25 กันยายน 2551 22:51 น.


เชียงราย - หอการค้าภาคเหนือ เสนอผ่านหอฯไทย เร่งผลักดันรัฐบาลพัฒนาเส้นทางคมนาคม ทั้งถนน-ทางรถไฟรองรับยุทธศาสตร์คุนหมิง-กรุงเทพฯ ของจีน ที่กำลังเร่งมือเต็มที่ หวั่นแผนพัฒนาไทยล่าช้าไม่ทันกิน จนกลายเป็นแค่ทางผ่านสินค้าจีนเท่านั้น

ในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคเหนือ ณ โรงแรมเวียงอินทร์ จ.เชียงราย เมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยมีนายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานหอการค้าไทย ,นายพัฒนา สิทธิสมบัติ ประธานหอการค้า จ.เชียงราย-ประธานคณะกรรมการเพื่อโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ (คสศ.) หอการค้า 10 จังหวัดภาคเหนือ และหอการค้าในภาคเหนือ เช่น จ.เชียงราย-เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน-ลำพูน-ลำปาง-พะเยา-แพร่-น่าน-อุตรดิตถ์-ตาก ฯลฯ และผู้แทนจากภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมราว 80 คน

ที่ประชุมได้มีการหารือกันถึงกรณีที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้กำหนดยุทธศาสตร์ คุนหมิง-กรุงเทพฯ ขึ้น มีการเร่งรัด ส่งเสริมการเดินทางทางบกจากนครคุนหมิง มาถึง กทม.ประเทศไทย โดยขณะนี้เส้นทางที่เป็นรูปธรรมมากที่สุดคือการที่จีน ส่งเสริมให้มีการสร้างถนนสาย R3a จากจีนตอนใต้ ผ่าน สปป.ลาว มาที่ เมืองห้วยทราย ตรงข้าม อ.เชียงของ เพื่อที่จะข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว มาที่ จ.เชียงราย เพื่อต่อไปยังภาคกลางของไทย

หอการค้าในภาคเหนือเชื่อว่า ประเทศจีนจะมีการขนส่งสินค้านานาชนิดมาตามเส้นทางนี้ จึงเป็นห่วงเรื่องถนนในประเทศไทย ตั้งแต่ อ.เชียงของ - จ.เชียงราย และถนนเลี่ยงเมืองเชียงราย ที่มีโครงการแล้ว แต่เกรงจะก่อสร้างเสร็จไม่ทันการก้าวเข้ามาของจีน อยากให้มีการเร่งรัดการก่อสร้าง เพราะเชื่อว่าในอนาคตจะมีรถบรรทุกแล่นผ่าน

ส่วนหอการค้ากว่า 5 จังหวัด ในเส้นทางคมนาคมสายเก่าของภาคเหนือ คือ สายพะเยา-แพร่-อุตรดิตถ์-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ อยากให้มีการพัฒนาเส้นทางถนนสายนี้ด้วยจาก 2 ช่องจราจรเป็น 4 ช่องจราจร เพื่อที่จะให้เท่าเทียมกับเส้นทางถนนสายใหม่ จากจังหวัดเชียงราย -จ.พะเยา-ลำปาง สู่ จ.ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์-กทม. เพื่อให้จังหวัดในภาคเหนือจะได้ประโยชน์ทั่วถึงกัน

ส่วนเส้นทางรถไฟจากจีนตอนใต้ ผ่าน สปป.ลาว มาที่ จ.เชียงราย ก็น่าจะเกิดขึ้นได้ หากจีน ผลักดันให้เกิดและสร้างเส้นทางรถไฟจากจีนผ่าน สปป.ลาว มาที่เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว สู่ อ.เชียงของ และ อ.เมืองเชียงราย โดยอาจใช้ระบบราง 1.2 เมตร แบบจีน จากนั้นฝ่ายไทยอาจจะสร้างทางรถไฟจาก อ.เมืองเชียงราย - พะเยา - อ.เด่นชัย จ.แพร่ เชื่อมกับทางรถไฟไทยที่มีอยู่ ด้วยรางรถไฟขนาด 1.1 เมตรต่อไป

