RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13273118
ทั้งหมด:13584414
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 36, 37, 38 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 16/03/2015 12:24 am    Post subject: Reply with quote

พัฒนาระบบรางไทยเริ่มใกล้ความเป็นจริง!
หนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ
ฉบับวันที่ 14 - 20 มี.ค. 2558

การพัฒนาระบบราง ใกล้ความจริงขึ้นมาทุกขณะ เพราะรัฐบาลให้ความสำคัญในเรื่องการลดค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ ที่สำคัญการพัฒนาระบบรางนี้หลายภาคส่วนต่างยกนิ้วให้การสนับสนุน เพราะเป็นระบบที่เข้าถึงได้ทุกภาคส่วน โดยในเมืองนั้นก็จะมีรถไฟฟ้าหลากสี ออกต่างจังหวัดก็จะมีทั้งรถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูง หรือไฮ สปีดเทรน
ล่าสุด ท่านนายกรัฐมนตรี "ประยุทธ์ จันทร์โอชา" ได้เป็นประธานพิธีเปิดเดินเครื่องหัวเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาอุโมงค์ที่สองโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย สัญญา 2 ช่วงสถานีสนามไชยสถานีท่าพระ ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีที่ท่านผู้นำได้เห็นและได้ข้อมูลด้วยตัวเอง
ก่อนหน้านี้ "พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เปิดงานสัมมนาทางวิชาการงานวิจัยระบบรางมุ่งเป้า เพื่อการพัฒนาระบบรางของประเทศ ในหัวข้อ "นโยบายในการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมเพื่อผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ระบบราง"และกล่าวว่า กระทรวงคมนาคมมีแผนก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาดราง 1 เมตรเพิ่มเติมอีกประมาณ 2,500 กิโลเมตร (กม.) จากปัจจุบันมีระยะทางประมาณ 4,000 กม. หากรวมระยะทางรถไฟที่ก่อสร้างแล้วเสร็จในอนาคตจะมีระยะทางรวมทั่วประเทศประมาณ 6,500 กม. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าและบริการให้สะดวกยิ่งขึ้น และเพื่อรองรับแผนโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบรางในอนาคต กระทรวงคมนาคมมีแผนที่จะพัฒนาบุคลากรขึ้นมารองรับทั้งรถไฟทางคู่ขนาดราง 1 เมตร และรถไฟทางคู่รางมาตรฐาน 1.435 เมตร
ส่วนการพัฒนาบุคลากรนั้น จะต้องร่วมมือกับกระทรวงวิทยาศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ ในการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนระบบรางเข้าไปอยู่ในหลักสูตรของมหาวิทยาลัย และวิทยาลัยอาชีวะต่างๆ สนับสนุนให้มีการฝึกงาน ตลอดจนการพัฒนางานวิจัยระบบราง การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดความปลอดภัย การพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถลดใช้พลังงาน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ให้ได้มาตรฐานระดับสากลเพื่อรองรับการเป็นศูนย์การขนส่งทางรางของอาเซียน
นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมยังมีแผนก่อสร้างรถไฟทางคู่รางมาตรฐาน 1.435 เมตร ที่สามารถวิ่งได้ความเร็วปานกลาง 180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ประมาณ 3,000 กิโลเมตร โดยโครงการแรกที่เป็นการนำร่อง คือ เส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอยมาบตาพุด และแก่งคอย-กรุงเทพฯ ระยะทาง 687 กิโลเมตร ที่ไทยได้ร่วมลงทุนกับจีน
ส่วนโครงการที่ 2 คือ เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 700-800 กิโลเมตร เส้นทางที่ 3 คือ เส้นทางกรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ ระยะทางประมาณ 970 กิโลเมตร เส้นทางที่ 4 คือ เส้นทางตาก-พิษณุโลก-มุกดาหาร ระยะทางประมาณ 900 กิโลเมตร โดยจะเป็นเส้นทางแนวตะวันออก-ตะวันตก ที่เชื่อมไปยังพม่าและลาว เส้นทางที่ 5 คือ เส้นทางกาญจนบุรีกรุงเทพฯ กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทราอรัญประเทศ และกรุงเทพฯฉะเชิงเทราแหลมฉบัง เพื่อเป็นการพัฒนาการเชื่อมโยงโครงข่ายทางรางกับประเทศเพื่อนบ้านในเส้นทางแนวระเบียงเศรษฐกิจด้านใต้จากตะวันออกไปตะวันตก
ขณะที่การสร้างทางคู่รางมาตรฐาน 1.435 เมตร เส้นที่ 6 คือเส้นทางท่าเรือปากบารา จังหวัดสตูล-ท่าเรือสงขลา ระยะทาง 150 กิโลเมตร ซึ่งปัจจุบันได้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาและสำรวจเชิงยุทธศาสตร์เกี่ยวกับความเหมาะสมของโครงการแล้ว เบื้องต้นได้อนุมัติงบประมาณ 50 ล้านบาท เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ โดยจะส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่รับฟังความเห็นเกี่ยวกับผลดีและผลเสียจากประชาชนและผู้ประกอบการท้องถิ่น คาดว่าจะศึกษาแล้วเสร็จภายในปลายปีนี้ และหากผลการศึกษาระบุว่าเหมาะสมและคุ้มค่าต่อการดำเนินงาน กระทรวงคมนาคมก็จะบรรจุโครงการดังกล่าวไว้ในแผนการดำเนินการปี 2559 ทันที คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 5-6 ปีจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าและบริการระหว่างทะเลฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน
โดยเส้นทางปากบารา-สงขลา นั้นถือเป็นโครงการสะพานเศรษฐกิจหรือ แลนด์บริดจ์ มีความสำคัญต่อการขนส่งของไทยมาก เพราะจะเป็นเส้นทางรถไฟที่เชื่อมต่อการเดินทางและการขนส่งสินค้าจากท่าเรือปากบารา บริเวณฝั่งอันดามันไปยังท่าเรือสงขลาแห่งที่ 2 ในฝั่งอ่าวไทยลดระยะเวลาการขนส่งได้ถึง 2 วันไม่ต้องอ้อมผ่านช่องแคบมะละกา
http://www.southdeepoutlook.com/brief/85919/%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 16/03/2015 5:26 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟไทย-จีน คมนาคมตั้งบริษัทร่วมทุน”เดินรถ” จีน 40 ไทย 60 ใช้เวลา 7 ปีคืนไทย – ยืดเคาะแหล่งเงินสิงหาคม นัดถกต่อ 6-8 พ.ค. ที่จีน
Thai Publica
12 มีนาคม 2558


เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2558 พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือไทย-จีน ครั้งที่ 3 ด้านรถไฟ เส้นทางรถไฟกรุงเทพฯ-หนองคาย และแก่งคอย-มาบตาพุด ในช่วงวันที่ 10-11 มีนาคม 2558 โดยมีการลงพื้นที่ที่จังหวัดหนองคายว่ามี 4 เรื่องสำคัญคือ(อ่านคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 2)

