RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13274421
ทั้งหมด:13585717
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รถไฟจาก อรัญประเทศไปปอยเปต
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รถไฟจาก อรัญประเทศไปปอยเปต
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
umic2000
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 06/07/2006
Posts: 676
Location: Lenin Grad , U.S.S.R.

PostPosted: 03/02/2009 6:59 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
umic2000 wrote:
ป.ล. คลองที่กั้นชายแดนไทย-เขมรตรงบริเวณสะพานรถไฟ น่าจะเป็นคลองย่อยที่แยกมาจาก "คลองพรหมโหด" อีกทีครับท่านอาจารย์ Surprised

ผมลองค้นราชกิจจานุเบกษาดู
(ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตตำบลในอำเภออรัญประเทศ ปี 2540)
คลองทางด้านทิศใต้ของตำบลอรัญประเทศ
เรียกว่าห้วยพรมโหดหรือห้วยมโหสถครับ
และคลองสาขาทีแยกไปเป็นเส้นกั้นพรมแดน
เรียกว่า คลองลึก นั่นเองครับ Very Happy

http://img10.imageshack.us/img10/3286/203page02th2.jpg

ชื่ิอคลองพรหมโหดนี่ค่อนข้างน่าสับสนนะครับอาจารย์ เพราะจากที่ผมเคยเห็นเอกสารราชการของทางอ.อรัญประเทศและของทางจ.สระแก้วทางอินเตอร์เนตและทางสิ่งตีพิมพ์ต่างๆ ก็มีใช้ทั้ง "คลองพรหมโหด" และ "คลองพรมโหด" ซึ่งผมก็ไม่รู้เช่นกันว่าตกลงชื่อไหนเป็นชื่อคลองที่ถูกต้องกันแน่ครับ Confused

ส่วนแนวเขตแดนไทย-เขมรนั้น นอกจากใช้แนวลำน้ำกับสันปันน้ำบนเทือกเขาพนมดงรักกับเทือกเขาบรรทัดเป็นแนวเขตแดนแล้ว ยังมีการใช้หลักเขตทำด้วยศิลาจำนวน 73 หลักปักบอกแนวเขตแดนเป็นระยะด้วยครับ ซึ่งพื้นที่บริเวณตลาดโรงเกลือ บ.คลองลึก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว อยูในหลักเขตแดนที่ 49-50 ครับ Embarassed

Click on the image for full size

แต่ปัจจุบัน หลักเขตแดนไทย-เขมรเหลืออยู่จำนวนไม่มากแล้ว เพราะถูกทำลายหรือเคลื่อนย้ายไปจำนวนมาก โดยเฉพาะจากราษฎรเขมรที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณชายแดน ซึ่งหลักเขตที่ยังพอเห็นเป็นหลักฐานได้ชัดเจนก็คือ หลักเขตไทย-กัมพูชาที่ 73 บริเวณแหลมสารพัดพิษ อ.คลองใหญ่ จ.ตราดติดกับจ.เกาะกง ประเทศเขมรครับ ตามภาพข้างล่างนี้ครับ (ภาพทั้ง 5 ภาพต่อไปนี้เป็นของ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง ครับ) Wink

หลักเขตไทย-กัมพูชาที่ 73 บริเวณแหลมสารพัดพิษ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด
Click on the image for full size

หลักเขตฝั่งไทย
Click on the image for full size
หลักเขตฝั่งเขมร
Click on the image for full size

เขตแดนจ.เกาะกง ประเทศเขมร อยู่ตรงแนวกำแพงในรูปด้านหลังครับ
Click on the image for full size

หลักเขตไทย-กัมพูชาที่ 28 บริเวณบ.สันรอชะงัน ต.ทัพไทย อ.ตาพระยา จ.ปราจีนบุรี รอยต่อเทือกเขาพนมดงรักกับที่ราบฉนวนไทย ถ่ายเมื่อปีพ.ศ. 2525 ครับ ("สันรอชะงัน" เป็นภาษาเขมรแปลว่า "แกงอร่อย" ครับ Very Happy )