ตัวแทนหอการค้าหลายจังหวัดเกรงถึงเรื่องการที่จีน อาจจะลำเลียงสินค้าผ่านประเทศไทยไปออกทางท่าเรือเดินสมุทร โดยไทยเป็นแค่ทางผ่าน และอาจไม่ได้ประโยชน์เรื่องการบริการขนส่งหรือ ลอจิสติกส์เท่าที่ควร หากไม่มีการเตรียมการรองรับที่ดี ดังนั้น หอการค้าไทยและหอการภาคเหนือ จึงมีแนวทางที่จะพยายามสนับสนุนให้พัฒนาเส้นทางคมนาคมทางบก ทั้งถนน – ทางรถไฟโดยเร่งด่วน

นอกจากนี้ ยังมีการหารือถึงการเชื่อมเส้นทางคมนาคมระหว่างประเทศไทยกับ สปป.ลาว สู่ประเทศเวียดนาม และเส้นทางคมนาคมจาก อ.แม่สอด จ.ตาก ไปยังสหภาพพม่า ซึ่งก็เป็นเส้นทางคมนาคมที่มีอนาคต ตลอดจนเส้นทางถนน สาย R3b จาก อ.แม่สาย จ.เชียงราย ผ่าน จ.ท่าขี้เหล็ก –เชียงตุง-เมืองลา –จีน ซึ่งอาจจะมีการพัฒนาขึ้นได้ต่อไปในอนาคตต่อจากสาย R3a โดยจะนำข้อมูลที่ได้จากการสัมมนาทั้งหมดนำเสนอต่อรัฐบาลต่อไป


Last edited by Wisarut on 14/07/2009 5:07 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/09/2008 11:10 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ส่วนเส้นทางรถไฟจากจีนตอนใต้ ผ่าน สปป.ลาว มาที่ จ.เชียงราย ก็น่าจะเกิดขึ้นได้ หากจีน ผลักดันให้เกิดและสร้างเส้นทางรถไฟจากจีนผ่าน สปป.ลาว มาที่เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว สู่ อ.เชียงของ และ อ.เมืองเชียงราย โดยอาจใช้ระบบราง 1.2 เมตร แบบจีน จากนั้นฝ่ายไทยอาจจะสร้างทางรถไฟจาก อ.เมืองเชียงราย - พะเยา - อ.เด่นชัย จ.แพร่ เชื่อมกับทางรถไฟไทยที่มีอยู่ ด้วยรางรถไฟขนาด 1.1 เมตรต่อไป

จีน 1.435 เมตร ไทย 1.000 เมตร ใช่ไหมครับ

ว่าแต่รถไฟคุนหมิง-บ่อเต็น มีทีท่าขยับอะไรไหมครับ
หรือสภาพเดียวกับเด่นชัย-เชียงราย
รอกันอยู่น่ะแหละครับ

ดูเส้นทาง R3a และโครงการสะพานเชียงของได้ที่นี่ครับ
http://www.nan.go.th/webnan/e-book/data/1/pic/120.ppt
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 14/07/2009 9:40 am    Post subject: Reply with quote

ลุ้นอีกเฮือกรถไฟเด่นชัย-เชียงราย

โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 13 กรกฎาคม 2552 22:04 น.


เชียงราย – ฝันนี้ยังอีกไกล สำหรับทางรถไฟ “เด่นชัย-เชียงราย” ที่ริเริ่มกันมาตั้งแต่ปี 28 ค่าก่อสร้างจาก 5 พันกว่าล้าน กลายเป็นหลายหมื่นล้านบาท แต่ถึงวันนี้ก็ยังคงเป็นวุ้น ล่าสุดผู้ว่าฯเชียงราย ร่วมปลุกกระแสลุ้นกันอีกเฮือก ยืนยันคนเชียงรายส่วนใหญ่ต้องการขนส่งระบบรางเชื่อมรถไฟจีน-ลาว ขนานกับถนน R3a รับท่าเรือเชียงแสน 2 – สะพานข้ามโขง 4