1.ยืนยันรูปแบบความร่วมมือในการดำเนินโครงการ ว่าเป็นรูปแบบรับจ้างก่อสร้างเบ็ดเสร็จ หรือ EPC ซึ่งการแบ่งความรับผิดชอบให้เป็นไปตามที่ตกลงไว้ในการประชุมครั้งที่ 2 คือในฝ่ายไทยจะรับผิดชอบเรื่องของรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและเวนคืนที่ดิน รวมทั้งจัดทำข้อมูลสนับสนุนให้กับฝ่ายจีนในการสำรวจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของแผนที่ ภาพถ่ายดาวเทียม ภาพถ่ายทางอากาศ และสถานที่สร้างสถานีรถไฟตลอดเส้นทาง ส่วนของฝ่ายจีนจะเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องสำรวจออกแบบและงานระบบเดินรถ ทั้งนี้ กระทรวงจะจัดให้มีเครื่องมือกับเจ้าหน้าที่พิเศษลงพื้นที่ร่วมด้วย

ทั้งนี้ งานก่อสร้างฐานรากพื้นฐานอาจจะให้เอกชนเข้าร่วม โดยปัจจุบันทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้จัดทำรายชื่อเอกชนที่มีศักยภาพแล้วประมาณ 12-15 ราย แต่ยังไม่ได้เลือกต้องพิจารณาอีกครั้ง

2.สรุปแนวทางการฝึกและถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมไปถึงการพัฒนาบุคลากรของกระทรวงคมนาคม ร.ฟ.ท. และเอกชนไทย โดยเสนอแนวคิดที่จะฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย ด้วยการจัดหลักสูตรสั้น-ยาว ในสาขาที่จำเป็น โดยนายวรเดช หาญประเสริฐ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ยกตัวอย่างสาขาที่จำเป็น เช่น วิศวกรรมโยธารถไฟ, วิศวกรรมเครื่องกล, การบริหารระบบเดินรถ และเทคโนโลยีข้อมูลและการสื่อสาร โดยมอบหมายให้ ร.ฟ.ท. และการรถไฟจีนจัดทำหลักสูตรมานำเสนอในการประชุมครั้งหน้า แบ่งเป็นหลักสูตรระยะสั้น 3-6 เดือน หรือ 4-8 เดือน เริ่มต้นสิงหาคม 2558 ระยะกลาง 1-1.5 ปี เริ่มต้นเดือนตุลาคม 2558 และระยะยาวมากกว่า 1.5 ปี เริ่มต้นกลางปี 2559

3.เห็นชอบข้อตกลงเรื่องการปฏิบัติงานร่วมกันในบันทึกความร่วมมือ หรือเอ็มโอซี ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ ตั้งแต่เดือนมีนาคมจนแล้วเสร็จว่า ขั้นต้น-ขั้นกลางจะทำอะไรก่อนลงนามสัญญาบ้าง ส่วนขั้นปลายจะตกลงกันในการประชุมครั้งที่ 4 ซึ่งคาดว่าจะประชุมหานอีกครั้งช่วงต้นเดือนเมษายนหรือปลายเดือนเมษายนนี้

ทั้งนี้ การประชุมครั้งนี้ฝ่ายจีนเสนอให้บรรจุข้อตกลงดังกล่าวลงในรายงานการประชุม ซึ่งถือว่ามีผลผูกมัดอยู่แล้ว จึงยังไม่มีการลงนามอย่างเป็นทางการ ส่วนร่างข้อตกลงฝ่ายไทยจะยังเก็บไว้ เผื่อได้ใช้ในโอกาสต่อไป

4.แหล่งเงินทุนและรูปแบบการลงทุน นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ได้กล่าวเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2558 ว่า จะแยกรูปแบบลงทุนเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนก่อสร้างเป็นรูปแบบ EPC และส่วนที่ 2 เรื่องการเดินรถ จะเป็นรูปแบบบริษัทร่วมทุนระหว่างไทยกับจีน

ส่วนเรื่องแหล่งเงินทุน ไทยเสนอว่าให้เป็นการระดมทุนจากหลายแหล่ง แบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1.กรรมสิทธิ์ที่ดินและการเวนคืน จะใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน 2.การก่อสร้าง จะใช้เงินกู้ภายในประเทศ เนื่องจากใช้วัสดุก่อสร้างและวัตถุดิบในประเทศเป็นส่วนใหญ่ 3.เทคโนโลยี ระบบราง ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบไฟฟ้า จะใช้เงินกู้จากประเทศจีน เนื่องจากจำเป็นต้องซื้อสินค้าจากจีน 4. เป็นเรื่องของบริษัทร่วมทุน

พล.อ.อ. ประจินกล่าวเสริมว่า สัดส่วน “การดำเนินงาน” ของบริษัทร่วมทุนจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง 1) ช่วง 1-3 ปีแรก จะให้จีนเป็นผู้ดำเนินการหลัก 2) ช่วง 4-7 ปี ไทยและจีนร่วมดำเนินการในสัดส่วนเท่าๆ กัน และ 3) ช่วง 7 ปีเป็นต้นไป ไทยเป็นผู้ดำเนินการหลัก และให้จีนเป็นที่ปรึกษา

ขณะที่สัดส่วน “เงินลงทุน” จะต้องดูเนื้องานก่อน ซึ่งในหลักการเนื้องานที่เกี่ยวกับการวางระบบโครงสร้างพื้นฐานความรับผิดชอบเป็นของไทย 2 ใน 3 ส่วน ของจีนเป็น 1 ใน 3 ส่วน ส่วนการวางระบบอาณัติสัญญาณ การควมคุมการเดินรถ และเทคโนโลยีต่างๆ จีนจะรับผิดชอบ 2 ใน 3 ของไทยจะเหลือเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น แต่ต้องสรุปความชัดเจนก่อนว่าเนื้องานส่วนต่างๆ จะมีแผนการเงินและจะได้สัดส่วนของการลงทุนเท่าไร ทั้งนี้ คาดว่าจะได้กรอบสัดส่วนในการประชุมครั้งหน้า แต่วงเงินจะไม่ทราบจนกว่าจะมีความชัดเจนของการสำรวจและออกแบบ

อย่างไรก็ตาม ทางกระทรวงมีความตั้งใจจะแบ่งสัดส่วนเงินลงทุนในบริษัทเป็น 3 ส่วน และให้จีนมีสัดส่วนไม่เกิน 40% ที่เหลือให้เป็นของ ร.ฟ.ท. และเอกชนไทย เนื่องจากต้องการให้ ร.ฟ.ท. มีบทบาทอยู่

ประชุมไทยจีน_1

นายอาคมกล่าวเพิ่มเติมว่าด้านเงื่อนไขการกู้เงิน ประเด็นแรกไทยเสนอว่าอยากได้ดอกเบี้ยที่ต่ำที่สุดกว่า 2% แต่ฝ่ายจีนระบุว่าประเทศไทยมีระดับรายได้ปานกลางแล้ว เงื่อนไขในการกู้ดอกเบี้ยจะต้องสูงกว่า 2% แต่ว่าโครงการนี้เป็นโครงการแรกระหว่างไทย-จีน จีนจึงให้ดอกเบี้ยต่ำสุดที่ 2% เท่าเดิมและไม่อาจให้ต่ำกว่านี้ได้ เนื่องจากยังติดข้อกฎหมายของจีนที่บอกว่าการปล่อยเงินกู้ต่างประเทศในโครงการพื้นฐานต่างๆ จะต้องไม่ต่ำกว่า 2%

