Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180360
ทั้งหมด:13491594
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - วธ.เตรียมดันทางรถไฟสายมรณะเป็นมรดกโลก
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

วธ.เตรียมดันทางรถไฟสายมรณะเป็นมรดกโลก
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/04/2016 2:16 pm    Post subject: Reply with quote

พบรางรถไฟเก่าที่กาญจนบุรี คาดเกี่ยวข้องสมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2
โดย MGR Online 7 เมษายน 2559 13:32 น.

เจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองกาญจนบุรี ได้มีการขุดพบรางรถไฟเก่า ซึ่งมีคราบสนิมเกาะความยาวประมาณ 10 เมตร ระหว่างการปรับปรุงพื้นผิวถนนนานาชาติ บริเวณสามแยกสะพานสุดใจ ต.ท่ามะขาม อ.เมืองกาญจนบุรี ซึ่งซุกซ่อนอยู่ใต้ผิวถนนลึกประมาณ 30 เซนติเมตร และห่างออกไปอีกหลายร้อยเมตรได้ขุดพบรางรถไฟเก่าซุกซ่อนอยู่ใต้ถนนสายนี้ด้วย

ทั้งนี้ นางเบญจวรรณ เปรมประยูร นายกเทศมนตรีเมืองกาญจนบุรี กล่าวว่า ทางเทศบาลจำเป็นต้องดำเนินการปรับปรุงผิวถนนต่อไป เนื่องจากบริเวณนี้มีรถสัญจรไปมาจำนวนมาก และยังใช้เป็นสถานที่จัดงานสงกรานต์ของถนนนานาชาติด้วย

อย่างไรก็ตาม จะมีการดำเนินการตรวจสอบที่มาของรางรถไฟดังกล่าวว่าเกี่ยวข้องกับสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือไม่ ซึ่งหากเกี่ยวข้องอาจจะดำเนินการอนุรักษ์เป็นจุดท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของ จ.กาญจนบุรี ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/04/2016 2:23 pm    Post subject: Reply with quote

ทางรถไฟสายนี้คือทางรถไฟขนน้ำจากแม่น้ำแควใหญ่มายังสถานีกาญจนบุรีนั่นเองครับ
ผู้พัน tentarmy43 เคยสำรวจมาให้ชมกัน เสียดายภาพหายไปหมดแล้ว
Arrow http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2203

Click on the image for full size

Click on the image for full size

ถ้าส่องดูใน StreetView บริเวณถนนฝรั่งเศส พิกัด 14.0367986,99.517927 ก็ยังเห็นทางรถไฟชัดเจนครับ (ภาพถ่ายเมื่อธันวาคม 2555)

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/04/2016 8:16 am    Post subject: Reply with quote

ใกล้กับราง (ลูกศรชี้) ก็มีเสาโทรเลขหรือเสาไฟฟ้าทำจากรางรถไฟเหลือให้เห็นด้วยครับ

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/05/2018 10:22 am    Post subject: Reply with quote

กาญจน์ จ่อดัน เส้นทางรถไฟสายมรณะ เข้าบัญชีชั่วคราวมรดกโลก
โดย ไทยรัฐออนไลน์
วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 01:15

เมืองกาญจน์ เตรียมดัน เส้นทางรถไฟสายมรณะ สะพานแม่น้ำแคว เข้าสู่บัญชีชั่วคราวมรดกโลก ...

วันที่ 30 เม.ษ. 61 นายจีระเกียรติภ ภูมิสวัสดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เป็นประธานการประชุมปรึกษาหารือ เรื่อง แนวทางการนำเสนอแหล่งมรดกวัฒนธรรม เส้นทางรถไฟสายมรณะ ครั้งที่ 1/2561 ที่ห้องประชุมแควน้อย ศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรี โดยมี ข้าราชการในภาคส่วนต่างๆเข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือในครั้งนี้ด้วย

นายจีระเกียรติ เปิดเผยว่า จังหวัดกาญจนบุรี โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาญจนบุรี ได้รับอนุมัติโครงการตามแผนปฏิบัติราชการ ประจำปี2561 ของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 โครงการการนำเสนอแหล่งมรดกวัฒนธรรมเส้นทางรถไฟสายมรณะ เข้าสู่บัญชีชั่วคราวมรดกโลก ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงานจัดเก็บรวบรวมข้อมูลของสมาคมอิโคโมสไทย


