RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311239
ทั่วไป:13181795
ทั้งหมด:13493034
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 91, 92, 93 ... 155, 156, 157  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 14/08/2019 9:50 pm    Post subject: Reply with quote

กมธ.แนะประมูลรถไฟฟ้าสายสีเขียวใหม่ หวั่นต่อสัปทานทันทีเอกชนกำไรมากเกิน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: พุธที่ 14 สิงหาคม 2562 เวลา 15:40


โฆษกกมธ.วิสามัญศึกษาขยายสัมปทานรถไฟฟ้า แนะประมูลโครงการสายสีเขียวใหม่ หวั่นต่อสัมปทานทันที เอกชนฟันกำไรมากเกิน

วันนี้ (14ส.ค.) เมื่อเวลา 14.30 น. ที่รัฐสภา นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยนายคริส โปตระนันทน์ ในฐานะโฆษกกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการขยายสัมปทานทางด่วนและรถไฟฟ้า (บีทีเอส) สภาผู้แทนราษฎร แถลงผลการศึกษา เรื่องการขยายสัญญาสัมปทานเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวของบีทีเอส

โดย นายยุทธพงษ์ กล่าวว่า วันนี้กมธ.ได้เชิญนายสมพงษ์ เวียงแก้ว รองปลัดกทม. กรรมการบริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด มาให้ข้อมูล โดยผู้มาชี้แจงได้ให้ข้อมูลว่า รถไฟฟ้าบีทีเอส ในส่วนเส้นทางหลัก คือ ช่วงหมอชิต - อ่อนนุช และช่วงสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ - สะพานตากสิน จะหมดสัมปทานในวันที่ 4 ธ.ค. 2572 ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายส่วนที่ 1 ช่วงสะพานตากสิน - บางหว้า และช่วงอ่อนนุช - แบริ่ง และส่วนที่ 2 ช่วงแบริ่ง - สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต ที่โอนมาจากรถไฟฟ้ามหานคร (รฟม.) ซึ่งสิ้นสุดสัมปทานวันที่ 2 พ.ค. 2585 โดยผู้มาชี้แจง 1.เสนอการจัดเก็บค่าโดยสารตารางเดียวตามระยะทางสูงสุดไม่เกิน 65 บาท และไม่มีค่าแลกเข้าซ้ำซ้อนโดยทันที 2.ภาระค่าใช้จ่าย และเงินลงทุนที่เอกชนสนับสนุนกทม. และ3.มีการแบ่งปันผลประโยชน์ให้กทม. ซึ่งกมธ.ยังไม่มีมติเห็นชอบตามนี้ พร้อมกับมีความเห็นจะทำอย่างไรให้อัตราค่าโดยสารต่ำกว่าราคา 65 บาท

ด้าน นายคริส กล่าวว่า ข้อเสนอของกมธ.อยากให้มีการประมูลโครงการดังกล่าวใหม่ไม่ใช่ต่อสัมปทานให้บีทีเอสทันที เพราะอาจจะทำให้เอกชนได้กำไรมากเกินไปใช่หรือไม่ เพราะผู้มาชี้แจงไม่สามารถให้ข้อมูลรายละเอียดเรื่องการให้ค่าตอบแทนแก่กทม.ได้อย่างชัดเจน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 14/08/2019 9:57 pm    Post subject: Reply with quote

กมธ.ค่าโง่ทางด่วนสร้างความสับสน ชิงพื้นที่สื่อให้ข่าวสวนทาง
เศรษฐกิจ
พุธที่ 14 สิงหาคม 2562

การประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการขยายสัญญาสัมปทานทางด่วน และรถไฟฟ้า (บีทีเอส) ครั้งล่าสุด ก่อให้เกิดความสับสนต่อสาธารณชนอีกครั้งเมื่อ 2 โฆษกกรรมาธิการเปิดแถลงว่าที่ประชุมได้ข้อสรุปว่าไม่เห็นด้วยกับการขยายสัมปทานเดินรถสายสีเขียวให้บีทีเอส ขณะที่รองประธานกรรมาธิการออกมายืนยันว่าเป็นความเข้าใจผิด เพราะที่ประชุมยังไม่มีมติใดๆ ติดตามจากรายงานพิเศษ

การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการขยายสัญญาสัมปทานทางด่วน และรถไฟฟ้า (บีทีเอส) สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีนักการเมืองจากฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลมาร่วมเป็นกรรมาธิการ เพื่อหาทางออกกรณีค่าโง่ทางด่วนและการขยายสัมปทานรถไฟฟ้าบีทีเอส ส่อเค้าความสับสนวุ่นวายตั้งแต่การประชุมนัดแรก เพราะแต่ละพรรคแต่ละฝ่ายอาจมี Agenda กันอยู่ในใจ


ความสับสนครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในการประชุมวันที่ 13 สิงหาคม ซึ่งเป็นวาระการพิจารณาเรื่องศึกษาการขยายสัมปทานเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวของบีทีเอส ซึ่งคณะกรรมาธิการฯได้กำหนดล่วงหน้าว่าจะประชุมติดต่อ 2 วัน คือ วันที่ 13 และ 14 สิงหาคม โดยจะเชิญผู้เกี่ยวข้องแต่ละฝ่าย ทั้งภาครัฐและเอกชนมาให้ข้อมูล




แต่ภายหลังการประชุมวันแรก คริส โปตระนันทน์ โฆษกกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้เปิดแถลงว่าที่ประชุมมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยเชื่อว่าการต่อสัมปทานเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวของบีทีเอส ไม่น่าจะใช่แนวทางที่ถูกต้อง เพราะคณะกรรมการดำเนินการโครงการฯ แต่งตั้งโดยคำสั่งหัวหน้า คสช.ตามมาตรา 44 จึงมีข้อครหาถึงความไม่โปร่งใส รวมถึงไม่เป็นไปตามขั้นตอนของกฏหมาย พร้อมสำทับว่าตัวแทนคณะกรรมการฯ ไม่สามารถชี้แจงให้ที่ประชุมเชื่อได้ว่า การต่อสัมปทานจะมีประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศมากที่สุดอย่างไร

ขณะที่ยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย หนึ่งในโฆษกกรรมาธิการวิสามัญฯ ย้ำว่า ที่ประชุมมีมติไม่ให้บีทีเอสต่อสัมปทานการเดินรถออกไปอีก 40 ปี แบ่งเป็นสัมปทานปัจจุบันที่กำลังจะหมดในปี 2572 หรือ 10 ปี และสัมปทานใหม่อีก 30 ปี เพราะถือเป็นเส้นทางการเดินรถที่เป็นไข่แดง และเป็นส่วนที่ทำเงินให้กับบีทีเอส มากกว่า 5,000 ล้านบาท และเมื่อถึงปี 2572 ทุกอย่างจะต้องกลับคืนมาเป็นของรัฐบาล พร้อมย้ำว่าเรื่องนี้มติเป็นที่แน่ชัดแล้ว โดยจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในภายหลัง

ขณะที่นายแพทย์ระวี มาศฉมาดล หัวหน้าพรรคพลังธรรมใหม่ ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการฯ ยืนยันว่า ที่ประชุมยังไม่ได้ข้อสรุปเรื่องการขยายสัมปทานเดินรถรถไฟฟ้า โดยในการประชุมครั้งนี้เป็นการซักถามข้อสงสัยของกรรมาธิการฯ และในวันที่ 14 สิงหาคม ที่ประชุมจะเชิญผู้แทนภาคเอกชนคือบีทีเอสและกรุงเทพธนาคมมาให้ข้อมูล ก่อนที่จะสรุปผลในสัปดาห์หน้า