หลังจากระยะที่ผ่านมา หลายรัฐบาลได้ดำเนินโครงการศึกษาเพื่อก่อสร้างเส้นทางรถไฟเชื่อมจาก อ.เด่นชัย จ.แพร่ - เชียงราย มาอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่เกิดเป็นรูปธรรมขึ้นมาจนถึงวันนี้ ล่าสุด จังหวัดเชียงราย ได้นำเรื่องราวของโครงการดังกล่าวออกเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ต่อประชาชนทั่วไปอีกครั้ง โดยเฉพาะการเปิดประเด็นเรื่องการสร้างเส้นทางรถไฟ เพื่อเชื่อมกับท่าเรือเชียงแสนในแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 ซึ่งกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี กำลังก่อสร้างที่ปากแม่น้ำกกไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่หมู่บ้านสบกก ต.บ้านแซว อ.เชียงแสน มูลค่า 1,546,400 ล้านบาท และยังเชื่อมไปถึงสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 ระหว่าง อ.เชียงของ กับเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว มูลค่า ประมาณ 1,934 ล้านบาท เนื่องจากทั้ง 2 โครงการกำลังจะแล้วเสร็จภายในไม่เกิน 3-4 ปีข้างหน้า

นายสุเมธ แสงนิ่มนวล ผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย เปิดเผยว่า ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนชาวเชียงรายพบว่าส่วนใหญ่มีความต้องการให้มีการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟจาก จ.แพร่ เข้าไปยัง จ.เชียงราย เพื่อเชื่อมไปถึงสะพานข้ามแม่น้ำโขงที่ อ.เชียงของ สำหรับติดต่อค้าขายกับจีนตอนใต้ผ่านระบบราง ซึ่งทางประเทศจีนมีโครงการจะสร้างขนานมากับถนน R3a ไทย-สปป.ลาว-จีนตอนใต้ อยู่แล้ว

สำหรับ ความเคลื่อนไหวของโครงการรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย มีออกมาตั้งแต่ปี 2528 ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้รับการช่วยเหลือจากบริษัทที่ปรึกษาจากประเทศอังกฤษศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจและวิศวกรรมของการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย สรุปผลและประมาณการค่าก่อสร้างในขณะนั้นว่าต้องใช้ประมาณ 4,525 ล้านบาท และมีผลตอบแทนการลงทุนในเกณฑ์ต่ำ ปี 2537 ร.ฟ.ท.ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาทบทวนแล้วเสร็จเดือน มิถุนายน2538 สรุปผลได้ว่าเส้นทางสายนี้มีความเหมาะสมหากผ่านเส้นทาง อ.เด่นชัย จ.แพร่-สอง-งาว-พะเยา-เชียงราย ระยะทาง 246 กิโลเมตร ใช้งบประมาณ 8,450 ล้านบาท

ต่อมาปี 2539-2541 ร.ฟ.ท.ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาทำการสำรวจออกแบบรายละเอียดด้านวิศวกรรมและผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามเส้นทางข้างต้นดังกล่าว และได้ประมาณราคาค่าก่อสร้างและเวนคืนที่เดินรวมกันทั้งสิ้น 21,106 ล้านบาท กระทั่งปี 2544 ร.ฟ.ท.ได้รายงานเสนอกระทรวงคมนาคม ขออนุมัติดำเนินโครงการโดยเสนอแนวทาง 2 ลักษณะคือให้เอกชนก่อสร้างและรัฐบาลจ่ายค่าก่อสร้างด้วยวิธี Counter-Trade ด้วยผลผลิตการเกษตรภายในประเทศ หรือให้เอกชนเข้าร่วมทุนโดยให้ได้รับสัมปทานโครงการภายในกำหนดเวลาและรัฐบาลให้การสนับสนุนเงื่อนไขบางประการ