ซึ่งการดำเนินการมีความคืบหน้าโครงการจัดทำเอกสารการนำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม เส้นทางรถไฟสายมรณะ หรือ เส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า สะพานแม่น้ำแคว เข้าสู่บัญชีชั่วคราวมรดกโลก บัญชีรายชื่อเบื้องต้น เป็นการบรรจุชื่อแหล่งที่ต้องการ เสนอรับการพิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก ซึ่งการเตรียมการเสนอชื่อเพื่อบรรจุเข้าไปในบัญชีนั้น รัฐภาคีสมาชิกต้องทำการศึกษาสำรวจศักยภาพและคุณค่าเบื้องต้นของแหล่งที่จะเสนอชื่อ

“แต่อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ยังอยู่ในการปรึกษาหารือของภาคส่วนต่างๆ ก่อนที่จะมีการนำเสนอชื่อ เส้นทางรถไฟสายมรณะ เข้าสู่บัญชีมรดกโลกชั่วคราว ต่อไป” นายจีระเกียรติ กล่าวท้ายสุด.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/05/2018 12:57 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
กาญจน์ จ่อดัน เส้นทางรถไฟสายมรณะ เข้าบัญชีชั่วคราวมรดกโลก
โดย ไทยรัฐออนไลน์
วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 01:15


ข่าวนี้ก็ลงเดอะเนชั่นเหมือนกัน
http://www.nationmultimedia.com/detail/national/30344696
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/08/2020 9:10 am    Post subject: Reply with quote

อาชญากรสงครามคนสุดท้าย แห่งทางรถไฟสายมรณะในไทย
โพสต์ทูเดย์ วันที่ 06 ส.ค. 2563 เวลา 18:00 น.

วันนี้เป็นวันครบรอบ 75 ปีที่สหรัฐนำระเบิดปรมาณูไปทิ้งที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 โพสต์ทูเดย์นำเสนอชะตากรรมของชายคนหนึ่งที่ถูกม้วนเข้าสู่สงครามครั้งนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สุดท้ายกลับถูกลืม

อีฮัคแร (Lee Hak-rae) ชายวัย 95 ปี คืออาชญากรสงครามชาวเกาหลีคนสุดท้ายในญี่ปุ่น เขาคือผู้คุมชาวเกาหลีในกองทัพญี่ปุ่นที่ถูกส่งมาคุมเชลยศึกสร้างทางรถไฟสายมรณะในประเทศไทย แต่เมื่อสงครามสิ้นสุดลงแล้ว เขากลับไม่ได้รับการเหลียวแลจากญี่ปุ่น ขณะที่ในเกาหลีใต้บ้านเกิดก็ถูกมองว่าทรยศชาติ

ปัจจุบันเขาอาศัยอยู่กับครอบครัวในชานกรุงโตเกียวของญี่ปุ่น แต่เหตุการณ์เลวร้ายเมื่อ 75 ปีที่แล้วก็ยังติดอยู่ในใจของอี ทั้งการถูกทางการญี่ปุ่นเกณฑ์ไปเป็นผู้คุม การมีส่วนร่วมในการสร้างทางรถไฟสายมรณะเชื่อมไทย-เมียนมาร์ การถูกตัดสินว่าเป็นอาชญากรสงครามโลกครั้งที่ 2

ในปี 1942 ซึ่งเป็นช่วงที่เกาหลียังถูกญี่ปุ่นยึดครอง อี ลูกชายวัย 17 ปีของครอบครัวชาวนาเกาหลีถูกเกณฑ์เข้ากองทัพญี่ปุ่นภายใต้สัญญา 2 ปี ด้วยค่าตอบแทน 50 เยนต่อเดือน

หลังจากได้รับการฝึกในเมืองปูซาน อีถูกส่งตัวมาที่ประเทศไทยในฐานะผู้คุมเชลยสงครามของญี่ปุ่นซึ่งมีทั้งชาวอังกฤษ ออสเตรเลีย ฮอลันดา เพื่อสร้างทางรถไฟสายมรณะเชื่อมระหว่างไทย-เมียนมาร์

