Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13272732
ทั้งหมด:13584028
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 12, 13, 14  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 24/07/2023 11:21 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เดินหน้าสถานีร่วมศิริราช
Source - เดลินิวส์
Monday, July 24, 2023 06:01

แก้สัญญาเหมาจ่าย161ล.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 25 ก.ค. 2566 (กรอบบ่าย)


Mongwin wrote:
บอร์ด รฟท. เคาะศิริราชจ่ายค่าเช่าที่ 161 ล้านบาท
ไทยโพสต์ 24 กรกฎาคม 2566 เวลา 9:36 น.

รฟท.เคาะรับค่าเช่าที่ดิน 'สถานีธนบุรี' งวดเดียว 161 ล้าน 'ศิริราช' เร่งสร้างอาคารรักษาพยาบาลเชื่อมสถานีรถไฟฟ้า
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 24 กรกฎาคม 2566 เวลา 07:46 น.
ปรับปรุง: 24 กรกฎาคม 2566 เวลา 07:46 น.

บอร์ด รฟท.เคาะเพิ่มทางเลือกให้ รพ.ศิริราชจ่ายค่าเช่าที่ดิน "สถานีธนบุรี" จากรายปีเป็นงวดเดียว คิดมูลค่าที่ 161 ล้านบาท เดินหน้าพัฒนาอาคารรักษาพยาบาลและสถานีเชื่อมรถไฟฟ้า "สีแดง-สีส้ม" คาดลงนามสัญญาเช่าได้ใน ก.ย. 66

นางสาวมณฑกาญจน์ ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพย์สินการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2566 ได้มีมติเห็นชอบการปรับวิธีจ่ายค่าเช่าที่ดินของการรถไฟฯ บริเวณสถานีธนบุรี ซึ่งเป็นการทบทวนมติบอร์ดรฟท.เดิม เมื่อวันที่ 13 ส.ค. 2563 จากเดิม รฟท.คิดค่าเช่าที่ดินเป็นรายปี ซึ่งเป็นไปตามระเบียบ รฟท. และได้ตกลงร่วมกับโรงพยาบาลศิริราชแล้ว ต่อมามีการประชุมร่วมกัน โดย รพ.ศิริราชขอปรับเปลี่ยนการจ่ายค่าเช่าที่ดินจากรายปีเป็นงวดเดียว เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพื่อใช้ในการไปดำเนินการจัดทำงบประมาณของ รพ.ศิริราช

ทั้งนี้ รพ.ศิริราชจะเช่าที่ดินของ รฟท.บริเวณสถานีธนบุรี จำนวน 4.67 ไร่ (7,456 ตารางเมตร) เพื่อดำเนินโครงการอาคารรักษาพยาบาลและสถานีศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีระยะเวลาเช่า 30 ปี อัตราค่าเช่า 50 ล้านบาทต่อปี ปรับขึ้น 3% ต่อปี โดยคิดมูลค่าปัจจุบัน กรณีชำระครั้งเดียวเป็นเงินประมาณ 161 ล้านบาท

“หลังจากนี้จะแจ้งมติบอร์ด รฟท.ให้ศิริราชฯ รับทราบว่าเปิดทางเลือกให้สามารถจ่ายค่าเช่าที่ดินงวดเดียวได้ด้วย ซึ่งทางศิริราชฯ จะสรุปเพื่อดำเนินการลงนามสัญญาร่วมกันต่อไป ซึ่ง รฟท.คาดว่าจะเร่งทำร่างสัญญา และลงนามการเช่าที่ดินได้ภายในเดือน ก.ย. 2566 เพื่อให้ทางศิริราชฯ นำสัญญาเช่าที่ดิน รฟท.ไปใช้ประกอบการเสนอของบประมาณประจำปี 2568” นางสาวมณฑกาญจน์กล่าว

สำหรับโครงการอาคารรักษาพยาบาลและสถานีศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติโครงการฯ เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2565 งบประมาณรวม 3,851.27 ล้านบาท แบ่งเป็นงบฯ ลงทุนค่าก่อสร้าง 2,338.27 ล้านบาท ครุภัณฑ์การแพทย์ 1,400 ล้านบาท และงบฯ บุคลากร 113.01 ล้านบาท

ก่อสร้างอาคารสูง 15 ชั้น ชั้นใต้ดิน 3 ชั้น รวมความสูงของอาคารเท่ากับ 81 เมตร มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 51,853 ตารางเมตร แบ่งเป็น 1. พื้นที่โรงพยาบาล 47,537 ตารางเมตร 2. พื้นที่รถไฟสายสีแดงอ่อน 3,410 ตารางเมตร และ 3. พื้นที่รถไฟฟ้าสายสีส้ม 906 ตารางเมตร พร้อมพื้นที่จอดรถ 79 คัน ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 32 เดือนรวมระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 ปี

มีการพัฒนาจุดเชื่อมโยงการเดินทางโดยรถไฟฟ้าบริเวณโรงพยาบาลศิริราช จำนวน 2 สถานี คือ สถานีศิริราช รถไฟฟ้าสายสีส้มของ รฟม. และสถานีธนบุรี-ศิริราช รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนของ รฟท. เพื่อให้เป็นสถานีขนส่งมวลชนเพื่อสุขภาพและสาธารณสุขแห่งแรกของประเทศไทย


เดินหน้า ”สถานีร่วมศิริราช+อาคารรักษาพยาบาล”
*เปลี่ยนมติบอร์ดรฟท.คิดค่าเช่าเหมาจ่าย161ล.
*เดือนหน้าลงนามสัญญาเริ่มก่อสร้างภายในปีนี้
*นั่งรถไฟฟ้าสายสีแดง-ส้มลงกลางโรงพยาบาล
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/829508455293057/
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44634
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/10/2023 7:33 am    Post subject: Reply with quote

ลุยต่อ4สาย1.3แสนล.ทางคู่เฟส2
Source - เดลินิวส์
Thursday, October 12, 2023 04:02

หาดใหญ่-ปาดังฯขึ้นติดโผ

สนองปชช.การค้าแดนใต้

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เปิดเผยภายหลัง ตรวจเยี่ยม และมอบนโยบายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ว่า ได้สั่งการให้ รฟท. ปรับแผนงานโครงการรถไฟทางคู่ ระยะ (เฟส) ที่ 2 โดยให้นำช่วงชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 45 กม.วงเงิน 7,864 ล้านบาท ขึ้นมาดำเนินการในลำดับแรก ๆ พร้อมกับช่วงขอนแก่น-หนองคาย, ช่วงปากน้ำโพเด่นชัย และช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี เนื่องจากเป็นความต้องการของประชาชน และภาคธุรกิจในพื้นที่ชายแดนใต้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการค้าชายแดน และทำให้การค้าชายแดนสะดวกมากขึ้น ทั้งนี้เดิมช่วงชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ถูกจัดลำดับความสำคัญไว้ในอันดับสุดท้ายของแผนการดำเนินงาน

นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า เบื้องต้นได้รับรายงานว่าขณะนี้ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 167 กม. วงเงิน 29,748 ล้านบาท ได้ผ่านการพิจารณาความเห็นชอบจากคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟท. และเสนอมายังกระทรวงคมนาคม เพื่อเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาแล้ว ส่วนอีก 3 เส้นทาง ได้แก่ ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 285 กม. วงเงิน 59,399 ล้านบาท, ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 308 กม. วงเงิน 36,683 ล้านบาท และช่วงชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ทาง รฟท. จะเสนอบอร์ด รฟท. พิจารณาในวันที่ 19 ต.ค. 66 ก่อนเสนอกระทรวงคมนาคม และ ครม.ต่อไป ซึ่งคาดว่าจะเสนอให้ ครม. พิจารณาได้ในเดือน พ.ย.66 และเปิดประมูลทั้ง 4 เส้นทางได้ภายในปี 67

นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า ทั้ง 4 โครงการมีความพร้อมแล้ว และเป็นโครงการที่ผ่านความเห็นชอบรายงานการประเมินผล กระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) จากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) แล้ว หาก ครม. เห็นชอบดำเนินการได้ทันที โดยตามแผนงานแต่ละเส้นทางจะทยอยก่อสร้างแล้วเสร็จ และเปิดบริการได้ตั้งแต่ปี 70-72 นอกจากนี้ได้เร่งรัดให้ผลักดันโครงการระบบรถไฟชานเมือง(รถไฟฟ้าสายสีแดง) ส่วนต่อขยาย โดยจะเสนอเข้า ครม. พิจารณาภายในสิ้นปี 66 จำนวน 3 เส้นทาง ซึ่งปัจจุบันผ่านความเห็นชอบจากบอร์ด รฟท. แล้ว 1 เส้นทาง ได้แก่ ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. วงเงิน 6,468 ล้านบาท

นายสุรพงษ์ กล่าวด้วยว่า ส่วนอีก 2 เส้นทาง ได้แก่ ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 4,616 ล้านบาท และช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม. วงเงิน 10,670 ล้านบาท จะเสนอเข้าบอร์ด รฟท. พิจารณาใน เร็ว ๆ นี้ ส่วนของรูปแบบการลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ส่วนต่อขยายที่เดิมจะเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) นั้น เบื้องต้นจะให้เปิดประมูลในส่วนของงานโยธาก่อน ส่วนการบริหารงานเดินรถ งานระบบตั๋ว จัดหาขบวนรถ และการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) นั้น ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา

นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันได้เร่งรัดโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ตามความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-จีน ระยะ (เฟส) ที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท เหลือการลงนามสัญญา 2 สัญญา จากทั้งหมด 14 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.3 กม. เตรียมลงนามสัญญาเดือน ต.ค. 66 และสัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. ยังมีประเด็นเรื่องการดำเนินงานกับโครงการรถไฟ ไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ซึ่งเป็นช่วงที่มีโครงสร้างทับซ้อนกัน อยู่ระหว่างการเจรจา ได้มอบนโยบายให้เร่งเคลียร์ทุกปัญหาให้จบภายในปี 66 เพราะเวลา ไม่รอใครเดินหน้าตลอด ทั้งนี้จะลงมาติดตามงาน รฟท. ที่ได้ สั่งการไปทุก 3 เดือน.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 12 ต.ค. 2566

ข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์-Dailynews
11 ต.ค. 66 21:50 น.

เช็กผลประชุม “รมช.สุรพงษ์” มอบนโยบายการรถไฟ
*ปีหน้าลุยสร้าง4สายทางคู่เฟส2กว่า 1.3แสนล้าน
*ดึงหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์เข้ากลุ่มโครงการด่วน
*พร้อม “ขอนแก่น-หนองคาย/ปากน้ำโพ-เด่นชัย”
*และ“ชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี”ยาว 308กม.
*รถโดยสารดีเซลรางปรับอากาศ184คันมาปี 67
*ประมูลต่อขยายสีแดงก่อนงานระบบรถค่อยว่ากัน

https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/869449654632270
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44634
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/12/2023 4:32 am    Post subject: Reply with quote

'คมนาคม'เตรียมชงครม.ปี67ปรับฟังก์ชัน'รถไฟฟ้าสายสีแดง'รองรับเมืองเกิดใหม่
Source - กรุงเทพธุรกิจ
Wednesday, December 20, 2023 04:12

กรุงเทพธุรกิจ "คมนาคม" ดึง 3 โครงการค้างท่อทบทวนใหม่ สั่งการรถไฟฯ รื้อแนว "รถไฟฟ้าสายสีแดง" ขยายชานเมือง รับชุมชนเกิดใหม่ปี 67 ชง ครม.

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง (ส่วนต่อขยาย) โดยระบุว่า ปัจจุบันกระทรวงฯ มีนโยบายเร่งรัดดำเนินโครงการดังกล่าว แต่เพื่อให้โครงการเกิดประโยชน์สูงสุด จึงได้สั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ไปพิจารณาปรับขยายระยะทางให้สามารถรองรับการเดินทางของประชาชนจากนอกเมืองเข้าสู่เมืองชั้นในได้มากขึ้น

โดยโครงการส่วนต่อขยายรถไฟสายสีแดงปัจจุบันมี 3 เส้นทาง ซึ่งการศึกษาขยายแนวเส้นทางในขณะนี้ อาทิ ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) ให้ศึกษาพิจารณาขยายไปถึง จ.พระนครศรีอยุธยา เช่นเดียวกับช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ให้ศึกษาขยายเส้นทาง ไปถึง จ.นครปฐม เป็นต้น โดยคาดว่าทาง ร.ฟ.ท.จะศึกษารายละเอียดแล้วเสร็จ เสนอกลับมายังกระทรวงคมนาคมหลังปีใหม่นี้ และคาดว่าไม่เกิน 2 เดือนหลังจากนั้น จะสามารถเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา

ในส่วนของสาเหตุที่กระทรวงฯ มี นโยบายให้ ร.ฟ.ท.พิจารณาขยายระยะทางให้ไกลจากแผนเดิมนั้น เนื่องจากมองว่า ในปัจจุบันประชาชนส่วนมากได้ออกไปอยู่อาศัยนอกเมือง ประกอบกับเพื่อรองรับการขยายเติบโตของเมือง กระทรวงฯ ในฐานะเป็นผู้กำกับดูแลโครงสร้าง พื้นฐานด้านระบบรางของประเทศ และ ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล จึงต้องวางแผนไว้ล่วงหน้าเพื่อรองรับ และการขยายเส้นทางนี้จะช่วยลดปริมาณประชากรในเขตเมือง หากมีระบบขนส่งโดยสารสาธารณะที่สมบูรณ์