นายแพทย์ระวีย้ำว่า สิ่งที่โฆษกกรรมาธิการแถลงว่าเป็นมติที่ประชุม ถือเป็นความเข้าใจผิด โดยกรรมาธิการทุกคนต้องการให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าถูกลง เพื่อให้ผู้มีรายได้น้อยสามารถใช้บริการได้ จึงมีคำถามเกิดขึ้นว่ามีวิธีอื่นอีกหรือไม่ ที่ใม่ใช่การต่ออายุสัมปทานให้เอกชน เช่น กทม.ออกพันธบัตรเงินกู้เพื่อนำเงิน 1 แสนล้านบาทมาจ่ายให้ รฟม.และจ้างบีทีเอสเดินรถจนสิ้นสุดสัปทานเดิมคือปี 2572 เพื่อให้อัตราค่าโดยสารตลอดสายไม่เกิน 65 บาท แต่ถ้ากทม.ไม่มีเงินและให้เอกชนบริหาร ก็ต้องขยายสัมปทานให้เอกชน 30 ปี แต่ต้องเจรจาต่อรองผลประโยชน์ใหม่ เพื่อให้ค่าโดยสารต่ำลงจากปัจจุบัน

เป็นที่น่าสังเกตว่า เหตุใดโฆษกกรรมาธิการฯ ทั้งยุทธพงศ์ จรัสเสถียร และคริส โปตระนันทน์ จึงได้รวบรัดเปิดแถลงข่าวว่าที่ประชุมมีมติกรณีขยายสัมปทานบีทีเอสเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งที่รองประธานกรรมาธิการยืนยันว่าที่ประชุมยังไม่มีข้อสรุปใดๆ และต้องจับตาดูกันว่าการทำหน้าที่ของคณะกรรมาธิการฯ ที่ดูจะไปกันคนละทิศคนละทาง จะได้บทสรุปอย่างไร และบทสรุปที่ว่านั้น จะเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนมากน้อยเพียงใด

"ไม่พลาดทุกข่าวด่วนจาก NationTV กดเป็นเพื่อนกับเราที่นี่"
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 16/08/2019 12:58 pm    Post subject: Reply with quote

ชาวบ้าน “จ๊าก” รับไม่ได้สายสีเขียว 65 บาทตลอดสายแพงเกิ้น!

โดย... พริกกะเหรี่ยง
คอลัมน์ฐานโซไซตี
ออนไลน์เมื่อ 15 สิงหาคม 2562
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,496 หน้า 4 ระหว่างวันที่ 15-17 สิงหาคม 2562

ชาวบ้าน “จ๊าก” รับไม่ได้สายสีเขียว 65 บาทตลอดสายแพงเกิ้น!
จากเทรดวอร์มาเทควอร์ ลามมาถึงสงครามค่าเงิน ทำเอาตลาดเงินตลาดทุนทั่วโลกร้อนไปทุกหย่อมหญ้า ค่าเงินหยวนที่ตกต่ำสุดในรอบ 11 ปี เห็นชัดว่า “มังกรกำลังพ่นไฟ” กระทบทั้งการค้า การลงทุนและท่องเที่ยว เมื่อค่าเงินหยวนอ่อน คนจีนออกเที่ยวเมืองนอกก็ต้องแพงขึ้น เขาก็ต้องประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะนำเงินหยวนออกเที่ยวต่างประเทศก็แลกได้น้อยลงเหลือ 7.4 หยวนต่อดอลลาร์ ก็ต้องใช้เงินมากขึ้น ในการเดินทางแต่ละทริป

เรื่องนี้นายกสมาคมแอตต้า “วิชิต ประกอบโกศล” ถึงกับนั่งไม่ติด เพราะในฐานะที่ทำธุรกิจทัวร์จีนเป็นหลัก จึงออกโรงจี้ให้ “พิพัฒน์ รัชกิจประการ” รมว.การท่องเที่ยวฯ ใช้ยาแรงอัดฉีดท่องเที่ยวต่อเนื่อง ทั้งเสนอฟรีวีซ่าแก่นักท่องเที่ยวจีนและอินเดีย 1 ปี ขยายวีซ่าออนอาร์ไรวัล หรือ VOA ออกไปอีกจากที่จะสิ้นสุดเดือนตุลาคมนี้ เพื่อกระตุ้นท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องก่อนที่จะหดหายไปหมด เพราะเริ่มออกอาการจากที่จีนเคยมาเมืองไทยเดือนละ 1 ล้านคน ก็เหลือราว 8 แสนคน สถานการณ์แบบนี้ไม่น่าไว้วางใจ

ท่องเที่ยวไทยเจอทั้งปัจจัยภายในและภายนอกกระทบหนัก หากไม่ “โด๊ป” ยาแรงไว้ก่อน ห่วงว่าจะกู่ไม่กลับ และยิ่งซ้ำเติมเศรษฐกิจหากนักท่องเที่ยวหาย โดยเฉพาะจีนที่เป็นตลาดหลักเดิมพันปีละ 10 ล้านคน อีกทั้งยังต้องลุ้นอีกว่า มาตรการต่อไป รัฐบาลจีนจะสั่งห้ามไม่ให้คนจีนออกเที่ยวต่างประเทศหรือไม่ หรือมีมาตรการอื่น ๆ ออกมาบังคับทางอ้อม เพราะเริ่มเห็นอาการจากที่ รัฐบาลจีนหันมาส่งเสริมให้คนจีนเดินทางเที่ยวในประเทศจีนด้วยกันเอง ตามโมเดล “เมดอินไชน่า” รวมถึงการขนเงินออกนอกประเทศมาซื้อสินทรัพย์อย่าง คอนโดมิเนียมในเมืองไทยก็จะกระทบตามมาเป็นลูกโซ่

เปิดหวูดไปแล้ว “บีทีเอส” สถานีห้าแยกลาดพร้าว บรรเทาความเดือดร้อนคนกรุงไปได้มาก เพราะแยกนี้ติดสาหัสสากรรจ์มาก แถมยังมีสะพานเชื่อมเข้าห้างเซ็นทรัล ให้เดินชิลๆตัวปลิวไปช็อปปิ้ง ไม่ต้องตากแดด ตากฝน เป็นสีทนได้กันมานาน และคนที่ต้องมารอต่อรถเมล์ แท็กซี่หน้าหมอชิตคงสะดวกขึ้น จากที่ต้องเข้าแถวยาวเหยียดรอรถเมล์ เจอพี่วินโก่งราคา แท็กซี่ใจร้ายปฏิเสธผู้โดยสาร แถมต้องเดินมาครึ่งถนนเสี่ยงตายเรียกรถ คงลดปัญหาเหล่านี้ไปได้แยะและเป็นมานานจนกระทั่งทุกวันนี้ ยังไม่เห็นมีใครเข้ามาแก้ไขจริงจัง

กลับมาส่องที่ขบวนรถ “บีทีเอส” สายสีเขียวส่วนต่อขยาย (หมอชิต-เซ็นทรัล) เปิดเพิ่ม 1 สถานี ให้นั่งฟรียาวไปถึงปลายปี โดยจะวิ่งสลับขบวนระหว่างหมอชิตกับเซ็นทรัล ช่วงเวลาเร่งด่วนตั้งแต่ 7-9 โมงเช้าและ 5 โมงเย็นถึงทุ่ม เฉพาะวันจันทร์-ศุกร์ คือถ้าขบวนไหนหยุดที่หมอชิต ขบวนถัดไปก็ต่อถึงเซ็นทรัล ส่วนนอกเวลาเร่งด่วน วันเสาร์-อาทิตย์ จะให้บริการยาวถึงเซ็นทรัลลาดพร้าว และตามไทม์ไลน์ เดือนธันวาคมนี้จะเปิดบริการเพิ่มอีก 4 สถานี คือสถานีพหลโยธิน 24-รัชโยธิน - เสนานิคม และสถานีม.เกษตรศาสตร์ ยิ่งเป็นข่าวดีของคนกรุง

ส่วนเรื่องค่าโดยสาร บิ๊กกทม. “พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง” ย้ำหลายรอบว่า 65 บาทตลอดสาย คือจะเพิ่มอีกแค่ 6 บาท ปกติจากหมอชิต-อ่อนนุช คิด 44 บาท จากนั้นเป็นส่วนต่อขยายคิด 15 บาท เท่ากับ 59 บาท เป็นราคา ณ ปัจจุบันที่เก็บกันอยู่ โดยราคาใหม่เป็นราคาที่คุยกันมาหลายยกระหว่าง “กทม.” กับ “บีทีเอสซี” คู่สัญญา ที่จะกดให้เพิ่มอีก 6 บาท ซึ่งเท่ากับว่าราคาใหม่จะเคาะกันอยู่ที่เพดานไม่เกิน 65 บาทตลอดทั้งสาย

