View previous topic :: View next topic
Author
Message
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 40784
Location: NECTEC
Posted: 23/04/2021 3:39 pm Post subject:
การใช้งาน APM Suvannabhum
ต้อนรับรถไฟฟ้า APM INTERLINK ผนึก SIEMENS ส่งรถไฟฟ้าไร้คนขับ APM ขบวนแรกสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
คุณสมบัติ อนันตรัมพร ประธานกรรมการ บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ต้อนรับรถไฟฟ้าไร้คนขับ (Automated People Mover : APM) ขบวนแรกสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยมี คุณเอนก ธีระวิวัฒน์ชัย รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (สายงานวิศวกรรมและการก่อสร้าง) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) : AOT และหน่วยงานเกี่ยวข้อง ร่วมต้อนรับเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
คุณสมบัติ อนันตรัมพร เปิดเผยว่า หลังจากที่ ILINK ได้ชนะการประกวดราคาจัดหารถไฟฟ้าไร้คนขับ APM ใน โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 ในงานจัดซื้อพร้อมติดตั้งระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover : APM) มูลค่า 2,100 ล้านบาท ภายใต้ความร่วมมือของบริษัท ซีเมนส์ โมบิลิตี้ จำกัด ในการจัดหาระบบรถไฟฟ้ารุ่น Airval สำหรับใช้เชื่อมต่อขนส่งผู้โดยสารระหว่างอาคารผู้โดยสารหลักกับอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (Satellite 1 : SAT-1) โดยขบวนแรกถูกจัดส่งมาถึงประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 ที่ผ่านมา ณ ท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี และขนย้ายมาถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิโดยสวัสดิภาพ โดยบริษัทจะทยอยส่งมอบรถไฟฟ้า APM ครบทั้ง 6 ขบวนภายในสิ้นปีนี้ และคาดว่าจะพร้อมเปิดให้บริการประชาชนภายใน เดือนเมษายน 2565
สำหรับรถไฟฟ้าไร้คนขับ APM นั้น เป็นเทคโนโลยีของซีเมนส์ ผู้นำด้านรถขนส่งโดยสารอัตโนมัติไร้คนขับของโลก สำหรับรถไฟฟ้าไร้คนขับที่จะนำมาให้บริการภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมินั้น จะวิ่งให้บริการรับส่งผู้โดยสารระหว่างอาคารผู้โดยสารหลังปัจจุบัน กับอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (Satellite 1 : SAT-1)โดยเป็นระบบรางวิ่ง 4 รางคู่ขนาน ระยะทางวิ่ง 1 กิโลเมตร และมีจำนวน 2 สถานี วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาไม่เกิน 2 นาทีต่อเที่ยว วิ่งให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง 7 วันต่อสัปดาห์ รองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 3,590 คนต่อชั่วโมง
รถไฟฟ้า APM นี้เป็นรุ่น Airval มีโรงงานผลิตอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย โดยบริษัทจะนำเข้าทั้งหมด 6 ขบวน ขบวนละ 2 ตู้ รวมเป็น 12 ตู้ ซึ่งใน 1 ขบวนสามารถจุผู้โดยสารได้ 210 คน รูปแบบรถเป็นระบบอัตโนมัติ มีระบบควบคุมการขับเคลื่อนอยู่ที่ศูนย์กลาง พร้อมด้วยระบบอาณัติสัญญาณ Communication Based Train Control system (CBTC) ที่จะเป็นระบบการทำงานอัตโนมัติ ที่พัฒนาขึ้นมาจากประเทศฝรั่งเศส มีระบบรางวิ่งแบบ central rail-guided APM ที่มีรางจ่ายไฟบริเวณกึ่งกลางทางวิ่ง มีระยะเบรคสั้น ล้อของรถ Airval เป็นยาง ซึ่งจะยึดเกาะได้ดีในพื้นที่ลาดเอียงและให้เสียงที่เงียบกว่าเมื่อเข้าโค้งเมื่อเทียบกับรถไฟระบบอื่น ๆ นอกจากนี้ นวัตกรรมด้านระบบการจัดเก็บและสำรองพลังงานของระบบรถไฟฟ้ารุ่นนี้ ช่วยให้มั่นใจได้ว่าการทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
รถไฟฟ้ารุ่นนี้ของซีเมนส์ เป็นรุ่นเดียวกับที่วิ่งบริการที่สนามบินดูไบ แฟรงก์เฟิร์ต ปารีส ชิคาโก้ และยังให้บริการรถไฟฟ้าในเมืองต่างๆ ของฝรั่งเศส ไต้หวัน เกาหลีใต้ และอิตาลี ส่วนประเทศไทยนับเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ใช้ระบบรถไฟขับเคลื่อนแบบไร้คนขับ รับ-ส่งผู้โดยสารในสนามบินภายใต้ความร่วมมือของอินเตอร์ลิ้งค์ฯ คุณสมบัติ อนันตรัมพร กล่าว
อินเตอร์ลิ้งค์ฯ มีความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ถึงแม้ว่าตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการจะพบเจออุปสรรคมากมาย อาทิ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินยูโร ระยะเวลาในการส่งมอบรถที่ล่าช้ากว่ากำหนด จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่อินเตอร์ลิ้งค์ฯ ยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาโครงการงานจัดซื้อพร้อมติดตั้งระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ ดั่งวิสัยทัศน์ของอินเตอร์ลิ้งค์ฯ ที่เราจะนำเทคโนโลยีมาพัฒนาประเทศไทย เราพร้อมให้บริการประชาชนชาวไทยและนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ด้วยรถไฟฟ้าไร้คนขับที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยและดีที่สุดในโลกอย่างซีเมนส์ เพื่อยกระดับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ให้ก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการบินในเอเชียที่มีศักยภาพในระดับสากล เพิ่มขีดความสามารถของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้อย่างน้อย 60 ล้านคนต่อปี คุณสมบัติ อนันตรัมพร กล่าวทิ้งท้าย
https://www.youtube.com/watch?v=oh8ca5AaDAE
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 40784
Location: NECTEC
Posted: 23/04/2021 11:39 pm Post subject:
รถไฟฟ้าไร้คนขับสุวรรณภูมิพร้อมบริการปลายปี 65
หน้า Tech / ฟินเทค-นวัตกรรม
23 เมษายน 2564 เวลา 17:43 น.