ซึ่งที่บ.สันรอชะงันนี้เมื่อปีพ.ศ. 2517 เคยมีเหตุการณ์ที่ทหารเขมรแดงรุกล้ำชายแดนเข้ามาปล้นสะดมและเข่นฆ่าราษฎรไทยเสียชีวิตไป 17 ศพ และมีการจับเด็กโยนขึ้นฟ้าก่อนใช้ดาบปลายปืนอาก้าแทงจนตาย ทำให้ต้องมีการสั่งอพยพชาวบ้านสันรอชะงันออกมาและจัดตั้งหมู่บ้านใหม่ว่า บ้านทับทิมสยาม (รายละเอียดเพิ่มเติมศึกษาได้ที่ http://www.oknation.net/blog/sompop/2008/10/29/entry-1 และ http://board.sae-dang.com/OpenMessages.php?no=30505 ครับ)

ใครจะไปคิดครับว่า หลังจากนั้นไม่กี่ปีเราต้องมาคบกับเขมรแดงเพื่อร่วมมือกันรบกับเขมรเฮงสังริมและกองทัพเวียดนามจนได้ Rolling Eyes

Click on the image for full size

สามารถติดตามเนื้อหาต่อได้ที่ http://board.sae-dang.com/ReadTopic.php?no=1929 ครับ Surprised

ป.ล. ศึกษารายละเอียดคร่าวๆเกี่ยวกับหลักเขตไทย-กัมพูชาได้ที่ http://www.suthichaiyoon.com/WS01_A001_news.php?newsid=3842 ครับ Very Happy


Last edited by umic2000 on 05/02/2009 9:59 pm; edited 3 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
umic2000
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 06/07/2006
Posts: 676
Location: Lenin Grad , U.S.S.R.

PostPosted: 03/02/2009 7:30 pm    Post subject: Reply with quote

black_express wrote:
ช่วงที่ผมร่วมกับคณะดูงานเวิลด์เทค'98 ที่ ม.เทคโนโลยีสุรนารี และเถลไถลแวะรายทางมาถึงจันทบุรีนั้น เคยเดินข้ามแดนผ่านอดีตที่หยุดรถไทย ไปเที่ยวตลาดนัดปอยเปต

เข้าใจว่าเป็นย่านสถานีปอยเปต เพราะมีซากหอสัญญาณหลังหนึ่งที่หลงเหลือจากการปะทะกันระหว่างกองกำลังทหารไทยกับทหารเวียตนาม จนมีการถล่มด้วยปืนใหญ่ ทำให้ย่านตลาดและย่านสถานีราบคาบตั้งแต่บัดนั้น

ไม่เจอซากรางหรอกครับ มีแต่คันทางเปล่าๆ ชาวบ้านรื้อเอาไปพ่อค้ารับซื้อของเก่าขายหมดแล้ว

นับแต่ปีพ.ศ. 2525 เป็นต้นมา หลังจากที่เขมรเฮงสังริมและกองทัพเวียดนามเข้ายึดกรุงพนมเปญจากเขมรแดงได้ ก็ได้ใช้แผน KT (กัมพูชา-ไทย) ส่งกองทัพเข้าประชิดชายแดนไทยตลอดแนวเพื่อตรวจสอบแนวชายแดนและหาข่าวเกี่ยวกับการวางกำลังของฝ่ายไทย และเพื่อเตรียมการสำหรับแผน KA (กัมพูชา-อาเซียน) ต่อไปในอนาคต

ในช่วงเวลาดังกล่าว กองทัพไทยได้ส่งกำลังทหารหลายกองพันไปยันทัพเขมรเฮงสังริมกับทหารเวียดนามไว้ตลอดแนวชายแดนไทย-เขมร โดยเฉพาะพื้นที่ชายแดนแถบ อ.ตาพระยา กับ อ.อรัญประเทศ ในจ.ปราจีนบุรีสมัยนั้น เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบขนาดใหญ่ที่เรียกว่า "ที่ราบฉนวนไทย" ซึ่งยาวต่อเนื่องมาตั้งแต่จ.นครนายก จ.ฉะเชิงเทรา จ.ปราจีนบุรี จนถึงจ.สระแก้ว ถ้าหากทหารแกว+ทหารเขมรสามารถยกทัพเข้ามาได้ ก็ใช้เวลาเพียง 48 ชั่วโมงเท่านั้นก็ถึงชานกรุงเทพฯได้ไม่ยากแล้วครับ โดยมีการขุดคันคูยุทธศาสตร์หรือคูดักรถถังยาวเหยียดตั้งแต่อำเภอตาพระยามาจนถึงอ.อรัญประเทศ และมีการประจำการปืนใหญ่กับกำลังทหารไว้ตลอดแนวชายแดนของสองอำเภอนี้