ช่วงที่อยู่ไทย อีเปลี่ยนชื่อเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า คะคุราอิ ฮิโรมุระ

เดือน ก.พ. 1943 อีและผู้คุมคนอื่นๆ ได้รับมอบหมายให้คุมตัวเชลยสงครามชาวออสเตรเลียราว 500 คนและชาวตะวันตกอื่นๆ ไปยังค่ายหินตกในเขตอำเภอไทรโยคของกาญจนบุรี ซึ่งมีสภาพเป็นป่าเขา

ระหว่างก่อสร้างทางรถไฟระยะทาง 415 กิโลเมตร เชลยสงครามต้องสังเวยชีวิตไปราว 12,000 คน จากความเหนื่อยล้า การโหมทำงาน ถูกผู้คุมทุบตี รวมทั้งติดเชื้อมาลาเรียและโรคอหิวาต์

อีขึ้นชื่อในหมู่เชลยสงครามว่าเป็นผู้คุมที่โหดที่สุด

ออสติน ไฟฟ์ เชลยสงครามชาวออสเตรเลียเผยว่า เคยถูกอีทุบตีซ้ำแล้วซ้ำเล่า และยังเคยถูกใช้ไม้ไผ่ตีที่ท้ายทอย ขณะที่นักโทษคนอื่นๆ พูดตรงกันว่า อีมักจะแอบไปดูที่โรงพยาบาลสนาม หากเห็นว่าใครที่ยังพอทำงานได้ ไม่ได้ป่วยหนักก็จะถูกทุบตี

หลังจากสงครามสิ้นสุดลงในปี 1945 โดยญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงคราม อีและผู้คุมชาวเกาหลีคนอื่นรวม 148 คน ถูกฝ่ายสัมพันธมิตรส่งตัวไปขึ้นศาลทหารออสเตรเลียที่สิงคโปร์ และถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหาบังคับให้เชลยสงครามที่เจ็บป่วยทำงานหนักจนเสียชีวิต และไม่ยอมสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหยุดทำร้ายร่างกายเชลยสงคราม

จากเอกสารในศาล อีให้การว่าเขาเพียงแค่ผลักเบาๆ ที่ไหล่เท่านั้น ไม่ได้ใช้ความรุนแรง และตัวเขาไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะขัดคำสั่งได้ เนื่องจากผู้คุมชาวเกาหลีอยู่ในระดับล่างสุดในกองทัพญี่ปุ่น

ในที่สุดอีถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยการแขวนคอในปี 1947 หลังจากถุกคุมขังเพื่อรอการประหารได้ 8 เดือน ศาลลดโทษเหลือจำคุก 20 ปี อีถูกจำคุกในสิงคโปร์และถูกย้ายไปรับโทษต่อที่เรือนจำสุงะโมในกรุงโตเกียวในปี 1951 และต่อมาได้รับการปล่อยตัวโดยมีทัณฑ์บนจากศาลในกรุงโตเกียวของญี่ปุ่นในปี 1956

หลังจากได้รับการปล่อยตัว อีไม่กล้าเดินทางกลับเกาหลี จนไม่ได้ไปร่วมงานศพแม่ เพราะกลัวว่าจะถูกเพื่อนร่วมชาติมองว่าเป็นคนทรยศ จึงอยู่ที่ญี่ปุ่น ในขณะที่เพื่อนร่วมชะตากรรมบางคนตัดสินใจจบชีวิตตัวเอง บางคนมีอาการป่วยทางจิต เมื่อรู้ว่าต้องอยู่ต่างบ้านต่างเมือง

ที่นั่นอีเป็นตัวตั้งตัวตีในการรวมกลุ่มคนเกาหลีที่เป็นอาชญากรสงครามอีก 70 คน เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นจ่ายเงินช่วยเหลือพวกเขาและครอบครัว และยังตั้งบริษัทแท็กซี่ในปี 1960 เพื่อให้สมาชิกกลุ่มทุกคนมีงานทำมีเงินใช้ เนื่องจากไม่ได้รับเงินชดเชย

