RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311324
ทั่วไป:13288770
ทั้งหมด:13600094
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 149, 150, 151 ... 549, 550, 551  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42785
Location: NECTEC

PostPosted: 29/04/2013 6:11 pm    Post subject: Reply with quote

สิ่งที่ควรทำก่อนการกู้เงินสองล้านล้านบาท
โดยวันชัย ตัน
กรุงเทพธุรกิจ 18 เมษายน 2556

คนที่เคยใช้บริการรถไฟในประเทศญี่ปุ่น ย่อมทราบดีว่า

รถไฟญี่ปุ่นได้ชื่อว่าตรงเวลาที่สุดในโลก สถิติโดยเฉลี่ยการมาสายของรถไฟสัญชาตินี้คือ ไม่เกินหนึ่งนาที ขณะที่รถไฟความเร็วสูง ชินกันเซ็น ทำสถิติสายไม่เกิน ๓ วินาที ส่วนรถไฟไทยคงต้องใช้หน่วยวัดเป็นชั่วโมงมากกว่านาทีหรือวินาที น่าเสียดายที่ยังไม่มีใครทำสถิติเอาไว้
รู้เพียงว่า หากเดินทางด้วยรถไฟไทยและถึงจุดหมายช้าไปสองสามชั่วโมง น่าจะเป็นเรื่องปรกติที่คนโดยสารจะต้องยอมรับสภาพ และทุกครั้งที่สายก็จะไม่มีพนักงานต้อนรับบนรถไฟแสดงอาการเดือดร้อน หรือรู้สึกผิดกับเหตุการณ์นี้แต่อย่างใด ราวกับว่า การมาสายเป็นเรื่องปรกติ แต่หากรถไฟมาตรงเวลาคงเป็นเรื่องอัศจรรย์ และพนักงานเหล่านี้อาจจะรู้สึกตื่นเต้นเป็นพิเศษแทนก็ได้
หลายวันบนเกาะฮอกไกโด ผู้เขียนได้ใช้รถไฟญี่ปุ่นหลายขบวนเดินทางไปมาระหว่างเมืองต่าง ๆ อย่างปลอดภัยและตรงเวลา

เวลาการออกของรถไฟตรงอย่างเหลือเชื่อ ออกจากสถานีตรงเวลา ถึงชานชาลาก็ตรงเวลา

ดังนั้นหากผู้โดยสารมาที่ชานชาลาตามเวลารถไฟออกเป๊ะ เขาอาจจะตกขบวนรถไฟสายนั้น เพราะเป็นเวลารถไฟออกจริง ๆ คือรถไฟได้ปิดประตูผู้โดยสารและกำลังเคลื่อนขบวนแล้ว

เดือนมีนาคมที่ผ่านมา ถือเป็นวาระครบรอบ 117 ปีของการเริ่มเปิดศักราชการเดินรถไฟในประเทศไทย เป็นครั้งแรกคือสาย กรุงเทพ-อยุธยาระยะทาง 71 กิเลเมตร เช่นกันปีนี้ญี่ปุ่นก็ฉลองครบ 141 ปี แรกมีรถไฟในประเทศของเขาที่มีอายุมากกว่าบ้านเราแค่ยี่สิบกว่าปี แต่มาจนถึงปัจจุบัน ญี่ปุ่นมีรางรถไฟยาวรวมกันเกือบสามหมื่นกิโลเมตร ขณะที่รางรถไฟไทยมีความยาวรวมกันแค่สี่พันกว่ากิโลเมตร

ทุกวันนี้รถไฟญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในแง่รายได้และการบริการผู้โดยสารอย่างสูง มีผู้โดยสารเกือบยี่สิบล้านคนใช้บริการรถไฟในแต่ละวัน หรือคิดเป็นร้อยละ 40 ของประชากรในแต่ละวันที่ใช้รถไฟในการเดินทาง ขณะที่รถไฟไทยประสบปัญหาใกล้ล้มละลายเต็มที่ คือขาดทุนสะสมกว่า 8 หมื่นล้านบาท อันเป็นผลมาจากความเป็นแดนสนธยาในการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่คนนอกไม่มีทางทราบได้ว่า ทำไมถึงบริการห่วยแตก และขาดทุนวอดวายกันขนาดนี้ ทั้งที่มีที่ดินผืนงามมหาศาลครอบครองในมือ

แต่กว่าจะมาถึงตรงนี้ รถไฟญี่ปุ่นก็มีสภาพขาดทุนมหาศาลเช่นกัน

ในอดีต การรถไฟญี่ปุ่น (Japan Railways หรือ JR) เคยมีสถานะเป็นองค์กรของรัฐ มีสภาพขาดทุนมาตลอด จนกระทั่งภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลได้มีการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ด้วยการแปรรูปจากองค์กรของรัฐออกมาเป็นบริษัทมหาชน โดยรัฐบาลยังถือหุ้นใหญ่ และประสบความสำเร็จในการดำเนินกิจการ จนกระทั่งสามารถสร้างรถไฟความเร็วสูง ชินกันเซ็น ขึ้นเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ. 2507 แต่หลังจากนั้นก็เริ่มขาดทุนยับเยินจากโครงการนี้ที่ต้องใช้เงินกู้จำนวนมหาศาล ในการลงทุนสร้างรางรถไฟ และผู้โดยสารมีปริมาณไม่มากพอในช่วงแรก

ขณะเดียวกันจำนวนผู้โดยสารรถไฟเริ่มลดลง เนื่องจากการเดินทางด้วยรถยนต์ได้มาแย่งส่วนแบ่งไปอย่างรวดเร็ว สถานะการเงินของบริษัทเกือบล้มละลาย มีหนี้สินร่วมหนึ่งล้านล้านบาท

ในปีพ.ศ. 2530 ผู้บริหารสมัยนั้นจึงได้ตัดสินใจแปรรูปบริษัทให้เอกชนเข้ามาถือครองมากขึ้น และผ่าบริษัทออกเป็นหกบริษัท ทุกบริษัทดำเนินงานโดยอิสระ เพื่อให้เกิดความคล่องตัว จนกระทั่งสามารถฟื้นฟูกิจการให้กลับคืนมาได้อีกครั้ง ด้วยหลักการสำคัญคือ ความปลอดภัย การตรงเวลา การบริการและความสะอาด ซึ่งเกิดจากการแข่งขันของบริษัทรถไฟเพื่อเพิ่มคุณภาพให้มากขึ้น

หัวใจสำคัญเหล่านี้ทำให้ผู้โดยสารกลับมาใช้บริการมากขึ้น จนสามารถทำให้การเดินทางด้วยรถไฟกลับมาเป็นทางเลือกอันดับหนึ่งของคนญี่ปุ่นสำเร็จ รวมถึงการขยายการลงทุนไปในทุกด้านที่รถไฟไปถึง อาทิ การทำให้สถานีรถไฟแต่ละที่มีเสน่ห์ มีเอกลักษณ์ การสร้างศูนย์การค้า คอนโดมิเนียม รีสอร์ต โรงพยาลสลตามเส้นทาง รวมถึงการจับมือกับแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ในภูมิภาค เพื่อสร้างแรงจูงใจให้มีนักท่องเที่ยวด้วยรถไฟมากขึ้น ด้วยการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ และโปร่งใส

