Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13274434
ทั้งหมด:13585730
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ในหลวงรัชกาลที่ 9 กับรถไฟไทย
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ในหลวงรัชกาลที่ 9 กับรถไฟไทย
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5 ... 12, 13, 14  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 09/01/2007 2:41 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
อนุสาวรีย์สมเด็จเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ที่หลวงพระบาง
Click on the image for full size
สมเด็จเจ้ามหาชีวิตสว่างวัฒนาและ สมเด็จพระราชินีคำผุย
Click on the image for full size
สมเด็จเจ้าสีหนุ ทรงจอบ

ทั้ง 3 พระองค์ได้ประทับรถโบกี้พระที่นั่งกลางวันมาแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 09/01/2007 3:00 pm    Post subject: Reply with quote

พี่หมอ, ตอนดูภาพยนตร์ส่วนพระองค์นั้นเห็นเขาใช้รถจักรดีเซล 563 ทำขบวนรถพระที่นั่ง จากจิตรลดา ไปพิษณุโลกน่อ Embarassed
Back to top
View user's profile Send private message
Peter008
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 08/01/2007
Posts: 3
Location: สามเสนใน พญาไท กทม.

PostPosted: 09/01/2007 3:04 pm    Post subject: Reply with quote

ไม่ทราบว่า ปัจจุบัน รถโบกี้พระที่นั่ง มีจำนวนเท่าใด และได้มีการเก็บรักษาไว้ที่ใด ( ไม่ทราบว่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคงหรือไม่ หากต้องตอบคำถามนี้ ) เพียงแต่ว่า ไม่ได้เห็นพระองค์ท่านเสด็จพระราชดำเนินโดยรถไฟเป็นระยะเวลานานแล้ว ในวโรกาสที่พระองค์ท่านมีพระชนมายุ 80 พรรษา หากการรถไฟได้นำรถโบกี้พระที่นั่งมาจัดแสดงให้พสกนิกร โดยเฉพาะเยาวชนได้มีโอกาสเห็นเป็นบุญตา ก็จะดีไม่น้อยเลยทีเดียวครับ
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 09/01/2007 3:28 pm    Post subject: Reply with quote

รถพระที่นั่ง เก็บไว้ที่โรงเก็บย่านมักกะสัน ปิดกุญแจตีตราครั่งอย่างดี ถ้าไม่มีหนังสือกราบบังคมทูลจากผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ถึงสำนักพระราชวัง เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต แกะตราครั่งหุ้มกุญแจเปิดโรงเก็บรถพระที่นั่ง และมีพระบรมราชานุญาต ให้เปิดโรงรถพระที่นั่งแล้ว ก็ไม่สามารถที่จะเปิดเข้าไปดูรถพระที่นั่งได้เลย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 10/01/2007 12:38 pm    Post subject: Reply with quote

บทควาทพิเศษจากกรมประชาสัมพันธ์
เรื่อง: ในหลวงและสมเด็จฯ เสด็จพระราชดำเนินภาคอีสานครั้งแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๘
โดย: ธีระพงษ์ โสดาศรี
วารสารกรมประชาสัมพันธ์ ปีที่ 11 ฉบับที่ 124-126 เมมษายน - มิถุนายน 2549


Click on the image for full size
ในหลวงและสมเด็จ เสด็จพระราชดำเนินภาคอีสานครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2498

เนื่องในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ผู้เขียนร่วมเฉลิมฉลองโดยใคร่ขอนำเรื่องราวการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฏรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ระหว่างวันที่ 2-20 พฤศจิกายน 2498 ซึ่งเป็นการเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมราษฏรอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก ยังความปลื้มปิติแก่พสกนิกรชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นอย่างยิ่ง เนื่องด้วยยังไม่เคยมีพระมหากษัตริย์พระองค์ใดเคยเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมราษฏรดังนี้มาก่อนเลย และในการเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมราษฏรเช่นนี้ทำให้พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรของพระองค์เองอย่างแท้จริง

ข้อมูลรูปภาพที่ผู้เขียนจะนำมากล่าวนี้นำมาจากหนังสือ รอยเสด็จ ซึ่งจัดทำโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่นเมื่อปี พ.ศ. 2540 ก็ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง โดยทั้งหมดนี้ผู้เขียนขอสรุปใจความประเด็นสำคัญเพื่อให้ผู้อ่านได้ร่วมชื่นชมพระบารมีด้วยซึ่งคาดว่าคงจะใช้การนำเสนออย่างต่อเนื่องจนถึงเดือนธันวาคม 2549

