Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13275847
ทั้งหมด:13587143
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 289, 290, 291 ... 547, 548, 549  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 26/10/2018 10:36 am    Post subject: Reply with quote

เซ็งกันยาวๆ
“แม่ลูกจันทร์”
26 ตุลาคม 2561 เวลา 05.01 น.

โครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 672 กม. ซึ่งกำหนดจะเริ่มก่อสร้างปีหน้า คงต้องเลื่อนการก่อสร้างไปอีกหลายปี


หรือดีไม่ดีอาจต้องล้มเลิกโครงการนี้ไปเลย

ใครที่รอจะนั่งรถไฟชินกันเซ็ง ฟังข่าวนี้แล้วคงเซ็งไปตามๆกัน

“แม่ลูกจันทร์” สรุปย่อๆว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ วงเงินลงทุนกว่า 4 แสนล้านบาท เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่นฝ่ายละ 50 เปอร์เซ็นต์

รัฐบาลโฆษณาว่าโครงการนี้จะใช้รถไฟหัวจรวดชินกันเซ็งของญี่ปุ่น วิ่งด้วยความเร็วสูง 250 กม.ต่อชั่วโมง

แบ่งการก่อสร้างเป็น 2 ช่วง พร้อมเปิดบริการได้ภายใน 5 ปี

ช่วงแรก กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 418 กม.

ช่วงที่สอง พิษณุโลก-เชียงใหม่ ระยะทาง 254 กม.

คิดค่าโดยสารจิ๊บๆแค่ 1,089 บาทต่อเที่ยวต่อคน

ย่นเวลาเดินทางจากกรุงเทพฯถึงเชียงใหม่เพียง 3 ชั่วโมง

ถ้าออกจากกรุงเทพฯ 8 โมงเช้าจะไปถึงเชียงใหม่ทันพระฉันเพล

“แม่ลูกจันทร์” กราบเรียนว่า โครงการนี้รัฐบาลไทยเทียวไล้เทียวขื่อเจรจารัฐบาลญี่ปุ่นมาแล้ว 2 ปีเต็มๆ

เพื่อขอร้องเชิญชวนให้รัฐบาลญี่ปุ่นร่วมลงทุนกับรัฐบาลไทย

แต่รัฐบาลญี่ปุ่นยังลับลวงพรางไม่ยอมตอบโอเค

ล่าสุด นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม ลงทุนนำคณะใหญ่บินไปจับเข่าคุยกับรัฐมนตรีกระทรวงขนส่งของญี่ปุ่นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

ขอคำตอบชัดๆจากรัฐบาลญี่ปุ่นว่าตกลงจะร่วมทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงสายนี้หรือไม่? เมื่อไหร่? อย่างไร?

ปรากฏว่าครั้งนี้ รัฐมนตรีกระทรวงขนส่งญี่ปุ่นมีคำตอบชัดเจน

คือยืนยันว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะไม่ร่วมลงทุนกับฝ่ายไทย

ขอให้รัฐบาลไทยควักกระเป๋าลงทุนเองทั้งงานก่อสร้างโยธา งานระบบอาณัติสัญญาณ การจัดซื้อขบวนรถไฟ และการซ่อมบำรุงครบวงจร

แต่...ถ้ารัฐบาลไทยยังสนใจจะซื้อรถไฟชินกันเซ็งจากญี่ปุ่นอย่างเดิม รัฐบาลญี่ปุ่นพร้อมจะให้รัฐบาลไทยกู้เงินโครงการนี้ด้วยความยินดี

เมื่อรัฐบาลญี่ปุ่นตอบปฏิเสธอย่างนี้ก็เอวัง

รมว.คมนาคม ตัวแทนรัฐบาลไทยก็ผิดหวังอย่างแรง

โครงการร่วมทุนที่วางแผนล่วงหน้าไว้ทุกขั้นตอนต้องเสียเวลาฟรีๆไป 2 ปีเต็มๆ

รถไฟชินกันเซ็ง มันทำเซ็งอย่างนี้แหละโยม

“แม่ลูกจันทร์” ชี้ว่าเหตุผลสำคัญที่รัฐบาลญี่ปุ่นปฏิเสธไม่ร่วมทุนกับรัฐบาลไทย เพราะผลการศึกษาของทีมผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นสรุปว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่มีความเสี่ยงสูง

ไม่คุ้มค่าการลงทุน

ประเมินจำนวนผู้โดยสาร และรายได้จากค่าโดยสารยังต่ำกว่าผลตอบแทนทางการเงินบานตะเกียง

ขาดทุนบักโกรกทั้งระยะสั้น และขาดทุนระยะยาว

“แม่ลูกจันทร์” หวังว่ารัฐบาล คสช.จะไม่ดันทุรังใช้เงินภาษีประชาชนกว่า 4 แสนล้านบาท ไปลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่เองทั้งหมด ตามที่รัฐบาลญี่ปุ่นแนะนำ

ทางออกที่ดีที่สุดคือ เก็บโครงการนี้แช่ตู้เย็นไว้ก่อน 10 ปี!!