ปัจจัยความสำเร็จอีกประการคือ การแข่งขัน เพราะในประเทศญี่ปุ่นยังมีบริษัทเอกชนที่เดินรถไฟอีก 16 บริษัทแข่งกับรายใหญ่อย่าง JR ที่ไม่ได้ผูกขาดการเดินรถไฟแต่เจ้าเดียว ทำให้ทุกบริษัทต้องปรับตัวในการแข่งกับคู่แข่งทั้งด้านคุณภาพการบริการ ความปลอดภัย การตรงเวลา

ลำพังแค่คุณออกจากสนามบินนาริตะมากรุงโตเกียว คุณสามารถเลือกรถไฟได้หลายบริษัท ทั้งด่วนพิเศษ ด่วน และคุณภาพหลายสาย ทุกบริษัทก็พยายามปรับปรุงความเร็ว ประสิทธิภาพ และการบริการเพื่อดึงดูดลูกค้า ไม่ได้ผูกขาดการเดินทางอยู่กับบริษัทใดบริษัทหนึ่ง เหมือนบริษัทแอร์พอร์ต ลิ้งค์ ผู้มีเจ้าของคือ การรถไฟแห่งประเทศไทย

การแปรรูป การสลายการผูกขาด เพื่อให้เกิดการแข่งขันด้านบริการ ความปลอดภัย ตรงเวลาและความสะอาด คือหัวใจสำคัญในการปรับปรุงการรถไฟไทยครั้งสำคัญ ไม่ใช่การสร้างรถไฟความเร็วสูง

รัฐบาลควรจะจัดการปัญหาเหล่านี้ให้ได้ก่อนที่จะทุ่มเงินมหาศาล 2ล้านล้านบาทสร้างรถไฟความเร็วสูง ซึ่งเชื่อแน่ว่า หากไม่สามารถแปรรูปรฟท.ได้สำเร็จ เงินก้อนมหึมาเหล่านี้ก็จะหายวับเข้าไปในแดนสนธยาอีกเหมือนเดิม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42785
Location: NECTEC

PostPosted: 29/04/2013 11:36 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเดินหน้าไฮสปีดเทรน
ข่าวเศรษฐกิจ
เดลินิวส์
วันจันทร์ที่ 29 เมษายน 2556 เวลา 17:15 น.

คมนาคมเดินเครื่องรถไฟความเร็วสูงหรือไอสปีดเทรน คาดแผนอีไอเอเสร็จ พ.ค. นี้ พร้อมเริ่มสร้าง 2 เส้นทาง เชียงใหม่ -หนองคายก่อน เหตุมีความพร้อมสุด

วันนี้ (29 เม.ย.) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีดเทรน)ยังเป็นไปตามแผนงานที่กำหนด โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) อยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดการดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงในความรับผิดชอบทั้ง 3 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-หนองคาย และกรุงเทพฯ-หัวหิน คาดว่า จะนำเสนอรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)ได้ประมาณเดือนพ.ค. – มิ.ย. นี้ ส่วนเส้นทางกรุงเทพฯ – ระยอง ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) อยู่ระหว่างศึกษาอยู่เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นจะสามารถก่อสร้างได้ 2 เส้นทางก่อน คือ เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะแรกจะก่อสร้างกรุงเทพฯ-พิษณุโลกก่อน และเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะแรกจะก่อสร้างกรุงเทพฯ-นครราชสีมาก่อน เนื่องจากศึกษารายละเอียดโครงการไว้แล้ว ส่วนช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ และนครราชสีมา-หนองคาย จะอยู่ในระยะที่ 2 ซึ่งจะช้ากว่าระยะแรกประมาณ 1 ปี โดยการก่อสร้างถึงเชียงใหม่ และหนองคาย จะเสร็จพร้อมกัน

“ในการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจะไม่ได้ใช้งบประมาณเงินกู้ 2 ล้านล้านบาททั้งหมด เพราะหากใช้ทั้งหมด จะไม่มีงบไปก่อสร้างโครงการอื่น แต่มั่นใจว่าจะไม่ส่งผลกระทบกับการดำเนินโครงการแน่นอน โดยเฉพาะช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ซึ่งไม่ได้อยู่ในงบเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท เพราะสามารถนำงบประมาณประจำปีมาดำเนินโครงการได้ และจะแล้วเสร็จพร้อมเชียงใหม่แน่นอน”
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44847
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/04/2013 9:40 am    Post subject: Reply with quote

Quote:
ลงทุน 2 ล้านล้าน คุ้มไหม
เดลินิวส์ คอลัมน์เดินหน้าเลี้ยวซ้าย วันอังคารที่ 30 เมษายน 2556 เวลา 08:33 น.

ทีดีอาร์ไอแนะรัฐชั่งน้ำหนักแผนลงทุน 2 ล้านล้าน คุ้มทุนหรือไม่

กรณีอภิมหาโปรเจกต์ กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นการกู้เงินนอกระบบงบประมาณ ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยสภาผู้แทนราษฎรผ่านความเห็นชอบวาระแรกแล้วนั้น เป็นร่าง พ.ร.บ.ที่ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อนำมาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศครั้งใหญ่ ทำให้เกิดข้อกังขาและคำถามต่างๆ ตามมามากมาย โดยเฉพาะงบประมาณในการก่อสร้างที่มีมูลค่าสูงเกินไป เมื่อเทียบกับความคุ้มค่าการลงทุนในด้านเศรษฐกิจ สังคม รวมไปถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA

ขณะนี้ร่างดังกล่าวอยู่ในวาระที่สองของการแปรญัตติซึ่งยังมีโอกาสแก้ไขปรับปรุงให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ ล่าสุด สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) ได้ออกมานำเสนอบทวิเคราะห์พร้อมข้อเสนอแนะในการเสวนาสาธารณะ "ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เดินหน้าอย่างไรให้ถูกทาง คุ้มค่า และเป็นประชาธิปไตย"

คุณสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง ทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า โครงการในการลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐานผ่านร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) พัฒนาด้านการขนส่งของประเทศวงเงิน 2 ล้านล้านบาทนี้ ยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับความคุ้มค่าในการลงทุนเท่าที่ควร และเห็นว่า ร่าง พ.ร.บ. ในส่วนของการใช้เงินนอกงบประมาณที่ให้อำนาจสภาร่วมพิจารณาเพียงครั้งเดียวนั้น เป็นการตรึงอำนาจและขาดความเป็นประชาธิปไตย

เนื่องจากให้อำนาจฝ่ายบริหารในการกำหนดรายละเอียดเป็นเวลาถึง 7 ปี ซึ่งเป็นการข้ามช่วงอายุปกติของรัฐสภา เพราะบัญชีท้าย พ.ร.บ.กำหนดเพียงจุดเริ่มต้นและปลายทางของเส้นทางรถไฟ แต่ไม่ได้กำหนดแนวเส้นทางระหว่างทางว่าผ่านพื้นที่ใดจังหวัดใดบ้าง และเป็นการก้าวล่วงอำนาจของสภาชุดต่อไปในการกลั่นกรองให้ความเห็นชอบ ซึ่งหากปรับเปลี่ยนให้เป็นงบประมาณประจำปีจะทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติสามารถตรวจสอบได้

คุณสมชัยยังตั้งข้อสังเกตว่า โครงการลงทุนส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในส่วนของรถไฟความเร็วสูง ที่ยังไม่ตอบโจทย์ในด้านการลดต้นทุนการขนส่งหรือความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ การเงินเท่าที่ควร เนื่องจากรถไฟความเร็วสูงจะเน้นการขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักเบาและการขนส่งคนเป็นหลัก ซึ่งเป็นการบริการให้กับประชาชนที่มีกำลังพอที่จะโดยสารได้ อาจส่งผลกระทบต่อรายจ่ายของรัฐในการพัฒนาประเทศ เมื่อเทียบกับรถไฟทางคู่ที่ช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์และสร้างความสามารถในการแข่งขันระยะยาวของประเทศเทศได้ดีกว่า

ยังมีต่ออีกครับ

ไฟเหลือง

รถไฟความเร็วสูงคุ้มทุนจริงหรือ
เดลินิวส์ วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 เวลา 08:50 น.