สำหรับข้าราชบริพารที่ตามเสด็จครั้งนั้นมีประมาณ 110 คน ที่สำคัญ เช่น พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ประธานองคมนตรีหม่อมทวีวงศ์ ถวัลยศักดิ์ เลขาธิการพระราชวัง ฯลฯ นอกจากนั้น ยังมีข้าราชบริพารเดินทางที่ไปล่วงหน้าอีก 50 คน ส่วนพาหนะที่ใช้มีทั้งเครื่องบิน รถไฟ รถยนต์ เรือ

การเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมราษฏรในครั้งนั้น ส่วนมากเป็นไปตามกำหนดการที่วางไว้ จะมีคลาดเคลื่อนบ้างก็เล็กน้อยเนื่องจากพสกนิกรมาเฝ้าชมพระบารมีอย่างเนืองแน่น และไม่ยอมให้ขบวนเสด็จฯ เคลื่อนที่ไปได้อย่างสะดวก ทั้งนี้ได้มีการเตรียมการล่วงหน้าสำหรับกำหนดต่าง ๆ ประมาณ 1 เดือน โดยพระยารามราชภักดี ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าคณะในการเดินทางไปจัดเตรียมความเรียบร้อยของจังหวัดต่าง ๆ

การเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมพสกนิกรครั้งนั้น ทรงมีพระราชดำริที่จะเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมราษฏรในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักร ภายหลังเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติได้ 5 ปี และได้เสด็จ ฯ ไปทรงเยี่ยมราษฏรในภาคตะวันออกเฉียบเหนือเป็นลำดับแรก

ก่อนหน้านี้สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยเสด็จประพาสเยี่ยมราษฏรเป็นการส่วนพระองค์(เสด็จประพาสต้น)ซึ่งเสด็จฯ มาถึงเพียงจังหวัดนครราชสีมาเท่านั้น

ดังนั้นการเสด็จฯ ระหว่างวันที่ 2-20 พฤศจิกายน 2498 จึงเป็นครั้งแรกที่ชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้มีโอกาสชื่นชมพระบารมีอย่างใกล้ชิดและทั่วถึง

ก่อนเสด็จฯ ในวันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปวัดพระศรีรัตนศาสดารามเพื่อกราบบังคมทูลพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต)

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2498 เวลา 07.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จฯ โดยขบวนรถไฟพระที่นั่งจากสถานีรถไฟจิตรลดา โดยนายกรัฐมนตรี (จอมพล ป.พิบูลสงคราม) และ พสกนิกร ทหาร กองเกียตริยศทั้ง 3 เหล่าทัพ เฝ้าส่งเสด็จ

ขบวนรถไฟพระที่นั่งถึงสถานีต่าง ๆ ซึ่งมีข้าราชการพสกนิกรเฝ้ารับเสด็จอย่างเนืองแน่น จากสถานีรถไฟอยุธยา สถานีพาชี สถานีสระบุรี สถานีแก่งคอย สถานีปากช่อง สถานีสีคิ้ว สถานีสูงเนิน

เวลา 14.48 น. ขบวนรถไฟพระที่นั่งถึงสถานีเมืองนครราชสีมา มีราษฏรเฝ้ารับเสด็จไม่น้อยกว่า 50,000 คน นั่งเรียงรายกันไปตลอดทาง หลังจากเสด็จฯ ไปทรงวางพวงมาลาที่อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีแล้วได้เสด็จฯ ไปประทับพลับพลาหน้าศาลากลางจังหวัด โดยนายสุวรรณ รื่นยศ ผู้ว่าราชการจังหวัดเมืองนครราชสีมา กราบบังคมทูลถวายรายงานตอนหนึ่งว่า "...พสกนิกรรู้สึกชื่นชมโสมนัสอย่างสุดซึ้งที่ได้มีโอกาสเฝ้าชมบุญบารมีโดยใกล้ชิดในครั้งนี้ จังหวัดนครราชสีมา แบ่งการปกครองเป็น 13 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ มีพลเมือง 800,000 คน..."

ในวันนั้น ฝนซึ่งไม่ตกมานานได้โปรปรายลงมาท่ามกลางแสงแดดอ่อน ๆ ทรงทักทายราษฏรโดยไม่ถือพระองค์ผู้เฒ่าผู้แก่ต่างยกมือขึ้นเหนือศีรษะกล่าวว่า

"...บารมีของในหลวงองค์นี้ล้นเหลือนัก เหมือนฟ้ามาโปรด แต่นี้ต่อไปความแห้งแล้งจะหมดไปจากอีสานล่ะ..."