เพราะโครงการรถไฟความเร็วสูงจีน สายกรุงเทพฯ-โคราช-หนองคาย ที่รัฐบาล คสช.หลวมตัวลงทุนเอง 100 เปอร์เซ็นต์ จะต้องขาดทุนอ่วมอรไทไปอีก 10 ปี 20 ปี

แค่สายเดียวก็สาหัสแล้ว ขืนขาดทุน 2 สายก็ไอซียู.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 26/10/2018 1:15 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.ยันญี่ปุ่นยังไม่ล้มร่วมทุนไฮสปีด เปิดกว้างสัดส่วน-ปรับรูปแบบ ยกโมเดล“เท็กซัส”เจรจา
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 26 ตุลาคม 2561 เวลา 12:22
ปรับปรุง: 26 ตุลาคม 2561 เวลา 12:26
ปรับปรุง 2: 26 ตุลาคม 2561 เวลา 14:27

ผอ.สนข.แถลงยืนยันญี่ปุ่นยังไม่ยกเลิกการร่วมลงทุนรถไฟฟ้าความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ไทยเปิดกว้างปรับเงื่อนไขดึงพัฒนาพื้นที่หนุนเดินรถ เพิ่มความคุ้มค่า และเพิ่มสัดส่วนลงขัน 50% เป็น70 หรือ 80% ยกโมเดล ไฮสปีดเท็กซัส ที่ญี่ปุ่นตั้ง JOIN หนุนเอกชนไปร่วมทุนกับอเมริกา ใช้กับไทยหากรรูปแบบ จีทูจี ติดหล่ม

จากกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อหนังสือพิมพ์บางฉบับและทีวีบางช่อง โดยนำเสนอข่าว ว่า ประเทศญี่ปุ่นจะไม่เข้าร่วมลงทุนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ในส่วนของงานก่อสร้างและงานวางระบบ รวมถึงงานจัดซื้อตัวรถและซ่อมบำรุง เนื่องจากกังวลว่าจะไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน ส่วนด้านงานบริหารและการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานี (TOD) ยังคงมีความเป็นไปได้ที่ญี่ปุ่นจะเข้ามาร่วมลงทุนควบคู่ไปกับการส่งเสริม ด้านความรู้เทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง เพื่อผลิตบุคลากรรองรับในอนาคต

นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า เป็นข้อมูลที่ คลาดเคลื่อน โดยยืนยันว่า ขณะนี้ กระทรวงคมนาคม และกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (MLIT) อยู่ระหว่างการหารือเรื่องรูปแบบการลงทุน สัดส่วนการลงทุน โครงการร่วมกัน ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุป เนื่องจากมีรายละเอียดหลายประเด็นที่ต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ ทั้งในส่วนของงานก่อสร้างและงานวางระบบ รวมถึงงานจัดซื้อตัวรถและการซ่อมบำรุง

ซึ่งครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2561 ในการประชุมร่วมกันระดับรัฐมนตรีด้านคมนาคม ของ2 ประเทศ โดยฝ่ายไทยยังยืนยันว่าฝ่ายญี่ปุ่นควรร่วมพิจารณาลงทุนกับฝ่ายไทย (Joint Investment) เนื่องจากผลการศึกษาขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) สรุปว่า การลงทุนโครงสร้างโยธา ระบบรางและเดินรถอย่างเดียวไม่คุ้มค่าในการลงทุน ต้องมีการพัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทางและพื้นที่รอบสถานี (TOD) ร่วมด้วย ขณะที่การดำเนินงานดังกล่าวต้องอาศัยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของญี่ปุ่น ดังนั้น การตัดสินใจลงทุนในโครงการนี้รัฐบาลไทยจึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ

โดยฝ่ายไทยได้เสนอให้ฝ่ายญี่ปุ่นพิจารณาใช้รูปแบบการดำเนินงานในลักษณะเดียวกับการลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา (Texas High-Speed Railway Project) ที่ตั้งหน่วยงานใหม่เมื่อปี 2558 ที่ญี่ปุ่นลงทุนผ่าน Japan Oversea Infrastructure Investment Corporation for Transport and Urban Development (JOIN) ดังนั้น จึงมอบหมายให้คณะทำงานทั้ง 2 ฝ่าย (ไทย-ญี่ปุ่น)

ร่วมกันศึกษาและหารือในรายละเอียดดังกล่าว เพื่อให้ได้ข้อสรุปเรื่องการร่วมลงทุนในโครงการนี้โดยเร็วต่อไป

“การเจรจายังไม่สรุป ซึ่งแผนก่อนหน้านี้ ไทยจะร่วมทุนกับญี่ปุ่น แบบจีทูจี สัดส่วน50:50 ซึ่งยังไม่รวมเรื่องการพัฒนาพื้นที่ แต่ขณะนี้ได้เจรจาโดยจะรวมการลงทุนทั้งงานโยธา ระบบตัวรถ ซ่อมบำรุง การเดินรถ.และพัฒนาพื้นที่ เพื่อให้คุ้มค่ามากขึ้น โดยจะพิจารณาสัดส่วน ที่เหมาะสมและทั้ง2ฝ่ายรับได้ เช่น ไทย70: ญี่ปุ่น 30 หรือ 80:20 หรืออาจจะเป็นการร่วมทุนในส่วนงานโยธาน้อย แต่ไปลงในการพัฒนาพื้นที่มากขึ้น ซึ่งต้องเจรจากันต่อไป โดยคาดว่าจะได้ความชัดเจนอีกไม่นาน”