มาต่อบทวิเคราะห์พร้อมข้อเสนอแนะในการเสวนาสาธารณะ “ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เดินหน้าอย่างไรให้ถูกทาง คุ้มค่า และเป็นประชาธิปไตย“ โดย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ

ทีดีอาร์ไอ ประเมินเบื้องต้นว่าการลงทุนดังกล่าวจะทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัว 5.5% ต่อปีในช่วงปี 2557-2563 โดยมีอัตราเงินเฟ้อ 2.75% ต่อปี ซึ่งหากลงทุนคุ้มค่าจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวต่อเนื่อง 8.25% ต่อปี แต่หากลงทุนไม่คุ้มค่าจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเพียง 7.5% ขณะที่ระดับหนี้สาธารณะ จะเพิ่มสูงถึง 75% ต่อจีดีพีในปี 2563 ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐในเรื่องอื่น ๆ ด้วย

คุณสุเมธ องกิตติกุล นักวิชาการทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า เห็นด้วยกับการลงทุนระยะยาวตามร่าง พ.ร.บ.กู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศวงเงิน 2 ล้านล้านบาท ระยะเวลา 7 ปี โดยมองว่าหากโครงการนี้ถูกดำเนินการอย่างรอบคอบและคุ้มค่าจะเป็นการสร้างรากฐานให้แก่ประเทศ

ในส่วนของผลกระทบต่อความเสี่ยงด้านการคลังยังอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ แต่ขณะเดียวกันยังมีสิ่งที่น่าเป็นห่วงหลายประการในโครงการนี้ เนื่องจากมีโครงการจำนวนมากที่ยังไม่ผ่านการศึกษาความเป็นไปได้ด้านความคุ้มค่าทางการเงินอย่างละเอียด ถึง 11 โครงการ รวมวงเงินสูงกว่า 9 แสนล้านบาท โดยเฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูง มองว่าไม่มีทางถึงจุดคุ้มทุนอย่างแน่นอน เพราะจำนวนผู้โดยสารในปีแรกจะเป็นดัชนีชี้วัดว่าโครงการประสบความสำเร็จหรือไม่ หากจะคุ้มค่าการลงทุนจะต้องมีผู้โดยสารในปีอย่างน้อย 9 ล้านคน

พร้อมทั้งยกตัวอย่างกรณีรถไฟฟ้าใต้ดินที่ตั้งเป้าผู้โดยสาร 6 แสนคนต่อวัน แต่ปัจจุบันมีเพียง 2 แสนคนเท่านั้น อีกทั้งยังมีโครงการที่ยังไม่ได้ศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อีก 18 โครงการ วงเงินกว่า 5 แสนล้านบาท สิ่งเหล่านี้รัฐบาลไม่ควรมองข้าม

นอกจากนี้บทวิเคราะห์ของทีดีอาร์ไอได้ให้ข้อเสนอแนะ 9 ข้อ ในการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.กู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ ดังนี้ เพิ่มรายละเอียดระดับโครงการในบัญชีท้าย

พระราชบัญญัติ เพื่อให้รัฐสภาได้กลั่นกรองและให้ความเห็นชอบในรายละเอียดที่เหมาะสม

ยังมีต่ออีกครับ.

ไฟเหลือง


Last edited by Mongwin on 01/05/2013 10:43 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44847
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/04/2013 1:06 pm    Post subject: Reply with quote

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร เชิญร่วมรับฟังความคิดเห็น โครงการศึกษาและออกแบบระบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ระยะที่ 1 กรุงเทพ – พิษณุโลก
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ 30 เมษายน 2556

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายแผลแผนการขนส่งและจราจร แจ้งว่า ตามที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ดำเนินการจัดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ –เชียงใหม่ ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ – พิษณุโลก ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทางราง โดยเชื่อมโยงโครงการและการบริหารจัดการขนส่งผู้โดยสาร สินค้าและการบริการที่สะดวก ปลอดภัย ทั้งในพื้นที่ชนบท พื้นที่เมือง และระหว่างประเทศ เสร็จสิ้นไปแล้วนั้น

เพื่อให้การดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 67 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 บัดนี้ สนข.จึงได้กำหนดจัดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 ใน
Quote:
วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 เวลา 08.30 – 12.00 น. ณ โรงแรมกรุงศรี ริเวอร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม 2556 เวลา 08.30 น ณ โรงแรมพิมาน จังหวัดนครสวรรค์ และ
วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม 2556 เวลา 08.30 น. ที่โรงแรมอมรินทร์ลากูน จังหวัดพิษณุโลก

เพื่อชี้แจงความก้าวหน้าของผลการศึกษาโครงการให้กลุ่มเป้าหมายได้รับรู้ และเกิดความเข้าใจ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ พร้อมทั้งสร้างแนวร่วมที่ดี อันนำมาซึ่งการยอมรับต่อสาธารณชนอย่างเป็นเอกภาพ เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนในการขับเคลื่อนโครงการให้บรรลุผลสำเร็จได้ต่อไป

ดังนั้น สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร จึงขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมการสัมมนา ในวัน เวลา ดังกล่าว ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประสานงานฯ โทรศัพท์ 02-5099097 ต่อ 115 และสำนักพัฒนาระบบการขนส่งและจราจร โทรศัพท์ 02-2151515 ต่อ 4022

----

ปชป.ถล่มงบ2ล้านล้านส่อทุจริต
โพสต์ทูเดย์ 30 เมษายน 2556 เวลา 13:23 น.