แต่มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2544 มีเพียงรับทราบความก้าวหน้า และเห็นว่าเป็นโครงการที่ใช้การลงทุนสูงมาก มีเงื่อนไขหลายอย่างเพิ่มขึ้น เช่น เส้นทางรถยนต์สะดวกรวดเร็วกว่า - มีถนนมากขึ้น แนวเส้นทางรถไฟบางส่วนผ่านป่าสงวนแห่งชาติ ฯลฯ จึงให้ศึกษาทบทวนโครงการใหม่ ทำให้ในปี 2546-2547 ร.ฟ.ท.ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาทำการทบทวนอีกครั้ง จนสรุปว่ามีความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ ได้เสนอการก่อสร้างเป็น 3 ระยะคือจากเด่นชัย-เชียงราย ระยะทาง 246 กิโลเมตร จากเชียงรายไปยังสถานีบ้านสันนา ต่อไปยังท่าเรือเชียงแสนในแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 ระยะทาง 60 กิโลเมตร และจากสถานีบ้านสันนา ไปยัง อ.เชียงของ ระยะทาง 40 กิโลเมตร เพื่อเชื่อมกับเส้นทางรถไฟของ สปป.ลาว ที่เชื่อมไปถึงจีนตอนใต้ต่อไป

มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 27 พฤษภาคม 2551 มอบหมายให้ ร.ฟ.ท.และกระทรวงคมนาคม พิจารณาแนวทางในการเปิดโอกาสให้เอกชนเข้าร่วมพัฒนาระบบรถไฟขนาดรางมาตรฐาน ตั้งแต่สถานีบ้านภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา ไปจนถึง อ.เชียงของ รวมระยะทาง 796 กิโลเมตร ซึ่งทั้งหมดยังอยู่ในช่วงการขออนุมัติงบประมาณเพื่อว่าจ้างที่ปรึกษาในการศึกษาทบทวน สำรวจ กำหนดแนวทางเส้นทาง ออกแบบรายละเอียดทางวิศวกรรม ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งพัฒนาระบบรางมาตรฐาน ฯลฯ ให้ครบถ้วนอีกครั้งหนึ่ง โดย ร.ฟ.ท.จะเสนอของบประมาณรายจ่ายประจำปี 2554 ในการศึกษา เพราะคาดว่าหากมีการขยายเส้นทางตามมติคณะรัฐมนตรีที่ผ่านๆ มา เช่น เชื่อมไปถึง อ.เชียงของ การจัดซื้อล้อเลื่อนใหม่ ฯลฯ คาดว่าจะใช้งบประมาณเพิ่มอีกหลายหมื่นล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 23/07/2009 10:03 pm    Post subject: Reply with quote

ปลุกกระแสรถไฟ จี้รัฐไฟเขียว ฉลอง750ปีเชียงราย
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 23 กรกฎาคม 2552, 10:00 น.

ชาว เชียงรายร่วมรณรงค์และเรียกร้องเส้นทางรถไฟ คาดรัฐบาลชุดนี้จะให้รถไฟของขวัญแก่ชาวเชียงรายในวาระ ครบ 750 ปีของจังหวัดในปี 2555.....

วันนี้(23 ก.ค.)ผศ.สุรพล เวียงนนท์ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย (มรช.) เปิดเผยว่า กรณีคณะกรรมการณรงค์รถไฟสายเด่นชัย -เชียงราย-ไปจีน ซึ่งได้มีการประชุมอย่างไม่เป็นทางการซึ่งมีตัวแทนระดับสูงจากหลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งสมาคมสื่อมวลชนและนักประชาสัมพันธ์เชียงราย เพื่อทบทวนและติดตามความคืบหน้าของโครงการจัดสร้างทางรถไฟ ที่จะมาเชียงรายตามที่เคยมีความเคลื่อนไหว และมีพัฒนามาตลอดจากรัฐบาลหลายยุคหลายสมัยจนปัจจุบัน โดยที่ประชุมได้มีข้อสรุปตรงกันว่าให้ตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจเร่งด่วนจัดทำ เอกสาร และมัลติมีเดียเพื่อนำเสนอต่อรัฐบาล โดยผ่านรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม พร้อมกับให้มีการประสานงานกับผู้นำรัฐบาลในระดับต่างๆด้วย