อย่างไรก็ตาม คณะทำงานไทยได้นัดทูตญี่ปุ่นและไจก้า หารือในสัปดาห์หน้า เพื่อดูรายละเอียดแนวทางการร่วมลงทุนกับไทยผ่าน JOIN เหมือนกรณีรถไฟความเร็วสูงเท็กซัส ว่าเป็นไปได้แค่ไหน ซึ่งการร่วมลงทุน มีหลายรูปแบบ ซึ่งในระยะแรก ญี่ปุ่นอาจจะยังไม่ร่วมลงทุนก็ได้ แต่อาจจะตกลงร่วมกันไว้ก่อนว่าจะร่วมลงทุนในปีที่ 15 ปี ที่โครงการเริ่มมีรายได้ และคุ้มค่ามากขึ้น อย่างไรก็ตาม ไทยต้องการให้ญี่ปุ่นร่วมทุนเพราะเป็นเรื่องใหม่ที่มีเทคนิคและรายละเอียดที่ซับซ้อน ซึ่งญี่ปุ่นมีประสบการณ์

แต่หากสุดท้ายญี่ปุ่นไม่ร่วมทุนจริงๆ ไทยอาจจะต้องจัดลำดับความสำคัญ และการลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงให้สอดคล้องกับความจำเป็นเร่งด่วนและงบลงทุนของประเทศซึ่งในแผนมี 4 โครงการ คือ กรุงเทพ-โคราช-หนองคาย(ความร่วมมือไทย-จีน) ,กรุงเทพ-ระยอง ,กรุงเทพ-พิษณุโลก-หัวหิน,กรุงเทพ-เชียงใหม่ (ความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น) โดยสามารถที่จะทยอยลงทุนก่อสร้างเป็นช่วงสั้นๆ เช่นกรุงเทพ-อยุธยา เป็นต้น

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคม และกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (MLIT) ได้ร่วมลงนามในบันทึกความร่วมมือการพัฒนาระบบรางระหว่างไทย-ญี่ปุ่น (MOC) เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2558 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เพื่อพัฒนารถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ โดยได้เริ่มทำการศึกษาความเหมาะสมตั้งแต่เดือนธันวาคม 2558 แล้วเสร็จเดือนพฤศจิกายน 2560 โดยอยู่ในขั้นตอนการเจรจา รูปแบบและสัดส่วนการร่วมทุน อย่างไร จากนั้น จะเป็นการออกแบบรายละเอียด จากนั้นเป็นการเสนอขออนุมัติครม.เพื่อมอบหมายว่าจะให้หน่วยงานใดรับผิดชอบโครงการต่อไป

โดยโครงการระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 380 กิโลเมตร ประมาณการค่าก่อสร้างเบื้องต้นที่ 270,000 ล้านบาท มีผลตอบแทนด้าน (EIRR) ประมาณ 14.7% ภายใต้เงื่อนไขต้องมีการพัฒนาเมืองรอบสถานีด้วย ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี


Last edited by Wisarut on 26/10/2018 4:52 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44663
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/10/2018 3:20 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
สนข.ยันญี่ปุ่นยังไม่ล้มร่วมทุนไฮสปีด เปิดกว้างสัดส่วน-ปรับรูปแบบ ยกโมเดล“เท็กซัส”เจรจา
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 26 ตุลาคม 2561 เวลา 12:22
ปรับปรุง: 26 ตุลาคม 2561 เวลา 12:26

ก.หูกวางยันญี่ปุ่นเดินหน้าลงทุนต่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงกทม.-เชียงใหม่
สยามรัฐออนไลน์ 26 ตุลาคม 2561 14:31 เศรษฐกิจ

Click on the image for full size

“ก.คมนาคม” ญี่ปุ่นไม่ได้ยกเลิกร่วมทุนก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ พร้อมเดินหน้าตั้งคณะทำงาน 2 ฝ่าย (ไทย-ญี่ปุ่น) เร่งศึกษาให้ได้ข้อสรุปอย่างรอบคอบ และเกิดความคุ้มค่าในการลงทุน เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศไทย

นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ขอชี้แจงเกี่ยวกับประเด็นความเข้าใจคลาดเคลื่อนต่อการดำเนินโครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ที่มีการเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อแขนงต่างๆ โดยนำเสนอข่าว ว่า ประเทศญี่ปุ่นจะไม่เข้าร่วมลงทุนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ในส่วนของงานก่อสร้างและงานวางระบบ รวมถึงงานจัดซื้อตัวรถและซ่อมบำรุง เนื่องจากกังวลว่าจะไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน ส่วนด้านงานบริหารและการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานี (TOD) ยังคงมีความเป็นไปได้ที่ญี่ปุ่นจะเข้ามาร่วมลงทุนควบคู่ไปกับการส่งเสริมด้านความรู้เทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง เพื่อผลิตบุคลากรรองรับในอนาคต นั้น ข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว 1. กระทรวงคมนาคม (คค.) และกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (MLIT) ได้ร่วมลงนามในบันทึกความร่วมมือการพัฒนาระบบรางระหว่างไทย-ญี่ปุ่น (MOC) เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เพื่อพัฒนารถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ โดยได้เริ่มทำการศึกษาความเหมาะสมของโครงการระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2558 แล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน 2560