โดยคิดจากสถานีเคหะ-สมุทรปราการถึงคูคตระยะทาง 60 กิโลเมตร หากใช้อัตราปัจจุบันค่าโดยสารจะอยู่ที่ 150-160 บาท ซึ่งถือแพงมาก ไม่เอื้อแก่คนใช้บริการ จึงหั่นราคาให้ลดลงอย่างน้อย 93 บาท หรือเหลือเพดานแค่ 65 บาท แต่ก็ใช่ว่าถูก!! เพราะถ้าหากเดินทางไป-กลับตกวันละ 130 บาทถือว่ายังแพงมาก ขนาดยังไม่รวมค่าวินมอเตอร์ไซค์ออกมาปากซอย ต่อรถเมล์มาสถานีบีทีเอส สิ้นเดือนจะเหลือเงินในกระเป๋าสักกี่บาท ถ้ากทม. อยากให้คนใช้บริการมากๆ ก็ต้องลดราคาลงมาอีก ถึงจะคุ้มค่ากับงบลงทุนที่สร้าง และฟันธงเลยว่าราคานี้ยังไม่ตอบโจทย์ ยังแพงและแพงมาก

แต่ที่ยัง โอละพ่อ! ก็ค่าโดยสารรถไฟฟ้า 15 บาท ตลอดสาย ไอเดียที่มาจากบิ๊กหูกวางของ “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” แต่ตอนหลังกลับลำออกมาแก้ต่างว่า ไม่ได้พูดคำว่า 15 บาท แค่อยากเห็นราคาต่ำสุด และต้องไม่กระทบเรื่องสัญญาสัมปทาน คงห่วงค่าโง่ที่จะตามมาหลอนในภายหลัง นโยบายนี้ “ศักดิ์สยาม” ระบุว่าเพื่อลดค่าครองชีพประชาชน ซึ่งเว้ากันซื่อๆ ก็หาคะแนนเสียงนั่นแหละ

ผ่านมาหลายวันล่าสุด “บิ๊กตู่” เพิ่งออกมาให้ความเห็น บอกว่าคงเป็นไปไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่ารัฐบาลจะเอาเงินที่ไหนมาอุดหนุน เรียกว่าดับฝันพรรคภูมิใจไทยกันกลางวันแสก ๆ และ “ลุงตู่” ยังบอกอีกว่า ถ้าถูกอย่างนั้นรถโดยสารสาธารณะก็เจ๊งหมด ว่าเข้าไปนั่น แสดงว่าโครงการนี้คงแท้งตั้งแต่ยังไม่ทันทำคลอด
อันที่จริงเรื่องนี้ใช่ว่าจะ “อิมพอสสิเบิล” มีหลายวิธีที่ทำได้ เช่น การเข็นเอาเส้นทางรถไฟฟ้าที่รัฐบาลลงทุนเอง 100% มาดำเนินการ โดยเอาสายที่ว่าจ้างเอกชนที่ BTSC และ BEM มาบริหารการเดินรถ โดยคิดเป็นค่าจ้างบริหาร เช่น สายสีม่วงและสีเขียวส่วนต่อขยาย หรือแอร์พอร์ตลิงค์ มาหั่นราคา ส่วนที่เป็นการให้สัมปทาน คงเข้าไปแตะต้องยาก เพราะอาจจะผิดสัญญาและต้องใช้เงินอุดหนุนมาก ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้

ส่วนราคาไม่จำเป็นต้องตายตัวที่ 15 บาท แต่ต้องหาค่าเฉลี่ยที่ถูกลงและเป็นราคาที่จูงใจชาวบ้าน เช่น โปรฯแรงช่วงสั้นๆ ลด แลก แจก แถม หรือขายพ่วงกับสิทธิผลประโยชน์อื่นๆ ดึงพันธมิตรเข้ามาร่วม ทำกิมมิกทางการตลาด ฯลฯ หรือจะลองใช้มาตรการลดหย่อนทางภาษี ก็น่าทำได้มีหลากหลายวิธีแต่จะใช้วิธีการไหน? ก็ต้องให้ผู้รู้เข้ามาช่วยคิด

แต่ที่อยากให้ตระหนักก็คือ การลดค่าตั๋วรถไฟฟ้า ควรจะมาจากหลักคิด 3 ประการคือ 1.ลดปัญหาจราจร ด้วยการส่งเสริมให้คนมาใช้บริการรถสาธารณะมากขึ้น 2. ลดปัญหามลพิษทางอากาศ PM2.5 และ 3. เพื่อให้การลงทุนสร้างรถไฟฟ้าคุ้มค่ากับงบประมาณที่ใช้ไป ดังนั้นนักการเมืองอย่าคิดแต่จะหาคะแนนเสียงอย่างเดียว และควรให้ผู้รู้จริงมาช่วยคิด ของฟรีไม่มีในโลก ของถูกและดีก็ไม่มีเช่นกัน เอาแบบเดินสายกลาง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 19/08/2019 1:12 am    Post subject: Reply with quote

เปิดศึกต่ออายุสัมปทาน BTS ยกสอง สุดท้าย “ประชาชน” หรือ “ใคร” ได้ประโยชน์กันแน่?
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 17 สิงหาคม 2562 06:03



ผู้จัดการสุดสัปดาห์ - ทำไปทำมาไม่รู้ว่า สุดท้ายแล้วการเจรจาต้าอ่วยระหว่าง “บีทีเอส-กรุงเทพมหานครและการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)” ในประเด็นเงื่อนไขยอมรับเงื่อนไขอุ้มหนี้แสนล้านแลกกับการยึดสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งระบบจะเดินไปในทิศทางใด และจะมี “การเปลี่ยนแปลง” หรือไม่

เพราะอยู่ๆ ก็เกิดปัญหาแทรกซ้อน เมื่อ มีอันต้อง “สะดุด” เมื่อ“คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการขยายสัญญาสัมปทานทางด่วนและรถไฟฟ้า (บีทีเอส) สภาผู้แทนราษฎร” มีมติไม่เห็นด้วยกับเงื่อนไขดังกล่าว

ทั้งนี้ กมธ.ชุดดังกล่าวมีมติออกมาเมื่อวันที่ 13 ส.ค.2562 หลังจากเชิญ นายสมพงษ์ เวียงแก้ว รองปลัดกรุงเทพมหานคร ตัวแทนปลัดกทม. ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว มาให้ข้อมูล

นายคริส โปตระนันทน์ โฆษกกรรมาธิการวิสามัญฯ แถลงภายหลังการประชุม ว่าที่ประชุมได้มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า การต่อสัมปทานการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวของบีทีเอส ไม่น่าจะใช่แนวทางที่ถูกต้อง เพราะ 1.คณะกรรมการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่มีปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานนั้น เกิดจากคำสั่งหัวหน้าคสช.ตามมาตรา 44 ซึ่งมีข้อยกเว้น พ.ร.บ.การร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน จึงมีข้อครหาว่าจะเกิดความไม่โปร่งใส รวมถึงไม่ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย

และ 2.ทางตัวแทนคณะกรรมการฯ ไม่สามารถชี้แจงให้กมธ.เชื่อได้ว่าการต่อสัมปทานจะมีประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศมากที่สุดอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการโอนหนี้ของรฟม.ที่จะโอนมาให้เป็นของกทม. หรือการกำหนดราคาค่าโดยสารให้เป็นธรรม หลังจากการต่อสัมปทานออกไป ซึ่งทางกมธ.เห็นว่าไม่ได้เป็นเหตุผลที่ทำให้ประชาชนได้ใช้รถไฟฟ้าในราคาที่ถูกลง และไม่ได้ก่อให้เกิดสิ่งที่มาตรา 44 ต้องการ คือเป็นโครงข่ายเดียวกันของรถไฟฟ้าทั้งระบบ

นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย โฆษกกรรมาธิการวิสามัญฯ ขยายความเพิ่มเติมว่า กมธ.มีมติไม่เห็นชอบให้ต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวกับบริษัทบีทีเอส กรุ๊ปโฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ที่จะหมดสัญญาลงในปี 2572 ต่อไปอีก 30 ปี ซึ่งเป็นเส้นทางการเดินรถที่เป็นไข่แดง และเป็นส่วนที่ทำเงินให้กับบีทีเอส มากกว่า 5,000 ล้านบาท