คืนวันแรกทั้งสองพระองค์ประทับแรม ณ ค่ายทหารสุรนารี คืนนั้นฝนตกทั้งคืนจนน้ำนองถนน ฝนตกจนถึง 09.00 น. ของวันรุ่งขึ้นจนหยุด

(เนื้อที่หมดแค่นี้นะครับ พบกันใหม่ฉบับหน้า ทั้งสองพระองค์เสด็จฯ ถึงอำเภอพิมาย จังหวัดชัยภูมิ อำเภอบัวใหญ่ อำเภอพล อำเภอบ้านไผ่ และจังหวัดขอนแก่น)

สรุปหัวข่าวจากหนังสือพิมพ์

การสื่อสารในสมัยนั้นยังไม่รวดเร็ว ทันสมัย และมีสื่อไม่มาก ฉะนั้นข่าวการเสด็จฯ ซึ่งกรมประชาสัมพันธ์ตัดข้อความส่งให้สำนักราชเลขาธิการมีดังนี้

หนังสือพิมพ์สารเสรีปีที่ 3 ฉบับที่ 357 (3 พฤศจิกายน 2498)

ข่าว : เสด็จประพาสอีสานโดยรถไฟขบวนพิเศษจากสถานีจิตรลดาถึงสถานีนครราชสีมา เวลา 14.45 น. ของวันที่ 2 พฤศจิกายน ประชาชนนับแสนเฝ้ารับเสด็จ เดินทางโดยรถยนต์พระที่นั่งจากสถานีรถไฟเข้าตัวเมือง สักการะอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีและเสด็จฯ ไปที่ศาลากลางจังหวัดมีฝนตกหนักทั้งที่ฟ้ายังสว่างประชาชนจากอำเภอปักธงชัย โชคชัย โนนสูง โนนไทย ด่านขุนทด ครบุรี ต่างมารับเสด็จ โรงแรมทุกแห่งเต็มจนหมดต้องพักตามศาลาวัด ในตัวเมืองมีการจัดซุ้มรับเสด็จประดับประดาสวยงามกว่า 50 ซุ้ม คืนวันที่ 2 พฤศจิกายน ประทับแรมที่ค่ายสุรนารี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 10/01/2007 12:40 pm    Post subject: Reply with quote

บทควาทพิเศษจากกรมประชาสัมพันธ์
เรื่อง: ในหลวงและสมเด็จฯ เสด็จพระราชดำเนินภาคอีสานครั้งแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ (ตอนที่ 2)
โดย: ธีระพงษ์ โสดาศรี
วารสารกรมประชาสัมพันธ์ ปีที่ 11 ฉบับที่ 124-126 เมมษายน - มิถุนายน 2549


ระหว่างวันที่ 2-20 พฤศจิกายน 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมพสกนิกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นครั้งแรกของประเทศภายหลังครองสิริราชสมบัติแล้ว 5 ปี และนับเป็นครั้งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่พระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมพสกนิกรอย่างเป็นทางการ...สาคดีชุดนี้เขียนขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี..

ความเดิมตอนที่แล้ว

ฉบับที่แล้วผู้เขียนได้เล่าให้ฟังว่า วันแรกในการเสด็จฯไปทรงเยี่ยมภาคอีสานมีพสกนิกรจังหวัดนครราชสีมาเฝ้ารับเสด็จฯ ไม่น้อยกว่า 50,000 คน โดยมีฝนตกปรอย ๆ ระหว่างเสด็จ ฯ และตกหนักตลอดทั้งคืน ทั้งนี้พระองค์ท่านประทับแรม ณ ค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา เชิญอ่านต่อได้แล้วครับ...

ตอนที่ 2

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน 2498 เสด็จฯ โดยรถยนตร์พระที่นั่งจากที่ประทับแรมค่ายสุรนารีไปทรงเยี่ยมกองบัญชาการกองทัพภาคที่ 2 โดยพลโท ครวญ สุทธานินท์แม่ทัพภาคที่ 2 และคณะ ให้การต้อนรับ จากนั้นเสด็จฯ โดยรถยนต์พระที่นั่งผ่านตัวเมืองนครราชสีมาไปอำเภอพิมาย

ที่อำเภอพิมาย ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จฯ ไปประทับอิริยาบถ และเสวยพระกระยาหารกลางวันท่ามกลางความร่มรื่นของไทรงาม ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงชิงช้า โดยมีเสียงเพลงจากแคนวงที่ผู้เป่าแคนได้ลอยเรือเป่าแคลนกลางลำน้ำ