Click on the image for full size

2. ปัจจุบันกระทรวงคมนาคม (คค.) และกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (MLIT) อยู่ระหว่างการหารือเรื่องรูปแบบการลงทุนโครงการร่วมกัน ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป เนื่องจากมีรายละเอียดหลายประเด็นที่ต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ ทั้งในส่วนของงานก่อสร้างและงานวางระบบ รวมถึงงานจัดซื้อตัวรถและการซ่อมบำรุง โดย คค. และ MLIT ได้มีการหารือร่วมกันครั้งล่าสุดในคราวประชุมระดับรัฐมนตรีด้านคมนาคม เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2561 โดยฝ่ายไทยยังยืนยันว่าฝ่ายญี่ปุ่นควรร่วมพิจารณาลงทุนกับฝ่ายไทย (Joint Investment) เนื่องจากผลการศึกษาขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) สรุปว่า ต้องมีการพัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทางและพื้นที่รอบสถานี (TOD) ร่วมด้วย จึงจะเกิดความคุ้มค่าในการลงทุน ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวต้องอาศัยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของญี่ปุ่น ดังนั้น การตัดสินใจลงทุนในโครงการนี้รัฐบาลไทยจึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ

Click on the image for full size

และ3. อย่างไรก็ตาม ในการหารือล่าสุดฝ่ายไทยได้เสนอให้ฝ่ายญี่ปุ่นพิจารณาใช้รูปแบบการดำเนินงานในลักษณะเดียวกับการลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา (Texas High-Speed Railway Project) เมื่อปี พ.ศ. 2558 ที่ลงทุนผ่าน Japan Oversea Infrastructure Investment Corporation for Transport and Urban Development (JOIN) โดยมอบหมายให้คณะทำงานทั้ง 2 ฝ่าย (ไทย-ญี่ปุ่น)ร่วมกันศึกษาและหารือในรายละเอียดดังกล่าว เพื่อให้ได้ข้อสรุปเรื่องการร่วมลงทุนในโครงการนี้โดยเร็วต่อไป

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 26/10/2018 4:37 pm    Post subject: Reply with quote

^^^
ก็ดูกันไปว่าญี่ปุ่นจะยังเอาอีกหรือเปล่า หรือว่าจีนจะเสียบแทน

คมนาคมยันญี่ปุ่นไม่ยกเลิกไฮสปีดเทรนเร่งตั้งคณะทำงาน2ฝ่ายเร่งรัดโครงการ

26 ตุลาคม 2561

สนข. กระทรวงคมนาคม ยืนยัน ญี่ปุ่นไม่ได้ยกเลิกการร่วมลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ พร้อมเดินหน้าตั้งคณะทำงาน 2 ฝ่าย (ไทย-ญี่ปุ่น) เร่งศึกษาให้ได้ข้อสรุปอย่างรอบคอบ และเกิดความคุ้มค่าในการลงทุน เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศไทย

นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยภายหลังการแถลงข่าวชี้แจงเกี่ยวกับประเด็นความเข้าใจคลาดเคลื่อนต่อการดำเนินโครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ที่มีการเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อแขนงต่างๆ โดยนำเสนอข่าว ว่า ประเทศญี่ปุ่นจะไม่เข้าร่วมลงทุนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ในส่วนของงานก่อสร้างและงานวางระบบ รวมถึงงานจัดซื้อตัวรถและซ่อมบำรุง เนื่องจากกังวลว่าจะไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน ส่วนด้านงานบริหารและการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานี (TOD) ยังคงมีความเป็นไปได้ที่ญี่ปุ่นจะเข้ามาร่วมลงทุนควบคู่ไปกับการส่งเสริมด้านความรู้เทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง เพื่อผลิตบุคลากรรองรับในอนาคต

โดย นายสราวุธ ได้ชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว ดังนี้

1. กระทรวงคมนาคม (คค.) และกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (MLIT) ได้ร่วมลงนามในบันทึกความร่วมมือการพัฒนาระบบรางระหว่างไทย-ญี่ปุ่น (MOC) เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2558 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เพื่อพัฒนารถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ โดยได้เริ่มทำการศึกษาความเหมาะสมของโครงการระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2558 แล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน 2560

2. ปัจจุบันกระทรวงคมนาคม (คค.) และกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (MLIT) อยู่ระหว่างการหารือเรื่องรูปแบบการลงทุนโครงการร่วมกัน ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป เนื่องจากมีรายละเอียดหลายประเด็นที่ต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ ทั้งในส่วนของงานก่อสร้างและงานวางระบบ รวมถึงงานจัดซื้อตัวรถและการซ่อมบำรุง โดย กระทรวงคมนาคม และ MLIT ได้มีการหารือร่วมกันครั้งล่าสุดในคราวประชุมระดับรัฐมนตรีด้านคมนาคม เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2561 โดยฝ่ายไทยยังยืนยันว่าฝ่ายญี่ปุ่นควรร่วมพิจารณาลงทุนกับฝ่ายไทย (Joint Investment) เนื่องจากผลการศึกษาขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) สรุปว่า ต้องมีการพัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทางและพื้นที่รอบสถานี (TOD) ร่วมด้วย จึงจะเกิดความคุ้มค่าในการลงทุน ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวต้องอาศัยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของญี่ปุ่น ดังนั้น การตัดสินใจลงทุนในโครงการนี้รัฐบาลไทยจึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ

3. อย่างไรก็ตาม ในการหารือล่าสุดฝ่ายไทย ได้เสนอให้ฝ่ายญี่ปุ่นพิจารณาใช้รูปแบบการดำเนินงานในลักษณะเดียวกับการลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา (Texas High-Speed Railway Project) เมื่อปี พ.ศ. 2558 ที่ลงทุนผ่าน Japan Oversea Infrastructure Investment Corporation for Transport and Urban Development (JOIN) โดยมอบหมายให้คณะทำงานทั้ง 2 ฝ่าย (ไทย-ญี่ปุ่น)
ร่วมกันศึกษาและหารือในรายละเอียดดังกล่าว เพื่อให้ได้ข้อสรุปเรื่องการร่วมลงทุนในโครงการนี้โดยเร็วต่อไป
https://mgronline.com/news-clips/1Vk8NJr8wVk
https://www.youtube.com/watch?v=1Vk8NJr8wVk


Last edited by Wisarut on 29/10/2018 12:08 pm; edited 4 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 26/10/2018 4:43 pm    Post subject: Reply with quote

ภาพ ความคืบหน้า การสร้างไฮสปีดเทรนสายแรกของไทย
26 ตุลาคม 2561 เวลา 13:46
อัพเดตความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง หรือ ไฮสปีดเทรน ไทย-จีน ช่วงที่ 1 (กลางดง-ปางอโศก) ซึ่งเป็นสายแรกและสายเดียวที่กำลังก่อสร้าง...


เมื่อวันที่ 26 ต.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีสังคมให้ความสนใจเกี่ยวกับกรณี โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง หรือ ไฮสปีดเทรน ในประเทศไทยอีกครั้ง ล่าสุด มีรายงาน ญี่ปุ่นไม่สนใจลงทุนโครงการไฮสปีดเทรนเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ตามแผนงานของรัฐบาล

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ประเทศไทยกำลังมีการก่อสร้างโครงการไฮสปีดเทรนอยู่ 1 เส้นทาง คือ ไฮสปีดเทรนไทย-จีน ช่วงที่ 1 (กลางดง-ปางอโศก) ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ให้กรมทางหลวงดำเนินการก่อสร้างด้านงานโยธาให้

อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นจากเว็บไซต์ของกรมทางหลวง เปิดเผยข้อมูลความคืบหน้าการก่อสร้าง ณ วันที่ 17 ส.ค.2561 ซึ่งประกอบด้วยงานหลักๆ 7 งาน ได้แก่
1. งานโครงการชั้นทางรถไฟความเร็วสูง
2. งาน Service Road และ Access Road
3. งานย้ายรางรถไฟเดิมรวม 900 เมตร
4. งานระบายน้ำ
5. งาน Culvert
6. งาน Bridge และ
7. งาน Miscellaneous มีความคืบหน้า 28% โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน ต.ค.2561.

ภาพและรายละเอียดความคืบหน้าโครงการ

ขอบคุณข้อมูลและภาพจากเว็บไซต์กรมทางหลวง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 26/10/2018 10:30 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
สนข.ยันญี่ปุ่นยังไม่ล้มร่วมทุนไฮสปีด เปิดกว้างสัดส่วน-ปรับรูปแบบ ยกโมเดล“เท็กซัส”เจรจา
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 26 ตุลาคม 2561 เวลา 12:22
ปรับปรุง: 26 ตุลาคม 2561 เวลา 12:26
ปรับปรุง 2: 26 ตุลาคม 2561 เวลา 14:27



ไทย-ญี่ปุ่นถกไม่ลงตัวไฮสปีด”กทม.-พิษณุโลก”เล็งนำโมเดลเท็กซัสเป็นต้นแบบลงทุนผ่านกองทุนJOIN
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 26 ตุลาคม 2561 เวลา 20:16 น.


นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า รถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ระยะทาง 672 กม. เงินลงทุนประมาณ 420,000 ล้านบาท เป็นความร่วมมือระหว่างไทยกับประเทศญี่ปุ่น ขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนในประเด็นเรื่องการร่วมลงทุน ยังอยู่ในระหว่างการหารือร่วมกันอยู่

เนื่องจากโครงการนี้มีรายละเอียดที่ซับซ้อน จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ทั้งเรื่องขบวนรถ, งานโครงสร้างโยธา, งานบำรุงรักษาโครงการ, การพัฒนาพื้นที่ (TOD)​ และงานเดินรถ และประเทศไทยไม่เคยมีโครงการรถไฟความเร็วสูงมาก่อน



ทั้งนี้ไทยและญี่ปุ่นเริ่มทำการศึกษาความเหมาะสมของโครงการในระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพ-พิษณุโลก ระยะทาง 380 กม. เงินลงทุน 276,225 ล้านบาท ตั้งแต่ ธ.ค. 2558 และศึกษาแล้วเสร็จในเดือนพ.ย. 2560 ที่ผ่านมา ขณะนี้ผลการศึกษาอยู่กับสนข.แล้ว



สำหรับแผนก่อนหน้านี้ วางแผนที่จะพัฒนาโครงการในรูปแบบรัฐบาลกับรัฐบาล (จีทูจี)​ในสัดส่วน 50:50 แต่ต่อไปจะหารือร่วมกัน เพื่อหาสัดส่วนที่เหมาะสมและทั้งสองฝ่ายรับได้ เช่น ไทย 70:ญี่ปุ่น 30 หรือ 80:20 หรืออาจจะเป็นการร่วมทุนในส่วนงานโยธาน้อย และเพิ่มงานด้านอื่น เช่น การพัฒนาพื้นที่, งานระบบ เป็นต้น

โดยการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านคมนาคมครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 19 ต.ค.ที่ผ่านมา ทางไทยยังยืนยันว่า ประเทศญี่ปุ่นจะต้องร่วมลงทุนกับฝ่ายเรา (Joint Investment)​ แต่ญี่ปุ่นยังสงวนท่าทีอยู่ อย่างไรก็ตาม ได้เสนอให้ญี่ปุ่นพิจารณารูปแบบการดำเนินโครงการในลักษณะเดียวกับโครงการรถไฟความเร็ว​สูง​รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา​ ที่ลงทุนผ่านกองทุน JOIN (Japan Oversea Infrastructure Investment Corporation for Transport and Urban Development)​



จึงมอบหมายให้คณะทำงานทั้งสองฝ่าย (ไทย-ญี่ปุ่น) ร่วมกันศึกษาและหารือในรายละเอียดดังกล่าว เพื่อให้ได้ข้อสรุปเรื่องการร่วมลงทุนในโครงการนี้โดยเร็วต่อไป ซึ่งจะมีการหารือกับทูตญี่ปุ่นและไจก้าในต้นเดือนพ.ย.นี้

“หากญี่ปุ่นไม่สนใจที่จะมาร่วมลงทุนกับเราจริงๆ การศึกษาโดยรัฐบาลเอง 100% คงจะต้องนำเรื่องนี้กลับไปพิจารณาลำดับความสำคัญใหม่ เพราะเรามีแผนสร้างรถไฟความเร็วสูงอีก 3 เส้นทางคือ

1. รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (กรุงเทพ-หนองคาย)​
2. รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน​ (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ​-อู่ตะเภา)​ และ
3. รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-หัวหิน

อาจจะทำเส้นทางสั้นๆก่อน แต่เราก็อยากให้ญี่ปุ่นมาร่วม เพราะเป็นการยกระดับความสัมพันธ์​ระหว่างประเทศ แถมยังถ่ายทอดเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงให้เราด้วย เพราะทางเขาก็พัฒนาไม่หยุดนิ่งและเราก็อยากได้เทคโนโลยีของเขามาใช้ด้วย”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 29/10/2018 10:51 am    Post subject: Reply with quote

ไฟเขียวเวนคืนที่ดิน แนวรถไฟแขวงทุ่งพญาไท-สามเสนใน ทำไฮสปีดเทรน
หน้า 11 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 38 ฉบับ 3,412 วันที่ 25-27 ตุลาคม 2561

กฤษฎีกา ไฟเขียวร.ฟ.ท. เดินหน้าจ่ายค่าเวนคืนที่ดินวงเงิน 490 ล้านบาท กับผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ บริเวณแขวงทุ่งพญาไท และแขวงสามเสนใน หลังตีความแล้วเป็นโครงการเดียวกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

จากที่การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) ได้ทำหนังสือถึงคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อขอให้ตีความกรณีพระราชกฤฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี และแขวงสามเสนใน เขตพญาไท เพื่อสร้างทางรถไฟและเครื่องประกอบทางรถไฟ ตามโครงการระบบรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยาย ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท ซึ่งเป็นโครงการเดิมตั้งแต่ปี 2558 แต่ต่อมาคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2561 ได้มีมติให้ดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มีขอบเขตงานประกอบด้วย

1.โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีขนส่งผู้โดยสารท่าอากาศยานดอนเมือง
2.โครงการระบบรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยาย ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท และ
3.โครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ -ท่าอากาศยานอู่ตะเภา

ดังนั้น เพื่อให้การส่งมอบพื้นที่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นไปตามแผนงาน ร.ฟ.ท.และสามารถเบิกจ่ายงบประมาณที่จัดสรรไว้วงเงิน 490 ล้านบาท ให้กับผู้ถูกเวนคืนที่ดินได้ จึงขอให้คณะกรรมการกฤษฎีกา พิจารณากรณีการนำที่ดินจากการเวนคืนดังกล่าวมาใช้กับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ว่าจะเป็นการขัดต่อวัตถุประสงค์ของพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนดังกล่าวหรือไม่ เนื่องจากโครงการระบบรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยายช่วงดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท ใช้พื้นที่ในช่วงดอนเมือง-พญาไท เป็นโครงการร่วมกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า กรณีดังกล่าวทางคณะกรรมการกฤษฎีกา พิจารณาแล้วเห็นว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ประกอบด้วย โครงการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์เดิม ช่วงพญาไทถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โครงการระบบรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยาย ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท และโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯถึงท่าอากาศยานอู่ตะเภา เชื่อมต่อกันเป็นเส้นทางเดียวอย่างไร้รอยต่อ

โดยมี 2 โครงการที่จะต้องดำเนินการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ได้แก่ โครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-ถึงท่าอากาศยานอู่ตะเภา ที่อยู่ระหว่างดำเนินการออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน และโครงการระบบรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิส่วนต่อขยายช่วงดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท ซึ่งได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนไว้ตั้งแต่ปี 2558 และได้ทำการสำรวจรายละเอียดที่ดิน อาคารต้นไม้ยืนต้น และพืชผล และได้เริ่มทำสัญญากับผู้ถูกเวนคืน เพื่อจะได้มอบพื้นที่ก่อสร้างให้ได้ตามแผนดำเนินงาน