มติของ กมธ.บอกว่า เมื่อถึงปี 2572 ทุกอย่างจะต้องกลับคืนมาเป็นของรัฐบาล และต่อไปจะมีผู้เดินรถทั้งใต้ดินและลอยฟ้าเพียงเจ้าเดียว ซึ่งรัฐบาล โดยรฟม. เป็นผู้ดำเนินการ จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากกว่า กำไรจะกลับมาเป็นของรัฐบาล ซึ่งจะสามารถนำส่วนนี้มาเป็นส่วนลดให้กับค่าโดยสารของประชาชนได้เพราะถ้าให้เอกชนทำ ไม่มีทางที่เอกชนจะลดค่าโดยสารลง ทั้งนี้ กมธ.จะนำข้อสรุปที่ได้จัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมสภาก่อนส่งไปยังรัฐบาลต่อไป

ขณะที่ข้อเสนอของบีทีเอสต่อ กมธ.สรุปทั้งหมด 4 ข้อ คือ 1.จัดเก็บค่าโดยสารตามระยะทางสูงสุดไม่เกิน 65 บาท 2.ขอต่ออายุสัมปทานไปอีก 30 ปี จากสัญญาสัมปทานที่จะหมดลงในปี 2572 ให้ไปสิ้นสุดในปี 2602 โดยทางบริษัทจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด 3.จะมีการหักค่าใช้จ่ายเพื่อมอบให้กรุงเทพมหานครตั้งแต่ปี 2573 จนถึงสิ้นสุดอายุสัญญาร่วมทุน และ 4.บริษัทจะแบ่งรายได้ให้กรุงเทพมหานคร หากมีผลตอบแทนสูงมากพอ แต่ยังไม่ได้ระบุชัดเจนว่าจะแบ่งอย่างไรนั้น ถูกตีตกตามที่ กมธ.แถลงมติข้างต้น เพราะ กมธ.ไม่เชื่อว่ารัฐและประชาชนจะได้ประโยชน์อย่างที่บีทีเอสกล่าวอ้าง ยิ่งข้อเสนอสุดท้ายยิ่งเป็นเรื่องที่ใครดูก็รู้ว่าเลื่อนลอยเสียเต็มประดา

คำถามก็คือ มติของ กมธ.จะมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเช่นนั้นหรือ หรือเป็นแค่ “เกม” อะไรบางเท่านั้น

แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม กว่าจะสิ้นสุดสัมปทานในปี 2572 บีทีเอส ยังจะอู้ฟู่ไปได้อีกนานนับสิบๆ ปี ดูผลประกอบการของกลุ่มบีทีเอส ไตรมาสแรกของปี 2562 พุ่งขึ้นกว่าร้อยเปอร์เซ็นต์กันเลยทีเดียว

นายกวิน กาญจนพาสน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทบีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือBTS Group เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานในไตรมาส 1 ปี 2562/63 (งวดเดือนเม.ย. - มิ.ย. 2562) เป็นที่น่าพึงพอใจและเติบโตทะลุเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้ โดยมีรายได้รวมจากการดำเนินงานสูงถึง 9,086 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5,996 ล้านบาท หรือ 194% จากปีก่อนหน้า และมีกำไรสุทธิจากรายการที่เกิดขึ้นเป็นประจำ จำนวน 1,006 ล้านบาท เติบโตถึง 534 ล้านบาท หรือ 113%

ทั้งนี้ รายได้ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการรับรู้รายได้ค่าก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสีเหลือง จำนวน 4,335 ล้านบาท รวมถึงการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการให้บริการติดตั้งงานระบบและจัดหารถไฟฟ้าภายใต้สัญญาสัมปทานสำหรับโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวใต้และเหนือ โดยเพิ่มขึ้น 444 ล้านบาท หรือ 48% จากปีก่อน เป็น 1,370 ล้านบาท รวมทั้งการเปิดให้บริการโครงการส่วนต่อขยายสายสีเขียวใต้ (แบริ่ง - เคหะฯ) ทั้งสายตั้งแต่เดือนธันวาคม 2561ส่งผลให้รายได้จากการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง เติบโตขึ้น 84% หรือ 378 ล้านบาทจากปีก่อน เป็น 830 ล้านบาท

กล่าวสำหรับปมปัญหา 3 เส้า ระหว่างบีทีเอสกรุ๊ป กทม. และ รฟม. ในสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งระบบ ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ใช้อำนาจหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตามมาตรา 44 รัฐธรรมนูญฯ ชั่วคราว 2557 ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อแก้ปัญหา และมีการเจรจากันมาเป็นระยะๆ

การเจรจาที่มีข้อตกลงชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ เมื่อประมาณต้นเดือนก.ค.ที่ผ่านมา ตามที่ นายมานิต เตชอภิโชค กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด บริษัทลูกของ กทม.ให้สัมภาษณ์สื่อ ระบุว่า การเจรจาสัมปทานเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว ตามมาตรา 44 กับบีทีเอส คาดจะจบภายใน 2 เดือนนี้ โดยสัมปทานใหม่อายุ 30 ปี จะเริ่มต้นปี 2573 ครอบคลุม 3 ส่วน คือ 1.เส้นทางสายหลักช่วงหมอชิต-อ่อนนุช และสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน ซึ่งเป็นสัมปทานเดิมที่จะหมดสัญญาในปี 2572

2.ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง และสะพานตากสิน-บางหว้า ซึ่ง กทม. ลงทุนก่อสร้างงานโยธาและระบบเอง และจ้างบีทีเอส เดินรถจะหมดสัญญาในปี 2585 และ 3.สายสีเขียวส่วนต่อขยาย สายเหนือ (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) และสายใต้ (แบริ่ง-สมุทรปราการ) ซึ่ง รฟม. เป็นผู้ลงทุนก่อสร้างงานโยธาและวางราง และโอนหนี้ให้ กทม. บวกค่าดอกเบี้ยประมาณ 1 แสนล้านบาท ซึ่งบีทีเอสต้องชำระแทน กทม.



ส่วนนโยบายควบคุมค่าโดยสารของรถไฟฟ้าบีทีเอสตลอดสายไม่เกิน 65 บาท นายมานิต บอกชัดว่า ภาครัฐต้องอุดหนุนเอกชน ซึ่งโมเดลช่วงปี 2562-2572 จะนำรายได้ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง และสะพานตากสิน-บางหว้า ที่ กทม. เก็บค่าโดยสารเอง มีกระแสเงินสดปีละหลายพันล้านบาทมาอุดหนุน ส่วนปี 2573-2602 ค่าโดยสารจะปรับตามอัตราเงินเฟ้อและต้นทุนที่เพิ่ม ซึ่ง กทม. จะหาโมเดลในการอุดหนุนเพื่อไม่ให้ค่าโดยสารสูงเกินไป เช่น นำรายได้จากค่าธรรมเนียมหรือภาษีโรงเรือนที่เก็บได้มากขึ้นในที่ดินที่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้า

ขณะเดียวกัน นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บีทีเอส กล่าวว่า กทม.จะโอนภาระหนี้ค่าก่อสร้างมาที่บีทีเอส และกำหนดค่าโดยสารตลอดสายไม่เกิน 65 บาท ซึ่งทำยาก หากรัฐไม่อุดหนุน ซึ่งการอุดหนุนมีหลายวิธีซึ่งต้องเจรจาแนวทางที่เหมาะสม

แบไต๋กันให้เห็นมาตลอดว่าบีทีเอสรับหนี้แสนล้านแลกสัมปทานเดินรถไฟฟ้าสีเขียวทั้งระบบเป็นดีลที่คุ้มแสนคุ้ม โดยเฉพาะในส่วนค่าโดยสารที่ว่าจะคุมให้ไม่เกิน 65 บาท นั้น ก็รู้ๆ กันว่าอยู่บนเงื่อนไขที่ว่ารัฐต้องอุดหนุนค่าส่วนต่าง ซึ่งตามผลศึกษาระบุค่าโดยสารสูงสุดอยู่ที่ 144 บาท

ดังนั้น จึงต้องติดตามกันต่อไปว่า สุดท้ายแล้วเรื่องทั้งหมดจะลงเอยอย่างไร “กำลังภายใน” ของแต่ละฝ่ายเป็นอย่างไร แต่เหนือสิ่งอื่นใด ผลประโยชน์ของประชาชน เป็นเรื่องสำคัญที่สุดที่ต้องปกป้อง
URL
2,571
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 19/08/2019 9:26 pm    Post subject: Reply with quote


แพงไหมถามใจเธอดู...ค่าโดยสาร BTS ควรจะราคาเท่าไหร่ ?