ครั้งแรกในประเทศไทย APM Demo Run อินเตอร์ลิ้งค์ฯ พาทดสอบรถไฟฟ้าไร้คนขับในสนามบินสุวรรณภูมิ พร้อมเปิดบริการปลายปี 2565
นายสมบัติ อนันตรัมพร ประธานกรรมการ บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ILINK เปิดเผยว่า หลังจากที่ ILINK ได้ชนะการประกวดราคางานจัดซื้อพร้อมติดตั้งระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover : APM) ภายใต้ความร่วมมือของคณะนิติบุคคลร่วมทำงานไออาร์ทีวี (IRTV) และบริษัท ซีเมนส์ โมบิลิตี้ จำกัด ในการจัดหารถไฟฟ้าไร้คนขับ (APM) ยี่ห้อ SIEMENS รุ่น Airval สำหรับ โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 นั้น
รถไฟฟ้าไร้คนขับ (APM) ถูกส่งมอบให้แก่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. แล้วจำนวน 4 ขบวน และจะทยอยส่งมอบรถไฟฟ้า APM จนครบทั้ง 6 ขบวนภายในสิ้นปีนี้ ปัจจุบันรถไฟฟ้าไร้คนขับที่จะนำมาให้บริการภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิทั้ง 4 ขบวน ได้ทดสอบวิ่งบนรางในอุโมงค์ใต้ดินระหว่างอาคารผู้โดยสารหลักกับอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (Satellite 1 : SAT-1) ระยะทางวิ่ง 1 กิโลเมตร โดยผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท ซีเมนส์ โมบิลิตี้ จำกัด ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2563 ที่ผ่านมา และผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยจากบริษัทผู้ผลิต SIEMENS เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ภาพรวมของโครงการรถไฟฟ้าไร้คนขับ APM คืบหน้ากว่า 80% ไม่พบปัญหาในการทดสอบระบบ สามารถเดินรถได้ตามมาตรฐาน โดยการทดสอบระบบครั้งนี้เป็นการทดสอบทางกลศาสตร์ (Dynamic Test) ต้องใช้พนักงานในการควบคุมรถ ขับเคลื่อนด้วยความเร็วประมาณ 40 กม. ต่อชั่วโมง (ชม.) และหลังจากนี้จะเป็นการทดสอบระบบควบคุมการเดินรถอัตโนมัติ (Automatic Train Control : ATC) เพื่อให้มีความเสถียร แม่นยำ และตรงต่อเวลา คาดว่าจะพร้อมเปิดให้บริการประชาชนภายในเดือนตุลาคม ปี 2565 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่ใช้ระบบรถไฟขับเคลื่อนแบบไร้คนขับ รับ-ส่งผู้โดยสารในสนามบินสุวรรณภูมิรถไฟฟ้าไร้คนขับสุวรรณภูมิพร้อมบริการปลายปี 65
รถไฟฟ้าไร้คนขับสุวรรณภูมิพร้อมบริการปลายปี 65
รถไฟฟ้าไร้คนขับ (APM) จะบริการรับ ส่ง ผู้โดยสาร 2 สถานี คือสถานีอาคารผู้โดยสารหลัก บริเวณชั้น B2 คอนคอร์ด D กับ อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (SAT-1) บริเวณชั้นใต้ดิน B2 บริเวณ Gate S114-S115 ระยะทางวิ่ง 1 กิโลเมตร วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลา 2 นาทีต่อเที่ยว วิ่งบริการทุกๆ 3 นาที ตลอด 24 ชั่วโมง รองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 3,590 คนต่อชั่วโมง ส่วนชั่วโมงเร่งด่วนสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 5,960 คนต่อชั่วโมง โดยรูปแบบรถเป็นระบบอัตโนมัติ (Automatic Train Control : ATC) เป็นระบบการควบคุมการขับเคลื่อนอยู่ที่ศูนย์กลางผ่านห้องปฏิบัติการ OCC (Operation Control Center) พร้อมด้วยระบบอาณัติสัญญาณ Communication Based Train Control system (CBTC) แบบ Moving Block ระบบรางวิ่งเป็นแบบ central rail-guided APM ช่วยให้รถไฟฟ้าเดินทางไปมาในทิศทางที่กำหนดได้อย่างแม่นยำ ซึ่งเป็นการทำงานแบบไร้คนขับโดยสมบูรณ์รถไฟฟ้าไร้คนขับสุวรรณภูมิพร้อมบริการปลายปี 65
รถไฟฟ้าไร้คนขับสุวรรณภูมิพร้อมบริการปลายปี 65
ขณะนี้งานระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ APM มีความคืบหน้าไปกว่า 80% อินเตอร์ลิ้งค์ฯ มุ่งมั่นที่จะพัฒนาทดสอบการเดินระบบรถไฟฟ้าไร้คนขับอย่างต่อเนื่อง เพื่อความเสถียร ปลอดภัย แม่นยำ ตรงต่อเวลา เพื่อส่งมอบรถไฟฟ้าไร้คนขับที่ทันสมัยและดีที่สุดแก่ผู้ใช้บริการ เรามีความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ดั่งวิสัยทัศน์ของอินเตอร์ลิ้งค์ฯ ที่ต้องการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาประเทศไทย นายสมบัติกล่าวทิ้งท้าย
