View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46771
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 07/04/2016 2:16 pm Post subject: |
|
|
พบรางรถไฟเก่าที่กาญจนบุรี คาดเกี่ยวข้องสมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2
โดย MGR Online 7 เมษายน 2559 13:32 น.
เจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองกาญจนบุรี ได้มีการขุดพบรางรถไฟเก่า ซึ่งมีคราบสนิมเกาะความยาวประมาณ 10 เมตร ระหว่างการปรับปรุงพื้นผิวถนนนานาชาติ บริเวณสามแยกสะพานสุดใจ ต.ท่ามะขาม อ.เมืองกาญจนบุรี ซึ่งซุกซ่อนอยู่ใต้ผิวถนนลึกประมาณ 30 เซนติเมตร และห่างออกไปอีกหลายร้อยเมตรได้ขุดพบรางรถไฟเก่าซุกซ่อนอยู่ใต้ถนนสายนี้ด้วย
ทั้งนี้ นางเบญจวรรณ เปรมประยูร นายกเทศมนตรีเมืองกาญจนบุรี กล่าวว่า ทางเทศบาลจำเป็นต้องดำเนินการปรับปรุงผิวถนนต่อไป เนื่องจากบริเวณนี้มีรถสัญจรไปมาจำนวนมาก และยังใช้เป็นสถานที่จัดงานสงกรานต์ของถนนนานาชาติด้วย
อย่างไรก็ตาม จะมีการดำเนินการตรวจสอบที่มาของรางรถไฟดังกล่าวว่าเกี่ยวข้องกับสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือไม่ ซึ่งหากเกี่ยวข้องอาจจะดำเนินการอนุรักษ์เป็นจุดท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของ จ.กาญจนบุรี ต่อไป |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46771
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 07/04/2016 2:23 pm Post subject: |
|
|
ทางรถไฟสายนี้คือทางรถไฟขนน้ำจากแม่น้ำแควใหญ่มายังสถานีกาญจนบุรีนั่นเองครับ
ผู้พัน tentarmy43 เคยสำรวจมาให้ชมกัน เสียดายภาพหายไปหมดแล้ว
http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2203
ถ้าส่องดูใน StreetView บริเวณถนนฝรั่งเศส พิกัด 14.0367986,99.517927 ก็ยังเห็นทางรถไฟชัดเจนครับ (ภาพถ่ายเมื่อธันวาคม 2555)
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46771
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 08/04/2016 8:16 am Post subject: |
|
|
ใกล้กับราง (ลูกศรชี้) ก็มีเสาโทรเลขหรือเสาไฟฟ้าทำจากรางรถไฟเหลือให้เห็นด้วยครับ
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43663
Location: NECTEC
|
Posted: 01/05/2018 10:22 am Post subject: |
|
|
กาญจน์ จ่อดัน เส้นทางรถไฟสายมรณะ เข้าบัญชีชั่วคราวมรดกโลก
โดย ไทยรัฐออนไลน์
วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 01:15
เมืองกาญจน์ เตรียมดัน เส้นทางรถไฟสายมรณะ สะพานแม่น้ำแคว เข้าสู่บัญชีชั่วคราวมรดกโลก ...