พูดคุยกับ ดร.สุรเชษฐ์ ประวีณวงษ์วุฒิ : ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านคมนาคม

หาคำตอบไปกับเรา อะไรคือสาเหตุ และจะแก้ไขอย่างไร ?
https://www.youtube.com/watch?v=47b-v9mt-J4
https://www.facebook.com/Feedforfuture/posts/2397329363678513
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 28/08/2019 11:29 am    Post subject: Reply with quote

“บีทีเอส” เดินหน้าไม่หยุดเสริมรถไฟฟ้าใหม่เข้าสู่ระบบ79ขบวน ทะลวงคอขวดสะพานตากสิน
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 28 สิงหาคม 2562 เวลา 11:07 น.

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)หรือ BTSC เปิดเผยว่า ตั้งแต่เปิดให้บริการครั้งแรกในปี 2542 บีทีเอสเพิ่มจำนวนขบวนรถไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดรถไฟฟ้าขบวนใหม่ที่บีทีเอสได้สั่งซื้อล็อตใหญ่รวม 46 ขบวนเมื่อปี 2559 ขณะนี้ทยอยรับมอบเข้ามาแล้ว 27 ขบวน ทำให้ปัจจุบันเดือนสิงหาคม 2562 บีทีเอสมีขบวนรถในระบบรวมแล้วทั้งสิ้น 79 ขบวน เพิ่มขึ้นจาก 52 ขบวน ในปีที่ผ่านมาก่อนเริ่มทยอยรับมอบ

เมื่อรับมอบรถไฟฟ้าขบวนใหม่ครบถ้วนภายในปี 2563 แล้ว จะทำให้บีทีเอสมีรถไฟฟ้าออกให้บริการมากถึง 98 ขบวน เป็นความสะดวกสบายที่บีทีเอสตั้งใจมอบให้กับผู้โดยสารและประชาชนทุกคน


​“ในปี 2542 ที่เปิดให้บริการครั้งแรก บีทีเอสมีขบวนรถให้บริการ 35 ขบวน และได้สั่งซื้อขบวนรถเพิ่มอย่างต่อเนื่อง 3 ครั้ง รวม 4 ล็อต โดยสั่งซื้อเพิ่มครั้งแรกในปี 2548 จำนวน 12 ขบวน ครั้งที่สอง ในปี 2554 จำนวน 5 ขบวน และครั้งที่สาม ในปี 2559 จำนวน 46 ขบวน นอกจากเพิ่มจำนวนขบวนรถ บีทีเอสยังเพิ่มตู้โดยสารขบวนรถจาก 3 ตู้โดยสารต่อขบวน เมื่อเริ่มให้บริการในปี 2542 เพิ่มมาเป็น 4 ตู้โดยสารต่อขบวน และเมื่อมีขบวนรถครบถ้วน 98 ขบวน จะมีตู้โดยสาร 392 ตู้ เพิ่มจาก 35 ขบวน 105 ตู้โดยสาร เมื่อเริ่มให้บริการ”



​นายสุรพงษ์กล่าวเพิ่มเติมว่า จำนวนรถไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้น จะช่วยให้การเดินรถมีความถี่สูงสุดได้ในชั่วโมงเร่งด่วน แม้จะมีการขยายเส้นทาง และจำนวนสถานีที่ให้บริการเพิ่มขึ้น โดยปัจจุบันบีทีเอสให้บริการรวม 44 สถานี ทั้งในสายสีลมและสายสุขุมวิท มีความถี่การเดินรถสูงสุดในชั่วโมงเร่งด่วน เช้าและเย็น ในสายสุขุมวิท (สถานีห้าแยกลาดพร้าว – สถานีสำโรง) ที่ 2.40 นาทีต่อขบวน และในสายสีลม 3.45 นาทีต่อขบวน

​“สายสีลมมีข้อจำกัด ช่วงคอขวดสถานีสะพานตากสินเป็นทางเดี่ยว ขบวนรถไฟฟ้าวิ่งได้ทีละขบวน วิ่งสวนกันไม่ได้ จึงต้องจอดคอยเพื่อสลับกันวิ่ง สายสีลมจึงไม่อาจทำความถี่สูงสุดได้มากเท่าสายสุขุมวิท ขณะนี้บีทีเอสอยู่ระหว่างการขออนุมัติใช้พื้นที่ เพื่อปรับปรุงขยายสถานีให้รถไฟฟ้าวิ่งสวนกันได้จากกรมทางหลวงชนบท หน่วยงานเจ้าของพื้นที่ รวมทั้งได้จัดทำและเสนอรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อขอดำเนินการปรับปรุงขยายสถานีดังกล่าวต่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยแล้ว หากดำเนินการแล้วเสร็จจะทำให้ความถี่ในสายสีลมเพิ่มมากขึ้น เป็นความสะดวกสบายแก่ประชาชนที่มากขึ้น”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 28/08/2019 4:53 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“บีทีเอส” เดินหน้าไม่หยุดเสริมรถไฟฟ้าใหม่เข้าสู่ระบบ79ขบวน ทะลวงคอขวดสะพานตากสิน
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 28 สิงหาคม 2562 เวลา 11:07 น.

“บีทีเอส” เดินหน้าไม่หยุดยั้ง เผยความคืบหน้ารับมอบขบวนรถไฟฟ้าใหม่เข้าสู่ระบบแล้ว 27 ขบวน จากที่สั่งซื้อล็อตใหญ่ 46 ขบวนเมื่อปี 2559 ชี้หากรับมอบแล้วเสร็จในปี 2563 จะทำให้มีขบวนรถมากถึง 98 ขบวน

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตั้งแต่เปิดให้บริการครั้งแรกในปี 2542 บีทีเอสเพิ่มจำนวนขบวนรถไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดรถไฟฟ้าขบวนใหม่ที่บีทีเอสได้สั่งซื้อล็อตใหญ่รวม 46 ขบวนเมื่อปี 2559 ขณะนี้ทยอยรับมอบเข้ามาแล้ว 27 ขบวน ทำให้ปัจจุบัน (สิงหาคม 2562) บีทีเอสมีขบวนรถในระบบรวมแล้วทั้งสิ้น 79 ขบวน เพิ่มขึ้นจาก 52 ขบวน ในปีที่ผ่านมาก่อนเริ่มทยอยรับมอบ

ทั้งนี้ เมื่อรับมอบรถไฟฟ้าขบวนใหม่ครบถ้วนภายในปี 2563 แล้ว จะทำให้บีทีเอสมีรถไฟฟ้าออกให้บริการมากถึง 98 ขบวน เป็นความสะดวกสบาย ที่บีทีเอสตั้งใจมอบให้กับผู้โดยสารและประชาชนทุกคน

​“ในปี 2542 ที่เปิดให้บริการครั้งแรก บีทีเอสมีขบวนรถให้บริการ 35 ขบวน และได้สั่งซื้อขบวนรถเพิ่มอย่างต่อเนื่อง 3 ครั้ง รวม 4 ล็อต โดยสั่งซื้อเพิ่มครั้งแรกในปี 2548 จำนวน 12 ขบวน ครั้งที่สอง ในปี 2554 จำนวน 5 ขบวน และครั้งที่สาม ในปี 2559 จำนวน 46 ขบวน นอกจากเพิ่มจำนวนขบวนรถ บีทีเอสยังเพิ่มตู้โดยสารขบวนรถจาก 3 ตู้โดยสารต่อขบวน เมื่อเริ่มให้บริการในปี 2542 เพิ่มมาเป็น 4 ตู้โดยสารต่อขบวน และเมื่อมีขบวนรถครบถ้วน 98 ขบวน จะมีตู้โดยสาร 392 ตู้ เพิ่มจาก 35 ขบวน 105 ตู้โดยสาร เมื่อเริ่มให้บริการ”

​นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า จำนวนรถไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้น จะช่วยให้การเดินรถมีความถี่สูงสุดได้ในชั่วโมงเร่งด่วน แม้จะมีการขยายเส้นทาง และจำนวนสถานีที่ให้บริการเพิ่มขึ้น โดยปัจจุบัน บีทีเอสให้บริการรวม 44 สถานี ทั้งในสายสีลมและสายสุขุมวิท มีความถี่การเดินรถสูงสุดในชั่วโมงเร่งด่วน เช้าและเย็น ในสายสุขุมวิท (สถานีห้าแยกลาดพร้าว - สถานีสำโรง) ที่ 2.40 นาทีต่อขบวน และในสายสีลม 3.45 นาทีต่อขบวน

​“สายสีลมมีข้อจำกัด ช่วงคอขวดสถานีสะพานตากสินเป็นทางเดี่ยว ขบวนรถไฟฟ้าวิ่งได้ทีละขบวน วิ่งสวนกันไม่ได้ จึงต้องจอดคอยเพื่อสลับกันวิ่ง สายสีลมจึงไม่อาจทำความถี่สูงสุดได้มากเท่าสายสุขุมวิท ขณะนี้ บีทีเอสอยู่ระหว่างการขออนุมัติใช้พื้นที่ เพื่อปรับปรุงขยายสถานีให้รถไฟฟ้าวิ่งสวนกันได้จากกรมทางหลวงชนบท หน่วยงานเจ้าของพื้นที่ รวมทั้งได้จัดทำและเสนอรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อขอดำเนินการปรับปรุงขยายสถานีดังกล่าวต่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยแล้ว หากดำเนินการแล้วเสร็จจะทำให้ความถี่ในสายสีลมเพิ่มมากขึ้น เป็นความสะดวกสบายแก่ประชาชนที่มากขึ้น”
https://www.facebook.com/BTSSkyTrain/photos/a.951607348218214/2472599029452364/?type=3
https://www.bltbangkok.com/News/BTS-ขบวนรถ-รถไฟฟ้าแบบใหม่-สถานีสะพานตากสิน-รางคู่-รางเดี่ยว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 29/08/2019 9:55 am    Post subject: Reply with quote

ถก BTS ลดค่าโดยสาร 15 บาท ช่วง non-peak
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 29 สิงหาคม 2562 เวลา 08:40 น.

ใกล้เป็นจริง - นโยบายลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า 15 บาทตลอดสาย ล่าสุดกรมการขนส่งทางรางเตรียมเสนอแนวทาง ให้นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมพิจารณา เริ่มที่สายสีม่วงและแอร์พอร์ตลิงก์ก่อน
“กรมราง” ชง “ศักดิ์สยาม” เคาะสูตรลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า 15 บาทตลอดสาย นำร่อง “สายสีม่วง-แอร์พอร์ตลิงก์” เจรจา BTS ลดเป็นช่วงเวลา ให้ รฟม.คุย BEM ทำโปรโมชั่นตั๋วรายเดือน สั่งลด 10% ค่ามอเตอร์เวย์-ทางด่วน จูงใจคนใช้บัตร M-Pass และ Easy Pass

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ในเร็ว ๆ นี้จะเสนอความคืบหน้าแนวทางการปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าให้นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมพิจารณา หลังจากได้ทำรายละเอียดเบื้องต้นจนได้ข้อสรุปว่า โครงการที่สามารถปรับลดราคาเป็น 15 บาทตลอดสายได้ตามนโยบายและดำเนินการได้ทันที คือ โครงการที่มีรัฐเป็นเจ้าของสัมปทาน ได้แก่ ระบบรถไฟฟ้าสายสีม่วง (คลองบางไผ่-เตาปูน) ที่มีการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นเจ้าของสัมปทาน และระบบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (พญาไท-สุวรรณภูมิ) ที่มีการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นเจ้าของสัมปทาน คาดการณ์ว่าเมื่อปรับราคาลดลงจะมีผู้โดยสารใช้บริการรถไฟฟ้าทั้ง 2 ระบบ เพิ่มขึ้น 10%


ส่วนระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่มี บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) เป็นผู้รับสัมปทานจะประสานกับ รฟม.สั่งการให้เอกชนนำตั๋วรายเดือนที่ยกเลิกไปก่อนหน้านี้กลับมาให้บริการอีกครั้ง เนื่องจากมีประชาชนเรียกร้องเข้ามาจำนวนมาก และเป็นแนวทางที่ดีที่สุดของการทำให้ราคาค่าโดยสารถูกลง

สำหรับระบบรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่มี บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) เป็นผู้รับสัมปทาน จะใช้วิธีขอลดค่าโดยสารเฉพาะช่วงที่มีผู้โดยสารน้อย (off-peak) คือช่วงเช้าหลัง 10.00-16.00 น. และช่วงค่ำหลัง 21.00 น.ถึงปิดให้บริการ เช่น จากอัตราปัจจุบัน 16-44 บาท ปรับลงมาเหลือ 15-20 หรือ 25 บาทแล้วแต่ความเหมาะสม ซึ่งแนวทางนี้จะใช้กับระบบรถไฟฟ้าระบบอื่นด้วย แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวยังอยู่ระหว่างการหารือของคณะกรรมการตามคำสั่ง มาตรา 44 จึงต้องรอให้มีการสรุปเรื่องสัมปทานให้เรียบร้อยก่อน

“ยอมรับว่า มาตรการต่าง ๆ ที่กล่าวมาทั้งหมด รัฐจะต้องใช้เงินในการสนับสนุนเป็นจำนวนมากที่จะทำให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าถูกลงได้ แนวทางในขณะนี้มีการเสนอให้นำเงินจากกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน (กปถ.) มีอยู่ประมาณ 13,000 ล้านบาท เป็นรายได้ส่วนใหญ่ที่มาจากการประมูลเลขทะเบียนรถสวยมาดำเนินการ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม”

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า นโยบายการลดค่าครองชีพของประชาชน ได้ขอให้หน่วยงานไปพิจารณาหาแนวทางทั้งรถไฟฟ้า ค่าทางด่วน มอเตอร์เวย์ โทลล์เวย์ โดยไม่มีผลกระทบต่อสัญญาและงบประมาณภาครัฐและรายงานตนใน 1 เดือน ทั้งนี้ ในส่วนของกรมทางหลวง (ทล.) ได้ขอให้มีโปรโมชั่นลดค่าผ่านทางสำหรับผู้ใช้บัตร M-PASS 10% ทุกด่าน อยู่ระหว่างการหารือคณะกรรมการกฤษฎีกาว่าสามารถให้ส่วนลดค่าผ่านทางมอเตอร์เวย์ได้หรือไม่ หากทำได้ก็ให้เร่งทำทันที แต่หากทำไม่ได้จะพิจารณาแก้ไข พ.ร.บ.การกำหนดค่าธรรมเนียมบนทางหลวงต่อไป ซึ่งเรื่องนี้หากทำได้เร็วจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน

ส่วนการลดค่าทางด่วนให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ขอความร่วมมือกับเอกชนผู้รับสัมปทาน เนื่องจากจะช่วยลดปัญหารถติดหน้าด่าน และจะจูงใจคนใช้บัตร Easy Pass เพิ่ม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 29/08/2019 10:59 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Wisarut wrote:
“บีทีเอส” เดินหน้าไม่หยุดเสริมรถไฟฟ้าใหม่เข้าสู่ระบบ79ขบวน ทะลวงคอขวดสะพานตากสิน
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 28 สิงหาคม 2562 เวลา 11:07 น.

“บีทีเอส” เดินหน้าไม่หยุดยั้ง เผยความคืบหน้ารับมอบขบวนรถไฟฟ้าใหม่เข้าสู่ระบบแล้ว 27 ขบวน จากที่สั่งซื้อล็อตใหญ่ 46 ขบวนเมื่อปี 2559 ชี้หากรับมอบแล้วเสร็จในปี 2563 จะทำให้มีขบวนรถมากถึง 98 ขบวน

https://www.facebook.com/BTSSkyTrain/photos/a.951607348218214/2472599029452364/?type=3
https://www.bltbangkok.com/News/BTS-ขบวนรถ-รถไฟฟ้าแบบใหม่-สถานีสะพานตากสิน-รางคู่-รางเดี่ยว



บีทีเอสวิ่งฉิวรถใหม่พรึ่บ!!
พฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม 2562 เวลา 07.14 น.