ด้านนาย โชติศิริ ดารายน นายสมาคมสื่อมวลชนและนักประชาสัมพันธ์เชียงราย กล่าวว่า เรื่องรถไฟนี้ชาวเชียงรายร่วมกันผลักดันมากว่า 30 ปี เพื่อหาทางผลักดันให้มีการก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมโยงจากเด่นชัย-พะเยามาถึง เชียงราย-เข้าสู่ลาว-ไปจนถึงชายแดนลาว-จีนที่เมืองบ่อเต็น และบ่อหาน เชื่อมโยงไปถึงเมืองคุนหมิง ประเทศจีน โดยข้อมูลต่างๆ ได้ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (ครม.)รัฐบาลสมัยต่างๆมาแล้วหลายสมัย แต่ยังไม่มีการลงมือก่อสร้างแต่อย่างใดเพียงแต่ให้มีการศึกษาหาแนวทางแล้ว เรื่องก็เงียบหายไป ดังนั้น ประชาชนชาวเชียงรายจะได้ร่วมกันรณรงค์และเรียกร้องเส้นทางรถไฟสายดังกล่าว โดยคาดหวังเอาไว้ว่าทางรัฐบาลชุดนี้จะให้รถไฟของขวัญแก่ชาวเชียงรายในวาระ ครบ 750 ปีของ จ.เชียงรายในปี 2555 ด้วย.

//-------------------------------------------------------

สืบเนื่องจากความล่าช้าในการทำทางรถไฟสายเด่นชัย - เชียงราย ทำให้ หนังสือพิืมพ์เอามาเขียนด่ารัฐบาลว่าทำให้เสียโอกาสที่ จะแย่งชิงการขนสินค้าจากเมืองจีน
ตามบทบรรณาธิการต่อไปนี้


จีนเมินไทย
คอลัมน์ จากกองบรรณาธิการ
ทรานสปอร์ตเจอร์นัล ฉบับที่ 539 23 กรกฎาคม 2552


การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อ ความได้เปรียบการค้า การลงทุน และการคมนาคมขนส่ง เพราะจะทำให้มีแต้มต่อสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ แต่ที่ผ่านมา ประเทศไทยนำแผนงานไปสู่การปฏิบัติล่าช้า ไม่ทันการณ์ มีตัวอย่างแผนก่อสร้างรถไฟเด่นชัย-เชียงราย เพื่อเชื่อมกับยูนนาน
จนรัฐบาลจีนรอไม่ไหวต้องสร้างรถไฟจากคุนหมิงไปเชื่อมกับรถไฟเวียดนามจาก เหนือจรดใต้ แล้วเชื่อมจากดานังกับ สปป.ลาว มาบรรจบกับเส้นทางท่านาแล้ง
อีกเส้นทางจากโฮจิมินห์เชื่อมเข้ากับกัมพูชา มายังไทยตามแนวเส้นทางรถไฟสายตะวันออก ซึ่งตอนนี้จีนให้เงินรัฐบาลกัมพูชา เพื่อศึกษาแนวสายทางและเก็บกับระเบิด ส่วนทางด้านตะวันตกของจีน ตอนนี้กำลังก่อสร้างถนนเลียบท่อก๊าซจากชิเว ลงไปพม่าออกยะไข่ ส่วนท่าเรือก็มีท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่ “เป๋อไห่” ตั้งอยู่ใกล้ไหหลำ แทนการใช้ท่าเรือแหลมฉบัง สิ่งสำคัญไม่กี่ปีข้างหน้าก็จะมี “TRAN ASIA” เชื่อมจากจีนเข้ายุโรปได้โดยใช้เวลาการเดินทางไม่กี่วัน
ดังนั้น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการโลจิสติกส์แห่งชาติต้องหันมาให้กับความสำคัญการสูญ เสียโอกาสและศักยภาพการแข่งขันของประเทศในอนาคตแล้วว่าจะเดินไปในทิศทางใด แต่ก็ยังชื้นใจอยู่บ้างเมื่อ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับภาคเอกชน สปป.ลาว ทางด้านโลจิสติกส์จะจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า (ICD) ที่ท่านาแล้ง ภายใต้หลักการรัฐบาล สปป.ลาว สร้างแล้วให้เอกชน 2 ประเทศร่วมกันบริหารและศึกษาด้านโลจิสติกส์ผ่านแดน 5 จุด คือ เวียงจันทน์-หนองคาย, ท่าแขก-นครพนม, สะหวันนะเขต-มุกดาหาร, ห้วยทราย-เชียงของ และจำปาสัก-อุบลราชธานี
Back to top
View user's profile Send private message
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 23/07/2009 11:37 pm    Post subject: Reply with quote