ประเด็นที่ 2 เรื่องระยะเวลาของการปลอดหนี้และการชำระหนี้คืน เบื้องต้นฝ่ายจีนระบุว่าเป็นกฎของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าของจีนว่าต้องมีระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ 20 ปี ปลอดหนี้ 5-7 ปี (รวมอยู่ในระยะคืนหนี้ 20 ปี) ขณะที่ฝ่ายไทยพยายามต่อรองที่ 25-30 ปี ปลอดหนี้ 7-10 ปี ซึ่งฝ่ายจีนระบุว่าจะนำไปพิจารณาก่อน

ประเด็นที่ 3 ฝ่ายไทยต่อรองลดค่านายหน้าและค่าบริหารจัดการเงินกู้ ซึ่งคิดรวมทั้ง 2 ประเภท ประมาณ 0.5% ของเงินกู้ อย่างละ 0.25% แต่ฝ่ายจีนขอให้คำตอบหลังจากศึกษาความเป็นไปได้แล้วเสร็จ

ประเด็นสุดท้าย ฝ่ายไทยขอให้ใช้กฎหมายไทย เนื่องจากเราเป็นผู้กู้ ซึ่งฝ่ายจีนได้ขอเวลาศึกษาก่อน รวมไปถึงรายละเอียดการใช้อนุญาโตตุลาการ รวมทั้งเงื่อนไขอื่นๆ ทั้งนี้ โดยปกติสัญญาเงินกู้แบบนี้จะต้องใช้ระบบของอนุญาโตตุลาการ และไทยยังต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีด้วย

“เงื่อนไขการเงินต่างๆ ยังต้องหารือกันก่อน หลังจากศึกษาความเป็นไปได้แล้ว รวมไปถึงเรื่องการออกแบบด้วย ซึ่งจะทำให้รู้ต้นทุนของโครงการ เมื่อรู้ต้นทุนแล้วจึงจะมาดูเรื่องของต้นทุนการเงินอีกที ซึ่งเราได้เร่งทั้งสองกระบวนการให้เสร็จในเดือนสิงหาคม ก็ต้องรอสิงหาคมจึงได้ข้อสรุปจริงๆ ส่วนเรื่องสัดส่วนการร่วมทุน ต้องศึกษาออกแบบบริษัทร่วมทุนร่วมกันก่อน คงจะเป็นการประชุมครั้งหน้า” นายอาคมกล่าว

พล.อ.อ. ประจินกล่าวเสริมเรื่องเงื่อนไขเงินกู้ว่า ดอกเบี้ย 2% นี้ ทางจีนยังต้องกำหนดหลักเกณฑ์มาเสนอในการประชุมครั้งหน้าด้วยว่า ไทยต้องกู้เงินจำนวนเท่าไหร่ถึงจะได้ดอกเบี้ยอัตรา 2% แต่จำนวนเงินกู้ต่างๆ ยังต้องรอการศึกษาและออกแบบในเดือนสิงหาคมก่อน

พล.อ.อ. ประจินกล่าวถึงความคืบหน้าอื่นๆ ว่า ปัจจุบัน การรถไฟจีน (China Railway Corporation: CRC) ได้ส่งเจ้าหน้าที่มาเป็นชุดสำรวจ 20 คน แล้วคาดว่าจะตามมาอีก 30 คนรวมเป็น 50 คน ทั้งนี้ กระทรวงได้เตรียมไซต์ทำงานไว้ 3 แห่ง คือ 1) ชุดประสานงาน หรือ war-room ที่กระทรวงคมนาคม 2) เป็นส่วนที่ ร.ฟ.ท. จัดเตรียมไว้ให้ 3) เป็นในพื้นที่อาจจะเป็นที่แก่งคอยและนครราชสีมา ซึ่งเมื่อทีมงานครบแล้วจะรีบลงพื้นที่สำรวจออกแบบทันที ขณะเดียวกัน การประสานงานกับกระทรวงต่างๆ ให้กระทรวงต่างประเทศจะดูแลเรื่อง VISA กระทรวงแรงงานดูเรื่องใบอนุญาตทำงานและกระทรวงการคลังเข้ามาดูแลเรื่องการนำเข้าอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับภาษีหรือการยกเว้นภาษี

ขณะเดียวกัน ปัจจุบันมีเรื่องที่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ 2 เรื่อง คือรายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และของบประมาณสนับสนุนส่วนสำนักงานประสานงานไทย-จีน และค่าที่ปรึกษาการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม, ประเมินสินทรัพย์กรณีต้องเวนคืนที่ดิน, การบริหารโครงการ และประเมินมูลค่าโครงการ คาดว่าจะนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้วันที่ 27 มีนาคม 2558

“ขอสรุปประเด็นให้ทราบว่า นับแต่การประชุมครั้งที่ 1-3 เรามีความก้าวหน้าเรื่องของการกำหนดรูปแบบการลงทุน รูปแบบความร่วมมือ และขอบเขตของงาน ที่จะเริ่มสำรวจตั้งแต่มีนาคมเป็นต้นไป และจะมีผลสำเร็จสำหรับช่วง 1-2 ในปลายสิงหาคมถึงต้นกันยายน และจะก่อสร้างได้ช่วงต้นตุลาคมปีนี้เป็นต้นไป 30 เดือน ส่วนช่วงที่ 3-4 จะสำรวจเดือนมีนาคม สำรวจเสร็จธันวาคม 2558 และก่อสร้างต้นปี 2559 เป็นต้นไป 36 เดือน” พล.อ.อ. ประจินกล่าว

ทั้งนี้ นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงกำหนดการประชุมร่วมครั้งที่สี่ว่าจัดขึ้นที่คุนหมิง ประเทศจีน ในวันที่ 6-8 พฤษภาคม 2558 โดยมีวาระฝ่ายจีนคือเสนอหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเงื่อนไขเงินกู้และรูปแบบบริษัทร่วมทุน, เสนอผลการศึกษาเบื้องต้นของโครงการ, เสนอหลักสูตรถ่ายทอดเทคโนโลยี และคำตอบข้อเสนอของไทยที่จะไปเยี่ยมชมกิจการรถไฟที่จีน ส่วนฝ่ายไทยจะเสนอความคืบหน้าผลการศึกษาสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ทางจีน ยังขอให้ไทยจัดทำเรื่องแนวทางการบริหารจัดการและบำรุงรถไฟมาเสนอด้วย
https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=h1rlYCwtRdc

//-------------------
'ประจิน'ถกจีนสร้างทางรถไฟ เชื่อ'คุนหมิง-มาบตาพุด'เกิดแน่
แนวหน้า
วันพุธ ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558, 20.19 น.