นายสุรพงษ์ กล่าวด้วยว่า การศึกษา ขยายระยะทางของรถไฟชานเมืองสายสีแดง นั้น ยอมรับว่าแนวเส้นทางที่เพิ่มขึ้นจะ ส่งผลต่อวงเงินการลงทุนและงบประมาณ ที่ต้องใช้เพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ดี คงต้อง รอให้ ร.ฟ.ท.ไปพิจารณาให้เกิดความรอบคอบ ซึ่งการขยายระยะทางก่อสร้างของเส้นทาง จะส่งผลให้รัฐบาลสามารถวางแผนในการสร้างชุมชนใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น และจะช่วยให้ลดการอพยพเข้ามา อยู่ในเมือง ลดความแออัดในเมืองชั้นใน แต่สะดวกสบายในการเดินทาง หากมีระบบขนส่งสาธารณะที่ดี

สำหรับแผนพัฒนาโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ส่วนต่อขยาย 3 เส้นทางดังกล่าว เดิมมีวงเงินลงทุนรวมประมาณ 2.1 หมื่นล้านบาท โดยมี 2 โครงการที่เป็นโครงการค้างท่อจากรัฐบาลก่อนหน้า และมีสถานะโครงการที่พร้อมนำเสนอเข้าสู่ ที่ประชุม ครม.พิจารณาเพื่อเปิดประกวดราคาได้ทันที ประกอบด้วยช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กิโลเมตร วงเงิน 10,670 ล้านบาท และช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) ระยะทาง 8.84 กิโลเมตร วงเงิน 6,468 ล้านบาท

ขณะที่ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กิโลเมตร วงเงิน 4,694 ล้านบาท สถานะโครงการอยู่ระหว่างรอการพิจารณา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) อย่างไรก็ตาม เมื่อมีนโยบายให้พิจารณาปรับขยายระยะทาง ส่งผลให้โครงการส่วนต่อขยายรถไฟชานเมืองทั้ง 3 เส้นทาง ต้องกลับมาสู่สถานะ ร.ฟ.ท.ศึกษารายละเอียดใหม่ รวมทั้งประเมินวงเงินการลงทุนที่ต้องปรับเพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้ แผนขยายโครงข่ายรถไฟชานเมืองสายสีแดง ยังมีแนวเส้นทางช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง (Missing Link) ที่มีระยะทาง 25.9 กิโลเมตร วงเงิน 47,000 ล้านบาท โดยสถานะปัจจุบันยังอยู่ระหว่างปรับปรุงรายละเอียดโครงการ คาดว่าจะมีการเสนอเข้าที่ประชุม ครม.ในลำดับถัดไป

ส่วนการจัดหาเอกชนร่วมลงทุนเดินรถและซ่อมบำรุงรถไฟชานเมืองสายสีแดงทั้งระบบ 6 เส้นทาง แบ่งเป็นส่วนต่อขยาย 4 เส้นทาง และเส้นทางที่เปิดบริการแล้ว 2 เส้นทาง ได้แก่ ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน ยังอยู่ระหว่างทบทวนรายละเอียด ซึ่ง ก่อนหน้านี้ ร.ฟ.ท.ศึกษาความเหมาะสมสัญญา สัมปทาน 50 ปี ประเมินตลอดอายุสัมปทานจะสร้างรายได้ 5.8 แสนล้านบาท

ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 20 ธ.ค. 2566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 20/12/2023 11:07 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
'คมนาคม'เตรียมชงครม.ปี67ปรับฟังก์ชัน'รถไฟฟ้าสายสีแดง'รองรับเมืองเกิดใหม่
Source - กรุงเทพธุรกิจ
วันพุธ ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เวลา 04:12 น.
ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 20 ธ.ค. 2566

Mongwin wrote:
จบแล้วปีนี้! ส่วนต่อขยาย “สายสีแดง” ไม่เข้า ครม. ยืดเส้นทางไป “อยุธยา-นครปฐม”
เดลินิวส์ วันพุธที่ 20 ธันวาคม 2566 เวลา 7:15 น.
นวัตกรรมขนส่ง


Mongwin wrote:
คมนาคม สั่งรฟท.ทบทวนขยายแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสีแดงส่วนต่อขยาย
ข่าวเศรษฐกิจ วันพุธที่ 20 ธันวาคม 2566 เวลา 10:15 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)



สั่งขยายเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดง ออกไปนอกเมืองให้มากขึ้น
Date Time: วันพุธ ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เวลา 06:20 น.


นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เปิดเผยถึงโครงการรถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยาย 3 เส้นทางว่า สั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พิจารณาขยายระยะทางรถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยาย 3 เส้นทางออกไปนอกเมืองให้มากขึ้น จากเส้นทางเดิม เช่น ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ก็ให้พิจารณาขยายไปถึงอยุธยา ส่วนสายสีแดง ช่วง ตลิ่งชัน-ศาลายา ก็ให้ขยายเส้นทางไปถึงนครปฐม เป็นต้น คาดว่า รฟท.จะเสนอกลับมาหลังปีใหม่ และคาดว่าจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาได้ไม่เกิน 2 เดือนหลังจากนั้น

สาเหตุที่ให้พิจารณาขยายระยะเส้นทางไกล เพราะประชาชนส่วนมากอาศัยนอกเมือง การเมืองขยายตัว กระทรวงคมนาคมจึงต้องวางแผนรองรับการเติบโตของเมือง และช่วยลดปริมาณประชากรในเขตเมือง หากมีระบบขนส่งโดยสารสาธารณะที่สมบูรณ์ โดยเฉพาะระบบราง

“การให้ รฟท.กลับไปพิจารณาขยายเส้นทางส่วนต่อขยาย เพิ่มขึ้น ยอมรับว่าจะต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนนี้ต้องรอให้ รฟท.ไปพิจารณาดู ให้เกิดความรอบคอบ การขยายระยะทางก่อสร้างของเส้นทาง จะส่งผลให้รัฐบาลสามารถวางแผนในการสร้างชุมชนใหม่ๆให้เกิดขึ้น และช่วยให้ลดการอพยพเข้ามาอยู่ในเมือง หากมีระบบขนส่งสาธารณะที่ดี และเดินทางสะดวก รวดเร็ว”

สำหรับแผนพัฒนาโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ส่วนต่อขยายจำนวน 3 เส้นทางนั้น ประกอบด้วย สายสีแดง ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กิโลเมตร (กม.) ซึ่งเดิมส่วนต่อขยายช่วงนี้ได้เสนอสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) แล้ว รอบรรจุวาระการประชุม ครม. ล่าสุด ส่งมาให้ รฟท. ดำเนินการใหม่, ส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.80 กม. ซึ่งพร้อมเสนอ ครม.เช่นกัน, ส่วนช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. อยู่ระหว่างรอการพิจารณาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นทางการ เช่น สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) อย่างไรก็ตาม เมื่อมีนโยบายให้พิจารณาปรับขยายระยะทาง ดังนั้น ส่วนต่อขยายทั้ง 3 ช่วงก็จะกลับมาที่ รฟท. เพื่อพิจารณาใหม่.