บีทีเอส เพิ่มขบวนรถไฟฟ้าใหม่อย่างต่อเนื่อง ส.ค.นี้ มีขบวนรถรวม 79 ขบวน เผยภายในปี 63 จะมีขบวนรถเพิ่มเป็น 98 ขบวน ชี้ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้ผู้โดยสาร ความถี่การเดินรถรวดเร็วขึ้น

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส เปิดเผยว่า ตั้งแต่เปิดให้บริการปี 42 บีทีเอสเพิ่มจำนวนขบวนรถไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดรถไฟฟ้าขบวนใหม่ที่บีทีเอสได้สั่งซื้อล็อตใหญ่ 46 ขบวนเมื่อปี 59 ขณะนี้ทยอยรับมอบแล้ว 27 ขบวน ทำให้เดือน ส.ค.62 มีขบวนรถในระบบรวม 79 ขบวน เพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีอยู่ 52 ขบวน ทั้งนี้เมื่อรับมอบรถไฟฟ้าขบวนใหม่ครบถ้วนภายในปี 63 จะทำให้บีทีเอสมีรถไฟฟ้าออกให้บริการมากถึง 98 ขบวน เป็นความสะดวกสบายที่บีทีเอสตั้งใจมอบให้กับผู้โดยสารทุกคน

นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า จำนวนรถไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้น จะช่วยให้การเดินรถมีความถี่สูงสุดได้ในชั่วโมงเร่งด่วน แม้จะมีการขยายเส้นทาง และจำนวนสถานีที่ให้บริการเพิ่มขึ้น ปัจจุบันบีทีเอสให้บริการรวม 44 สถานี ทั้งในสายสีลมและสายสุขุมวิท มีความถี่การเดินรถสูงสุดในชั่วโมงเร่งด่วน เช้าและเย็น ในสายสุขุมวิท (สถานีห้าแยกลาดพร้าว - สถานีสำโรง) ที่ 2.40 นาทีต่อขบวน และในสายสีลม 3.45 นาทีต่อขบวน ทั้งนี้สายสีลมมีข้อจำกัด ช่วงคอขวดสถานีสะพานตากสินเป็นทางเดี่ยว ขบวนรถไฟฟ้าวิ่งได้ทีละขบวน วิ่งสวนกันไม่ได้ จึงต้องจอดคอยเพื่อสลับกันวิ่ง สายสีลมจึงไม่อาจทำความถี่สูงสุดได้มากเท่าสายสุขุมวิท


นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า บีทีเอสอยู่ระหว่างขออนุมัติใช้พื้นที่ เพื่อปรับปรุงขยายสถานีให้รถไฟฟ้าวิ่งสวนกันได้จากกรมทางหลวงชนบท(ทช.) หน่วยงานเจ้าของพื้นที่ รวมทั้งได้จัดทำและเสนอรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เพื่อขอดำเนินการปรับปรุงขยายสถานีดังกล่าวต่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยแล้ว หากดำเนินการแล้วเสร็จจะทำให้ความถี่ในสายสีลมเพิ่มมากขึ้น ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ประชาชน.
 
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 02/09/2019 12:38 am    Post subject: Reply with quote

ส่องอนาคตธุรกิจ“บีทีเอส” เป็นมากกว่าสาธารณูปโภค
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน 2562 เวลา 21:21




"บีทีเอส" กับการปรับเปลี่ยนสู่บริษัทสาธารณูปโภค ผ่านรูปแบบ “โฮลดิ้ง คอมปานี” หลังเดินงานประมูลโครงสร้างพื้นฐานรัฐ ผ่านกิจการร่วมค้าอย่างต่อเนื่อง ขณะที่อีกด้านรุกไม่หยุดกับธุรกิจสื่อโฆษณา,อสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจบริการ หลังสัดส่วนรายได้เดินรถไฟฟ้าเป็นแค่หนึ่งองค์ประกอบ หลายฝ่ายคาดผลักดันผลประกอบการ และราคาหุ้นขยับต่อเนื่อง

ต้องยอมรับว่า ช่วงที่ผ่านมาความแรงของ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ (BTS) ไม่มีอะไรฉุดอยู่จริงๆ ทำให้ปัจจุบันหุ้น BTS กลายเป็นอีกหนึ่งหุ้นขวัญใจนักลงทุน ที่อยากมีไว้ในพอร์ต ขณะเดียวกันจากแผนธุรกิจที่หลากหลายมากขึ้น ไม่หยุดอยู่เพียงแค่ธุรกิจรถไฟฟ้า เมื่อบริษัทตัดสินใจลงทุนในธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจรถไฟฟ้าซึ่งถือเป็นรายได้หลักของบริษัท ทำให้หลายฝ่ายมองว่า BTS กำลังส่งสัญญาณการเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งเพื่อขยับองค์กรให้มีความยิ่งใหญ่มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ให้เหมือนกับชื่อของบริษัทที่ลงท้ายว่า “โฮลดิ้งส์” อย่างแท้จริง

ในช่วงปี 2561 ข้อมูลของบริษัทระบุว่ากว่า 41% ของรายได้หลักมาจาก ธุรกิจการจัดหารถไฟฟ้าขบวนใหม่และติดตั้งระบบเพื่อจะรองรับเส้นทางส่วนต่อขยาย ถัดมาสัดส่วน 16% มาจากธุรกิจโฆษณาบนระบบขนส่งมวลชน ตั้งแต่ป้ายโฆษณาบนสถานี สติกเกอร์หุ้มขบวน และทีวีในรถไฟฟ้า และอีก 13% มาจากการให้บริการเดินรถไฟฟ้า

นอกจากนี้ อีก 7% มาจากธุรกิจโฆษณากลางแจ้ง อาทิ โฆษณาบนบิลบอร์ดและจอแอลซีดีกลางแจ้ง ถัดมาคือกำไรจากกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน BTSGIF ในสัดส่วน 7% รวมถึงยังมีรายได้จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์และอื่นๆ 4% สุดท้ายอีก 12% เป็นรายได้จากธุรกิจอื่นๆ ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวบ่งชี้ว่า รายได้ที่ไหลเข้าสู่BTS มาจากหลากหลายธุรกิจไม่ใช่รถไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว อย่างที่หลายต่อหลายคนเข้าใจ

สิ่งเหล่านี้ สะท้อนมาจาก การลงทุนของ BTS ที่แตกไลน์ไปอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อาทิ การร่วมมือกับ เครือสหพัฒฯเปิดร้านสะดวกซื้อ “ลอว์สัน (Lawson)” บนสถานีรถไฟฟ้าซึ่งมีแผนที่จะเปิดให้บริการบนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสทั้งหมด 30 สถานี หรือการลงทุนจัดตั้งบริษัทย่อยเพื่อดำเนินธุรกิจร้านอาหารเป็นต้น

รวมถึง การทุ่มเม็ดเงินลงทุนด้านธุรกิจโฆษณาแบบหลากหลายในช่องท่างต่างๆ อาทิ การใช้เงิน 5.9 พันล้านบาท ซื้อหุ้น 23% ของ ในบริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (Kerry Express) ซึ่งมีการมีการขนส่งสินค้าและพัสดุกว่า 1.2 ล้านชิ้น/วัน , การซึ้อหุ้นของบริษัท ทรานส์.แอด โซลูชั่น จำกัด (Trans.Ad) ผู้ให้บริการด้านระบบแสดงสื่อมัลติมีเดียในสัดส่วน 81.65% ,การร่วมทุนกับ Anymild ในการตั้งบริษัทที่ทำเกี่ยวกับสื่อโฆษณาที่ใช้เทคโนโลยี Artificial Intelligence (AI),การใช้เงิน 4.62 พันล้านบาท เพื่อเข้าถือหุ้น 18.6% ในบมจ. แพลน บี มีเดีย จำกัด (มหาชน) (PLANB) อีกหนึ่งผู้ให้บริการสื่อโฆษณานอกบ้านรายใหญ่ ,การจัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับ iClick ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มการตลาดออนไลน์และเทคโนโลยีฐานข้อมูลรายใหญ่ของจีน