11 มี.ค.58 เมื่อเวลา 11.00 น. ที่ห้องประชุมโรงแรมบุศยรินทร์ อ.เมืองหนองคาย ได้มีการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย จีน ครั้งที่ 3 โดย พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นำคณะของไทย ประชุมร่วมกับ นายหวัง หมิน (Huang Min) รองกรรมการผู้จัดการบริษัทไชน่า เรลเวย์ คอร์ปอเรชั่น (Deputy General Manager China Railway Corporation) ซึ่งหลังจากร่วมประชุมได้คณะทั้งหมดได้ไปชมพื้นที่ก่อสร้างสะพานสำหรับรถไฟแห่งใหม่เพื่อเชื่อมทางรถไฟระหว่างหนองคาย – เวียงจันทน์

พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การประชุม 2 ครั้งที่ผ่านมามีความคืบหน้าไปมาก ทั้งในฝ่ายของไทย และฝ่ายจีน รวมถึงได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจของทั้งสองฝ่ายที่กรุงเทพฯ จากนั้นได้มีการตั้งคณะกรรมการทำงานร่วมกันเพื่อร่วมกันผลักดันสร้างทางรถไฟขนาดมาตรฐาน ความเร็ว 168 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เส้นทางที่ร่วมกันคือ หนองคาย–อุดรธานี–ขอนแก่น–นครราชสีมา–สระบุรี–กรุงเทพฯ จากนั้น จะแยกออกไป แก่งคอย–มาบตาพุด ระยะทาง 870 กิโลเมตร นับเป็นเส้นทางเชื่อมโยงภาคอีสานกับภาคกลางเข้าด้วยกัน ในอนาคตทราบว่ารัฐบาลจีนมีแผนสร้างเส้นทางรถไฟทางมาตรฐาน จากคุนหมิง มายัง นครหลวงเวียงจันทน์ ซึ่งจะสามารถเชื่อมต่อมายังจังหวัดหนองคายได้ หลังจากการหารือร่วมในครั้งที่ 3 นี้ ทั้งสองฝ่ายจะนำเข้าสู่การทำบันทึกความเข้าใจร่วมกัน

ด้านนายหวัง หมิน รองกรรมการผู้จัดการบริษัทไชน่า เรลเวย์ คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า รัฐบาลจีนจะบรรจุแผนพัฒนาจังหวัดหนองคายเข้าไปในแผนงานสำคัญด้านโลจิสติกส์ และอยู่ระหว่างการหารือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีน การสร้างทางรถไฟหนองคาย–กรุงเทพ–มาบตาพุด จะมีประโยชน์ต่อประเทศไทยและกลุ่มอาเซียนเป็นอย่างมาก เส้นทางนี้ไม่เพียงแต่เป็นการเชื่อมต่อภาคอีสาน กรุงเทพ และท่าเรือเข้าด้วยกันแล้ว ยังอยู่ในเส้นทางส่วนประกอบแห่งเอเชียด้วย ทางการจีนวางแผนสร้างรถไฟจากคุนหมิง หรือยูนนาน มาเวียงจันทน์ เข้าหนองคาย สู่กรุงเทพ และสิ้นสุดที่ระยอง ช่องทางนี้จะมีบทบาทสำคัญในอนาคต หลังจากสร้างเส้นทางรถไฟสายนี้เสร็จ ทั้งจีน ลาว และไทย 3 ประเทศนี้ จะกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจให้ดีขึ้น ช่วยลดต้นทุนในการขนส่งสินค้าทางรถยนต์ และเครื่องบินได้เป็นอย่างมาก

ในส่วนของท่าเรือของจีน ซึ่งมี 7 ท่าเรือใหญ่ระดับโลก ปริมาณสินค้าขนส่งมากกว่า 8,000 ล้านตัน หรือร้อยละ 70 นำสินค้าออกสู่ยุโรป เอเชีย และอเมริกา โดยผ่านท่าเรือเหล่านี้ เป็นผลผลิตจากทางตะวันตกของจีน ปัจจุบันภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีประชากรหลายร้อยล้านคน จีดีพี หมื่นล้านหยวน สินค้าเหล่านี้ถ้าขนผ่านท่าเรือเซี่ยงไฮ้ ระยะทาง 200 กิโลเมตร ขึ้นไป ถ้าผ่านทะเลใต้ของจีนจะมีอีกหลายพันกิโลเมตร หลังจากเส้นทางนี้สร้างเสร็จอยากพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดเป็นท่าเรือสากล สินค้าจีนสามารถผ่านทางนี้ได้ จะเป็นการช่วยกระชับระยะทางและช่วยลดต้นทุน หากมีการนำสินค้าผ่านทั้งรถไฟและทางเรือร่วมกัน เชื่อว่าในอนาคตเมื่อเชื่อมทางรถไฟจากจีน เวียงจันทน์ หนองคาย มาบตาพุดเสร็จ นำสินค้าลงเรือมาบตาพุดได้จะเป็นมิติใหม่ของเอเชียแปซิฟิก จ.ระยองจะเป็นเมืองโลจิสติกส์ที่สำคัญมากกว่าที่เป็นอยู่

ภายหลังการประชุมได้ข้อสรุป ข้อมูลที่ได้ในการประชุมทั้ง 3 ครั้งที่ผ่านมาจะมีการนำไปหารือกันอีกครั้งในการประชุมครั้งที่ 4 ที่ คุนหมิง ประเทศจีน โดยจะมีประเด็นในการหารือ ทั้งในเรื่องของความก้าวหน้าเรื่องข้อตกลงด้านการเงิน รูปแบบการร่วมทุน ความคืบหน้าความเหมาะสมของโครงการ หลักสูตรการจัดอบรมบุคลากร และจะมีการพูดคุยกันในเรื่องของการศึกษาดูงาน ในการบริหารจัดการด้านการรถไฟของจีน

สำหรับรูปแบบการบริหารจัดการและการลงทุนนั้น จะแยกออกมาเป็นในช่วงแรก 1-3 ปี แรกให้จีนเป็นตัวหลัก ไทยเป็นตัวเสริม ช่วงปีที่ 4-7 จีนกับไทย จะร่วมกันบริหารจัดการในการเดินรถฝ่ายละครึ่งทาง ส่วนปีที่ 7 เป็นต้นไปนั้น ไทยจะเป็นผู้รับผิดชอบหลัก ขณะที่จีนจะเป็นฝ่ายสนับสนุน ส่วนเรื่องของการลงทุนนั้น จะเป็นการจัดตั้งบริษัทขึ้นมา และกำหนดสัดส่วนการลงทุนนั้นว่าจะเป็นเท่าไหร่ ในภาพรวมนั้นไทยจะเป็นหลักในการกำหนดสัดส่วน โดยส่วนไปอาจจะเป็น 2 ส่วน คือการรถไฟไทย ร้อยละ 30 เอกชนที่มีศักยภาพ อีกร้อยละ 30 ฝ่ายไทยจะมีสัดส่วนที่สูงกว่าจีนแน่นอน ซึ่งเชื่อว่าความก้าวหน้าในเรื่องของการสำรวจ นั้นจะมีผลชัดเจนในเดือนพฤษภาคมนี้ แน่นอน ส่วนเรื่องการฝึกอบรมทางการจีนจะเป็นผู้กำหนด เราจะต้องเร่งดำเนินการในเรื่องการให้เรียบร้อยในการจ้างที่ปรึกษาสำรวจผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม และจ้างที่ปรึกษาในเรื่องของการบริหารโครงการและการประเมินคุณภาพของโครงการ ซึ่งเราจะต้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือน มีนาคม นี้ จะทำเรื่องขอการสนับสนุนเรื่องของบประมาณจากรัฐบาล ต่อไป.

//-------------------------

‘ประจิน’นำจีนลงพื้นที่สร้างรถไฟ เชื่อมไทย-ลาวที่หนองคาย
แนวหน้า
วันพฤหัสบดี ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2558, 06.00 น.