วันที่ 30 เม.ษ. 61 นายจีระเกียรติภ ภูมิสวัสดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เป็นประธานการประชุมปรึกษาหารือ เรื่อง แนวทางการนำเสนอแหล่งมรดกวัฒนธรรม เส้นทางรถไฟสายมรณะ ครั้งที่ 1/2561 ที่ห้องประชุมแควน้อย ศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรี โดยมี ข้าราชการในภาคส่วนต่างๆเข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือในครั้งนี้ด้วย
นายจีระเกียรติ เปิดเผยว่า จังหวัดกาญจนบุรี โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาญจนบุรี ได้รับอนุมัติโครงการตามแผนปฏิบัติราชการ ประจำปี2561 ของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 โครงการการนำเสนอแหล่งมรดกวัฒนธรรมเส้นทางรถไฟสายมรณะ เข้าสู่บัญชีชั่วคราวมรดกโลก ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงานจัดเก็บรวบรวมข้อมูลของสมาคมอิโคโมสไทย
ซึ่งการดำเนินการมีความคืบหน้าโครงการจัดทำเอกสารการนำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม เส้นทางรถไฟสายมรณะ หรือ เส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า สะพานแม่น้ำแคว เข้าสู่บัญชีชั่วคราวมรดกโลก บัญชีรายชื่อเบื้องต้น เป็นการบรรจุชื่อแหล่งที่ต้องการ เสนอรับการพิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก ซึ่งการเตรียมการเสนอชื่อเพื่อบรรจุเข้าไปในบัญชีนั้น รัฐภาคีสมาชิกต้องทำการศึกษาสำรวจศักยภาพและคุณค่าเบื้องต้นของแหล่งที่จะเสนอชื่อ
แต่อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ยังอยู่ในการปรึกษาหารือของภาคส่วนต่างๆ ก่อนที่จะมีการนำเสนอชื่อ เส้นทางรถไฟสายมรณะ เข้าสู่บัญชีมรดกโลกชั่วคราว ต่อไป นายจีระเกียรติ กล่าวท้ายสุด. |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43663
Location: NECTEC
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46771
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 07/08/2020 9:10 am Post subject: |
|
|
อาชญากรสงครามคนสุดท้าย แห่งทางรถไฟสายมรณะในไทย
โพสต์ทูเดย์ วันที่ 06 ส.ค. 2563 เวลา 18:00 น.
วันนี้เป็นวันครบรอบ 75 ปีที่สหรัฐนำระเบิดปรมาณูไปทิ้งที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 โพสต์ทูเดย์นำเสนอชะตากรรมของชายคนหนึ่งที่ถูกม้วนเข้าสู่สงครามครั้งนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สุดท้ายกลับถูกลืม
อีฮัคแร (Lee Hak-rae) ชายวัย 95 ปี คืออาชญากรสงครามชาวเกาหลีคนสุดท้ายในญี่ปุ่น เขาคือผู้คุมชาวเกาหลีในกองทัพญี่ปุ่นที่ถูกส่งมาคุมเชลยศึกสร้างทางรถไฟสายมรณะในประเทศไทย แต่เมื่อสงครามสิ้นสุดลงแล้ว เขากลับไม่ได้รับการเหลียวแลจากญี่ปุ่น ขณะที่ในเกาหลีใต้บ้านเกิดก็ถูกมองว่าทรยศชาติ