“สุรพงษ์”สั่งรฟท.ทบทวน”สีแดงต่อขยาย”ถอนเรื่องจากครม.ศึกษายืดเส้นทางออกไปถึงอยุธยาและนครปฐมเร่งสรุปในต้นปี 67
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เวลา 06:33 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เวลา 06:33 น.


“สุรพงษ์”สั่งรฟท.ทบทวน “สายสีแดงส่วนต่อขยาย”ถอนเรื่องคืนจากครม. กลับมาศึกษายืดแนวเส้นทางสายเหนือจากรังสิต-มธ.รังสิต ไปถึงอยุธยา , ตลิ่งชัน-ศาลายา ต่อไปถึงนครปฐม หวังให้เป็นระบบรางหลักรองรับการขยายตัวของเมืองและชุมชนใหม่ๆ ปริมณฑลและหัวเมืองรอบกทม. ยอมรับค่าก่อสร้างเพิ่ม เร่งสรุปใน1-2 เดือน

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากที่กระทรวงคมนาคมมีนโยบายเร่งรัดการพัฒนาโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ส่วนต่อขยายจำนวน 3 เส้นทาง ได้แก่ 1. ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต 2.ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และ 3. ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช โดยได้มีการเร่งสรุปข้อมูลเพื่อเตรียมนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา นั้น ล่าสุด ได้มีแนวคิดเห็นว่า ควรขยายเส้นทางเพิ่มเติมออกไปยังเมืองรอบนอกมากขึ้น เช่น ช่วงรังสิต-มธ.รังสิต ควรขยายไปถึงอยุธยา หรือ ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ควรขยายไปถึง นครปฐม ซึ่งจะต้องนำกลับมาพิจารณาศึกษาเพิ่มเติม จึงได้ถอนเรื่องกลับ เพื่อส่งคืนให้หน่วยงานเจ้าของโครงการ คือ การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ไปศึกษาทบทวนขยายระยะทางเพิ่มเติม คาดว่าจะใช้เวลาไม่นาน 1-2 เดือน เนื่องจากโครงการมีผลศึกษาเดิมอยู่ก่อนแล้ว โดยจะนำกลับไปเสนอครม.ได้อีกครั้งประมาณเดือนม.ค.- ก.พ. 2567

“เหตุผลที่ให้รฟท.ทบทวน สายสีแดง ส่วนต่อขยายโดยลากเส้นทางออกไปอีก เพื่อรองรับการขยายการเติบโตของเมืองและเชื่อมกับชุมชม เป็นการเชื่อมต่อการเดินทางด้วยระบบรางที่มีความสะดวก และปลอดภัย เป็นการเตรียมแผนลงทุนที่คุ้มค่าเพื่ออนาคต และทำให้ภาครัฐสามารถวางแผนในการสร้างชุมชนใหม่ๆให้เกิดขึ้น และช่วยให้ลดความแออัดของเมืองลงอีกด้วย”

นายสุรพงษ์กล่าวว่า การขยายเส้นทางออกไป จะส่งผลต่อค่าก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น ซึ่งคงต้องมีการปรับเรื่องตัวเลขวงเงินลงทุนโครงการใหม่ด้วย ทั้งนี้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณารายละเอียดอย่างรอบคอบ


สำหรับการพัฒนาโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ส่วนต่อขยายจำนวน 3 เส้นทาง ได้แก่ ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. วงเงิน 6,448.69 ล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านี้ ได้เสนอเรื่องไปที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) แล้ว อยู่ระหว่างรอบรรจุวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาซึ่ง ล่าสุดกระทรวงคมนาคมได้ถอนเรื่องกลับมาแล้ว

ส่วน สายสีแดง ส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.80 กม. วงเงิน 10,670.27 ล้านบาท อยู่ในขั้นตอนสอบถามความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)และช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. วงเงิน 4,616 ล้านบาท รอการพิจารณาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44634
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/01/2024 9:21 am    Post subject: Reply with quote

”สุริยะ” เข็น 7 โปรเจกต์กว่า 1.25 แสนล้านชง ครม.ใน ม.ค.67 ดันประมูลอาคารตะวันออก "สุวรรณภูมิ” ทางด่วน- มอเตอร์เวย์-รถไฟสีแดง
ผู้จัดการออนไลน์3 ม.ค. 2567 09:04

”สุริยะ”ปักธง ม.ค.67 เข็น 7 โครงการชงครม.เคาะลงทุนมูลค่ารวมกว่า 1.25 แสนล้านบาท เร่งเปิดประมูล ขยายอาคารตะวันออกสนามบินสุวรรณภูมิ ทางด่วนสายกะทู้-ป่าตอง,รถไฟสีแดงต่อขยาย 3 สายและมอเตอร์เวย์ 2 สายใหม่ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคม มีนโยบายเร่งรัดการพัฒนาโครงการทางด้านการขนส่งทางบก ทางราง ทางน้ำและทางอากาศ ซึ่งมีแผนงาน จำนวน 72 โครงการ ซึ่ง กระทรวงฯได้แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามฯ เพื่อขับเคลื่อน ติดตามเร่งรัดตรวจสอบการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามแผนงานและไทม์ไลน์ โดยภายในเดือน เดือนม.ค. 2567 มีโครงการที่มีความพร้อม ในการนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อขออนุมัติ จำนวน 7 โครงการ หลังจากครม.เห็นชอบจะเข้าสู้ขั้นตอนการดำเนินการประกวดราคาก่อสร้างต่อไป ซึ่งมีทั้งโครงการที่ใช้งบประมาณ และโครงการที่ร่วมลงทุนกับเอกชน (PPP)

โดย 7 โครงการ ได้แก่ 1. โครงการพัฒนาส่วนต่อขยายด้านทิศตะวันออก (East Expansion) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 2. โครงการทางพิเศษกะทู้ - ป่าตอง จ.ภูเก็ต 3.โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ส่วนต่อขยาย ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต 4. สายสีแดงต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา 5.สายสีแดงต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช 6. โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ด้านตะวันตก) หรือ M9 ตอน ทางยกระดับบางขุนเทียน-บางบัวทอง และ 7.โครงการมอเตอร์เวย์ส่วนต่อขยายดอนเมืองโทลล์เวย์ (M5) สายรังสิต-บางปะอิน