แม้ว่าญี่ปุ่นจะเพิ่งออกกฎหมายให้เงินบำนาญทหารผ่านศึก รวมทั้งอาชญากรสงครามและครอบครัวสูงสุดอยู่ที่ 41,000 เหรียญสหรัฐ หรือราว 1,275,120 บาทต่อปี แต่ผลของการลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกซานฟรานซิสโกในปี 1953 ทำให้อีและเพื่อนๆ เสียสัญชาติญี่ปุ่นและสิทธิในการได้รับเงินชดเชยจากรัฐบาลญี่ปุ่น

จุดนี้เองที่ทำให้อีรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม เพราะในขณะที่ทหารญี่ปุ่นได้รับเงินชดเชย แต่ชาวเกาหลีที่ถูกเกณฑ์เข้ากองทัพญี่ปุ่นเพื่อเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 กลับไม่ได้รับสิทธิพิเศษใดๆ

แต่ถึงกระนั้นในปี 1991 กลุ่มของอีและเพื่อนๆ ตัดสินใจยื่นฟ้องรัฐบาลญี่ปุ่นเพื่อเรียกเงินชดเชยตามสิทธิของทหารผ่านศึก แต่สุดท้ายศาลสูงสุดของญี่ปุ่นตัดสินให้พวกเขาแพ้คดี

ต่อมาในปี 2006 ทางการเกาหลีใต้ยอมรับว่ากลุ่มของอีเป็นเหยื่อของลัทธิจักรวรรดินิยมญี่ปุ่น แต่ปฏิเสธการจ่ายเงินชดเชยให้คนที่ยังอาศัยอยู่ในญี่ปุ่น รวมทั้งอี ขณะที่อาชญากรสงครามชาวเกาหลีที่กลับบ้านเกิดได้รับสิทธิพิเศษในการรักษาพยาบาล

ปัจจุบันนี้ อีอาศัยอยู่ในเมืองนิชิโตเกียวในกรุงโตเกียว ในฐานะอาชญากรสงครามเกาหลีใต้คนสุดท้ายในญี่ปุ่น โดยที่ไม่ได้รับการยอมรับจดจำทั้งในเกาหลีใต้และญี่ปุ่น

เรียบเรียงจาก: The survivor: last Korean war criminal in Japan wants recognition, Elderly Korean war criminal seeks redress from Japan
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/09/2020 8:11 pm    Post subject: Reply with quote

“Train to เมืองกาญจน์” นั่งรถไฟไปกาญจนบุรี บนเส้นทางรถไฟสายมรณะ
เผยแพร่: 13 ก.ย. 2563 12:39 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
Arrow https://mgronline.com/travel/detail/9630000092542

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/09/2020 2:03 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
“Train to เมืองกาญจน์” นั่งรถไฟไปกาญจนบุรี บนเส้นทางรถไฟสายมรณะ
เผยแพร่: 13 ก.ย. 2563 12:39 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
Arrow https://mgronline.com/travel/detail/9630000092542



ดูนี่ก็ได้่
https://www.youtube.com/watch?v=8uYYY8lOvUQ
https://mgronline.com/news-clips/8uYYY8lOvUQ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/01/2021 5:23 pm    Post subject: Reply with quote

ทางรถไฟสายมรณะ อยู่ในไทย แต่ไม่ใช่ของไทย และไทย[จำต้อง]ซื้อ

Click on the image for full size
สะพานข้ามแม่น้ำแคว (ภาพจาก "หนังสือพิมพ์โรงพิมพ์การรถไฟ พ.ศ. 2514" ของคุณประวิทย์ สังข์มี)

เผยแพร่ วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ.2564

หากกล่าวถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ่งหนึ่งที่หลายคนคิดถึงกันก็คือ “ทางรถไฟสายมรณะ” ที่จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งปัจจุบันการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บรรจุเป็นแผนกิจกรรมให้เห็นอยู่เสมอ แต่ทางรถไฟสายนี้ไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของไทย แม้มันจะอยู่ในประเทศไทย และเราได้มาด้วยการซื้อขายกันหลังสงครามสิ้นสุด

รายละเอียดเรื่องนี้ ไกรฤกษ์ นานา เขียนไว้ใน “ใครเป็นเจ้าของ ‘ทางรถไฟสายมรณะ’? ญี่ปุ่นสร้าง ฝรั่งขาย ไทยซื้อ” พอสรุปได้ดังนี้