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 40690
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 25/04/2021 8:34 am Post subject:
ทดลองเดินรถแล้ว!!รถไฟฟ้าไร้คนขับส่งผู้โดยสารระหว่างอาคาร'สนามบินสุวรรณภูมิ'
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2564
ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่ง
เปิดทดลองเดินรถแล้วสำหรับรถไฟฟ้าไร้คนขับในสนามบิน สุวรรณภูมิเมื่อวันที่ 22 เม.ย.ที่ผ่านมา พร้อมเปิดให้บริการวันที่ 1 ต.ค. ปี 2565
บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด หรือ ILINK ผู้ชนะการประกวดราคางานจัดซื้อพร้อมติดตั้งระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover : APM) ภายใต้ความร่วมมือ ของคณะนิติบุคคลร่วมทำงาน ไออาร์ทีวี (IRTV) และบริษัท ซีเมนส์ โมบิลิตี้ จำกัด ในการจัดหารถไฟฟ้าไร้คนขับ (APM) ยี่ห้อ SIEMENS รุ่น Airval สำหรับ "โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2"
นายสมบัติ อนันตรัมพร ประธานกรรมการ บริษัท อิน เตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด กล่าวว่า เป็นการเดินรถครั้งแรก ถือเป็นวันประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ที่หลังจากนี้จะมีรถไฟฟ้าไร้คนขับให้บริการภายในสนามบินทัดเทียมกับนานาประเทศ เดิมมีแผนจะจัดงานให้ยิ่งใหญ่ แต่เนื่องจากเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จึงทำให้ต้องจัดงานเล็ก ๆ กะทัดรัด มีผู้เข้าร่วมงานไม่เกิน 50 คนตามข้อกำหนดของรัฐบาล อย่างไรก็ตามขณะนี้ภาพรวมของงานรถไฟฟ้าไร้คนขับ มีความคืบหน้ากว่า 80% หลังจากนี้จะทดสอบอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความเสถียร ปลอดภัย แม่นยำ และตรงต่อเวลา ก่อนจะส่งมอบให้แก่ ทอท. เพื่อนำไปใช้ในการให้บริการผู้โดยสารต่อไป
ทั้งนี้รถไฟฟ้าไร้คนขับ (APM) ถูกส่งมอบให้แก่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. แล้วจำนวน 4 ขบวน และจะทยอยส่งมอบรถไฟฟ้า APM จนครบทั้ง 6 ขบวนภายใน สิ้นปีนี้ ซึ่งรถไฟฟ้าไร้คนขับที่จะนำมาให้บริการภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิทั้ง 4 ขบวน ได้ทดสอบ วิ่งบนรางในอุโมงค์ใต้ดินระหว่างอาคารผู้โดยสารหลักกับอาคารเทียบเครื่องบินรองหลัง ที่ 1 (Satellite 1 : SAT-1) ระยะทางวิ่ง 1 กิโลเมตร (กม.) โดย ผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท ซีเมนส์ โมบิลิตี้ จำกัด ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2563 และผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยจากบริษัทผู้ผลิต SIEMENS เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ภาพรวมของโครงการรถไฟฟ้าไร้คนขับ APM คืบหน้ากว่า 80% ไม่พบปัญหาในการทดสอบระบบ สามารถเดินรถได้ตามมาตรฐาน โดยการทดสอบระบบครั้งนี้เป็นการทดสอบทางกลศาสตร์ (Dynamic Test) ต้องใช้พนักงานในการควบคุมรถ ขับเคลื่อนด้วยความเร็วประมาณ 40 กม. ต่อชม. และหลังจากนี้จะเป็นการทดสอบระบบควบคุมการเดินรถอัตโนมัติ (Automatic Train Control : ATC) เพื่อให้มีความเสถียร แม่นยำ และตรงต่อเวลา
คาดว่าจะพร้อมเปิดให้บริการประชาชนภายในเดือน ต.ค. 2565 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่ใช้ระบบรถไฟขับเคลื่อนแบบ ไร้คนขับ รับ-ส่งผู้โดยสารในสนามบินสุวรรณภูมิ
รถไฟฟ้าไร้คนขับ (APM) จะบริการรับ-ส่งฟรีแก่ผู้โดยสาร 2 สถานี คือสถานีอาคารผู้โดยสารหลัก บริเวณชั้น B2 คอนคอร์ด D กับอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (SAT-1) บริเวณชั้นใต้ดิน B2 บริเวณ Gate S114-S115 ระยะทางวิ่ง 1 กม. ด้วยความเร็วสูงสุด 80 กม.ต่อชม. ใช้เวลา 2 นาทีต่อเที่ยว วิ่งบริการทุก ๆ 3 นาที ตลอด 24 ชม. รองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 3,590 คนต่อชม.