ปชป.ถล่มเงินกู้ 2 ล้านล้าน ส่อทุจริต ไร้รายละเอียดแผนงาน ชี้ราคาสูงกว่ายุครัฐบาลมาร์คกว่า70% จวกค่าที่ปรึกษารถไฟเร็ว 7 พันล้านสูงกว่างบกระทรวงวิทย์ฯ

นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะ​กรรมาธิการพิจารณาร่างพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้าน แถลงว่า พบความไม่ชอบมาพากลหลายอย่างในแผนกู้เงินของรัฐบาล​ ไม่ว่าจะเป็นความไม่พร้อมในส่วนของตัวโครงการ เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงยังไม่มีการศึกษาความคุ้มค่า ไม่มีความชัดเจนในเรื่องเส้นทาง ​รวาทั้งส่อเค้าว่าจะเกิดการทุจริตในหลายประเด็นทั้งงบการศึกษาและโครงการต่างๆ ที่มีจัดงบไว้หลายหมื่นล้านบาท

นอกจากนี้ อาจมีปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนจากที่มีการบัญญัติไว้ในมาตรา 6 วรรค 2 ของกฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ที่เปิดช่องให้กระทรวงการคลังปล่อยกู้ต่อให้หน่วยงานของรัฐได้ โดยมีการนิยามความหมายของหน่วยงานรัฐคือ บริษัทที่อาจจัดตั้งขึ้นใหม่ซึ่งจะมีเอกชนร่วมทุน 49 % โดยบริษัทเอกชนเหล่านี้เข้าข่ายได้รับเงินกู้ต่อจากรัฐบาลในอัตราดอกเบี้ยเดียวกับที่รัฐบาลกู้ยืมมา และอาจไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมด้วย

ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นคือแทนที่เงินกู้นี้จะใช้โดยรัฐบาลแต่เอกชนจะได้ประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยต่ำ แต่คนเป็นหนี้คือประชาชนคนไทยทุกคน ซึ่งถือว่าไม่เป็นธรรมกับคนไทย ตรงนี้ต้องระมัดระวัง เพราะสุดท้ายผู้ร่างกฎหมายต้องปิดช่องโหว่ไม่ให้มีความเป็นไปได้ในอนาคตที่จะทำให้ประชาชนเสียประโยชน์ในรูปผลประโยชน์ทับซ้อนที่เกิดขึ้น

นายกรณ์ กล่าวว่า น่าเป็นห่วงที่ รัฐบาลเริ่มตีความว่ากฎหมายกู้เงินนี้ ที่เดิมบอกเป็นโครงการที่มีระยะเวลา 7 ปี ไม่ได้หมายถึงการสร้างโครงการให้แล้วเสร็จภายใน 7 ปี แต่อาจเป็นเพียงแค่่การทำสัญญาลงนามกู้เงินเท่านั้้น และไม่มีความชัดเจนเลยว่าโครงการที่วางไว้จะดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ภายใน 7 ปี สิ่งเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่ผิดวินัยการคลัง อีกทั้งการระบุว่าจะใช้หนี้ได้ภายใน​ 50 ปีก็จะเป็นไปไม่ได้

นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พบการบิดเบือนข้อมูลโดยผลการศึกษารถไฟความเร็วสูงรัฐบาลอภิสิทธิ์ ผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจเส้นทาง กรุงเทพ หนองคาย ให้ผลตอบแทนสูงสุดส่วน กทม.เชียงใหม่อยู่อันดับที่ 4 ต่างกันถึง 4.18% แต่รัฐบาลเลือกสร้าง กทม.เชียงใหม่ก่อนเป็นอันดับแรก ทั้งที่ต้องเลือกกรุงเทพ - หนองคายก่อน

นอกจากนี้ และเมื่อเปรียบเทียบมูลค่าโครงการก็แพงกว่ารัฐบาลอภิสิทธิื์ทุกรายการ โดยสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ ราคาเฉลี่ยกิโลเมตรละประมาณ 300 ล้านบาท รวมทุกอย่างแล้ว ทั้งค่าเวนคืน ค่าขบวนรถ ค่าอาณัติสัญญาณ และค่าที่ปรึกษา แต่เวลาผ่านไปไม่ถึง 3 ปี ราคานี้กลับกระโดดสูงขึ้นในทุกเส้นทาง คือ ค่าก่อสร้างเส้นทางกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ เพิ่มจาก 308 ล้านบาท/กม. เป็น 521 ล้านบาท/กม. หรือเพิ่มขึ้นถึง 69% เส้นทางกรุงเทพฯ – นครราชสีมา เพิ่มจาก 378 ล้านบาท/กม. เป็น 666 ล้านบาท/กม. หรือเพิ่มขึ้นถึง 76% ทั้งที่เวลาผ่านไปไม่ถึง 3 ปีเท่านั้น

นายวิทูรย์ นามบุตร สส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เงินกู้​ 2 ล้านล้านบาท โครงการส่วนใหญ่ไม่มีความพร้อม​ ไม่มีการออกแบบ สำรวจสิ่งแวดล้อม ความเหมาะสมแต่อย่างใด ควรชะลอเงินกู้ในครั้งนี้ เพราะส่อไปในทางทุจริตด้วย โดยเฉพาะเรื่องค่าที่ปรึกษาที่สูงมาก รวมประมาณ 6 หมื่นล้านบาท มากกว่างบของหลายกระทรวง บางโครงการเฉพาะค่าปรึกษาโครงการเดียวสูงถึง 7,000 ล้านบาทคือ รถไฟความเร็วสูงกทม.เชียงใหม่ มากกว่างบกระทรวงวิทย์และพาณิชย์ทั้งกระทรวง และในวงการมีข่าวการวิ่งเต้นว่าบริษัทไหนจะได้เป็นที่ปรึกษาต้องจ่ายค่าต๋ง 50 % จึงทำให้ค่าจ้างที่ปรึกษาสูงกว่าที่ควรจะเป็น ถ้าระงับได้จะเป็นประโยชน์สำหรับประชาชนมากที่สุด
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42785
Location: NECTEC

PostPosted: 30/04/2013 4:08 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.เตรียมยื่นอีไอเอ"ไฮสปีดเทรน"พ.ค.นี้ "ชัชชาติ"นำร่อง"พิษณุโลก-โคราช"
มติชนรายวัน
วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556 เวลา 11:17:09 น.


นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ยังเป็นไปตามแผนงานที่กำหนด โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) อยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดการดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงทั้ง 3 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-หนองคาย และกรุงเทพฯ-หัวหิน คาดว่าจะนำเสนอรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ได้ประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนนี้

ทั้งนี้ เบื้องต้นจะสามารถก่อสร้างได้ 2 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ-หนองคาย แต่ระยะแรกจะก่อสร้างกรุงเทพฯ-พิษณุโลก และกรุงเทพฯ-นครราชสีมาก่อน เนื่องจากมีการศึกษารายละเอียดโครงการไว้แล้ว ส่วนช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ และนครราชสีมา-หนองคาย จะอยู่ในระยะที่ 2 ซึ่งจะช้ากว่าระยะแรกประมาณ 1 ปี

"ในการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจะไม่ได้ใช้เงินกู้ 2 ล้านล้านบาททั้งหมด เพราะหากใช้ทั้งหมด จะไม่มีงบไปก่อสร้างโครงการอื่น แต่มั่นใจว่าจะไม่ส่งผลกระทบกับการดำเนินโครงการแน่นอน โดยเฉพาะช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ซึ่งไม่ได้อยู่ในงบเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท เพราะสามารถนำงบประมาณประจำปีมาดำเนินโครงการได้" นายชัชชาติกล่าว

นายชัชชาติกล่าวว่า การก่อสร้างทั้ง 2 เส้นทาง มีความยากง่ายต่างกัน คือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะแรกจะก่อสร้างง่ายกว่าระยะที่ 2 เนื่องจากไม่ต้องเจาะอุโมงค์ลอดภูเขา เหมือนช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ ที่มีภูเขาเป็นจำนวนมาก จึงก่อสร้างยากกว่า ในขณะที่ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะแรกจะก่อสร้างยาก เพราะต้องเจาะอุโมงค์ลอดภูเขา แต่ระยะที่ 2 จะง่ายกว่าเพราะเป็นทางตรงตลอดไปจนถึงหนองคาย

อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่ารถไฟฟ้าความเร็วสูง จะช่วยสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับต่างจังหวัด โดยจะเป็นในลักษณะเดียวกับการเปิดให้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ (โลว์คอสต์ แอร์ไลน์) เช่น ในอดีตจังหวัดเชียงใหม่ยังมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปไม่มากนัก แต่เมื่อมีโลว์คอสต์แอร์ไลน์ การเติบโตก็สูงมาก ทั้งในเชิงการท่องเที่ยว การจับจ่ายใช้สอย

//------------------------------

คุณมน ให้ความเห็นเกี่ยวกะรถไฟความไวสูงไว้ดังนี้

mone wrote:
ถึงแม้ผมจะไม่ได้เห่อรถไฟความเร็วสูงเท่าไหร่นัก แต่ก็ใช่ว่าจะค้านไปเสียทุกเรื่อง
ล่าสุด...มีข่าวว่าพรรคฝ่ายค้านได้อ้างว่าราคาประเมินของรถไฟสาย “เพื่อไทย” สูงกว่าสาย “ประชาธิปัตย์”ข้อมูลนี้ถูกต้องครับ เพียงแต่พรรคเก่าแก่พรรคนี้ “พูดไม่หมด”

พรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยบอกแม้แต่คำเดียวว่ารถไฟเร็วสูงของประชาธิปัตย์ มี “สเป็ก” ต่ำกว่ามาก
อาทิ เป็นรถไฟทางเดี่ยว และวิ่งได้แค่ 160 กม/ชม เท่านั้นถ้าพัฒนารถไฟไทยให้ดีๆ เผลอๆ จับมาวิ่งแข่งกันได้ด้วยซ้ำส่วนของพรรคเพื่อไทย เป็นรถไฟเร็วสูงแบบ “ทางคู่” วิ่งได้ถึง 250 กม/ชม ขึ้นไปเป็นสเป็กที่สูงกว่ากันมาก แต่ก็ต้องแลกมาด้วยหนี้สินมหาศาลเช่นกัน เรื่องง่ายๆ แบบนี้ คนศึกษาเรื่องรถไฟเขาดูออกครับ

ที่พูดนี้มิใช่อยากดร่าม่าการเมืองในเฟสบุ๊คไปอีกคนเพียงแต่ทำให้นึกถึงเรื่องอื่นๆ ที่ “ฝ่ายการเมือง” กล่าวหากันไปมาว่า ถ้าเรื่องที่เขากล่าวหากัน เราไม่มีความรู้ หรือเรารู้ไม่จริงล่ะ
จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อคำกล่าวอ้างมีพลังขึ้นจากความไม่รู้ จนนำไปสู่อคติ
ก่อนที่อคติจะนำไปสู่ความรุนแรงทางความคิดและการกระทำได้ในที่สุด

...น่ากลัวนะครับ...


Last edited by Wisarut on 30/04/2013 4:19 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42785
Location: NECTEC

PostPosted: 30/04/2013 4:15 pm    Post subject: ปั่นราคาที่ดินรับรถไฟความไวสูง Reply with quote

ที่ดินพุ่งรายวันเก็งกำไรรับไฮสปีดเทรน
โดยกอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ข่าวหน้า1 -
คอลัมน์ : ข่าวหน้า1
ออนไลน์เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน 2013 เวลา 10:40 น.
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,839
วันที่ 28 เมษายน - 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ราคาที่ดินหัวเมืองทั่วประเทศพุ่งพรวดขานรับ4ไฮสปีดเทรนลากผ่าน4ภาค ดันราคาที่ดินขึ้นรายวัน บางพื้นที่ทะยานหลายเท่าตัว กลุ่มนักพัฒนาที่ดินนกรู้ดักซื้อที่รอ เชียงใหม่ หนองคายร้อนแรง โมเดิร์นพร็อพเพอร์ตี้ชี้พัทยาได้อานิสงส์แรงแนวโน้ม ทะลุล้านบาทต่อตารางวา