‘ประจิน’นำจีนลงพื้นที่สร้างรถไฟ เชื่อมไทย-ลาวที่หนองคาย ทำรางวิ่งตรง‘มาบตาพุด’

เมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2558 พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม และผู้แทนฝ่ายจีน ได้ลงพื้นที่จ.หนองคายเพื่อสำรวจเส้นทางการก่อสร้างโครงการรถไฟไทย-จีน พร้อมทั้งประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านการพัฒนาโครงการรถไฟ ไทย-จีน โดยมีผู้บริหารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้บริหารจังหวัด และองค์กรส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมประชุม ณ โรงแรมบุศยรินทร์ จ.หนองคาย

ทั้งนี้ หลังจากการประชุมทางคณะทำงานทั้ง 2 ฝ่ายแล้ว ก็จะลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมชมสถานที่ก่อสร้างสะพานสำหรับรถไฟแห่งใหม่ เพื่อเชื่อมทางรถไฟระหว่างหนองคาย-เวียงจันทน์ ไปยังประเทศจีน พร้อมทั้งสำรวจเส้นทาง และติดตามความคืบหน้าของการก่อสร้าง รวมถึงร่วมแถลงผลการประชุม

พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า การเดินทางลงพื้นที่สำรวจเส้นทางก่อสร้างรถไฟขนาดรางมาตรฐานที่จ.หนองคาย เพื่อเร่งรัดงานก่อสร้างเส้นทางรถไฟ หนองคาย-มาบตาพุด หลังจากคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน มีข้อสรุปในหลายประเด็น เช่น รูปแบบการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานแบบเบ็ดเสร็จ(EPC), การพัฒนาเทคโนโลยีและบุคลากรร่วมกัน, การจัดฝึกอบรมหลักสูตรระยะยาว และความเห็นชอบในการปฏิบัติงานร่วมกันจนถึงเสร็จสิ้นโครงการ รวมถึงจะมีการกำหนดการประชุมในครั้งที่ 4 ว่าจัดสถานที่ของประเทศใด ซึ่งคาดว่าจะอยู่ในช่วงเดือนเม.ย.2558 นี้

ส่วนตัวเลือกรูปแบบการลงทุนในส่วนของการเวนที่ดินจะเป็นการกู้เงินภายในประเทศ, ด้านวัสดุก่อสร้างก็จะเป็นการกู้เงินภายในประเทศเช่นกัน, ด้านระบบไฟฟ้า ระบบเทคโนโลยี ระบบรางและระบบสัญญาณจะเป็นการกู้เงินจากประเทศจีน โดยทางจีนได้เสนออัตราดอกเบี้ยการกู้เงินในการก่อสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐาน 2% และค่าบริหารจัดการกับค่าทำสัญญาเงินกู้อย่างละ 0.25%

ทั้งนี้หลังจากการศึกษาร่วมกันแล้วจะพิจารณาความเป็นไปได้อีกครั้งว่าจะมีการปรับเปลี่ยนระยะเวลาในการผ่อนชำระทั้งหมด 20 ปี และระยะเวลาปลอดหนี้ 5 – 7 ปี ซึ่งไทยได้เสนอให้จีนพิจารณาใหม่และขอให้มีการลดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลงกว่าเงื่อนไขปัจจุบัน

//-----------------------------
ไทย-จีนลงพื้นที่‘หนองคาย’ลุยรถไฟเร็วสูง คมนาคมวาง‘แผนสอง’
แนวหน้า
วันอังคาร ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558, 06.00 น.
ไทย-จีนลงพื้นที่‘หนองคาย’ลุยรถไฟเร็วสูง

คมนาคมวาง‘แผนสอง’

ให้คลังหาแหล่งเงินทุน

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 3 มีการหารือในส่วนของรูปแบบการร่วมมือ และรูปแบบการลงทุนสัดส่วนเงินกู้,การเดินรถ ในส่วนของรายละเอียด รวมถึงการฝึกอบรบการถ่ายทอดด้านเทคโนโลยีและการพัฒนาบุคลากรสามารถรองรับการใช้เทคโนโลยีใหม่ได้ ซึ่งจะพยายามเร่งหาข้อสรุปให้ได้ภายในวันที่ 10 มี.ค. 2558 นี้ ก่อนมีการประชุมอีกครั้งในวันที่ 11 มี.ค.นี้ ที่จ.หนองคาย โดยมีผู้แทนส่วนท้องถิ่นทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมสังเกตการณ์ด้วย

โดยขณะนี้ทางคณะสำรวจออกแบบของจีนได้เดินทางมาสำรวจพื้นที่ตั้งแต่ช่วงปลายเดือน ก.พ. ที่ผ่านมาและได้ประสานงานร่วมกับ การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) ซึ่งทางไทยก็ได้มีการให้ความร่วมมือทางด้านข้อมูล โดยจะพยายามในเรื่องของการสำรวจพื้นที่ให้ครบทั้ง 4 ช่วงในเดือน มี.ค.นี้ ในส่วนของการฝึกอบรมที่จะต้องมีการสรุปเกี่ยวกับหลักสูตรและสาขาวิชาให้ได้ในเดือน ส.ค. นี้

ที่ประชุมได้มีการติดตามความคืบหน้าในการดำเนินการจากการประชุมทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมาโดยจะมีการสรุปรูปแบบการร่วมมือ(EPC)ว่าจะมีการรูปแบบอย่างไร รวมถึงมีการเจรจาเกี่ยวกับรูปแบบการดำเนินงาน

ด้านรูปแบบการลงทุนจะพยายามลงรายละเอียดให้ได้มากที่สุดภายในเดือน มี.ค.-เม.ย. 2558 เพื่อนำไปสู่การร่างสัญญาช่วงที่ 1-2 ให้แล้วเสร็จภายในเดือน ก.ย. 2558 และสัญญาช่วงที่ 3-4 จะให้แล้วเสร็จภายในเดือน ธ.ค.2558

ส่วนการก่อสร้างที่เป็นพื้นฐานยังไม่มีการกำหนดสัดส่วน ซึ่งจะมีการหารือรายละเอียดอีกครั้ง สำหรับแหล่งเงินทุนหากกรณีที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่ทางไทยได้เสนอความต้องการในอัตราดอกเบี้ยพิเศษไว้ก็ ได้มีการเตรียมแผนสำรองไว้ในส่วนของ กระทรวงการคลัง ทั้งการกู้ในประเทศและต่างประเทศ ด้วยการออกพันธบัตรนั้นจะอยู่ในอัตราดอกเบี้ย 2.88%-4.66%

“ในการก่อสร้างที่เป็นพื้นฐานยังไม่ได้มีการกำหนดสัดส่วนว่ากี่เปอร์เซ็นต์ของใคร จะเน้นหนักในเรื่องของ Civil Work ระบบราง ระบบอาณัติสัญญาณฯ ซึ่งจีนจะเป็นหลักขึ้นอยู่ว่าจะสัดส่วนเท่าไหร่ ในส่วนของการเดินรถ การซ่อมบำรุงและการตั้งศูนย์ผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ โดยจะต้องนำแต่ละส่วนโครงสร้างพื้นฐานและการวางระบบรางก่อน หากในส่วนนี้เข้าเกณฑ์ของรัฐบาลจีนก็จะเป็นดอกเบี้ยในอัตราพิเศษ” พล.อ.อ.ประจิน กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 17/03/2015 8:36 pm    Post subject: Reply with quote

ประธานหอการค้าจังหวัด เพชรบูรณ์ยืนยันจะให้สร้างรถไฟไปเพชรบูรณ์ให้ได้
http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=605733


‘เพชรบูรณ์-ชัยภูมิ’ ชิงดำ ตัดสินแนวรถไฟทางคู่ 28 เม.ย.
โดย...สุนทร คงวราคม/มัฆวาน วรรณกุล
หมวดหมู่ : ธุรกิจ-ตลาด
โพสต์ทูเดย์
โพสต์เมื่อ : 18 มี.ค. 2558, 15:01 น.