ต่อมาได้เสด็จฯ โดยรถยนต์พระที่นั่งไปที่ว่าการอำเภอพิมาย ท่ามกลางพสกนิกรได้เฝ้ารับเสด็จเป็นจำนวนมากเสด็จแล้วพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรปราสาทหินพิมายทรงสนพระราชหฤทัยซักถามเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ทรงถ่ายภาพไว้หลายแห่งจึงเสด็จฯ กลับ

ระหว่างทางได้ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับราษฏรหลายแห่ง และทรงแวะทอดพระเนตรโรงงานทอกระสอบของบริษัทอีสาน จำกัด ที่ตำบลจอหอ คือวันที่ 3 พฤศจิกายน 2498 เสด็จประทับแรม ณ ที่ประทับแรมค่ายสุรนารี

วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2498 เสด็จฯ ออกจากที่ประทับแรม ประชาชนเฝ้าส่งเสด็จอย่างมากมาย ต่างเข้ามายึดรถพระที่นั่งทำให้รถต้องหยุดเป็นระยะ ๆ ทรงมีพระราชปฏิสันถารและโบกพระหัตถ์ให้กับผู้มาส่งเสด็จโดยทั่วถึงกัน คนแก่บางคนถึงกับหลั่งน้ำตาด้วยความตื้นตันใจ

ทั้งสองพระองค์เสด็จฯ โดยขับรถยนต์พระที่นั่งไป อำเภอโนนไทย เมื่อเสด็จฯ ถึง ร.ท.ชิด สุโกสี นายอำเภอโนนไทยเข้าเฝ้าฯ เสด็จพระทับบนที่ว่าการอำเภอ นายอำเภอถวายรายงานว่า มีราษฏรจำนวนมากจะนำสิ่งของมาขึ้นมาทูลเกล้าฯ ถวายบนที่ว่าการอำเภอ แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่มีพระราชประสงค์เช่นนั้น ได้รับสั่งกับนายอำเภอว่า

"ฉันจะลงไปหาราษฏรเอง ไม่ต้องให้ราษฏรขึ้นมาหรอกให้เขาอยู่นั่นแหละ"

แล้วเสด็จลงจากที่ว่าการอำเภอ ไปทรงเยี่ยมราษฏรอย่างใกล้ชิดทรงห่วงราษฏรเรื่องการทำนาและเรื่องน้ำเป็นอย่างยิ่งทรงมีรับสั่งกับราษฏรที่มาเฝ้ารับเสด็จโดยทั่วกัน ตอนหนึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถรับสั่งกับหญิงชราผู้หนึ่งว่า

"มารอนานแล้วหรือจ๊ะ ฉันมาช้าไปเพราะราษฏรมากเหลือเกิน ต้องแวะเยี่ยมเขาตลอดทาง"

ขบวนเสด็จต้องรีบเดินทางต่อไปถึงบ้านหนองบัวโคก อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ

นายสวัสดิ์ วงศ์ปฏิทัศน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ นายสันทัด บุญประคอง นายอำเภอด่านขุนทด และพสกนิกรเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท

ทางหลวงจากนครราชสีมาไปจังหวัดชัยภูมิมีสภาพทรุดโทรมมาก ทำให้รถทั้งขบวนเต็มไปด้วยฝุ่น ก่อนถึงสี่แยกหนองบัวโคกรถยนต์พระที่นั่งยางแตก ต้องเปลี่ยนมาทรงรถยนต์พระที่นั่งสำรอง

12.30 น. ขบวนรถพระที่นั่งเคลื่อนถึงซุ้มประตูสี่แยกสุขศาลา เทศบาลเมืองชัยภูมิ รถพระที่นั่งเลี้ยวเข้าสู่จวนผู้ว่าราชการจังหวัด (ซึ่งเป็นที่ประทับแรมและได้จัดทาสีใหม่เป็นสีเขียว) เสวยพระกระยาหารกลางวัน และทรงพักผ่อนตามพระราชอัธยาศัย

16.30 น. เสด็จประทับยังมุขหน้าศาลากลาง จังหวัด นายสวัสดิ์ วงศ์ปฏิทัศน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิกราบบังคมทูลรายงานความเป็นอยู่ของชาวชัยภูมิ ทรงมีพระราชดำรัสตอบว่า เสด็จพระราชดำเนินมาเพื่อต้องการทราบทุกข์สุขที่แท้จริงของประชาชน พระราชทานกำลังใจให้ทุก ๆ คน ตั้งหน้าตั้งตาทำงานสู้ภัยธรรมชาติในเรื่องน้ำ และทรงพระราชทานพรว่า ขอให้มีความอุดมสมบูรณ์ และขอให้ทุกคนมีความมานะในการประกอบอาชีพ พสกนิกรต่างก็มีความปีติยินดีอย่างเหลือล้น เพราะต่างเดินทางมาจากระยะทางไกล ๆ เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมราษฏรอย่างทั่วถึงแล้วเสด็จฯ กลับที่ประทับ

วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน 2498 เวลา 10.30 น. ขบวนรถยนต์พระที่นั่งออกจากที่ประทับแรมผ่านขบวนส่งเสด็จของพสกนิกรเป็นจำนวนมาก พร้อมกับพระสงฆ์ถวายสวดชัยมงคลคาถา ประชาชนถวายความเคารพเปล่งเสียงไชโยขบวนรถยนต์พระที่นั่งผ่านกิ่งอำเภอคอนสวรรค์ อำเภอบัวใหญ่

12.00 น. เสด็จขึ้นประทับรถไฟพระที่นั่งเคลื่อนออกจากอำเภอบัวใหญ่ต่อไปยังสถานีเมืองพล อำเภอพล จังหวัดข่อนแก่ โดยมีพลตรี แส น้อยเศรษฐ ผู้ว่าราชการภาค 3 ตามเสด็จขบวนรถไฟ

พลเอก จรูญ เสรีเริงฤทธิ์ ผู้ว่าการรถไฟ และเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่หลายนายติดตามถวายความสะดวกในการเสด็จฯ ทางรถไฟโดยตลอด

12.44 น. ขบวนรถไฟพระที่นั่งถึงสถานีรถไฟ เมืองพล พันตำรวจเอก ขุนศุภกิจวิเลขการ ผู้ว่าราชการภาค 4 พันตำรวจเอก บุณณะ ตาละลักษณ์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรภาค 4 เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท มีร้อยตำรวจเอก แถว พรหมประกาย ณ นครพนม นายอำเภอเมืองพล และพสกนิกรเฝ้าชมพระบารมีอย่างเนืองแน่น พระสงฆ์ถวายสวดชัยมงคลคาถา เสียงไชโยถวายพระพรดังกึกก้องไปทั่ว

13.25 น. เสด็จฯถึงสถานีรถไฟบ้านไผ่ ร้อยตำรวจเอก เอิบ อินกนก นายอำเภอบ้านไผ่ และพสกนิกรเฝ้ารับเสด็จเพื่อชมพระบารมี และทรงให้ราษฏรเข้าเฝ้าฯ ประมาณ 5 นาที (เสวยพระกระยาหารบนรถไฟ)

14.30 น. ขบวนรถไฟพระที่นั่งเข้าสู่สถานีขอนแก่นทั้งสองพระองค์เสด็จลงจากรถไฟพระที่นั่งท่ามกลางเสียงไชโยถวายพระพร

สรุปหัวข้อข่าวจากหนังสือพิมพ์

ภาพ : ทรงสักการะอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี

หนังสือพิมพ์สารเสรี ปีที่ 3 ฉบับที่ 358 (4 พฤศจิกายน 2598)

ข่าว :เสด็จฯ สักการะอนุสาวรีย์ท้านสุรนารี และเยี่ยมราษฏรในตัวเมืองนครราชสีมาระยะทางหลายกิโลเมตร มีผู้หญิงคนหนึ่งถูกเบียดเซ จึงเอื้อมมือไปคว้าพระหัตถ์ในหลวงไว้ก็ไม่ทรงว่าอะไร ฝนตกตลอดเวลาเสด็จพระราชดำเนิน มหาดเล็กนำพระมาลาไปถวายก็ไม่ทรงรับ จนกระทั่งเวลา 16.45 น. เสด็จฯ กลับค่ายสุรนารี

หนังสือพิมพ์สารเสรี ปีที่ 3 ฉบับที่ 358 (4 พฤศจิกายน 2598)

ภาพ : ทรงไกวชิงช้าที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถประทับที่ไทรงาม

ข่าว :เสด็จฯ ไทรงาม อำเภอพิมาย และทอดพระเนตรกิจการโครงการทุ่งสัมฤทธิ์ และที่ปราสาทหินพิมาย ทรงเสด็จขึ้นตามกำแพงสูง ๆ ถ่ายภาพไว้จำนวนมาก ทางเกษมสำราญ ขณะประทับไทรงามเป็นเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ตลอดเวลามีแตรวงของแผนกชลประทานบรรเลงถวาย

เนื่องจากเนื้อที่มีจำกัด ติดตามอ่านได้ใหม่ฉบับหน้านะครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 10/01/2007 12:43 pm    Post subject: Reply with quote