คันคูยุทธศาสตร์หรือคูดักรถถังแถบอ.ตาพระยา จ.ปราจีนบุรี (ในสมัยนั้น) ครับ (ภาพโดยเสธ.แดงครับ)
Click on the image for full size

Click on the image for full size

ซึ่งในช่วงเวลานั้นก็มีการดวลปืนใหญ่และมีการยิงปะทะกันระหว่างทหารทั้ง 2 ฝ่ายกันบ่อยครั้ง โดยทหารเขมร+ทหารเวียดนามนิยมใช้ปืนใหญ่ 130 มม.กับจรวดหลายลำกล้องขนาด 122 มม.ยิงขเข้ามาในฝั่งไทย ส่วนฝ่ายไทยเราใช้ปืนใหญ่ขนาด 105 มม.กับขนาด 155 มม. แต่เนื่องจากปืนใหญ่ฝ่ายเราแม้แต่ขนาด 155 มม.ก็ยังมีระยะทำการน้อยกว่าปืนใหญ่ 130 มม. บ่อยครั้งเมื่อมีการดวลปืนใหญ่ฝ่ายไทยก็หยุดการยิงของฝ่ายศัตรูไม่ได้จึงมีรายการฐานแตกหน่วยละลายกันเรื่อย แต่โชคดีครับว่าลูกพี่โซเวียตมันล่มสลายเอาเสียก่อนไม่อย่างนั้นเราคงได้มีภาษาราชการที่ 2 เป็นภาษาเวียดนามไปแล้ว Confused


Last edited by umic2000 on 04/02/2009 4:26 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44656
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/02/2009 10:13 pm    Post subject: Reply with quote

พี่ตึ๋งไปดูซากคันทางตอนโน้นก็ไม่เห็นซากรางแล้ว นี่ก็ผ่านมา 10 กว่าปีแล้ว คงจะลำบากเข้าไปอีก Sad
ขอบคุณน้องเอกครับที่เอาหลักเขตมาให้ชม พวกหมุดๆ หลักๆ นี่น่าสนใจจริงๆ ครับ

ผมเอาภาพที่เคยค้นในเว็บเจอมาลงที่นี่อีกครั้งครับ
ภาพอาคารสถานีปอยเปต ถ่ายโดยคุณ K.Yoneya เมื่อเดือนเม.ย. ปี 2000 ครับ

Click on the image for full size
ที่มา : http://www.geocities.jp/yoneya231/cambodia/1_cambodia.html
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44656
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/02/2009 2:25 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ขบวนรถไฟข้ามแดน ไทย - กัมพูชา ปี 2513 - 2517

จันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2513 เริ่มเดินรถข้ามแดน ปอยเปต - อรัญประเทศ ขบวน 6003/6004 เป็นของการรถไฟกัมพูชา ออกทุกวันจันทร์ วันพุธ ส่วนวันศุกร์นั้นจะเดินเมื่อต้องการเท่านั้น

ขบวน 6004
ออกปอยเปต 10:35 น.

ถึงที่หยุดรถกัมพูชา 10:38 น.
ออกที่หยุดรถกัมพูชา 10:43 น.
ถึงที่หยุดรถไทย 10:45 น.
ออกที่หยุดรถไทย 11:15 น.
ถึงอรัญประเทศ 11:25 น.

ขบวน 6003
ออกอรัญประเทศ 12:20 น.
ถึงที่หยุดรถไทย 12:30 น.
ออกที่หยุดรถไทย 12:35 น
ถึงที่หยุดรถกัมพูชา 12:37 น.
ออกที่หยุดรถกัมพูชา 12:42 น
ถึงปอยเปต 12:45 น.

วันที่ 9 มกราคม 2517 เป็นวันพุธครับ
ภาพถ่ายทางอากาศ ถ่ายในช่วงเช้า น่าจะเห็นขบวนรถไฟที่มีรถจักร จอดเตรียมออกเดินทางบ้างนะครับ
ขบวน 6004 อยู่ที่ไหนกันนะวันนั้น Question
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44656
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/02/2009 2:37 am    Post subject: Reply with quote

ผมลองเอาภาพถ่ายทางอากาศย่านสถานีปอยเปต
วันพุธที่ 9 มกราคม 2517 มาขยายดูอย่างละเอียด เผื่อจะพบอะไร
ก็สังเกตว่าตู้ยาวๆ น่าจะเป็นโบกี้โดยสาร
ส่วนตู้สั้นๆ น่าจะเป็นตู้สินค้า
เกือบทั้งหมดไม่มีรถจักรพ่วงแต่อย่างใด
จึงน่าจะจอดพักทิ้งไว้เฉยๆ ครับ