นับจากรัฐบาลภายใต้การนำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผลักดันโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงหรือไฮสปีดเทรนทั้ง 4 เส้นทางเพื่อเชื่อมต่อครอบคลุมทั้ง 4 ภาคของประเทศ แม้วันนี้จะยังไม่เห็นความชัดเจนตำแหน่งที่ตั้งสถานี แต่กลับพบความเคลื่อนไหวของราคาที่ดินที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างชัดเจน ในจังหวัดต่างๆที่รถไฟฟ้าพาดผ่าน รวมถึงกลุ่มทุนพัฒนาที่ดินจากเมืองกรุงที่เข้ามายึดหัวหาดจังหวัดที่มีรถไฟความเร็วสูงผ่านแทบทุกสถานี
++นักพัฒนาที่ดินนกรู้ดักซื้อที่รอ
นายไพรัช เศียรสมาน เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ขณะนี้บรรยากาศการซื้อขายที่ดินในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นหนึ่งในจังหวัดทางภาคเหนือที่รัฐบาลผลักดันให้มีรถไฟความเร็วสูงเข้ามาถึงมีความเคลื่อนไหวคึกคักมากขึ้น ซึ่งมองว่าเป็นเรื่องที่ดีและหากโครงการนี้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมเมื่อไหร่ ประเมินว่าราคาที่ดินจะปรับสูงขึ้นอีกหลายเท่าตัวโดยสถานีปลายทางเท่าที่ทราบจะอยู่ที่สถานีเดิมที่รถไฟมาจอดอยู่แล้วซึ่งเป็นเขตนอกเมือง
ขณะนี้โซนตะวันออกของเชียงใหม่อย่างอำเภอดอยสะเก็ด สันกำแพง สันทราย ฯลฯ มีกลุ่มนักลงทุนด้านพัฒนาที่ดินกว่า10ราย เข้าไปกว้านซื้อที่ดินกันอย่างคึกคัก รวมถึงแบรนด์ดังในท้องถิ่นชื่อ"อรสิรินทร์" ของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีการซื้อที่ดินสะสมรอพัฒนาไว้หลายแปลง เฉลี่ยแปลงละ50-60ไร่ โดยราคาที่ดินปัจจุบันขยับตัวสูงมาก 6-8 ล้านบาทต่อไร่ จากเดิมราคาขยับขึ้นจาก 1-2 เท่าตัวและแนวโน้มหากมีรถไฟความเร็วสูงเข้ามา จะยิ่งส่งผลให้ราคาที่ดินขยับสูงขึ้นอีกหลายเท่าตัว อย่างไรก็ดีที่ดินแปลงใหญ่ของเชียงใหม่วันนี้ไม่มีแล้ว
ขณะเดียวกันในเขตพื้นที่ชั้นในเมืองเชียงใหม่ราคาที่ดินขยับสูงมากโดยเฉพาะ ถนนนิมมานเหมินทร์ และไนท์บาซาร์ราคา 2 แสนบาทต่อตารางวา และหากรถไฟความเร็วสูงเกิดขึ้นเป็นรูปธรรมราคาจะขยับสูงมากกว่านี้ น่าจะเกินกว่า 3-4 แสนบาทต่อตารางวา เช่นเดียวกับที่ดินบริเวณอื่นในตัวเมืองเชียงใหม่ ทั้งบริเวณแยกสนามบิน สี่แยกหัวมุมนิมมานเหมินทร์และอีกหลายทำเล มีแนวโน้มราคาน่าจะ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากเป็นจังหวัดศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคเหนือตอนบนเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้านและรับกับเออีซี และรถไฟความเร็วสูงเข้ามาเสริมให้มีศักยภาพทางเชื่อมขึ้นไปอีก
++ที่หนองคายพุ่งรับไฮสปีดเทรน
สอดรับกับแหล่งข่าวจากสำนักงานที่ดินจังหวัดหนองคาย ที่ระบุว่า การซื้อขายที่ดินที่จังหวัดหนองคายค่อนข้างคึกคัก แม้ยังไม่รู้ว่ารถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา จะขยายมาถึงหนองคายหรือไม่ แต่ราคาที่ดินขยับสูงขึ้นหลายเท่าตัวเช่นกัน ยกตัวอย่าง ที่ดินแปลงหนึ่งของนักธุรกิจในพื้นที่ซึ่งเป็นเจ้าของโรงแรมเคยซื้อที่ดินแปลงงาม 10 ไร่ ในราคาแค่ 50 ล้านบาทเมื่อหลายปีก่อน แต่เมื่อเกิดกระแสการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี เกิดกระแสรถไฟความเร็วสูงเข้าถึงหนองคาย ปรากฏว่าที่ดินแปลงดังกล่าวได้ถูกขายออกไปกับนายทุนคนใหม่ในราคาสูงถึง 150 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างห้างบิ๊กซี ย่านใจกลางเมืองก่อนขึ้นสะพานข้ามแม่น้ำโขง
++ปรับราคาขึ้นรายวัน
ด้านนายเกรียงไกร ด้านชัยวิจิตร ประธานหอการค้าจังหวัดพระนครศรีอยุธยากล่าวว่าขณะนี้แม้ว่ายังไม่มีความชัดเจนที่จะกำหนด สถานีรถไฟความเร็วสูงที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่เดิมรัฐบาลเคยกำหนดไว้ที่สถานีบ้านภาชี ซึ่งเป็นสถานีใหญ่ สำหรับสับรางที่จะไปภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือไม่ แต่ยอมรับว่าราคาที่ดินย่านดังกล่าวปรับตัวสูงขึ้นจาก เดิมไร่ละ 4-5 แสนบาทขยับ เป็น 1 ล้านบาทต่อไร่ และแน่นอนว่า หากว่ารถไฟความเร็วสูงเกิดขึ้นเป็นรูปธรรมเมื่อไหร่ราคาที่ดินจะขยับตัวแรงๆขึ้นอีกหลายเท่าตัว
"กระแสรถไฟความเร็วสูง ทำให้ราคาที่ดินปรับเพิ่มขึ้น เรียกว่า เป็นรายวันก็ว่าได้ โดยเฉพาะจุดที่เป็นทำเลทอง บางพื้นที่มีการปรับราคาสูงขึ้นเท่าตัวก็อยากให้เจ้าของที่ดิน หรือ กลุ่มทุนที่กว้านซื้อที่ดินเพื่อเก็งกำไร คำนึงถึงประโยชน์ของการพัฒนาจังหวัดในระยะยาว หากราคาที่ดินสูงเกินไป ก็จะทำให้ไม่มีใครกล้าที่จะเข้ามาลงทุนในจังหวัด เสียโอกาสในการพัฒนาเช่นเดียวกัน"
เช่นเดียวกับนายแนบ ชามทอง เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่กล่าวยืนยันหากรถไฟเกิดขึ้นเป็นรูปธรรมและกำหนดสถานีที่ชัดเจน ราคาที่ดินในประจวบจะขยับสูงหลายเท่าตัว เพราะในปัจจุบันแค่ที่ดินเปล่าจัดสรรแบ่งขายขนาด 40-50 ตารางวา ยังราคายังสูงกว่าล้านบาท โดยเฉพาะที่หัวหินมีคอนโดมิเนียมและบ้านพักตากอากาศเกิดขึ้นมาก ซึ่งมองว่า ปัจจุบันราคาตกตารางวาละแสนบาท ก็ถือว่าสูงมากแล้ว
++ฟันธงพัทยาทะลุล้านต่อตร.ว.
นอกจากนี้นายวสันต์ คงจันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โมเดิร์น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด วิเคราะห์ถึงรถไฟความเร็วสูง ที่จะเกิดขึ้น 4 สาย 4ภาคว่า จังหวัดที่ได้อานิสงส์สูงสุดคือ พัทยา จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ส่วนเชียงใหม่ มีทางเลือกอื่นที่ดีอยู่แล้วคือ การเดินทางโดยเครื่องบิน แต่รถไฟความเร็วสูงแค่เป็นส่วนเสริมเท่านั้น ที่สำคัญเชียงใหม่มีศักยภาพโตด้วยตัวเองเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของภาคเหนือและประเทศเพื่อนบ้านอยู่แล้ว ดังนั้น จึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก
ทั้งนี้ หากจะถามว่าราคาที่ดินพื้นที่ใดจะได้รับอานิสงส์สูงสุดเมื่อมีรถไฟความเร็วสูงพาดผ่าน ผมมองว่าน่าจะเป็นพัทยา ซึ่งมีแนวโน้มราคาที่ดินจะทะลุตารางวาละ 1 ล้านบาท เหมือนใจกลางกรุงเทพฯอย่างแน่นอนหากโครงการรถไฟความเร็วสูงเปิดใช้หรือมีความชัดเจน เนื่องจากเมืองพัทยาเองมีพื้นที่จำกัด โดยเฉพาะถนนเลียบชายทะเลตลอดแนว อาทิ บริเวณวงศ์อมาตย์ ปัจจุบันราคาอยู่ที่ 3.5 แสนบาทต่อตารางวา จากเดิมช่วง 4-5 ปีก่อนที่ เซ็นทรัลซื้อก่อสร้างห้างริมหาด ราคาเพียง 9 หมื่นบาทต่อตารางวาเท่านั้น
"คาดว่าเมื่อเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี ในปี 2558 ราคาที่ดินทำเลดังกล่าวจะขยับเป็น 5 แสนบาทต่อตารางวาอย่างแน่นอน รวมถึงจำนวนที่อยู่อาศัยสูงขึ้นเรื่อยๆปัจจุบันอยู่ที่ 5 หมื่นหน่วย โดยแนวโน้มพัทยายังโตอาจถึงแสนหน่วยเหมือนกทม.เพราะนักท่องเที่ยวจะเพิ่มอีกจำนวนมาก"
+เร่งศึกษาเจาะสถานีไฮสปีดเทรน
แหล่งข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.)เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ถึงความคืบหน้า การดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงหรือไฮสปรีดเทรน 4 สาย4 ภาค ที่ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย

1. สายเหนือ สายกรุงเทพฯ- พิษณุโลก -เชียงใหม่ โดยแนวสายทาง เริ่มจาก สถานีบางซื่อ กทม. ไปสิ้นสุดระยะทาง ที่สถานีรถไฟเชียงใหม่ระยะทาง เกือบ 700 กิโลเมตร งบประมาณ เกือบ 4 แสนล้านบาท คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างปี 2557 โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ

1.1. ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก แล้วเสร็จปลายปี 2561
1.2. ระยะที่2 ช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ คาดว่าแล้วเสร็จต้นปี 2563 โดยแนวสายทางจะอยู่บนทางรถไฟเดิม คือ เริ่มจาก สถานีบางซื่อ ผ่านสถานีพระนครศรีอยุธยา สถานีบ้านภาชี ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เด่นชัย ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่