บทความพิเศษจากกรมประชาสัมพันธ์
เรื่อง: ในหลวงและสมเด็จฯ เสด็จพระราชดำเนินภาคอีสานครั้งแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ( ตอนที่ 3 )

โดย: ธีระพงษ์ โสดาศรี
วารสารกรมประชาสัมพันธ์ ปีที่ 11 ฉบับที่ 124 - 126 เมษายน - มิถุนายน 2549

Click on the image for full size

...ระหว่างวันที่ ๒ - ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมพสกนิกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นครั้งแรกของประเทศภายหลังครองสิริราชสมบัติแล้ว ๕ ปี และนับเป็นครั้งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่พระมหากษัตริย์ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมพสกนิกรอย่างเป็นทางการ สารคดีชุดนี้เขียนขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครบสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี...
ความเดิมตอนที่แล้ว

ฉบับที่แล้วผู้เขียนได้เล่าให้ฟังว่า ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จฯ ไปที่ไทรงาม ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา จากนั้นเสด็จฯ ไปจังหวัดชัยภูมิ ต่อมาวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๘ เสด็จฯ มาประทับรถไฟพระที่นั่งที่สถานีเมืองพล อำเภอพล ผ่านอำเภอบ้านไผ่ โดยเสวยพระกระยาหารกลางวันบนรถไฟ...เชิญอ่านต่อเลย ครับ

ตอนที่ ๓

เวลา ๑๔.๓๐ น. ขบวนรถไฟพระที่นั่งถึงสถานีขอนแก่น ทั้งสองพระองค์เสด็จลงจากรถไฟพระที่นั่งท่ามกลางเสียงไชโยถวายพระพร หลวงธุระนัยพินิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เสด็จขึ้นประทับรถยนต์พระที่นั่งออกจากสถานีรถไฟ ไปสักการะศาลหลักเมือง แล้วเสด็จฯ ไปประทับปะรำหน้าศาลากลางจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดกราบบังคมทูลถวายรายงาน มีใจความสำคัญบางตอน ดังนี้

"...นับตั้งแต่ปฐมอดีตกาลแรกตั้งเมืองขอนแก่นแต่ปีเถาะ จุลศักราช ๑๑๔๕ เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลที่ ๑ ตลอดมาจนบัดนี้ ประชาชนชาวขอนแก่นได้รับความร่มเย็น เป็นสุขด้วยเดชะพระบารมีพระมหากษัตริย์ปกเกล้าฯเป็นลำดับมาได้ ๑๗๒ ปี ยังมิได้เคยมีพระมหากษัตริย์พระองค์ใดเสด็จฯ มาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าพระพุทธเจ้าทั้ง หลายได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท..."

อีกตอนหนึ่งกราบบังคมทูลถวายรายงานว่า

"...เมื่อคืนวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ศกนี้ จังหวัดขอนแก่นได้ประสบอัคคีภัย เพลิงไหม้ตลาดกลางเมืองเป็นอันตรายขนาดหนัก...ได้ทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรด เกล้าฯ พระราชทานทรัพย์มาช่วยบรรเทาทุกข์ประชาชนเป็นจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท....ในด้านการทำนาปีนี้ฝนก็สมบูรณ์ ยิ่งกว่านี้การคมนาคมและเศรษฐกิจก็ได้รับ การทะนุบำรุงให้ดียิ่งขึ้น..."

พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสตอบขอบใจประชาชนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการรับเสด็จ ทรงพระราชทานพรให้ทุกคนมีความสุข ความ เจริญ จากนั้นเสด็จฯไปทรงเยี่ยมราษฎรที่เข้าเฝ้าฯอย่างใกล้ชิด

เวลา ๑๖.๓๐ น. เสด็จขึ้นที่ประทับแรม ณ ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น ประชาชนเปล่งคำถวายพระพรสลับกับเสียงไชโย ทั้งสองพระองค์จึงเสด็จพระราชดำเนินออกมารับหน้ามุขศาลากลาง ทรงโบกพระหันต์ ทรงบันทึกภาพนิ่งและภาพยนต์ไว้ ทำให้ราษฎรพากันดีใจที่มีภาพติดอยู่ในกล้องส่วนพระองค์

เวลา ๑๗.๐๐ น. เศษ เสด็จฯโดยขบวนรถยนต์พระที่นั่งออกไปเยี่ยมค่ายทหารกองพันทหารม้าที่ ๖ ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ โดยมี พ.ท.พิศ ยังน้อย ผู้บังคับกองพันทหารม้าถวายการต้อนรับ ได้เวลาพอสมควร จึงเสด็จฯกลับที่ประทับแรม ณ ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น