แต่มีสิ่งที่น่าสนใจครับ
ขบวนที่มีลูกศรสีม่วงชี้ มีรถจักรพ่วงต่ออยู่ หันหน้าไปทางศรีโสภณ อยู่ในรางประธาน พร้อมออกเดินทางครับ Very Happy
และมีโบกี้อีก 1 โบกี้ จอดขวางทางเข้าสามเหลี่ยมกลับรถจักรครับ (ลูกศรสีแดง)

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44656
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/02/2009 2:59 am    Post subject: Reply with quote

ลองเปรียบเทียบภาพถ่ายวันจันทร์ที่ 7 ม.ค. 2517 ข้างล่างนี้
กับภาพถ่ายวันพุธที่ 9 ม.ค. 2517 ข้างบนดูนะครับ ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
ในรางประธานมีความเคลื่อนไหวครับ
ขบวนที่มีรถจักรต่อพ่วง มุ่งหน้าศรีโสภณ
ภาพวันที่ 7 ไม่มี
ปรากฏขึ้นในภาพวันที่ 9 ครับ Very Happy

เป็นหลักฐานแสดงว่าสถานีปอยเปตขณะนั้น มีการเคลื่อนไหวของขบวนรถ ไม่ใช่สถานีร้างครับ Very Happy

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44656
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/02/2009 3:36 am    Post subject: Reply with quote

สำหรับภาพข้างล่างนี้
บอกเล่าได้เป็นอย่างดี ว่าสามเหลี่ยมกลับรถจักรที่ปอยเปตยังใช้งานได้ครับ ในสมัยนั้น
Very Happy

Click on the image for full size

ภาพซ้ายมือเป็นภาพที่ 7 ในม้วนฟิล์มที่ถ่ายเมื่อเช้าวันจันทร์ที่ 7 ม.ค. 2517 ครับ
ส่วนภาพขวามือ เป็นภาพที่ 11 ในฟิล์มม้วนเดียวกัน วันเดียวกัน

เวลาในภาพที่ 11 ห่างจากภาพที่ 7 ไม่กี่วินาทีครับ
สังเกตเห็นรถจักรพ่วงโบกี้ 1 โบกี้ในสามเหลี่ยมกลับรถจักร
มุ่งหน้าไปทางสะพานคลองลึกครับ

อาจเป็นรถจักรที่เตรียมไปทำขบวน 6004 ปอยเปต-อรัญประเทศ ที่จะออกจากปอยเปตตอน 10.35 น. ก็เป็นได้ครับ Rolling Eyes
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
BanPong1
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 07/12/2006
Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี

PostPosted: 05/02/2009 1:27 pm    Post subject: Reply with quote

ภาพ 007 กับ ภาพ 011 นี่สุดยอดมากครับ เป็นภาพเคลื่อนไหวแบบคลาสสิคครับ
555
ใช้ในการวิเคราะห์ได้เป็นอย่างดีเลยครับ

ผมเรียนถาม อ.เอก เพื่อเป็นความรู้นะครับว่า
เวลาไปซื้อภาพถ่ายทางอากาศ
ลักษณะของภาพคล้ายๆกรณี 007-011 นี่ ในบริเวณอื่นๆจะมีมั้ยครับ
ที่ถ่ายในวันเวลาใกล้เคียงกันแบบนี้
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44656
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/02/2009 2:36 pm    Post subject: Reply with quote

BanPong1 wrote:
เวลาไปซื้อภาพถ่ายทางอากาศ
ลักษณะของภาพคล้ายๆกรณี 007-011 นี่ ในบริเวณอื่นๆจะมีมั้ยครับ
ที่ถ่ายในวันเวลาใกล้เคียงกันแบบนี้


ขอบคุณครับอาจารย์ ภาพถ่ายมีแน่นอนทั่วประเทศไทยครับ แต่การนำมาใช้ประโยชน์ในการไขปริศนาทางรถไฟ มีข้อจำกัดคือ
1. เป็นภาพถ่ายช่วง พ.ศ.2516-2520 เท่านั้น
2. ความคมชัดในแต่ละพื้นที่ไม่เท่ากันครับ สถานีแม่กลองคุณภาพของภาพแย่มากครับ จังหวัดกาญจนบุรีก็คอนทราสต์สูงไป ไม่ดำปิ๊ดปี๋ก็ขาวโพลนไปเลย
3. มักเป็นภาพถ่ายในฤดูหนาว เดือนธันวาคม-มีนาคม
4. มักเป็นภาพถ่ายตอนเช้า 8 โมง-10 โมง
-----------------------------------------------------------------------
ภาพถ่ายทางอากาศ มาตราส่วน 1:15,000
อัดลงบนกระดาษโบรไมด์ขาวดำ ขนาด 9" x 9"
ภาพถ่ายทางอากาศ 1 แผ่น ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3.5 x 3.5 กม.ครับ