จากผลการพิจารณาเห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้รับรองสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลไว้ว่า การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทำมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายและกฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต้องระบุวัตถุประสงค์แห่งการเวนคืนไว้ให้ชัดแจ้ง ซึ่งพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี และแขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2558 ที่ประกาศออกมานั้นถือว่าได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการเวนคืน เพื่อใช้ในการสร้างทางรถไฟและเครื่องประกอบทางรถไฟ ตามโครงการระบบรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยาย ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท ไว้อย่างชัดแจ้ง และคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการดังกล่าวรวมเป็นโครงการเดียวกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะทำให้เชื่อมต่อเป็นเส้นทางเดียวอย่างไรร้อยต่อ

ดังนั้น การนำที่ดินไปใช้เพื่อสร้างโครงการดังกล่าว ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกาแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
nutsiwat
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 03/03/2011
Posts: 684
Location: สถานีเรณูนคร

PostPosted: 29/10/2018 8:50 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ไฟเขียวเวนคืนที่ดิน แนวรถไฟแขวงทุ่งพญาไท-สามเสนใน ทำไฮสปีดเทรน
หน้า 11 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 38 ฉบับ 3,412 วันที่ 25-27 ตุลาคม 2561

กฤษฎีกา ไฟเขียวร.ฟ.ท. เดินหน้าจ่ายค่าเวนคืนที่ดินวงเงิน 490 ล้านบาท กับผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ บริเวณแขวงทุ่งพญาไท และแขวงสามเสนใน หลังตีความแล้วเป็นโครงการเดียวกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

จากที่การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) ได้ทำหนังสือถึงคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อขอให้ตีความกรณีพระราชกฤฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี และแขวงสามเสนใน เขตพญาไท เพื่อสร้างทางรถไฟและเครื่องประกอบทางรถไฟ ตามโครงการระบบรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยาย ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท ซึ่งเป็นโครงการเดิมตั้งแต่ปี 2558 แต่ต่อมาคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2561 ได้มีมติให้ดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มีขอบเขตงานประกอบด้วย

1.โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีขนส่งผู้โดยสารท่าอากาศยานดอนเมือง
2.โครงการระบบรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยาย ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท และ
3.โครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ -ท่าอากาศยานอู่ตะเภา

ดังนั้น เพื่อให้การส่งมอบพื้นที่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นไปตามแผนงาน ร.ฟ.ท.และสามารถเบิกจ่ายงบประมาณที่จัดสรรไว้วงเงิน 490 ล้านบาท ให้กับผู้ถูกเวนคืนที่ดินได้ จึงขอให้คณะกรรมการกฤษฎีกา พิจารณากรณีการนำที่ดินจากการเวนคืนดังกล่าวมาใช้กับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ว่าจะเป็นการขัดต่อวัตถุประสงค์ของพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนดังกล่าวหรือไม่ เนื่องจากโครงการระบบรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยายช่วงดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท ใช้พื้นที่ในช่วงดอนเมือง-พญาไท เป็นโครงการร่วมกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า กรณีดังกล่าวทางคณะกรรมการกฤษฎีกา พิจารณาแล้วเห็นว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ประกอบด้วย โครงการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์เดิม ช่วงพญาไทถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โครงการระบบรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยาย ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท และโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯถึงท่าอากาศยานอู่ตะเภา เชื่อมต่อกันเป็นเส้นทางเดียวอย่างไร้รอยต่อ

โดยมี 2 โครงการที่จะต้องดำเนินการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ได้แก่ โครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-ถึงท่าอากาศยานอู่ตะเภา ที่อยู่ระหว่างดำเนินการออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน และโครงการระบบรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิส่วนต่อขยายช่วงดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท ซึ่งได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนไว้ตั้งแต่ปี 2558 และได้ทำการสำรวจรายละเอียดที่ดิน อาคารต้นไม้ยืนต้น และพืชผล และได้เริ่มทำสัญญากับผู้ถูกเวนคืน เพื่อจะได้มอบพื้นที่ก่อสร้างให้ได้ตามแผนดำเนินงาน

จากผลการพิจารณาเห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้รับรองสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลไว้ว่า การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทำมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายและกฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต้องระบุวัตถุประสงค์แห่งการเวนคืนไว้ให้ชัดแจ้ง ซึ่งพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี และแขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2558 ที่ประกาศออกมานั้นถือว่าได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการเวนคืน เพื่อใช้ในการสร้างทางรถไฟและเครื่องประกอบทางรถไฟ ตามโครงการระบบรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยาย ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท ไว้อย่างชัดแจ้ง และคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการดังกล่าวรวมเป็นโครงการเดียวกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะทำให้เชื่อมต่อเป็นเส้นทางเดียวอย่างไรร้อยต่อ

ดังนั้น การนำที่ดินไปใช้เพื่อสร้างโครงการดังกล่าว ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกาแล้ว