สำหรับโครงการพัฒนาส่วนต่อขยายด้านทิศตะวันออก (East Expansion) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ปัจจุบัน บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. ได้มีการทบทวนการศึกษาออกแบบ เพื่อให้สอดรับกับบริบทการบินที่เปลี่ยนแปลงไป ใช้สำหรับรองรับผู้โดยสารระหว่างประเทศ มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 66,000 ตร.ม. และมูลค่าลงทุนปรับจาก 6.6 พันล้านบาท เป็น 8 พันล้านบาท รองรับผู้โดยสารได้เพิ่มเป็น 15 ล้านคน/ปี ตามแผนจะเปิดประมูลผู้รับเหมาก่อสร้างในต้นปี 2567 ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2570

โครงการทางพิเศษกะทู้ - ป่าตอง จ.ภูเก็ต ระยะทางประมาณ 3.98 กม.วงเงินลงทุน 16,190 ล้านบาท (ค่างานโยธา 10,400 ล้านบาท / ค่างานเวนคืนและจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 5,790 ล้านบาท) มีการปรับรูปแบบการลงทุนจาก PPP- Net Cost (ภาครัฐรับผิดชอบการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ภาคเอกชนรับผิดชอบงานส่วนที่เหลือทั้งหมด ได้แก่ การออกแบบรายละเอียดและการก่อสร้าง และการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) เป็น กทพ.รับผิดชอบงานก่อสร้างโยธาของโครงการเอง ส่วนงานบำรุงรักษา (O&M) จะศึกษารวมในโครงการระยะที่ 2 ช่วงเมืองใหม่-เกาะแก้ว-กะทู้ ซึ่งจะใช้รูปแบบ PPP ร่วมลงทุนงานโยธาโครงการระยะที่ 2 ช่วงเมืองใหม่-เกาะแก้ว-กะทู้ ระยะทาง 30 กม. และบริหาร O&M ทั้ง 2 ระยะ ซึ่ง คณะกรรมการ (บอร์ด) กทพ.เห็นชอบเมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2566 กทพ.อยู่ระหว่างสรุบเสนอกระทรวงคมนาคม

รถไฟชานเมืองสายสีแดง ส่วนต่อขยาย 3 เส้นทาง ได้แก่ ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. วงเงิน 6,468.69 ล้านบาท, ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.80 กม. วงเงิน 10,670.27 ล้านบาท, ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.70 กม. วงเงิน 4,694.36 ล้านบาท ก่อนหน้านี้เสนอครม.ไปแล้วแต่กระทรวงคมนาคมถอนเรื่องคืนเพื่อศึกษาทบทวนขยายระยะทางเพิ่มเติม ไปยังเมืองรอบนอกเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางมากขึ้น เช่น ช่วงรังสิต-มธ.รังสิต ขยายไปถึงอยุธยา ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ขยายไปถึง นครปฐม ซึ่งคาดว่าจะการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะสรุปเสนอกระทรวคมนาคมภายในเดือนม.ค. นี้

ส่วนโครงการพัฒนามอเตอร์เวย์สายใหม่จำนวน 2 โครงการ คือ มอเตอร์เวย์ส่วนต่อขยายดอนเมืองโทลล์เวย์ (M5) สายรังสิต-บางปะอิน ระยะทาง 22 กม. และ มอเตอร์เวย์ M 9 สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ด้านตะวันตก) ตอน ทางยกระดับบางขุนเทียน-บางบัวทองระยะทาง 35.85 กม. ผ่านกระบวนการบอร์ด PPP และเสนอ ไปที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) แล้ว อยู่ระหว่างสอบถามความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อนำบรรจุวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป

โดยมอเตอร์เวย์ส่วนต่อขยายดอนเมืองโทลล์เวย์ (M5) สายรังสิต-บางปะอิน ระยะทาง 22 กม.วงเงินลงทุน 31,280 ล้านบาท จะดำเนินการในรูปแบบ PPP Gross Cost โดยเอกชนลงทุนในส่วนก่อสร้างงานโยธาและงาน O&M โดยรัฐเป็นผู้ได้รับรายได้ค่าผ่านทาง และจ่ายค่าตอบแทนการให้บริการให้แก่เอกชน และรัฐใช้คืนค่าก่อสร้างภายหลัง ใช้เงินจากกองทุนมอเตอร์เวย์ จะเริ่มจ่ายค่างานโยธาเมื่องานก่อสร้างเสร็จแล้ว การออกแบบรายละเอียด (Detail& Design) เสร็จแล้ว รายงาน EIA ได้รับอนุมัติแล้ว โดยคาดว่าจะดำเนินการคัดเลือกเอกชน ในปี 2567 ก่อสร้างในปี 2568-2570 และเปิดบริการในปี 2571

มอเตอร์เวย์ M9 ตอน ทางยกระดับบางขุนเทียน-บางบัวทอง ระยะทาง 35.85 กม. วงเงินลงทุน 56,035 ล้านบาท เป็นการก่อสร้างทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร บริเวณเกาะกลางของถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันตก คาดดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนและก่อสร้างปี 2567-2570 แล้วเสร็จเปิดให้บริการปี 2571
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 03/01/2024 11:26 am    Post subject: Reply with quote

สร้างแน่ 7โครงการคมนาคม1.3แสนล.“สุริยะ”ชู๊ตครม.
*ต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีแดงไปอยุธยา-นครปฐม
*มอเตอร์เวย์2เส้นไปบางปะอิน/วงแหวนตะวันตก
*ทางด่วนภูเก็ต-สร้างเทอร์มินอลสุวรรณภูมิออก
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/913944536849448
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44634
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/01/2024 4:27 am    Post subject: Reply with quote

เปิดแผนพัฒนา 'ศิริราช' โรงพยาบาลรัฐใหญ่ที่สุดในประเทศ
Source - กรุงเทพธุรกิจ
Monday, January 22, 2024 02:41
พวงชมพู ประเสริฐ

qualitylife4444@gmail.com

โรงพยาบาลศิริราช อยู่ระหว่างขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมใหม่ เพื่อตอบโจทย์ทางการแพทย์ บริการประชาชน ต่อยอดสู่การสร้างรายได้ เป็นโมเดลต้นแบบให้โรงพยาบาลแห่งอื่น โดยในปี 2567 ลุย 2 โปรเจกต์ใหญ่ เปิดศูนย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ-เริ่มแผนสร้างอาคารการแพทย์สถานีรถไฟฟ้าแห่งแรกของประเทศ