ปัจจุบันเขาอาศัยอยู่กับครอบครัวในชานกรุงโตเกียวของญี่ปุ่น แต่เหตุการณ์เลวร้ายเมื่อ 75 ปีที่แล้วก็ยังติดอยู่ในใจของอี ทั้งการถูกทางการญี่ปุ่นเกณฑ์ไปเป็นผู้คุม การมีส่วนร่วมในการสร้างทางรถไฟสายมรณะเชื่อมไทย-เมียนมาร์ การถูกตัดสินว่าเป็นอาชญากรสงครามโลกครั้งที่ 2
ในปี 1942 ซึ่งเป็นช่วงที่เกาหลียังถูกญี่ปุ่นยึดครอง อี ลูกชายวัย 17 ปีของครอบครัวชาวนาเกาหลีถูกเกณฑ์เข้ากองทัพญี่ปุ่นภายใต้สัญญา 2 ปี ด้วยค่าตอบแทน 50 เยนต่อเดือน
หลังจากได้รับการฝึกในเมืองปูซาน อีถูกส่งตัวมาที่ประเทศไทยในฐานะผู้คุมเชลยสงครามของญี่ปุ่นซึ่งมีทั้งชาวอังกฤษ ออสเตรเลีย ฮอลันดา เพื่อสร้างทางรถไฟสายมรณะเชื่อมระหว่างไทย-เมียนมาร์
ช่วงที่อยู่ไทย อีเปลี่ยนชื่อเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า คะคุราอิ ฮิโรมุระ
เดือน ก.พ. 1943 อีและผู้คุมคนอื่นๆ ได้รับมอบหมายให้คุมตัวเชลยสงครามชาวออสเตรเลียราว 500 คนและชาวตะวันตกอื่นๆ ไปยังค่ายหินตกในเขตอำเภอไทรโยคของกาญจนบุรี ซึ่งมีสภาพเป็นป่าเขา
ระหว่างก่อสร้างทางรถไฟระยะทาง 415 กิโลเมตร เชลยสงครามต้องสังเวยชีวิตไปราว 12,000 คน จากความเหนื่อยล้า การโหมทำงาน ถูกผู้คุมทุบตี รวมทั้งติดเชื้อมาลาเรียและโรคอหิวาต์
อีขึ้นชื่อในหมู่เชลยสงครามว่าเป็นผู้คุมที่โหดที่สุด
ออสติน ไฟฟ์ เชลยสงครามชาวออสเตรเลียเผยว่า เคยถูกอีทุบตีซ้ำแล้วซ้ำเล่า และยังเคยถูกใช้ไม้ไผ่ตีที่ท้ายทอย ขณะที่นักโทษคนอื่นๆ พูดตรงกันว่า อีมักจะแอบไปดูที่โรงพยาบาลสนาม หากเห็นว่าใครที่ยังพอทำงานได้ ไม่ได้ป่วยหนักก็จะถูกทุบตี
หลังจากสงครามสิ้นสุดลงในปี 1945 โดยญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงคราม อีและผู้คุมชาวเกาหลีคนอื่นรวม 148 คน ถูกฝ่ายสัมพันธมิตรส่งตัวไปขึ้นศาลทหารออสเตรเลียที่สิงคโปร์ และถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหาบังคับให้เชลยสงครามที่เจ็บป่วยทำงานหนักจนเสียชีวิต และไม่ยอมสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหยุดทำร้ายร่างกายเชลยสงคราม
จากเอกสารในศาล อีให้การว่าเขาเพียงแค่ผลักเบาๆ ที่ไหล่เท่านั้น ไม่ได้ใช้ความรุนแรง และตัวเขาไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะขัดคำสั่งได้ เนื่องจากผู้คุมชาวเกาหลีอยู่ในระดับล่างสุดในกองทัพญี่ปุ่น
ในที่สุดอีถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยการแขวนคอในปี 1947 หลังจากถุกคุมขังเพื่อรอการประหารได้ 8 เดือน ศาลลดโทษเหลือจำคุก 20 ปี อีถูกจำคุกในสิงคโปร์และถูกย้ายไปรับโทษต่อที่เรือนจำสุงะโมในกรุงโตเกียวในปี 1951 และต่อมาได้รับการปล่อยตัวโดยมีทัณฑ์บนจากศาลในกรุงโตเกียวของญี่ปุ่นในปี 1956
หลังจากได้รับการปล่อยตัว อีไม่กล้าเดินทางกลับเกาหลี จนไม่ได้ไปร่วมงานศพแม่ เพราะกลัวว่าจะถูกเพื่อนร่วมชาติมองว่าเป็นคนทรยศ จึงอยู่ที่ญี่ปุ่น ในขณะที่เพื่อนร่วมชะตากรรมบางคนตัดสินใจจบชีวิตตัวเอง บางคนมีอาการป่วยทางจิต เมื่อรู้ว่าต้องอยู่ต่างบ้านต่างเมือง