วันที่ 20 ธันวาคม 2484 กองทัพญี่ปุ่นก็เริ่มเจรจาขอสร้างทางรถไฟทหารสายใหม่ เพื่อเชื่อมต่อเส้นทางการขนส่งจากสถานีรถไฟสายใต้ของไทยไปยังพม่าถึง 2 เส้นทาง คือ ทางรถไฟสายหนองปลาดุก-กาญจนบุรี-ตันบูซายัด (ทางรถไฟสายไทย-พม่า) หรือทางรถไฟสายมรณะ และทางรถไฟสายชุมพร-กระบุรี (ทางรถไฟสายคอคอดกระ)

อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ของไทยสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา เขียนถึงเหตุผลในการสร้างทางรถไฟสายไทย-พม่า ของญี่ปุ่นว่า

“เรื่องรถไฟสายกาญจนบุรี-พม่านี้ มีชื่อเสียงโด่งดังในด้านเศร้าสลดมาก จนทั่วโลกขนานนามว่า ‘รถไฟสายมรณะ’ (The Railway of Death)


เนื่องจากกองทัพญี่ปุ่นมีนโยบายที่จะเชื่อมการคมนาคมกับพม่าโดยผ่านทางเมืองกาญจนบุรี ฉะนั้นจึงได้เริ่มสำรวจการสร้างทางรถไฟสายนี้เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) เริ่มสร้างตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) โดยสร้างพร้อมๆ กันทั้งสองด้าน คือ ทางด้านพม่าเริ่มจากเมืองทันไบยูซะยัดทางภาคใต้ของพม่า ทางด้านไทยเริ่มทางเมืองกาญจนบุรี แต่ภายหลังสร้างได้ไม่กี่เดือน ญี่ปุ่นเสียหายทางทะเลมากขึ้น ญี่ปุ่นเห็นว่าถ้าทางนี้เสร็จได้เร็วก็จะช่วยในเรื่องการขนส่งมาก จึงออกคำสั่งระดมให้เสร็จภายในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943)

แต่เป็นที่ทราบกันแล้วว่าเส้นทางสายนี้ทุรกันดารที่สุด ต้องผ่านทิวเขามากมาย ป่าดงทึบ อากาศก็ร้อนจัด และในภูมิภาคนี้ฝนก็หนัก โรคภัยไข้เจ็บนานาชนิดรุนแรง เครื่องมือสำหรับการช่างก็มีไม่พอ ทหารสัมพันธมิตรซึ่งเป็นเชลยเล่าว่า งานส่วนมากต้องทำโดยใช้เครื่องมือและกำลังแรงเป็นส่วนใหญ่ ญี่ปุ่นเกณฑ์เชลยศึกต่างๆ เอามาใช้ รวมทั้งจ้างเกณฑ์พวกกุลีชาวทมิฬ พม่า ชวา ญวน มลายา และจีน คนงานเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นเชลยศึกหรือคนงานซึ่งเกณฑ์จ้างต้องทำงานอย่างหนักที่สุด ตั้งแต่เช้าจนค่ำ อาหารก็ไม่พอกิน ที่พักก็ใช้ผ้าใบซึ่งทำเป็นหลังคา ในฤดูมรสุมฝนตกหนักนอนไม่ได้เพราะน้ำท่วม คนงานส่วนมากจึงเจ็บป่วย ยาก็มีไม่พอหรือไม่มี ส่วนมากจึงไม่รักษาปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม ผลก็คือล้มตายลงเป็นอันมาก

ในที่สุดญี่ปุ่นก็เร่งจนเสร็จได้ และเริ่มเปิดเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943) เป็นระยะทาง 415 กิโลเมตร เมื่อเปิดทางกองทัพญี่ปุ่นต้องทำพิธีทางศาสนาอุทิศส่วนกุศลให้คนงานที่ตายในการสร้างทางนี้ ญี่ปุ่นคำนวณว่าในการสร้างทางรถไฟสายนี้ ทหารญี่ปุ่นต้องตายประมาณ 10,000 เชลยศึกตายประมาณ 10,000 และพวกกุลีที่จ้างเกณฑ์มาประมาณ 30,000 แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรแถลงว่าญี่ปุ่นคำนวณต่ำมาก สัมพันธมิตรคำนวณจากผู้คนที่สูญหายไปในการนี้ว่า เชลยศึกคงตายประมาณ 12,000 กุลีประมาณ 250,000”