2. สายตะวันออกเฉียงเหนือ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย 612 กิโลเมตร
3.สายตะวันออก ช่วง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ -พัทยา-ระยองระยะทาง 221กิโลเมตร และ
4.กรุงเทพฯ-หัวหิน-ปาดังเบซาร์ 982กิโลเมตร

อย่างไรก็ดีขณะนี้บริษัทที่ปรึกษาอยู่ระหว่างลงพื้นที่เพื่อศึกษาหาจุดที่ตั้งตัวสถานี โดยส่วนใหญ่จะก่อ บนรางรถไฟเดิม เพื่อไม่ให้กระทบกับ การเวนคืนมากนัก โดยใช้เวลาศึกษา 14-18 เดือนนับจากนี้ จึงทราบจุดที่ตั้งสถานีและพื้นที่เวนคืนที่ชัดเจน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42785
Location: NECTEC

PostPosted: 01/05/2013 10:43 am    Post subject: Reply with quote

ยื่นอีไอเอ "ไฮสปีดเทรน" พ.ค.นี้ "ชัชชาติ" นำร่อง "พิษณุโลก-โคราช"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
30 เมษายน 2556 เวลา 11:50:10 น.


นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ยังเป็นไปตามแผนงานที่กำหนด โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) อยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดการดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงทั้ง 3 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-หนองคาย และกรุงเทพฯ-หัวหิน คาดว่าจะนำเสนอรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ได้ประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนนี้
ทั้งนี้ เบื้องต้นจะสามารถก่อสร้างได้ 2 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ-หนองคาย แต่ระยะแรกจะก่อสร้างกรุงเทพฯ-พิษณุโลก และกรุงเทพฯ-นครราชสีมาก่อน เนื่องจากมีการศึกษารายละเอียดโครงการไว้แล้ว ส่วนช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ และนครราชสีมา-หนองคาย จะอยู่ในระยะที่ 2 ซึ่งจะช้ากว่าระยะแรกประมาณ 1 ปี

"ในการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจะไม่ได้ใช้เงินกู้ 2 ล้านล้านบาททั้งหมด เพราะหากใช้ทั้งหมด จะไม่มีงบไปก่อสร้างโครงการอื่น แต่มั่นใจว่าจะไม่ส่งผลกระทบกับการดำเนินโครงการแน่นอน โดยเฉพาะช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ซึ่งไม่ได้อยู่ในงบเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท เพราะสามารถนำงบประมาณประจำปีมาดำเนินโครงการได้" นายชัชชาติกล่าว

นายชัชชาติกล่าวว่า การก่อสร้างทั้ง 2 เส้นทาง มีความยากง่ายต่างกัน คือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะแรกจะก่อสร้างง่ายกว่าระยะที่ 2 เนื่องจากไม่ต้องเจาะอุโมงค์ลอดภูเขา เหมือนช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ ที่มีภูเขาเป็นจำนวนมาก จึงก่อสร้างยากกว่า ในขณะที่ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะแรกจะก่อสร้างยาก เพราะต้องเจาะอุโมงค์ลอดภูเขา แต่ระยะที่ 2 จะง่ายกว่าเพราะเป็นทางตรงตลอดไปจนถึงหนองคาย

อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่ารถไฟฟ้าความเร็วสูง จะช่วยสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับต่างจังหวัด โดยจะเป็นในลักษณะเดียวกับการเปิดให้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ (โลว์คอสต์ แอร์ไลน์) เช่น ในอดีตจังหวัดเชียงใหม่ยังมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปไม่มากนัก แต่เมื่อมีโลว์คอสต์แอร์ไลน์ การเติบโตก็สูงมาก ทั้งในเชิงการท่องเที่ยว การจับจ่ายใช้สอย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44847
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/05/2013 4:14 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.ฟังเสียงชาวอยุธยาร่วมเลือกแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ ฯ – เชียงใหม่
ฐานเศรษฐกิจ วันพุธที่ 01 พฤษภาคม 2013 เวลา 15:45 น.

วันนี้ (1 พฤษภาคม 2556) เวลา 09.00 น. ณ โรงแรมกรุงศรี ริเวอร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดร. จุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นประธานในพิธีเปิดงาน สัมมนา รับฟังความคิดเห็นประชาชน ครั้งที่ 2

โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ ฯ – เชียงใหม่ ระยะที่ 1 กรุงเทพ ฯ – พิษณุโลก เพื่อนำเสนอสาระสำคัญคือรูปแบบแนวเส้นทางเลือก พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน สถาบันการศึกษาในพื้นที่ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และภาคประชาชน จากจังหวัดปทุมธานี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา และกรุงเทพมหานครเข้าร่วมการสัมมนากว่า 200 คน

แนวเส้นทางเลือกการพัฒนารถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ ฯ – เชียงใหม่ ประกอบด้วย 5 ทางเลือก คือ
แนวทางเลือกที่ 1 ขนานไปตามแนวรถไฟเดิม จากสถานีกลางบางซื่อ ผ่าน จ.ปทุมธานี จ.พระนครศรีอยุธยา จ.ลพบุรี จ.นครสวรรค์ จ.พิจิตร จ.พิษณุโลก จ.อุตรดิตถ์ จ.ลำปาง จ.ลำพูน และสิ้นสุดที่ จ.เชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 677 กม.
แนวทางเลือกที่ 2 ขนานไปตามแนวรถไฟเดิมเหมือนกับแนวทางเลือกที่ 1 จนถึง จ.พระนครศรีอยุธยา แล้วใช้แนวเส้นทางใหม่ไปทางฝั่งตะวันตกไปบรรจบกับแนวเส้นทางรถไฟสายเดิมที่ อ.พยุหะคีรี เข้าสู่ จ.นครสวรรค์ จนถึงสถานีปากน้ำโพใช้แนวเส้นทางใหม่ ไปถึง อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก จากนั้นตัดเข้าแนวรถไฟเดิม มุ่งสู่ อ.เมืองพิษณุโลก แล้วใช้แนวเส้นทางใหม่ด้านทิศตะวันตก มุ่งไป อ.ศรีสัชชนาลัย จ.สุโขทัย และบรรจบกับแนวเส้นทางรถไฟสายเดิมที่ ต.กล้วยแพะ อ.เมือง จ.ลำปาง ผ่าน จ.ลำพูน และสิ้นสุดที่ จ.เชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 639 กม.
แนวทางเลือกที่ 3 ใช้แนวเส้นทางเหมือนทางเลือกที่ 2 จนถึง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ จะใช้แนวเส้นทางใหม่ออกไปทางด้านทิศตะวันตกของ จ.นครสวรรค์ ผ่าน อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ อ.ไทรงาม จ.กำแพงเพชร และมาบรรจบกับแนวทางเลือกที่ 2 ที่ อ.เมือง จ.สุโขทัย ระยะทางประมาณ 610 กม.
แนวทางเลือกที่ 4 ขนานไปตามแนวรถไฟเดิมจนถึงวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออกทางพิเศษหมายเลข 9 จากนั้นเบี่ยงออกไปทางทิศตะวันตกของตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา ผ่าน จ.อ่างทอง จ.สิงห์บุรี จ.ชัยนาท จ.อุทัยธานี จ.นครสวรรค์ แล้วขึ้นเหนือตัดไป จ.สุโขทัย แล้วเบนออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เข้าสู่ อ.สบปราบ อ.เสริมงาม จ.ลำปาง ผ่าน จ.ลำพูน ไปสิ้นสุดที่ อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 597 กม.
แนวทางเลือกที่ 5 ช่วงบางซื่อ-พิษณุโลก ใช้แนวเส้นทางเหมือนทางเลือกที่ 1 และช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ ใช้แนวเส้นทางเหมือนทางเลือกที่ 2 ระยะทางประมาณ 669 กม.