วันอาทิตย์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๔๙๘ เวลาเช้าตรู่ เสด็จออกจากที่ประทับแรมไปประทับเฮลิคอปเตอร์ที่สนามหน้าโรงเรียนสนามบิน เพื่อเสด็จขึ้นยอดภูกระดึง ท่ามกลางประชาชนที่เฝ้าส่งเสด็จอย่างหนาแน่น เครื่องบินพระที่นั่งออกจากขอนแก่น มุ่งผ่านภูเวียง ทรงบันทึกภาพเมืองขอนแก่น และบ้านภูเวียง

บนภูกระดึง เสด็จลงจากเครื่องบิน นายเทียม คมกฤช อธิบดีกรมป่าไม้ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ควาญช้างกราบบังคมทูลทวายรายงาน และเชิญเสด็จฯ ทั้งสองพระองค์ขึ้นทรงช้าง ประทับทอดพระเนตรภูมิประเทศอันสวยงาม...เสวยพระกระยาหารกลางวันบนภูกระดึง มีราษฎรเดินทางขึ้นไปชมพระบารมีจำนวนมาก ทรงไต่ถามทุกข์สุขของราษฎรที่และอนุสรณ์

เวลา ๑๔.๐๐ น. เสด็จฯ โดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งสู่สนามหญ้าโรงเรียนบ้านสีฐาน พันตำรวจเอก ต่อศักดิ์ ยมนาค ผู้ว่าราชการจังหวัดเลยรับเสด็จ ได้ทรง ไต่ถามทุกข์สุขของราษฎร โดยมีราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายของป่าแปลก ๆ มากมาย เช่น นกเขา ไก่ฟ้า กระจง และกล้วยไม้ เป็นต้น

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงถามถึงการเดินทางมาเฝ้ารับเสด็จของชาวบ้าน ซึ่งทรงได้รับคำตอบว่า

"มาแต่หลังภูโน้น เดินมาแต่ ๒ - ๓ วันก่อน อยากเห็นให้เต็มตา วันนี้มารอแต่เช้า"

และบางคนตอบเป็นภาษาท้องถิ่นว่า

"ฮ่อนทอได๋กะอดได้ ขอให้เห็นเจ้าอยู่หัวคัก ๆ เถอะ"

หลังจากประทับพักร้อนชั่วครู่ ได้เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งต่อไปยังจังหวัดเลย ผ่านอำเภอวังสะพุง มีข้าราชการ ประชาชน เฝ้ารับเสด็จอย่าง เนืองแน่นสองข้างทาง

เวลา ๑๙.๐๐ น. อากาศเริ่มมืดสลัว สองข้างทางเสด็จฯ มีประชาชนตั้งโต๊ะหมู่บูชาไว้ริมถนน ส่วนมากจุดธูปเทียนบูชา ทำให้ได้ภาพแสงเทียนแวววาวท่ามกลาง บรรยากาศมืดสลัว เป็นภาพงดงามมาก ประชาชนนั่งพนมมือเมื่อรถยนต์พระที่นั่งผ่านไป

เสด็จฯ ถึงศาลากลางจังหวัดเลยพลบค่ำ เสด็จฯประทับที่ปะรำหน้าศาลากลางจังหวัด มีประชาชนเปล่งคำถวายพระพร และคอยเฝ้าชมพระบารมีอยู่เป็นจำนวน มาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งให้ราษฎรกลับไปพักผ่อนก่อน และให้มาเข้าเฝ้าฯ ในวันรุ่งขึ้น เพราะทรงเป็นห่วงว่าราษฎรจะเหนื่อยและเป็นเวลาค่ำมาก แล้ว

หลังจากเสวยพระกระยาหารค่ำเสร็จแล้ว ได้เสด็จลงทอดพระเนตรการแสดงพื้นเมืองซึ่งทางจังหวัดเลยได้จัดถวาย ทรงสนพระราชหฤทัยการแสดงของชาวเขาแห่งอำเภอเชียงคานมาก
dd>...ติดตามอ่านฉบับหน้า ซึ่งทั้งสองพระองค์จะเสด็จฯไปทรงเยี่ยมพสกนิกรจังหวัดเลย จังหวัดอุดรธานี...