กรุงเทพธุรกิจ "ศิริราช" โรงเรียนแพทย์แห่งแรกที่ก่อตั้งมาเป็นเวลา 136 ปี และโรงพยาบาลรัฐใหญ่ที่สุดของประเทศ ข้อมูลในปี 2565 มีจำนวนเตียง 2,239 เตียง แพทย์ 1,459 คน พยาบาล 4,051 คน ผู้ช่วยพยาบาล 2,421 คน และบุคลากรในฝ่ายต่างๆ 7,955 คน ให้บริการผู้ป่วยนอกวันละกว่า 12,000 คน

ถือเป็นสถาบันการแพทย์ของแผ่นดิน ไม่เพียงแต่มีเป้าหมายให้บริการประชาชนอย่างได้เข้าถึง เท่าเทียม เสมอภาค เป็นโรงพยาบาลของประชาชนที่ยังมุ่งสู่การเป็นสถาบันการแพทย์ระดับนานาชาติด้วย

"กรุงเทพธุรกิจ" มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ "ศ.นพ.อภิชาติ อัศวมงคลกุล" คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เกี่ยวกับแผนการพัฒนา

ศ.นพ.อภิชาติ กล่าวว่า ศิริราชเป็นสถาบันการแพทย์มีหน้าที่ในการดูแลคุณภาพชีวิตคนไข้ โดยเฉพาะการเป็นสถาบันที่ดูแลผู้ป่วยระดับ "ตติยภูมิชั้นสูง" มีศักยภาพดูแลเคสยากซึ่งที่อื่นไม่สามารถดูแลได้

นอกจากนี้ ต้องผลิตแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ไปดูแลประชาชนทั่วประเทศ อีกทั้งมีหน้าที่ในการสร้างองค์ความรู้ นวัตกรรมผ่านกระบวนการทำวิจัยที่เป็นที่ยอมรับ เพื่อได้องค์ความรู้ใหม่ในการดูแลคนไทยและทั่วโลกต่อเนื่อง และต้องให้ความรู้ภาคสังคมให้มีความตระหนักเรื่องการส่งเสริมสุขภาพป้องกัน ทำให้ประชาชนมีความมั่นคงทางสุขภาพ

ผู้ปวยนอกวันละกว่า 15,000 คน

สำหรับหน่วยบริการรักษาและดูแลสุขภาพ ปัจจุบันมี 4 หน่วยหลัก ได้แก่ 1.รพ.ศิริราช มีผู้ป่วยนอกวันละ 12,000 คน

2.รพ.ศิริราชปิยมหาราชการุณย์ โรงพยาบาลต้นแบบสำหรับโรงพยาบาลรัฐในการบริหารจัดการด้วยรูปแบบวิธีการบริหารพิเศษ เพื่อให้มีรายได้ที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้อย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายคือ การมอบรายได้จากการดำเนินงานคืนกลับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย และช่วยเหลือกิจการของคณะ บริการผู้ป่วยราว 2,000 คนต่อวัน

3.ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก โรงพยาบาลทุติยภูมิสังกัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ตั้งอยู่เลขที่ ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จ.นครปฐม รองรับผู้ป่วย 1,000 คนต่อวัน

4.ศูนย์สุขภาพเชิงป้องกันและบูรณาการสมดุลชีวิต หรือ SIRIRAJ H SOLUTIONS เป็นศูนย์Wellness อยู่นอกโรงพยาบาลแห่งแรก ตั้งอยู่ที่ไอซีเอส ไลฟ์สไตล์ คอมเพล็กซ์ ฝั่งตรงข้ามไอคอนสยาม ขนาดพื้นที่ 2,902 ตร.ม. มุ่งให้บริการด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการแพทย์ และการปรึกษาดูแลสุขภาพแบบครบวงจรตั้งแต่ คัดกรองสุขภาพ ดูแลเชิงป้องกัน เสริมสร้างสมดุล ฟื้นฟูศักยภาพ และชะลอความเสื่อม ปัจจุบันมีผู้เข้ารับบริการประมาณวันละ 200 คน เชื่อว่าจะขยายจำนวนมากขึ้นในอนาคต

สร้างอาคารการแพทย์สถานีรถไฟฟแห่งแรก

การขับเคลื่อนในปี 2567 จะดำเนินการ 2 โครงการใหญ่ ประกอบด้วย

1.ศูนย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ศูนย์วิทยาการเวชศาสตร์ผู้สูงอายุศิริราช ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร เป็นศูนย์ดูแลและให้ความรู้แก่ผู้ป่วยระยะพักฟื้นและผู้สูงอายุ ขณะนี้เริ่มเปิดดำเนินการ (Soft Opening) แล้วเมื่อต้นม.ค.2567 สำหรับผู้ป่วยนอก รับเฉพาะผู้ป่วยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และนัดหมายเท่านั้น ให้บริการคลินิกตรวจสุขภาพผู้สูงอายุแบบครบวงจร,คลินิกผู้สูงอายุ และคลินิกเวชศาสตร์ฟื้นฟูผู้สูงอายุ และระยะต่อไปจะเปิดให้บริการธาราบำบัดและอื่นๆ

2.โครงการอาคารรักษาพยาบาลและสถานีศิริราช ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2566-2569 ด้วยวงเงิน 3.8 พันล้านบาท บนเนื้อที่ 4.67 ไร่โดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ทำข้อตกลงความร่วมมือกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในการพัฒนาพื้นที่เป็นสถานีขนส่งมวลชนเพื่อสุขภาพและสาธารณสุขแห่งแรกของประเทศไทย

อาคารนี้จะเป็นหน่วยบริการหนึ่งของคณะแพทยศาสตร์ศิริราช สูง 15 ชั้น เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าสายสีส้ม และสายสีแดง เป็น Smart Hospital ด้วยเครือข่าย 5G มีบริการทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน เน้นการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ อาทิ ศูนย์ตรวจสุขภาพ คลินิกฟื้นฟูสมรรถภาพ คลินิกผิวหนัง การบริการผู้ป่วยด้านอายุรกรรม ผู้ป่วยหลังผ่าตัด Ambulatory Unit/ One Day Surgery ที่เข้ารับบริการแล้วกลับบ้านได้โดยไม่ต้องพักค้างคืน รวมถึง ห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ เช่น การเจาะเลือด เป็นต้น ขณะนี้มีแบบในการก่อสร้างแล้ว คาดว่าปี 2567 จะเริ่มต้นโครงการและแล้วเสร็จในปี 2570