ช่างภาพจะบินไปถ่ายไปครับ โดยภาพแต่ละภาพจะมีส่วนที่เหลื่อมกัน 80% ครับ
ดังนั้น
ภาพที่ 7 กับภาพที่ 8 เหลื่อมกัน 80%
ภาพที่ 7 กับภาพที่ 9 เหลื่อมกัน 60%
ภาพที่ 7 กับภาพที่ 10 เหลื่อมกัน 40%
ภาพที่ 7 กับภาพที่ 11 เหลื่อมกัน 20%
ภาพที่ 7 กับภาพที่ 12 เหลื่อมกัน 0%

และแนวบินถ่ายภาพจะบินในแนวตะวันออก-ตะวันตกครับ

เพื่อเป็นการประหยัด ทางกรมแผนที่ทหารมักจะอัดภาพที่เว้นไปทีละ 4 ภาพครับ
ก็จะได้ภาพถ่ายทางอากาศที่ต่อกันได้ เหลื่อมกัน 20%

อีกอย่าง ถ้าทางรถไฟอยู่ในแนวตะวันออก-ตะวันตกพอดี
อย่างสายอีสานใต้ จะประหยัดมากครับ

แต่เส้นทางเฉียงๆ อย่างเช่น หาดใหญ่-สงขลา
30 กิโลเมตร ต้องใช้ภาพถ่ายทางอากาศถึง 15 ภาพครับ
ผมได้ข้อมูลจากพี่นพดังนี้ครับ
pak_nampho wrote:
ข. 239 ชุมทางหาดใหญ่ ออก 8.15 น. ถึง สงขลา 09.05 น. / ข. 240 สงขลา ออก 09.10 น. ถึง ชุมทางหาดใหญ่ 10.00 น.

แต่ก็ต้องผิดหวัง ที่เอาแว่นส่องพระส่องตั้งแต่หาดใหญ่-ถึงสงขลาแล้ว
ไม่พบวี่แววขบวนรถไฟแม้แต่ขบวนเดียวครับ

เพราะเครื่องบินบินถ่ายภาพทางอากาศกับขบวนรถดาเวนพอร์ตคงไม่ได้ทำบุญมาด้วยกัน
เลยไม่ได้พบกันครับ Sad

ในกรณีสามเหลี่ยมปอยเปต จึงถือว่าโชคดีมากๆ ครับ
เพราะบริเวณนี้เครื่องบินเข้าไปบินถ่ายเพียงแค่ 2 วันเท่านั้น คือวันจันทร์ที่ 7 กับวันพุธที่ 9 ม.ค. 2517 และเครื่องบินอยู่เหนือน่านฟ้าสามเหลี่ยมกลับรถจักรพอดีกันกับที่รถจักรกำลังวิ่งเข้าไปในสามเหลี่ยมครับ
โอกาสหนึ่งในเท่าไหร่ดีครับ Sad
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 16/05/2009 4:24 am    Post subject: Reply with quote

การสร้างทางสายพนมเปญ - อรัญประเทศ โดย กรมรถไฟอินโดจีน และ กรมรถไฟ

2470 กรมรถไฟอินโดจีน เริ่มการสร้างทาง
1 กรกฎาคม 2475 - พนมเปญ - โพธิสัตว์
1 ธันวาคม 2475 - โพธิสัตว์ - พระตะบอง
1 มิถุนายน 2476 - พระตะบอง - มงคลบุรี

4 มกราคม 2482 กรมรถไฟอินโดจีนเริ่มเจรจากับกรมรถไฟไทยสร้างทางไปเชื่อมกับไทย ที่ โรงแรมอรัญประเทศ โดยมีการเจรจาเรื่องจะสร้างสถานีชายแดนที่คลองลึก กม. 260 รถไฟไทย แต่มีเรื่องวุ่นตลอด เพระา ฝรั่งเศสยืนยันจะให้ตั้งบริษัทร่วมบริหารเส้่นทางช่วงนี้ให้จงได้โดยมีสัมปทาน 40 ปี ซึ่งไทยไม่ยอมแม้ฝรั่งเศสจะให้สัญยาว่า จะให้ไทยเป็นประธาน