แนวรถไฟทางคู่เชื่อมโยงภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีมติเห็นชอบในแผนงานการพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง 2 แนวเส้นทาง คือ เส้นทางรถไฟระหว่างสายจัตุรัส-ชัยภูมิ-เลย-หนองบัวลำภู กับเส้นทางลำนารายณ์-เพชรบูรณ์-เลย-หนองบัวลำภู โดยขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมและคัดเลือกแนวเส้นทาง ซึ่งปรากฏว่าทั้ง จ.เพชรบูรณ์ และชัยภูมิ ต่างก็เสนอตัวต้องการเส้นทางรถไฟด้วยกันทั้งสองจังหวัด

กษิต โฆษิตานนท์ ประธานหอการค้าจังหวัดเพชรบูรณ์ ยอมรับว่า เป็นครั้งแรกที่ชาวเพชรบูรณ์ 99% เห็นด้วยกับโครงการนี้และร่วมกันแสดงพลังหรือแสดงออกอย่างพร้อมเพรียงกันแทบมิได้นัดหมาย จนต้องยกให้เป็นวาระเพชรบูรณ์ไปแล้ว

“จากการพูดคุยกับทางประธานหอการค้าเลย ก็เห็นด้วยหากเส้นทางรถไฟจะผ่านเพชรบูรณ์ เพราะจะทำให้รูทท่องเที่ยวเส้นทางนี้มีความน่าสนใจและเติมเต็มมากขึ้น”

ด้าน วิศัลย์ โฆษิตานนท์ อดีตนายกเทศมนตรีเมืองเพชรบูรณ์ กล่าวว่า ในวันที่ 28 เม.ย.นี้ ก็จะต้องตัดสินเลือกแนวเส้นทางแล้ว คณะทำงานจังหวัดค่อนข้างกังวลใจว่าบริษัทที่ปรึกษาจะมีข้อมูลเพียงพอหรือไม่ ดังนั้นจึงเสนอให้ รฟท.และบริษัทที่ปรึกษามาเปิดเวทีใหญ่เพื่อรับฟังความคิดเห็น ฟังเหตุผลที่ชาวเพชรบูรณ์ต้องการให้เส้นทางรถไฟผ่านจังหวัด และก่อนบริษัทที่ปรึกษาจะสรุปข้อมูลก็จะขอเปิดโต๊ะกลมพิจารณาข้อมูลว่านำเสนอได้ครบถ้วนสมบูรณ์มากน้อยแค่ไหน

ขณะเดียวกัน ชาว จ.ชัยภูมิ ก็แสดงความต้องการเส้นทางรถไฟสายนี้อย่างชัดเจนเช่นกัน

มนตรี ชาลีเครือ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ พร้อมสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ เขตอำเภอจัตุรัส ก็ได้ร่วมประชุมปรึกษาสาธารณะ เพื่อศึกษาความเหมาะสมของการก่อสร้างทางรถไฟที่มีแนวเส้นทางจาก อ.จัตุรัส-ชัยภูมิ-เลย-หนองบัวลำภู

มนตรี บอกว่า จะทำหนังสือในนามนายก อบจ. และสมาชิกสภา อบจ.ชัยภูมิ ถึง รฟท. เพื่อแสดงจุดยืนของคนชัยภูมิสนับสนุนการก่อสร้างทางรถไฟ เส้นทางสาย อ.จัตุรัส-ชัยภูมิ-เลย-หนองบัวลำภู 100%

ต้องจับตา 28 เม.ย.นี้ เส้นทางรถไฟทางคู่เส้นนี้ ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคม รองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจทั้งภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว จะได้ข้อยุติอย่างไร


Last edited by Wisarut on 19/03/2015 2:19 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 19/03/2015 1:16 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟทางคู่ไทย-ญี่ปุ่น ทำไมต้องมาลงทุน?
by Phakaphong Udomkalayalux
Voice TV
13 มีนาคม 2558 เวลา 17:40 น.

โครงการรถไฟทางคู่ เป็นโครงการที่ประเทศญี่ปุ่นสนใจลงทุนเช่นกัน ญี่ปุ่นสนใจเส้นทางใด โอกาสการลงทุนและความเป็นไปได้มีมาก-น้อยแค่ไหน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 20/03/2015 1:07 am    Post subject: Reply with quote

เลขาสภาพัฒน์เผย ครม.เศรษฐกิจ เคาะใช้บริษัทไทยก่อสร้าง พัฒนารถไฟฟ้าร่วมไทย-จีน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
18 มีนาคม 2558 เวลา 21:00:46 น.


เมื่อเวลา 12.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล มีการประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจ (คณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ) โดย นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะเลขาธิการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ได้รายงานตัวเลขเศรษฐกิจภายในประเทศและต่างประเทศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาถึงการเปลี่ยนแปลงที่อาจมีนัยยะสำคัญทางระบบเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อแก้ปัญหาภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทย

นาอาคมกล่าวว่าครม.เศรษฐกิจยังพิจารณาติดตามความก้าวหน้าความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีนในการพัฒนารถไฟรางมาตรฐาน2 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางหนองคาย-กทม. และเส้นทางหนองคาย-มาบตาพุด ซึ่ง พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รายงานว่าหลังจากประชุมร่วมกับจีน 3 ครั้งที่ผ่านมา ได้มีข้อสรุป ได้แก่ เรื่องที่หนึ่งรูปแบบการก่อสร้าง ออกแบบ แบ่งเป็น 1.การก่อสร้าง และ 2.เทคโนโลยี และ 3.ระบบราง โดยจะเป็นเทคโนโลยีของจีนทั้งหมด และว่าจ้างบริษัทไทยในการก่อสร้าง สำหรับเรื่องที่สองเรื่องการเดินรถ ได้ตกลงเบื้องต้นกับผู้แทนจีน ให้เป็นการเดินรถร่วม โดยอาจจะตั้งบริษัทร่วมทุนขึ้นมาบริหารร่วมกัน ส่วนที่สามเรื่องแหล่งเงิน ตกลงเบื้องต้นว่าจะมาจากหลายแหล่ง ได้แก่ เงินงบประมาณ เงินกู้ในประเทศ และเงินกู้จากจีน ซึ่งจะใช้เฉพาะเรื่องเทคโนโลยี ตัวรถและอาณัติสัญญาณ

นายอาคมกล่าวว่า ควมคืบหน้าโครงการนี้ได้กำหนดตารางความก้าวหน้าไว้ว่า เดือนมีนาคม-สิงหาคม จะเป็นช่วงศึกษาความเป็นไปได้รวมกับการสำรวจ การออกแบบรถไฟเส้นทาง กทม.-หนองคาย หนองคาย-มาบตาพุด โดยวางไว้ 2 ระยะ คือ

ระยะที่หนึ่ง ช่วงเดือนสิงหาคมเรื่องการออกแบบและเรื่องการสำรวจ ได้แก่ ช่วงที่หนึ่ง กทม.-แก่งคอย ช่วงที่สองแก่งคอย-มาบตาพุด จะแล้วเสร็จเดือนสิงหาคม และใช้ช่วงเดือนกันยายนในการอนุมัติต่าง ๆ คาดว่าการก่อสร้างในช่วงต้นเดือนแรกจะเริ่มได้ในเดือนตุลาคม ทั้งนี้การออกแบบจะทำควบคู่ไปกับการจัดทำรายงานนผลกระทบสิ่งแวดล้อม

สำหรับช่วงที่สามแก่งคอย-นครราชสีมา และช่วงที่สี่นครราชสีมา-หนองคาย คาดว่าจะศึกษาและออกแบบได้เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม และเริ่มก่อสร้างต้นปี 59
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 21/03/2015 5:35 pm    Post subject: Reply with quote

คนเพชรบูรณ์รวมพลังขอรถไฟผ่าน
ข่าวภูมิภาค
INN News
วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2558 11:13น.