ส่วนชั่วโมงเร่งด่วนรองรับผู้โดยสารได้ถึง 5,960 คนต่อชม. โดยรูปแบบรถเป็นระบบอัตโนมัติ (Automatic Train Control : ATC) ควบคุมการขับเคลื่อนอยู่ที่ศูนย์กลางผ่านห้องปฏิบัติการ OCC (Operation Control Center) พร้อมด้วยระบบอาณัติ สัญญาณ Communication Based Train Control system (CBTC) แบบ Moving Block ระบบรางวิ่งเป็นแบบ central rail-guided APM ช่วยให้รถไฟฟ้าเดินทางไปมาในทิศทางที่กำหนดได้อย่างแม่นยำ ซึ่งเป็นการทำงานแบบไร้คนขับโดยสมบูรณ์
นายกีรติ กิจมานะวัฒน์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายงานวิศวกรรมและการก่อสร้าง ทอท. กล่าวว่า การเดินรถยังเป็นการทดสอบทางกลศาสตร์ (Dynamic Test) ที่ต้องใช้พนักงานเป็นผู้ควบคุม แต่รถจะขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า หลังจากนี้จะติดตั้งระบบควบคุมการเดินรถอัตโนมัติ (Automatic Train Control) และทำการทดสอบเดินรถเสมือนจริง ก่อนเปิดให้บริการวันที่ 1 ต.ค. 65
ทั้งนี้ APM สามารถใช้ความเร็วสูงสุด 80 กม.ต่อชม. แต่ในการให้บริการจะใช้ความเร็วประมาณ 40 กม.ต่อชม. เพื่อ ความปลอดภัย สำหรับ APM ให้บริการ 2 สถานี คือ สถานี SAT1 ให้บริการอยู่ที่ชั้น B2 ซึ่งเป็นชั้นใต้ดิน บริเวณเกต S114 -S115 และสถานีอาคารผู้โดยสารหลัก อยู่ชั้น B2 คอนคอร์ด D
นายกีรติ กล่าวต่อว่า การทดสอบเดินรถครั้งนี้เป็นที่น่าพอใจ ไม่พบปัญหาใด ๆ โดยได้ทดลองเดินรถทั้งความเร็ว 10 กม.ต่อชม. และ 40 กม.ต่อชม. การเดินรถค่อนข้างนิ่ง ใช้เวลาจากอาคาร SAT1 ไปอาคารหลักประมาณ 2 นาที อย่างไรก็ตามเมื่อเปิดให้บริการจริงผู้โดยสารจะได้รับความสะดวกสบาย และมีความปลอดภัย ซึ่งไม่ต้องกังวลแม้รถจะให้บริการอยู่ภายในอุโมงค์ หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน ได้เตรียมแผนรับมือไว้ทั้งหมดแล้ว โดยได้ทำทางเดินฉุกเฉินให้ ผู้โดยสารสามารถเดินตามอุโมงค์มายังภายนอกได้ รวมทั้งภายในอุโมงค์มีระบบพัดลมระบายอากาศด้วย
แม้สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ยังไม่จบลง แต่เมื่อสายการบินเปิดให้บริการสนามบินสุวรรณภูมิจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกไม่แพ้สนามบินชั้นนำของโลก.
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 40784
Location: NECTEC
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 40784
Location: NECTEC
Posted: 14/07/2021 4:16 pm Post subject:
ILINK แจ้ง รถไฟฟ้าไร้คนขับ APM เชื่อมอาคารผู้โดยสารหลัก กับอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 สนามบินสุวรรณภูมิ ขบวนที่ 6 (ขบวนสุดท้าย)ถึงไทยแล้ว เตรียมขนย้ายไปสนามบินสุวรรณภูมิศุกร์นี้
...บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ILINK ระบุว่า ตามที่บริษัทได้ชนะการประกวดราคางานจัดซื้อพร้อมติดตั้งงานระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ(APM) โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ปีงบประมาณ 2554 2560) ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จํากัด (มหาชน) หรือ AOT ซึ่งมีมูลค่าสัญญาจ้างจํานวน 2,099.90 ล้านบาท โดยบริษัทฯ ได้สั่งจ้างบริษัท ซีเมนส์ โมบิลิตี้ จํากัด ประเทศออสเตรีย ในการจัดหารถไฟฟ้าไร้คนขับ Automated People Mover (APM) สําหรับใช้เชื่อมต่อขนส่งผู้โดยสารระหว่างอาคารผู้โดยสารหลัก กับอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (Satellite 1 : SAT-1) จํานวนทั้งสิ้น 6 ขบวน (12 โบกี) นั้น
ล่าสุด รถไฟฟ้าไร้คนขับขบวนที่ 6 (ขบวนสุดท้าย) ได้ถูกจัดส่งถึงประเทศไทยแล้ว ณ ท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี เมื่อวันอังคารที่ 13 กรกฎาคม 2564 ซึ่งจะมีการขนย้ายไปยังสนามบินสุวรรณภูมิในวันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม 2564 ต่อไป
อ่านเรื่องนี้ต่อที่: https://www.kaohoon.com/news/461016
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 40784
Location: NECTEC
Posted: 18/07/2021 1:08 am Post subject:
มาครบแล้ว! รถไฟฟ้า APM สุวรรณภูมิ จ่อเปิดใช้ ต.ค. 65
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 16 กรกฎาคม 2564 เวลา 15:27 น.
รับครบแล้ว รถ APM สนามบินสุวรรณภูมิ ทั้ง 6 ขบวน 12 ตู้ จุคนได้ 5.9 พันคน/ชั่วโมง เล็งเปิดให้บริการ ต.ค. 65
วันที่ 16 กรกฎาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บมจ. ท่าอากาศยานไทย (AOT) รับรถไฟฟ้าขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover : APM) ขบวนที่ 6 (ขบวนสุดท้าย) ที่ได้ขนส่งมาถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 ณ สำนักงานบริหารโครงการก่อสร้าง ทสภ.