เรื่องนี้ แยกเป็นสองส่วน
ส่วนแรก จากเชียงรายไป จีนนั้น ต้องถามกันก่อนว่า การค้าการลงทุนที่ จะสร้างมูลค่าเพิ่ม ในบ้านเรา จะมีในภาคเกษตร เพื่อแปรรูป สินค้าจากพี่ใหญ่ เราทำอะไรได้บ้าง
ที่สำคัญ คนไทยที่ไปทำการค้าการลงทุนทั้งที่จีนและเพื่อนบ้านคือ สปล. ใครไปทำเรื่องอะไรที่บ้านเขาจนเป็นเรื่อง ...... จุดนี้ ข่าวในบ้านเราไม่มี แต่บ้านเขา มี และจำได้ไม่ลืมเสียด้วย

ส่วนที่สอง ถ้าจะให้เกิด ต้องเล่นเป็นที่จะเจรจา การสร้างการลงทุนเพื่อส่งสินค้า ทุน และพลังงานไปที่จีน และที่สำคัญนโยบาย ต้องแจ่ม ไม่เกรงใจ และไร้รอยต่อ เมื่อเปลี่ยนรับบาล

จะเกิดหรือไม่เกิด ในสายเด่นชัยเชียงราย

ผมขอลุ้นความชัดเจนในเรื่องท่าเรือปากบารา มา ควนเนียง หาดใหญ่ ก่อนดีกว่าในปีสองปีนี้
ถึงตอนนั้น มาเล่นสายเด่นชัยเชียงราย คงไม่ช้าเกินไป หรอก
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 23/07/2009 11:43 pm    Post subject: Reply with quote

^^^
จริงครับป๋า ถ้ามีปากบาราแล้ว การจะขอเงินกู้สำหรับเด่านชัย - เชียงรายค่อยเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมาจริงๆ Embarassed
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 29/07/2009 6:58 pm    Post subject: Reply with quote

ข้อมูล จากธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเซีย รายงานในการประชุมที่ดานังเมื่อปี 2008 ได้ความว่า

กรณีรถไฟไทยนั้น ยังมีข้อถกเถียงกันไม่จบว่าจะไปที่เชียงแสนหรือเชียงของดี หรือ จะเริ่มที่เชียงใหม่หรือเด่นชัยดี แต่ก็ประมาณการแล้วว่าต้องใช้เงินกู้ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเซีย ไม่น้อยกว่า 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ - โดย แบ่งได้่ดังนี้

1. เด่นชัย - เชียงราย - เชียงแสน 308 กิโลเมตร มูลค่า 28,800 ล้านบาท - ใช้เวลาก่อสร้าง 8 ปี
2. เด่นชัย - เชียงราย - เชียงของ 326 กิโลเมตร มูลค่า 31,900 ล้านบาท - ใช้เวลาก่อสร้าง 11-14 ปี

เมื่อดูรูปการทั้งปวงแล้ว เห็นว่า ไปทางเชียงของจะได้เปรียบเพราะ จะมีการทำท่าเรือ ที่เชียงของ และ การรถไฟลาวดูจะมีปัญหาน้อยกว่ากระทรวงรถไฟพม่า

แต่ อย่างไรก็ตาม ทางสายนี้ควรทำหลังจากทำทางรถไฟไปท่าเรือปากบาราได้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาแล้วจึงจะสมควรแก่การ
Back to top
View user's profile Send private message
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 29/07/2009 8:40 pm    Post subject: Reply with quote