ที่นั่นอีเป็นตัวตั้งตัวตีในการรวมกลุ่มคนเกาหลีที่เป็นอาชญากรสงครามอีก 70 คน เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นจ่ายเงินช่วยเหลือพวกเขาและครอบครัว และยังตั้งบริษัทแท็กซี่ในปี 1960 เพื่อให้สมาชิกกลุ่มทุกคนมีงานทำมีเงินใช้ เนื่องจากไม่ได้รับเงินชดเชย
แม้ว่าญี่ปุ่นจะเพิ่งออกกฎหมายให้เงินบำนาญทหารผ่านศึก รวมทั้งอาชญากรสงครามและครอบครัวสูงสุดอยู่ที่ 41,000 เหรียญสหรัฐ หรือราว 1,275,120 บาทต่อปี แต่ผลของการลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกซานฟรานซิสโกในปี 1953 ทำให้อีและเพื่อนๆ เสียสัญชาติญี่ปุ่นและสิทธิในการได้รับเงินชดเชยจากรัฐบาลญี่ปุ่น
จุดนี้เองที่ทำให้อีรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม เพราะในขณะที่ทหารญี่ปุ่นได้รับเงินชดเชย แต่ชาวเกาหลีที่ถูกเกณฑ์เข้ากองทัพญี่ปุ่นเพื่อเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 กลับไม่ได้รับสิทธิพิเศษใดๆ
แต่ถึงกระนั้นในปี 1991 กลุ่มของอีและเพื่อนๆ ตัดสินใจยื่นฟ้องรัฐบาลญี่ปุ่นเพื่อเรียกเงินชดเชยตามสิทธิของทหารผ่านศึก แต่สุดท้ายศาลสูงสุดของญี่ปุ่นตัดสินให้พวกเขาแพ้คดี
ต่อมาในปี 2006 ทางการเกาหลีใต้ยอมรับว่ากลุ่มของอีเป็นเหยื่อของลัทธิจักรวรรดินิยมญี่ปุ่น แต่ปฏิเสธการจ่ายเงินชดเชยให้คนที่ยังอาศัยอยู่ในญี่ปุ่น รวมทั้งอี ขณะที่อาชญากรสงครามชาวเกาหลีที่กลับบ้านเกิดได้รับสิทธิพิเศษในการรักษาพยาบาล
ปัจจุบันนี้ อีอาศัยอยู่ในเมืองนิชิโตเกียวในกรุงโตเกียว ในฐานะอาชญากรสงครามเกาหลีใต้คนสุดท้ายในญี่ปุ่น โดยที่ไม่ได้รับการยอมรับจดจำทั้งในเกาหลีใต้และญี่ปุ่น
เรียบเรียงจาก: The survivor: last Korean war criminal in Japan wants recognition, Elderly Korean war criminal seeks redress from Japan |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46771
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43663
Location: NECTEC
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46771
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 22/01/2021 5:23 pm Post subject: |
|
|
ทางรถไฟสายมรณะ อยู่ในไทย แต่ไม่ใช่ของไทย และไทย[จำต้อง]ซื้อ
สะพานข้ามแม่น้ำแคว (ภาพจาก "หนังสือพิมพ์โรงพิมพ์การรถไฟ พ.ศ. 2514" ของคุณประวิทย์ สังข์มี)
เผยแพร่ วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ.2564
หากกล่าวถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ่งหนึ่งที่หลายคนคิดถึงกันก็คือ ทางรถไฟสายมรณะ ที่จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งปัจจุบันการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บรรจุเป็นแผนกิจกรรมให้เห็นอยู่เสมอ แต่ทางรถไฟสายนี้ไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของไทย แม้มันจะอยู่ในประเทศไทย และเราได้มาด้วยการซื้อขายกันหลังสงครามสิ้นสุด