โดยทางญี่ปุ่นได้ให้ความหวังแบบคลุมเครือต่อฝ่ายไทยตั้งแต่วันแถลงการณ์ว่า

“ในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2485 จึงได้มีการประชุมหารือระหว่างเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย-ญี่ปุ่น ซึ่งมีพันโท ไชย ประทีปะเสน และ พลตรี โมะริยะ เซจิ ผู้แทนกองทัพญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และได้ข้อสรุปว่า กองทัพญี่ปุ่นขอเป็นผู้ครอบครองและดำเนินการใช้ทางรถไฟจนกว่าจะเสร็จสงคราม ส่วนรายละเอียดของการครอบครองภายหลังสงคราม ทางฝ่ายญี่ปุ่นยังไม่ยอมตกลงเป็นที่แน่ชัดจนกว่าสงครามจะเสร็จสิ้น”

เมื่อสงครามยุติ ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรก็เข้ามาจัดการกับผู้แพ้ รวมถึง “ทรัพย์เชลย” ซึ่งนับรวมมี “ทางรถไฟสายมรณะ” ด้วย

ลอร์ดหลุยส์ เมาต์แบตเทน ผู้บัญชาการสัมพันธมิตรประจำตะวันออกไกล ออกประกาศข้อบังคับใหม่ทันทีหลังสงครามกับการจัดทรัพย์ของพวกญี่ปุ่นเป็น “ของกลาง” ด้วยข้อตกลง 2 ข้อ โดยผู้แทนรัฐบาลไทยในขณะนั้น พลโท ศ. เสนาณรงค์ถูกเชิญไปลงนามรับทราบ ณ เมืองแคนดี้ ประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 8 กันยายน 1945 (พ.ศ. 2488)

วันที่ 1 มกราคม 2489 และโดยผลแห่งข้อตกลงสมบูรณ์แบบนี้ ไทยต้องถูกบังคับให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่อังกฤษ ใน 4 รัฐมาเลย์ เป็นเงิน 30 ล้านบาท และยังต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่อังกฤษอีกเป็นเงิน 6 ล้านปอนด์ ซึ่งเทียบเป็นเงินไทยในขณะนั้นเท่ากับ 240 ล้านบาท

ภายหลังที่ผู้แทนรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศได้ลงนามในสัญญาสมบูรณ์แบบฉบับดังกล่าวนี้แล้ว รัฐบาลอังกฤษได้แจ้งต่อรัฐบาลไทยว่า ทางรถไฟสายไทย-พม่านั้น ถือว่าเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลอังกฤษ ให้ประเทศไทยดูแลรักษาให้คงสภาพเดิมไว้ก่อน จนกว่ารัฐบาลอังกฤษจะได้พิจารณาดำเนินการอย่างใดต่อไป

รัฐบาลไทยได้พิจารณาเรื่องนี้แล้ว มีความเห็นว่า ควรเปิดการเจรจากับรัฐบาลอังกฤษ เพื่อขอซื้อทางรถไฟสายไทย-พม่าเสียเลยจะเหมาะสมกว่า เพื่อการตัดปัญหาต่างๆ อันจะเกิดขึ้นในภายหน้าลงโดยสิ้นเชิง เพราะถ้าทางรถไฟยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของชาติอื่น โดยยังอยู่ในประเทศไทย ปัญหาต่างๆ จะเกิดขึ้นตามมาไม่เป็นที่สิ้นสุด

แต่ในเวลานั้นรัฐบาลไทยและอังกฤษต่างก็ตกอยู่ในสภาพถังแตกภาย หลังสงครามซ้ำเติมด้วยภาวะเศรษฐกิจตกต่ำฝืดเคืองอย่างหนัก แม้แต่ชาติผู้ชนะอย่างอังกฤษก็ยังต้องการเงินภายนอกมาจุนเจือความเสียหายของตนจากผลลัพธ์ของสงคราม

อังกฤษมีภาระผูกพันต้องชดใช้ความเสียหายให้แก่ประเทศที่ถูกใช้เป็นสมรภูมิจำเป็น (พม่า มลายา และอินโดนีเซีย) จึงหวังจะได้ขายทางรถไฟ ในราคาที่สูงกว่าต้นทุนจริง