ปัญหาของเรื่องนี้ อยู่ที่การเรียนรู้ เกี่ยวกับเรื่องทุนสามานย์ ให้ถ่องแท้เสียก่อน และที่สำคัญผู้นำของชาติที่มาจากการเลือกสรรตามระบอบประชาธิปไตย ของบ้านเรา ต้องเข้าใจกลไก ในเรื่องของชาติมหาอำนาจในโลกใบนี้ ที่จะส่งผลมาถึงบ้านเราเอง (แต่ไม่ใช่ทำไปทำมาเอาประเทศไปทำความเสียหายแบบขายสัมปทานของรัฐ ที่มีเงื่อนไขเรื่องผู้ถือหุ้น ทำไปทำมากลายเป็นของกลุ่มทุนชาติอื่น แบบนี้ไม่เอาด้วย อะอะ)

ณ ตอนนี้เวลานี้ ปัญหาในช่องแคบมะละกา ในหลายเรื่อง ๆ ที่ขี้เกี่ยจเอามาเล่าในนี้ เพราะไม่ได้มีผลโดยตรงต่อเรื่องรถไฟไทยสักนิด ด้วยซ้ำ

หรือต้องมาทบวนว่าวิชาภูมิศาสตร์ เกี่ยวกับ จุดยุทธศาสตร์ของโลก ทั้งการทหาร การค้า การลงทุน ที่ช่องแคบมะละกา อยู่ในอันดับไหนของโลก

และการค้าระหว่าง ตะวันออกกลาง กับเอเซีย ตอนนี้ มีอะไรที่แลกเปลี่ยนกันอยู่ เช่น วัตถุดิบด้านพลังงานกับสินค้าเกษตร เกษตรแปรรูป และสินค้าอุตสาหกรรม ที่ต้องวางยุทธศาสตร์ อย่างไรให้ประเทศชาติได้ประโยชน์ จากการเพิ่มขีดสามารถด้านโลจิสติกส์ ที่บ้านเราเป็นทางผ่าน

ต้นทุนการขนส่ง โหมดไหนถูกที่สุดเพื่อเพิ่มขีดสามารถในการแข่งขันของชาติอยู่ที่ไหน และที่ตั้ง ระบบขนส่งชนิดใดเอื้อให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดที่ เราได้เปรียบ

ถ้ากรอบถุกวางไว้แต่ตั้นการนำแผนมาแตกสู่การปฏิบัติ ได้ในวันนี้ ป่านนี้ประเทศเราก้าวไกลแค่ไหน และไม่ตกอยู่ในเงื้อมมือของกลุ่มทุนกลุ่มใดรวมถึงทุนจากต่างชาติด้วยซ้ำ

เรื่องนี้ ตำราการขนส่งด้วยระบบราง เขียนมาตั้งแต่ อดีตผู้ว่าการ ท่านสง่า นาวีเจริญ ซึ่งเขียนมาก่อนบรรดา กูรู ที่เราซื้อหามาอ่านในตอนนี้ด้วยซ้ำ แต่ไม่ได้นำมาขยายผลให้เกิดอานิสงค์ในยุกปัจจุบัน

แต่คนที่อยู่ในนี้ บางท่านเกิดทัน บางท่านเกิดไม่ทัน ลองกลับมาเรื้อดู คงไม่เสียหายไปมั้ง

ส่วนทุนจากตะวันออกกลาง กับ พญามังกร ที่มีผลได้เสียกับเพื่อนสมาชิกในอาเซียน ใครได้ใครเสีย หาอ่านตามหนังสือพิมพ์ ไปเรื่อยๆ และจะเข้าใจได้เองว่า ทำไม ระบบราง บ้านเรา มันจะกลายเป็นเค้กที่หอมหวาน ที่บรรดากลุ่มทุน ถวิลหา

ส่งท้ายใคร ทำเป็นคนทำให้ระบบรางในบ้านเรา เป็น โรค เป็ดง่อย
สุดท้ายเรื่องนี้ กรรมมันตามทันในชาตินี้แหละ ไม่ต้องรอถึงชาติหน้า ตามไปเรื่อย คงได้เห็นก่อน ดินกลบหน้า อะนะ
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4 ... 76, 77, 78  Next
Page 3 of 78

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©