รายละเอียดเรื่องนี้ ไกรฤกษ์ นานา เขียนไว้ใน ใครเป็นเจ้าของ ทางรถไฟสายมรณะ? ญี่ปุ่นสร้าง ฝรั่งขาย ไทยซื้อ พอสรุปได้ดังนี้
วันที่ 20 ธันวาคม 2484 กองทัพญี่ปุ่นก็เริ่มเจรจาขอสร้างทางรถไฟทหารสายใหม่ เพื่อเชื่อมต่อเส้นทางการขนส่งจากสถานีรถไฟสายใต้ของไทยไปยังพม่าถึง 2 เส้นทาง คือ ทางรถไฟสายหนองปลาดุก-กาญจนบุรี-ตันบูซายัด (ทางรถไฟสายไทย-พม่า) หรือทางรถไฟสายมรณะ และทางรถไฟสายชุมพร-กระบุรี (ทางรถไฟสายคอคอดกระ)
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ของไทยสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา เขียนถึงเหตุผลในการสร้างทางรถไฟสายไทย-พม่า ของญี่ปุ่นว่า
เรื่องรถไฟสายกาญจนบุรี-พม่านี้ มีชื่อเสียงโด่งดังในด้านเศร้าสลดมาก จนทั่วโลกขนานนามว่า รถไฟสายมรณะ (The Railway of Death)
เนื่องจากกองทัพญี่ปุ่นมีนโยบายที่จะเชื่อมการคมนาคมกับพม่าโดยผ่านทางเมืองกาญจนบุรี ฉะนั้นจึงได้เริ่มสำรวจการสร้างทางรถไฟสายนี้เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) เริ่มสร้างตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) โดยสร้างพร้อมๆ กันทั้งสองด้าน คือ ทางด้านพม่าเริ่มจากเมืองทันไบยูซะยัดทางภาคใต้ของพม่า ทางด้านไทยเริ่มทางเมืองกาญจนบุรี แต่ภายหลังสร้างได้ไม่กี่เดือน ญี่ปุ่นเสียหายทางทะเลมากขึ้น ญี่ปุ่นเห็นว่าถ้าทางนี้เสร็จได้เร็วก็จะช่วยในเรื่องการขนส่งมาก จึงออกคำสั่งระดมให้เสร็จภายในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943)
แต่เป็นที่ทราบกันแล้วว่าเส้นทางสายนี้ทุรกันดารที่สุด ต้องผ่านทิวเขามากมาย ป่าดงทึบ อากาศก็ร้อนจัด และในภูมิภาคนี้ฝนก็หนัก โรคภัยไข้เจ็บนานาชนิดรุนแรง เครื่องมือสำหรับการช่างก็มีไม่พอ ทหารสัมพันธมิตรซึ่งเป็นเชลยเล่าว่า งานส่วนมากต้องทำโดยใช้เครื่องมือและกำลังแรงเป็นส่วนใหญ่ ญี่ปุ่นเกณฑ์เชลยศึกต่างๆ เอามาใช้ รวมทั้งจ้างเกณฑ์พวกกุลีชาวทมิฬ พม่า ชวา ญวน มลายา และจีน คนงานเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นเชลยศึกหรือคนงานซึ่งเกณฑ์จ้างต้องทำงานอย่างหนักที่สุด ตั้งแต่เช้าจนค่ำ อาหารก็ไม่พอกิน ที่พักก็ใช้ผ้าใบซึ่งทำเป็นหลังคา ในฤดูมรสุมฝนตกหนักนอนไม่ได้เพราะน้ำท่วม คนงานส่วนมากจึงเจ็บป่วย ยาก็มีไม่พอหรือไม่มี ส่วนมากจึงไม่รักษาปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม ผลก็คือล้มตายลงเป็นอันมาก
ในที่สุดญี่ปุ่นก็เร่งจนเสร็จได้ และเริ่มเปิดเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943) เป็นระยะทาง 415 กิโลเมตร เมื่อเปิดทางกองทัพญี่ปุ่นต้องทำพิธีทางศาสนาอุทิศส่วนกุศลให้คนงานที่ตายในการสร้างทางนี้ ญี่ปุ่นคำนวณว่าในการสร้างทางรถไฟสายนี้ ทหารญี่ปุ่นต้องตายประมาณ 10,000 เชลยศึกตายประมาณ 10,000 และพวกกุลีที่จ้างเกณฑ์มาประมาณ 30,000 แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรแถลงว่าญี่ปุ่นคำนวณต่ำมาก สัมพันธมิตรคำนวณจากผู้คนที่สูญหายไปในการนี้ว่า เชลยศึกคงตายประมาณ 12,000 กุลีประมาณ 250,000