สรุปหัวข้อข่าวจากหนังสือพิมพ์
หนังสือพิมพ์ไทยฉบับประจำวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๔๙๘


พาดหัวข่าว : ราษฎรร้องทุกข์ราชินี "สามีนอกใจ"

พาดหัวข่าวรอง : รถพระที่นั่งถูกตะปูยางแตก ในหลวงอวยพรชาวนาโชคดี ทรงพระสรวลชมละครตำนานชัยภูมิ

หนังสือพิมพ์สารเสรี ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๓๖๓ วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๘

ข่าว : ที่ขอนแก่น ทรงสักการะศาลเจ้าพ่อหลักเมือง เสด็จฯ ประทับพลับพลาที่ศาลากลางจังหวัด ทรงเสด็จออกรับของที่ราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายจำนวน มาก เช่นผ้าไหมจากชนบท และบ้านไผ่ เวลา ๑๗.๓๐ น. เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมค่ายทหารม้าที่ ๖ รักษาพระองค์ ตอนค่ำ ทางจังหวัดจัดการละเล่นให้ทอดพระเนตรหน้าศาลากลาง บนฟลอร์เคลื่อนที่

หนังสือพิมพ์ไทยฉบับประจำวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๘

พาดหัวข่าว : ในหลวง - ราชีนี ทรงนั่งบนหลังช้างทอดพระเนตรภูมิทัศน์บนภูกระดึง

หนังสือพิมพ์สยามนิกร ฉบับลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๘

พาดหัวข่าว : ราชีนีห่วงใยชาวอีสาน กรณีขาดแคลนน้ำบริโภค น้ำใช้ ประทานความเห็นกรมชลประทาน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 10/01/2007 12:49 pm    Post subject: เสด็จสุรินทร์ Reply with quote

การเสด็จเยือนสุรินทร์
ครั้งที่ ๑


วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๔๙๘ เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน โดยรถไฟพระที่นั่งจากจังหวัดศรีสะเกษ มายังจังหวัดสุรินทร์ เมื่อขบวนรถไฟพระที่นั่งถึงสถานีสุรินทร์แล้ว พระองค์ทรงขับรถยนต์พระที่นั่งจากสถานีรถไฟสุรินทร์ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถไปทรงเยี่ยมราษฎร ณ ศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ บริเวณเกาะเสด็จประพาส ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ และประทับแรมที่ศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ ๑ คืน

ครั้งที่ ๒

วันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๑๒ เสด็จพระราชทานพระพุทธนวราชบพิตรประจำจังหวัดสุรินทร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ ไปยังจังหวัดสุรินทร์ เพื่อพระราชทานพระพุทธนวราชบพิตรไว้สำหรับชาวสุรินทร์ได้เคารพสักการะ ในการเสด็จฯ คราวนี้ ได้เปิดโอกาสให้พสกนิกรได้ชื่นชมพระบารมี สมควรแก่เวลาจึงเสด็จฯกลับ

พระพุทธนวราชบพิตร จังหวัดสุรินทร์ ได้รับพระราชทานพระพุทธนวราชบพิตร จากพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร์ สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร เป็นลำดับที่ ๑๖ จากทั้งหมด ๒๑ องค์ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทาน

ในการเสด็จสุรินทร์ครั้งที่ 2 นี้ การรถไฟได้ทำขบวนรถเปล่าไปสำรอง เผื่อเกิดเหตุติดขัดจนไม่สามารถนำเฮลิคอปเตอร์ขึ้นลงได้
Back to top
View user's profile Send private message
pitch
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 14/07/2006
Posts: 694
Location: วังนารายณ์คู่บ้าน ศาลพระกาฬคู่เมือง ปรางค์สามยอดลือเรื่อง เมืองแห่งดินสอพอง แผ่นดินทองสมด็จพระนารายณ

PostPosted: 12/01/2007 11:22 am    Post subject: Reply with quote

" รถไฟวิ่งได้เรียบและวิ่งได้ถึง ๙๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ไม่เหมือนคราวไปหัวหิน รถไฟแล่นโคลงเคลง
ขอขอบใจการรถไฟฯ และพนักงานทุกคน "

กระแสพระราชดำรัส
เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑


จากหนังสือ...มหาราชของการรถไฟ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 15/01/2007 5:01 pm    Post subject: Reply with quote

น่าสังเกตว่าแม้ รฟท. จะบันทึกเรื่องในหลวงเสด็จยะลา 2 กันยายน 2515 ก็จริงแต่มาตารางเสด็จ (ตีพิมพ์ ปี2516) พบว่าพระองค์ไม่ได้เสด็จทางรถไฟ ... เป็นแต่เสด็จทางรถยนต์เยี่ยมเยียนราษฎร รอบจังหวัดยะลาหนะครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5 ... 12, 13, 14  Next
Page 4 of 14

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©