8 เมษายน 2484 เปิดสถานีปอยเปต ดดยใช้ชื่อว่าเสรีเริงฤทธิ์ ต่อมาเมื่อ นายฝรั่งกลับมาครองพระตะบอง และ ศรีโสภณ ปี 2489 ให้รื้ออาคารไม้ออกแล้วสร้างอาคารคอนกรีตขึ้นแทน
เพื่อข่มขวัญกรมรถไฟตามเคย

ตุลาคม 2484 ทางเชื่อมถึงกันได้ จนสามารถนำรถยนต์รางจากรุงเทพ ไปทำขบวน มงคลบุรี - พระตะบอง ได้
23 มกราคม 2485 เปิดมงคลบุรี - อรัญประเทศ (กม. 390 รถไฟเขมร) อย่างไม่เป็๋นทางการเพื่อขนทหารญี่ปุ่นจากไซ่ง่อน (รวมพลที่พนมเปญ) ไป ถล่มมลายูและสิงคโปร์
11 เมษายน 2485 .... เปิดมงคลบุรี - อรัญประเทศ (กม. 390 รถไฟเขมร) อย่างเป็นทางการ ให้ รถ รวม 51/52 ผ่านได้

2492 เกิดอุบัติเหตุ รถจักรแม็กอาร์เธอร์ในรถขนฟืนไหล ไปชนรถไฟเขมรที่ปอยเปต ทำให้ ต้องถอดราง แล้วเอาแป้นปะทะไม่ให้ข้ามสะพานไปฝั่งเขมร

2495 การรถไฟอินโดจีนได้แปรสภาพเป็น การระแทะเพลิงในกรุงกัมพูชาธิบดี
22 เมษายน 2498 ฟื้นทางข้ามไปปอยเปต โดยมีข้อตกลงชั่วคราวว่าด้วยการเดินรถผ่านแดน ตอนนี้มีต้นฉบับเก็บรักษาที่หอสมุดแห่่งชาติเขมรที่พนมเปญ พิมพ์ สามภาษา คือฝรั่งเศส เขมร และ ไทย

2501 เลิกการเดินรถอรัญประเทศ - ปอยเปต ครั้ง แรก
2503 สมเด็จสีหนุ ให้เริ่มสร้างทางรถไฟสาย พนมเปญ - กรุงพระสีหนุ ยาว 264 กิโลเมตร เพื่อ ลดการพึ่งพาท่าเรือไซ่ง่อน และ ท่าเรือคลองเตย โดยอาศัย ฝรั่งเศสเยอรมัน และ จีนแดง ใช้รางจีนแดงขนาด 85 - 86 ปอนด์ ต่อหลา สร้างทางให้ได้โหลดเพลา 20 ตัน ข่มขวัญไทย เลยได้ดีเซลรางเยอรมัน มาใ้ช้

2504 เลิกการเดินรถอรัญประเทศ - ปอยเปต ครั้งที่ 2
18 มกราคม 2509 สมเด็จสีหนุเปิดการเดินรถ พนมเปญ - ตาแก้ว (Phnom Penh - Takeo จุดลงรถไปชายแดนเวียตนามใต้ ที่ กม. 74.5) ซึ่งสำเร็จได้เพราะความช่วยเหลือจากจีนแดง และได้กล่าวสุนทรพจน์ที่หน้าสถานีตาแก้วว่า

Prince Sihanuk wrote:

If we want to be called a developed nation, we must do the following three things . We must fulfill these three tasks before we can consider our country to be a civilized nation. (อยากจะพัฒนาจะต้องมี 3 สิ่ง)

1) The first of these three things is factories which represent industry . . .(มีโรงงาน)
2) The second thing we must have is hydroelectric dams. . . .(มีเขื่อนไฟฟ้ากำลังน้ำ)
3) What is the third thing? It is communications, particularly railroads. (มีทางรถไฟ)