ข้าราชการ พนักงาน กว่า 500 คน รวมพลังเรียกร้องรถไฟผ่านเพชรบูรณ์ หลังรอคอยมากว่า 50 ปี
ข้าราชการและพนักงานเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จำนวนกว่า 500 ชีวิต ได้ร่วมกันแสดงพลังที่บริเวณลานจอดรถสำนักงานเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ เพื่อเรียกร้องขอเส้นทางรถไฟผ่านเพชรบูรณ์ โดยกิจกรรมที่ชาวเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ได้ร่วมกันรณรงค์ นอกจากจะมีการชูป้ายและร่วมกันโบกธงแล้ว ยังร่วมกันส่งเสียงเรียกร้อง "รถไฟต้องผ่านเพชรบูรณ์ ปู๊น ๆ" อย่างพร้อมเพรียงกันอีกด้วย

ในการเรียกร้องดังกล่าวเพื่อต้องการให้กระทรวงคมนาคมและ ร.ฟ.ท. กระจายโอกาสให้แก่ชาวเพชรบูรณ์ได้มีเส้นทางรถไฟเป็นครั้งแรก หลังจากที่รอคอยกันมานานกว่า 50 ปี ตั้งแต่ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ต้องการจะย้ายเมืองหลวงมาที่เพชรบูรณ์ แต่ความฝันต้องจบสิ้นไปเมื่อ พ.ร.บ.นครบาลเพชรบูรณ์ ไม่ผ่านสภาผู้แทนราษฎร

กระทั่งทาง ร.ฟ.ท.ว่าจ้างให้บริษัทที่ปรึกษา ศึกษาความเหมาะสมถึงเส้นทางรถไฟผ่านเพชรบูรณ์ เพื่อเป็นเส้นทางเลือก โดยจะคัดเลือกในปลายเดือนเมษายนนี้ จึงปลุกความหวังให้แก่ชาวเพชรบูรณ์ขึ้นมาอีกครั้ง ทุกคนคาดหวังว่าเสียงเรียกร้องของชาวเพชรบูรณ์จะได้ยินไปถึงผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

//--------------------------------

คนเพชรบูรณ์ผนึกกำลังขอรัฐตัดทางรถไฟผ่าน หลังรอมาตั้งแต่ยุค “จอมพล ป.”
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
21 มีนาคม 2558 09:07 น. (แก้ไขล่าสุด 21 มีนาคม 2558 10:37 น.)

เพชรบูรณ์ - ชาวเมืองมะขามหวาน ร่วมเรียกร้องเส้นทางรถไฟผ่านจังหวัด หวังคมนาคม และ ร.ฟ.ท.ให้โอกาส หลังรอคอยกันมามายาวนานกว่าครึ่งศตวรรษ ตั้งแต่สมัย “จอมพล ป.”

วันนี้ (21 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ชาวเพชรบูรณ์ทุกกลุ่ม และทุกสาขาอาชีพทั้ง 11 อำเภอ ต่างเคลื่อนไหวรณรงค์เรียกร้องขอเส้นทางรถไฟผ่านเพชรบูรณ์ พร้อมมีการแสดงออกในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะในสื่อโซเชียลมีเดีย จะมีชาวเพชรบูรณ์โพสต์รูป และข้อความสนับสนุนให้เส้นทางรถไฟผ่านจังหวัดของตนเอง

ล่าสุด ข้าราชการ และพนักงานเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์กว่า 500 ชีวิต ได้รวมตัวกันที่บริเวณลานจอดรถสำนักงานเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ วานนี้ (20 มี.ค.) เพื่อแสดงพลังเรียกร้องขอเส้นทางรถไฟผ่านเพชรบูรณ์ ด้วยการชูป้ายสนับสนุน และร่วมกันโบกธงแล้ว ยังร่วมกันส่งเสียงเรียกร้อง “รถไฟต้องผ่านเพชรบูรณ์ ปู้นๆ” อย่างพร้อมเพรียงกันอีกด้วย

เพื่อต้องการให้กระทรวงคมนาคม และ ร.ฟ.ท. กระจายโอกาสให้แก่ชาวเพชรบูรณ์ได้มีเส้นทางรถไฟเป็นครั้งแรก หลังจากที่รอคอยกันมานานกว่า 50 ปี ตั้งแต่สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ต้องการจะย้ายเมืองหลวงมาที่เพชรบูรณ์ แต่ความฝันต้องจบสิ้นไปเมื่อ พ.ร.บ.นครบาลเพชรบูรณ์ ต้องตกไปหลังแพ้โหวตในสภาผู้แทนราษฎร

จากนั้นคำว่า “รถไฟผ่านเพชรบูรณ์” ก็ได้ห่างหายไปจากความรู้สึกของชาวเพชรบูรณ์เป็นเวลานาน กระทั่งล่าสุด เมื่อการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ว่าจ้างให้ทางบริษัทที่ปรึกษาเร่งทำการศึกษาเพื่อเป็นเส้นทางเลือกระหว่างสายจตุรัส ชัยภูมิ เลย หนองบัวลำภู กับสายลำนาราษณ์ เพชรบูรณ์ เลย หนองบัวลำภู โดยจะมีการคัดเลือกในราวปลายเดือนเมษายนนี้ จึงปลุกความหวังให้แก่ชาวเพชรบูรณ์ขึ้นมาอีกครั้ง โดยทุกคนคาดหวังว่าเสียงเรียกร้องของชาวเพชรบูรณ์จะได้ยินไปถึงผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/03/2015 12:50 pm    Post subject: Reply with quote

คนเพชรบูรณ์รวมพลังดันตัดทางรถไฟผ่านบ้านเกิด 1 เม.ย.เปิดเวทีใหญ่ปลุกกระแส
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 มีนาคม 2558 11:44 น.