โดยการคัดเลือกแนวเส้นทางจะคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นหลัก ควบคู่กับการพิจารณาความเหมาะสมทั้งทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจและการเงิน และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จ.พระนครศรีอยุธยา ที่เป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญ เมื่อมีการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง จะช่วยขับเคลื่อนเมืองมรดกโลกสู่การเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศต่อไป

ในการดำเนินงานโครงการ ฯ ยังได้กำหนดมาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ อาทิ ด้านการแบ่งแยกชุมชนจากการกั้นรั้ว จัดให้มีทางเชื่อมหรือทางลอดในระยะที่เหมาะสมสอดคล้องกับการใช้งานและความต้องการของประชาชนในพื้นที่โครงการ ฯ ด้านการชดเชยที่ดินและทรัพย์สิน กำหนดให้ดำเนินการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและชดเชยทรัพย์สินตลอดแนวเส้นทางโครงการตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นธรรม เป็นต้น นอกจากนี้ สนข. ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยจะจัดให้มีการสัมมนาในอีก 2 จังหวัดด้วยกันคือ จังหวัดนครสวรรค์ ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2556 ณ โรงแรมพิมานและจังหวัดพิษณุโลก ในวันที่ 3 พฤษภาคม 2556 ณ โรงแรมอมรินทร์ ลากูน เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากประชาชนอย่างครอบคลุมและทั่วถึง เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42785
Location: NECTEC

PostPosted: 01/05/2013 5:01 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
สนข.ฟังเสียงชาวอยุธยาร่วมเลือกแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ ฯ – เชียงใหม่
ฐานเศรษฐกิจ วันพุธที่ 01 พฤษภาคม 2013 เวลา 15:45 น.

แนวทางเลือกที่ 1 ขนานไปตามแนวรถไฟเดิม จากสถานีกลางบางซื่อ ผ่าน จ.ปทุมธานี จ.พระนครศรีอยุธยา จ.ลพบุรี จ.นครสวรรค์ จ.พิจิตร จ.พิษณุโลก จ.อุตรดิตถ์ จ.ลำปาง จ.ลำพูน และสิ้นสุดที่ จ.เชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 677 กม.

....
แนวทางเลือกที่ 5 ขนานไปตามแนวรถไฟเดิม จากสถานีกลางบางซื่อ ผ่าน จ.ปทุมธานี จ.พระนครศรีอยุธยา จ.ลพบุรี จ.นครสวรรค์ จ.พิจิตร จ.พิษณุโลก แล้วใช้แนวเส้นทางใหม่ด้านทิศตะวันตก ผ่านอ. เมืองจังหวัดสุโขทัย มุ่งไป อ.ศรีสัชชนาลัย จ.สุโขทัย และบรรจบกับแนวเส้นทางรถไฟสายเดิมที่ ต.กล้วยแพะ อ.เมือง จ.ลำปาง ผ่าน จ.ลำพูน และสิ้นสุดที่ จ.เชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 669 กม.


ดูท่าจะใช้เหตุผลทางการเมืองเพื่อมัดมือชกให้เอาทางเลือกที่ 5 ให้ได้ ขนาดที่ว่าพวกที่เคยเลือกรัฐบาลที่ อุตรดิตถ์ และ แพร่จะโวยวายก็กลายเป็นเสียงนกเสียงกาไปเสียฉิบกระมัง

แค่ถึงอย่างไรก็ต้องผ่านอำเภอวังชิ้น อยู่ดี นี่แหละ ระวังคนเมืองแป้เขาจะทวงถามว่า สถานีสำหรับเมืองแพร่จะไม่มีให้เทียวหรือ จะให้ถ่อสังขารไปสุโขทัย หรือ แม้ที่สุดจะมีสถานีที่วังชิ้นก็ถ่อสังขารไม่ไหว หน่า - ส่วนอุตรดิตถ์ก็ต้องถ่อสังขารมาศรีสัชนาลัย ... แม้จะสั้นกว่าแต่ก็หนักไม่ใช่เล่น นะ

ส่วน การบรรจบกับแนวเส้นทางรถไฟสายเดิมที่ ต.กล้วยแพะ อ.เมือง จ.ลำปาง ชะรอย จะมีการปลูกสร้างสถานีนครลำปางขึ้นมาใหม่ ที่ บริเวณสถานีหนองวัวเฒ่า (หรือ ที่ ครฟ. ชอบล้อว่าสถานี หนองวัวหนุ่ม) เป็นแน่ เพราะเห็นว่า สถานีหนองวัวเฒ่า อยู่ที่ กม. 637+414.00 ห่างจากสถานีนครลำปางที่สบตุ๋ย (กม. 642+292.00) เกือบๆ 5 กิโลเมตรเอง และใกล้ราชภัฏ ลำปางด้วย

เอ ถ้าเลือกทางเลือก 5 แล้ว ทางสายเด่นชัย - เชียงรายจะว่ากระไรดีครับ? กว่าทางคู่จะมาถึงศิลาอาศน์และ เด่นชัยก็กินเวลานานพอดูนา - เวลาเชื่อมต่อคงจะสนุกกันละคราวนี้ถ้าทำกันจริงๆขึ้นมา
หรือว่ามีแผนในใจว่าจะผลักดันเส้นเชียงใหม่ผ่านออกทางสันกำแพงไปพะเยาและเชียงรายมาแทน?
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44847
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/05/2013 9:23 am    Post subject: Reply with quote

ข่าวจาก นสพ.บ้านเมือง ก็ระบุว่า อาจจะเลือกเส้นทางที่ 5 ครับ

Quote:
“เบื้องต้นมีความเป็นไปได้สูงที่จะเลือกใช้แนวทางเลือกที่ 5 เนื่องจากเป็นลักษณะการเปิดเส้นทางใหม่ และมีค่าเวนคืนที่ดินน้อยที่สุด ทั้งนี้ จะต้องรอผลการศึกษาที่เหมาะสมอีกครั้ง ส่วนการพิจารณาการใช้พื้นที่ก่อสร้างสถานีความเร็วสูงในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยานั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสม ระหว่างการใช้สถานีร่วมกันกับรถไฟปัจจุบัน หรือการขยายพื้นที่ออกไปห่างจากสถานีเดิม 2-3 กิโลเมตร โดยตามแผนได้มีการออกแบบการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์โดยรอบสถานี ซึ่งอาจจะต้องใช้พื้นที่จำนวนมากดำเนินการ”

ที่มา: สนข.ระดมกึ๋นสร้างไฮสปีดเทรน นสพ.บ้านเมือง วันที่ 2/05/2556 เวลา 8:37 น.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 149, 150, 151 ... 549, 550, 551  Next
Page 150 of 551

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©