ไม่เพียงเท่านี้ ในด้านธุรกิจบริการ Rabbit LINE Pay บริษัทได้ให้บริการทางการเงิน ร่วมกับบมจ. อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) หรือ AEONTS ที่มีความเชี่ยวชาญในการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งปัจจุบันมีการปล่อยสินเชื่อแล้วกว่า 1.6 พันล้านบาท อีกทั้งยังมีการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ผ่าน บมจ. ยู ซิตี้ (U) และพันธมิตรทางธุรกิจรายอื่นๆ อาทิ บมจ.แสนสิริ (SIRI) ซึ่งน่าจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง จากโครงการอสังหาริมทรัพย์มีกำไรขั้นต้นดีขึ้น อาทิ ธุรกิจโรงแรมในยุโรปเริ่มมีกำไร และการขายคอนโดมิเนียมที่ร่วมลงทุนกำลังสร้างผลตอบแทนกลับคืน

จากข้อมูลกล่าว เราพบสัญญาณว่า BTS กำลังกระจายความเสี่ยงธุรกิจผ่านการลงทุนที่หลากหลาย เพื่อยกสถานะบริษัทให้กลายเป็น “โฮลดิ้ง คอมปานี” เต็มรูปแบบ ไม่ใช่เพียงธุรกิจระบบขนส่งทางรางเพียงอย่างเดียว และสิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือการมุ่งขยายธุรกิจสื่อของบริษัท ภายใต้การนำของเรือธงในด้านนี้ คือ บมจ. วี จี ไอ โกลบอล มีเดีย (VGI) ที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ หลังจากเข้าไปลงทุนในบมจ. มาสเตอร์ แอด (MACO) เพราะมีการผสมผสานธุรกิจออกมาได้อย่างตอบโจทย์

ล่าสุด บริษัทเพิ่งเข้าถือหุ้น 7% ใน บมจ.อาร์เอส (RS) หรือคิดเป็นมูลค่าลงทุนกว่า 1 พันล้านบาท เพื่อสร้างพันธมิตรทางธุรกิจในระยะยาว เนื่องจากบริษัทมีแพลตฟอร์มที่สามารถเชื่อมและเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจกับ RS ได้เป็นอย่างดี นั่นคือแพลตฟอร์มการเดินทาง ซึ่งปัจจุบันให้บริการผู้โดยสารถึงเกือบ 1 ล้านเที่ยวคน/วัน ขณะที่ RS ได้โฟกัสในธุรกิจมัลติแพลตฟอร์มคอมเมิร์ซ ที่สามารถเข้าถึงลูก ค้ากว่า 1.2 ล้านคน ซึ่งตอบโจทย์ด้วยยอดขายสินค้ากว่า 2.1 พันล้านบาท /ปี

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ควรให้เครดิตต่อ BTS นั่นคือการแสวงหาหนทางลงทุนรูปแบบใหม่ที่ไม่หยุดนิ่งของบริษัท โดยเฉพาะในด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เพราะบริษัทรู้ดีว่า ธุรกิจการจัดหารถไฟฟ้าขบวนใหม่และติดตั้งระบบเพื่อจะรองรับเส้นทางส่วนต่อขยายที่คิดเป็น 41% ของรายได้ทั้งหมดนั้นมีวันยุติลง และหาก BTS ไม่ลงทุนอื่นๆเพิ่มเติม หรือหยุดเพื่อรอกินบุญเก่าที่สะสมมา ปัจจัยดังกล่าวจะกดดันราคาหุ้น BTS ในอนาคตให้หดตัวอย่างมีนัยสำคัญ

นั่นทำให้บริษัทหันมาให้ความสำคัญต่อการลงทุนด้านธุรกิจสื่อโฆษณา รวมถึงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แต่ที่สำคัญสุด คือการแสวงหางานโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆของประเทศเข้ามาเพิ่มเติม เพื่อที่จะนำมาเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนผลประกอบการให้เดินหน้าขยายตัวไม่หยุดนิ่ง รวมทั้งเพื่อผลักดันให้ BTS กลายเป็นบริษัทสาธารณูปโภครายใหญ่ของประเทศอีกแห่งหนึ่ง

โดยสัญญานของเรื่องดังกล่าว เริ่มเห็นได้อย่างชัดเจนจากการตัดสินใจร่วมมือกับ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (STEC) และ และ บมจ.ราช กรุ๊ป (RATCH) ก่อตั้งตัวแทนกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) เข้าแข่งขันการประมูลโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา และการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟ วงเงินลงทุน 2.2 แสนล้านบาท แม้ท้ายสุดจะพลาดโอกาสดังกล่าวก็ตาม แต่เรื่องดังกล่าวได้ส่งสัญญาณว่า BTS พร้อมแล้วกับการก้าวมาการเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านสาธารณูปโภคของประเทศ เพราะในที่สุด หลังจากเพิ่มพันธมิตรทางธุรกิจอีกหนึ่งรายอย่าง บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (GULF) และเปลี่ยนชื่อเป็น กิจการร่วมค้า BGSR กิจการร่วมค่าดังกล่าวได้ชนะประมูลโครงการการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายบางปะอิน-นครราชสีมา (M 6) และสายบางใหญ่-กาญจนบุรี (M 81) มูลค่า 3.9 หมื่นล้านบาทจากรัฐบาล หลังเป็นผู้เสนอราคาต่ำที่สุด ซึ่งงานดังกล่าวหลายฝ่ายเชื่อว่า จะช่วยสร้างรายได้เข้ามาสู่ BTS เพิ่มมากขึ้น และจะกลายเป็นรายได้ที่เข้ามาชดเชยในส่วนของธุรกิจการจัดหารถไฟฟ้าขบวนใหม่และติดตั้งระบบเพื่อรองรับเส้นทางส่วนต่อขยายที่จะลดลง จนกว่าจะได้งานในเส้นทางใหม่ๆ นั่นทำให้ความน่าสนใจต่อ BTS ในมุมมองของนักลงทุนทั้งรายย่อย และกลุ่มทุนจากต่างประเทศมีเครดิตที่ดีขึ้น




ขณะเดียวกัน BTS ยังไม่หยุดนิ่งเพียงแค่งานดังกล่าว เพราะบริษัทและพันธมิตรทางธุรกิจในนามกิจการร่วมค้า BGSR ยังเดินหน้าประมูลงานโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆของภาครัฐเพิ่มเติม อาทิ การร่วมมือก่อตั้งกลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส (BBS Joint Venture) ประกอบด้วย บมจ.การบินกรุงเทพ (BA) บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) และ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (STEC) เพื่อประมูลโครงการสนามอู่ตะเภา 2.9 แสนล้านบาทที่จะทราบผลช่วงปลายปีนี้นอกจากนี้ หลายฝ่ายเชื่อว่า BTS จะทยอยลงทุนในธุรกิจอื่นๆเพิ่มเติมมากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจสื่อโฆษณา ที่มีเป้าหมายขยายไปสู่ต่างประเทศ และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบต่าง ๆ

เมื่อเป็นเช่นนี้ ในอนาคตเราอาจเห็นสัดส่วนรายได้ของ “บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์” เปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบันโดยไม่ต้องพึ่งพิงแค่การให้บริการเดินรถไฟฟ้า แต่จะเป็น “โฮลดิ้ง คอมปานี” ที่ขาหนึ่งอยู่ในธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน และสาธารณูปโภค ขณะที่อีกขาจะครองความยิ่งใหญ่ตลาดสื่อโฆษณา และยังมีธุรกิจเสริมด้านอื่นๆ อาทิ อสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจบริการเข้ามาช่วยสนับสนุน ทำให้ในอนาคตเมื่อพูดถึง “บีทีเอส” จะไม่ใช่รถไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว เหมือนในปัจจุบัน ส่วนราคาหุ้นจะขยับจากจุดนี้ไปมากแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความสำเร็จในแต่ละสายงานที่บริษัทลงทุนจะเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้มากน้อยเพียงใด
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 91, 92, 93 ... 155, 156, 157  Next
Page 92 of 157

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©