โดยทางญี่ปุ่นได้ให้ความหวังแบบคลุมเครือต่อฝ่ายไทยตั้งแต่วันแถลงการณ์ว่า
ในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2485 จึงได้มีการประชุมหารือระหว่างเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย-ญี่ปุ่น ซึ่งมีพันโท ไชย ประทีปะเสน และ พลตรี โมะริยะ เซจิ ผู้แทนกองทัพญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และได้ข้อสรุปว่า กองทัพญี่ปุ่นขอเป็นผู้ครอบครองและดำเนินการใช้ทางรถไฟจนกว่าจะเสร็จสงคราม ส่วนรายละเอียดของการครอบครองภายหลังสงคราม ทางฝ่ายญี่ปุ่นยังไม่ยอมตกลงเป็นที่แน่ชัดจนกว่าสงครามจะเสร็จสิ้น
เมื่อสงครามยุติ ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรก็เข้ามาจัดการกับผู้แพ้ รวมถึง ทรัพย์เชลย ซึ่งนับรวมมี ทางรถไฟสายมรณะ ด้วย
ลอร์ดหลุยส์ เมาต์แบตเทน ผู้บัญชาการสัมพันธมิตรประจำตะวันออกไกล ออกประกาศข้อบังคับใหม่ทันทีหลังสงครามกับการจัดทรัพย์ของพวกญี่ปุ่นเป็น ของกลาง ด้วยข้อตกลง 2 ข้อ โดยผู้แทนรัฐบาลไทยในขณะนั้น พลโท ศ. เสนาณรงค์ถูกเชิญไปลงนามรับทราบ ณ เมืองแคนดี้ ประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 8 กันยายน 1945 (พ.ศ. 2488)
วันที่ 1 มกราคม 2489 และโดยผลแห่งข้อตกลงสมบูรณ์แบบนี้ ไทยต้องถูกบังคับให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่อังกฤษ ใน 4 รัฐมาเลย์ เป็นเงิน 30 ล้านบาท และยังต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่อังกฤษอีกเป็นเงิน 6 ล้านปอนด์ ซึ่งเทียบเป็นเงินไทยในขณะนั้นเท่ากับ 240 ล้านบาท
ภายหลังที่ผู้แทนรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศได้ลงนามในสัญญาสมบูรณ์แบบฉบับดังกล่าวนี้แล้ว รัฐบาลอังกฤษได้แจ้งต่อรัฐบาลไทยว่า ทางรถไฟสายไทย-พม่านั้น ถือว่าเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลอังกฤษ ให้ประเทศไทยดูแลรักษาให้คงสภาพเดิมไว้ก่อน จนกว่ารัฐบาลอังกฤษจะได้พิจารณาดำเนินการอย่างใดต่อไป
รัฐบาลไทยได้พิจารณาเรื่องนี้แล้ว มีความเห็นว่า ควรเปิดการเจรจากับรัฐบาลอังกฤษ เพื่อขอซื้อทางรถไฟสายไทย-พม่าเสียเลยจะเหมาะสมกว่า เพื่อการตัดปัญหาต่างๆ อันจะเกิดขึ้นในภายหน้าลงโดยสิ้นเชิง เพราะถ้าทางรถไฟยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของชาติอื่น โดยยังอยู่ในประเทศไทย ปัญหาต่างๆ จะเกิดขึ้นตามมาไม่เป็นที่สิ้นสุด
แต่ในเวลานั้นรัฐบาลไทยและอังกฤษต่างก็ตกอยู่ในสภาพถังแตกภาย หลังสงครามซ้ำเติมด้วยภาวะเศรษฐกิจตกต่ำฝืดเคืองอย่างหนัก แม้แต่ชาติผู้ชนะอย่างอังกฤษก็ยังต้องการเงินภายนอกมาจุนเจือความเสียหายของตนจากผลลัพธ์ของสงคราม