ซึ่งรถไฟฟ้า APM เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะ 2 โดยหลังจากนี้ AOT จะมีการทดสอบการใช้งานระบบรถไฟฟ้า APM ร่วมกันทั้ง 6 ขบวน ควบคู่กับการเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดใช้งานอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (Satellite 1 : SAT-1) ตามแผนจะกำหนดสถานีที่จะให้บริการ 2 สถานี คือสถานี SAT1 ให้บริการอยู่ที่ชั้น B2 ซึ่งเป็นชั้นใต้ดินบริเวณเกต S114 -S115 และสถานีอาคารผู้โดยสารหลักอยู่ชั้น B2 คอนคอร์ด D โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือน ต.ค. 2565
ทั้งนี้ รถไฟฟ้า APM จะให้บริการขนส่งผู้โดยสารระหว่างอาคารผู้โดยสารหลักและอาคาร SAT-1 ในระยะทาง 1 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 2 นาที และสามารถขนส่งผู้โดยสารได้มากถึง 210 คน/ขบวน หรือประมาณ 5,900 คน/ชั่วโมง
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับการจัดหารถไฟฟ้าไร้คนขับ APM สำหรับใช้เชื่อมต่อขนส่งผู้โดยสารระหว่างอาคารผู้โดยสารหลักกับอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (Satellite 1 : SAT-1) มีจำนวนทั้งสิ้น 6 ขบวน (12 ตู้) มีบริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ILINK เป็นผู้ชนะด้วยราคา 2,099 ล้านบาท
โดยรุ่นของ APM ที่นำมาใช้ผลิตโดยบริษัท SIEMENS ผลิตในรุ่น AIRVAL ที่ใช้ระบบรางวิ่งแบบ central rail-guided APM มีรางจ่ายไฟ 750 VDC บริเวณกึ่งกลางทางวิ่ง มีความถี่ในการวิ่งให้บริการสูง สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีระยะเบรกสั้น ล้อรถเป็นยาง ซึ่งจะยึดเกาะได้ดีในพื้นที่ลาดเอียง และให้เสียงที่เงียบกว่าระบบไฟฟ้าอื่น ๆ น้ำหนักทั้งหมดอยู่ที่ 31.223 ตัน/ขบวน รองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 210 คน/ขบวน แบ่งเป็น 16 คนนั่ง 194 คนยืน ซึ่งจะสามารถขนส่งผู้โดยสารได้มากถึง 3,590 คน/ชั่วโมง/เที่ยว
รถไฟฟ้าขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัตAPMขบวนสุดท้ายถึงสนามบินสุวรรณภูมิแล้ว
หน้าข่าวทั่วไป
วันที่ 16 กรกฎาคม 2564 เวลา 16:48 น.
ทอท.รับมอบรถไฟฟ้าขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ APM ขบวนสุดท้ายที่ขนส่งมาถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแล้ว โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่2
บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. (AOT) รับรถไฟฟ้าขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover : APM) ขบวนที่ 6 (ขบวนสุดท้าย) ที่ได้ขนส่งมาถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 ณ สำนักงานบริหารโครงการก่อสร้าง ทสภ. ซึ่งรถไฟฟ้า APM เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะ 2
โดยหลังจากนื้ทอท.จะมีการทดสอบการใช้งานระบบรถไฟฟ้า APM ร่วมกันทั้ง6 ขบวน ควบคู่กับการเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดใช้งานอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (Satellite 1 : SAT-1) ต่อไป
ทั้งนี้ รถไฟฟ้า APM จะให้บริการขนส่งผู้โดยสารระหว่างอาคารผู้โดยสารหลักและอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 SAT-1 ในระยะทาง 1 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 2 นาที
สามารถขนส่งผู้โดยสารได้มากถึง 210 คนต่อขบวน หรือประมาณ 5,900 คนต่อชั่วโมง
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 40784
Location: NECTEC
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 40690
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 31/10/2021 7:20 am Post subject:
รู้จัก 'SAT1' ยานลูก 'สนามบินสุวรรณภูมิ' นั่งรถไฟฟ้า APM 2 นาทีต่อเครื่องบิน
Source - เดลินิวส์
Sunday, October 31, 2021 05:23