2510 เปิดการเดินรถ ตาแก้ว - กำปอต (Takao - Kampot -สถานีสำคัญ ที่กม. 166.00 มีทางแยกไปโรงปูนลาฟาร์กซีเมนต์ของฝรั่งเศส)
20 ธันวาคม 2512 สมเด็จสีหนุเปิดการเดินรถ สาย พนมเปญ - กรุงพระสีหนุ (กำปงโสม กม. 264)
2523 หลังขับไล่เขมรแดงออกไป ก็ฟื้นฟูเส้นทาง พนมเปญ - พระตะบอง
2534 ได้เปิดเส้นทางไป ศรีโสภณ เพื่อขนผู้อพยพกลับเขมรได้
2538 ฝรั่งเศสให้เงิน 2 ล้านดอลลาร์และ ธนาคารพัฒนาเอเซีย ให้เงิน 4 ล้านดอลลาร์ ฟื้นฟูเส้นทาง ทั้ง 2 เส้น
9 มกราคม 2550 การรถไฟมลายูมอบราง 80 ปอนด์ ให้ การรถไฟในกรุงกัมพูชาธิบดี เพื่อทดแทนราง 60 ปอนด์ และหมอนเหล็กที่โดนรื้อไปขายกันอดตาย

นอกนั้นไม่อยากจะพูดถึงอีกเพราะ รู้กันอยู่แล้ว

ในสมัยบ้านเมืองยังดี ทางรถไฟสาย พนมเปญ ไป มงคลบุรีนี้นายฝรั่งทำให้โหลดเพลา 15 ตัน และ ความเร็วสูงสุด 70 กิโลเมตรต่อช่วโมงเพื่อข่มขวัญกรมรถไฟไทย
ที่สร้างได้ 40 กม./ชม. จากอรัญประเทศไปมงคลบุรี และ สะพานไม้เดินได้ 5 กม./ชม. แต่ตอนนี้เร็วสุดทำได้เพียง 25-30 กม./ชม. และ เบาทางที่สะพานทุกแห่งลงมาที่ 3 กม./ชม.
ทางรถไฟ พนมเปญ - กรุงพระสีหนุ (265 กม.) สร้างช่วงปี 2503 - 2512 โดยได้ความช่วยเหลือจากจีนแดง ฝรั่งเศส และ เยอร์มันี เพื่อจะได้ไม่ต้องไปที่ท่าเรือคลองเตย
และ ไซ่ง่อน ขณะนี้ไปได้ 25-30 กิโลเมตร/ชั่วโมง แทนที่จะเป็น 90 กม./ชม. ที่โหลเพลา 20 ตัน เช่นในตอนแรกสร้าง

ขณะนี้ต้องสร้างสะพานข้ามแม่น้ำ โอเสลา (O Sralao) กม. 259 + 741 ทางสายเหนือ แทนสะพานเดิมที่ถูกทำลายย่อยยับ และ ซ่อมใหญ่สะพาน ใกล้สถานี ระสือ ที่ กม. 222 + 314
และ ซ่อมสะพานคอนกรีตเพียงเล็กน้อยที่ จรวยสะเดา กม. 307 + 892 และ สร้างสะพาน Girder ชั่วคราวที่ แม่น้ำสตึงดนตรี กม. 200 + 204 ส่วนสะพานข้ามแม่น้ำสวายดอนแก้วที่กม. 198 + 200 ยังใช้การได้ดีเพราะ สร้างใหม่แทนของเดิมที่โดนเขมรแดงทำลาย

ตอนนี้บ่อหินพนมธม (PhnumThom) ใกล้สถานีพนมโตย (Phnom Tauch) กม. 315 + 771 และ บ่อหินพนมชุนห์ช่อง (Phnum Chunh Choang) ที่ศรีโสภณและ
ยังพอใช้ได้ในทางสายเหนือ และ บ่อหิน พนมชุนห์ช่อง (Phnum Chunh Choang) ที่ศรีโสภณ มีบริษัทไทยได้สัมปทานระเบิดหิน

ในการ Rehab ทาง สถานีต่อไปนี้ จะต้องมี Crossing Loop ยาวที่ได้รับการบูรณะพร้อม ติดระบบ Token (ห่วงตราทางสะดวก) และ โทรศัพทฺ์ขอทางสะดวก
เพิ่อช่วยให้เดินรถไฟ ได้ 10 ขบวน ต่อชั่วโมง

1. สถานี Meanork กม. 55 + 665 จากพนมเปญ
2. สถานี Bamnak กม. 124 + 399 จากพนมเปญ
3. สถานี Pursat กม. 165 + 647 จากพนมเปญ (โพธิสัตว์)
4. สถานี Maung Russei กม. 223 + 104 จากพนมเปญ (เมืองระสือ)
5. สถานี Battambang กม. 273 + 052 จากพนมเปญ (เมืองพระตะบอง)
6. สถานี Sisophon กม. 337 + 310 จากพนมเปญ (สถานีศรีโสภณ)