5G Smart Hospital เพิ่มประสิทธิภาพ

การพัฒนาระบบให้บริการของรพ.ศิริราช ศ.นพ.อภิชาติ กล่าวว่า มีการนำเทคโนโลยีโดยเฉพาะด้านสารสนเทศ มาช่วยในการให้บริการ ทำให้การทำงานแม่นยำ ปลอดภัยมากขึ้น เป็นระบบที่เชื่อถือได้ ให้ประชาชนได้รับบริการที่รวดเร็วขึ้น และบุคลากรเหนื่อยน้อยลง ภายใต้ค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม โดยเริ่มเมื่อ 3 ปีก่อนในการเป็น 5G Smart Hospital ใช้ระบบอินเทอร์เน็ต คลาวด์มาทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลมากขึ้น

อย่างเช่น ห้องฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่สามารถรู้สัญญาณชีพของคนไข้ได้จะได้เข้าไปช่วยเหลือได้ทันท่วงที หรืองานพยาธิวิทยาดิจิทัล จากเดิมดูกล้องด้วยพยาธิแพทย์ ตอนนี้มีการนำเครื่องเข้ามาช่วยในการสแกนผล โดยแพทย์เข้ามาดูภายหลังสามารถประหยัดเวลาได้มาก มีsmart ambulance รถพยาบาลที่ใช้ระบบ 5G บอกเส้นทางเร็วที่สุดที่จะไปรับคนไข้ เป็นต้น และจำเป็นต้องพัฒนาต่อเนื่อง

เร่งพัฒนานวัตกรรมการแพทย์

นอกจากนี้ ต้องสร้างนวัตกรรมที่เป็นสิ่งประดิษฐ์หรือกระบวนการต่างๆ โดยกำลังเร่งเรื่องการทำนวัตกรรม (Innovation) เริ่มจากการพัฒนาคนทั้งนักศึกษา อาจารย์แพทย์ บุคลากร และเปิดโอกาสให้นักศึกษาหรือองค์กรอื่นเข้ามาร่วมเป็นพันธมิตร เพื่อที่จะสามารถสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถที่เป็น "แพทย์นวัตกร" เกิดประโยชน์กับคนไทยและสังคมไทย เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ขั้นสูง จะต้องใช้เรื่องของนวัตกรรมในการดำเนินการ และเป็นต้นแบบให้หน่วยงานอื่นมาเรียนรู้จากศิริราชต่อไป

ทั้งนี้ ที่ผ่านมามีความร่วมมือกับหัวเว่ยเข้ามาสนับสนุนอุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ และช่วยสอนพัฒนานักศึกษาในเรื่องนวัตกรรม หรือการร่วมกับเอกชนอีกหลายแห่งในการพัฒนาเรื่องของ AIต่างๆ นับเป็นการนำวิศวกรมาเจอกับแพทย์ เพื่อเกิดเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ สามารถตอบโจทย์ทางการแพทย์และการให้บริการประชาชนได้มากขึ้น

สร้างรายได้จากนวัตกรรมใหม่

"ศิริราชได้รับงบประมาณจากภาครัฐเพียง 18 % จึงต้องหารายได้เองเพื่อนำมาให้บริการประชาชนและพัฒนางาน แม้เป็นองค์กรไม่แสวงหา แต่ก็ต้องไม่ขาดทุนด้วย โดยปัจจุบันรพ.ศิริราชขาดทุนจากบริการสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและประกันสังคมราว 2,500 ล้านบาท แต่ก็มีรายได้หลัก 80%จากค่ารักษาพยาบาล และ.รพ.ศิริราชปิยมหาราชการุณย์มีกำไรประมาณ 1,000 ล้านบาทต่อปี รวมถึงรายได้จากการให้บริการวิชาการต่างๆ

รวมทั้งในอนาคตเมื่อมีการพัฒนานวัตกรรมที่เข้มแข็ง มั่นใจว่าส่วนนี้จะสร้างรายได้ให้กับศิริราชอย่างแน่นอน"ศ.นพ.อภิชาติกล่าว ทั้งหมดทั้งมวลจะดำเนินการไปด้วยบุคลากรที่มีวัฒนธรรมองค์กรเป็น "อัตลักษณ์ศิริราช" ใน 3 เรื่องสำคัญ คือ ความรับผิดชอบต่อสังคม, ความซื่อสัตย์ เลือกสิ่งที่ดีให้ประชาชน และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนร่วม

ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 22 ม.ค. 2567
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 26/01/2024 1:18 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
สลค.ตีกลับสายสีแดงส่วนขยาย
Source - เดลินิวส์
Friday, January 26, 2024 03:53

รังสิต-มธ./ตลิ่งชัน-ศาลายา อัปเดตราคาเคลียร์ชานชาลา


ลิงก์มาแล้วครับ:
สำนักเลขาธิการครม.ตีกลับรถไฟฟ้าสีแดงส่วนขยาย
*2สายรังสิต-มธ.กับตลิ่งชัน-ศาลายา 1.6 หมื่นล้าน
*ไม่อัปเดตราคาก่อสร้าง/สงสัยความยาวชานชาลา
*“ตลิ่งชัน-ศิริราช”ถูกสายสีส้มลากยาวออกไปด้วย
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/927008862209682
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44634
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/03/2024 4:38 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคม พร้อมชงสายสีแดงส่วนต่อขยาย 3 เส้นเข้าครม. หลังทบทวนกรอบวงเงินใหม่
Source - IQ สำนักข่าวอินโฟเควสท์
Monday, March 25, 2024 13:59
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (25 มี.ค. 67)

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า ภายในสัปดาห์นี้ กระทรวงคมนาคมเตรียมเสนอโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงส่วนต่อขยายจำนวน 3 เส้นทาง เพื่อนำเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา หลังจากก่อนหน้านี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้สรุปการศึกษารถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยายทั้ง 3 เส้นทางและเตรียมเสนอครม.แล้ว แต่มีการดึงเรื่องกลับมาปรับแก้ไขใหม่ เพื่อความรอบคอบ รวมไปถึงอาจพิจารณาต่อขยายเส้นทางสายเหนือออกไปถึง"อยุธยา"และสายตะวันตกถึง"นครปฐม"เพื่อให้เป็นระบบรางหลักรองรับการขยายตัวของเมืองและชุมชนใหม่ๆรอบกทม.