เมื่อวันที่ 29 ต.ค. นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. จัดกิจกรรม Press Visit นำคณะสื่อมวลชนตรวจเยี่ยม ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) นอกจากจะประกาศความพร้อมของท่าอากาศยานรองรับการเปิดประเทศตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 64 ตามนโยบายรัฐบาลแล้ว ยังพาเยี่ยมชมเครื่อง KIOSK สำหรับ เช็กอินด้วยตนเองอัตโนมัติ (Common Use Self Service : CUSS) 196 เครื่อง และระบบรับกระเป๋าสัมภาระอัตโนมัติ (Common Use Bag Drop : CUBD) 42 เครื่อง ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยเพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้ผู้โดยสาร ลดเวลารอคิวเช็กอิน และลดการสัมผัส เพื่อลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
นายนิตินัย กล่าวว่า หลังเกิดโควิด-19 การให้บริการของสนามบินได้เปลี่ยนไป เน้นการเดินทางแบบวิถีใหม่ (New Normal) นำเทคโนโลยี และนวัตกรรมมาใช้ เพื่อลดสัมผัส ซึ่งเครื่องเช็กอินอัตโนมัติ ผู้โดยสารจะเช็กอิน และเลือกที่นั่งได้ด้วยตนเอง เพราะเครื่องจะแสดงรายละเอียดของที่นั่งได้เสมือนจริง ดูเข้าใจง่าย นอกจากนี้ยัง สามารถเช็กอินล่วงหน้า 6-12 ชั่วโมง (ชม.) ก่อนเดินทาง และเมื่อเช็กอินเรียบร้อย สามารถนำกระเป๋าสัมภาระโหลดผ่านเครื่องรับกระเป๋าฯ ได้ด้วยตนเอง ได้ติดตั้งเครื่องกระจายบริเวณแถวเช็กอิน ตั้งแต่ Row B ถึง Row U ชั้น 4 อาคารผู้โดยสาร ทสภ. และยังมี แผนนำระบบจดจำใบหน้า (ไบโอเมทริกซ์) มาใช้ยืนยันตัวตนผู้โดยสาร ขณะเดียวกันจะเปิดให้ใช้แอพพลิเคชั่น SAWASDEE by AOT ซึ่งมีระบบการทำงานที่หลากหลาย ช่วยอำนวยความสะดวกในงานบริการต่าง ๆ ให้ผู้โดยสารด้วย
ในโอกาสนี้ได้นำคณะสื่อมวลชนทดลองใช้บริการรถไฟฟ้าขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (APM) หรือรถไฟฟ้าไร้คนขับ ที่เชื่อมต่อระหว่างอาคารผู้โดยสารหลักกับอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (Satellite : SAT 1) เพื่อเดินทางไปเยี่ยมชมอาคาร SAT 1 ด้วย
รถไฟฟ้า APM จะนำมาให้บริการรับ-ส่งผู้โดยสารฟรีภายใน ท่าอากาศยานของประเทศไทยเป็นครั้งแรก ซึ่งจะเปิดให้บริการ พร้อมกับการเปิดใช้ SAT 1 ในเดือน เม.ย. 66 ขณะนี้การก่อสร้าง SAT 1 เสร็จเรียบร้อยแล้ว กำลังทดสอบการทำงานร่วมกันของแต่ละระบบ จะเหลืองานระบบสายพานลำเลียงกระเป๋า และระบบตรวจจับวัตถุระเบิด อยู่ระหว่างติดตั้งคาดว่าจะแล้วเสร็จเดือน ก.ค.-ส.ค. 65 ส่วนพื้นที่เชิงพาณิชย์จะตกแต่งร้านค้า และร้านอาหาร ประมาณเดือน ต.ค. 65
ด้านนายกีรติ กิจมานะวัฒน์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท. กล่าวว่า อาคาร SAT1 มีพื้นที่ 2.16 แสนตารางเมตร (ตร.ม.) สูง 4 ชั้น มีชั้นใต้ดิน 2 ชั้น ประกอบด้วย ชั้น B2 รถไฟฟ้า APM ชั้น B1 งานระบบ ชั้น G ระบบสายพานลำเลียงกระเป๋า ชั้น 2 ผู้โดยสารขาเข้า ชั้น 3 ผู้โดยสารขาออก และชั้น 4 ร้านค้า ร้านอาหารมี 28 หลุมจอดอากาศยาน รองรับผู้โดยสารได้ 15 ล้านคน ช่วยเพิ่มขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารของ ทสภ. จากปัจจุบัน 45 ล้านคน เป็น 60 ล้านคนต่อปี และรองรับเที่ยวบินได้เพิ่มขึ้นจากประมาณ 60-63 เที่ยวบิน ต่อชม. เป็น 68 เที่ยวบินต่อชม.
ในการออกแบบอาคารได้ต่อยอดสัญลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมให้กลมกลืนกับอาคารเทียบเครื่องบินเดิม โดยหลังคาตรงกลางของอาคารถูกยกให้สูงขึ้นกว่าส่วนอื่น ๆ เลียนแบบการไล่ระดับหลังคา เป็นชั้น ๆ ในสถาปัตยกรรมไทย
ภายในอาคารได้ตกแต่งอย่างงดงาม ทรงคุณค่า ทันสมัย โอ่โถง ไม่อึดอัด มีเอกลักษณ์ สร้างความจดจำ และเป็นที่ประทับใจของนักเดินทาง โดยติดตั้งประติมากรรมช้างเผือก 'คชสาร(น)" มีขนาด 7 เมตร และ 5 เมตร ไว้บริเวณโถงกลาง ชั้น 3 ถือเป็นประติมากรรมชิ้นเดียวในโลก ซึ่งขึ้นรูปงานในลักษณะการสานวัสดุสเตนเลสด้วยมือ สะท้อนรูปแบบหัตถศิลปะงานสานแบบพื้นบ้านของไทยได้อย่างสวยงาม ทำให้เกิดเป็นจุดหมายตาแรกของอาคาร
ขณะที่ห้องน้ำบริเวณชั้น 2 และ 3 ได้ออกแบบ โดยคำนึงถึงความสะดวกสบาย และประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก อีกทั้งได้นำเอกลักษณ์ หรือลักษณะเด่นแต่ละภาค และประเพณีวัฒนธรรม เช่น ลอยกระทง และมวยไทย มาใช้เพื่อสร้างเอกลักษณ์ของพื้นที่ ช่วยให้ผู้โดยสารจดจำพื้นที่ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังตกแต่งสวนบริเวณชั้น 2 และ 3 เป็นสวนแนวตั้งเพิ่มพื้นที่สีเขียวด้วย