ทางรถไฟจากศรีโสภณ ไป ถึง กม. 380 + 200 (เลยที่หยุดรถบ้านกูบ) ยังพอเห็นทาง ทำให้สร้างใหม่ได้ไม่ยาก แต่ พ้นกม. 380 + 200 ถึงเขตแดน รางถูกงัดไปขาย และ ถูกกาสิโนปอยเปตของคนสยามคร่อมทาง ต้องแก้โดยการ สร้างทางรถไฟผ่ากลางทางหลวงหมายเลข 5 จากกม. 384 + 600 (วงเวียนก่อนถึงบ่อนการสิโน) ถึงเขตแดนที่ กม. 385 + 051 และ ให้ตั้งด่านศุลกากรคร่อมวงเวียน พระวิษณุด้วย โดยให้ใช้เขตทางตามแบบรฟท.

นอกจากนี้ให้สร้างสถานีชายแดนที่ ปอยเปตขึ้นมาใหม่ มีด่านตรวจคนเข้าเมืองตามแบบสถานีปาดังเบซาร์ด้วย

สะพานคอนกรีต กม. 331 + 910 ที่มงคลบุรี และ สะพานคอนกรีต กม. 222 + 917 อยู่ในสภาพพอใช้งานได้

ส่วนทางสายไปท่าเรือกรุงพระสีหนุ นอกจาก Rehab ทางแล้วให้สร้างเป็นทางคู่รองรับตู้คอนเทนเนอร์ด้วย พร้อมทางเข้าไปท่าเรือกรุงพระสีหนุในรูปแบบที่ไม่ต่างจากที่แหลมฉบัง

ส่วนทางสายเหนือที่ต่อกับไทย ต้องได้รับการ Rehabilitation ให้รับโหลดเพลา 20 ตันให้รถไฟส่งคอนเทนเนอร์ไปให้เขมรได้

ถ้าการRehab ทางสำเร็จ ก็จะเปิดเดินรถไฟ เดือนมกราคม 2553

ส่วนการ Rehab mางสายใต้นั้น ให้ฟื้นฟูทางแยก จากสถานี Tuek Meas (สถานีตึกมาส กม. 118 + 600 จากสถานีพนมเปญ - ทางลงไปเมืองบันทายมาศฝั่งกัมพูชา) เข้า โรงงานกำปอตซีเมนต์ ที่ เครือซีเมนต์ไทยได้ซื้อกิจการไว้ ซึ่งเป็นเรื่องควรทำสมควรเพราะ ปูนซีเมนต์เหล่านี้จะเป็นวัตถุดิบในการสร้างอาคาร และ ทำหมอนคอนกรีตเพื่อฟื้นฟูทางรถไฟกรุงกัมพูชาธิบดี ให้ทำขบวนได้เร็วทันใจแต่บางท่านต้องการ ทางแยกที่ Tram Sasar (กม.110 + 600) โดยยกระดับตจากที่หยุดรถ

ถ้าทำได้สำเร็จควรมีรถคอนเทนเนอร์จาก บ้านช่องใต้ไปพนมเปญ, คอนเทนเนอร์ระหว่าง แหมมฉบัง - พนมเปญ จากนั้นค่อยฟื้นฟูตามสภาพ

http://www.adb.org/Documents/Reports/Consultant/37269-CAM/37269-CAM-TACR.pdf

รถไฟเขมรมีเดินสัปดาห์ละเที่ยวดั่งนี้ ฝรั่งจ่าย 5 ดอลลาร์สหรัฐ
พนมเปญ - พระตะบอง (275 กม.) เดินทุกวัีนเสาร์, ออกพนมเปญ 06:20, ถึงพระตะบอง 20:00
พระตะบอง - พนมเปญ (275 กม.) เดินทุกวัีนอาทิตย์, ออกพระตะบอง 06:40, ถึงพนมเปญ 19:00

แม้ตารางบอกว่าเดินรถ 14 ชั่วโมงแต่เอาเข้าจริง ใช้เวลา 24 ชั่วโมง

แต่ถ้าจะไปกำปงโสมก็ต้องจ่ายสินบนเป็นดอลลาร์เขียวๆให้ ครฟ. พ่วง บชส. ไปกับรถสินค้า จึงจะพอไปได้


Last edited by Wisarut on 31/05/2009 2:20 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  Next
Page 5 of 7

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©