ล่าสุด ไม่ได้ปรับเปลี่ยนใดๆ ยังคงยึดตามแผนแม่บท มีเพียงการทบทวนกรอบวงเงินให้สอดคล้องกับประกาศกรมบัญชีกลางเท่านั้น

สำหรับ รถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยาย 3 เส้นทาง วงเงินรวม 21,760.25 ล้านบาท ได้แก่

1. สายสีแดงช่วงตลิ่งชัน - ศาลายา ระยะทางรวม 14.8 กิโลเมตร (กม.) มี 6 สถานี ได้แก่ สถานีพระราม 6 สถานีบางกรวย - กฟผ. สถานีบ้านฉิมพลี สถานีกาญจนาภิเษก สถานีศาลาธรรมสพน์ และสถานีศาลายา วงเงินโครงการ 10,670.27 ล้านบาท รฟท. ดำเนินการกำหนดราคากลาง (Factor F) ตามประกาศของกรมบัญชีกลาง เมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2566 แล้ว วงเงินยังอยู่ภายใต้กรอบวงเงินเดิม คาดเปิดประมูลในปี 2567 ระยะเวลาก่อสร้าง 35 เดือน (ปี 2568-2571) เปิดบริการปี 2571

2. สายสีแดง ช่วงรังสิต - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทางรวม 8.84 กม. มี 4 สถานี ได้แก่ สถานีคลองหนึ่ง สถานีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สถานีเชียงราก และสถานีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต วงเงินโครงการ 6,473.98 ล้านบาท ซึ่งปรับจาก 6,468.69 ล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้นประมาณ 5.29 ล้านบาท เนื่องจาก คำนวนปรับราคากลาง (Factor F) มีการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จาก 5% เป็น 7% คาดเปิดประมูลในปี 2567 ระยะเวลาก่อสร้าง 35 เดือน (ปี 2568-2571) เปิดบริการปี 2571

3. สายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน - ศิริราช ระยะทางรวม 5.7 กม. มี 3 สถานี ได้แก่สถานีตลาดน้ำตลิ่งชัน สถานีจรัญสนิทวงศ์ และสถานีธนบุรี - ศิริราช วงเงินโครงการ 4,616 ล้านบาท รฟท. ดำเนินการกำหนดราคากลาง (Factor F)ตามประกาศของกรมบัญชีกลาง เมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2566 แล้ว วงเงินยังอยู่ภายใต้กรอบวงเงินเดิมคาดเปิดประมูล ในปี 2567 ระยะเวลาก่อสร้าง 35 เดือน (ปี2568-2571) เปิดบริการปี 2571


*เร่งชงครม. ไฟเขียวทางคู่อีก 3 เส้นทาง 1.3 แสนลบ.

ล่าสุด ทางคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟท.ได้มีมติอนุมัติโครงการรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 อีก 3 เส้นทางระยะทางรวม 634 กม. วงเงินรวมทั้งสิ้น 133,147.23 ล้านบาท ซึ่งรฟท.เตรียมนำเสนอมาที่กระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอครม.ต่อไปซึ่งจะพยายามผลักดันให้ก่อสร้างภายในปี 2567 ได้แก่

- ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 281 กม. วงเงิน 81,143.23 ล้านบาท

- ช่วงชุมทางถนนจิระ - อุบลราชธานี ระยะทาง 308 กม. วงเงิน 44,103.11 ล้านบาท

- ช่วงชุมทางหาดใหญ่ - ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 45 กม. วงเงิน 7,900.89 ล้านบาท

โดยเฉพาะเส้นทางชุมทางหาดใหญ่ - ปาดังเบซาร์ ที่จะช่วยสนับสนุนการค้าชายแดน เส้นทางมีระยะทางสั้น 45 กม. สามารถดำเนินการได้เร็ว

นอกจากนี้ จะเร่งอีก 3 เส้นทาง ซึ่งอยู่ในขั้นตอนเตรียมเสนอบอร์ด รฟท.พิจารณา ระยะทางรวม 678 กม. วงเงินรวม 148,591.50 ล้านบาท ได้แก่

- ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 168 กม. วงเงิน 24,294.36 ล้านบาท

- ช่วงสุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา ระยะทาง 321 กม. วงเงิน 67,459.36 ล้านบาท

- ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ ระยะทาง 189 กม. วงเงิน 56,837.78 ล้านบาท

ก่อนหน้านี้ ครม.ได้อนุมัติไปแล้ว 1 เส้นทางคือ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 167 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 29,748 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการจัดทำเอกสารประกวดราคา (TOR) คาดว่าจะเปิดประกวดราคาก่อสร้างได้เร็วๆ นี้ ตามแผน จะเริ่มก่อสร้างภายในเดือนก.ค. 2567

โดย คคฦ/เสาวลักษณ์ อวยพร/รัชดา คงขุนเทียน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44634
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/04/2024 8:09 am    Post subject: Reply with quote

ขยายสีแดงต่อคิวครม.18เม.ย.ทางคู่เข้าบอร์ด
Source - เดลินิวส์
Tuesday, April 09, 2024 04:56

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมเสนอโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง(รถไฟฟ้าสายสีแดง) ส่วนต่อขยาย 3 เส้นทาง วงเงินรวม 21,760.25 ล้านบาท ได้แก่ ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม.วงเงิน 6,473.98 ล้านบาท, ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา 14.8 กม. วงเงิน 10,670.27 ล้านบาท และช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช 5.7 กม. วงเงิน 4,616 ล้านบาท ไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) แล้ว อยู่ระหว่างรอบรรจุวาระคณะรัฐมนตรี (ครม.) คาดว่าจะเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม ครม. ภายในเดือน เม.ย. 67 หากเห็นชอบจะเข้าสู่กระบวนการประกวดราคาภายในปี 67 เริ่มก่อสร้างภายในปลายปี 67 หรือต้นปี 68 และคาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมเปิดบริการต้นปี 70- 71

สำหรับโครงการรถไฟทางคู่ ระยะ (เฟส) ที่ 2 จะผลักดันให้เสนอ ครม. ได้ทั้งหมด 7 เส้นทางภายในปี 67 ปัจจุบัน ครม.เห็นชอบแล้ว 1 เส้น ได้แก่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย 167 กม. วงเงิน 29,748 ล้านบาท เตรียมเปิดประมูล ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. แล้ว 3 เส้นทาง ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย 281 กม. วงเงิน 81,143 ล้านบาท ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี 308 กม. วงเงิน 44,103 ล้านบาท และช่วงชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ 45 กม. วงเงิน 7,900 ล้านบาท

รายงานข่าวแจ้งว่า คาดว่าในการประชุมบอร์ด รฟท. วันที่ 18 เม.ย. รฟท. จะเสนอขอความเห็นชอบโครงการรถไฟทางคู่ เฟส 2 อีก 2 เส้นทาง ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี 168 กม. วงเงิน 24,294 ล้านบาท และช่วงสุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา 321 กม. วงเงิน 67,459 ล้านบาท.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 10 เม.ย. 2567 (กรอบบ่าย)

https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/967916878118880
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 12, 13, 14  Next
Page 13 of 14

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©