อังกฤษมีภาระผูกพันต้องชดใช้ความเสียหายให้แก่ประเทศที่ถูกใช้เป็นสมรภูมิจำเป็น (พม่า มลายา และอินโดนีเซีย) จึงหวังจะได้ขายทางรถไฟ ในราคาที่สูงกว่าต้นทุนจริง
ทูตอังกฤษมีหนังสือถึงกระทรวงการต่างประเทศไทยว่า ตามที่ญี่ปุ่นได้ขนวัสดุต่างๆ จาก พม่า มลายา และเนเธอร์แลนด์อิสตอินดีส [อินโดนีเซีย] มาสร้างทางรถไฟสายกาญจนบุรี-พม่า รวมทั้งรถจักรและเครื่องอุปกรณ์ ฯลฯ บัดนี้ทางรัฐบาลอังกฤษจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ 3 ประเทศนั้นๆ จึงจะรื้อขนสิ่งของเหล่านั้นไป
รัฐบาลไทยมีนโยบายจะรักษาสิทธิ์เหนือผืนดินของตนเองที่ทางรถไฟสร้างอยู่ จึงพยามซื้อคืนเสนทางรถไฟคืน โดยการกู้ยืมเงินจากธนาคารโลกเป็นเงิน 37 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการพัฒนาฟื้นฟูประเทศ ซึ่งในแผนแม่บทของรัฐบาลระบุชัดเจนว่าจะนำไปใช้ บรูณาการรถไฟ
ขั้นแรกรัฐบาลอังกฤษได้เสนอขายในราคา 3 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง ฝ่ายไทยขอให้ลดราคาลงมาตามภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้น เดือนกันยายน พ.ศ. 2489 รัฐบาลอังกฤษจึงได้เสนอเรื่องขายทางรถไฟสายไทย-พม่าต่อกระทรวงการต่างประเทศของประเทศไทยอีกครั้ง ในราคารวม 1.5 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง เป็นราคาทางรถไฟ รวมทั้งค่ารางเหล็ก ไม้หมอน รถตู้ รถจักร เครื่องมือในโรงงานและพัสดุ ในสภาพที่เป็นอยู่แต่เดิม รวมทั้งเงินที่จะต้องชำระสำหรับรถจักร รถตู้ และรางรถไฟมลายู และเครื่องจักรที่อยู่ในโรงงานกาญจนบุรี อันเป็นทรัพย์สินของเหมืองแร่บริษัท TAIPING TIN ด้วย
การประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2489 คณะรัฐมนตรีลงมติมอบให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการเจรจาทำความตกลงซื้อทางรถไฟสายไทย-พม่า พร้อมทั้งเครื่องอุปกรณ์และขอให้ต่อราคาลง และให้ได้ผ่อนชำระราคาเป็นเงินบาท
หากราคาที่รัฐบาลไทยเสนอขอซื้อในชั้นหลัง ตรงกับราคาที่รัฐบาลอังกฤษเสนอขายใหม่คือ 1,250,000 ปอนด์ ส่วนการชำระเงินนั้น สำหรับทรัพย์สินของรัฐบาลมลายูและพม่า ฝ่ายไทยต้องชำระเป็นเงินปอนด์สเตอร์ลิง นอกจากนั้นชำระเป็นเงินบาท และให้ผ่อนชำระได้ตามรายการที่ 2 ฝ่ายจะได้เจรจาตกลงกัน
อนึ่ง ทางรถไฟสายไทย-พม่า เมื่อต้นปี 2489 กองทหารอังกฤษได้รื้อทางรถไฟในเขตของประเทศพม่าออก 30 กิโลเมตร และในเขตของประเทศไทยออก 6 กิโลเมตรแล้ว จึงได้เสนอขายทางรถไฟสายนี้ให้กับประเทศไทย
ข้อมูลจาก
ไกรฤกษ์ นานา. ใครเป็นเจ้าของ ทางรถไฟสายมรณะ? ญี่ปุ่นสร้าง ฝรั่งขาย ไทยซื้อ ใน, ศิลปวัฒนธรรม ธันวาคม 2563
เผยแพร่ข้อมูลในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 22 มกราคม 2564 |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46771
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
|
|