เพชรบูรณ์ - ชาวเมืองมะขามหวานแสดงพลังเรียกร้องขอทางรถไฟผ่านเพชรบูรณ์ ผู้ว่าฯ ชี้หากเกิดขึ้นจริงจะพัฒนาเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว เชื่อคุ้มค่าให้ ร.ฟ.ท.ลงทุน พร้อมเปิดเวทีใหญ่ 1 เม.ย.นี้

วันนี้ (22 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระแสการรณรงค์เรียกร้องให้รัฐบาลพัฒนาเส้นทางรถไฟผ่านเพชรบูรณ์ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง และหลากหลายรูปแบบตั้งแต่การจัดทำป้ายไวนิล สติกเกอร์ หรือแม้กระทั่งการเขียนข้อความสนับสนุนแบบง่ายๆ ลงบนกระดาษ ประชาชนทุกระดับทั้งกลุ่มเด็ก และเยาวชน รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจภายในจังหวัด ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าทั้ง 11 อำเภอทั่วจังหวัด ต่างก็พากันออกมาร่วมสนับสนุนเรียกร้องในทิศทางเดียวกัน

นอกจากนี้ ในสื่อโซเชียลมีเดียก็ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการรณรงค์ โดยมีการโพสต์ภาพกิจกรรมการแสดงออกเรียกร้องให้ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) หันมามองจังหวัดเพชรบูรณ์ซึ่งมีความพร้อมทั้งด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการท้องเที่ยว รวมทั้งสภาพพื้นที่เหมาะสมคุ้มค่าต่อการลงทุน

นายบัณฑิตต์ เทวีทิวารักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวว่า เป็นการแสดงออกของชาวเพชรบูรณ์ถึงความต้องการอย่างแท้จริง ทุกคนต่างมีความเห็นร่วมกันว่าการบริการสาธารณะระบบรางชนิดนี้จะเป็นประโยชน์ต่อคนในพื้นที่และในจังหวัดใกล้เคียง นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยพัฒนาระบบเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว ในขณะที่ทางจังหวัดเองก็ให้การสนับสนุน ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย พิจารณาเลือกแนวก่อสร้างเส้นทางสายนี้ และทำให้เกิดขึ้นจริง หลังจากที่คนเพชรบูรณ์รอคอยกันมาอย่างยาวนานมาก

นายบัณฑิตต์กล่าวว่า การวางเส้นทางระบบรางผ่านเพชรบูรณ์นั้น นอกจากจะเป็นเส้นทางเชื่อมต่อไปยังจังหวัดเลยแล้วยังจะเชื่อมต่อไปยังประเทศลาว ผ่านทางอำเภอท่าลี่ซึ่งปัจจุบันก็มีเส้นทางคมนาคมอยู่แล้ว ฉะนั้นด้วยความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ และเป็นระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือใต้อีกเส้นทางหนึ่ง ซึ่งจะคู่ขนานกับไปกับเส้นทางพิษณุโลก-กรุงเทพฯ จึงเชื่อมั่นว่าจะคุ้มค่าต่อการลงทุนเป็นอย่างยิ่ง

“วันที่ 1 เมษายนนี้ ทางจังหวัดจะร่วมกับทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัด รวมทั้งชาวเพชรบูรณ์ทุกภาคส่วน จัดเวทีรับฟังความคิดเห็น พร้อมทั้งเชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้ง ร.ฟ.ท.และบริษัทที่ปรึกษามาแลกเปลี่ยนหรือรับทราบข้อมูล ถึงความเหมาะสมในการลงทุนก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายลำนารายณ์ เพชรบูรณ์ เลย และหนองบัวลำภู”

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 23/03/2015 12:23 am    Post subject: Reply with quote

งานนี้ พ่อเมืองมะขามหวานก็ ร่วมหัวจมท้ายกับการให้มีทางรถไฟไป เพชรบูรณ์ด้วย

ผู้ว่าฯเพชรบูรณ์ชี้สร้างทางรถไฟผ่านจังหวัดคุ้มค่า
ข่าวภูมิภาค
INN news
วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2558 14:46น.

ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ ชี้ สร้างทางรถไฟผ่านจังหวัดคุ้มค่า สามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศลาวผ่านทางท่าลี่
หลังจากชาวเพชรบูรณ์ต่างพากันออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องขอเส้นทางรถไฟผ่านเพชรบูรณ์ในรูปแบบต่าง ๆ กระทั่งกลายเป็นกระแสที่ถูกจุดติด โดยเฉพาะในสื่อโซเชียลซึ่งถูกหยิบมาใช้เป็นสื่อ ในการรณรงค์กันอย่างกว้างขวาง
ล่าสุด นายบัณฑิตย์ เทวีทิวารักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวว่า เป็นการแสดงออกถึงความต้องการอย่างแท้จริงของชาวเพชรบูรณ์ เนื่องจากต่างเห็นพ้องร่วมกันว่าการบริการสาธารณะระบบรางชนิดนี้จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่และในจังหวัดใกล้เคียง นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยพัฒนาระบบเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว

ในขณะที่ทางจังหวัดเองก็ให้การสนับสนุนให้ทางการรถไฟแห่งประเทศไทยพิจารณาเลือกแนวก่อสร้างเส้นทางสายนี้ และทำให้เกิดขึ้นจริง หลังจากที่คนเพชรบูรณ์รอคอยกันมาอย่างยาวนานมาก

นายบัณฑิตย์ ยังกล่าวอีกว่า การวางเส้นทางระบบรางผ่านเพชรบูรณ์นั้น นอกจากจะเป็นเส้นทางเชื่อมต่อไปยังจังหวัดเลยแล้ว ยังจะเชื่อมต่อไปยังประเทศลาวผ่านทางอำเภอท่าลี่ซึ่งปัจจุบันก็มีเส้นทางคมนาคมอยู่แล้ว ฉะนั้นด้วยความเหมาะสมของสภาพพื้นที่และเป็นระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือใต้อีกเส้นหนึ่ง ซึ่งจะคู่ขนานกับไปกับเส้นทางพิษณุโลก-กรุงเทพฯ จึงคุ้มค่าต่อการลงทุนเป็นอย่างยิ่ง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 23/03/2015 3:16 am    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
จีนแดงชักสนรถไฟไปท่าเรือทวาย
http://www.thaibizchina.com/thaibizchina/th/about-china/country/sichuan/transport.php
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 23/03/2015 7:47 pm    Post subject: Reply with quote

11มี.ค.58 รวค.นำคณะผู้แทนจีนเยี่ยมชมพื้นที่ก่อสร้างฯ รถไฟไทย-จีน
ภาพและข่าว โดย น.ส.ประไพจิตร โภชน์พันธุ์

ผู้มีส่วนร่วม: กระทรวงคมนาคม หูกวาง (owner), โจอ้วน ปัญญะ รัตนวราหะ, กองสารนิเทศ กระทรวงคมนาคม และคนอื่นๆ อีก 2 คน

พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นำหัวหน้าคณะผู้แทนรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เยี่ยมชมพื้นที่ก่อสร้างสะพานสำหรับรถไฟแห่งใหม่ หนองคาย-เวียงจันทน์

พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายรัฐบาลไทย นำนายหวัง เสี่ยวเถา รองผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เยี่ยมชมพื้นที่ก่อสร้างสะพานสำหรับรถไฟแห่งใหม่ เพื่อเชื่อมทางรถไฟระหว่างหนองคาย-เวียงจันทน์ โดยมี นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และประธานคณะอนุกรรมการด้านการเงินและรูปแบบการลงทุน นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้าสำนักงานบริหารโครงการภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของประเทศไทย (สบร.) นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี นายวรเดช หาญประเสริฐ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ร่วมเยี่ยมชม ณ จังหวัดหนองคาย เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2558
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 36, 37, 38 ... 121, 122, 123  Next
Page 37 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©