นายกีรติ กล่าวด้วยว่า อาคาร SAT1 เป็นอาคารที่อยู่ในเขตพื้นที่การบิน (Airside) จะให้บริการผู้โดยสารขาออกที่เช็กอิน และโหลดกระเป๋าสัมภาระที่อาคารผู้โดยสารหลักแล้ว จากนั้นผู้โดยสารจะเดินเข้าไปในเขต Airside ตรงไปยังด้านหลังเกษียรสมุทร บริเวณชั้น 4 Concourse D เพื่อลงไปยังสถานีรถไฟฟ้า APM และนั่งรถไฟฟ้า APM มายังอาคาร SAT 1 ส่วน ผู้โดยสารขาเข้า เมื่อลงเครื่องบินที่ SAT1 ต้องลงไปยังชั้น B2 เพื่อนั่งรถไฟฟ้า APM มายังอาคารผู้โดยสารหลักไปยังห้องโถงผู้โดยสารขาเข้า และจุดรับกระเป๋าสัมภาระต่อไป
สำหรับรถไฟฟ้า APM เป็นรถไฟฟ้าไร้คนขับล้อยาง รุ่น Airval ปัจจุบันขนส่งจากกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ถึง ทสภ. ครบแล้ว 6 ขบวน 12 ตู้ โดย 1 ขบวน มี 2 ตู้ ขนส่งผู้โดยสารได้มากถึง 210 คนต่อขบวน หรือประมาณ 5,900 คนต่อชม. เบื้องต้นในการให้บริการจะนำขบวนรถวิ่งพร้อมกันครั้งละ 2-3 ขบวนต่อเส้นทาง ส่วนอีก 1 ขบวนเก็บไว้ใช้สำรอง การเดินรถภายในอุโมงค์มี 4 ทางวิ่ง แบ่งเป็น สายสีแดง และสายสีเขียว สำหรับผู้โดยสารขาเข้า และออก ให้บริการทุกวัน 24 ชม. มี 2 สถานี ได้แก่ สถานีอาคาร SAT 1 และสถานีอาคารผู้โดยสารปัจจุบัน โดยรถไฟฟ้า APM จะใช้ความเร็วในการเดินรถสูงสุดที่ 80 กม.ต่อชม. ระยะทางต่อเที่ยวประมาณ 1 กิโลเมตร (กม.) ใช้เวลาประมาณ 2 นาที.
ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 1 พ.ย. 2564 (กรอบบ่าย)
---------
อัพเดตความคืบหน้าก่อสร้างรถไฟฟ้า APM สุวรรณภูมิ ถึงไหนแล้ว
หน้าแรก เศรษฐกิจ คมนาคม
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | 02 พ.ย. 2564 เวลา 14:54 น.
กรมราง ลงพื้นที่ตรวจสอบมาตรฐานรถไฟฟ้า APM สุวรรณภูมิ พบอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เล็งเปิดให้บริการประชาชนช่วงปี 65 ทั้งหมด 6 ขบวน รองรับผู้โดยสาร 1,260 คน
ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ลงพื้นตรวจติดตามความคืบหน้าการก่อสร้าง และตรวจสอบประเมินด้านความปลอดภัยของระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover: APM) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ขณะนี้รถไฟฟ้าระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover: APM) ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (ทอท.) ที่จะนำมาให้บริการประชาชนในช่วงประมาณปี 2565 จะใช้รูปแบบรถไฟฟ้าล้อยาง จำนวน 6 ขบวน ความเร็วให้บริการประมาณ 50-55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 210 คนต่อขบวน หรือ 6,000 คนต่อชั่วโมง ระยะเวลาการรอคอย (Headways) ประมาณ 3 นาที ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร และใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 นาที โดยจะวิ่งผ่านอุโมงค์ที่เชื่อมระหว่างอาคารเทียบบินเครื่องบินรองหลังที่ 1 (SAT-1) กับอาคารผู้โดยสารหลัก (MTB) ซึ่งอาคารเทียบฯ 1 จะเปิดให้บริการประมาณปี 2566
ทั้งนี้การลงพื้นตรวจติดตามนั้นเบื้องต้นเจ้าหน้าที่ของ ขร. ได้มีการตรวจสอบมาตรฐานของโครงสร้างพื้นฐาน มาตรฐานตัวรถ APM งานระบบไฟฟ้าและอาณัติสัญญาณ และ มาตรฐานการปฏิบัติงาน SOPs ว่าเป็นไปตามมาตรฐานที่ ขร. กำหนดแนวทางไว้หรือไม่ โดยจากการตรวจเบื้องต้น พบว่าระบบรถไฟฟ้าล้อยางดังกล่าวเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งนี้ในส่วนของ SOPs โดยเฉพาะกรณีเหตุฉุกเฉิน ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดทำ ทาง ขร. จะได้ประสานติดตามต่อไป
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 40784
Location: NECTEC
Posted: 02/11/2021 6:56 pm Post subject:
กรมรางติ๊กผ่าน! รถไฟฟ้าAPM@สุวรรณภูมิ
*6ขบวนได้มาตรฐานความปลอดภัย
*รอตรวจสอบแนวปฏิบัติเหตุฉุกเฉิน
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3037029616518536
กรมการขนส่งทางราง ลงพื้นที่ตรวจติดตามความคืบหน้าการก่อสร้าง ระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover: APM) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
วันอังคาร ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 14.21 น.