ผมรบกวนสอบถามในความสงสัยหน่อยครับ

เส้นทางรถไฟความเร็วสูงที่เชื่อมสนามบิน 3 สนามบิน ในส่วนที่เป็นสถานีรถไฟดอนเมือง ทำไมเราถึงไม่สร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเข้าไปยังตัวอาคารสนามบินดอนเมือง โดยเอาจุดใดจุดหนึ่งของอาคารเป็นสถานีสนามบินดอนเมืองเลยครับ เหมือนกับเส้นแอร์พอร์ทลิงค์ที่สถานีอยู่ด้านในอาคารสนามบินสุวรรณภูมิ ผมคิดว่าถ้าหากมีการสร้างต่อเข้าไปยังตัวอาคารสนามบินดอนเมืองน่าจะช่วยเรื่องการเดินทางของ ผดส. ที่ไม่ต้องเดินไกล พอขบวนรถไฟเข้าไปจอดยังสนามบินดอนเมือง ผดส. ก็สามารถจะเดินเข้าไปยังอาคาร สามารถเช็คอิน ณ เคาเตอร์ หรือไปรับ - ส่งญาติที่เดินทางได้ทันทีครับ

ขอบคุณมากครับ
_________________
Laughing Laughing Laughing Laughing
--------------------------

สถานีต่อไป สถานีเรณูนคร
next station Renunakorn
Back to top
View user's profile Send private message Yahoo Messenger MSN Messenger
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 30/10/2018 11:07 am    Post subject: Reply with quote

nutsiwat wrote:

ผมรบกวนสอบถามในความสงสัยหน่อยครับ

เส้นทางรถไฟความเร็วสูงที่เชื่อมสนามบิน 3 สนามบิน ในส่วนที่เป็นสถานีรถไฟดอนเมือง ทำไมเราถึงไม่สร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเข้าไปยังตัวอาคารสนามบินดอนเมือง โดยเอาจุดใดจุดหนึ่งของอาคารเป็นสถานีสนามบินดอนเมืองเลยครับ เหมือนกับเส้นแอร์พอร์ทลิงค์ที่สถานีอยู่ด้านในอาคารสนามบินสุวรรณภูมิ ผมคิดว่าถ้าหากมีการสร้างต่อเข้าไปยังตัวอาคารสนามบินดอนเมืองน่าจะช่วยเรื่องการเดินทางของ ผดส. ที่ไม่ต้องเดินไกล พอขบวนรถไฟเข้าไปจอดยังสนามบินดอนเมือง ผดส. ก็สามารถจะเดินเข้าไปยังอาคาร สามารถเช็คอิน ณ เคาเตอร์ หรือไปรับ - ส่งญาติที่เดินทางได้ทันทีครับ

ขอบคุณมากครับ


ไม่คุ้มค่าที่จะทำและ การท่าอากาศยานซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินสนามบินดอนเมือง ไม่ยอมให้ทำโดยเด็ดขาดด้วย และ ที่แน่ๆ คือ จะทุบอาคารสายการบินในประเทศเดิม เพื่อสร้างอาคารระหว่างประเทศใหม่ (T3) และ ลดชั้น T1 ให้รองรับเฉพาะในประเทศอย่างเดียว และ จะใช้ People mover เชื่อมอาคารทั้งสามเข้าด้วยกันอีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 30/10/2018 11:10 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.นัดชี้แจงTOR ประมูลรถไฟเร็วสูง ต่อครม.600คำถาม
วันอังคาร ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2561, 06.00 น.

มีรายงานจาก กระทรวงคมนาคม แจ้งว่า ในการประชุม ครม.สัญจร วันที่ 30 ตุลาคม 2561 กระทรวงฯได้มีการเตรียมเสนอผลสรุปโครงการและรายละเอียดขอบเขตการประกวดราคา(TOR)โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) วงเงิน 215,000 ล้านบาท ให้ ครม.สัญจร พิจารณา ก่อนเปิดเอกชนผู้สนใจยื่นซองในวันที่ 12 พฤศจิกายน โดยทางการรถไฟฯได้รวบรวมประเด็นคำถามกว่า 600 ข้อพร้อมสรุปแนวทางชี้แจงเอกชนในช่วงของการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นด้วย



นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมจะมีการเสนอโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ได้แก่ โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 และโครงการศูนย์ซ่อมอากาศยาน (MRO) สนามบินอู่ตะเภา ให้กับที่ประชุมครม.ในครั้งนี้เพื่อขอความเห็นชอบก่อนเปิดประมูลต่อไป

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยถึงกรณีที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้กระทรวงคมนาคมไปสำรวจแผนพัฒนาถนนเชียงใหม่-เชียงรายเพื่อกระตุ้นท่องเที่ยวเมืองรอง ว่าสำหรับโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) เส้นทางเชียงใหม่-เชียงราย วงเงินลงทุน 91,153 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายดำเนินโครงการ 10,021 ล้านบาท ระยะทางรวมประมาณ 184 กิโลเมตร ซึ่งเส้นทางดังกล่าวผ่าน 4 จังหวัดได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง พะเยา และเชียงราย ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมและความคุ้มค่าตามแผนแม่บท คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2564-2565 ใช้เวลาดำเนินการประมาณ 3-4 ปีก่อนเปิดใช้บริการ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 289, 290, 291 ... 547, 548, 549  Next
Page 290 of 549

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©