ทูตอังกฤษมีหนังสือถึงกระทรวงการต่างประเทศไทยว่า ตามที่ญี่ปุ่นได้ขนวัสดุต่างๆ จาก พม่า มลายา และเนเธอร์แลนด์อิสตอินดีส [อินโดนีเซีย] มาสร้างทางรถไฟสายกาญจนบุรี-พม่า รวมทั้งรถจักรและเครื่องอุปกรณ์ ฯลฯ บัดนี้ทางรัฐบาลอังกฤษจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ 3 ประเทศนั้นๆ จึงจะรื้อขนสิ่งของเหล่านั้นไป

รัฐบาลไทยมีนโยบายจะรักษาสิทธิ์เหนือผืนดินของตนเองที่ทางรถไฟสร้างอยู่ จึงพยามซื้อคืนเสนทางรถไฟคืน โดยการกู้ยืมเงินจากธนาคารโลกเป็นเงิน 37 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการพัฒนาฟื้นฟูประเทศ ซึ่งในแผนแม่บทของรัฐบาลระบุชัดเจนว่าจะนำไปใช้ “บรูณาการรถไฟ”

ขั้นแรกรัฐบาลอังกฤษได้เสนอขายในราคา 3 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง ฝ่ายไทยขอให้ลดราคาลงมาตามภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้น เดือนกันยายน พ.ศ. 2489 รัฐบาลอังกฤษจึงได้เสนอเรื่องขายทางรถไฟสายไทย-พม่าต่อกระทรวงการต่างประเทศของประเทศไทยอีกครั้ง ในราคารวม 1.5 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง เป็นราคาทางรถไฟ รวมทั้งค่ารางเหล็ก ไม้หมอน รถตู้ รถจักร เครื่องมือในโรงงานและพัสดุ ในสภาพที่เป็นอยู่แต่เดิม รวมทั้งเงินที่จะต้องชำระสำหรับรถจักร รถตู้ และรางรถไฟมลายู และเครื่องจักรที่อยู่ในโรงงานกาญจนบุรี อันเป็นทรัพย์สินของเหมืองแร่บริษัท TAIPING TIN ด้วย

การประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2489 คณะรัฐมนตรีลงมติมอบให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการเจรจาทำความตกลงซื้อทางรถไฟสายไทย-พม่า พร้อมทั้งเครื่องอุปกรณ์และขอให้ต่อราคาลง และให้ได้ผ่อนชำระราคาเป็นเงินบาท

หากราคาที่รัฐบาลไทยเสนอขอซื้อในชั้นหลัง ตรงกับราคาที่รัฐบาลอังกฤษเสนอขายใหม่คือ 1,250,000 ปอนด์ ส่วนการชำระเงินนั้น สำหรับทรัพย์สินของรัฐบาลมลายูและพม่า ฝ่ายไทยต้องชำระเป็นเงินปอนด์สเตอร์ลิง นอกจากนั้นชำระเป็นเงินบาท และให้ผ่อนชำระได้ตามรายการที่ 2 ฝ่ายจะได้เจรจาตกลงกัน

อนึ่ง ทางรถไฟสายไทย-พม่า เมื่อต้นปี 2489 กองทหารอังกฤษได้รื้อทางรถไฟในเขตของประเทศพม่าออก 30 กิโลเมตร และในเขตของประเทศไทยออก 6 กิโลเมตรแล้ว จึงได้เสนอขายทางรถไฟสายนี้ให้กับประเทศไทย

ข้อมูลจาก

ไกรฤกษ์ นานา. “ใครเป็นเจ้าของ ‘ทางรถไฟสายมรณะ’? ญี่ปุ่นสร้าง ฝรั่งขาย ไทยซื้อ” ใน, ศิลปวัฒนธรรม ธันวาคม 2563

เผยแพร่ข้อมูลในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 22 มกราคม 2564
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/11/2023 1:16 pm    Post subject: Reply with quote

เสียงล้อเอี๊ยดๆ​ สะพานมรณะ​ มุมหวาดเสียวที่สุด​ ที่ไม่มีใครเคยเห็น
สุรเสียง พลับพลาสวรรค์
Nov 15, 2023


https://www.youtube.com/watch?v=0876w6shZHo
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5
Page 5 of 5

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©