วันนี้ (2 พ.ย. 64) ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ขร. ลงพื้นที่ตรวจติดตามความคืบหน้าการก่อสร้าง และตรวจสอบประเมินด้านความปลอดภัยของระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover: APM) ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยมี ดร.กีรติ กิจมานะวัฒน์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (สายงานวิศวกรรมและการก่อสร้าง) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) และเจ้าหน้าที่ ทอท. ให้การต้อนรับ
ระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover: APM) ของ ทอท. ที่จะนำมาให้บริการประชาชนในช่วงประมาณปี 2565 นี้ เป็นประเภทรถไฟฟ้าล้อยาง จำนวน 6 ขบวน ความเร็วให้บริการประมาณ 50-55 กิโลเมตร/ชั่วโมง (ความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง) สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 210 คน/ขบวน หรือ 6,000 คน/ชั่วโมง ระยะเวลาการรอคอย (Headways) ประมาณ 3 นาที ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร และใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 นาที โดยจะวิ่งผ่านอุโมงค์ที่เชื่อมระหว่างอาคารเทียบบินครื่องบินรองหลังที่ 1 (SAT-1) กับอาคารผู้โดยสารหลัก (MTB) ซึ่งอาคารเทียบฯ 1 จะเปิดให้บริการประมาณปี 2566
สำหรับการลงพื้นที่ตรวจติดตามในวันนี้เจ้าหน้าที่ของ ขร. ได้มีการตรวจสอบมาตรฐานของโครงสร้างพื้นฐาน มาตรฐานตัวรถ APM งานระบบไฟฟ้าและอาณัติสัญญาณ และ มาตรฐานการปฏิบัติงาน SOPs ว่าเป็นไปตามมาตรฐานที่ ขร. กำหนดแนวทางไว้หรือไม่ โดยจากการตรวจเบื้องต้น พบว่าระบบรถไฟฟ้าล้อยางดังกล่าวเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งนี้ในส่วนของ SOPs โดยเฉพาะกรณีเหตุฉุกเฉิน ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดทำ ทาง ขร. จะได้ประสานติดตามต่อไป
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 40690
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 03/11/2021 7:21 am Post subject:
รถไฟฟ้าAPM@บินสุวรรณภูมิ ขร.ติ๊กผ่าน6ขบวนได้มาตรฐาน
Source - เดลินิวส์
Wednesday, November 03, 2021 05:46
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมการขนส่งทางราง (ขร.) แจ้งว่า นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) พร้อมเจ้าหน้าที่ ขร. ลงพื้นที่ตรวจติดตามความคืบหน้าการก่อสร้าง และตรวจสอบประเมินด้านความปลอดภัยของรถไฟฟ้าขนส่ง ผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover : APM) หรือรถไฟฟ้าไร้คนขับ ของบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) ที่จะนำมาให้บริการประชาชนประมาณปี 66
สำหรับการลงพื้นที่ตรวจติดตามในครั้งนี้เจ้าหน้าที่ของ ขร. ได้ตรวจสอบมาตรฐานของโครงสร้างพื้นฐาน มาตรฐานตัวรถ APM งานระบบไฟฟ้าและอาณัติสัญญาณและมาตรฐานการปฏิบัติงาน SOPs ว่าเป็นไปตามมาตรฐานที่ ขร. กำหนดแนวทางไว้หรือไม่ โดยจากการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่าระบบรถไฟฟ้าล้อยางเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งนี้ในส่วนของ SOPs โดยเฉพาะกรณีเหตุฉุกเฉินอยู่ระหว่างการจัดทำ ซึ่งทาง ขร. จะได้ประสานติดตามต่อไป
สำหรับรถไฟฟ้า APM จะเชื่อมต่อระหว่างอาคารผู้โดยสารหลักกับอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (Satellite : SAT 1) เป็นอาคารที่อยู่ในเขตพื้นที่การบิน (Airside)จะให้บริการผู้โดยสารขาออกที่เช็กอินและโหลดกระเป๋าสัมภาระที่อาคารผู้โดยสารหลักแล้วจากนั้นผู้โดยสารจะเดินเข้าไปในเขต Airside ตรงไปยังด้านหลังเกษียรสมุทรบริเวณชั้น 4 Concourse D เพื่อลงไปยังสถานีรถไฟฟ้า APM และ นั่งรถไฟฟ้า APM มายังอาคารSAT 1 ส่วนผู้โดยสาร ขาเข้า เมื่อลงเครื่องบินที่ SAT1 ต้องลงไปยังชั้น B2 เพื่อนั่งรถไฟฟ้า APM มายังอาคารผู้โดยสารหลักไปยัง ห้องโถงผู้โดยสารขาเข้าและจุดรับกระเป๋าสัมภาระต่อไป
สำหรับรถไฟฟ้า APM เป็นรถไฟฟ้าไร้คนขับล้อยางรุ่น Airval ปัจจุบันขนส่งจากกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียถึง ทสภ. ครบแล้ว 6 ขบวน 12 ตู้ โดย 1 ขบวน มี 2 ตู้ ขนส่งผู้โดยสารได้มากถึง 210 คนต่อขบวน หรือประมาณ 5,900 คนต่อชม. เบื้องต้นในการให้บริการจะนำขบวนรถวิ่งพร้อมกันครั้งละ 2-3 ขบวนต่อเส้นทาง ส่วนอีก 1 ขบวนเก็บไว้ใช้สำรอง การเดินรถภายในอุโมงค์มี 4 ทางวิ่ง แบ่งเป็นสายสีแดงและสายสีเขียว สำหรับผู้โดยสารขาเข้าและออก ให้บริการทุกวัน 24 ชม. มี 2 สถานี ได้แก่ สถานีอาคาร SAT 1 และสถานีอาคารผู้โดยสารปัจจุบัน โดยรถไฟฟ้า APM จะใช้ความเร็วในการเดินรถสูงสุดที่ 80 กม.ต่อชม. ระยะทางต่อเที่ยวประมาณ 1 กิโลเมตร (กม.) ใช้เวลาประมาณ 2 นาที.
ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 4 พ.ย. 2564 (กรอบบ่าย)
Back to top